GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
Review | รีวิวเกม Marvels Spider-man (PS4)
ลงวันที่ 04/09/2018

แนวเกม: Action-Adventure

ผู้พัฒนา: Insomniac Games

แพลตฟอร์ม: PlayStation 4

เวลาเล่น: ประมาณ 20 ชั่วโมง

(รีวิวบน PS4 Pro – ขอบคุณโค้ดรีวิวจาก Sony ด้วยครับ)

คำเตือน: รีวิวฉบับนี้อาจมีสปอยระบบการเล่นเล็กน้อย แต่ไม่สปอยเนื้อเรื่องแน่นอน


(ภาพส่วนใหญ่มาจากเกมเพลย์สามชั่วโมงแรกของเกมและ/หรือเทรลเลอร์ที่ผู้พัฒนาเคยปล่อย เพื่อหลีกเลี่ยงสปอยให้มากที่สุด)




ข้อดี

  • ระบบเกมเพลย์การต่อสู้ + โหนใยสนุกมาก ให้ความรู้สึกเหมือนเป็น Spider-man จริงๆ

  • กราฟิค (ส่วนใหญ่) สวยมาก

  • ระบบการพัฒนาตัวละครเข้าใจง่าย

  • กิจกรรมเสริมเพลิดเพลิน ไม่รู้สึกเสียเวลา

  • ฉากคัตซีนหลายๆ ฉากออกแบบมาได้มันส์สุดๆ


ข้อเสีย

  • เนื้อเรื่องเล่าช้า ต้องเล่นไปซักพักใหญ่ๆ กว่าจะเริ่มสนุก

  • เกมเพลย์ส่วนที่เล่นเป็นตัวละครอื่นๆ ที่ไม่ใช่ Spider-man ทำให้รู้สึกเหมือนถูกขัดจังหวะ

  • ภารกิจย่อยไม่ค่อยน่าสนใจ






ในหลายๆ แง่สไปเดอร์แมนก็มีความคล้ายกับแบ๊ทแมนของค่าย DC ตรงที่เป็นตัวละครที่ใครๆ ก็รู้จัก ไม่ว่าจะเป็นแฟนการ์ตูนหรือไม่ก็ตาม

ทั้งสองตัวละครยังเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของค่ายการ์ตูนของตัวเองด้วย ในขณะที่แบ๊ทแมนเป็นตัวละครที่สื่อถึงความมืดมนต์และซีเรียสของจักรวาล DC สไปเดอร์แมนก็เปรียบได้กับสัญลักษณ์ของความร่าเริงติดตลกของจักรวาลมาร์เวล (อย่างน้อยเมื่อเทียบกับ DC)

การเปรียบเทียบนี้ยังคงใช้ได้กับเกม Marvels Spider-man ด้วย เกมที่สามารถบรรยายง่ายๆ ในประโยคเดียวว่า เกม Batman: Arkham ฉบับมาร์เวล ที่สามารถแปลงประสบการณ์ของการเป็นไอ้แมงมุมโหนตึกออกมาในรูปแบบวีดีโอเกมได้แทบจะสมบูรณ์แบบพอๆ กับที่ Batman: Arkham สามารถทำให้เรารู้สึกเหมือนตัวเองเป็นแบ๊ทแมนจริงๆ ด้วยระบบการเล่นที่ได้รับแรงบันดาลใจมาอย่างชัดเจน (มีฉากนึงเต็มๆ ที่แทบจะลอกแบบกันมาเลย) แต่เปลี่ยนให้สดใสมีชีวิตชีวาในแบบฉบับของมาร์เวล ข้อเสียใหญ่ที่สุดของเกมเพียงหนึ่งเดียวคงจะเป็นเนื้อเรื่องที่ไม่ค่อยสม่ำเสมอ แถมยังเดาง่ายตามสูตรหนังมาร์เวลแทบทุกอย่าง ทำให้เกมยังไม่สามารถขึ้นไปอยู่ในระดับเดียวกับ Batman: Arkham ได้ แต่ Marvels Spider-man ก็ยังคงเป็นเกม Open-World ที่ครบเครื่องและน่าจะถูกใจคนที่ชอบเกมแนว Action-Adventure ทุกคน โดยเฉพาะแฟนๆ ตัวยงของสไปเดอร์แมน


เนื้อเรื่อง


เกม Marvels Spider-man จะให้เรารับบทเป็นปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ (หรือสไปเดอร์แมนนั่นแหละ) ในวัย 23 ปี ซึ่งต้องต่อกรกับทั้งปัญหาในการงานและชีวิตส่วนตัว พร้อมกับรับมือกลุ่มโจรกลุ่มใหม่หรือแก๊ง Demons นำโดยตัวร้าย Mister Negative ที่ฉวยโอกาศที่เจ้าพ่อคนเก่าอย่าง King Pin โดนจับกุมเพื่อเข้ายึดเมืองนิวยอร์คตามจุดประสงค์ลึกลับบางอย่าง

ถ้ามองโดยรวมๆ แล้วเนื้อเรื่องของเกม Marvels Spider-man ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรเป็นพิเศษ จริงๆ ค่อนข้างจะมีความเป็นหนังมาร์เวลอยู่สูงมากๆ เลยด้วยซ้ำ ซึ่งหลายๆ คนก็อาจจะมองว่าเป็นข้อดี แต่ปัญหาอย่างนึงคือเมื่อนำเนื้อเรื่องตามสูตรหนังมาร์เวลมายืดให้เข้ากับเกมความยาว 20 ชั่วโมงแล้ว สิ่งที่ได้คือความช้าในการดำเนินเรื่อง โดยเฉพาะในฉากที่เกมพยายามจะเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างปีเตอร์และตัวละครอื่นๆ อย่างป้าเมย์ซึ่งไม่ค่อยน่าสนใจ



อีกข้อเสียหนึ่งของหนังมาร์เวลหลายๆ เรื่องคือการเล่าไม่หมด/ไม่ครบเพราะมีเรื่องต้องเล่ามากเกินไป การที่เกมพยายามจะผูกเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของปีเตอร์เข้ากับเนื้อเรื่องหลัก ทำให้เกมต้องใช้เวลาในการค่อยๆ เล่าความสัมพันธ์ระหว่างปีเตอร์และตัวละครอื่นๆ ซึ่งในบางครั้งก็อดรู้สึกว่าเป็นการขัดจังหวะการเล่นของเกมได้เหมือนกัน (ตะกี้ยังสู้กันมันส์ๆ จู่ๆ ก็ตัดเข้าคัตซีนเอื่อยๆ เฉ้ย) ปัญหานี้มักจะพบเจอบ่อยที่สุดในช่วงต้นเกมที่กำลังปูเนื้อเรื่อง กว่าจะปูเสร็จและเข้าสู่ช่วงที่น่าตื่นเต้นจริงๆ อย่างฉากที่เหล่าตัวร้ายต่างๆ เช่น Electro, Rhino, Scorpian และอื่นๆ พากันแหกคุก (เหมือนในวีดีโอเกมเพลย์ที่ผู้พัฒนาเคยปล่อยออกมา) ก็ปาเข้าไป 2/3 ของเกมแล้ว (เล่นไปแล้วเกิน 10 ชม.) ทำให้ช่วงต้นของเกมรู้สึกว่าเล่าช้า แต่ช่วงท้ายเกมกลับรู้สึกว่ารีบเล่าเหลือเกิน เหล่าแก๊งตัวร้ายมีบทนิดเดียวช่วงก่อนจบเกมเท่านั้น และทำให้ตอนจบซึ่งพยายามจะดึงอารมณ์ผู้เล่นไม่สำเร็จอีกด้วย เพราะปูทุกอย่างจนไม่มีเวลาพัฒนาตัวละครอย่างเป็นจริงเป็นจัง



ผู้พัฒนาเคยให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่าพยายามจะให้ความสำคัญกับทั้งสไปเดอร์แมนและปีเตอร์ให้เท่าๆ กันในเกมภาคนี้ แต่กลับไม่สามารถทำให้เรื่องของปีเตอร์น่าสนใจได้เท่าเรื่องของสไปเดอร์แมนเลยแม้จะมีความสัมพันธ์กันโดยตรงก็ตาม ซึ่งจุดนี้เป็นข้อเสียเพียงอย่างเดียวที่ทำให้เกมไม่สามารถเทียบเท่า Batman: Arkham ได้

เกมเพลย์


อย่างที่กล่าวไปด้านบน เกม Marvels Spider-man มีความคล้ายคลึงกับเกม Batman: Arkham หลายจุด ซึ่งส่วนที่เปรียบเทียบได้ชัดเจนที่สุดคงเป็นระบบต่อสู้ ที่เน้นการทำคอมโบและสวนการโจมตีของศัตรูไปพร้อมๆ กันเมื่อเห็นสัญลักษณ์ขึ้นบนหัว ควบคู่ไปกับการใช้อุปกรณ์ Gadget ต่างๆ ไปด้วย ที่แตกต่างกันก็คือในขณะที่แบ๊ทแมนเป็นปรมจารย์ศิลปะการต่อสู้ที่สามารถยืนเฉยๆ แล้วรอสวนการโจมตีของศัตรูได้ สไปเดอร์แมนเป็นฮีโร่ที่เน้นใช้ความว่องไวเป็นหลัก ทำให้การเคาน์เตอร์ศัตรูในเกม Batman: Arkham เปลี่ยนไปเป็นการตีลังกาหลบการโจมตีแทน พูดง่ายๆ ก็คือการต่อสู้ในเกม Marvels Spider-man จะเร็วกว่า และอาศัยการเคลื่อนที่ของตัวละครมากกว่าใน Batman: Arkham มาก และในบางครั้งก็ท้าทายกว่าเพราะการกระโดดหลบไม่ได้รับประกันว่าเราจะไม่ได้รับความเสียหาย เราอาจจะกระโดดหลบหมัดศัตรูตัวหนึ่งไปโดนหมัดของอีกตัวหนึ่งแทนได้ แต่เมื่อเล่นจนคล่องแล้วทำให้การต่อสู้ทุกครั้งดูเหมือนฉากบู๊ในหนังมาร์เวลที่ถูกจัดฉากมาแล้วอย่างดีอีกด้วย ดูยังไงก็ไม่เบื่อเลย



แต่นอกนั้นก็ค่อนข้างคล้ายๆ กันหมด เช่นชนิดและความสามารถของศัตรูที่แทบจะลอกกันมาเลย มีศัตรูถืออาวุธที่ไม่สามารถโจมตีซึ่งๆ หน้าได้ ศัตรูตัวใหญ่ที่ต้องสตันซะก่อนถึงจะโจมตีได้ ศัตรูถือโล่ห์ที่ต้องลอบไปโจมตีจากด้านหลัง เป็นต้น โดยศัตรูบางชนิดจะมีความสามารถพิเศษเพิ่มเข้ามาตามฝ่ายของศัตรูนั้นๆ เช่นศัตรูถืออาวุธของฝั่ง Demon จะสามารถปล่อยคลื่นพลังใส่เราได้ ในขณะที่ศัตรูของฝ่ายกองกำลัง Sable จะเน้นใช้ปืนและเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งก็ทำให้การต่อสู้ในเกมตื่นเต้นทุกครั้ง เพราะนอกจากจะต้องคอยหลบการโจมตีธรรมดาๆ แล้วยังต้องคอยคำนึงถึงชนิดของศัตรูและวิธีการรับมือไปพร้อมๆ กันตลอดเวลา



ภารกิจเนื้อเรื่องของ Marvels Spider-man ถือเป็นจุดเด่นของเกมเลยก็ว่าได้ เพราะออกแบบมาให้เล่นสนุกแทบจะทุกภารกิจอย่างละเอียดเลยทีเดียว แถมยังผสมผสานการเล่นทั้งการต่อสู้ Stealth และการเคลื่อนที่ (โหนใย) เอาไว้ด้วยกัน ในขณะที่ภารกิจเสริมส่วนใหญ่ของเกมกลับไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไหร่ หลายๆ เควสดูจะแค่ให้เราเดินทางไปที่แห่งนึงและต่อสู้กับศัตรูเป็นกลุ่มเฉยๆ ไม่ได้มีภารกิจที่เนื้อเรื่องพิศดารหรือมีวิธีเล่นพิเศษอะไร (นอกจากภารกิจเสริมชุดนึงที่ให้เราต่อสู้กับตัวร้ายจากการ์ตูนตัวนึง)

เมื่อผ่านภารกิจหรือการต่อสู้ เราจะได้รับ EXP จำนวนหนึ่งเพื่ออัพเลเวล ซึ่งทุกครั้งที่อัพเลเวลใหม่เราจะได้รับสกิลพ้อยหนึ่งแต้ม เอาไว้อัพเกรดความสามารถของตัวละคร เช่นการใช้ใยกระชากอาวุธออกจากมือศัตรู หรือความสามารถในการยิงใยสวนการโจมตีของศัตรูเมื่อกดหลบถูกจังหวะ ระบบนี้ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก แถมเมื่อเล่นไปเรื่อยๆ จะสามารถปลดล๊อคสกิลพ้อยพอสำหรับการปลดล๊อคสกิลทั้งหมดอยู่ดี จึงถือว่าเป็นระบบที่เข้าใจง่ายและตรงไปตรงมา ไม่ต้องพะวงว่าจะอัพสกิลผิด



ในระหว่างภารกิจ เราจะสามารถเดินทางไปมาในเกาะ Manhattan ของนครนิวยอร์คได้อย่างอิสระเพื่อทำกิจกรรมยิบย่อยต่างๆ ในแผนที่ เมื่อทำสำเร็จจะได้ Token มาพัฒนาอุปกรณ์เสริมและปลดล๊อคชุดของตัวละคร เช่นการเก็บกระเป๋าสะพายที่ปีเตอร์ซ่อนไว้ตามเมืองในวัยเด็ก หรือการปราบอาชญกรรมที่เกิดขึ้นในเมืองแบบแรนด้อม โดยกิจกรรมแต่ละชนิดจะให้ Token ตามชนิดของกิจกรรมนั้นๆ ซึ่งการอัพเกรดหรือปลดล๊อคชุดจะใช้ Token หลายๆ ชนิดผสมกันจึงเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เล่นเดินทางและสำรวจกิจกรรมทุกชนิดในเมืองตลอดเวลา กิจกรรมต่างๆ จะถูกเพิ่มเข้ามาเรื่อยๆ เมื่อเราปลดล๊อคเสาสัญญาณในพื้นที่เพื่อเปิดแผนที่ ไม่ค่อยต่างจากการปีนหอคอยใน Assassins Creed



อาจจะเป็นระบบที่หลายๆ คนไม่ค่อยชอบในเกมอื่นๆ แต่ใน Marvels Spider-man กลับไม่ได้แย่ขนาดนั้นเพราะการโหนใยไปมาในเมืองสนุกมาก! ผู้เล่นสามารถโหนใยโดยอัตโนมัติด้วยการกดปุ่ม R2 ค้างเอาไว้ ผสมผสานกับการพุ่งหรือเหวี่ยงตัวไปข้างหน้าด้วยปุ่ม X ซึ่งการโหนใยจะอิงตามฟิสิกส์ของโลกจริง หมายความว่าสไปเดอร์แมนต้องยิงใยไปติดกับตึกจริงๆ จึงจะสามารถโหนใยได้ แม้จะทำให้เกิดปัญหาบ้างในบางพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีตึกให้โหน แต่ระบบนี้ก็มีข้อดีตรงที่ทำให้การโหนใยรู้สึกสมจริงมากขึ้น ให้ความรู้สึกเหมือนโหนใยจริงๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้เล่นรู้สึกเหมือนตัวเองรับบทเป็นไอ้แมงมุมอยู่นั่นเอง



จุดอ่อนในเรื่องของเกมเพลย์คงจะเป็นฉากเนื้อเรื่องบางช่วงที่ให้เรารับบทเป็นตัวละครอื่นๆ อย่าง Mary Jane (แฟนของปีเตอร์) ซึ่งฉากเหล่านี้ส่วนใหญ่จะให้ผู้เล่นต้องหลบหลีกศัตรูตามฉากแบบ Stealth และจะแพ้ทันทีถ้าโดนศัตรูพบเข้า แม้ว่าฉากเหล่านี้จะไม่ได้ยากเย็นหรือผ่านยากแต่อย่างใด แต่ก็น่ารำคาญอยู่ดีเวลาที่จู่ๆ ก็แพ้เพราะศัตรูตรงมุมห้องที่เราไม่เห็นดันเห็นเราเข้าจากอีกฝากห้อง ทำให้ต้องเริ่มเล่นฉากนั้นๆ ใหม่แต่ต้น

ที่สำคัญคือภารกิจเหล่านี้มักถูกแทรกมาในภารกิจเนื้อเรื่อง ทำให้บางทีก็รู้สึกเหมือนถูกขัดจังหวะเพราะกำลังต่อสู้อยู่มันส์ๆ เนื้อเรื่องกำลังถึงจุดน่าตื่นเต้น แต่ดันถูกบังคับให้เปลี่ยนมาเล่นเกม Stealth แบบช้าๆ ซะงั้น แต่จะไม่มีก็ไม่ได้เพราะฉากเหล่านี้กลับสำคัญต่อเกมเพราะเป็นการเล่าถึงตัวละครรอบๆ ตัวปีเตอร์ตามเจตนาของผู้พัฒนา แต่บางทีก็อดคิดไม่ได้ว่าอาจจะดีกว่าถ้าไม่มีฉากแบบนี้เช่นกันเพราะจะทำให้เกมดำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติมากกว่า


กราฟิค/การนำเสนอ


เกมจะโดนดาว์นเกรดจริงหรือไม่ก็ไม่รู้ แต่ผู้เขียนมองว่ากราฟิคของเกมนี้ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมากอยู่แล้วโดยเฉพาะในฉากคัตซีน ซึ่งมีรายละเอียดทั้งในเรื่องของสิ่งของในฉากและสีหน้าท่าทางตัวละครหลักดีมากๆ แถมเกมยังรันอย่างลื่นไหลตลอด แทบไม่ประสบปัญหาเฟรมตกเลยทั้งระหว่างการโหนใยในเมืองและการต่อสู้ เมื่อคำนึงถึงรายละเอียดต่างๆ และความเร็วของเกมแล้วจึงค่อนข้างน่าทึ่งที่เกมสามารถทำงานได้อย่างลื่นไหลไม่มีสะดุดเลยได้ขนาดนี้



สิ่งที่ผู้เขียนชอบมากๆ คือรายละเอียดบนชุดต่างๆ ของสไปเดอร์แมนที่ผู้เล่นสามารถปลดล๊อคได้ในเกมที่มีเกือบ 30 ชุด แถมชุดที่เราเลือกใส่จะแสดงในหน้าจอการโหลดและในฉากคัตซีนทั้งหมดอีกด้วย ทำให้เราสามารถเลือกเล่นเป็นสไปเดอร์แมนเวอร์ชั่นโปรดของตัวเองได้ตลอดตั้งแต่ต้นจนจบเกมเลย ชุดต่างๆ ยังปลดล๊อคท่าพิเศษใหม่ๆ ประจำชุดด้วย (สามารถเลือกพลังพิเศษแยกกับชุดได้) จึงส่งผลต่อการเล่นมากกว่าแค่เป็นสกินตัวละครอย่างเดียว



เมืองนิวยอร์คของเกมก็สมควรได้รับคำชม เป็นเมืองที่ดูมีชีวิตชีวาไม่ต่างกับเมืองจริงๆ มีผู้คนและรถเดินไปมาตลอดเวลาด้วย แถมเมืองยังมีความหลากหลายในรูปลักษณ์ของตึกพอสมควร แต่ละเขตของเมืองก็มีเอกลักษณ์ของตัวเอง อย่างเขต Harlem ซึ่งเป็นเขตที่ผู้คนมักมีรายได้ต่ำ ก็จะมีลักษณะเป็นโรงงานหรือตึกเตี้ยๆ โทรมๆ ซะเยอะ ในขณะที่เขตใจกลางเมืองอย่าง Times Square หรือเขตคนรวยอย่าง Financial District ก็จะมีผู้คนหนาตากว่า มีตึกสูงสวยๆ ให้โหนได้เยอะกว่า เป็นต้น

ที่อาจจะทำได้ไม่ค่อยดีคือกราฟิคหน้าตาของตัวละครย่อยๆ ที่นอกจากจะไม่ค่อยมีรายละเอียดแล้ว ตัวละครย่อยหลายๆ ตัวไม่ขยับปากด้วยซ้ำเวลาพูด แถมท่าทางก็เก้งก้างไม่เหมือนตัวละครหลักๆ อย่างชัดเจน แน่นอนว่านี่เป็นเพียงข้อด้อยเล็กๆ ที่หลายๆ คนอาจจะไม่สังเกติด้วยซ้ำ แต่ก็ยังถือเป็นสิ่งที่ถ้าปรับปรุงแล้วจะทำให้เกมดูมีชีวิตขึ้นกว่าเดิมมากๆ




สรุป


Marvels Spider-man ถือเป็นเกม Action Open-world ที่สนุกตามสูตรของเกมแนวนี้ทุกอย่าง ด้วยระบบการต่อสู้และการเดินทางที่ยอดเยี่ยมและกิจกรรมต่างๆ ในแผนที่อันกว้างและละเอียด ซึ่งเยอะและส่งผลต่อตัวละครโดยตรงทำให้รู้สึกเหมือนเกมมีอะไรให้เราทำตลอดเวลา ข้อเสียอย่างเดียวคือเนื้อเรื่อง ที่ดูจะครึ่งๆ กลางๆ อยู่ระหว่างการเล่าชีวิตของปีเตอร์และการเล่าเรื่องซุปเปอร์ฮีโร่สไตล์มาร์เวล แต่ก็ไม่ถึงกับไม่สนุกหรือน่าเบื่อไปเลย

แฟนๆ เกมแอคชั่นและ/หรือ Open-World น่าจะชอบ ส่วนสำหรับแฟนๆ ซุปเปอร์ฮีโร่หรือแฟนๆ สไปเดอร์แมน นี่ถือเป็นเกมสำหรับคุณโดยเฉพาะเลย


[penci_review id="4861"]

7
ข้อดี
ข้อเสีย
8
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
Review | รีวิวเกม Marvels Spider-man (PS4)
04/09/2018

แนวเกม: Action-Adventure

ผู้พัฒนา: Insomniac Games

แพลตฟอร์ม: PlayStation 4

เวลาเล่น: ประมาณ 20 ชั่วโมง

(รีวิวบน PS4 Pro – ขอบคุณโค้ดรีวิวจาก Sony ด้วยครับ)

คำเตือน: รีวิวฉบับนี้อาจมีสปอยระบบการเล่นเล็กน้อย แต่ไม่สปอยเนื้อเรื่องแน่นอน


(ภาพส่วนใหญ่มาจากเกมเพลย์สามชั่วโมงแรกของเกมและ/หรือเทรลเลอร์ที่ผู้พัฒนาเคยปล่อย เพื่อหลีกเลี่ยงสปอยให้มากที่สุด)




ข้อดี

  • ระบบเกมเพลย์การต่อสู้ + โหนใยสนุกมาก ให้ความรู้สึกเหมือนเป็น Spider-man จริงๆ

  • กราฟิค (ส่วนใหญ่) สวยมาก

  • ระบบการพัฒนาตัวละครเข้าใจง่าย

  • กิจกรรมเสริมเพลิดเพลิน ไม่รู้สึกเสียเวลา

  • ฉากคัตซีนหลายๆ ฉากออกแบบมาได้มันส์สุดๆ


ข้อเสีย

  • เนื้อเรื่องเล่าช้า ต้องเล่นไปซักพักใหญ่ๆ กว่าจะเริ่มสนุก

  • เกมเพลย์ส่วนที่เล่นเป็นตัวละครอื่นๆ ที่ไม่ใช่ Spider-man ทำให้รู้สึกเหมือนถูกขัดจังหวะ

  • ภารกิจย่อยไม่ค่อยน่าสนใจ






ในหลายๆ แง่สไปเดอร์แมนก็มีความคล้ายกับแบ๊ทแมนของค่าย DC ตรงที่เป็นตัวละครที่ใครๆ ก็รู้จัก ไม่ว่าจะเป็นแฟนการ์ตูนหรือไม่ก็ตาม

ทั้งสองตัวละครยังเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของค่ายการ์ตูนของตัวเองด้วย ในขณะที่แบ๊ทแมนเป็นตัวละครที่สื่อถึงความมืดมนต์และซีเรียสของจักรวาล DC สไปเดอร์แมนก็เปรียบได้กับสัญลักษณ์ของความร่าเริงติดตลกของจักรวาลมาร์เวล (อย่างน้อยเมื่อเทียบกับ DC)

การเปรียบเทียบนี้ยังคงใช้ได้กับเกม Marvels Spider-man ด้วย เกมที่สามารถบรรยายง่ายๆ ในประโยคเดียวว่า เกม Batman: Arkham ฉบับมาร์เวล ที่สามารถแปลงประสบการณ์ของการเป็นไอ้แมงมุมโหนตึกออกมาในรูปแบบวีดีโอเกมได้แทบจะสมบูรณ์แบบพอๆ กับที่ Batman: Arkham สามารถทำให้เรารู้สึกเหมือนตัวเองเป็นแบ๊ทแมนจริงๆ ด้วยระบบการเล่นที่ได้รับแรงบันดาลใจมาอย่างชัดเจน (มีฉากนึงเต็มๆ ที่แทบจะลอกแบบกันมาเลย) แต่เปลี่ยนให้สดใสมีชีวิตชีวาในแบบฉบับของมาร์เวล ข้อเสียใหญ่ที่สุดของเกมเพียงหนึ่งเดียวคงจะเป็นเนื้อเรื่องที่ไม่ค่อยสม่ำเสมอ แถมยังเดาง่ายตามสูตรหนังมาร์เวลแทบทุกอย่าง ทำให้เกมยังไม่สามารถขึ้นไปอยู่ในระดับเดียวกับ Batman: Arkham ได้ แต่ Marvels Spider-man ก็ยังคงเป็นเกม Open-World ที่ครบเครื่องและน่าจะถูกใจคนที่ชอบเกมแนว Action-Adventure ทุกคน โดยเฉพาะแฟนๆ ตัวยงของสไปเดอร์แมน


เนื้อเรื่อง


เกม Marvels Spider-man จะให้เรารับบทเป็นปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ (หรือสไปเดอร์แมนนั่นแหละ) ในวัย 23 ปี ซึ่งต้องต่อกรกับทั้งปัญหาในการงานและชีวิตส่วนตัว พร้อมกับรับมือกลุ่มโจรกลุ่มใหม่หรือแก๊ง Demons นำโดยตัวร้าย Mister Negative ที่ฉวยโอกาศที่เจ้าพ่อคนเก่าอย่าง King Pin โดนจับกุมเพื่อเข้ายึดเมืองนิวยอร์คตามจุดประสงค์ลึกลับบางอย่าง

ถ้ามองโดยรวมๆ แล้วเนื้อเรื่องของเกม Marvels Spider-man ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรเป็นพิเศษ จริงๆ ค่อนข้างจะมีความเป็นหนังมาร์เวลอยู่สูงมากๆ เลยด้วยซ้ำ ซึ่งหลายๆ คนก็อาจจะมองว่าเป็นข้อดี แต่ปัญหาอย่างนึงคือเมื่อนำเนื้อเรื่องตามสูตรหนังมาร์เวลมายืดให้เข้ากับเกมความยาว 20 ชั่วโมงแล้ว สิ่งที่ได้คือความช้าในการดำเนินเรื่อง โดยเฉพาะในฉากที่เกมพยายามจะเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างปีเตอร์และตัวละครอื่นๆ อย่างป้าเมย์ซึ่งไม่ค่อยน่าสนใจ



อีกข้อเสียหนึ่งของหนังมาร์เวลหลายๆ เรื่องคือการเล่าไม่หมด/ไม่ครบเพราะมีเรื่องต้องเล่ามากเกินไป การที่เกมพยายามจะผูกเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของปีเตอร์เข้ากับเนื้อเรื่องหลัก ทำให้เกมต้องใช้เวลาในการค่อยๆ เล่าความสัมพันธ์ระหว่างปีเตอร์และตัวละครอื่นๆ ซึ่งในบางครั้งก็อดรู้สึกว่าเป็นการขัดจังหวะการเล่นของเกมได้เหมือนกัน (ตะกี้ยังสู้กันมันส์ๆ จู่ๆ ก็ตัดเข้าคัตซีนเอื่อยๆ เฉ้ย) ปัญหานี้มักจะพบเจอบ่อยที่สุดในช่วงต้นเกมที่กำลังปูเนื้อเรื่อง กว่าจะปูเสร็จและเข้าสู่ช่วงที่น่าตื่นเต้นจริงๆ อย่างฉากที่เหล่าตัวร้ายต่างๆ เช่น Electro, Rhino, Scorpian และอื่นๆ พากันแหกคุก (เหมือนในวีดีโอเกมเพลย์ที่ผู้พัฒนาเคยปล่อยออกมา) ก็ปาเข้าไป 2/3 ของเกมแล้ว (เล่นไปแล้วเกิน 10 ชม.) ทำให้ช่วงต้นของเกมรู้สึกว่าเล่าช้า แต่ช่วงท้ายเกมกลับรู้สึกว่ารีบเล่าเหลือเกิน เหล่าแก๊งตัวร้ายมีบทนิดเดียวช่วงก่อนจบเกมเท่านั้น และทำให้ตอนจบซึ่งพยายามจะดึงอารมณ์ผู้เล่นไม่สำเร็จอีกด้วย เพราะปูทุกอย่างจนไม่มีเวลาพัฒนาตัวละครอย่างเป็นจริงเป็นจัง



ผู้พัฒนาเคยให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่าพยายามจะให้ความสำคัญกับทั้งสไปเดอร์แมนและปีเตอร์ให้เท่าๆ กันในเกมภาคนี้ แต่กลับไม่สามารถทำให้เรื่องของปีเตอร์น่าสนใจได้เท่าเรื่องของสไปเดอร์แมนเลยแม้จะมีความสัมพันธ์กันโดยตรงก็ตาม ซึ่งจุดนี้เป็นข้อเสียเพียงอย่างเดียวที่ทำให้เกมไม่สามารถเทียบเท่า Batman: Arkham ได้

เกมเพลย์


อย่างที่กล่าวไปด้านบน เกม Marvels Spider-man มีความคล้ายคลึงกับเกม Batman: Arkham หลายจุด ซึ่งส่วนที่เปรียบเทียบได้ชัดเจนที่สุดคงเป็นระบบต่อสู้ ที่เน้นการทำคอมโบและสวนการโจมตีของศัตรูไปพร้อมๆ กันเมื่อเห็นสัญลักษณ์ขึ้นบนหัว ควบคู่ไปกับการใช้อุปกรณ์ Gadget ต่างๆ ไปด้วย ที่แตกต่างกันก็คือในขณะที่แบ๊ทแมนเป็นปรมจารย์ศิลปะการต่อสู้ที่สามารถยืนเฉยๆ แล้วรอสวนการโจมตีของศัตรูได้ สไปเดอร์แมนเป็นฮีโร่ที่เน้นใช้ความว่องไวเป็นหลัก ทำให้การเคาน์เตอร์ศัตรูในเกม Batman: Arkham เปลี่ยนไปเป็นการตีลังกาหลบการโจมตีแทน พูดง่ายๆ ก็คือการต่อสู้ในเกม Marvels Spider-man จะเร็วกว่า และอาศัยการเคลื่อนที่ของตัวละครมากกว่าใน Batman: Arkham มาก และในบางครั้งก็ท้าทายกว่าเพราะการกระโดดหลบไม่ได้รับประกันว่าเราจะไม่ได้รับความเสียหาย เราอาจจะกระโดดหลบหมัดศัตรูตัวหนึ่งไปโดนหมัดของอีกตัวหนึ่งแทนได้ แต่เมื่อเล่นจนคล่องแล้วทำให้การต่อสู้ทุกครั้งดูเหมือนฉากบู๊ในหนังมาร์เวลที่ถูกจัดฉากมาแล้วอย่างดีอีกด้วย ดูยังไงก็ไม่เบื่อเลย



แต่นอกนั้นก็ค่อนข้างคล้ายๆ กันหมด เช่นชนิดและความสามารถของศัตรูที่แทบจะลอกกันมาเลย มีศัตรูถืออาวุธที่ไม่สามารถโจมตีซึ่งๆ หน้าได้ ศัตรูตัวใหญ่ที่ต้องสตันซะก่อนถึงจะโจมตีได้ ศัตรูถือโล่ห์ที่ต้องลอบไปโจมตีจากด้านหลัง เป็นต้น โดยศัตรูบางชนิดจะมีความสามารถพิเศษเพิ่มเข้ามาตามฝ่ายของศัตรูนั้นๆ เช่นศัตรูถืออาวุธของฝั่ง Demon จะสามารถปล่อยคลื่นพลังใส่เราได้ ในขณะที่ศัตรูของฝ่ายกองกำลัง Sable จะเน้นใช้ปืนและเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งก็ทำให้การต่อสู้ในเกมตื่นเต้นทุกครั้ง เพราะนอกจากจะต้องคอยหลบการโจมตีธรรมดาๆ แล้วยังต้องคอยคำนึงถึงชนิดของศัตรูและวิธีการรับมือไปพร้อมๆ กันตลอดเวลา



ภารกิจเนื้อเรื่องของ Marvels Spider-man ถือเป็นจุดเด่นของเกมเลยก็ว่าได้ เพราะออกแบบมาให้เล่นสนุกแทบจะทุกภารกิจอย่างละเอียดเลยทีเดียว แถมยังผสมผสานการเล่นทั้งการต่อสู้ Stealth และการเคลื่อนที่ (โหนใย) เอาไว้ด้วยกัน ในขณะที่ภารกิจเสริมส่วนใหญ่ของเกมกลับไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไหร่ หลายๆ เควสดูจะแค่ให้เราเดินทางไปที่แห่งนึงและต่อสู้กับศัตรูเป็นกลุ่มเฉยๆ ไม่ได้มีภารกิจที่เนื้อเรื่องพิศดารหรือมีวิธีเล่นพิเศษอะไร (นอกจากภารกิจเสริมชุดนึงที่ให้เราต่อสู้กับตัวร้ายจากการ์ตูนตัวนึง)

เมื่อผ่านภารกิจหรือการต่อสู้ เราจะได้รับ EXP จำนวนหนึ่งเพื่ออัพเลเวล ซึ่งทุกครั้งที่อัพเลเวลใหม่เราจะได้รับสกิลพ้อยหนึ่งแต้ม เอาไว้อัพเกรดความสามารถของตัวละคร เช่นการใช้ใยกระชากอาวุธออกจากมือศัตรู หรือความสามารถในการยิงใยสวนการโจมตีของศัตรูเมื่อกดหลบถูกจังหวะ ระบบนี้ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก แถมเมื่อเล่นไปเรื่อยๆ จะสามารถปลดล๊อคสกิลพ้อยพอสำหรับการปลดล๊อคสกิลทั้งหมดอยู่ดี จึงถือว่าเป็นระบบที่เข้าใจง่ายและตรงไปตรงมา ไม่ต้องพะวงว่าจะอัพสกิลผิด



ในระหว่างภารกิจ เราจะสามารถเดินทางไปมาในเกาะ Manhattan ของนครนิวยอร์คได้อย่างอิสระเพื่อทำกิจกรรมยิบย่อยต่างๆ ในแผนที่ เมื่อทำสำเร็จจะได้ Token มาพัฒนาอุปกรณ์เสริมและปลดล๊อคชุดของตัวละคร เช่นการเก็บกระเป๋าสะพายที่ปีเตอร์ซ่อนไว้ตามเมืองในวัยเด็ก หรือการปราบอาชญกรรมที่เกิดขึ้นในเมืองแบบแรนด้อม โดยกิจกรรมแต่ละชนิดจะให้ Token ตามชนิดของกิจกรรมนั้นๆ ซึ่งการอัพเกรดหรือปลดล๊อคชุดจะใช้ Token หลายๆ ชนิดผสมกันจึงเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เล่นเดินทางและสำรวจกิจกรรมทุกชนิดในเมืองตลอดเวลา กิจกรรมต่างๆ จะถูกเพิ่มเข้ามาเรื่อยๆ เมื่อเราปลดล๊อคเสาสัญญาณในพื้นที่เพื่อเปิดแผนที่ ไม่ค่อยต่างจากการปีนหอคอยใน Assassins Creed



อาจจะเป็นระบบที่หลายๆ คนไม่ค่อยชอบในเกมอื่นๆ แต่ใน Marvels Spider-man กลับไม่ได้แย่ขนาดนั้นเพราะการโหนใยไปมาในเมืองสนุกมาก! ผู้เล่นสามารถโหนใยโดยอัตโนมัติด้วยการกดปุ่ม R2 ค้างเอาไว้ ผสมผสานกับการพุ่งหรือเหวี่ยงตัวไปข้างหน้าด้วยปุ่ม X ซึ่งการโหนใยจะอิงตามฟิสิกส์ของโลกจริง หมายความว่าสไปเดอร์แมนต้องยิงใยไปติดกับตึกจริงๆ จึงจะสามารถโหนใยได้ แม้จะทำให้เกิดปัญหาบ้างในบางพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีตึกให้โหน แต่ระบบนี้ก็มีข้อดีตรงที่ทำให้การโหนใยรู้สึกสมจริงมากขึ้น ให้ความรู้สึกเหมือนโหนใยจริงๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้เล่นรู้สึกเหมือนตัวเองรับบทเป็นไอ้แมงมุมอยู่นั่นเอง



จุดอ่อนในเรื่องของเกมเพลย์คงจะเป็นฉากเนื้อเรื่องบางช่วงที่ให้เรารับบทเป็นตัวละครอื่นๆ อย่าง Mary Jane (แฟนของปีเตอร์) ซึ่งฉากเหล่านี้ส่วนใหญ่จะให้ผู้เล่นต้องหลบหลีกศัตรูตามฉากแบบ Stealth และจะแพ้ทันทีถ้าโดนศัตรูพบเข้า แม้ว่าฉากเหล่านี้จะไม่ได้ยากเย็นหรือผ่านยากแต่อย่างใด แต่ก็น่ารำคาญอยู่ดีเวลาที่จู่ๆ ก็แพ้เพราะศัตรูตรงมุมห้องที่เราไม่เห็นดันเห็นเราเข้าจากอีกฝากห้อง ทำให้ต้องเริ่มเล่นฉากนั้นๆ ใหม่แต่ต้น

ที่สำคัญคือภารกิจเหล่านี้มักถูกแทรกมาในภารกิจเนื้อเรื่อง ทำให้บางทีก็รู้สึกเหมือนถูกขัดจังหวะเพราะกำลังต่อสู้อยู่มันส์ๆ เนื้อเรื่องกำลังถึงจุดน่าตื่นเต้น แต่ดันถูกบังคับให้เปลี่ยนมาเล่นเกม Stealth แบบช้าๆ ซะงั้น แต่จะไม่มีก็ไม่ได้เพราะฉากเหล่านี้กลับสำคัญต่อเกมเพราะเป็นการเล่าถึงตัวละครรอบๆ ตัวปีเตอร์ตามเจตนาของผู้พัฒนา แต่บางทีก็อดคิดไม่ได้ว่าอาจจะดีกว่าถ้าไม่มีฉากแบบนี้เช่นกันเพราะจะทำให้เกมดำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติมากกว่า


กราฟิค/การนำเสนอ


เกมจะโดนดาว์นเกรดจริงหรือไม่ก็ไม่รู้ แต่ผู้เขียนมองว่ากราฟิคของเกมนี้ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมากอยู่แล้วโดยเฉพาะในฉากคัตซีน ซึ่งมีรายละเอียดทั้งในเรื่องของสิ่งของในฉากและสีหน้าท่าทางตัวละครหลักดีมากๆ แถมเกมยังรันอย่างลื่นไหลตลอด แทบไม่ประสบปัญหาเฟรมตกเลยทั้งระหว่างการโหนใยในเมืองและการต่อสู้ เมื่อคำนึงถึงรายละเอียดต่างๆ และความเร็วของเกมแล้วจึงค่อนข้างน่าทึ่งที่เกมสามารถทำงานได้อย่างลื่นไหลไม่มีสะดุดเลยได้ขนาดนี้



สิ่งที่ผู้เขียนชอบมากๆ คือรายละเอียดบนชุดต่างๆ ของสไปเดอร์แมนที่ผู้เล่นสามารถปลดล๊อคได้ในเกมที่มีเกือบ 30 ชุด แถมชุดที่เราเลือกใส่จะแสดงในหน้าจอการโหลดและในฉากคัตซีนทั้งหมดอีกด้วย ทำให้เราสามารถเลือกเล่นเป็นสไปเดอร์แมนเวอร์ชั่นโปรดของตัวเองได้ตลอดตั้งแต่ต้นจนจบเกมเลย ชุดต่างๆ ยังปลดล๊อคท่าพิเศษใหม่ๆ ประจำชุดด้วย (สามารถเลือกพลังพิเศษแยกกับชุดได้) จึงส่งผลต่อการเล่นมากกว่าแค่เป็นสกินตัวละครอย่างเดียว



เมืองนิวยอร์คของเกมก็สมควรได้รับคำชม เป็นเมืองที่ดูมีชีวิตชีวาไม่ต่างกับเมืองจริงๆ มีผู้คนและรถเดินไปมาตลอดเวลาด้วย แถมเมืองยังมีความหลากหลายในรูปลักษณ์ของตึกพอสมควร แต่ละเขตของเมืองก็มีเอกลักษณ์ของตัวเอง อย่างเขต Harlem ซึ่งเป็นเขตที่ผู้คนมักมีรายได้ต่ำ ก็จะมีลักษณะเป็นโรงงานหรือตึกเตี้ยๆ โทรมๆ ซะเยอะ ในขณะที่เขตใจกลางเมืองอย่าง Times Square หรือเขตคนรวยอย่าง Financial District ก็จะมีผู้คนหนาตากว่า มีตึกสูงสวยๆ ให้โหนได้เยอะกว่า เป็นต้น

ที่อาจจะทำได้ไม่ค่อยดีคือกราฟิคหน้าตาของตัวละครย่อยๆ ที่นอกจากจะไม่ค่อยมีรายละเอียดแล้ว ตัวละครย่อยหลายๆ ตัวไม่ขยับปากด้วยซ้ำเวลาพูด แถมท่าทางก็เก้งก้างไม่เหมือนตัวละครหลักๆ อย่างชัดเจน แน่นอนว่านี่เป็นเพียงข้อด้อยเล็กๆ ที่หลายๆ คนอาจจะไม่สังเกติด้วยซ้ำ แต่ก็ยังถือเป็นสิ่งที่ถ้าปรับปรุงแล้วจะทำให้เกมดูมีชีวิตขึ้นกว่าเดิมมากๆ




สรุป


Marvels Spider-man ถือเป็นเกม Action Open-world ที่สนุกตามสูตรของเกมแนวนี้ทุกอย่าง ด้วยระบบการต่อสู้และการเดินทางที่ยอดเยี่ยมและกิจกรรมต่างๆ ในแผนที่อันกว้างและละเอียด ซึ่งเยอะและส่งผลต่อตัวละครโดยตรงทำให้รู้สึกเหมือนเกมมีอะไรให้เราทำตลอดเวลา ข้อเสียอย่างเดียวคือเนื้อเรื่อง ที่ดูจะครึ่งๆ กลางๆ อยู่ระหว่างการเล่าชีวิตของปีเตอร์และการเล่าเรื่องซุปเปอร์ฮีโร่สไตล์มาร์เวล แต่ก็ไม่ถึงกับไม่สนุกหรือน่าเบื่อไปเลย

แฟนๆ เกมแอคชั่นและ/หรือ Open-World น่าจะชอบ ส่วนสำหรับแฟนๆ ซุปเปอร์ฮีโร่หรือแฟนๆ สไปเดอร์แมน นี่ถือเป็นเกมสำหรับคุณโดยเฉพาะเลย


[penci_review id="4861"]


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header