GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
[Review] รีวิวเกม Cult of the Lamb "สุดยอดเกมอินดี้แห่งปี! ร่างกายและชีวี ขอพลีให้ลัทธิน้อนแกะ!"
ลงวันที่ 18/08/2022

ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าในทุก ๆ ครั้งที่ทาง Devolver Digital ประกาศเปิดตัวเกมใหม่ ๆ เราอดไม่ได้ที่จะว้าวกับแนวคิดและไอเดียของเกมนั้น ๆ และนี่คือ Cult of the Lamb ผลงานเกมตัวใหม่ล่าสุดจากทางผู้พัฒนา Massive Monster ที่เพิ่งทำผลงานเกมของตัวเองออกมาได้ไม่กี่เกมเท่านั้น แต่ผลงานใหม่ของพวกเขาก็ปังจนเข้าตา Devolver จนได้ แล้วเพราะอะไรมันถึงได้ยอดเยี่ยมขนาดนี้ วันนี้มาหาคำตอบกันได้กับรีวิว Cult of the Lamb ของเรากัน


เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเจ้าแกะน้อยตัวหนึ่งที่กำลังจะถูกสังเวยโดยฝีมือของสี่สังฆราช แต่หลังจากที่เจ้าแกะน้อยคิดว่าตัวเองต้องดับดิ้นสิ้นชีพ เขากลับพบว่าตัวเองโผล่มาอีกมิติหนึ่ง และที่นี่เอง เขาได้พบกับ "ผู้รอคอย" (The One Who Waits) ผู้รอคอยยื่นข้อเสนอที่เราไม่อาจปฏิเสธได้ นั่นคือการฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง แต่จะต้องทำหน้าที่เหมือนกับร่างทรงของผู้รอคอย รับฟังคำบัญชา และก่อตั้งลัทธิขึ้นมา เพื่อกลับไปล้างแค้นสี่สังฆราชนั้น เราจะได้รับมงกุฎแดง ที่มีพลังอำนาจลึกลับของผู้รอคอย ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ จากนั้นเริ่มก่อตั้งลัทธิเตรียมรอวันล้างแค้น อันเป็นที่มาของลัทธิแกะจอมมารที่มีผู้ชักใยอยู่เบื้องหลัง และเราจะได้รับความช่วยเหลือจาก Ratau หนูป่าที่บอกว่าตัวเองเคยเป็นร่างทรงให้กับผู้รอคอยมาก่อน


ต้องบอกว่าไม่ใช่เนื้อเรื่องสดใหม่อะไร แต่การนำเสนอของมันนี่แหละที่ทำเอาน่าติดตาม เพราะคงไม่ใช่ทุกคนที่คิดอยากจะจับเอาสัตว์น้อยน่ารักอย่างเจ้าแกะ มาเป็นร่างทรงให้กับจอมมารเป็นแน่แท้ ทำให้ความแปลกใหม่ของเนื้อเรื่องนี้ยังถือว่าน่าติดตามอยู่บ้าง แต่การนำเสนอเรื่องราวของเกมนี้ ก็จะนำเสนอผ่าน Text และตัวอักษรล้วน ๆ อาจจะมีคัทซีนให้เห็นบ้าง แต่การจะเข้าใจฉากต่าง ๆ ได้ก็ต้องอาศัยการอ่านล้วน ๆ อยู่ดี ดังนั้นเกมนี้ใครอยากเสพเนื้อเรื่องก็ต้องเก่งภาษากันหน่อย และผู้เขียนแนะนำว่า ไม่ควรกดข้ามอย่างแรก เพราะไม่อย่างนั้นเราอาจจะไม่รู้ที่มาที่ไปของเหตุการณ์บางอย่าง รวมไปถึงเราอาจจะบริหารจัดการลัทธิของเราได้ไม่ดี ตามคำร้องขอของพวกสาวก ที่เรากำลังจะอธิบายกันในหัวข้อถัดไป

ระบบเกมเพลย์สองแบบ ที่เหมือนจะเป็นคนละขั้ว แต่ลงตัวขั้นสุด


Cult of the Lamb เป็นเกมที่เรียกได้ว่ามีสองแนวผสมผสานกันอยู่ในเกมเดียว อย่างแรกเกมนี้เป็นเกมแนว Dungeon Brawler แบบ Roguelite ที่เราจะได้พาเจ้าแกะน้อยออกถล่มฝูงศัตรูในพื้นที่ปิด และมีหลากหลายเส้นทางที่เกิดขึ้นแบบสุ่ม ใครที่เคยเล่นเกมจำพวก Roguelite เยอะ ๆ จะสามารถทำความเข้าใจกับระบบนี้ได้ไม่ยาก แต่อีกส่วนของเกมนี้คือ ส่วนของการบริหารจัดการที่เรียกได้ว่าเป็นเกมแนว Management Simulation อย่างเต็มรูปแบบ ที่เราจะต้องบริหารจัดการเหล่าสาวก และพื้นที่ต่าง ๆ ในลัทธิของเรา ราวกับเป็นเกมสร้างเมือง ซึ่งระบบเหล่านี้จะกลมกลืนไปกับการปลดล็อค การอัปเกรดต่าง ๆ ได้อย่างแนบเนียน


เรามาเริ่มกันที่ระบบบริหารจัดการกันก่อน เราจะได้รับพื้นที่สร้างลัทธิ ซึ่งเป็นเหมือนกับ Hub ศูนย์กลางของตัวเกมทั้งหมด ที่นี่เราจะเลือกได้ว่าจะทำอะไรกับลัทธิของเราบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการรับสาวกใหม่เข้ามา (ได้จากการออกไปผจญภัยต่อสู้) ซึ่งเหล่าสาวกนี้ เราสามารถออกแบบ ตั้งชื่อ ดีไซน์ได้เต็มที่ และที่สำคัญคือสาวกแต่ละคนจะมาพร้อมกับ Traits หรือคุณลักษณะติดตัวที่ทั้งดีและแย่ หรือบางตัวอาจจะดีหมด หรือแย่หมดเลยก็ได้ ดังนั้นก่อนรับสาวกเข้ามาในลัทธิต้องดูให้ดีก่อน ว่าเอาเข้ามาแล้วจะดีขึ้นหรือหายนะกว่าเดิม บางตัวหากสาวกตายก็จะสูญเสียศรัทธาไป หรือบางตัวก็อาจจะมีความสามารถในแง่ดี เช่นยิ่งสาวกเยอะยิ่งดี หรือถ้าเราดำเนินงานด้านลัทธิไปในทางที่ดี พวกเขาก็จะมีความสุข เป็นต้น


เราสามารถที่จะสั่งการสาวกของเราได้ ว่าระหว่างที่เราออกไปลุยนี้ เราจะให้พวกสาวกทำอะไร ดังนั้นไม่ต้องห่วงว่าระหว่างที่คุณออกไปสู้แล้ว ลัทธิคุณจะไม่เจริญเติบโต แต่ก็นั่นแหละ การที่ลัทธิของเรารันกิจการไปเรื่อย ๆ ทำให้มันจะเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรารับสมาชิกลัทธิเข้ามา เราก็ต้องจัดหาเตียงนอนให้เพียงพอกับสมาชิกด้วย ไม่อย่างนั้นอาจจะมีการร้องเรียนหรือสูญเสียศรัทธาเกิดขึ้นได้ หรือการทำอาหาร ถ้าทำแต่อาหารคุณภาพห่วยออกมา ก็จะโดนติติงได้เช่นกัน 

ในทางกลับกัน ระหว่างออกต่อสู้ เราสามารถออกคำสั่งให้สาวกแต่ละคนของเราทำงานได้ เช่นไปตัดไม้ เก็บพืชผล หรือเก็บกวาดสถานที่ให้เรียบร้อย และสิ่งสำคัญเลยคือการสวดบูชา การสวดบูชาจะทำให้เราได้ไอเทมความจงรักภักดี ซึ่งจะทำให้เราปลดล็อคสิ่งปลูกสร้างและของใหม่ ๆ ได้ ยิ่งเราเล่นไปเรื่อย ๆ เราก็อาจจะมอบงานให้สาวกทำได้มากขึ้นไปอีกต่างหาก  ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เล่นก็ต้องบริหารและจัดการให้ดีในขณะที่เราออกไปต่อสู้ นอกจากนั้นยังมีระบบการจัดการต่าง ๆ เช่นการเผยแพร่หลักธรรมต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดแนวทางเลยว่า ลัทธิของเราจะมีรูปแบบการดำเนินการไปในแนวทางใด เช่น เพิ่มศรัทธาด้วยการทำความดี หรือสังเวยสาวกที่ตายไปเป็นเครื่องบูชายัญ สร้างความหวั่นผวาและยำเกรงให้กับเหล่าสาวก และปลดล็อคอาวุธ และคำสาปใหม่ ๆ ได้ด้วย เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีพื้นที่เปิดกว้างให้เราได้ออกไปสำรวจ มีการตกปลา หาของ หาวัตถุดิบใหม่ ๆ มาทำอาหาร เพราะอาหารบางชนิดจะฟื้นฟูค่าพลังได้ก็จริง แต่ถ้าเป็ฯอาหารเกรดต่ำ อาจจะทำให้ติดดีบัฟที่ไม่ค่อยจะดีสักเท่าไรตามมาด้วย


การบริหารจัดการสาวกของเราก็มีความสำคัญ นอกจากจะต้องดูแลสวัสดิการ อาหารการกินการอยู่แล้ว เรายังสามารถเข้าไปพูดคุยกับเหล่าสาวกแบบตัวต่อตัวได้ เพื่อรับฟังคำขอ มอบของขวัญ หรือเผยแพร่หลักคำสอนให้โดยตรง เพื่อให้สาวกคนนั้นมีความศรัทธาและจงรักภักดีต่อลัทธิของเรามากขึ้นได้อีกต่างหาก แน่นอนว่าการเป็นเจ้าลัทธิ จะให้มีแต่เรื่องดี ๆ มีคนรักมีคนชอบก็ใช่เรื่อง เพราะหากเราปล่อยให้ค่าความศรัทธาลดต่ำลงขึ้นมา สาวกของเราบางคนอาจจะเริ่มก่อหวอด ซุบซิบนินทา แพร่ข่าวมั่ว จนเราเริ่มโดนก่อกบฎ ซึ่งเราจะแก้ปัญหาด้วยวิธีละมุนละม่อม อย่างการค่อย ๆ พูดคุย ปรับความเข้าใจ หรือจะเดินทางสายดาร์ค จับขังคุกให้ดูเป็นตัวอย่าง หรือเชือดทิ้งซะเลยก็ยังได้ เห็นภาพน่าัรก ๆ แบบนี้ วิธีโหดก็โหดได้ใจจริง ๆ


เรียกได้ว่าการออกแบบเกมนี้ในส่วนของ Management และการสร้างลัทธินั้น ไม่ได้ใส่มาเล่น ๆ เลย ดีไม่ดีการบริหารจัดนี้อาจจะยากกว่าระบบการต่อสู้ด้วยซ้ำ แต่ช้าก่อน.. ถ้าเราบอกว่าระบบการต่อสู้เองก็เข้มข้นไม่แพ้กัน และตึงมือไม่แพ้กันด้วยล่ะ..

ระบบการต่อสู้ที่ต้องแข่งกับเวลา ตึงมือ แชะเชื่อมโยงกับการบริหารจัดการ


แม้ว่าเกมเพลย์การเล่นในส่วนของการต่อสู้ อาจจะไม่ยากแบบ Soulsborne หรือเกมอื่น ๆ แต่เพราะมันผูกระบบการต่อสู้ไว้กับระบบริหารจัดการลัทธิไว้ได้อย่างแนบเนียน และการออกแบบศัตรูมาอย่างดี ทำให้เรารู้สึกว่า นี่คือสมดุลของตัวเกมอย่างแท้จริง และทีมพัฒนาเกมชาญฉลาดอย่างมาก ที่จะหาจุดลงตัวให้กับสองระบบนี้

สำหรับเกมเพลย์การเล่นในส่วนของการต่อสู้นั้นจะเหมือนกับเกม Action Roguelite ทั่วไป ทุก ๆ การเริ่มใหม่คือการสุ่มใหม่ทุกครั้ง เราจะได้รับ Starter Weapon และ Skill ที่ต่างกัน แต่มันจะยิ่งดีขึ้นทุกครั้งที่เราอัปเกรดลัทธิของเราให้สูงขึ้น เส้นทางจะมีทั้งหมดหลากหลายเส้นทาง ทั้งในเส้นทางหลัก และเส้นทางย่อยที่เราเล่นตะลุยด่าน เราสามารถออกสำรวจทุกห้องจนครบได้ ก็จะมีโอกาสได้รับไอเทมและทรัพยากรที่เยอะขึ้น แต่ก็ต้องแลกมากับความเสี่ยงที่มากพอสมควร เพราะเกมนี้ยาฟื้นพลังเป็นสิ่งที่หาได้ยากเย็นเสียเหลือเกิน 


อาวุธของเราจะแบ่งสเตตัสออกเป็นพลังโจมตีและความเร็ว และเราสามารถกลิ้งหลบการโจมตีต่าง ๆ ได้ รวมไปถึงมีความสามารถในการใช้ท่าพิเศษที่จะต้องเก็บพลังศัตรูมาใช้ด้วย แต่สิ่งที่ทำให้เกมนี้มันยาก เพราะระหว่างที่เราออกไปต่อสู้อยู่นั้น เหตุการณ์ต่าง ๆ ในลัทธิของเราก็จะดำเนินต่อไปไม่มีหยุด สมมติคุณกำลังออกมาสู้รบอยู่ แต่ปรากฎว่าถึงเวลาเข้านอนของชาวลัทธิแล้ว เตียงพัง สาวกไม่มีพื้นที่นอน ก็จะนอนพื้นพร้อมกับตื่นมาบ่นโอดว่ามันไม่สบายหลังเอาซะเลย หรือที่หนักกว่านั้น บอสใหญ่สังฆราช ก็จะไปจับสาวกเรามาทรมาน เช่นดึงความหิวออกจากตัว ทำให้ท้องว่างกันเป็นแถบ ๆ ลำบากเราที่ร้องรีบเคลียร์ดันเจี้ยนออกไปกอบกู้สถานการณ์

ถือว่าทีมพัฒนาเกมนั้น ฉลาดมาก ๆ ในการผูกสองระบบนี้เข้าไว้ด้วยกัน เพราะแม้การต่อสู้จะไม่ยาก แต่ถ้าเกิดสถานการณ์สุ่มแบบที่ว่าไปขึ้นมา เกมจะตึงขึ้นมาทันที และความรีบเร่งจะจบดันเจี้ยนออกไปช่วยลัทธิก็อาจจะทำให้เราพลาดท่าตายเอาได้ง่าย ๆ โชคดีที่บทลงโทษการตายของเกมนี้ ไม่โหดนัก อย่างมากก็เริ่มใหม่ แต่ทรัพยากรระหว่างทางที่เราเก็บมาได้ จะถูกหักเปอร์เซนต์ออกไปแทน ส่วนทรัพยากรที่ได้มาเช่นไม้ หิน อาหาร กระดูก ก็เอาไปทำอย่างอื่นตามที่เกมกำหนด ด้วยความที่เป็นเกม Roguelite เราจะสามารถเลือกเส้นทางไปต่อข้างหน้าได้ โดยเราจะเห็นเลยว่าเส้นทางที่เรากำลังจะไปต่อนี้ เราจะได้อะไรเป็นรางวัล อาจจะมีการปลดล็อคสาวกเพิ่มระหว่างทาง ได้ทรัพยากร หรือแม้แต่ระบบไพ่ทาโรต์ที่จะช่วยให้เราต่อสู้ได้ง่ายดายและสะดวกมากยิ่งขึ้นได้


และการออกแบบศัตรูก็ถือว่าแสบใช้ได้ ย้ำกันอีกรอบว่ามันไม่ใช่เกมยาก แต่ด้วยการออกแบบสถานการณ์ทำให้เรารู้สึกว่าศัตรูตัวนี้แม้มันจะไม่มีอะไรมาก แต่มันช่างน่ารำคาญอย่างเหลือเกิน โดยเฉพาะเวลารีบ ๆ จะจบเกม มันทั้งหลบหลีกเป็น รุมเป็น มีท่าพิเศษที่ถ้าหากเราโดนโจมตีขึ้นมาก็ถือว่าเจ็บเอาเรื่อง และเสียเวลาอีกต่างหาก  ฟังดูเหมือนเกมจะเน้นหนักไปที่การบริหารจัดการ แต่สำหรับคนที่ได้เล่นเอง จะรู้ได้ทันทีว่า Cult of the Lamb เป็นเกมที่ผสมผสานเอาแนวเกมบริหารจัดการกับการต่อสู้มาผสมผสานไว้ด้วยกันได้อย่างยอดเยี่ยมแบบหาเกมทำได้ยากมากจริง ๆ

อาจจะหาว่าอวยจนเกินไปหน่อย แต่บอกตรง ๆ ว่าตลอดเวลาการเล่นของเกมนี้ ผู้เขียนไม่สามารถหาข้อเสีย หรือข้อตำหนิใด ๆ ให้ตัวเกมได้เลยแม้แต่น้อย ด้วยความที่ตัวเกมนั้น โดดเด่นในด้านกราฟิกแบบ 2D และบั๊กรวมไปถึงการแสดงผลที่แทบไม่เจอเลยตลอดการเล่น ดังนั้นผู้เขียนจะแปลกใจมาก หาก Cult of the Lamb ไม่ได้เข้าชิงรางวัลเกมอะไรเลยสักสาขาในปีนี้ แต่ก็นั่นแหละ นี่เป็นเพียงความชอบมาก ๆ ส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้น อาจจะมีคนที่เจอบั๊ก หรือข้อเสียของเกมเพลย์การเล่นก็ได้ แต่สำหรับผู้เขียนแล้ว นี่คือหนึ่งในเกมโปรดประจำปี 2022 นี้เลยทีเดียว

7
ข้อดี

การต่อสู้ Roguelite อันเรียบง่ายแต่ร้าวใจ

เกมเพลย์การบริหารลัทธิอันลึกซึ้ง เล่นแล้วติดหนึบ

กราฟิกน่ารักแต่โหดเหี้ยมมีเอกลักษณ์

ข้อเสีย

เกมสั้นไปหน่อย ยังอยากเล่นอีก!

9
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[Review] รีวิวเกม Cult of the Lamb "สุดยอดเกมอินดี้แห่งปี! ร่างกายและชีวี ขอพลีให้ลัทธิน้อนแกะ!"
18/08/2022

ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่าในทุก ๆ ครั้งที่ทาง Devolver Digital ประกาศเปิดตัวเกมใหม่ ๆ เราอดไม่ได้ที่จะว้าวกับแนวคิดและไอเดียของเกมนั้น ๆ และนี่คือ Cult of the Lamb ผลงานเกมตัวใหม่ล่าสุดจากทางผู้พัฒนา Massive Monster ที่เพิ่งทำผลงานเกมของตัวเองออกมาได้ไม่กี่เกมเท่านั้น แต่ผลงานใหม่ของพวกเขาก็ปังจนเข้าตา Devolver จนได้ แล้วเพราะอะไรมันถึงได้ยอดเยี่ยมขนาดนี้ วันนี้มาหาคำตอบกันได้กับรีวิว Cult of the Lamb ของเรากัน


เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเจ้าแกะน้อยตัวหนึ่งที่กำลังจะถูกสังเวยโดยฝีมือของสี่สังฆราช แต่หลังจากที่เจ้าแกะน้อยคิดว่าตัวเองต้องดับดิ้นสิ้นชีพ เขากลับพบว่าตัวเองโผล่มาอีกมิติหนึ่ง และที่นี่เอง เขาได้พบกับ "ผู้รอคอย" (The One Who Waits) ผู้รอคอยยื่นข้อเสนอที่เราไม่อาจปฏิเสธได้ นั่นคือการฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง แต่จะต้องทำหน้าที่เหมือนกับร่างทรงของผู้รอคอย รับฟังคำบัญชา และก่อตั้งลัทธิขึ้นมา เพื่อกลับไปล้างแค้นสี่สังฆราชนั้น เราจะได้รับมงกุฎแดง ที่มีพลังอำนาจลึกลับของผู้รอคอย ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ จากนั้นเริ่มก่อตั้งลัทธิเตรียมรอวันล้างแค้น อันเป็นที่มาของลัทธิแกะจอมมารที่มีผู้ชักใยอยู่เบื้องหลัง และเราจะได้รับความช่วยเหลือจาก Ratau หนูป่าที่บอกว่าตัวเองเคยเป็นร่างทรงให้กับผู้รอคอยมาก่อน


ต้องบอกว่าไม่ใช่เนื้อเรื่องสดใหม่อะไร แต่การนำเสนอของมันนี่แหละที่ทำเอาน่าติดตาม เพราะคงไม่ใช่ทุกคนที่คิดอยากจะจับเอาสัตว์น้อยน่ารักอย่างเจ้าแกะ มาเป็นร่างทรงให้กับจอมมารเป็นแน่แท้ ทำให้ความแปลกใหม่ของเนื้อเรื่องนี้ยังถือว่าน่าติดตามอยู่บ้าง แต่การนำเสนอเรื่องราวของเกมนี้ ก็จะนำเสนอผ่าน Text และตัวอักษรล้วน ๆ อาจจะมีคัทซีนให้เห็นบ้าง แต่การจะเข้าใจฉากต่าง ๆ ได้ก็ต้องอาศัยการอ่านล้วน ๆ อยู่ดี ดังนั้นเกมนี้ใครอยากเสพเนื้อเรื่องก็ต้องเก่งภาษากันหน่อย และผู้เขียนแนะนำว่า ไม่ควรกดข้ามอย่างแรก เพราะไม่อย่างนั้นเราอาจจะไม่รู้ที่มาที่ไปของเหตุการณ์บางอย่าง รวมไปถึงเราอาจจะบริหารจัดการลัทธิของเราได้ไม่ดี ตามคำร้องขอของพวกสาวก ที่เรากำลังจะอธิบายกันในหัวข้อถัดไป

ระบบเกมเพลย์สองแบบ ที่เหมือนจะเป็นคนละขั้ว แต่ลงตัวขั้นสุด


Cult of the Lamb เป็นเกมที่เรียกได้ว่ามีสองแนวผสมผสานกันอยู่ในเกมเดียว อย่างแรกเกมนี้เป็นเกมแนว Dungeon Brawler แบบ Roguelite ที่เราจะได้พาเจ้าแกะน้อยออกถล่มฝูงศัตรูในพื้นที่ปิด และมีหลากหลายเส้นทางที่เกิดขึ้นแบบสุ่ม ใครที่เคยเล่นเกมจำพวก Roguelite เยอะ ๆ จะสามารถทำความเข้าใจกับระบบนี้ได้ไม่ยาก แต่อีกส่วนของเกมนี้คือ ส่วนของการบริหารจัดการที่เรียกได้ว่าเป็นเกมแนว Management Simulation อย่างเต็มรูปแบบ ที่เราจะต้องบริหารจัดการเหล่าสาวก และพื้นที่ต่าง ๆ ในลัทธิของเรา ราวกับเป็นเกมสร้างเมือง ซึ่งระบบเหล่านี้จะกลมกลืนไปกับการปลดล็อค การอัปเกรดต่าง ๆ ได้อย่างแนบเนียน


เรามาเริ่มกันที่ระบบบริหารจัดการกันก่อน เราจะได้รับพื้นที่สร้างลัทธิ ซึ่งเป็นเหมือนกับ Hub ศูนย์กลางของตัวเกมทั้งหมด ที่นี่เราจะเลือกได้ว่าจะทำอะไรกับลัทธิของเราบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการรับสาวกใหม่เข้ามา (ได้จากการออกไปผจญภัยต่อสู้) ซึ่งเหล่าสาวกนี้ เราสามารถออกแบบ ตั้งชื่อ ดีไซน์ได้เต็มที่ และที่สำคัญคือสาวกแต่ละคนจะมาพร้อมกับ Traits หรือคุณลักษณะติดตัวที่ทั้งดีและแย่ หรือบางตัวอาจจะดีหมด หรือแย่หมดเลยก็ได้ ดังนั้นก่อนรับสาวกเข้ามาในลัทธิต้องดูให้ดีก่อน ว่าเอาเข้ามาแล้วจะดีขึ้นหรือหายนะกว่าเดิม บางตัวหากสาวกตายก็จะสูญเสียศรัทธาไป หรือบางตัวก็อาจจะมีความสามารถในแง่ดี เช่นยิ่งสาวกเยอะยิ่งดี หรือถ้าเราดำเนินงานด้านลัทธิไปในทางที่ดี พวกเขาก็จะมีความสุข เป็นต้น


เราสามารถที่จะสั่งการสาวกของเราได้ ว่าระหว่างที่เราออกไปลุยนี้ เราจะให้พวกสาวกทำอะไร ดังนั้นไม่ต้องห่วงว่าระหว่างที่คุณออกไปสู้แล้ว ลัทธิคุณจะไม่เจริญเติบโต แต่ก็นั่นแหละ การที่ลัทธิของเรารันกิจการไปเรื่อย ๆ ทำให้มันจะเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรารับสมาชิกลัทธิเข้ามา เราก็ต้องจัดหาเตียงนอนให้เพียงพอกับสมาชิกด้วย ไม่อย่างนั้นอาจจะมีการร้องเรียนหรือสูญเสียศรัทธาเกิดขึ้นได้ หรือการทำอาหาร ถ้าทำแต่อาหารคุณภาพห่วยออกมา ก็จะโดนติติงได้เช่นกัน 

ในทางกลับกัน ระหว่างออกต่อสู้ เราสามารถออกคำสั่งให้สาวกแต่ละคนของเราทำงานได้ เช่นไปตัดไม้ เก็บพืชผล หรือเก็บกวาดสถานที่ให้เรียบร้อย และสิ่งสำคัญเลยคือการสวดบูชา การสวดบูชาจะทำให้เราได้ไอเทมความจงรักภักดี ซึ่งจะทำให้เราปลดล็อคสิ่งปลูกสร้างและของใหม่ ๆ ได้ ยิ่งเราเล่นไปเรื่อย ๆ เราก็อาจจะมอบงานให้สาวกทำได้มากขึ้นไปอีกต่างหาก  ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เล่นก็ต้องบริหารและจัดการให้ดีในขณะที่เราออกไปต่อสู้ นอกจากนั้นยังมีระบบการจัดการต่าง ๆ เช่นการเผยแพร่หลักธรรมต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดแนวทางเลยว่า ลัทธิของเราจะมีรูปแบบการดำเนินการไปในแนวทางใด เช่น เพิ่มศรัทธาด้วยการทำความดี หรือสังเวยสาวกที่ตายไปเป็นเครื่องบูชายัญ สร้างความหวั่นผวาและยำเกรงให้กับเหล่าสาวก และปลดล็อคอาวุธ และคำสาปใหม่ ๆ ได้ด้วย เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีพื้นที่เปิดกว้างให้เราได้ออกไปสำรวจ มีการตกปลา หาของ หาวัตถุดิบใหม่ ๆ มาทำอาหาร เพราะอาหารบางชนิดจะฟื้นฟูค่าพลังได้ก็จริง แต่ถ้าเป็ฯอาหารเกรดต่ำ อาจจะทำให้ติดดีบัฟที่ไม่ค่อยจะดีสักเท่าไรตามมาด้วย


การบริหารจัดการสาวกของเราก็มีความสำคัญ นอกจากจะต้องดูแลสวัสดิการ อาหารการกินการอยู่แล้ว เรายังสามารถเข้าไปพูดคุยกับเหล่าสาวกแบบตัวต่อตัวได้ เพื่อรับฟังคำขอ มอบของขวัญ หรือเผยแพร่หลักคำสอนให้โดยตรง เพื่อให้สาวกคนนั้นมีความศรัทธาและจงรักภักดีต่อลัทธิของเรามากขึ้นได้อีกต่างหาก แน่นอนว่าการเป็นเจ้าลัทธิ จะให้มีแต่เรื่องดี ๆ มีคนรักมีคนชอบก็ใช่เรื่อง เพราะหากเราปล่อยให้ค่าความศรัทธาลดต่ำลงขึ้นมา สาวกของเราบางคนอาจจะเริ่มก่อหวอด ซุบซิบนินทา แพร่ข่าวมั่ว จนเราเริ่มโดนก่อกบฎ ซึ่งเราจะแก้ปัญหาด้วยวิธีละมุนละม่อม อย่างการค่อย ๆ พูดคุย ปรับความเข้าใจ หรือจะเดินทางสายดาร์ค จับขังคุกให้ดูเป็นตัวอย่าง หรือเชือดทิ้งซะเลยก็ยังได้ เห็นภาพน่าัรก ๆ แบบนี้ วิธีโหดก็โหดได้ใจจริง ๆ


เรียกได้ว่าการออกแบบเกมนี้ในส่วนของ Management และการสร้างลัทธินั้น ไม่ได้ใส่มาเล่น ๆ เลย ดีไม่ดีการบริหารจัดนี้อาจจะยากกว่าระบบการต่อสู้ด้วยซ้ำ แต่ช้าก่อน.. ถ้าเราบอกว่าระบบการต่อสู้เองก็เข้มข้นไม่แพ้กัน และตึงมือไม่แพ้กันด้วยล่ะ..

ระบบการต่อสู้ที่ต้องแข่งกับเวลา ตึงมือ แชะเชื่อมโยงกับการบริหารจัดการ


แม้ว่าเกมเพลย์การเล่นในส่วนของการต่อสู้ อาจจะไม่ยากแบบ Soulsborne หรือเกมอื่น ๆ แต่เพราะมันผูกระบบการต่อสู้ไว้กับระบบริหารจัดการลัทธิไว้ได้อย่างแนบเนียน และการออกแบบศัตรูมาอย่างดี ทำให้เรารู้สึกว่า นี่คือสมดุลของตัวเกมอย่างแท้จริง และทีมพัฒนาเกมชาญฉลาดอย่างมาก ที่จะหาจุดลงตัวให้กับสองระบบนี้

สำหรับเกมเพลย์การเล่นในส่วนของการต่อสู้นั้นจะเหมือนกับเกม Action Roguelite ทั่วไป ทุก ๆ การเริ่มใหม่คือการสุ่มใหม่ทุกครั้ง เราจะได้รับ Starter Weapon และ Skill ที่ต่างกัน แต่มันจะยิ่งดีขึ้นทุกครั้งที่เราอัปเกรดลัทธิของเราให้สูงขึ้น เส้นทางจะมีทั้งหมดหลากหลายเส้นทาง ทั้งในเส้นทางหลัก และเส้นทางย่อยที่เราเล่นตะลุยด่าน เราสามารถออกสำรวจทุกห้องจนครบได้ ก็จะมีโอกาสได้รับไอเทมและทรัพยากรที่เยอะขึ้น แต่ก็ต้องแลกมากับความเสี่ยงที่มากพอสมควร เพราะเกมนี้ยาฟื้นพลังเป็นสิ่งที่หาได้ยากเย็นเสียเหลือเกิน 


อาวุธของเราจะแบ่งสเตตัสออกเป็นพลังโจมตีและความเร็ว และเราสามารถกลิ้งหลบการโจมตีต่าง ๆ ได้ รวมไปถึงมีความสามารถในการใช้ท่าพิเศษที่จะต้องเก็บพลังศัตรูมาใช้ด้วย แต่สิ่งที่ทำให้เกมนี้มันยาก เพราะระหว่างที่เราออกไปต่อสู้อยู่นั้น เหตุการณ์ต่าง ๆ ในลัทธิของเราก็จะดำเนินต่อไปไม่มีหยุด สมมติคุณกำลังออกมาสู้รบอยู่ แต่ปรากฎว่าถึงเวลาเข้านอนของชาวลัทธิแล้ว เตียงพัง สาวกไม่มีพื้นที่นอน ก็จะนอนพื้นพร้อมกับตื่นมาบ่นโอดว่ามันไม่สบายหลังเอาซะเลย หรือที่หนักกว่านั้น บอสใหญ่สังฆราช ก็จะไปจับสาวกเรามาทรมาน เช่นดึงความหิวออกจากตัว ทำให้ท้องว่างกันเป็นแถบ ๆ ลำบากเราที่ร้องรีบเคลียร์ดันเจี้ยนออกไปกอบกู้สถานการณ์

ถือว่าทีมพัฒนาเกมนั้น ฉลาดมาก ๆ ในการผูกสองระบบนี้เข้าไว้ด้วยกัน เพราะแม้การต่อสู้จะไม่ยาก แต่ถ้าเกิดสถานการณ์สุ่มแบบที่ว่าไปขึ้นมา เกมจะตึงขึ้นมาทันที และความรีบเร่งจะจบดันเจี้ยนออกไปช่วยลัทธิก็อาจจะทำให้เราพลาดท่าตายเอาได้ง่าย ๆ โชคดีที่บทลงโทษการตายของเกมนี้ ไม่โหดนัก อย่างมากก็เริ่มใหม่ แต่ทรัพยากรระหว่างทางที่เราเก็บมาได้ จะถูกหักเปอร์เซนต์ออกไปแทน ส่วนทรัพยากรที่ได้มาเช่นไม้ หิน อาหาร กระดูก ก็เอาไปทำอย่างอื่นตามที่เกมกำหนด ด้วยความที่เป็นเกม Roguelite เราจะสามารถเลือกเส้นทางไปต่อข้างหน้าได้ โดยเราจะเห็นเลยว่าเส้นทางที่เรากำลังจะไปต่อนี้ เราจะได้อะไรเป็นรางวัล อาจจะมีการปลดล็อคสาวกเพิ่มระหว่างทาง ได้ทรัพยากร หรือแม้แต่ระบบไพ่ทาโรต์ที่จะช่วยให้เราต่อสู้ได้ง่ายดายและสะดวกมากยิ่งขึ้นได้


และการออกแบบศัตรูก็ถือว่าแสบใช้ได้ ย้ำกันอีกรอบว่ามันไม่ใช่เกมยาก แต่ด้วยการออกแบบสถานการณ์ทำให้เรารู้สึกว่าศัตรูตัวนี้แม้มันจะไม่มีอะไรมาก แต่มันช่างน่ารำคาญอย่างเหลือเกิน โดยเฉพาะเวลารีบ ๆ จะจบเกม มันทั้งหลบหลีกเป็น รุมเป็น มีท่าพิเศษที่ถ้าหากเราโดนโจมตีขึ้นมาก็ถือว่าเจ็บเอาเรื่อง และเสียเวลาอีกต่างหาก  ฟังดูเหมือนเกมจะเน้นหนักไปที่การบริหารจัดการ แต่สำหรับคนที่ได้เล่นเอง จะรู้ได้ทันทีว่า Cult of the Lamb เป็นเกมที่ผสมผสานเอาแนวเกมบริหารจัดการกับการต่อสู้มาผสมผสานไว้ด้วยกันได้อย่างยอดเยี่ยมแบบหาเกมทำได้ยากมากจริง ๆ

อาจจะหาว่าอวยจนเกินไปหน่อย แต่บอกตรง ๆ ว่าตลอดเวลาการเล่นของเกมนี้ ผู้เขียนไม่สามารถหาข้อเสีย หรือข้อตำหนิใด ๆ ให้ตัวเกมได้เลยแม้แต่น้อย ด้วยความที่ตัวเกมนั้น โดดเด่นในด้านกราฟิกแบบ 2D และบั๊กรวมไปถึงการแสดงผลที่แทบไม่เจอเลยตลอดการเล่น ดังนั้นผู้เขียนจะแปลกใจมาก หาก Cult of the Lamb ไม่ได้เข้าชิงรางวัลเกมอะไรเลยสักสาขาในปีนี้ แต่ก็นั่นแหละ นี่เป็นเพียงความชอบมาก ๆ ส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้น อาจจะมีคนที่เจอบั๊ก หรือข้อเสียของเกมเพลย์การเล่นก็ได้ แต่สำหรับผู้เขียนแล้ว นี่คือหนึ่งในเกมโปรดประจำปี 2022 นี้เลยทีเดียว


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header