GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
ผลการค้นหา : "preview"
Final Fantasy VII Remake Demo : 23 ปีเพื่อนกัน และความมหัศจรรย์ของการพบกันอีกครั้ง
คุณเคยมีเพื่อนที่สร้างความประทับใจให้ไม่รู้ลืม ไม่ว่าจะผ่านเวลามานานขนาดไหนหรือเปล่า? สำหรับผู้เขียน … ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 23 ปีที่แล้ว ในวันศุกร์ที่ 31 มกราคม 1997 ด้วยวัย 12 ขวบ ที่ยอมลาเรียน รบเร้าคุณพ่อให้พาไปต่อคิวหน้าศูนย์โซนีสาขาเดอะมอลล์งามวงศ์วาน ที่เต็มไปด้วยผู้คนที่มาด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกัน อันช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิต มันเป็นวินาทีที่พิเศษที่สุด ที่ผลจากความพยายามเก็บเงินข้ามปี จำนวน 2180 บาท กำลังจะออกดอกผล เป็นแพ็คเกจแผ่นเกมเครื่องเล่น Playstation ใหม่ล่าสุด ที่มีชื่อว่า …. Final Fantasy VII จากวันที่ได้รับแผ่น ผู้เขียนเล่นมันอย่างไม่ลืมหูลืมตา แม้ว่าจะไม่เข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ปรากฏขึ้นมาบนหน้าจอโทรทัศน์แม้แต่ตัวเดียว เฝ้าเสาะแสวงหาบทสรุปของสำนักพิมพ์ต่างๆ มาประกอบการเล่น เล่นจบแล้วก็เล่นซ้ำไปมา เป็นห้วงเวลาที่มีความสุขที่สุด ที่ได้ใช้ร่วมกันกับ ‘เพื่อน’ ผู้นี้ และเป็นสิ่งที่กำหนดตัวตน และความเป็น ‘คนเล่นเกม’ ของผู้เขียนมานับตั้งแต่นั้น…. เวลาผ่านไป 23 ปีมาจนถึงปัจจุบัน ที่ผู้เขียนเป็นชายวัยเกือบกลางคน ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายพรรษา ผ่านชิ้นงานเกมหลากหลายแนวมานับไม่ถ้วน ได้เห็นวัฏจักรการเกิดดับของแต่ละ Cycle ของแวดวง และได้รับทราบถึง ‘การกลับมา’ ของเพื่อนคนเก่า ที่มาในรูปโฉมใหม่ มันอดที่จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วยไม่ได้ มันเป็นความตื่นเต้น อันเกิดจากความอยากรู้อยากเห็น ว่าเวลากว่าสองทศวรรษที่ผ่านไป ‘เพื่อน’ คนนี้ จะยังคงน่าสนใจแค่ไหน และมีเรื่องราวใดที่จะมาบอกกล่าวกันกับผู้เขียน เรานัดเจอกันในเย็นย่ำวันธรรมดาหลังเลิกงาน เฝ้ารอให้เพื่อนเดินทางมาสถิตอยู่ในเครื่อง Playstation 4 Pro ใช้เวลาเพียงไม่นาน ‘เพื่อนเก่า’ ใน ‘โฉมใหม่’ ก็ได้มาอยู่ต่อหน้า พร้อมสำหรับการพูดคุยสนทนาวิสาสะกัน และนี่ คือการสนทนาของผู้เขียน กับ ‘เพื่อน’ คนนี้ … รูปลักษณ์ สุ้มเสียง สำเนียงที่เปลี่ยนไป ในเรื่องราวเก่าแก่ที่บอกกล่าวกันใหม่ตามช่วงเวลา เราเริ่มต้นทักทายกันด้วยความทรงจำและเรื่องราวเก่าเป็นบทเปิดโหมโรงพอเป็นพิธี แต่ก็สัมผัสได้ทันที ว่าเพื่อนผู้นี้ มีกลวิธีที่แตกต่างออกไปจากเดิม มันมีเสน่ห์มากขึ้นตามยุคสมัย แต่สามารถลงลึกถึงรายละเอียดเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนได้อย่างแม่นยำ ฉากที่เป็น Signature หลายช่วงถูกนำเสนอออกมาในรายละเอียดที่มากขึ้น ที่แม้แต่ผู้เขียนก็คาดไม่ถึง ว่าเรื่องราวในครั้งนั้น จะมีสิ่งละอันพันละน้อยปลีกย่อยที่น่าสนใจได้ถึงขนาดนี้ มันช่วยเติมรสชาติที่แปลกใหม่ แต่ก็ยังมีความชวนให้หวนอาลัยต่อความทรงจำที่เคยได้รับมาในสถานการณ์เดียวกัน ดวงตาของผู้เขียนเป็นประกายราวกับเด็กที่ได้ของเล่นใหม่ เหมือนได้ย้อนกลับไปยังวันเวลาเก่าก่อนอีกครั้ง ‘เพื่อน’ ไม่รอช้า เข้าสู่บทโหมโรงของเรื่องราวแห่ง Cloud Strife ทหารรับจ้าง กับภารกิจร่วมกับกลุ่ม Avalanche ในการทำลายเตาปฏิกรณ์ Mako ของบรรษัทยักษ์ใหญ่ Shinra Company แน่นอนว่านี่ เป็นเรื่องเก่า แต่ก็เป็นเรื่องเก่าที่น่าคิดถึง และยิ่งมาในรูปโฉมใหม่ด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ความน่าสนใจในการสนทนาครั้งนี้ เพิ่มสูงขึ้นอีกเป็นเท่าตัว ตัวละครประกอบอย่างแก๊งส์ร่วมขบวนการอย่าง Biggs, Wedge และ Jessie ถูกขับเน้นให้มีตัวตน มีบุคลิก และ ‘มีความสำคัญ’ ดังที่เพื่อนได้กล่าวกับผู้เขียนว่า เรื่องราวถัดจากนั้น จะยิ่งเข้มข้นและลงลึกในรายละเอียดมากยิ่งขึ้น (และอาจจะดึงดราม่าเรียกน้ำตากันได้ง่ายๆ...) ผู้เขียนพอจะทราบมาบ้างแล้วว่า เพื่อนผู้นี้มีความพยายามที่จะตามยุคสมัยและเวลาที่เปลี่ยนไปให้ทัน นั่นทำให้สิ่งรกรุงรังอย่างการผลัดกันตีผลัดกันเดิน ถูกทดแทนด้วยบทแอ็คชันประยุกต์ผสมผสานโหมด Active Time Bar (ATB) แบบฉบับดั้งเดิมให้เป็นในส่วนของคอมมานด์ที่สามารถกดใช้ได้แทบจะทันที หรือจะกดใช้แบบกึ่งชะลอจังหวะการเล่นเพื่อดูภาพรวมของสมรภูมิก็สามารถทำได้ ทำให้การออกท่วงท่าต่างๆ เป็นไปอย่างเรียบเนียนไร้รอยสะดุด ช่วยให้การเล่นนั้นรวดเร็ว คมกริบ และง่ายต่อการเรียนรู้ เพียงแค่สองการปะทะ ผู้เขียนก็สามารถใช้มันได้อย่างคล่องแคล่วโดยแทบไม่ต้องมองจอยแพดที่อยู่ในมือ เขาบอกว่าเอาตัวอย่างบางส่วนมาจากภาค 15 เข้ามาปรับปรุง แต่ก็ยังเหลือเผื่อจังหวะให้ช้าลงเพื่อความสะดวกมากยิ่งขึ้น เป็นการประนีประนอมที่เข้าท่ามากๆ เพราะมันได้ทั้งความเร็ว และมิติทางการวางแผน อันเป็นมรดกสืบทอดจากช่วงเวลาอันแสนน่าคิดถึงเหล่านั้น ความรวดเร็วในการดำเนินเรื่องราวของเพื่อนยังคงไว้ซึ่งจังหวะอย่างต่อเนื่อง คลอไปด้วยดนตรีที่คุ้นเคย ไม่มีอีกแล้วกับการเดินในพื้นที่แล้วสู้กับศัตรูแบบสุ่ม ทุกอย่างถูกวางสคริปต์เอาไว้อย่างเหมาะเจาะ ทุกการปะทะถูกเตรียมพร้อมเอาไว้โดยมีเป้าประสงค์ที่ชัดเจน และเข้าถึงประเด็นได้โดยไม่ต้องเสียเวลาสาธยายความ แต่ไม่ละเลยซึ่งส่วนปลีกย่อยที่เล็กน้อยที่สุดอย่างการแสดงออกทางสีหน้าตัวละคร ท่วงท่าภาษากาย บทสนทนาตอบโต้ระหว่างกัน เป็นการบอกบุคลิกที่แตกต่างระหว่าง Cloud Strife และ Barret Wallace ในภารกิจทำลายเตาปฏิกรณ์ มันชัดเจน และขับเน้นตัวละครได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้ บ่งบอกถึงการคิดมาอย่างดี พ่วงด้วยประสบการณ์ที่สะสมตามเวลามานานปี ที่ผู้เขียนมั่นใจ ว่าจะสามารถจับหัวใจได้ทั้งเพื่อนเก่าแก่ท่านอื่น และผู้ที่รู้จักกับเขาเพียงครั้งแรก ดังเช่นที่ผู้เขียนได้เพลิดเพลินกับการปรับโฉมในรอบนี้ เรื่องราวการผจญภัยมาถึงปลายทาง ผ่านบทต่อสู้กับบอสประจำพื้นที่อย่างหุ่นยนต์ Scorpion Sentry หน้าเก่า ที่กลับมาอย่างเร้าใจ มันมีลูกเล่นที่มากมาย และซุกซ่อนกลเม็ดเด็ดพรายที่ทำให้การต่อสู้นั้นท้าทายและเป็นมากกว่าการเดินเข้าตีอย่างดาดๆ มันต้องใช้ความคิดที่มากขึ้น ใช้ทักษะที่มากขึ้น และที่สำคัญที่สุดคือ มันค่อนข้างจะเป็นการต่อสู้ที่ ‘ยาก’ เอาเรื่อง หลายครั้งที่ผู้เขียนเกือบจะพลาดพลั้งเสียที จนต้องเรียนรู้รูปแบบการโจมตีและท่วงท่าของมัน และเลือกใช้ความสามารถของสองตัวละครที่สลับผลัดเปลี่ยนในช่วงที่เหมาะสม จึงสามารถคว้าชัยชนะในการปะทะครั้งนี้ลงไปได้ ทั้งหมดนี้ ผู้เขียนเชื่อว่า คือสิ่งที่เพื่อนอยากจะบอกกล่าวตั้งแต่กาลก่อน แต่ไม่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยี หรือด้วยวัยที่ยังใหม่ต่อโลกกว้าง ที่วงการยังอยู่ในระยะตั้งไข่ก้าวเดินออกไปได้ไม่นานก็ตาม จุดสะดุดในเรื่องเล่า แต่ก็เช่นเดียวกับเรื่องเล่าในทุกเรื่อง การบอกเล่าของเพื่อนยังไม่ได้สมบูรณ์แบบจนถึงที่สุด ยังมีจุดที่ยังน่ากังขาอยู่ไม่น้อยที่ยังรอคอยคำตอบ ไม่ว่าจะด้วยมุมกล้องที่ใช้งานได้ไม่สะดวกมากนัก ไปจนถึงระดับความยากของการเล่นที่ค่อนข้างสวิงไม่คงที่ แต่นั่นก็เป็นเพียงความไม่สะดวกเพียงเล็กน้อย ที่ไม่ได้ขัดขวางซึ่งความสนุกที่พึงได้รับแต่ประการใด รูปแบบการบอกเล่า (การเล่น) ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เพื่อนผู้นี้กังวล อาจจะเพราะด้วยความที่เขามีคนที่รักอยู่มากมาย การเปลี่ยนแปลงสไตล์จากหน้ามือเป็นหลังมือเช่นนี้ อาจก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์ได้ทั้งทางบวกและทางลบ แต่ก็เป็นความกังวลที่แฝงไปด้วยความมั่นใจในน้ำเสียงอยู่ไม่น้อย ว่าจะสามารถมัดใจผู้ที่เข้ามาพูดคุยได้อย่างอยู่หมัด มันบ่งบอกชัดผ่านการนำเสนอที่ทั้งนอบน้อมต่อความทรงจำเก่าของเรา และความพยายามที่ก้าวสู่อาณาเขตของความร่วมสมัยที่สามารถสัมผัสได้แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก็ตาม อีกทั้งเพื่อนผู้นี้ออกตัวกับผู้เขียนเอาไว้แต่เนิ่นๆ ด้วยว่า เขาอาจจะไม่ได้มีความพร้อมที่จะบอกเล่าทุกเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบไปถึงปลายทางดังที่เคยเป็น อาจจะเพราะมีหลายสิ่งที่ได้รับการเพิ่มเติมเข้ามา หลายอย่างที่ช่วงเวลาได้บ่งเพาะให้มีความละเมียดละไม และหลายจุดที่ไม่สามารถละสายตาไปได้ แต่นั่นไม่ใช่สาระเท่าใดในความรู้สึกของผู้เขียน มันออกจะเป็นความน่าลุ้นเสียด้วยซ้ำว่าด้วยพรรษาที่ผ่านไป เขาจะเพิ่มเติมส่วนประกอบอันใดเข้าไว้ในเรื่องราวแต่หนก่อน ให้มีเสน่ห์และรสชาติที่น่าลิ้มลองอีกครั้ง การเฝ้าคอย และนับถอยหลังสู่การพูดคุยครั้งสำคัญ ผู้เขียนและเพื่อนใช้เวลาร่วมกันในการสนทนาครั้งนี้ที่ 45 นาที เป็นเวลาที่ดูเหมือนจะนาน แต่ก็ผ่านไปอย่างรวดเร็วเกินกว่าใจคิด อดที่จะรู้สึกเสียดายไปไม่ได้ ที่การพบปะกันหลังเวลาผ่านไปกว่าสองทศวรรษจะต้องปิดฉากลงไปก่อนเป็นการชั่วคราว เพราะมันเป็นการพบกันที่น่าอภิรมย์ แม้จะเป็นช่วงสั้นๆ แต่ก็ทำให้เห็นว่า เพื่อนผู้นี้ มีดีมากกว่าที่คิด และมีดีมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มรู้จัก แม้เวลาจะผ่านไปกว่าสองทศวรรษ และยิ่งเปล่งประกายเมื่อได้รับการขัดด้วยกาลเวลา ก่อนจากกัน เราให้สัญญานัดแนะอย่างเป็นมั่นเหมาะ ว่าจะพบกันเพื่อพูดคุยอีกครั้ง ในวันที่ 10 เมษายน ที่จะมาถึงในอีกไม่กี่อึดใจนี้  แน่นอนว่าผู้เขียนเองก็อดใจแทบไม่ไหว ที่จะได้เปิดวงสนทนากับเพื่อนผู้นี้กันให้อย่างเต็มอิ่มชุ่มปอด สวมกอดด้วยมิตรภาพที่มีให้มาอย่างยาวนานนับแรมปี และมันคงจะเป็นสิ่งที่ทำให้ย้อนระลึกถึงความเป็นเด็กวัย 12 อีกครั้ง ในวันที่ได้พบเจอกัน เพราะช่วงเวลาที่แสนสุข และยอดเยี่ยม มันไม่เคยเกี่ยง ว่าจะกลับมาในรูปโฉมไหน หรือออกมาในรูปแบบใด แล้วคุณล่ะ มีเพื่อนแบบนี้อยู่ในความทรงจำบ้างหรือเปล่า?
13 Mar 2020
ผจญภัยในโลกกว้างไปกับเจ้าหนุ่มหมวกฟาง! - พรีวิว One Piece: World Seeker จากงาน TGS 2018
https://www.youtube.com/watch?v=sZR44R87E6U&feature=youtu.be อีกหนึ่งเกมที่พลาดไม่ได้สำหรับค่ายเกม Bandai Namco ก็คือ One Piece: World Seeker เกมแนวแอคชั่นผจญภัยแบบ Open World ที่ให้ผู้เล่นได้สวมบทบาทเป็น Monkey D. Luffy ออกตามล่าวันพีชพร้อมกับผองเพื่อน เมื่อมาเยือนถึง TGS 2018 แล้ว เราก็ไม่พลาดที่จะไปทดลองเล่นเกมเพื่อจะได้มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง โดยเดโมตัวที่เราเล่น เป็นตัวเดียวกับที่เคยเผยโฉมมาก่อนแล้วในงาน Gamescom 2018 ที่ผ่านมา จากที่ชมในเทรลเลอร์ต่างๆ ผู้เขียนรู้สึกตื่นเต้นเป็นพิเศษสำหรับการออกผจญภัยในฐานะ "ลูฟี่" ครั้งนี้ เพราะแทบจะเป็นครั้งแรกที่ One Piece มีเกมแบบ Open World ออกมาให้แฟนเกมได้สัมผัสบรรยากาศของการท่องไปในแกรนด์ไลน์ ทว่าพอได้ลองเล่นจริงๆ ตัวเกมกลับทำได้ไม่น่าประทับใจเท่ากับที่คาดหวังเอาไว้ สิ่งที่ผู้เขียนผิดหวังกับตัวเกมมากที่สุดน่าจะเป็นระบบ Open World ซึ่งถ้าเทียบกับ Marvels Spider-man ที่เป็นเกมแนวแบบเดียวกันแล้ว เรียกได้ว่า One Piece: World Seeker แทบจะไม่ติดฝุ่นไอแมงมุม ในที่นี้ผู้เขียนไม่ได้จะเปรียบเทียบด้านภาพ มุมกล้อง หรือเนื้อเรื่องของเกม แต่จะพูดถึงความอิสระในเกม จากที่เล่นในเดโม แทบไม่รู้สึกเลยเสียด้วยซ้ำว่าเกมเป็นระบบแบบเปิดที่เราสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างอิสระ แน่นอนว่าลูฟี่ไม่ได้ใช้มือยางยืดตึ๋งหนืดในการเดินทางบ่อยเท่ากับสไปเดอร์แมนที่พ่นใยอยู่ตลอดเวลา แต่การเดินหรือวิ่งก็มีพื้นที่จำกัดจำเขี่ยมาก ตัวเกมมีกำแพงที่มองไม่เห็นคอยกันไม่ให้เราออกนอกพื้นที่ ชวนให้รู้สึกอึดอัด แทบไม่ต่างจากการเล่นเกมแบบเป็นด่าน ไม่เหมือน Marvels Spider-man ที่ให้อิสระแก่ผู้เล่นในการชักใย ห้อยโหนและกระโจนไปไหนก็ได้ตามใจอยาก โดยไม่มีขอบเขต รวมถึงทุกสถานที่ที่ไปยังมีภารกิจยิบย่อยให้ทำ เสมือนกับว่าเราได้ไปเดินอยู่ในนิวยอร์กแล้วได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในเมืองจริงๆ ถือเป็นอีกจุดหนึ่งที่ One Piece: World Seeker ยังขาดไปอยู่ ส่วนการใช้มือยางยืดเพื่อการเคลื่อนที่ดูเหมือนจะเป็นประโยชน์ในการเล่นแบบ Open World ที่แผนที่ค่อนข้างกว้าง และตัวละครจำเป็นต้องมีท่าที่ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็ว ทว่าในความเป็นจริงตัวเกมกลับทำระบบนี้ออกมาได้ไม่ดีเท่าไหร่ เมื่อมือที่ยืดออกไป ยืดได้ไม่ยาวพอ กะระยะยาก อีกทั้งยังใช้ได้กับวัตถุหรือสิ่งของแค่บางอย่าง เช่น ต้นไม้ หรือหอคอยเป็นต้น ไม่สามารถใช้จับขอบเนินดินแล้วปีนขึ้นได้ ต้องคอยเดินไปตามทางลาดที่เกมกำหนด ด้านการต่อสู้ "ลูฟี่" ตัวละครหลักของเราจะต้องเข้าไปสู้รบและประมือกับทหารเรือมากมาย ตัวเกมทำออกมารองรับรูปแบบการเล่นที่มีตั้งแต่การให้ Stealth ไปจนถึงการเปิดตัวด้วยการลุยดะแบบไม่แคร์ใคร สไตล์กัปตันผู้ไม่คิดมาก นอกจากนี้เกมยังถ่ายทอดความเป็นเจ้าหนุ่มหมวกฟางออกมาด้วยการใส่กิมมิคฮาๆ เข้าไปเล็กน้อย อย่างการเข้าไปแอบซ่อนให้ถังเหล้าแล้วค่อยๆ ย่องเข้าไปแบบ (ไม่) เนียน เป็นต้น ทว่าการต่อสู้ที่น่าจะเป็นจุดขายของเกมแนวแอคชั่นอย่าง One Piece: World Seeker กลับทำออกมาได้ขาดๆ เกินๆ แม้จะมีการอ้างอิงท่าต่อสู้ของลูฟี่มาจากอนิเมะหรือมังกะ อย่างฮาคิ หรือท่ายางยืดต่างๆ แต่กลับไม่ได้มีท่าที่หลากหลายมากพอในการจะสร้างคอมโบต่อสู้แบบมันส์ๆ นอกจากนี้ระบบการต่อสู้ก็ไม่ได้ไหลลื่นอย่างที่คิด ที่ผู้เขียนรู้สึกอึดอัดที่สุดคือ One Piece: World Seeker ถือเป็นเกมที่เล็งเป้ายากเอาการ ทำให้การโจมตีหลายต่อหลายครั้งก็พลาดเป้าได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีที่แสนจะเบสิค การโจมตีคอมโบ หรือท่าพิเศษก็ตาม นอกจากนี้ในการยืดมือออกไปจับศัตรูแล้วพุ่งไปหาก็ดูเหมือนจะเป็นอะไรที่น่าสนุก ย่นระยะเวลาเดินทางไปได้เยอะ แต่จะมีประโยชน์อะไร ในเมื่อพอพุ่งเข้าไปหาเหล่าทหารเรือแล้วกดใส่คอมโบหรือโจมตีกลับวืดไม่เป็นท่า จนกลายเป็นว่าแทบจะไม่สามารถ "ยืด จับ พุ่ง และโจมตี" ได้เลย แม้ตอนสู้กับ "อาคาอินุ" บอสในเดโม จะค่อนข้างทำให้เกมสนุกขึ้นบ้าง แต่เมื่อเทียบกับระบบการต่อสู้ของ Marvels Spider-man เกมไอแมงมุมกลับทำออกมาได้ดีกว่าเยอะ ทั้งๆ ที่ Spider-man ไม่ได้มีท่าคอมโบหรือท่าที่ใช้โจมตีศัตรูมากเท่ากับท่าของลูฟี่เองเสียด้วยซ้ำ แต่กลับมีการโจมตีแบบคอมโบลื่นไหลกว่า และมันส์กว่า นอกจากนี้ตัวเกมยังขาดความตื่นเต้นและท้าทายอีก ทั้งภารกิจก็ไม่ได้มีส่วนช่วยให้เราเข้าถึงความรู้สึกของตัวละครอย่างลูฟี่ หรือเพิ่มความอินกับเนื้อเรื่องแต่อย่างใด โดยตลอดเวลาที่ตลอดเวลาที่ได้เล่นเกมประมาณ 20 นาทีก็แอบมีจังหวะที่เกิดความรู้สึกเบื่ออยู่บ่อยๆ ภารกิจที่ได้รับแทบจะไม่ค่อยมีอะไรให้ทำ นอกจากเดินไปยังยอดเขาที่ตัวเกมกำหนด ค่อยๆ กำจัดทหารเรือไปทีละตัวสองตัว ตามเปิดกล่องที่กองอยู่บนพื้น แถมยังต้องค่อยๆ เดินไปตามทาง ทำให้นอกจากกำจัดทหารเรือไปเรื่อยๆ แล้วก็แทบไม่มีอะไรให้ทำอีก ที่สำคัญคือเกมขาดความสมจริง ในฐานะเกมที่มีพื้นฐานเนื้อเรื่องมาจากการ์ตูน โดยลูฟี่ที่เราเล่นใน One Piece: World Seeker สามารถถูกโจมตีด้วยกระสุนปืนธรรมดาของทหารเรือ หากจะบอกว่าทหารเรือทุกคน ทุกเมืองใช้กระสุนไคโรอยู่ตลอดก็คงจะไม่ใช่ แม้จะเป็นที่เข้าใจได้ว่าหากยึดตามเรื่องจริงทั้งหมด ลูฟี่ของเราก็แทบจะเป็นอัมตะ เพราะนอกจากจะโจมตีแบบระยะไกลได้แล้ว ยังแทบไม่มีอะไรมาทำร้ายตัวละครของเราได้ แต่ตรงจุดนี้ก็ทำให้ผู้เขียนรู้สึกตะขิดตะขวงใจ จนไม่ค่อยอินกับตัวเกมอยู่เหมือนกัน หากจะให้รีบตัดสินว่า One Piece: World Seeker เป็นเกมที่ไม่คุ้มค่าในการเสียเวลาเล่นก็อาจจะเป็นการรีบด่วนสรุปไป ต้องรอดูกันต่อไปว่าเมื่อเกมออกมาแบบเต็มรูปแบบแล้ว จะมีการปูเนื้อเรื่อง สร้างบรรยากาศให้เราอินกับตัวเกมได้ขนาดไหน หรือเมื่อมีเหล่าผองเพื่อนกลุ่มหมวกฟางเข้ามาร่วมจอยอาจทำให้เล่นสนุกขึ้นก็เป็นได้ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะต้องเตรียมใจเผื่อไว้หากเกมไม่ได้สนุกอย่างที่เพื่อนๆ คาดหวัง ทั้งนี้ One Piece: World Seeker จะจัดจำหน่ายให้เล่นผ่าน PlayStation 4, Xbox One และ PC ในปี 2019
22 Sep 2018
พรีวิว Jump Force จากงาน Tokyo Game Show 2018
https://www.youtube.com/watch?v=tm_-1DnNcXQ&feature=youtu.be ถ้าพูดเกมแนวต่อสู้ที่มีแนวโน้มว่าจะมาแรงในอนาคตก็คงไม่หนีไม่พ้น Jump Force เกมแนวต่อสู้ที่รวบรวมตัวละครจากทั้งอนิเมะและมังกะของ Weekly Shonen Jump มาลงสังเวียน ต่อสู้เพื่อหาความเป็นหนึ่ง โดยเป็นเกมจากผู้พัฒนา Spike Chunsoft และผู้จัดจำหน่ายเกมยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น Bandai Namco ทาง Game Fever ก็ได้เล่น Demo Jump Force ในงานTokyo Game Show 2018 มาเหมือนกัน เลยอยากมาแชร์ประสบการณ์ให้เพื่อนๆ ได้ฟัง ต้องเกริ่นก่อนว่าเกมนี้มีรูปแบบเกมเป็นการต่อสู้แบบ 3 ต่อ 3 ซึ่งล่าสุดตัวเกมมีตัวละครให้เลือกกว่า 20 ตัว มาจาก 7 ซีรีส์ด้วยกัน ได้แก่ Bleach, Dragon Ball, Hunter x Hunter, Naruto, One Piece, Yu-Gi-Oh! และ Yu Yu Hakusho (มีตัวละครจาก Death Note ด้วย ทว่าจะปรากฎตัวในโหมดเนื้อเรื่องแทน) ด้านภาพ ก่อนหน้าที่ผู้เขียนจะได้ลองเล่น ก็เคยดู Trailer ของ Jump Force มาแล้วหลายตัว รวมถึงไปส่อง Screen Shot มาก็หลายครั้ง พอไปเล่นเองก็ต้องยอมรับจริงๆ ว่าทำภาพออกมาได้ค่อนข้างดี ทั้งรายละเอียดหน้าตารูปลักษณ์ตัวละคร ความสวยงามของฉาก ที่เด็ดที่สุดคือเอฟเฟ็กต์การใช้ท่าของตัวละคร ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับเรากำลังได้ดูภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องหนึ่งพร้อมกับเล่นเกมต่อสู้อยู่ ทว่าเกมก็ยังมีปัญหาด้านการให้น้ำหนักกับภาพมากเกินไป อย่างเอฟเฟ็กต์ของตัวละครบางตัวก็ใหญ่เกินไป จนบดบังมุมมอง ทำให้เล่นเกมได้ไม่ค่อยลื่นและทำให้รู้สึกรำคาญในบางครั้งอยู่เหมือนกัน ระบบการต่อสู้ แต่เกมก็ไม่ได้ทำออกมาได้ดีขนาดนั้น แม้ภาพจะสวย แต่การต่อสู้กลับไม่ได้บู๊มันเท่าที่ควร เหมือนกับแค่กดปุ่มไปแล้วรอตัวละครระเบิดพลังออกมาใส่ศัตรูมากกว่า แทบจะไม่ต้องใช้เทคนิคการเล่นอะไรมากมายเหมือนกับต่อสู้แบบ Tekken ทำให้เกมถูกลดเสน่ห์ลงไปพอสมควร ถ้าให้นึกถึง Jump Force ในแง่ของการจัดแข่งขันเกมแนวต่อสู้แล้ว แทบจะนึกไม่ออกเลยว่าจะออกมาเป็นอย่างไร ในภาพรวมแล้วเกมทำออกมาได้ในระดับโอเค หากเป็นเกมเมอร์ที่เป็นคอการ์ตูน อยากเล่นเกมไฟต์ติ้งสนุกๆ แบบไม่คิดอะไรมาก เกมนี้ก็อาจเหมาะ ทว่าหากเป็นแฟนเกมที่ชอบบู๊แบบจัดหนักจัดเต็ม เน้นการเล่นแบบใช้เทคนิคแล้วก็อาจจะต้องตัดสินใจดีๆ สิ่งที่เราอาจพอคาดหวังได้ก็คือ Jump Force คล้ายกับเกม J-Stars Victory VS ของ Bandai Namco ที่ออกมาเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 45 ปีของนิตยสาร Weekly Shonen Jump เมื่อปี 2014 แล้ว จะเรียกว่าเป็นเวอร์ชันใหม่ของ J-Stars Victory VS ที่ผ่านการปรับปรุงภาพมาแล้วก็อาจจะไม่ผิดนัก เพราะเป็นการรวม All Star เหมือนกัน ระบบการเล่นส่วนใหญ่เท่าที่ดูคร่าวๆ ก็คล้ายกันมาก อาจคาดหวังได้ในอนาคตว่า Jump Force อาจเจริญรอยตาม J-Stars Victory VS ด้วยการนำตัวละครในเครือที่มีสเกลพลังต่างกัน หรือไม่น่ามีความสามารถในการต่อสู้ และเป็นตัวละครที่ไม่ได้มาจากอนิเมะต่อสู้ อย่าง Ryotsu คุณตำรวจป้อมยาม, Lucky Man หรือแม้กระทั่งไซคิ มางัดกับตัวละครพลังยิ่งใหญ่แบบโงกุน นารูโตะ หรือลูฟี่ ซึ่งหากเป็นแบบนั้นจริงคงทำให้เกมมีมิติที่แปลกใหม่และแตกต่างจากเกมแนว Fighting อื่นๆ ของค่ายมากเลยทีเดียว ยิ่งถ้ามีโหมด story เพิ่มเข้ามาอีกก็น่าลุ้นว่าตอนเกมออกมาจริงๆ จะสนุกสมกับที่แฟนๆ รอคอยกันหรือเปล่า ทั้งนี้ทาง Bandai Namco ยังประกาศเปิดตัว 4 ตัวละครใหม่ประจำ Jump Force ที่ดีไซน์โดยคุณ Akira Toriyama โดยตัวละครที่ชื่อ Glover และ Navigator จะเป็นฝ่ายพันธมิตร ส่วน Galena และ Kane จะอยู่ฝั่งศัตรู ทว่ายังไม่มีข้อมูลออกมาแน่ชัดว่าเราจะสามารถเล่นตัวละคร 4 ตัวนี้ได้หรือไม่ หากใครสนใจก็สามารถติดตามข่าวสารกันได้ โดย Jump Force จะจัดจำหน่ายผ่าน PS4, Xbox One และ PC ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2019
21 Sep 2018
GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
ผลการค้นหา : "preview"
Final Fantasy VII Remake Demo : 23 ปีเพื่อนกัน และความมหัศจรรย์ของการพบกันอีกครั้ง
คุณเคยมีเพื่อนที่สร้างความประทับใจให้ไม่รู้ลืม ไม่ว่าจะผ่านเวลามานานขนาดไหนหรือเปล่า? สำหรับผู้เขียน … ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 23 ปีที่แล้ว ในวันศุกร์ที่ 31 มกราคม 1997 ด้วยวัย 12 ขวบ ที่ยอมลาเรียน รบเร้าคุณพ่อให้พาไปต่อคิวหน้าศูนย์โซนีสาขาเดอะมอลล์งามวงศ์วาน ที่เต็มไปด้วยผู้คนที่มาด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกัน อันช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิต มันเป็นวินาทีที่พิเศษที่สุด ที่ผลจากความพยายามเก็บเงินข้ามปี จำนวน 2180 บาท กำลังจะออกดอกผล เป็นแพ็คเกจแผ่นเกมเครื่องเล่น Playstation ใหม่ล่าสุด ที่มีชื่อว่า …. Final Fantasy VII จากวันที่ได้รับแผ่น ผู้เขียนเล่นมันอย่างไม่ลืมหูลืมตา แม้ว่าจะไม่เข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ปรากฏขึ้นมาบนหน้าจอโทรทัศน์แม้แต่ตัวเดียว เฝ้าเสาะแสวงหาบทสรุปของสำนักพิมพ์ต่างๆ มาประกอบการเล่น เล่นจบแล้วก็เล่นซ้ำไปมา เป็นห้วงเวลาที่มีความสุขที่สุด ที่ได้ใช้ร่วมกันกับ ‘เพื่อน’ ผู้นี้ และเป็นสิ่งที่กำหนดตัวตน และความเป็น ‘คนเล่นเกม’ ของผู้เขียนมานับตั้งแต่นั้น…. เวลาผ่านไป 23 ปีมาจนถึงปัจจุบัน ที่ผู้เขียนเป็นชายวัยเกือบกลางคน ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายพรรษา ผ่านชิ้นงานเกมหลากหลายแนวมานับไม่ถ้วน ได้เห็นวัฏจักรการเกิดดับของแต่ละ Cycle ของแวดวง และได้รับทราบถึง ‘การกลับมา’ ของเพื่อนคนเก่า ที่มาในรูปโฉมใหม่ มันอดที่จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วยไม่ได้ มันเป็นความตื่นเต้น อันเกิดจากความอยากรู้อยากเห็น ว่าเวลากว่าสองทศวรรษที่ผ่านไป ‘เพื่อน’ คนนี้ จะยังคงน่าสนใจแค่ไหน และมีเรื่องราวใดที่จะมาบอกกล่าวกันกับผู้เขียน เรานัดเจอกันในเย็นย่ำวันธรรมดาหลังเลิกงาน เฝ้ารอให้เพื่อนเดินทางมาสถิตอยู่ในเครื่อง Playstation 4 Pro ใช้เวลาเพียงไม่นาน ‘เพื่อนเก่า’ ใน ‘โฉมใหม่’ ก็ได้มาอยู่ต่อหน้า พร้อมสำหรับการพูดคุยสนทนาวิสาสะกัน และนี่ คือการสนทนาของผู้เขียน กับ ‘เพื่อน’ คนนี้ … รูปลักษณ์ สุ้มเสียง สำเนียงที่เปลี่ยนไป ในเรื่องราวเก่าแก่ที่บอกกล่าวกันใหม่ตามช่วงเวลา เราเริ่มต้นทักทายกันด้วยความทรงจำและเรื่องราวเก่าเป็นบทเปิดโหมโรงพอเป็นพิธี แต่ก็สัมผัสได้ทันที ว่าเพื่อนผู้นี้ มีกลวิธีที่แตกต่างออกไปจากเดิม มันมีเสน่ห์มากขึ้นตามยุคสมัย แต่สามารถลงลึกถึงรายละเอียดเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนได้อย่างแม่นยำ ฉากที่เป็น Signature หลายช่วงถูกนำเสนอออกมาในรายละเอียดที่มากขึ้น ที่แม้แต่ผู้เขียนก็คาดไม่ถึง ว่าเรื่องราวในครั้งนั้น จะมีสิ่งละอันพันละน้อยปลีกย่อยที่น่าสนใจได้ถึงขนาดนี้ มันช่วยเติมรสชาติที่แปลกใหม่ แต่ก็ยังมีความชวนให้หวนอาลัยต่อความทรงจำที่เคยได้รับมาในสถานการณ์เดียวกัน ดวงตาของผู้เขียนเป็นประกายราวกับเด็กที่ได้ของเล่นใหม่ เหมือนได้ย้อนกลับไปยังวันเวลาเก่าก่อนอีกครั้ง ‘เพื่อน’ ไม่รอช้า เข้าสู่บทโหมโรงของเรื่องราวแห่ง Cloud Strife ทหารรับจ้าง กับภารกิจร่วมกับกลุ่ม Avalanche ในการทำลายเตาปฏิกรณ์ Mako ของบรรษัทยักษ์ใหญ่ Shinra Company แน่นอนว่านี่ เป็นเรื่องเก่า แต่ก็เป็นเรื่องเก่าที่น่าคิดถึง และยิ่งมาในรูปโฉมใหม่ด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ความน่าสนใจในการสนทนาครั้งนี้ เพิ่มสูงขึ้นอีกเป็นเท่าตัว ตัวละครประกอบอย่างแก๊งส์ร่วมขบวนการอย่าง Biggs, Wedge และ Jessie ถูกขับเน้นให้มีตัวตน มีบุคลิก และ ‘มีความสำคัญ’ ดังที่เพื่อนได้กล่าวกับผู้เขียนว่า เรื่องราวถัดจากนั้น จะยิ่งเข้มข้นและลงลึกในรายละเอียดมากยิ่งขึ้น (และอาจจะดึงดราม่าเรียกน้ำตากันได้ง่ายๆ...) ผู้เขียนพอจะทราบมาบ้างแล้วว่า เพื่อนผู้นี้มีความพยายามที่จะตามยุคสมัยและเวลาที่เปลี่ยนไปให้ทัน นั่นทำให้สิ่งรกรุงรังอย่างการผลัดกันตีผลัดกันเดิน ถูกทดแทนด้วยบทแอ็คชันประยุกต์ผสมผสานโหมด Active Time Bar (ATB) แบบฉบับดั้งเดิมให้เป็นในส่วนของคอมมานด์ที่สามารถกดใช้ได้แทบจะทันที หรือจะกดใช้แบบกึ่งชะลอจังหวะการเล่นเพื่อดูภาพรวมของสมรภูมิก็สามารถทำได้ ทำให้การออกท่วงท่าต่างๆ เป็นไปอย่างเรียบเนียนไร้รอยสะดุด ช่วยให้การเล่นนั้นรวดเร็ว คมกริบ และง่ายต่อการเรียนรู้ เพียงแค่สองการปะทะ ผู้เขียนก็สามารถใช้มันได้อย่างคล่องแคล่วโดยแทบไม่ต้องมองจอยแพดที่อยู่ในมือ เขาบอกว่าเอาตัวอย่างบางส่วนมาจากภาค 15 เข้ามาปรับปรุง แต่ก็ยังเหลือเผื่อจังหวะให้ช้าลงเพื่อความสะดวกมากยิ่งขึ้น เป็นการประนีประนอมที่เข้าท่ามากๆ เพราะมันได้ทั้งความเร็ว และมิติทางการวางแผน อันเป็นมรดกสืบทอดจากช่วงเวลาอันแสนน่าคิดถึงเหล่านั้น ความรวดเร็วในการดำเนินเรื่องราวของเพื่อนยังคงไว้ซึ่งจังหวะอย่างต่อเนื่อง คลอไปด้วยดนตรีที่คุ้นเคย ไม่มีอีกแล้วกับการเดินในพื้นที่แล้วสู้กับศัตรูแบบสุ่ม ทุกอย่างถูกวางสคริปต์เอาไว้อย่างเหมาะเจาะ ทุกการปะทะถูกเตรียมพร้อมเอาไว้โดยมีเป้าประสงค์ที่ชัดเจน และเข้าถึงประเด็นได้โดยไม่ต้องเสียเวลาสาธยายความ แต่ไม่ละเลยซึ่งส่วนปลีกย่อยที่เล็กน้อยที่สุดอย่างการแสดงออกทางสีหน้าตัวละคร ท่วงท่าภาษากาย บทสนทนาตอบโต้ระหว่างกัน เป็นการบอกบุคลิกที่แตกต่างระหว่าง Cloud Strife และ Barret Wallace ในภารกิจทำลายเตาปฏิกรณ์ มันชัดเจน และขับเน้นตัวละครได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้ บ่งบอกถึงการคิดมาอย่างดี พ่วงด้วยประสบการณ์ที่สะสมตามเวลามานานปี ที่ผู้เขียนมั่นใจ ว่าจะสามารถจับหัวใจได้ทั้งเพื่อนเก่าแก่ท่านอื่น และผู้ที่รู้จักกับเขาเพียงครั้งแรก ดังเช่นที่ผู้เขียนได้เพลิดเพลินกับการปรับโฉมในรอบนี้ เรื่องราวการผจญภัยมาถึงปลายทาง ผ่านบทต่อสู้กับบอสประจำพื้นที่อย่างหุ่นยนต์ Scorpion Sentry หน้าเก่า ที่กลับมาอย่างเร้าใจ มันมีลูกเล่นที่มากมาย และซุกซ่อนกลเม็ดเด็ดพรายที่ทำให้การต่อสู้นั้นท้าทายและเป็นมากกว่าการเดินเข้าตีอย่างดาดๆ มันต้องใช้ความคิดที่มากขึ้น ใช้ทักษะที่มากขึ้น และที่สำคัญที่สุดคือ มันค่อนข้างจะเป็นการต่อสู้ที่ ‘ยาก’ เอาเรื่อง หลายครั้งที่ผู้เขียนเกือบจะพลาดพลั้งเสียที จนต้องเรียนรู้รูปแบบการโจมตีและท่วงท่าของมัน และเลือกใช้ความสามารถของสองตัวละครที่สลับผลัดเปลี่ยนในช่วงที่เหมาะสม จึงสามารถคว้าชัยชนะในการปะทะครั้งนี้ลงไปได้ ทั้งหมดนี้ ผู้เขียนเชื่อว่า คือสิ่งที่เพื่อนอยากจะบอกกล่าวตั้งแต่กาลก่อน แต่ไม่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยี หรือด้วยวัยที่ยังใหม่ต่อโลกกว้าง ที่วงการยังอยู่ในระยะตั้งไข่ก้าวเดินออกไปได้ไม่นานก็ตาม จุดสะดุดในเรื่องเล่า แต่ก็เช่นเดียวกับเรื่องเล่าในทุกเรื่อง การบอกเล่าของเพื่อนยังไม่ได้สมบูรณ์แบบจนถึงที่สุด ยังมีจุดที่ยังน่ากังขาอยู่ไม่น้อยที่ยังรอคอยคำตอบ ไม่ว่าจะด้วยมุมกล้องที่ใช้งานได้ไม่สะดวกมากนัก ไปจนถึงระดับความยากของการเล่นที่ค่อนข้างสวิงไม่คงที่ แต่นั่นก็เป็นเพียงความไม่สะดวกเพียงเล็กน้อย ที่ไม่ได้ขัดขวางซึ่งความสนุกที่พึงได้รับแต่ประการใด รูปแบบการบอกเล่า (การเล่น) ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เพื่อนผู้นี้กังวล อาจจะเพราะด้วยความที่เขามีคนที่รักอยู่มากมาย การเปลี่ยนแปลงสไตล์จากหน้ามือเป็นหลังมือเช่นนี้ อาจก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์ได้ทั้งทางบวกและทางลบ แต่ก็เป็นความกังวลที่แฝงไปด้วยความมั่นใจในน้ำเสียงอยู่ไม่น้อย ว่าจะสามารถมัดใจผู้ที่เข้ามาพูดคุยได้อย่างอยู่หมัด มันบ่งบอกชัดผ่านการนำเสนอที่ทั้งนอบน้อมต่อความทรงจำเก่าของเรา และความพยายามที่ก้าวสู่อาณาเขตของความร่วมสมัยที่สามารถสัมผัสได้แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก็ตาม อีกทั้งเพื่อนผู้นี้ออกตัวกับผู้เขียนเอาไว้แต่เนิ่นๆ ด้วยว่า เขาอาจจะไม่ได้มีความพร้อมที่จะบอกเล่าทุกเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบไปถึงปลายทางดังที่เคยเป็น อาจจะเพราะมีหลายสิ่งที่ได้รับการเพิ่มเติมเข้ามา หลายอย่างที่ช่วงเวลาได้บ่งเพาะให้มีความละเมียดละไม และหลายจุดที่ไม่สามารถละสายตาไปได้ แต่นั่นไม่ใช่สาระเท่าใดในความรู้สึกของผู้เขียน มันออกจะเป็นความน่าลุ้นเสียด้วยซ้ำว่าด้วยพรรษาที่ผ่านไป เขาจะเพิ่มเติมส่วนประกอบอันใดเข้าไว้ในเรื่องราวแต่หนก่อน ให้มีเสน่ห์และรสชาติที่น่าลิ้มลองอีกครั้ง การเฝ้าคอย และนับถอยหลังสู่การพูดคุยครั้งสำคัญ ผู้เขียนและเพื่อนใช้เวลาร่วมกันในการสนทนาครั้งนี้ที่ 45 นาที เป็นเวลาที่ดูเหมือนจะนาน แต่ก็ผ่านไปอย่างรวดเร็วเกินกว่าใจคิด อดที่จะรู้สึกเสียดายไปไม่ได้ ที่การพบปะกันหลังเวลาผ่านไปกว่าสองทศวรรษจะต้องปิดฉากลงไปก่อนเป็นการชั่วคราว เพราะมันเป็นการพบกันที่น่าอภิรมย์ แม้จะเป็นช่วงสั้นๆ แต่ก็ทำให้เห็นว่า เพื่อนผู้นี้ มีดีมากกว่าที่คิด และมีดีมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มรู้จัก แม้เวลาจะผ่านไปกว่าสองทศวรรษ และยิ่งเปล่งประกายเมื่อได้รับการขัดด้วยกาลเวลา ก่อนจากกัน เราให้สัญญานัดแนะอย่างเป็นมั่นเหมาะ ว่าจะพบกันเพื่อพูดคุยอีกครั้ง ในวันที่ 10 เมษายน ที่จะมาถึงในอีกไม่กี่อึดใจนี้  แน่นอนว่าผู้เขียนเองก็อดใจแทบไม่ไหว ที่จะได้เปิดวงสนทนากับเพื่อนผู้นี้กันให้อย่างเต็มอิ่มชุ่มปอด สวมกอดด้วยมิตรภาพที่มีให้มาอย่างยาวนานนับแรมปี และมันคงจะเป็นสิ่งที่ทำให้ย้อนระลึกถึงความเป็นเด็กวัย 12 อีกครั้ง ในวันที่ได้พบเจอกัน เพราะช่วงเวลาที่แสนสุข และยอดเยี่ยม มันไม่เคยเกี่ยง ว่าจะกลับมาในรูปโฉมไหน หรือออกมาในรูปแบบใด แล้วคุณล่ะ มีเพื่อนแบบนี้อยู่ในความทรงจำบ้างหรือเปล่า?
13 Mar 2020
ผจญภัยในโลกกว้างไปกับเจ้าหนุ่มหมวกฟาง! - พรีวิว One Piece: World Seeker จากงาน TGS 2018
https://www.youtube.com/watch?v=sZR44R87E6U&feature=youtu.be อีกหนึ่งเกมที่พลาดไม่ได้สำหรับค่ายเกม Bandai Namco ก็คือ One Piece: World Seeker เกมแนวแอคชั่นผจญภัยแบบ Open World ที่ให้ผู้เล่นได้สวมบทบาทเป็น Monkey D. Luffy ออกตามล่าวันพีชพร้อมกับผองเพื่อน เมื่อมาเยือนถึง TGS 2018 แล้ว เราก็ไม่พลาดที่จะไปทดลองเล่นเกมเพื่อจะได้มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง โดยเดโมตัวที่เราเล่น เป็นตัวเดียวกับที่เคยเผยโฉมมาก่อนแล้วในงาน Gamescom 2018 ที่ผ่านมา จากที่ชมในเทรลเลอร์ต่างๆ ผู้เขียนรู้สึกตื่นเต้นเป็นพิเศษสำหรับการออกผจญภัยในฐานะ "ลูฟี่" ครั้งนี้ เพราะแทบจะเป็นครั้งแรกที่ One Piece มีเกมแบบ Open World ออกมาให้แฟนเกมได้สัมผัสบรรยากาศของการท่องไปในแกรนด์ไลน์ ทว่าพอได้ลองเล่นจริงๆ ตัวเกมกลับทำได้ไม่น่าประทับใจเท่ากับที่คาดหวังเอาไว้ สิ่งที่ผู้เขียนผิดหวังกับตัวเกมมากที่สุดน่าจะเป็นระบบ Open World ซึ่งถ้าเทียบกับ Marvels Spider-man ที่เป็นเกมแนวแบบเดียวกันแล้ว เรียกได้ว่า One Piece: World Seeker แทบจะไม่ติดฝุ่นไอแมงมุม ในที่นี้ผู้เขียนไม่ได้จะเปรียบเทียบด้านภาพ มุมกล้อง หรือเนื้อเรื่องของเกม แต่จะพูดถึงความอิสระในเกม จากที่เล่นในเดโม แทบไม่รู้สึกเลยเสียด้วยซ้ำว่าเกมเป็นระบบแบบเปิดที่เราสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างอิสระ แน่นอนว่าลูฟี่ไม่ได้ใช้มือยางยืดตึ๋งหนืดในการเดินทางบ่อยเท่ากับสไปเดอร์แมนที่พ่นใยอยู่ตลอดเวลา แต่การเดินหรือวิ่งก็มีพื้นที่จำกัดจำเขี่ยมาก ตัวเกมมีกำแพงที่มองไม่เห็นคอยกันไม่ให้เราออกนอกพื้นที่ ชวนให้รู้สึกอึดอัด แทบไม่ต่างจากการเล่นเกมแบบเป็นด่าน ไม่เหมือน Marvels Spider-man ที่ให้อิสระแก่ผู้เล่นในการชักใย ห้อยโหนและกระโจนไปไหนก็ได้ตามใจอยาก โดยไม่มีขอบเขต รวมถึงทุกสถานที่ที่ไปยังมีภารกิจยิบย่อยให้ทำ เสมือนกับว่าเราได้ไปเดินอยู่ในนิวยอร์กแล้วได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในเมืองจริงๆ ถือเป็นอีกจุดหนึ่งที่ One Piece: World Seeker ยังขาดไปอยู่ ส่วนการใช้มือยางยืดเพื่อการเคลื่อนที่ดูเหมือนจะเป็นประโยชน์ในการเล่นแบบ Open World ที่แผนที่ค่อนข้างกว้าง และตัวละครจำเป็นต้องมีท่าที่ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็ว ทว่าในความเป็นจริงตัวเกมกลับทำระบบนี้ออกมาได้ไม่ดีเท่าไหร่ เมื่อมือที่ยืดออกไป ยืดได้ไม่ยาวพอ กะระยะยาก อีกทั้งยังใช้ได้กับวัตถุหรือสิ่งของแค่บางอย่าง เช่น ต้นไม้ หรือหอคอยเป็นต้น ไม่สามารถใช้จับขอบเนินดินแล้วปีนขึ้นได้ ต้องคอยเดินไปตามทางลาดที่เกมกำหนด ด้านการต่อสู้ "ลูฟี่" ตัวละครหลักของเราจะต้องเข้าไปสู้รบและประมือกับทหารเรือมากมาย ตัวเกมทำออกมารองรับรูปแบบการเล่นที่มีตั้งแต่การให้ Stealth ไปจนถึงการเปิดตัวด้วยการลุยดะแบบไม่แคร์ใคร สไตล์กัปตันผู้ไม่คิดมาก นอกจากนี้เกมยังถ่ายทอดความเป็นเจ้าหนุ่มหมวกฟางออกมาด้วยการใส่กิมมิคฮาๆ เข้าไปเล็กน้อย อย่างการเข้าไปแอบซ่อนให้ถังเหล้าแล้วค่อยๆ ย่องเข้าไปแบบ (ไม่) เนียน เป็นต้น ทว่าการต่อสู้ที่น่าจะเป็นจุดขายของเกมแนวแอคชั่นอย่าง One Piece: World Seeker กลับทำออกมาได้ขาดๆ เกินๆ แม้จะมีการอ้างอิงท่าต่อสู้ของลูฟี่มาจากอนิเมะหรือมังกะ อย่างฮาคิ หรือท่ายางยืดต่างๆ แต่กลับไม่ได้มีท่าที่หลากหลายมากพอในการจะสร้างคอมโบต่อสู้แบบมันส์ๆ นอกจากนี้ระบบการต่อสู้ก็ไม่ได้ไหลลื่นอย่างที่คิด ที่ผู้เขียนรู้สึกอึดอัดที่สุดคือ One Piece: World Seeker ถือเป็นเกมที่เล็งเป้ายากเอาการ ทำให้การโจมตีหลายต่อหลายครั้งก็พลาดเป้าได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีที่แสนจะเบสิค การโจมตีคอมโบ หรือท่าพิเศษก็ตาม นอกจากนี้ในการยืดมือออกไปจับศัตรูแล้วพุ่งไปหาก็ดูเหมือนจะเป็นอะไรที่น่าสนุก ย่นระยะเวลาเดินทางไปได้เยอะ แต่จะมีประโยชน์อะไร ในเมื่อพอพุ่งเข้าไปหาเหล่าทหารเรือแล้วกดใส่คอมโบหรือโจมตีกลับวืดไม่เป็นท่า จนกลายเป็นว่าแทบจะไม่สามารถ "ยืด จับ พุ่ง และโจมตี" ได้เลย แม้ตอนสู้กับ "อาคาอินุ" บอสในเดโม จะค่อนข้างทำให้เกมสนุกขึ้นบ้าง แต่เมื่อเทียบกับระบบการต่อสู้ของ Marvels Spider-man เกมไอแมงมุมกลับทำออกมาได้ดีกว่าเยอะ ทั้งๆ ที่ Spider-man ไม่ได้มีท่าคอมโบหรือท่าที่ใช้โจมตีศัตรูมากเท่ากับท่าของลูฟี่เองเสียด้วยซ้ำ แต่กลับมีการโจมตีแบบคอมโบลื่นไหลกว่า และมันส์กว่า นอกจากนี้ตัวเกมยังขาดความตื่นเต้นและท้าทายอีก ทั้งภารกิจก็ไม่ได้มีส่วนช่วยให้เราเข้าถึงความรู้สึกของตัวละครอย่างลูฟี่ หรือเพิ่มความอินกับเนื้อเรื่องแต่อย่างใด โดยตลอดเวลาที่ตลอดเวลาที่ได้เล่นเกมประมาณ 20 นาทีก็แอบมีจังหวะที่เกิดความรู้สึกเบื่ออยู่บ่อยๆ ภารกิจที่ได้รับแทบจะไม่ค่อยมีอะไรให้ทำ นอกจากเดินไปยังยอดเขาที่ตัวเกมกำหนด ค่อยๆ กำจัดทหารเรือไปทีละตัวสองตัว ตามเปิดกล่องที่กองอยู่บนพื้น แถมยังต้องค่อยๆ เดินไปตามทาง ทำให้นอกจากกำจัดทหารเรือไปเรื่อยๆ แล้วก็แทบไม่มีอะไรให้ทำอีก ที่สำคัญคือเกมขาดความสมจริง ในฐานะเกมที่มีพื้นฐานเนื้อเรื่องมาจากการ์ตูน โดยลูฟี่ที่เราเล่นใน One Piece: World Seeker สามารถถูกโจมตีด้วยกระสุนปืนธรรมดาของทหารเรือ หากจะบอกว่าทหารเรือทุกคน ทุกเมืองใช้กระสุนไคโรอยู่ตลอดก็คงจะไม่ใช่ แม้จะเป็นที่เข้าใจได้ว่าหากยึดตามเรื่องจริงทั้งหมด ลูฟี่ของเราก็แทบจะเป็นอัมตะ เพราะนอกจากจะโจมตีแบบระยะไกลได้แล้ว ยังแทบไม่มีอะไรมาทำร้ายตัวละครของเราได้ แต่ตรงจุดนี้ก็ทำให้ผู้เขียนรู้สึกตะขิดตะขวงใจ จนไม่ค่อยอินกับตัวเกมอยู่เหมือนกัน หากจะให้รีบตัดสินว่า One Piece: World Seeker เป็นเกมที่ไม่คุ้มค่าในการเสียเวลาเล่นก็อาจจะเป็นการรีบด่วนสรุปไป ต้องรอดูกันต่อไปว่าเมื่อเกมออกมาแบบเต็มรูปแบบแล้ว จะมีการปูเนื้อเรื่อง สร้างบรรยากาศให้เราอินกับตัวเกมได้ขนาดไหน หรือเมื่อมีเหล่าผองเพื่อนกลุ่มหมวกฟางเข้ามาร่วมจอยอาจทำให้เล่นสนุกขึ้นก็เป็นได้ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะต้องเตรียมใจเผื่อไว้หากเกมไม่ได้สนุกอย่างที่เพื่อนๆ คาดหวัง ทั้งนี้ One Piece: World Seeker จะจัดจำหน่ายให้เล่นผ่าน PlayStation 4, Xbox One และ PC ในปี 2019
22 Sep 2018
พรีวิว Jump Force จากงาน Tokyo Game Show 2018
https://www.youtube.com/watch?v=tm_-1DnNcXQ&feature=youtu.be ถ้าพูดเกมแนวต่อสู้ที่มีแนวโน้มว่าจะมาแรงในอนาคตก็คงไม่หนีไม่พ้น Jump Force เกมแนวต่อสู้ที่รวบรวมตัวละครจากทั้งอนิเมะและมังกะของ Weekly Shonen Jump มาลงสังเวียน ต่อสู้เพื่อหาความเป็นหนึ่ง โดยเป็นเกมจากผู้พัฒนา Spike Chunsoft และผู้จัดจำหน่ายเกมยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น Bandai Namco ทาง Game Fever ก็ได้เล่น Demo Jump Force ในงานTokyo Game Show 2018 มาเหมือนกัน เลยอยากมาแชร์ประสบการณ์ให้เพื่อนๆ ได้ฟัง ต้องเกริ่นก่อนว่าเกมนี้มีรูปแบบเกมเป็นการต่อสู้แบบ 3 ต่อ 3 ซึ่งล่าสุดตัวเกมมีตัวละครให้เลือกกว่า 20 ตัว มาจาก 7 ซีรีส์ด้วยกัน ได้แก่ Bleach, Dragon Ball, Hunter x Hunter, Naruto, One Piece, Yu-Gi-Oh! และ Yu Yu Hakusho (มีตัวละครจาก Death Note ด้วย ทว่าจะปรากฎตัวในโหมดเนื้อเรื่องแทน) ด้านภาพ ก่อนหน้าที่ผู้เขียนจะได้ลองเล่น ก็เคยดู Trailer ของ Jump Force มาแล้วหลายตัว รวมถึงไปส่อง Screen Shot มาก็หลายครั้ง พอไปเล่นเองก็ต้องยอมรับจริงๆ ว่าทำภาพออกมาได้ค่อนข้างดี ทั้งรายละเอียดหน้าตารูปลักษณ์ตัวละคร ความสวยงามของฉาก ที่เด็ดที่สุดคือเอฟเฟ็กต์การใช้ท่าของตัวละคร ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับเรากำลังได้ดูภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องหนึ่งพร้อมกับเล่นเกมต่อสู้อยู่ ทว่าเกมก็ยังมีปัญหาด้านการให้น้ำหนักกับภาพมากเกินไป อย่างเอฟเฟ็กต์ของตัวละครบางตัวก็ใหญ่เกินไป จนบดบังมุมมอง ทำให้เล่นเกมได้ไม่ค่อยลื่นและทำให้รู้สึกรำคาญในบางครั้งอยู่เหมือนกัน ระบบการต่อสู้ แต่เกมก็ไม่ได้ทำออกมาได้ดีขนาดนั้น แม้ภาพจะสวย แต่การต่อสู้กลับไม่ได้บู๊มันเท่าที่ควร เหมือนกับแค่กดปุ่มไปแล้วรอตัวละครระเบิดพลังออกมาใส่ศัตรูมากกว่า แทบจะไม่ต้องใช้เทคนิคการเล่นอะไรมากมายเหมือนกับต่อสู้แบบ Tekken ทำให้เกมถูกลดเสน่ห์ลงไปพอสมควร ถ้าให้นึกถึง Jump Force ในแง่ของการจัดแข่งขันเกมแนวต่อสู้แล้ว แทบจะนึกไม่ออกเลยว่าจะออกมาเป็นอย่างไร ในภาพรวมแล้วเกมทำออกมาได้ในระดับโอเค หากเป็นเกมเมอร์ที่เป็นคอการ์ตูน อยากเล่นเกมไฟต์ติ้งสนุกๆ แบบไม่คิดอะไรมาก เกมนี้ก็อาจเหมาะ ทว่าหากเป็นแฟนเกมที่ชอบบู๊แบบจัดหนักจัดเต็ม เน้นการเล่นแบบใช้เทคนิคแล้วก็อาจจะต้องตัดสินใจดีๆ สิ่งที่เราอาจพอคาดหวังได้ก็คือ Jump Force คล้ายกับเกม J-Stars Victory VS ของ Bandai Namco ที่ออกมาเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 45 ปีของนิตยสาร Weekly Shonen Jump เมื่อปี 2014 แล้ว จะเรียกว่าเป็นเวอร์ชันใหม่ของ J-Stars Victory VS ที่ผ่านการปรับปรุงภาพมาแล้วก็อาจจะไม่ผิดนัก เพราะเป็นการรวม All Star เหมือนกัน ระบบการเล่นส่วนใหญ่เท่าที่ดูคร่าวๆ ก็คล้ายกันมาก อาจคาดหวังได้ในอนาคตว่า Jump Force อาจเจริญรอยตาม J-Stars Victory VS ด้วยการนำตัวละครในเครือที่มีสเกลพลังต่างกัน หรือไม่น่ามีความสามารถในการต่อสู้ และเป็นตัวละครที่ไม่ได้มาจากอนิเมะต่อสู้ อย่าง Ryotsu คุณตำรวจป้อมยาม, Lucky Man หรือแม้กระทั่งไซคิ มางัดกับตัวละครพลังยิ่งใหญ่แบบโงกุน นารูโตะ หรือลูฟี่ ซึ่งหากเป็นแบบนั้นจริงคงทำให้เกมมีมิติที่แปลกใหม่และแตกต่างจากเกมแนว Fighting อื่นๆ ของค่ายมากเลยทีเดียว ยิ่งถ้ามีโหมด story เพิ่มเข้ามาอีกก็น่าลุ้นว่าตอนเกมออกมาจริงๆ จะสนุกสมกับที่แฟนๆ รอคอยกันหรือเปล่า ทั้งนี้ทาง Bandai Namco ยังประกาศเปิดตัว 4 ตัวละครใหม่ประจำ Jump Force ที่ดีไซน์โดยคุณ Akira Toriyama โดยตัวละครที่ชื่อ Glover และ Navigator จะเป็นฝ่ายพันธมิตร ส่วน Galena และ Kane จะอยู่ฝั่งศัตรู ทว่ายังไม่มีข้อมูลออกมาแน่ชัดว่าเราจะสามารถเล่นตัวละคร 4 ตัวนี้ได้หรือไม่ หากใครสนใจก็สามารถติดตามข่าวสารกันได้ โดย Jump Force จะจัดจำหน่ายผ่าน PS4, Xbox One และ PC ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2019
21 Sep 2018