GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
ผลการค้นหา : "ads"
ลือว่า Microsoft กำลังตัดสินใจ ให้เกมเล่นฟรีสามารถใส่โฆษณาเข้าไปในเกมได้!!
เกมเล่นฟรี เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของเกมที่คนนิยมกันมาก เพราะคุณไม่จำเป็นที่จะต้องเสียเงินกับเกมนี้เลยแม้แต่แดงเดียว แต่คุณก็ยังสามารถสนุกกับมันได้เหมือนกับคนทั่ว ๆ ไปซึ่งแหล่งสร้างรายได้ของผู้พัฒนานั้นก็จะมาในหลากหลายรูปแบบ ทั้ง Battle Pass, Skin, ตัวละครพิเศษ อาวุธพิเศษ ให้ผู้เล่นได้จับจองกันแทน โดยที่ไม่ต้องไปเสียเงินซื้อเกมกันตั้งแต่แรกและนอกเหนือจากช่องทางที่ว่ามานั้น อีกหนึ่งแหล่งสร้างรายได้ของผู้พัฒนาเกมให้เล่นฟรีก็คือ  โฆษณา แม้เกมเมอร์บน PC หรือคอนโซลอาจจะไม่คุ้นชินกับการที่เกมมีโฆษณาสักเท่าไร แต่สำหรับเกมเมอร์สายมือถือแล้ว โฆษณาแทบจะเป็นสิ่งที่แฝงอยู่ในทุก ๆ เกมเลยก็ว่าได้โดยล่าสุด มีรายงานจากทาง Business Insider ว่า Microsoft กำลังพิจารารณาให้เกมเปิดเล่นฟรีทั้งหลาย สามารถรับข้อเสนอการมีโฆษณาในเกมของพวกเขาได้ ซึ่งการใส่โฆษณาลงไปในเกมนั้น จะไม่รบกวนการเล่นของผู้เล่นแต่อย่างใด แต่มันจะเป็นเหมือนกับป้าย Billboards ที่ขึ้นโชว์ตรงหน้าล็อบบี้ หรือเป็นป้ายที่ใช้ประกอบฉากหลังเสียมากกว่าทั้งนี้ ยังไม่มีการยืนยันที่แน่ชัดออกมาจากทาง Microsoft แต่อย่างใด แต่ทาง Business Insider เชื่อว่า Microsoft จะเริ่มแผนการนี้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2022 แหล่งข้อมูล: gamerant
18 Apr 2022
No Straight Roads Review : จังหวะร็อคปลดแอก กระแทกเข้าที่หัวใจ!
หมายเหตุ : รีวิว No Straight Roads ชิ้นนี้ อ้างอิงจากเกมเวอร์ชั่น PlayStation 4 ซึ่งตัวเกม มีวางจำหน่ายบน Nintendo Switch และ PC (ที่ร้าน Epic Game Store) ด้วย หมายเหตุ 2 : รีวิวนี้ ได้รับการสนับสนุนเกมโดยบริษัท Maxsoft ถ้าจะพูดกันถึงเกมแนว ‘Musical’ แล้วนั้น แม้ว่าจะมีชิ้นงานอยู่มากมายในท้องตลาด แต่ก็เป็นแนวเกมที่มีความเฉพาะตัวอย่างมาก (ไม่ว่าจะทั้ง Dance Dance Revolution ก็ดี Beat Mania ก็ดี ไปจนถึง Guitar Heroes หรือ Rocksmith) แต่การ ‘ผสมผสาน’ เกมแนวดนตรีเข้ากับเกมแนวอื่นนั้น กลายเป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่ง อาจจะด้วยความแตกต่างและความเฉพาะตัวอย่างมาก ซึ่งในแวดวงวิดีโอเกมที่ผ่านมา ก็เห็นจะมีเพียง Brutal Legend จากปี 2009 เท่านั้น ที่ดูจะเข้าข่ายและอาจจะกลายเป็นหนึ่งเดียวที่เรียกได้ว่าเป็น ‘Musical Action Games’ ได้อย่างเต็มปาก แต่น่าเสียดาย ที่ยอดขายมันสวนทางกับคำชม เพราะแม้จะได้ Jack Black มาให้เสียงพากย์ จนถึงเหล่าเมทัลสตาร์รุ่นเก๋ามาร่วมแจมแบบขนกันมาหมดแวดวง แต่วี่แววของภาคต่อก็ยังคงเงียบกริบแม้เวลาจะผ่านไปเกือบทศวรรษก็ตาม [caption id="attachment_66451" align="aligncenter" width="616"] Brutal Legend เกม Musical Action Game ชั้นเยี่ยม ที่...ไม่ได้ไปต่อ[/caption] และด้วยเหตุนี้เอง ที่ทำให้ ‘No Straight Roads’ ผลงานเดบิวของ Metronomik Production ทีมพัฒนาเกมสัญชาติมาเลเซีย กลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจขึ้นทันตาเห็น เพราะไม่ว่าจะเป็นการกระโดดจากทีม Outsources สร้างงานอาร์ตให้กับเกมอย่าง Final Fantasy 15 ก็ดี หรือการที่พวกเขาเลือกที่จะเปิดตัวด้วยเกมแนว ‘Musical Action Games’ ก็ดี เหล่านี้ ทำให้สายตาต่างจับจ้องมองมา ว่าทีมพัฒนาอินดี้กลุ่มนี้ จะไปได้ไกลแค่ไหน (ซึ่งทาง GameFever ได้นำเสนอพรีวิวไปแล้วก่อนหน้านั้นในบทความนี้) กล่าวโดยสรุป พวกเขายังคงความฉมังในด้านการสร้างสรรค์สไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ว่าจะทั้งงานอาร์ตไปจนถึงดนตรี รวมถึงเนื้อหาที่น่าสนใจ แต่กระนั้น ในส่วนของเกมการเล่น มันยังคงปรากฏความ ‘ไม่อยู่มือ’ ที่พวกเขาต้องเก็บไว้เป็นบทเรียนสำหรับชิ้นงานถัดไป อย่างไม่อาจจะมองข้ามได้ Rock ปลดแอก กับทางแยกสาย EDM [caption id="attachment_66453" align="aligncenter" width="696"] Mayday และ Zuke สองนักดนตรี พันธุ์ร็อค แห่ง Bunk Bed Junction กับภารกิจคว่ำ NSR[/caption] No Straight Roads บอกกล่าวถึงเรื่องราวของสองคู่หู Mayday และ Zuke นักดนตรี ‘พันธุ์ร็อค’ วง Bunk Bed Junction แห่งเมือง Vinyl City ที่ถูกปฏิเสธจาก NSR (No Straight Roads) บริษัทดนตรียักษ์ใหญ่ของเมือง ที่มองว่า เพลงร็อคนั้น ‘ขายไม่ได้ และตายไปแล้ว และดนตรี EDM คืออนาคตแห่งดนตรี แต่แล้วเมื่อกระแสไฟฟ้าพลังงานที่หล่อเลี้ยงเมืองถูกตัดขาด และสงวนเอาไว้ให้กับเหล่า ‘ศิลปิน’ สังกัด NSR สำหรับงานปาร์ตี้ที่ไม่รู้จบ ทั้งสองจึงเริ่มกระบวนการ ‘ปลดแอกทางดนตรี’ โดยมีเป้าหมายเพื่อคว่ำบริษัท NSR นี้ลงให้จงได้ ในแง่งานศิลป์นั้น น่าจะเป็นสิ่งที่โดดเด่นที่สุดของ No Straight Roads เลยก็ว่าได้ เพราะมันถูกนำเสนอในรูปแบบสุดโฉบเฉี่ยว ประหนึ่งงานอนิเมชันจากช่องอย่าง Cartoon Network ติดกลิ่นของเกมอย่าง Psychonauts อยู่บางๆ รวมถึงบทสนทนาของทั้ง Mayday และ Zuke นั้นก็มีลูกรับส่งหยอดมุกได้อย่างพอเหมาะ ช่วยให้ทั้งสองเป็นตัวละครที่ผู้เล่นสามารถรักและติดตามได้อย่างไม่ยากเย็น งานศิลป์ดังกล่าวยังไม่จบแต่เพียงเท่านั้น เพราะมันควบรวมไปกับเหล่า ‘ศิลปิน’ ใต้สังกัด NSR ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวภายใต้ดนตรีสาย EDM ไม่ว่าจะทั้ง DJ Subatomic Supernova ผู้คลั่งไคล้ดนตรีแห่งจักรวาล, 1010 กับกองทัพดนตรีบอยแบนด์, DK West กับดนตรีสาย Street Rap ชวนติดหู เหล่านี้ บ่งบอกถึงความสร้างสรรค์ของทีม Metronomik ในด้านการนำเสนอได้อย่างเหนือชั้น สมกับที่เป็นสตูดิโอที่ทำงานด้านอาร์ตมาเป็นเวลานานแรมปี หลากหลายดนตรี ที่มีเกมเพลย์อันแตกต่าง ในส่วนของเกมเพลย์ของ No Straight Roads นั้น จะเป็นไปในรูปแบบกึ่ง Open-World ที่ทั้ง Mayday และ Zuke จะต้องทำการ ‘ปลดแอก’ แต่ละย่านที่ถูกปกครองโดยศิลปินแห่ง NSR ด้วยการเล่นแบบ Beat-em-up ที่สามารถสลับตัวเล่นได้โดยอิสระ เหมาะสมกับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน Mayday กับกีตาร์ไฟฟ้าที่โจมตีช้าและหนักหน่วง หรือท่ารัวกลองของ Zuke ที่หนักน้อยกว่า แต่ต่อคอมโบได้มากกว่า ที่จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ (แน่นอนว่า เกมนี้ สามารถเล่นพร้อมกันได้สองคน แต่การสลับสับเปลี่ยนตัวละครแม้จะเล่นคนเดียวก็เป็นไปอย่างลื่นไหลไร้รอยติดขัด) การปะทะกับเหล่าศิลปินหรือบอสในแต่ละพื้นที่ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจ และเต็มไปด้วยไอเดียที่สร้างสรรค์อย่างมาก มันไม่ได้มีแค่เพียงการฟาดแบบ Beat-em-up แต่ยังมาพร้อมมินิเกมและเมคานิคแปลกๆ ที่ชวนให้รู้สึกสนุกเวลาเล่น ไม่ว่าจะการปะทะกับ Sayu ‘ไอดอลเวอร์ชวล’ ที่ต้องจัดการกับเหล่าโปรแกรมเมอร์และนัก MoCap ที่อยู่เบื้องหลัง, การหลบตัวโน้ตแบบเกมสาย Guitar Heroes ของ DK West ไปจนถึงการ ‘ไล่จัดการ’ กับกองทัพบอยแบนด์ของ 1010 ท่ามกลางเสียงดนตรี EDM ซึ่งทั้งหมด ถูกผสานเข้ากับดนตรีประกอบพื้นหลังได้อย่างกลมกล่อม ควบรวมไปกับการใช้สกิลพิเศษของ Mayday และ Zuke ที่เพิ่มความได้เปรียบ ไม่ว่าจะการรัวกีตาร์ปล่อยพลัง หรือการรัวไม้กลองเพื่อเพิ่มพลังการโจมตี ทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่แปลก และเล่นได้สนุกมากๆ ด้วยงานภาพ ผสานเกมการเล่นที่ลงตัวพอเหมาะ และผ่านการคิดมาเป็นอย่างดีไม่น้อย นอกเหนือจากการปะทะบอสแล้ว ภารกิจของ Bunk Bed Junction ในการฟื้นฟูเมือง Vinyl City ในพื้นที่แบบกึ่ง Open-World ก็จัดเป็นช่วงให้พักหายใจได้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะการฟื้นฟู ‘กระแสไฟฟ้า’ ตามจุดต่างๆ ของเมือง การเปิดพื้นที่ใหม่ และการ ‘อัพเกรดความสามารถ’ ของทั้ง Mayday และ Zuke ที่ใช้แต้ม ‘ความคลั่งไคล้ของแฟนๆ’ ทั้งจากการสู้ชนะบอส ไปจนถึงการฟื้นฟูย่านต่างๆ ให้กลับมาอีกครั้ง นอกเหนือจากนั้น สิ่งของหรือ Collectible ก็มีให้เก็บทั้งในแผนที่กึ่งเปิด และการสู้ชนะบอสในแต่ละจุด ทำให้เกมไม่เป็นเส้นตรงจนเกินไป (แม้ว่าพื้นที่ดังกล่าวจะค่อนข้างจำกัดอยู่บ้าง แต่ก็ดีกว่าเปิดกว้างแต่ร้างซึ่ง Content อย่างที่หลายเกมได้เป็นมา) เมื่อบวกรวมกับเนื้อหาที่น่าสนใจ เข้มข้นเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ดำเนินไป ก็ทำให้เกมนี้เล่นได้สนุกติดพันได้อย่างไม่ยากเย็น เล่นดนตรี ต้องมีผิดคีย์กันบ้าง อย่างไรก็ตาม แม้ว่า No Straight Roads จะเต็มเปี่ยมไปด้วยโปรดัคชันขั้นเยี่ยม ดนตรีสุดติดหู เนื้อหาและมุกตลกที่ชงตบได้อย่างพอเหมาะ และเกมการเล่นที่น่าสนใจ แต่ดูเหมือนว่าทีม Metronomik จะยังคงติดความเป็น ‘สตูดิโอสายโปรดัคชัน’ อยู่ค่อนข้างมาก เพราะเมคานิคของเกมการเล่น หลายครั้งมันถูกนำหน้าด้วยงานศิลป์ ทุกอย่างดูสับสนและ ‘ไม่เคลียร์’ ชัดเจน ว่าต้องทำอะไร หรือต้องจัดการ ‘แบบไหน’ เหล่านี้ ก่อให้เกิดการสะดุดระหว่างที่เล่น เพราะเมื่อทุกอย่างที่อยู่บนหน้าจอนั้นลายตาไปด้วยสีสันและดนตรีที่ก้องกังวานอยู่ในหู มันก็ยากที่จะแยกโสตประสาทออกจากกัน หลายครั้งผู้เขียนต้องใช้เวลาทำความเข้าใจกับการต่อสู้กับบอสแต่ละตัวค่อนข้างนาน (และเป็นไปในแบบที่งงๆ อยู่ไม่น้อย) ซึ่งถ้ามองในแง่ของการสร้างเกม ความชัดเจนและความง่ายในการเข้าถึงของเกมนี้ยังจัดว่าไม่ผ่าน (ยิ่งเมื่อเทียบกับ Brutal Legend จากปี 2009 ที่เป็นเกมแนวเดียวกันแล้ว ก็ดูเหมือนว่า No Straight Roads จะมีความ ‘สวยแต่รูป จูปไม่หอม’ จนเกินพอดีไปนิดหนึ่ง) อีกประการที่สำคัญ คือเกมนี้ ‘สั้นมาก’ ในระดับที่ถ้าคุณไม่คิดจะเก็บหรือสำรวจ หรือเป็นพวก Perfectionist ที่ต้องเก็บทุกอย่างให้ครบ คุณสามารถเล่นมันจนจบได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง เพราะหัวใจหลักของเกมมันคือ ‘Boss Rush’ ที่เข้าปะทะบอส ไม่มีด่านหรืออุปสรรคอื่นใดมาคั่นกลาง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากๆ โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงเนื้อหาว่า บริษัท NSR นั้น ‘คุมทุกซอย’ ของ Vinyl City และนั่นทำให้อายุการเล่นและการน่ากลับมาเล่นซ้ำน้อยลงอย่างน่าใจหาย จังหวะร็อคปลดแอกกระแทกหัวใจ ท้ายที่สุดนี้ แม้ว่าเราจะเห็นความ ‘ไม่อยู่มือ’ ในด้านการออกแบบเกมเพลย์ของทีม Metronomik แต่สำหรับผลงาน ‘เดบิว’ ชิ้นแรกของทีมพัฒนาสัญชาติมาเลเซียกลุ่มนี้ ก็มีเสน่ห์และเอกลักษณ์ที่ยากจะมองข้าม มันมีงานอาร์ตสุดงาม ดนตรีที่สนุก เนื้อหาที่น่าสนใจ และตัวละครที่ชวนให้เรารักและหลงใหล อาจจะน่าเสียดายไปบ้างที่ส่วนของเกมการเล่นยังเหมือน ‘ปรุงไม่สุก’ และต้องการการปรับปรุงเพิ่มเติมในโอกาสชิ้นงานถัดไป (ถึงขั้นที่สำนักรีวิวบางเจ้าบอกว่า เกมนี้มันควรจะเป็น อนิเมชัน อย่างเดียวเลยด้วยซ้ำ...) แต่ก็อาจจะเช่นเดียวกับเพลงร็อค ไม่ว่าจะสาย Mainstream หรือ Indy ที่อาการ ‘เพี้ยนคีย์’ ก็อาจจะจัดได้ว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง มันคือความเป็นธรรมชาติ มันคือเอกลักษณ์ที่ยากจะมองข้าม และมันเป็นสิ่งที่สะท้อนถึง ‘หัวใจ’ ของผู้เล่นที่อยู่บนเวทีและแสงไฟ ผู้เขียนไม่อาจรู้ได้ว่าหลังจาก No Straight Roads ชิ้นนี้ ทีม Metronomik จะสร้างสรรค์ผลงานชิ้นใดตามมา และจะออกมาเป็นแนวใด แต่ถ้าเปรียบพวกเขาเป็นวงร็อคแล้วนั้น…. “นี่คือวงร็อค Indy ที่น่าจับตามอง และ No Straight Roads ก็มีศักยภาพสูงพอที่จะพาพวกเขาก้าวเข้าสู่แถวหน้าของแวดวงได้อย่างมั่นใจไม่น้อยเลยทีเดียว” [penci_review id="66450"]
09 Sep 2020
รีวิว No Straight Roads [DEMO] เกมแนว Rythm + Action Adventure กับการเสียดสีค่านิยมเพลงในปัจจุบัน
เชื่อว่าเกมเมอร์หลายๆ คนก็น่าจะเคยเล่นเกมแนว Rythm หรือเกมที่ใช้ดนตรีมาเป็นปัจจัยหลักมามากหลายเกม แต่ก็เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกมที่เราได้เล่นส่วนใหญ่นั้นจะมีรูปแบบคล้ายๆ กัน นั่นคือการกดปุ่มที่ไหลลงมาให้ตรงตามจังหวะเพลง ซึ่งเป็นรูปแบบที่เราคุ้นชินและนิยามคำว่า Rythm Games ได้อย่างดี แต่ในปี 2020 ที่ไอเดียในการสร้างวิดีโอเกมเองก็มีความเปิดกว้างและไร้ขีดจำกัดมากขึ้น เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมเกมอินดี้ที่โตขึ้นอย่างทวีคูณ จนในที่สุดมันจึงได้มีเกมหนึ่งเกมที่ออกมาแล้วฉีกทุกกฏเกณฑ์เดิมๆ ในเรื่องไอเดียกับการนำเอา Rythm Games มาผสมผสานกับเกมแนว Action Adventure ที่คนส่วนใหญ่ชอบ กลายมาเป็นเกมที่ชื่อว่า No Straight Roads จากฝีมือทีมพัฒนาสัญชาติอังกฤษอย่าง Sold Out Games พร้อมทั้งโปรเจกต์นี้ยังมีนักพัฒนารุ่นเก๋าผู้มีประสบการณ์อย่างคุณ Wan Hazmer หัวหน้าดีไซนเนอร์ของเกม Final Fantasy XV และ Daim Dziauddin อาร์ทดิสของเกม Street Fighter V ร่วมอยู่ด้วย  โดยตัวเกมนั้นมีกำหนดจะวางจำหน่ายออกมาให้เราเล่นในวันที่ 25 สิงหาคม 2020 แต่ทางเรานั้นได้มีโอกาสเข้าไปทดลอง DEMO ของเกมความยาวราวๆ 2 ชั่วโมง ด้วยความสงสัยที่ว่า Rythm Games + Action Adventure มันจะออกมาเป็นรูปแบบไหนกันนะ และสารภาพตามตรงว่าก่อนที่จะได้เข้าไปเล่นนั้น ผู้เขียนได้ลองเข้าไปดูคลิปวิดีโอเกมเพลย์จาก YouTube ต่างๆ มาก่อนหน้าบ้าง แต่ก็เฉยๆ กับมันและไม่ได้สนใจมันเท่าที่ควร !! ซึ่งหลังจากที่ผู้เขียนได้เข้าไปลองประสบการณ์ของมันด้วยตัวเองแล้ว ความคิดของผมเองก็เปลี่ยนไปตลอดกาล !! กราฟิก / การนำเสนอ No Straight Roads ใช้กราฟิก 3D ที่นำเสนอโลกแห่ง Cyberpunk ในอนาคตได้อย่างยอดเยี่ยม แสงสีหลอดนีออนฉูดฉาดบวกกับกลื่นอายความเป็นดิสโทรเปียที่ถือว่าเป็นของคู่กันกับธีมแนวนี้อยู่แล้ว  กับบ้านเมืองถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะทันสมัย แต่ก็จะให้ความรู้สึกที่เสื่อมโทรมอยู่ตลอดเวลา และเนื่องจากกราฟิกของเกมที่ผู้พัฒนาจะต้องเลือกใช้ความเป็นการ์ตูนเพือให้เหมาะกับเกมเพลย์ที่ดีไซน์ออกมา การดีไซน์แอนิเมชัน ท่าทางบ้าๆ บอๆ การเต๊ะท่าผิดมนุษย์มนาที่พอมันอยู่ในเกมนี้แล้วกลับลงตัวอย่างบอกไม่ถูก ซึ่งใครที่คิดภาพไม่ออก อารมณ์คล้ายๆ กับท่าทางการเต๊ะท่าของการ์ตูนเรื่อง Jojo Bizzare Adventure นั่นแหละ ยอมรับว่าในด้านกราฟิกถ้ามองเผินๆ มันก็เป็นงานอาร์ทที่ค่อนข้างเฉพาะกลุ่มอยู่เหมือนกัน ถึงแม้ว่ามันจะเป็นงานที่มีกลิ่นอายของ Street Art อยู่มาก แต่ค่านิยมงานแนวนี้ในด้านของวิดีโอเกมก็ต้องพูดว่ามันไม่ได้เป็นที่นิยมหรือสนใจต่อผู้คนมากเท่าไรนัก ซึ่งพอได้เล่นจริงๆ แล้ว หลายๆ อย่างที่ผู้พัฒนาสร้างมา ท่าทางตัวละคร หรือโลก Cyberpunk มันกลับมีเสน่ห์เกินกว่าทีคาดไว้ เนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องของตัวเกมนำเสนอเรื่องราวของสองตัวละครอย่าง Mayday และ Zuke สมาชิกวงดนตรี Rock นามว่า Bunk Bed Junction ที่ต้องการจะต่อกรกับค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ที่ครอบงำผู้คนด้วยเสียงเพลงแห่ง EDM !! เอาจริงๆ แล้วถ้าให้มองเนื้อเรื่องของ No Straight Roads ดูเผินๆ มันก็ค่อนข้างเป็นอะไรที่เรียบง่ายและซื่อตรงไม่ได้หวือหวากว่าเกมไหนๆ เพราะมันมีเกมอินดี้มากมายที่ทำเนื้อเรื่องออกมาได้กินใจกว่านี้เยอะ !! แต่ทว่าพอลองมองลงไปให้ลึกเข้าไปหน่อย เรานั้นจะได้เห็นว่าผู้พัฒนาพยายามที่จะส่งสารบางอย่างต่อโลกของเราในสมัยนี้เช่นกัน กับการที่ดนตรีแนว EDM นั้นค่อนข้างเข้ามามีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมเพลงเกือบทั่วทุกที่ และมันกลายเป็น Trend ที่แพร่ขยายออกไปมากขึ้นแบบไม่ทันได้รู้ตัว เพราะในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาก็มีนักร้องมากมายที่นำเอาดนตรีแนว EDM เข้ามาผสมผสานกับเพลงของตัวเองและโด่งดังมากมาย หรือศิลปินแนว EDM เองก็ค่อนข้างกลายเป็นที่รู้จักของโลกมากขึ้น โดยมันก็ส่งผลทำให้เพลงแนวอื่นเองก็ต้องปรับตัวผสมผสานเอาสไตล์เทรนใหม่นี้เข้ามาด้วย ซึ่งเนื้อเรื่องและบอสต่าง ของเกมนี้เองก็มีการสื่อเป็นนัยๆ เกี่ยวกับประเด็นนี้เช่นกัน และสิ่งไหนที่เกิดขึ้นมา จะต้องมีสิ่งหนึ่งที่ดับไป !! ใช่แล้วครับหนึ่งแนวดนตรีที่ได้รับความนิยมน้อยลงไปเรื่อยๆ ก็คือแนวดนตรีเพลง Rock ที่ตอนนี้น่าจะอยู่ในช่วงขาลงของมันเลยก็ว่าได้ สังเกตุว่าศิลปินที่ทำดนตรีแนว Rock, Punk หรือ Heavy Metal เดี๋ยวนี้ไม่ได้รับความนิยมเหมือนดั่งเมื่อก่อน เนื้อเรื่องที่ No Straight Roads นำเสนอ มันจึงกลายเป็นเกมที่มีเนื้อเรื่องหยอกล้อเสียดสีสังคมได้เป็นอย่างดี ว่าเดี๋ยวนี้อะไรๆ ก็ EDM และเป็นการสะท้อนถึงปัญหาในเรื่องของความหลากหลายที่ตอนนี้แนวดนตรีบางแนวอาจจะมีที่ยืนในสังคมน้อยลงไปเรื่อยๆ รวมถึงอีกหนึ่งเสน่ห์หลักที่ไม่พูดไม่ได้เลยคือความตลกในเรื่องของบทสนทนาที่นอกจากจะมีการหยอกล้อสังคมแล้ว ผู้พัฒนายังใส่มุขตลกสไตล์ฝรั่งที่ทำให้เรายิ้มและฮาได้เรื่อยๆ และค่อนข้างเป็นตลกน้ำดีที่มันเข้ากันกับธีมของเกมที่มีความเป็น Cyberpunk ได้อย่างยอดเยี่ยมและลงตัว ถึงแม้ว่าผู้เขียนนั้นจะเล่นเกมนี้เพียงแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น เกมเพลย์ อย่างที่บอกไปว่า No Straight Roads เป็นเกมที่ผสมผสานเกมเพลย์ระหว่าง Rythm Games และ Action Adventure ซึ่งถือว่าเป็นไอเดียที่แปลกใหม่มากๆ ตัวเกมเพลย์ไม่ได้มีอะไรที่ซับซ้อนแต่อย่างใด เพียงแต่ว่าคุณอาจจะต้องใช้ประสบการณ์จากการเล่นเกมทั้งสองแนวเข้ามาใช้ โดยพื้นฐานการเล่นนั้นเราก็จะบังคับหรือโจมตีศัตรูในแบบของเกม Action Adventure ทั่วไป ตัวเกมมีความเป็น Hack and Slash เล็กๆ เพียงแต่ว่าทุกการโจมตีของศัตรูนั้นจะขึ้นอยู่กับจังหวะดนตรีทั้งหมด ทุกๆ การต่อสู้ของเกม จะมีเพลงประกอบที่เป็น EDM ที่ศัตรูจะโจมตีคุณตามจังหวะ Beat ของเพลงประกอบที่เปิดอยู่ รวมถึงในการต่อสู้ในแต่ละมิชชัน เพลงก็จะมีกลิ่ยอายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงอีกด้วย และเนื่องจากที่วง Bunk Bed Junction ประกอบไปด้วยสองตัวละครอย่าง Mayday และ Zuke เลยทำให้ตัวเกมเองรองรับการเล่นแบบ Co-op ในจอเดียวกันได้ด้วย รวมถึงแต่ละตัวละครจะมีเอกลักษณ์ที่ต่างกันออกไปอย่างเช่น Mayday จะเป็นสายตีดาเมจแรงๆ แต่อาจจะตีช้า ซึ่งเหมาะกับการปิดดาเมจมอนสเตอร์ลูกกระจ๊อกได้อย่างไว แต่ทาง Zuke ที่เป็นมือสองจะตีเร็วและจะตีเบากว่า ซึ่งเหมาะในการตี Objective เพื่อเอาสิ่งของมาตีศัตรูเป็นต้น แต่ถึงอย่างนั้น !! ใครที่คิดว่าจะเข้าเกมนี้ไปตีศัตรูให้ตายจบๆ ด่านไปท่านก็อาจจะคิดผิด เพราะตัวผมอาจจะต้องนิยามเกมเพลย์ของมันว่าคือเกมแนว Rythm Games + Action Adventure + Soul Style มากกว่า ตัวเกมมีระดับความยากในระดับที่พาให้หัวของคุณนั้นลุกเป็นไฟได้อย่างง่ายดาย สาเหตุมาจากความเป็นดนตรีแนว EDM ที่มี Beat ค่อนข้างเร็วและ Melody ที่หลากหลาย และพอศัตรูนั้นโจมตีเราตาม Beat หรือ Melody อย่างที่กล่าวไป ทำให้ศัตรูนั้นโจมตีเราเป็นชุดอย่างห่าฝน เราจะต้องใช้ไหวพริบ สติและปฏิกริยาที่เฉียบพลันในการเล่นอยู่ตลอดไม่งั้นก็อาจจะไปคุยกับรากมะม่วงได้ คุณจะต้องฟังดนตรีอยู่ตลอดเวลาเพื่อจับจังหวะของแต่ละเพลง รวมถึงต้องเข้าใจรูปแบบการโจมตีที่มาเป็นห่าฝนของศัตรูอีก ซึ่งเอาจริงๆ เกมเพลย์มันค่อนข้างสนุกนะ ถ้าหากใครที่ชอบเล่นเกมแนวยากๆ อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ยังวางใจได้ในระดับหนึ่งก็คือความยากของมันก็ยังอยู่ในเกณฑ์รับได้อยู่ดี ไม่ง่าย และไม่ยากจนเกินไป สรุป No Straight Roads เป็นเกมที่ถูกสร้างออกมาได้ลงตัวในหลายๆ อย่าง ถึงแม้ว่าหน้าของมันอาจจะดูไม่ได้น่าดึงดูดขนาดนั้น แต่พอได้เข้าไปสัมผัสตัวเกมจริงๆ แล้วคุณอาจจะหลงรักเกมนี้ได้อย่างง่ายๆ ทั้งเนื้อเรื่องที่มีนัยสำคัญหยอกล้อและต่อต้านสังคมโลกเราในสมัยนี้ หรือจะเป็นท่าทางบวกกับความตลกอันบริสุทธิ์ของตัวละครที่พร้อมจะสร้างความฮาให้คุณได้ เป็นความตลกที่ปราศจากความหยาคาย และความทะเล้นอย่างสิ้นเชิง พร้อมทั้งในเรื่องของเกมเพลย์เองต้องยอมรับว่าผู้พัฒนามีไอเดียที่ค่อนข้างดีเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าโดยรวมแล้วมันอาจจะไม่ได้สมบูรณ์แบบ แต่ถือว่าเป็นความแปลกใหม่ที่หลายๆ คนน่าจะไม่เคยสัมผัสมาก่อนแน่นอน ซึ่งส่วนตัวแล้ว No Straight Roads เป็นเกมที่สร้างความเซอร์ไพร์สให้กับตัวผู้เขียนในปีนี้เลยทีเดียว และหวังว่ามันจะได้รับรางวัลอะไรซักอย่างในปีนี้นะครับ ส่วนตัวผมขอเอาใจช่วยเลย โดยเกม No Straight Roads ที่จะวางจำหน่ายในวันที่ 25 สิงหาคมนี้ จะลงให้ทั้งเครื่อง PC [ Epic Games Store ], PS4 และ Xbox One ข้อดี สร้างโลกได้อย่างน่าสนใจ บทตัวละคร มุขตลกของเกมทำออกมาได้อย่างลงตัว เนื้อเรื่องค่อนข้างมีนัยหยอกล้อสังคมได้ดี แต่นำเสนอให้เข้าถึงง่าย เกมเพลย์แปลกใหม่ไอเดียดี ข้อเสีย 1. เกมมีความยากในระดับหนึ่ง อาจจะไม่เหมาะกับคนที่ชอบเล่นเกมง่ายๆ สบายๆ
14 Jul 2020
รวมข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกม Fast & Furious Crossroads
เกมแนว Racing / Action นี้เคยถูกสร้างมาแล้วหลายเกมที่จะเน้นแข่งรถด้วย และจะมีฉากบู๊ยิงกันชนกันมันส์ๆด้วย แต่ถ้าให้พูดถึงวงการภาพยนต์ ภาพยนต์ที่สามารถนำทั้ง 2 แนวมาผสมผสานกันได้อย่างลงตัว และมีฐานแฟนคลับที่เยอะมาก จนได้กำเนิดจักรวาล " Fast & Furious " ภาพยนต์ที่ครองใจคนดูมากว่าเป็น 10 ปีแล้ว ถึงอย่างนั้นนะครับก็เคยมีคนเอาเกม Fast & Furious มาสร้างเป็นเกม แต่.....ผลที่ได้ค่อนค่างหนักไปทางด้านลบโดนวิจารณ์เละมาก แล้วในอนาคตจะมีใครหยิบโปรเจ็คเกม Fast & Furious มาทำใหม่หรือไม่? วันนี้ในบทความนี้มีคำตอบให้คุณแล้ว! เนื้อเรื่องขยายจักวาลภาพยนต์! โหมดเนื้อเรื่องของ Fast & Furious Crossroads จะเป็นการขยายอาณาจักรของ Fast & Furious ของ Dom, Letty และ Roman  พากย์เสียงโดย Vin Diesel, Michelle Rodriguez และ Tyrese Gibson ตามฉบับภาพยนต์ คุณจะพบการผจญภัยที่เต็มไปด้วยฉากแอ็กชั่นมากมายทั่วโลก โดยคุณจะได้เดินทางไปบนถนนของสถานที่แปลกใหม่ ไปยังโลกที่มืดมนของการจารกรรมระดับนานาชาติ. ขนทัพนักแสดงจากฉบับบภาพยนต์และตัวละครใหม่! ซี่รี่ย์ Fast & Furious  จะขาดบุคคลเหล่านี้ไม่ได้เลยคือ Vin Diesel, Michelle Rodriguez และ Tyrese Gibson ที่แสดงบทบาทของ Dom, Letty และ Roman จะมาร่วมผจญภัยใน Fast & Furious: Crossroads เกมที่เต็มไปด้วยฉากแอ็กชั่นมากมายทั่วโลกและบรรดาผู้เข้าร่วมการแสดง ได้แก่ Sonequa Martin-Green (จาก STAR ​​TREK: Discovery, The Walking Dead) และ Asia Kate Dillon (จาก John Wick: บทที่ 3 - Parabellum) อีกทั้งยังจะมีตัวละครใหม่ร่วมเดินทางกับคุณที่จะได้เห็นเฉพาะในฉบับเกมเท่านั้น!!! ระบบการเล่นจะเป็นอย่างไร ได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าจะมีทั้งโหมด Singleplay และโหมด Multiplayer โดยจะร่วมกันไล่ล่า หลบหนีการจับกุม ไปจนถึงร่วมปล้นตามสถานที่ต่างๆ อาจจะเหมือน GTA  โดยสามารถวัดผลงานความสำเร็จของคุณด้วยสถิติการจับคู่ประวัติความสำเร็จ / ถ้วยรางวัลและอื่น ๆ อีกมากมายกับเพื่อน ๆ ผ่านระบบ MOSAIC ที่เหมือนตาของพระเจ้า. ค่ายพัฒนาเกมที่ฝีมือไม่ธรรมดา สำหรับเกม Fast & Furious: Crossroads ภาคนี้ถูกพัฒนาโดยค่ายชื่อว่า Slighty Mad Studio  เป็นทีมที่อยู่เบื้องหลังซีรีส์ GTR ที่ได้รับการยกย่องอย่าง Need For Speed Shift และ Shift 2 Unleashed  พวกเขามีประสบการณ์อย่างยาวนานถึง 10 ปีในเกมแข่งรถ และ Project CARS เป็นสุดยอดของประสบการณ์และผลงานเด่นของพวกเขา บอกเลยว่าเรื่องการแต่งรถ การแข่งขัน อารมณ์ในการขับรถต้องสุดยอดแน่นอน ส่วนพวกฉากแอ็คชั่นนั้น จะดีหรือไม่นั้นต้องมารอลุ้นในเกมเพลย์ หรือไม่ก็รอดูกันในวันเกมวางจำหน่ายอีกที. ตัวอย่างเกม Trailer ในตัวอย่างคุณจะเห็นการต่อสู้ที่ดุเดือด! เนื้อเรื่องที่เข้มข้น! และสนามแข่งรถที่ดูท้าทายมาก! วันวางจำหน่าย / ข้อเสนอสุดพิเศษ ตัวเกมถือว่าฉลาดในการทำตลาดมากครับเพราะจะเปิดตัวใกล้ๆวันฉายของฉบับภาพยนต์ ในเดือนพฤษภาคม ปี 2020 โดยจะแพลตฟอร์มลงให้กับ PS4 / Xbox One และ PC สำหรับ PS4 และ Xbox ราคาอยูที่ $ 59.99 ประมาณ 1890 บาท ส่วนใน PC จะวางจำหน่ายผ่าน Steam แต่ยังไม่มีราคาบอกไว้ เร็วๆนี้อาจจะมีข้อมูลใหม่ๆมาอัพเดทนะครับรอติดตามผลงานผมไว้ด้วยนะครับ.    
03 Mar 2020
BATTLETOADS 2019 เปิดเผยเกมเพลย์ในงาน Gamescom 2019
BATTLETOADS เกมตะลุยด่านสุดคลาสสิคจากยุค 90 ได้ออกภาคใหม่มาในรูปแบบความละเอียดถึง 4K และในงาน Gamescom 2019 นี้ก็มีการเปิดเผย Gameplay ของเกมนี้ออกมาให้ได้ชมกัน https://www.youtube.com/watch?v=IleMt6lSkZ0 ภาคนี้จะลองรับระบบ co-op สูงสุดถึง 3 คนเข้าท้าทายกับชาเลนจ์ต่างๆภายในเกมแน่นอนว่าเกมนี้เป็นเกมสำหรับทุกเพศทุกวัยแต่มีเพียงแค่ไม่กี่คนเท่านั้นที่จะสามารถไปถึงระดับ Master ในเกมนี้ได้  BATTLETOADS เปิดตัวครั้งแรกในปี 1991 และแน่นอนว่าเกมนี้ก็ยังออกมาอีกหลายภาคส่วนภาคใหม่นี้จะลงในเครื่อง Xbox และ Pc แต่วันว่างจำหนายนั้นยังคงเป็นปริศนา Credit : Gematsu(  https://gematsu.com/2019/08/battletoads-gamescom-2019-gameplay ) ติดตามข่าวสารเกมต่างๆ ได้ที่ Website : http://wpadmin.gamefever.co/ Facebook : https://www.facebook.com/GameFeverTH/
21 Aug 2019
รีวิว Visage เกมสยองขวัญที่คุณห้ามอยู่ในความมืด
หากใครกำลังคิดที่จะหาเกมแนวสยองขวัญสั่นประสาท หรือแนว Psychological horror (สยองขวัญเน้นจิตวิทยา) มาเล่นฆ่าเวลาในวันหยุดระยะสั้นๆ Visage เป็นอีกเกมหนึ่งที่ขอเชียร์ให้เล่นมากที่สุด แนวเกมนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากเกม P.T หรือ Silent Hill นั่นเอง ซึ่งฉากเปิดของเกมถ้าใครที่เคยเล่น P.T มาก่อนอาจจะอุทานขึ้นมาว่า ”เห้ย นี่มัน P.T รีเมครึเปล่า” แต่อย่าพึ่งตกใจไป เพราะการดำเนินเนื้อเรื่องนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง วันนี้พวกเราชาว GamefeverTH จะมารีวิวเกมนี้อย่างละเอียดให้ทุกท่านได้อ่าน เพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจในการซื้อครับ ปล. เนื่องจากตัวเกมยังเป็น Early Access จึงทำให้ระยะเวลาในการเล่นนั้นไม่ยาวนานอย่างที่คิด โดยจะอยู่ที่ประมาณ 3-4 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ แต่เนื่องด้วยผู้เขียนมีความเป็นนักสำรวจอย่างเต็มตัว จึงทำให้ระยะเวลาในการเล่นเกมนั้นนานกว่าที่ควรจะเป็น รีวิว : Visage (Early Access) แนวเกม : Psychological Horror ผู้พัฒนา : SadSquare Studio แพลตฟอร์ม : PC เวลาเล่น : 3 ชั่วโมง กราฟฟิก / เสียง พูดถึงเรื่องกราฟฟิก ต้องขอบอกเลยว่าทางผู้พัฒนาเขาได้ใช้สุดยอดโปรแกรมอย่าง Unreal Engine 4 ในการรังสรรค์ตัวเกมนี้ออกมา ทำให้ระบบกราฟฟิกภายในเกมดูสมจริงเป็นอย่างมาก เปรียบเสมือนเราได้หลุดเข้าไปอยู่ในบรรยากาศนั้นจริงๆ เรื่องของระบบเสียง ใน Visage นี้ไม่ใช่เกมผีที่มีเพลงหลอนๆคอยปลุกประสาทเราเหมือนเกมผีอื่นๆ แต่ตัวเกมจะเล่นกับความรู้สึกของเราด้วยเสียงของบรรยากาศแทนอย่างเช่น เสียงการเดินของตัวละครที่เราเล่น เสียงของสายฝนพรำ เสียงของคลื่นวิทยุที่จูนหาสัญญาณไม่เจอ หรือแม้กระทั่งเสียงสิ่งของที่เกิดขึ้นในขณะที่เราทำการสำรวจจุดต่างๆอยู่เป็นต้น เกมเพลย์ ส่วนของเกมเพลย์ Visage นั้นเป็นเกมแนว Psychological Horror (สยองขวัญเน้นจิตวิทยา) ของแท้ โดยเราจะได้รับบทเป็น Dwayne ผู้ที่จะต้องมาสำรวจสิ่งแวดล้อมภายในบ้านแห่งหนึ่ง ที่ดูเหมือนจะมีปริศนาที่น่าสะพรึงซ่อนอยู่มากมาย ซึ่งในขณะที่เราทำการสำรวจอยู่นั้น สิ่งที่เหนือธรรมชาติจะสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา นั่นขึ้นอยู่กับสภาพความกลัวของผู้เล่นด้วย จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้ลองสัมผัสความหลอนนี้มา ต้องขอบอกเลยว่าการเล่นเกมนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่ายเลย แม้ตอนต้นเกมจะเกริ่นเนื้อเรื่องมาบ้างแล้ว แต่ในระหว่างการเล่นเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าควรทำอะไรเป็นอย่างแรก ควรไปที่ไหนก่อน ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องค้นหาคำตอบเอง ขณะที่เราสำรวจสิ่งต่างๆอยู่ ทางด้านล่างซ้ายมือจะมีรูปสมองขึ้นให้ หากเราอยู่ในที่มืดเป็นเวลานาน สมองของเราจะมีสีแดงขึ้นมาซึ่งนั่นหมายความว่าเรากำลังหวาดกลัว ทางที่ดีเราควรจะอยู่ในที่ๆมีแสงสว่างหรือพกไฟแช็กติดตัวไว้ หากต้องตกอยู่ในกรณีจำเป็นที่จะต้องอยู่ในที่มืด ผู้เขียนแนะนำให้เก็บยากล่อมประสาทขวดสีส้มไว้กับตัว หากรูปสมองมีสีแดงขึ้นในระดับหนึ่ง ยาตัวนี้จะสามารถช่วยให้เราหายหวาดกลัวได้ พูดถึงส่วนของการดำเนินเรื่อง โดยรวมแล้วผู้เขียนคิดว่าการเล่าเรื่องถือว่าทำออกมาได้ดีสำหรับตัว Early Access นี้ Point หลักของเกมนั้นคือการสำรวจสิ่งต่างๆและแก้ปมปริศนา จึงทำให้นี่ไม่ได้เป็นเกมผีที่ตุ้งแช่จนน่ารำคาญ รวมถึงเรายังสามารถเลือกได้ว่าจะเจอผีหรือไม่เจอก็ได้ ขึ้นอยู่กับการควบคุมความกลัวของตัวละครของเรานั่นเอง นอกจากนั้นท้ายเกมยังมี Easter Egg เล็กๆให้เราได้ไขปริศนากันด้วย ต้องขอบอกเลยว่าจุดพีคอาจไม่ได้อยู่ที่เนื้อเรื่อง แต่อาจจะเป็นจุดๆนี้ ก็เป็นได้... สรุป Visage ถือว่าเป็นเกมแนว Psychological horror ที่ทำออกมาได้ยอดเยี่ยม อาจจะมีในส่วนของการบังคับหรือการใช้ปุ่มเก็บของที่ดูซับซ้อนไปบ้าง แต่ก็ถูกลบล้างไปด้วยกราฟฟิคสมจริงของตัวเกมไปจนหมด ในส่วนของความหลอนของตัวเกมนั้นก็ทำออกมาดีมากถึงขนาดที่ผู้เล่นแทบจะหยุดหายใจหายคอได้เลยทีเดียว หากให้สรุปเกมผีที่ดีที่สุดของปี 2018 ผู้เขียนขอยืนยันและยกให้ “Visage” เป็นเกมผีที่ดีที่สุดอันดับที่ 1 อย่างแท้จริง คะแนน [penci_review id="12416"] โดยตัวเกมนี้วางขายอยู่ในราคา 319 บาท เท่านั้นบนร้านค้า Steam ทุกท่านสามารถเข้าไปซื้อได้ LINK  
16 Nov 2018
GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
ผลการค้นหา : "ads"
ลือว่า Microsoft กำลังตัดสินใจ ให้เกมเล่นฟรีสามารถใส่โฆษณาเข้าไปในเกมได้!!
เกมเล่นฟรี เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของเกมที่คนนิยมกันมาก เพราะคุณไม่จำเป็นที่จะต้องเสียเงินกับเกมนี้เลยแม้แต่แดงเดียว แต่คุณก็ยังสามารถสนุกกับมันได้เหมือนกับคนทั่ว ๆ ไปซึ่งแหล่งสร้างรายได้ของผู้พัฒนานั้นก็จะมาในหลากหลายรูปแบบ ทั้ง Battle Pass, Skin, ตัวละครพิเศษ อาวุธพิเศษ ให้ผู้เล่นได้จับจองกันแทน โดยที่ไม่ต้องไปเสียเงินซื้อเกมกันตั้งแต่แรกและนอกเหนือจากช่องทางที่ว่ามานั้น อีกหนึ่งแหล่งสร้างรายได้ของผู้พัฒนาเกมให้เล่นฟรีก็คือ  โฆษณา แม้เกมเมอร์บน PC หรือคอนโซลอาจจะไม่คุ้นชินกับการที่เกมมีโฆษณาสักเท่าไร แต่สำหรับเกมเมอร์สายมือถือแล้ว โฆษณาแทบจะเป็นสิ่งที่แฝงอยู่ในทุก ๆ เกมเลยก็ว่าได้โดยล่าสุด มีรายงานจากทาง Business Insider ว่า Microsoft กำลังพิจารารณาให้เกมเปิดเล่นฟรีทั้งหลาย สามารถรับข้อเสนอการมีโฆษณาในเกมของพวกเขาได้ ซึ่งการใส่โฆษณาลงไปในเกมนั้น จะไม่รบกวนการเล่นของผู้เล่นแต่อย่างใด แต่มันจะเป็นเหมือนกับป้าย Billboards ที่ขึ้นโชว์ตรงหน้าล็อบบี้ หรือเป็นป้ายที่ใช้ประกอบฉากหลังเสียมากกว่าทั้งนี้ ยังไม่มีการยืนยันที่แน่ชัดออกมาจากทาง Microsoft แต่อย่างใด แต่ทาง Business Insider เชื่อว่า Microsoft จะเริ่มแผนการนี้ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2022 แหล่งข้อมูล: gamerant
18 Apr 2022
No Straight Roads Review : จังหวะร็อคปลดแอก กระแทกเข้าที่หัวใจ!
หมายเหตุ : รีวิว No Straight Roads ชิ้นนี้ อ้างอิงจากเกมเวอร์ชั่น PlayStation 4 ซึ่งตัวเกม มีวางจำหน่ายบน Nintendo Switch และ PC (ที่ร้าน Epic Game Store) ด้วย หมายเหตุ 2 : รีวิวนี้ ได้รับการสนับสนุนเกมโดยบริษัท Maxsoft ถ้าจะพูดกันถึงเกมแนว ‘Musical’ แล้วนั้น แม้ว่าจะมีชิ้นงานอยู่มากมายในท้องตลาด แต่ก็เป็นแนวเกมที่มีความเฉพาะตัวอย่างมาก (ไม่ว่าจะทั้ง Dance Dance Revolution ก็ดี Beat Mania ก็ดี ไปจนถึง Guitar Heroes หรือ Rocksmith) แต่การ ‘ผสมผสาน’ เกมแนวดนตรีเข้ากับเกมแนวอื่นนั้น กลายเป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่ง อาจจะด้วยความแตกต่างและความเฉพาะตัวอย่างมาก ซึ่งในแวดวงวิดีโอเกมที่ผ่านมา ก็เห็นจะมีเพียง Brutal Legend จากปี 2009 เท่านั้น ที่ดูจะเข้าข่ายและอาจจะกลายเป็นหนึ่งเดียวที่เรียกได้ว่าเป็น ‘Musical Action Games’ ได้อย่างเต็มปาก แต่น่าเสียดาย ที่ยอดขายมันสวนทางกับคำชม เพราะแม้จะได้ Jack Black มาให้เสียงพากย์ จนถึงเหล่าเมทัลสตาร์รุ่นเก๋ามาร่วมแจมแบบขนกันมาหมดแวดวง แต่วี่แววของภาคต่อก็ยังคงเงียบกริบแม้เวลาจะผ่านไปเกือบทศวรรษก็ตาม [caption id="attachment_66451" align="aligncenter" width="616"] Brutal Legend เกม Musical Action Game ชั้นเยี่ยม ที่...ไม่ได้ไปต่อ[/caption] และด้วยเหตุนี้เอง ที่ทำให้ ‘No Straight Roads’ ผลงานเดบิวของ Metronomik Production ทีมพัฒนาเกมสัญชาติมาเลเซีย กลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจขึ้นทันตาเห็น เพราะไม่ว่าจะเป็นการกระโดดจากทีม Outsources สร้างงานอาร์ตให้กับเกมอย่าง Final Fantasy 15 ก็ดี หรือการที่พวกเขาเลือกที่จะเปิดตัวด้วยเกมแนว ‘Musical Action Games’ ก็ดี เหล่านี้ ทำให้สายตาต่างจับจ้องมองมา ว่าทีมพัฒนาอินดี้กลุ่มนี้ จะไปได้ไกลแค่ไหน (ซึ่งทาง GameFever ได้นำเสนอพรีวิวไปแล้วก่อนหน้านั้นในบทความนี้) กล่าวโดยสรุป พวกเขายังคงความฉมังในด้านการสร้างสรรค์สไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ว่าจะทั้งงานอาร์ตไปจนถึงดนตรี รวมถึงเนื้อหาที่น่าสนใจ แต่กระนั้น ในส่วนของเกมการเล่น มันยังคงปรากฏความ ‘ไม่อยู่มือ’ ที่พวกเขาต้องเก็บไว้เป็นบทเรียนสำหรับชิ้นงานถัดไป อย่างไม่อาจจะมองข้ามได้ Rock ปลดแอก กับทางแยกสาย EDM [caption id="attachment_66453" align="aligncenter" width="696"] Mayday และ Zuke สองนักดนตรี พันธุ์ร็อค แห่ง Bunk Bed Junction กับภารกิจคว่ำ NSR[/caption] No Straight Roads บอกกล่าวถึงเรื่องราวของสองคู่หู Mayday และ Zuke นักดนตรี ‘พันธุ์ร็อค’ วง Bunk Bed Junction แห่งเมือง Vinyl City ที่ถูกปฏิเสธจาก NSR (No Straight Roads) บริษัทดนตรียักษ์ใหญ่ของเมือง ที่มองว่า เพลงร็อคนั้น ‘ขายไม่ได้ และตายไปแล้ว และดนตรี EDM คืออนาคตแห่งดนตรี แต่แล้วเมื่อกระแสไฟฟ้าพลังงานที่หล่อเลี้ยงเมืองถูกตัดขาด และสงวนเอาไว้ให้กับเหล่า ‘ศิลปิน’ สังกัด NSR สำหรับงานปาร์ตี้ที่ไม่รู้จบ ทั้งสองจึงเริ่มกระบวนการ ‘ปลดแอกทางดนตรี’ โดยมีเป้าหมายเพื่อคว่ำบริษัท NSR นี้ลงให้จงได้ ในแง่งานศิลป์นั้น น่าจะเป็นสิ่งที่โดดเด่นที่สุดของ No Straight Roads เลยก็ว่าได้ เพราะมันถูกนำเสนอในรูปแบบสุดโฉบเฉี่ยว ประหนึ่งงานอนิเมชันจากช่องอย่าง Cartoon Network ติดกลิ่นของเกมอย่าง Psychonauts อยู่บางๆ รวมถึงบทสนทนาของทั้ง Mayday และ Zuke นั้นก็มีลูกรับส่งหยอดมุกได้อย่างพอเหมาะ ช่วยให้ทั้งสองเป็นตัวละครที่ผู้เล่นสามารถรักและติดตามได้อย่างไม่ยากเย็น งานศิลป์ดังกล่าวยังไม่จบแต่เพียงเท่านั้น เพราะมันควบรวมไปกับเหล่า ‘ศิลปิน’ ใต้สังกัด NSR ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวภายใต้ดนตรีสาย EDM ไม่ว่าจะทั้ง DJ Subatomic Supernova ผู้คลั่งไคล้ดนตรีแห่งจักรวาล, 1010 กับกองทัพดนตรีบอยแบนด์, DK West กับดนตรีสาย Street Rap ชวนติดหู เหล่านี้ บ่งบอกถึงความสร้างสรรค์ของทีม Metronomik ในด้านการนำเสนอได้อย่างเหนือชั้น สมกับที่เป็นสตูดิโอที่ทำงานด้านอาร์ตมาเป็นเวลานานแรมปี หลากหลายดนตรี ที่มีเกมเพลย์อันแตกต่าง ในส่วนของเกมเพลย์ของ No Straight Roads นั้น จะเป็นไปในรูปแบบกึ่ง Open-World ที่ทั้ง Mayday และ Zuke จะต้องทำการ ‘ปลดแอก’ แต่ละย่านที่ถูกปกครองโดยศิลปินแห่ง NSR ด้วยการเล่นแบบ Beat-em-up ที่สามารถสลับตัวเล่นได้โดยอิสระ เหมาะสมกับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน Mayday กับกีตาร์ไฟฟ้าที่โจมตีช้าและหนักหน่วง หรือท่ารัวกลองของ Zuke ที่หนักน้อยกว่า แต่ต่อคอมโบได้มากกว่า ที่จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ (แน่นอนว่า เกมนี้ สามารถเล่นพร้อมกันได้สองคน แต่การสลับสับเปลี่ยนตัวละครแม้จะเล่นคนเดียวก็เป็นไปอย่างลื่นไหลไร้รอยติดขัด) การปะทะกับเหล่าศิลปินหรือบอสในแต่ละพื้นที่ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจ และเต็มไปด้วยไอเดียที่สร้างสรรค์อย่างมาก มันไม่ได้มีแค่เพียงการฟาดแบบ Beat-em-up แต่ยังมาพร้อมมินิเกมและเมคานิคแปลกๆ ที่ชวนให้รู้สึกสนุกเวลาเล่น ไม่ว่าจะการปะทะกับ Sayu ‘ไอดอลเวอร์ชวล’ ที่ต้องจัดการกับเหล่าโปรแกรมเมอร์และนัก MoCap ที่อยู่เบื้องหลัง, การหลบตัวโน้ตแบบเกมสาย Guitar Heroes ของ DK West ไปจนถึงการ ‘ไล่จัดการ’ กับกองทัพบอยแบนด์ของ 1010 ท่ามกลางเสียงดนตรี EDM ซึ่งทั้งหมด ถูกผสานเข้ากับดนตรีประกอบพื้นหลังได้อย่างกลมกล่อม ควบรวมไปกับการใช้สกิลพิเศษของ Mayday และ Zuke ที่เพิ่มความได้เปรียบ ไม่ว่าจะการรัวกีตาร์ปล่อยพลัง หรือการรัวไม้กลองเพื่อเพิ่มพลังการโจมตี ทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่แปลก และเล่นได้สนุกมากๆ ด้วยงานภาพ ผสานเกมการเล่นที่ลงตัวพอเหมาะ และผ่านการคิดมาเป็นอย่างดีไม่น้อย นอกเหนือจากการปะทะบอสแล้ว ภารกิจของ Bunk Bed Junction ในการฟื้นฟูเมือง Vinyl City ในพื้นที่แบบกึ่ง Open-World ก็จัดเป็นช่วงให้พักหายใจได้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะการฟื้นฟู ‘กระแสไฟฟ้า’ ตามจุดต่างๆ ของเมือง การเปิดพื้นที่ใหม่ และการ ‘อัพเกรดความสามารถ’ ของทั้ง Mayday และ Zuke ที่ใช้แต้ม ‘ความคลั่งไคล้ของแฟนๆ’ ทั้งจากการสู้ชนะบอส ไปจนถึงการฟื้นฟูย่านต่างๆ ให้กลับมาอีกครั้ง นอกเหนือจากนั้น สิ่งของหรือ Collectible ก็มีให้เก็บทั้งในแผนที่กึ่งเปิด และการสู้ชนะบอสในแต่ละจุด ทำให้เกมไม่เป็นเส้นตรงจนเกินไป (แม้ว่าพื้นที่ดังกล่าวจะค่อนข้างจำกัดอยู่บ้าง แต่ก็ดีกว่าเปิดกว้างแต่ร้างซึ่ง Content อย่างที่หลายเกมได้เป็นมา) เมื่อบวกรวมกับเนื้อหาที่น่าสนใจ เข้มข้นเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ดำเนินไป ก็ทำให้เกมนี้เล่นได้สนุกติดพันได้อย่างไม่ยากเย็น เล่นดนตรี ต้องมีผิดคีย์กันบ้าง อย่างไรก็ตาม แม้ว่า No Straight Roads จะเต็มเปี่ยมไปด้วยโปรดัคชันขั้นเยี่ยม ดนตรีสุดติดหู เนื้อหาและมุกตลกที่ชงตบได้อย่างพอเหมาะ และเกมการเล่นที่น่าสนใจ แต่ดูเหมือนว่าทีม Metronomik จะยังคงติดความเป็น ‘สตูดิโอสายโปรดัคชัน’ อยู่ค่อนข้างมาก เพราะเมคานิคของเกมการเล่น หลายครั้งมันถูกนำหน้าด้วยงานศิลป์ ทุกอย่างดูสับสนและ ‘ไม่เคลียร์’ ชัดเจน ว่าต้องทำอะไร หรือต้องจัดการ ‘แบบไหน’ เหล่านี้ ก่อให้เกิดการสะดุดระหว่างที่เล่น เพราะเมื่อทุกอย่างที่อยู่บนหน้าจอนั้นลายตาไปด้วยสีสันและดนตรีที่ก้องกังวานอยู่ในหู มันก็ยากที่จะแยกโสตประสาทออกจากกัน หลายครั้งผู้เขียนต้องใช้เวลาทำความเข้าใจกับการต่อสู้กับบอสแต่ละตัวค่อนข้างนาน (และเป็นไปในแบบที่งงๆ อยู่ไม่น้อย) ซึ่งถ้ามองในแง่ของการสร้างเกม ความชัดเจนและความง่ายในการเข้าถึงของเกมนี้ยังจัดว่าไม่ผ่าน (ยิ่งเมื่อเทียบกับ Brutal Legend จากปี 2009 ที่เป็นเกมแนวเดียวกันแล้ว ก็ดูเหมือนว่า No Straight Roads จะมีความ ‘สวยแต่รูป จูปไม่หอม’ จนเกินพอดีไปนิดหนึ่ง) อีกประการที่สำคัญ คือเกมนี้ ‘สั้นมาก’ ในระดับที่ถ้าคุณไม่คิดจะเก็บหรือสำรวจ หรือเป็นพวก Perfectionist ที่ต้องเก็บทุกอย่างให้ครบ คุณสามารถเล่นมันจนจบได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง เพราะหัวใจหลักของเกมมันคือ ‘Boss Rush’ ที่เข้าปะทะบอส ไม่มีด่านหรืออุปสรรคอื่นใดมาคั่นกลาง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากๆ โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงเนื้อหาว่า บริษัท NSR นั้น ‘คุมทุกซอย’ ของ Vinyl City และนั่นทำให้อายุการเล่นและการน่ากลับมาเล่นซ้ำน้อยลงอย่างน่าใจหาย จังหวะร็อคปลดแอกกระแทกหัวใจ ท้ายที่สุดนี้ แม้ว่าเราจะเห็นความ ‘ไม่อยู่มือ’ ในด้านการออกแบบเกมเพลย์ของทีม Metronomik แต่สำหรับผลงาน ‘เดบิว’ ชิ้นแรกของทีมพัฒนาสัญชาติมาเลเซียกลุ่มนี้ ก็มีเสน่ห์และเอกลักษณ์ที่ยากจะมองข้าม มันมีงานอาร์ตสุดงาม ดนตรีที่สนุก เนื้อหาที่น่าสนใจ และตัวละครที่ชวนให้เรารักและหลงใหล อาจจะน่าเสียดายไปบ้างที่ส่วนของเกมการเล่นยังเหมือน ‘ปรุงไม่สุก’ และต้องการการปรับปรุงเพิ่มเติมในโอกาสชิ้นงานถัดไป (ถึงขั้นที่สำนักรีวิวบางเจ้าบอกว่า เกมนี้มันควรจะเป็น อนิเมชัน อย่างเดียวเลยด้วยซ้ำ...) แต่ก็อาจจะเช่นเดียวกับเพลงร็อค ไม่ว่าจะสาย Mainstream หรือ Indy ที่อาการ ‘เพี้ยนคีย์’ ก็อาจจะจัดได้ว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง มันคือความเป็นธรรมชาติ มันคือเอกลักษณ์ที่ยากจะมองข้าม และมันเป็นสิ่งที่สะท้อนถึง ‘หัวใจ’ ของผู้เล่นที่อยู่บนเวทีและแสงไฟ ผู้เขียนไม่อาจรู้ได้ว่าหลังจาก No Straight Roads ชิ้นนี้ ทีม Metronomik จะสร้างสรรค์ผลงานชิ้นใดตามมา และจะออกมาเป็นแนวใด แต่ถ้าเปรียบพวกเขาเป็นวงร็อคแล้วนั้น…. “นี่คือวงร็อค Indy ที่น่าจับตามอง และ No Straight Roads ก็มีศักยภาพสูงพอที่จะพาพวกเขาก้าวเข้าสู่แถวหน้าของแวดวงได้อย่างมั่นใจไม่น้อยเลยทีเดียว” [penci_review id="66450"]
09 Sep 2020
รีวิว No Straight Roads [DEMO] เกมแนว Rythm + Action Adventure กับการเสียดสีค่านิยมเพลงในปัจจุบัน
เชื่อว่าเกมเมอร์หลายๆ คนก็น่าจะเคยเล่นเกมแนว Rythm หรือเกมที่ใช้ดนตรีมาเป็นปัจจัยหลักมามากหลายเกม แต่ก็เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกมที่เราได้เล่นส่วนใหญ่นั้นจะมีรูปแบบคล้ายๆ กัน นั่นคือการกดปุ่มที่ไหลลงมาให้ตรงตามจังหวะเพลง ซึ่งเป็นรูปแบบที่เราคุ้นชินและนิยามคำว่า Rythm Games ได้อย่างดี แต่ในปี 2020 ที่ไอเดียในการสร้างวิดีโอเกมเองก็มีความเปิดกว้างและไร้ขีดจำกัดมากขึ้น เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมเกมอินดี้ที่โตขึ้นอย่างทวีคูณ จนในที่สุดมันจึงได้มีเกมหนึ่งเกมที่ออกมาแล้วฉีกทุกกฏเกณฑ์เดิมๆ ในเรื่องไอเดียกับการนำเอา Rythm Games มาผสมผสานกับเกมแนว Action Adventure ที่คนส่วนใหญ่ชอบ กลายมาเป็นเกมที่ชื่อว่า No Straight Roads จากฝีมือทีมพัฒนาสัญชาติอังกฤษอย่าง Sold Out Games พร้อมทั้งโปรเจกต์นี้ยังมีนักพัฒนารุ่นเก๋าผู้มีประสบการณ์อย่างคุณ Wan Hazmer หัวหน้าดีไซนเนอร์ของเกม Final Fantasy XV และ Daim Dziauddin อาร์ทดิสของเกม Street Fighter V ร่วมอยู่ด้วย  โดยตัวเกมนั้นมีกำหนดจะวางจำหน่ายออกมาให้เราเล่นในวันที่ 25 สิงหาคม 2020 แต่ทางเรานั้นได้มีโอกาสเข้าไปทดลอง DEMO ของเกมความยาวราวๆ 2 ชั่วโมง ด้วยความสงสัยที่ว่า Rythm Games + Action Adventure มันจะออกมาเป็นรูปแบบไหนกันนะ และสารภาพตามตรงว่าก่อนที่จะได้เข้าไปเล่นนั้น ผู้เขียนได้ลองเข้าไปดูคลิปวิดีโอเกมเพลย์จาก YouTube ต่างๆ มาก่อนหน้าบ้าง แต่ก็เฉยๆ กับมันและไม่ได้สนใจมันเท่าที่ควร !! ซึ่งหลังจากที่ผู้เขียนได้เข้าไปลองประสบการณ์ของมันด้วยตัวเองแล้ว ความคิดของผมเองก็เปลี่ยนไปตลอดกาล !! กราฟิก / การนำเสนอ No Straight Roads ใช้กราฟิก 3D ที่นำเสนอโลกแห่ง Cyberpunk ในอนาคตได้อย่างยอดเยี่ยม แสงสีหลอดนีออนฉูดฉาดบวกกับกลื่นอายความเป็นดิสโทรเปียที่ถือว่าเป็นของคู่กันกับธีมแนวนี้อยู่แล้ว  กับบ้านเมืองถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะทันสมัย แต่ก็จะให้ความรู้สึกที่เสื่อมโทรมอยู่ตลอดเวลา และเนื่องจากกราฟิกของเกมที่ผู้พัฒนาจะต้องเลือกใช้ความเป็นการ์ตูนเพือให้เหมาะกับเกมเพลย์ที่ดีไซน์ออกมา การดีไซน์แอนิเมชัน ท่าทางบ้าๆ บอๆ การเต๊ะท่าผิดมนุษย์มนาที่พอมันอยู่ในเกมนี้แล้วกลับลงตัวอย่างบอกไม่ถูก ซึ่งใครที่คิดภาพไม่ออก อารมณ์คล้ายๆ กับท่าทางการเต๊ะท่าของการ์ตูนเรื่อง Jojo Bizzare Adventure นั่นแหละ ยอมรับว่าในด้านกราฟิกถ้ามองเผินๆ มันก็เป็นงานอาร์ทที่ค่อนข้างเฉพาะกลุ่มอยู่เหมือนกัน ถึงแม้ว่ามันจะเป็นงานที่มีกลิ่นอายของ Street Art อยู่มาก แต่ค่านิยมงานแนวนี้ในด้านของวิดีโอเกมก็ต้องพูดว่ามันไม่ได้เป็นที่นิยมหรือสนใจต่อผู้คนมากเท่าไรนัก ซึ่งพอได้เล่นจริงๆ แล้ว หลายๆ อย่างที่ผู้พัฒนาสร้างมา ท่าทางตัวละคร หรือโลก Cyberpunk มันกลับมีเสน่ห์เกินกว่าทีคาดไว้ เนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องของตัวเกมนำเสนอเรื่องราวของสองตัวละครอย่าง Mayday และ Zuke สมาชิกวงดนตรี Rock นามว่า Bunk Bed Junction ที่ต้องการจะต่อกรกับค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ที่ครอบงำผู้คนด้วยเสียงเพลงแห่ง EDM !! เอาจริงๆ แล้วถ้าให้มองเนื้อเรื่องของ No Straight Roads ดูเผินๆ มันก็ค่อนข้างเป็นอะไรที่เรียบง่ายและซื่อตรงไม่ได้หวือหวากว่าเกมไหนๆ เพราะมันมีเกมอินดี้มากมายที่ทำเนื้อเรื่องออกมาได้กินใจกว่านี้เยอะ !! แต่ทว่าพอลองมองลงไปให้ลึกเข้าไปหน่อย เรานั้นจะได้เห็นว่าผู้พัฒนาพยายามที่จะส่งสารบางอย่างต่อโลกของเราในสมัยนี้เช่นกัน กับการที่ดนตรีแนว EDM นั้นค่อนข้างเข้ามามีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมเพลงเกือบทั่วทุกที่ และมันกลายเป็น Trend ที่แพร่ขยายออกไปมากขึ้นแบบไม่ทันได้รู้ตัว เพราะในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาก็มีนักร้องมากมายที่นำเอาดนตรีแนว EDM เข้ามาผสมผสานกับเพลงของตัวเองและโด่งดังมากมาย หรือศิลปินแนว EDM เองก็ค่อนข้างกลายเป็นที่รู้จักของโลกมากขึ้น โดยมันก็ส่งผลทำให้เพลงแนวอื่นเองก็ต้องปรับตัวผสมผสานเอาสไตล์เทรนใหม่นี้เข้ามาด้วย ซึ่งเนื้อเรื่องและบอสต่าง ของเกมนี้เองก็มีการสื่อเป็นนัยๆ เกี่ยวกับประเด็นนี้เช่นกัน และสิ่งไหนที่เกิดขึ้นมา จะต้องมีสิ่งหนึ่งที่ดับไป !! ใช่แล้วครับหนึ่งแนวดนตรีที่ได้รับความนิยมน้อยลงไปเรื่อยๆ ก็คือแนวดนตรีเพลง Rock ที่ตอนนี้น่าจะอยู่ในช่วงขาลงของมันเลยก็ว่าได้ สังเกตุว่าศิลปินที่ทำดนตรีแนว Rock, Punk หรือ Heavy Metal เดี๋ยวนี้ไม่ได้รับความนิยมเหมือนดั่งเมื่อก่อน เนื้อเรื่องที่ No Straight Roads นำเสนอ มันจึงกลายเป็นเกมที่มีเนื้อเรื่องหยอกล้อเสียดสีสังคมได้เป็นอย่างดี ว่าเดี๋ยวนี้อะไรๆ ก็ EDM และเป็นการสะท้อนถึงปัญหาในเรื่องของความหลากหลายที่ตอนนี้แนวดนตรีบางแนวอาจจะมีที่ยืนในสังคมน้อยลงไปเรื่อยๆ รวมถึงอีกหนึ่งเสน่ห์หลักที่ไม่พูดไม่ได้เลยคือความตลกในเรื่องของบทสนทนาที่นอกจากจะมีการหยอกล้อสังคมแล้ว ผู้พัฒนายังใส่มุขตลกสไตล์ฝรั่งที่ทำให้เรายิ้มและฮาได้เรื่อยๆ และค่อนข้างเป็นตลกน้ำดีที่มันเข้ากันกับธีมของเกมที่มีความเป็น Cyberpunk ได้อย่างยอดเยี่ยมและลงตัว ถึงแม้ว่าผู้เขียนนั้นจะเล่นเกมนี้เพียงแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น เกมเพลย์ อย่างที่บอกไปว่า No Straight Roads เป็นเกมที่ผสมผสานเกมเพลย์ระหว่าง Rythm Games และ Action Adventure ซึ่งถือว่าเป็นไอเดียที่แปลกใหม่มากๆ ตัวเกมเพลย์ไม่ได้มีอะไรที่ซับซ้อนแต่อย่างใด เพียงแต่ว่าคุณอาจจะต้องใช้ประสบการณ์จากการเล่นเกมทั้งสองแนวเข้ามาใช้ โดยพื้นฐานการเล่นนั้นเราก็จะบังคับหรือโจมตีศัตรูในแบบของเกม Action Adventure ทั่วไป ตัวเกมมีความเป็น Hack and Slash เล็กๆ เพียงแต่ว่าทุกการโจมตีของศัตรูนั้นจะขึ้นอยู่กับจังหวะดนตรีทั้งหมด ทุกๆ การต่อสู้ของเกม จะมีเพลงประกอบที่เป็น EDM ที่ศัตรูจะโจมตีคุณตามจังหวะ Beat ของเพลงประกอบที่เปิดอยู่ รวมถึงในการต่อสู้ในแต่ละมิชชัน เพลงก็จะมีกลิ่ยอายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงอีกด้วย และเนื่องจากที่วง Bunk Bed Junction ประกอบไปด้วยสองตัวละครอย่าง Mayday และ Zuke เลยทำให้ตัวเกมเองรองรับการเล่นแบบ Co-op ในจอเดียวกันได้ด้วย รวมถึงแต่ละตัวละครจะมีเอกลักษณ์ที่ต่างกันออกไปอย่างเช่น Mayday จะเป็นสายตีดาเมจแรงๆ แต่อาจจะตีช้า ซึ่งเหมาะกับการปิดดาเมจมอนสเตอร์ลูกกระจ๊อกได้อย่างไว แต่ทาง Zuke ที่เป็นมือสองจะตีเร็วและจะตีเบากว่า ซึ่งเหมาะในการตี Objective เพื่อเอาสิ่งของมาตีศัตรูเป็นต้น แต่ถึงอย่างนั้น !! ใครที่คิดว่าจะเข้าเกมนี้ไปตีศัตรูให้ตายจบๆ ด่านไปท่านก็อาจจะคิดผิด เพราะตัวผมอาจจะต้องนิยามเกมเพลย์ของมันว่าคือเกมแนว Rythm Games + Action Adventure + Soul Style มากกว่า ตัวเกมมีระดับความยากในระดับที่พาให้หัวของคุณนั้นลุกเป็นไฟได้อย่างง่ายดาย สาเหตุมาจากความเป็นดนตรีแนว EDM ที่มี Beat ค่อนข้างเร็วและ Melody ที่หลากหลาย และพอศัตรูนั้นโจมตีเราตาม Beat หรือ Melody อย่างที่กล่าวไป ทำให้ศัตรูนั้นโจมตีเราเป็นชุดอย่างห่าฝน เราจะต้องใช้ไหวพริบ สติและปฏิกริยาที่เฉียบพลันในการเล่นอยู่ตลอดไม่งั้นก็อาจจะไปคุยกับรากมะม่วงได้ คุณจะต้องฟังดนตรีอยู่ตลอดเวลาเพื่อจับจังหวะของแต่ละเพลง รวมถึงต้องเข้าใจรูปแบบการโจมตีที่มาเป็นห่าฝนของศัตรูอีก ซึ่งเอาจริงๆ เกมเพลย์มันค่อนข้างสนุกนะ ถ้าหากใครที่ชอบเล่นเกมแนวยากๆ อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ยังวางใจได้ในระดับหนึ่งก็คือความยากของมันก็ยังอยู่ในเกณฑ์รับได้อยู่ดี ไม่ง่าย และไม่ยากจนเกินไป สรุป No Straight Roads เป็นเกมที่ถูกสร้างออกมาได้ลงตัวในหลายๆ อย่าง ถึงแม้ว่าหน้าของมันอาจจะดูไม่ได้น่าดึงดูดขนาดนั้น แต่พอได้เข้าไปสัมผัสตัวเกมจริงๆ แล้วคุณอาจจะหลงรักเกมนี้ได้อย่างง่ายๆ ทั้งเนื้อเรื่องที่มีนัยสำคัญหยอกล้อและต่อต้านสังคมโลกเราในสมัยนี้ หรือจะเป็นท่าทางบวกกับความตลกอันบริสุทธิ์ของตัวละครที่พร้อมจะสร้างความฮาให้คุณได้ เป็นความตลกที่ปราศจากความหยาคาย และความทะเล้นอย่างสิ้นเชิง พร้อมทั้งในเรื่องของเกมเพลย์เองต้องยอมรับว่าผู้พัฒนามีไอเดียที่ค่อนข้างดีเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าโดยรวมแล้วมันอาจจะไม่ได้สมบูรณ์แบบ แต่ถือว่าเป็นความแปลกใหม่ที่หลายๆ คนน่าจะไม่เคยสัมผัสมาก่อนแน่นอน ซึ่งส่วนตัวแล้ว No Straight Roads เป็นเกมที่สร้างความเซอร์ไพร์สให้กับตัวผู้เขียนในปีนี้เลยทีเดียว และหวังว่ามันจะได้รับรางวัลอะไรซักอย่างในปีนี้นะครับ ส่วนตัวผมขอเอาใจช่วยเลย โดยเกม No Straight Roads ที่จะวางจำหน่ายในวันที่ 25 สิงหาคมนี้ จะลงให้ทั้งเครื่อง PC [ Epic Games Store ], PS4 และ Xbox One ข้อดี สร้างโลกได้อย่างน่าสนใจ บทตัวละคร มุขตลกของเกมทำออกมาได้อย่างลงตัว เนื้อเรื่องค่อนข้างมีนัยหยอกล้อสังคมได้ดี แต่นำเสนอให้เข้าถึงง่าย เกมเพลย์แปลกใหม่ไอเดียดี ข้อเสีย 1. เกมมีความยากในระดับหนึ่ง อาจจะไม่เหมาะกับคนที่ชอบเล่นเกมง่ายๆ สบายๆ
14 Jul 2020
รวมข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกม Fast & Furious Crossroads
เกมแนว Racing / Action นี้เคยถูกสร้างมาแล้วหลายเกมที่จะเน้นแข่งรถด้วย และจะมีฉากบู๊ยิงกันชนกันมันส์ๆด้วย แต่ถ้าให้พูดถึงวงการภาพยนต์ ภาพยนต์ที่สามารถนำทั้ง 2 แนวมาผสมผสานกันได้อย่างลงตัว และมีฐานแฟนคลับที่เยอะมาก จนได้กำเนิดจักรวาล " Fast & Furious " ภาพยนต์ที่ครองใจคนดูมากว่าเป็น 10 ปีแล้ว ถึงอย่างนั้นนะครับก็เคยมีคนเอาเกม Fast & Furious มาสร้างเป็นเกม แต่.....ผลที่ได้ค่อนค่างหนักไปทางด้านลบโดนวิจารณ์เละมาก แล้วในอนาคตจะมีใครหยิบโปรเจ็คเกม Fast & Furious มาทำใหม่หรือไม่? วันนี้ในบทความนี้มีคำตอบให้คุณแล้ว! เนื้อเรื่องขยายจักวาลภาพยนต์! โหมดเนื้อเรื่องของ Fast & Furious Crossroads จะเป็นการขยายอาณาจักรของ Fast & Furious ของ Dom, Letty และ Roman  พากย์เสียงโดย Vin Diesel, Michelle Rodriguez และ Tyrese Gibson ตามฉบับภาพยนต์ คุณจะพบการผจญภัยที่เต็มไปด้วยฉากแอ็กชั่นมากมายทั่วโลก โดยคุณจะได้เดินทางไปบนถนนของสถานที่แปลกใหม่ ไปยังโลกที่มืดมนของการจารกรรมระดับนานาชาติ. ขนทัพนักแสดงจากฉบับบภาพยนต์และตัวละครใหม่! ซี่รี่ย์ Fast & Furious  จะขาดบุคคลเหล่านี้ไม่ได้เลยคือ Vin Diesel, Michelle Rodriguez และ Tyrese Gibson ที่แสดงบทบาทของ Dom, Letty และ Roman จะมาร่วมผจญภัยใน Fast & Furious: Crossroads เกมที่เต็มไปด้วยฉากแอ็กชั่นมากมายทั่วโลกและบรรดาผู้เข้าร่วมการแสดง ได้แก่ Sonequa Martin-Green (จาก STAR ​​TREK: Discovery, The Walking Dead) และ Asia Kate Dillon (จาก John Wick: บทที่ 3 - Parabellum) อีกทั้งยังจะมีตัวละครใหม่ร่วมเดินทางกับคุณที่จะได้เห็นเฉพาะในฉบับเกมเท่านั้น!!! ระบบการเล่นจะเป็นอย่างไร ได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าจะมีทั้งโหมด Singleplay และโหมด Multiplayer โดยจะร่วมกันไล่ล่า หลบหนีการจับกุม ไปจนถึงร่วมปล้นตามสถานที่ต่างๆ อาจจะเหมือน GTA  โดยสามารถวัดผลงานความสำเร็จของคุณด้วยสถิติการจับคู่ประวัติความสำเร็จ / ถ้วยรางวัลและอื่น ๆ อีกมากมายกับเพื่อน ๆ ผ่านระบบ MOSAIC ที่เหมือนตาของพระเจ้า. ค่ายพัฒนาเกมที่ฝีมือไม่ธรรมดา สำหรับเกม Fast & Furious: Crossroads ภาคนี้ถูกพัฒนาโดยค่ายชื่อว่า Slighty Mad Studio  เป็นทีมที่อยู่เบื้องหลังซีรีส์ GTR ที่ได้รับการยกย่องอย่าง Need For Speed Shift และ Shift 2 Unleashed  พวกเขามีประสบการณ์อย่างยาวนานถึง 10 ปีในเกมแข่งรถ และ Project CARS เป็นสุดยอดของประสบการณ์และผลงานเด่นของพวกเขา บอกเลยว่าเรื่องการแต่งรถ การแข่งขัน อารมณ์ในการขับรถต้องสุดยอดแน่นอน ส่วนพวกฉากแอ็คชั่นนั้น จะดีหรือไม่นั้นต้องมารอลุ้นในเกมเพลย์ หรือไม่ก็รอดูกันในวันเกมวางจำหน่ายอีกที. ตัวอย่างเกม Trailer ในตัวอย่างคุณจะเห็นการต่อสู้ที่ดุเดือด! เนื้อเรื่องที่เข้มข้น! และสนามแข่งรถที่ดูท้าทายมาก! วันวางจำหน่าย / ข้อเสนอสุดพิเศษ ตัวเกมถือว่าฉลาดในการทำตลาดมากครับเพราะจะเปิดตัวใกล้ๆวันฉายของฉบับภาพยนต์ ในเดือนพฤษภาคม ปี 2020 โดยจะแพลตฟอร์มลงให้กับ PS4 / Xbox One และ PC สำหรับ PS4 และ Xbox ราคาอยูที่ $ 59.99 ประมาณ 1890 บาท ส่วนใน PC จะวางจำหน่ายผ่าน Steam แต่ยังไม่มีราคาบอกไว้ เร็วๆนี้อาจจะมีข้อมูลใหม่ๆมาอัพเดทนะครับรอติดตามผลงานผมไว้ด้วยนะครับ.    
03 Mar 2020
BATTLETOADS 2019 เปิดเผยเกมเพลย์ในงาน Gamescom 2019
BATTLETOADS เกมตะลุยด่านสุดคลาสสิคจากยุค 90 ได้ออกภาคใหม่มาในรูปแบบความละเอียดถึง 4K และในงาน Gamescom 2019 นี้ก็มีการเปิดเผย Gameplay ของเกมนี้ออกมาให้ได้ชมกัน https://www.youtube.com/watch?v=IleMt6lSkZ0 ภาคนี้จะลองรับระบบ co-op สูงสุดถึง 3 คนเข้าท้าทายกับชาเลนจ์ต่างๆภายในเกมแน่นอนว่าเกมนี้เป็นเกมสำหรับทุกเพศทุกวัยแต่มีเพียงแค่ไม่กี่คนเท่านั้นที่จะสามารถไปถึงระดับ Master ในเกมนี้ได้  BATTLETOADS เปิดตัวครั้งแรกในปี 1991 และแน่นอนว่าเกมนี้ก็ยังออกมาอีกหลายภาคส่วนภาคใหม่นี้จะลงในเครื่อง Xbox และ Pc แต่วันว่างจำหนายนั้นยังคงเป็นปริศนา Credit : Gematsu(  https://gematsu.com/2019/08/battletoads-gamescom-2019-gameplay ) ติดตามข่าวสารเกมต่างๆ ได้ที่ Website : http://wpadmin.gamefever.co/ Facebook : https://www.facebook.com/GameFeverTH/
21 Aug 2019
รีวิว Visage เกมสยองขวัญที่คุณห้ามอยู่ในความมืด
หากใครกำลังคิดที่จะหาเกมแนวสยองขวัญสั่นประสาท หรือแนว Psychological horror (สยองขวัญเน้นจิตวิทยา) มาเล่นฆ่าเวลาในวันหยุดระยะสั้นๆ Visage เป็นอีกเกมหนึ่งที่ขอเชียร์ให้เล่นมากที่สุด แนวเกมนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากเกม P.T หรือ Silent Hill นั่นเอง ซึ่งฉากเปิดของเกมถ้าใครที่เคยเล่น P.T มาก่อนอาจจะอุทานขึ้นมาว่า ”เห้ย นี่มัน P.T รีเมครึเปล่า” แต่อย่าพึ่งตกใจไป เพราะการดำเนินเนื้อเรื่องนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง วันนี้พวกเราชาว GamefeverTH จะมารีวิวเกมนี้อย่างละเอียดให้ทุกท่านได้อ่าน เพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจในการซื้อครับ ปล. เนื่องจากตัวเกมยังเป็น Early Access จึงทำให้ระยะเวลาในการเล่นนั้นไม่ยาวนานอย่างที่คิด โดยจะอยู่ที่ประมาณ 3-4 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ แต่เนื่องด้วยผู้เขียนมีความเป็นนักสำรวจอย่างเต็มตัว จึงทำให้ระยะเวลาในการเล่นเกมนั้นนานกว่าที่ควรจะเป็น รีวิว : Visage (Early Access) แนวเกม : Psychological Horror ผู้พัฒนา : SadSquare Studio แพลตฟอร์ม : PC เวลาเล่น : 3 ชั่วโมง กราฟฟิก / เสียง พูดถึงเรื่องกราฟฟิก ต้องขอบอกเลยว่าทางผู้พัฒนาเขาได้ใช้สุดยอดโปรแกรมอย่าง Unreal Engine 4 ในการรังสรรค์ตัวเกมนี้ออกมา ทำให้ระบบกราฟฟิกภายในเกมดูสมจริงเป็นอย่างมาก เปรียบเสมือนเราได้หลุดเข้าไปอยู่ในบรรยากาศนั้นจริงๆ เรื่องของระบบเสียง ใน Visage นี้ไม่ใช่เกมผีที่มีเพลงหลอนๆคอยปลุกประสาทเราเหมือนเกมผีอื่นๆ แต่ตัวเกมจะเล่นกับความรู้สึกของเราด้วยเสียงของบรรยากาศแทนอย่างเช่น เสียงการเดินของตัวละครที่เราเล่น เสียงของสายฝนพรำ เสียงของคลื่นวิทยุที่จูนหาสัญญาณไม่เจอ หรือแม้กระทั่งเสียงสิ่งของที่เกิดขึ้นในขณะที่เราทำการสำรวจจุดต่างๆอยู่เป็นต้น เกมเพลย์ ส่วนของเกมเพลย์ Visage นั้นเป็นเกมแนว Psychological Horror (สยองขวัญเน้นจิตวิทยา) ของแท้ โดยเราจะได้รับบทเป็น Dwayne ผู้ที่จะต้องมาสำรวจสิ่งแวดล้อมภายในบ้านแห่งหนึ่ง ที่ดูเหมือนจะมีปริศนาที่น่าสะพรึงซ่อนอยู่มากมาย ซึ่งในขณะที่เราทำการสำรวจอยู่นั้น สิ่งที่เหนือธรรมชาติจะสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา นั่นขึ้นอยู่กับสภาพความกลัวของผู้เล่นด้วย จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้ลองสัมผัสความหลอนนี้มา ต้องขอบอกเลยว่าการเล่นเกมนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่ายเลย แม้ตอนต้นเกมจะเกริ่นเนื้อเรื่องมาบ้างแล้ว แต่ในระหว่างการเล่นเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าควรทำอะไรเป็นอย่างแรก ควรไปที่ไหนก่อน ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องค้นหาคำตอบเอง ขณะที่เราสำรวจสิ่งต่างๆอยู่ ทางด้านล่างซ้ายมือจะมีรูปสมองขึ้นให้ หากเราอยู่ในที่มืดเป็นเวลานาน สมองของเราจะมีสีแดงขึ้นมาซึ่งนั่นหมายความว่าเรากำลังหวาดกลัว ทางที่ดีเราควรจะอยู่ในที่ๆมีแสงสว่างหรือพกไฟแช็กติดตัวไว้ หากต้องตกอยู่ในกรณีจำเป็นที่จะต้องอยู่ในที่มืด ผู้เขียนแนะนำให้เก็บยากล่อมประสาทขวดสีส้มไว้กับตัว หากรูปสมองมีสีแดงขึ้นในระดับหนึ่ง ยาตัวนี้จะสามารถช่วยให้เราหายหวาดกลัวได้ พูดถึงส่วนของการดำเนินเรื่อง โดยรวมแล้วผู้เขียนคิดว่าการเล่าเรื่องถือว่าทำออกมาได้ดีสำหรับตัว Early Access นี้ Point หลักของเกมนั้นคือการสำรวจสิ่งต่างๆและแก้ปมปริศนา จึงทำให้นี่ไม่ได้เป็นเกมผีที่ตุ้งแช่จนน่ารำคาญ รวมถึงเรายังสามารถเลือกได้ว่าจะเจอผีหรือไม่เจอก็ได้ ขึ้นอยู่กับการควบคุมความกลัวของตัวละครของเรานั่นเอง นอกจากนั้นท้ายเกมยังมี Easter Egg เล็กๆให้เราได้ไขปริศนากันด้วย ต้องขอบอกเลยว่าจุดพีคอาจไม่ได้อยู่ที่เนื้อเรื่อง แต่อาจจะเป็นจุดๆนี้ ก็เป็นได้... สรุป Visage ถือว่าเป็นเกมแนว Psychological horror ที่ทำออกมาได้ยอดเยี่ยม อาจจะมีในส่วนของการบังคับหรือการใช้ปุ่มเก็บของที่ดูซับซ้อนไปบ้าง แต่ก็ถูกลบล้างไปด้วยกราฟฟิคสมจริงของตัวเกมไปจนหมด ในส่วนของความหลอนของตัวเกมนั้นก็ทำออกมาดีมากถึงขนาดที่ผู้เล่นแทบจะหยุดหายใจหายคอได้เลยทีเดียว หากให้สรุปเกมผีที่ดีที่สุดของปี 2018 ผู้เขียนขอยืนยันและยกให้ “Visage” เป็นเกมผีที่ดีที่สุดอันดับที่ 1 อย่างแท้จริง คะแนน [penci_review id="12416"] โดยตัวเกมนี้วางขายอยู่ในราคา 319 บาท เท่านั้นบนร้านค้า Steam ทุกท่านสามารถเข้าไปซื้อได้ LINK  
16 Nov 2018