GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[บทความ] Game Engine คืออะไร? สำคัญอย่างไรต่อการสร้างเกม?
ลงวันที่ 09/11/2021

คนที่ติดตามข่าวสารข้อมูลในวงการเกมเป็นประจำ จะเห็นว่ามีการกล่าวถึงสิ่งที่เรียกว่า "Game Engine" (เกมเอนจิ้น) อยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในบริบทของการพัฒนาเกม ซึ่งบางคนอาจจะพอเข้าใจว่า Engine นี้คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรต่อกระบวนการพัฒนาเกม แต่สำหรับคนที่ไม่รู้ เราขอชวนคุณมาทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า "Game Engine" ผ่านบทความนี้!!!




Game Engine คืออะไร?


กล่าวกันง่ายๆ Game Engine คือชุดเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักพัฒนาผู้สร้างเกมอย่างมาก ด้วยการรวมเอาชุดคำสั่ง เครื่องมือ และ 'Asset' หรือโมเดล 3D ซึ่งถูกเขียนขึ้นมาจากภาษาคอมพิวเตอร์ (เช่น C, C++ หรือ JAVA) นำมารวบรวมไว้เพื่อให้เกิดความสะดวกสะบายต่อการหยิบยกขึ้นมาสร้างสรรค์เป็นตัวเกมมากยิ่งขึ้น


Engine ส่วนมากจะถูกใส่ฟังชั่นหลักต่างๆ ที่จำเป็นในการสร้างเกมเอาไว้อำนวยความสะดวก เช่น การแสดงผลภาพทั้งในรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ เครื่องมือสร้างหรือคำนวนระบบ Physics ต่างๆ ให้กับตัวเกม และองค์ประกอบอีกมากมายเช่นเสียงพากย์ A.I. ศัตรู โหมดออนไลน์ หรือโปรแกรมทำอนิเมชั่น และอื่นๆ อีกมากมาย นำมาเตรียมไว้ให้กับนักพัฒนา และผู้สร้างเกมได้ใช้โดยไม่ต้องสร้างขึ้นมาใหม่ด้วยตนเอง




เปรียบง่ายๆ ว่า Engine ของเกมก็เหมือนกับ "กล่องเครื่องมือ" ที่รวบรวมเอาทุกอย่างที่จำเป้นสำหรับการสร้างเกมเอาไว้ ซึ่งแน่นอนว่าส่วนหนึ่งก็เพื่อความสะดวกสบายในการหยิบจับเครื่องมือที่จำเป็น แต่ที่สำคัญกว่าคือการใช้ Engine ยังรับประกันว่าโปรแกรมทั้งหมดที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นเกมจะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างแน่นอนอีกด้วย เพราะเอาเข้าจริงการจะสร้างเกมขึ้นมาเกมหนึ่งจำเป็นต้องใช้องค์ประกอบยิบย่อยรวมกันเป็นร้อยๆ ส่วน หากใช้โปรแกรมจากผู้พัฒนาต่างกันทั้งหมด ก็ไม่มีอะไรรับประกันว่าสุดท้ายแล้วมันจะรองรับการทำงานของกันและกันได้แค่ไหน

ถ้าไม่ใช้ Game Engine สร้างเกมได้มั้ย?

แน่นอนว่าได้ เพราะอย่างที่กล่าวมาว่า Game Engine เป็นเพียงเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการรังสรรค์เกมเท่านั้น และแม้ไม่ต้องใช้ Game Engine ก็ยังคงสามารถสร้างเกมได้เหมือนกัน เพียงแต่ผู้สร้างจะต้องเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งหมดด้วยตัวเอง ซึ่งจะใช้เวลาในการสร้างที่นาน แต่ข้อดีของการสร้างด้วยตัวเองแบบนี้ก็คือนักพัฒนาสามารถกำหนดสิ่งต่างๆ ได้เอง และไม่ว่าผ่านไปนานแค่ไหน เราก็ยังสามารถปรับแต่งตัวเกมให้ร่วมสมัยได้เสมอ เพราะเราเป็นคนสร้างมันขึ้นมาเองยังไงล่ะ!




ตัวอย่างของค่ายที่มี Engine ที่สร้างขึ้นเองประกอบไปด้วย RE Engine ของ Capcom ซึ่งใช้สร้าง Resident Evil ทุกภาคมาตั้งแต่ภาค 7 และยังใช้สร้างเกมซีรีส์ใหญ่อื่นๆ ของ Capcom อย่าง Devil May Cry อีกด้วย โดยข้อดีอีกอย่างของการใช้ Engine ที่พัฒนาขึ้นเองคือการสร้าง "ลายเซ็น" หรือเอกลักษณ์บางอย่างให้กับเกมทั้งหมดของผู้พัฒนา ซึ่งก็อาจเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่เค้าโครงของหน้าตาตัวละคร ไปจนถึง "สัมผัส" เวลาเล่น อย่างเช่นเกม Assassin's Creed ภาคเก่าๆ ก็จะมีสัมผัสในการเล่นรวมไปถึงท่าทางของตัวละครที่ "คล้ายกัน" (ลองสังเกติตัวเอกภาคเก่าๆ วิ่งท่าเดียวกันหมดเลย) ชนิดที่เล่นแล้วรู้เลยว่านี่แหละ Assassin's Creed แน่นอน

ข้อจำกัดในการใช้ Engine?


ในทางกลับกัน Game Engine แม้จะสร้างความสะดวสบาย และความรวดเร็วในการทำงานให้กับผู้พัฒนาเกม เมื่อเวลาผ่านไปก็อาจเกิดการตกรุ่นได้ เพราะ Game Engine เองก็เป็นซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งที่เมื่อถึงเวลารุ่นใหม่ๆ ก็จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดแทน หรืออาจมี Engine ตัวใหม่ที่สร้างขึ้นมาสะดวกกว่าและทำงานรวดเร็วกว่าก็เป็นได้ แต่การพัฒนา Engine ขึ้นมาใหม่แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องหมูๆ ที่นึกจะทำก็ทำได้ และมักมีค่าใช้จ่ายสูงอีกต่างหาก ทำให้บางครั้งการพัฒนา Engine ของตัวเองอาจไม่ใช่ทางเลือกที่เป็นไปได้สำหรับทุกคน




ตัวอย่างของค่ายเกมหนึ่งที่ประสบปัญหาจากการใช้ Engine เก่าก็คือ Telltale Games ค่ายผู้ผลิตเกมผจญภัย ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นชื่อฮิตติดปากเกมเมอร์ทั่วโลก และมีผลงานดัดแปลง IP ชื่อดังมากมาย แต่ปัจจุบันกลับเจ๊งไปแล้วเรียบร้อย ซึ่งสาเหตุใหญ่ๆ อย่างหนึ่งที่ทำให้ Telltale เพลี่ยงพล้ำก็คือ Engine อันแสนโบราณของพวกเขาที่แทบไม่ได้พัฒนาขึ้นเลยมานับสิบปี ที่ทำให้เกมของพวกเขามีปัญหาในการทำงานบนคอนโซลสมัยใหม่อยู่เสมอ โดย Telltale พยายามจะทุ่มเงินไปกับการจ้างพนักงานมายกเครื่อง Engine ของพวกเขาเป็นการใหญ่ แต่ยังไม่ทันเสร็จบริษัทก็ล้มละลายไปซะก่อน


นอกจากนี้ Engine ของผู้พัฒนาบางค่ายยังถูกพัฒนามาเพื่อสร้างเกม "เฉพาะทาง" ของค่ายนั้นๆ เท่านั้น และต้องใช้สร้างเกมที่แตกต่างจากเดิมมากๆ ก็อาจจะมีปัญหาขึ้นมาได้ โดยเกมหนึ่งที่ประสบปัญหานี้หนักมากๆ ก็คือเกม Anthem ของผู้พัฒนา Bioware นั่นเอง เกม Anthem ถูกพัฒนาขึ้นด้วย Frostbite Engine ที่สร้างขึ้นโดยบริษัท D.I.C.E. สำหรับพัฒนาเกมตระกูล Battlefield (และ Star Wars: Battlefront) โดยเฉพาะ เนื่องจากบริษัท EA ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของค่ายทั้งสอง มีความประสงค์ที่จะให้ค่ายพัฒนาในเครือใช้เทคโนโลยีร่วมกัน เพื่อให้ทุกค่ายสามารถพัฒนาเทคนิคการใช้ Frostbite Engine ของตัวเอง และแบ่งปันเทคนิคระหว่างค่ายในเครือ




แต่สิ่งที่ EA ไม่ได้คำนึงคือ Frostbite Engine ถูกสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาเกมมุมมอง FPS ในแผนที่ที่จำกัด เมื่อต้องมาใช้พัฒนา Anthem ซึ่งมีมุมมองบุคคลที่ 3 แถมยังมีแผนที่กึ่งๆ Open World ด้วย ทำให้ผู้พัฒนาหลายคนรายงานว่าพวกเขาใช้เวลาไปกับการปรับแต่ง Frostbite Engine ให้ทำในสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ มากพอๆ กับเวลาที่ใช้พัฒนาเกมจริงๆ เลยทีเดียว ส่งผลให้เกมออกมาในสภาพครึ่งๆ กลางๆ อย่างที่เราๆ เห็นกัน


นอกจากนี้ Engine บางตัวอาจออกแบบมาเพื่อพัฒนาเกมสำหรับแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งก็อาจนำไปสู่ปัญหาเมื่อต้องการจะ "พอร์ต" เกมดังกล่าวไปยังแพลตฟอร์มอื่นๆ ในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น RAGE Engine (Rockstar Advanced Games Engine) ของผู้พัฒนา Rockstar Games ที่เดิมออกแบบมาสำหรับพัฒนาเกมลงคอนโซลก่อนเป็นหลัก ทำให้เกมหลายๆ เกมของค่ายมักประสบปัญหาการทำงานเมื่ออยู่บน PC (อย่างน้อยในช่วงแรกก่อนที่ผู้พัฒนาจะปล่อยแพทช์แก้)




ผู้พัฒนาทุกค่ายต้องมี Engine เป็นของตัวเองไหม?


คำตอบคือไม่ต้อง! โดยในตลาดปัจจุบันมี Engine เกมแบบ 3rd Party มากมายที่ให้ผู้พัฒนาเลือกใช้สำหรับเกมของตัวเองได้ ซึ่งแต่ละ Engine ก็มีความโดดเด่นและเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป แต่ด้วยความที่ Engine เหล่านี้มักจะออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่กว้างที่สุด ทำให้มักจะมีศักยภาพไม่เท่า Engine ที่พัฒนามาสำหรับแนวเกมหรือแพลตฟอร์มนั้นๆ โดยเฉพาะ แต่ข้อดีคือ Engine เหล่านี้ส่วนใหญ่มักมาพร้อมกับ "ตลาด" ที่ให้ผู้พัฒนาเข้าไปเลือกซื้อ (หรือโหลดของฟรีก็ได้) 'Asset' หรือโมเดลสิ่งของต่างๆ มาใช้ในเกมของตัวเองได้ เช่นก้อนหิน ต้นไม้ หญ้า หรือก้อนเมฆเป็นต้น ทำให้ผู้พัฒนาที่มีทีมเล็กหรือผู้พัฒนาฝึกหัดสามารถทดลองสร้างเกมเองได้นั่นเอง


ที่สำคัญที่สุด Engine เหล่านี้หลายอันเปิดให้ใช้ "ฟรี" และจะมีการเก็บตังก็ต่อเมื่อนำเกมที่สร้างไปทำรายได้เท่านั้น โดย Engine แบบ 3rd Party ที่มักถูกใช้ในการสร้างเกมระดับมืออาชีพจะประกอบไปด้วย:



Engine ที่โด่งดังที่สุด ที่พัฒนาโดยบริษัท Epic Games นั่นเอง โดย Unreal Engine ถือเป็น Engine เกมที่มีประวัติมายาวนานตั้งแต่สมัยยุค 90s ซึ่งเปิดให้ผู้พัฒนาโหลดใช้เวอร์ชั่นเต็มได้ฟรี 100% จะต้องจ่ายเงินให้ Epic Games ก็ต่อเมื่อเกมที่ใช้สร้างนั้นถูกนำไปสร้างรายได้ โดยจะคิดเป็น % ของรายได้ต่อปี

ข้อดีอย่างหนึ่งของ Unreal Engine คือความยืดหยุ่นสุดขีด สามารถใช้สร้างเกมได้หลากหลายแนว ด้วยกราฟฟิกระดับต่างๆ กัน ตั้งแต่กราฟฟิกการ์ตูนสีสันสดใสอย่าง Kingdom Hearts 3 ไปจนถึงกราฟฟิกแบบสมจริงถึงรูขุมขนอย่าง Hellblade: Senua's Sacrifice แม้แต่เกมมือถืออย่างซีรีส์ Infinity Blade ก็ยังพัฒนาโดยใช้ Unreal Engine เวอร์ชั่นต่างๆ เช่นกัน


เกมดังอื่นๆ ที่ใช้ Unreal Engine:


Final Fantasy VII: Remake

Mass Effect 1-3

Octopath Traveller

Mortal Kombat 11

XCOM: Enemy Unknown, XCOM2




Engine ที่ถูกพัฒนาโดย Crytek นักพัฒนาเกมสัญชาติเยอรมันที่สร้างซีรีส์ Crysis นั่นเอง โดย Engine นี้ก็มีตลาดซื้อ-ขายโมเดลเช่นเดียวกับ Unreal Engine และยังเปิดให้ใช้แบบฟรีๆ อีกด้วย (มีค่าสมาชิกเริ่มต้น $50 ต่อเดือนสำหรับคนที่ต้องการสิทธิพิเศษบางอย่าง)


CryEngine มีจุดเด่นในการสร้างเกมที่ให้กราฟฟิกสมจริงมากๆ ซึ่งก็เข้าใจได้เพราะเป็น Engine ที่ใช้สร้างเกมซีรีส์ Crysis ภาคต่างๆ มาก่อน ในปัจจุบันนี้ CryEngine ไม่ค่อยถูกใช้ในการสร้างเกมระดับ AAA เท่าไหร่นัก แต่ก็พอมีเกมดังๆ ที่ใช้ Engine นี้สร้างอยู่เช่น ซีรีส์ State of Decay และ Hunt: Showdown เป็นต้น


เกมดังอื่นๆ ที่ใช้ CryEngine:


ซีรีส์ Sniper Ghost Warrior
ซีรีส์ The Climb

Wolcen: Lords of Mayhem

Ryse: Son of Rome

Evolve




Engine ที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท Unity Technologies ด้วยความที่ออกแบบมาให้ใช้ง่ายที่สุด ทำให้ Unity มักเป็น Engine เริ่มต้นสำหรับผู้อยากศึกษาการสร้างเกม มาพร้อมตลาดขาย Asset และเวอร์ชั่นฟรีสำหรับผู้ฝึกหัด โดยผู้ใช้ที่เป็นธุรกิจจะต้องจ่ายค่าบริการรายเดือนให้กับผู้สร้าง Engine อีกที


ด้วยความที่เป็นที่รู้จักในฐานะ 'Engine สำหรับผู้เริ่มต้น' ทำให้เรามักเห็น Unity ถูกใช้ในการสร้างเกมอินดี้ขนาดเล็กๆ ที่ไม่ได้มีทุนสูงนัก รวมถึงเกมมือถือหลายเกม และมักไม่ค่อยเห็นเกมกราฟฟิกสมจริงใช้ Engine นี้บ่อยนัก


เกมดังอื่นๆ ที่ใช้ Unity: Genshin Impact, Fall Guys, League of Legends: Wild Rift, Doki-Doki Literature Club, Pokemon Unite



ทั้งหมดนี้ก็คือ Game Engine เครื่องมือสำคัญที่นักพัฒนาเกมมักหยิบมาเพื่อใช้สร้างสรรค์เกมต่างๆ มากมายออกมาให้พวกเราได้เล่นกัน ซึ่งในปัจจุบัน Game Engine เหล่านี้ถูกพัฒนาไปอย่างมาก จนเป็นที่น่าสนใจว่าในอนาคต เราจะเห็นเกมไปได้ไกลขนาดไหน จะสวยล้ำสมจริง หรือระบบแปลกแหวกแนว ก็ต้องจับตามองกันต่อไป





GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] Game Engine คืออะไร? สำคัญอย่างไรต่อการสร้างเกม?
09/11/2021

คนที่ติดตามข่าวสารข้อมูลในวงการเกมเป็นประจำ จะเห็นว่ามีการกล่าวถึงสิ่งที่เรียกว่า "Game Engine" (เกมเอนจิ้น) อยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในบริบทของการพัฒนาเกม ซึ่งบางคนอาจจะพอเข้าใจว่า Engine นี้คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรต่อกระบวนการพัฒนาเกม แต่สำหรับคนที่ไม่รู้ เราขอชวนคุณมาทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า "Game Engine" ผ่านบทความนี้!!!




Game Engine คืออะไร?


กล่าวกันง่ายๆ Game Engine คือชุดเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักพัฒนาผู้สร้างเกมอย่างมาก ด้วยการรวมเอาชุดคำสั่ง เครื่องมือ และ 'Asset' หรือโมเดล 3D ซึ่งถูกเขียนขึ้นมาจากภาษาคอมพิวเตอร์ (เช่น C, C++ หรือ JAVA) นำมารวบรวมไว้เพื่อให้เกิดความสะดวกสะบายต่อการหยิบยกขึ้นมาสร้างสรรค์เป็นตัวเกมมากยิ่งขึ้น


Engine ส่วนมากจะถูกใส่ฟังชั่นหลักต่างๆ ที่จำเป็นในการสร้างเกมเอาไว้อำนวยความสะดวก เช่น การแสดงผลภาพทั้งในรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ เครื่องมือสร้างหรือคำนวนระบบ Physics ต่างๆ ให้กับตัวเกม และองค์ประกอบอีกมากมายเช่นเสียงพากย์ A.I. ศัตรู โหมดออนไลน์ หรือโปรแกรมทำอนิเมชั่น และอื่นๆ อีกมากมาย นำมาเตรียมไว้ให้กับนักพัฒนา และผู้สร้างเกมได้ใช้โดยไม่ต้องสร้างขึ้นมาใหม่ด้วยตนเอง




เปรียบง่ายๆ ว่า Engine ของเกมก็เหมือนกับ "กล่องเครื่องมือ" ที่รวบรวมเอาทุกอย่างที่จำเป้นสำหรับการสร้างเกมเอาไว้ ซึ่งแน่นอนว่าส่วนหนึ่งก็เพื่อความสะดวกสบายในการหยิบจับเครื่องมือที่จำเป็น แต่ที่สำคัญกว่าคือการใช้ Engine ยังรับประกันว่าโปรแกรมทั้งหมดที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นเกมจะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างแน่นอนอีกด้วย เพราะเอาเข้าจริงการจะสร้างเกมขึ้นมาเกมหนึ่งจำเป็นต้องใช้องค์ประกอบยิบย่อยรวมกันเป็นร้อยๆ ส่วน หากใช้โปรแกรมจากผู้พัฒนาต่างกันทั้งหมด ก็ไม่มีอะไรรับประกันว่าสุดท้ายแล้วมันจะรองรับการทำงานของกันและกันได้แค่ไหน

ถ้าไม่ใช้ Game Engine สร้างเกมได้มั้ย?

แน่นอนว่าได้ เพราะอย่างที่กล่าวมาว่า Game Engine เป็นเพียงเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการรังสรรค์เกมเท่านั้น และแม้ไม่ต้องใช้ Game Engine ก็ยังคงสามารถสร้างเกมได้เหมือนกัน เพียงแต่ผู้สร้างจะต้องเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งหมดด้วยตัวเอง ซึ่งจะใช้เวลาในการสร้างที่นาน แต่ข้อดีของการสร้างด้วยตัวเองแบบนี้ก็คือนักพัฒนาสามารถกำหนดสิ่งต่างๆ ได้เอง และไม่ว่าผ่านไปนานแค่ไหน เราก็ยังสามารถปรับแต่งตัวเกมให้ร่วมสมัยได้เสมอ เพราะเราเป็นคนสร้างมันขึ้นมาเองยังไงล่ะ!




ตัวอย่างของค่ายที่มี Engine ที่สร้างขึ้นเองประกอบไปด้วย RE Engine ของ Capcom ซึ่งใช้สร้าง Resident Evil ทุกภาคมาตั้งแต่ภาค 7 และยังใช้สร้างเกมซีรีส์ใหญ่อื่นๆ ของ Capcom อย่าง Devil May Cry อีกด้วย โดยข้อดีอีกอย่างของการใช้ Engine ที่พัฒนาขึ้นเองคือการสร้าง "ลายเซ็น" หรือเอกลักษณ์บางอย่างให้กับเกมทั้งหมดของผู้พัฒนา ซึ่งก็อาจเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่เค้าโครงของหน้าตาตัวละคร ไปจนถึง "สัมผัส" เวลาเล่น อย่างเช่นเกม Assassin's Creed ภาคเก่าๆ ก็จะมีสัมผัสในการเล่นรวมไปถึงท่าทางของตัวละครที่ "คล้ายกัน" (ลองสังเกติตัวเอกภาคเก่าๆ วิ่งท่าเดียวกันหมดเลย) ชนิดที่เล่นแล้วรู้เลยว่านี่แหละ Assassin's Creed แน่นอน

ข้อจำกัดในการใช้ Engine?


ในทางกลับกัน Game Engine แม้จะสร้างความสะดวสบาย และความรวดเร็วในการทำงานให้กับผู้พัฒนาเกม เมื่อเวลาผ่านไปก็อาจเกิดการตกรุ่นได้ เพราะ Game Engine เองก็เป็นซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งที่เมื่อถึงเวลารุ่นใหม่ๆ ก็จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดแทน หรืออาจมี Engine ตัวใหม่ที่สร้างขึ้นมาสะดวกกว่าและทำงานรวดเร็วกว่าก็เป็นได้ แต่การพัฒนา Engine ขึ้นมาใหม่แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องหมูๆ ที่นึกจะทำก็ทำได้ และมักมีค่าใช้จ่ายสูงอีกต่างหาก ทำให้บางครั้งการพัฒนา Engine ของตัวเองอาจไม่ใช่ทางเลือกที่เป็นไปได้สำหรับทุกคน




ตัวอย่างของค่ายเกมหนึ่งที่ประสบปัญหาจากการใช้ Engine เก่าก็คือ Telltale Games ค่ายผู้ผลิตเกมผจญภัย ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นชื่อฮิตติดปากเกมเมอร์ทั่วโลก และมีผลงานดัดแปลง IP ชื่อดังมากมาย แต่ปัจจุบันกลับเจ๊งไปแล้วเรียบร้อย ซึ่งสาเหตุใหญ่ๆ อย่างหนึ่งที่ทำให้ Telltale เพลี่ยงพล้ำก็คือ Engine อันแสนโบราณของพวกเขาที่แทบไม่ได้พัฒนาขึ้นเลยมานับสิบปี ที่ทำให้เกมของพวกเขามีปัญหาในการทำงานบนคอนโซลสมัยใหม่อยู่เสมอ โดย Telltale พยายามจะทุ่มเงินไปกับการจ้างพนักงานมายกเครื่อง Engine ของพวกเขาเป็นการใหญ่ แต่ยังไม่ทันเสร็จบริษัทก็ล้มละลายไปซะก่อน


นอกจากนี้ Engine ของผู้พัฒนาบางค่ายยังถูกพัฒนามาเพื่อสร้างเกม "เฉพาะทาง" ของค่ายนั้นๆ เท่านั้น และต้องใช้สร้างเกมที่แตกต่างจากเดิมมากๆ ก็อาจจะมีปัญหาขึ้นมาได้ โดยเกมหนึ่งที่ประสบปัญหานี้หนักมากๆ ก็คือเกม Anthem ของผู้พัฒนา Bioware นั่นเอง เกม Anthem ถูกพัฒนาขึ้นด้วย Frostbite Engine ที่สร้างขึ้นโดยบริษัท D.I.C.E. สำหรับพัฒนาเกมตระกูล Battlefield (และ Star Wars: Battlefront) โดยเฉพาะ เนื่องจากบริษัท EA ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของค่ายทั้งสอง มีความประสงค์ที่จะให้ค่ายพัฒนาในเครือใช้เทคโนโลยีร่วมกัน เพื่อให้ทุกค่ายสามารถพัฒนาเทคนิคการใช้ Frostbite Engine ของตัวเอง และแบ่งปันเทคนิคระหว่างค่ายในเครือ




แต่สิ่งที่ EA ไม่ได้คำนึงคือ Frostbite Engine ถูกสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาเกมมุมมอง FPS ในแผนที่ที่จำกัด เมื่อต้องมาใช้พัฒนา Anthem ซึ่งมีมุมมองบุคคลที่ 3 แถมยังมีแผนที่กึ่งๆ Open World ด้วย ทำให้ผู้พัฒนาหลายคนรายงานว่าพวกเขาใช้เวลาไปกับการปรับแต่ง Frostbite Engine ให้ทำในสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ มากพอๆ กับเวลาที่ใช้พัฒนาเกมจริงๆ เลยทีเดียว ส่งผลให้เกมออกมาในสภาพครึ่งๆ กลางๆ อย่างที่เราๆ เห็นกัน


นอกจากนี้ Engine บางตัวอาจออกแบบมาเพื่อพัฒนาเกมสำหรับแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งก็อาจนำไปสู่ปัญหาเมื่อต้องการจะ "พอร์ต" เกมดังกล่าวไปยังแพลตฟอร์มอื่นๆ ในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น RAGE Engine (Rockstar Advanced Games Engine) ของผู้พัฒนา Rockstar Games ที่เดิมออกแบบมาสำหรับพัฒนาเกมลงคอนโซลก่อนเป็นหลัก ทำให้เกมหลายๆ เกมของค่ายมักประสบปัญหาการทำงานเมื่ออยู่บน PC (อย่างน้อยในช่วงแรกก่อนที่ผู้พัฒนาจะปล่อยแพทช์แก้)




ผู้พัฒนาทุกค่ายต้องมี Engine เป็นของตัวเองไหม?


คำตอบคือไม่ต้อง! โดยในตลาดปัจจุบันมี Engine เกมแบบ 3rd Party มากมายที่ให้ผู้พัฒนาเลือกใช้สำหรับเกมของตัวเองได้ ซึ่งแต่ละ Engine ก็มีความโดดเด่นและเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป แต่ด้วยความที่ Engine เหล่านี้มักจะออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่กว้างที่สุด ทำให้มักจะมีศักยภาพไม่เท่า Engine ที่พัฒนามาสำหรับแนวเกมหรือแพลตฟอร์มนั้นๆ โดยเฉพาะ แต่ข้อดีคือ Engine เหล่านี้ส่วนใหญ่มักมาพร้อมกับ "ตลาด" ที่ให้ผู้พัฒนาเข้าไปเลือกซื้อ (หรือโหลดของฟรีก็ได้) 'Asset' หรือโมเดลสิ่งของต่างๆ มาใช้ในเกมของตัวเองได้ เช่นก้อนหิน ต้นไม้ หญ้า หรือก้อนเมฆเป็นต้น ทำให้ผู้พัฒนาที่มีทีมเล็กหรือผู้พัฒนาฝึกหัดสามารถทดลองสร้างเกมเองได้นั่นเอง


ที่สำคัญที่สุด Engine เหล่านี้หลายอันเปิดให้ใช้ "ฟรี" และจะมีการเก็บตังก็ต่อเมื่อนำเกมที่สร้างไปทำรายได้เท่านั้น โดย Engine แบบ 3rd Party ที่มักถูกใช้ในการสร้างเกมระดับมืออาชีพจะประกอบไปด้วย:



Engine ที่โด่งดังที่สุด ที่พัฒนาโดยบริษัท Epic Games นั่นเอง โดย Unreal Engine ถือเป็น Engine เกมที่มีประวัติมายาวนานตั้งแต่สมัยยุค 90s ซึ่งเปิดให้ผู้พัฒนาโหลดใช้เวอร์ชั่นเต็มได้ฟรี 100% จะต้องจ่ายเงินให้ Epic Games ก็ต่อเมื่อเกมที่ใช้สร้างนั้นถูกนำไปสร้างรายได้ โดยจะคิดเป็น % ของรายได้ต่อปี

ข้อดีอย่างหนึ่งของ Unreal Engine คือความยืดหยุ่นสุดขีด สามารถใช้สร้างเกมได้หลากหลายแนว ด้วยกราฟฟิกระดับต่างๆ กัน ตั้งแต่กราฟฟิกการ์ตูนสีสันสดใสอย่าง Kingdom Hearts 3 ไปจนถึงกราฟฟิกแบบสมจริงถึงรูขุมขนอย่าง Hellblade: Senua's Sacrifice แม้แต่เกมมือถืออย่างซีรีส์ Infinity Blade ก็ยังพัฒนาโดยใช้ Unreal Engine เวอร์ชั่นต่างๆ เช่นกัน


เกมดังอื่นๆ ที่ใช้ Unreal Engine:


Final Fantasy VII: Remake

Mass Effect 1-3

Octopath Traveller

Mortal Kombat 11

XCOM: Enemy Unknown, XCOM2




Engine ที่ถูกพัฒนาโดย Crytek นักพัฒนาเกมสัญชาติเยอรมันที่สร้างซีรีส์ Crysis นั่นเอง โดย Engine นี้ก็มีตลาดซื้อ-ขายโมเดลเช่นเดียวกับ Unreal Engine และยังเปิดให้ใช้แบบฟรีๆ อีกด้วย (มีค่าสมาชิกเริ่มต้น $50 ต่อเดือนสำหรับคนที่ต้องการสิทธิพิเศษบางอย่าง)


CryEngine มีจุดเด่นในการสร้างเกมที่ให้กราฟฟิกสมจริงมากๆ ซึ่งก็เข้าใจได้เพราะเป็น Engine ที่ใช้สร้างเกมซีรีส์ Crysis ภาคต่างๆ มาก่อน ในปัจจุบันนี้ CryEngine ไม่ค่อยถูกใช้ในการสร้างเกมระดับ AAA เท่าไหร่นัก แต่ก็พอมีเกมดังๆ ที่ใช้ Engine นี้สร้างอยู่เช่น ซีรีส์ State of Decay และ Hunt: Showdown เป็นต้น


เกมดังอื่นๆ ที่ใช้ CryEngine:


ซีรีส์ Sniper Ghost Warrior
ซีรีส์ The Climb

Wolcen: Lords of Mayhem

Ryse: Son of Rome

Evolve




Engine ที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท Unity Technologies ด้วยความที่ออกแบบมาให้ใช้ง่ายที่สุด ทำให้ Unity มักเป็น Engine เริ่มต้นสำหรับผู้อยากศึกษาการสร้างเกม มาพร้อมตลาดขาย Asset และเวอร์ชั่นฟรีสำหรับผู้ฝึกหัด โดยผู้ใช้ที่เป็นธุรกิจจะต้องจ่ายค่าบริการรายเดือนให้กับผู้สร้าง Engine อีกที


ด้วยความที่เป็นที่รู้จักในฐานะ 'Engine สำหรับผู้เริ่มต้น' ทำให้เรามักเห็น Unity ถูกใช้ในการสร้างเกมอินดี้ขนาดเล็กๆ ที่ไม่ได้มีทุนสูงนัก รวมถึงเกมมือถือหลายเกม และมักไม่ค่อยเห็นเกมกราฟฟิกสมจริงใช้ Engine นี้บ่อยนัก


เกมดังอื่นๆ ที่ใช้ Unity: Genshin Impact, Fall Guys, League of Legends: Wild Rift, Doki-Doki Literature Club, Pokemon Unite



ทั้งหมดนี้ก็คือ Game Engine เครื่องมือสำคัญที่นักพัฒนาเกมมักหยิบมาเพื่อใช้สร้างสรรค์เกมต่างๆ มากมายออกมาให้พวกเราได้เล่นกัน ซึ่งในปัจจุบัน Game Engine เหล่านี้ถูกพัฒนาไปอย่างมาก จนเป็นที่น่าสนใจว่าในอนาคต เราจะเห็นเกมไปได้ไกลขนาดไหน จะสวยล้ำสมจริง หรือระบบแปลกแหวกแนว ก็ต้องจับตามองกันต่อไป





บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header