GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
รีวิว Kingdom Hearts 3: จุดจบอันสมเกียรติของมหากาพย์กุญแจแห่งแสง
ลงวันที่ 30/01/2019

ข้อดี


  • เกมกราฟิคสวยมาก มีเอกลักษณ์ตามสไตล์ Kingdom Hearts

  • เกมเพลย์แนวแอคชั่นสายฟ้าแล่บยังสนุกไม่เสื่อมคลาย

  • เนื้อเรื่องเอาใจแฟนๆ ของซีรี่ย์สุดชีวิต คลายปมจากเกมทุกภาค


ข้อเสีย

  • เกมค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบกับเกมอื่นๆ ในซีรี่ย์

  • มีอะไรให้ทำน้อย

  • เนื้อเรื่องซับซ้อนมาก ถ้าไม่รู้เรื่องมาก่อนน่าจะเข้าใจยาก




แนวเกม: แอคชั่น RPG

ผู้พัฒนา: Square Enix

จัดจำหน่าย: Square Enix

เวลาเล่น: ราวๆ 25 ชั่วโมง (จบเนื้อเรื่อง)

แพลตฟอร์ม: PlayStation 4, Xbox One (รีวิวใน PS4 Pro)

(ขอบคุณโค้ดรีวิวเกมจาก PlayStation SEA)



ในช่วงที่เกมออกมาใหม่ๆ ในปี 2002 คงไม่มีใครคาดคิดว่า Kingdom Hearts จะกลายเป็นเกมมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่และยืนยงมานานนับทศวรรษfขนาดนี้ ด้วยคอนเซปสุดพิศดารที่จับเอาตัวละครสุดอมตะของดิสนี่ย์มาผสมกับความเป็น JRPG สไตล์จัดจ้านแบบ Final Fantasy ของ Square Enix ดูเป็นสองรสชาติที่น่าจะจับมาปรุงให้เข้ากันยากประมาณหนึ่ง

แต่อย่างที่หลายๆ คนน่าจะได้ค้นพบ เกม Kingdom Hearts กลับกลายเป็นเกมที่สนุกกินใจมากกว่าที่หลายคนคิด และกลายเป็นซีรี่ย์ JRPG ตัวใหญ่ที่มีเกมภาคยิบย่อยปล่อยออกมาให้เล่นกันในเครื่องคอนโซล PS2 และคอนโซลพกพาหลายๆ รุ่นทั้งของโซนี่และนินเทนโด้ถึง 8 ภาคตลอด 16 ปีที่ผ่านมา จนมาถึงเกม Kingdom Hearts 3 เกมภาคที่ 9 ในซีรี่ย์และภาคสุดท้ายของไตรภาค Xehanort ที่ดำเนินมาตลอดตั้งแต่ Kingdom Hearts ภาคแรกนั่นเอง

[caption id="attachment_18135" align="aligncenter" width="1280"] ตาราง Timeline ของซีรี่ย์[/caption]

ผู้เขียนเองก็อาจจะถือว่าเป็นแฟนของซีรี่ย์นี้อยู่ประมาณนึง และก็เคยเล่นเกมภาคหลักและภาคเสริมทั้งหลายมาแล้วเกือบทุกภาค (แต่จบบ้างไม่จบบ้าง) จึงมีความตื่นเต้นมากๆ ที่จะได้เห็นจุดจบของการเดินทางของโซระและผองเพื่อนเสียที และในฐานะแฟนก็คงต้องบอกว่าเกม Kingdom Hearts 3 ถือเป็นจุดจบที่น่าพอใจมากๆ สำหรับผู้เขียน เกมสามารถคลายปมที่ผูกเอาไว้จากเกมภาคต่างๆ ได้เกือบหมด และยังคงเกมเพลย์แอคชั่นสุดเท่ของซีรี่ย์ไว้ได้เป็นอย่างดี อาจจะไม่ถึงกับสมบูรณ์แบบ แต่ก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกขัดใจกับอะไรเป็นพิเศษเช่นกัน

แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่าเนื้อเรื่องที่ปูมาตลอดซีรี่ย์นั้นมีความลึกและยาวเกินกว่าจะสามารถเล่าให้เข้าใจแบบสั้นๆ ได้ และการที่เกมพยายามคลายปมทั้งหมดที่ผูกเอาไว้ในเกมภาคเสริมทั้งหลายก็แปลว่าคนที่ไม่เคยเล่นภาคเสริมทั้งหมด (หรืออย่างน้อยไม่รู้เรื่องมาก่อน) ก็อาจจะงงไปกับเหตุการณ์และตัวละครมากมายที่มีอยู่ในเกมได้ง่ายๆ เลย ที่สำคัญที่สุด โครงสร้างของเกมดูจะได้รับอิทธิพลมาจากเกม Final Fantasy 15 มาพอสมควรทั้งในรูปแบบของเกมเพลย์และเนื้อเรื่อง ซึ่งก็อาจจะไปขัดใจหลายๆ คนได้เช่นกัน



ถ้าให้สรุปสั้นๆ เกม Kingdom Hearts 3 น่าจะเป็นเกมที่เหมาะกับแฟนๆ ของซีรี่ย์ที่รอคอยเกมนี้มาตลอด แต่ความต้องการจะตอบโจทย์แฟนๆ ก็ทำให้เกมเข้าถึงยากสำหรับผู้ที่ไม่ได้ติดตามซีรี่ย์มาอย่างใกล้ชิดเช่นกัน


กราฟิค/การนำเสนอ


ดังที่เห็นกันในเทรลเลอร์และสกรีนช๊อตมากมายที่ผ่านมา เกม Kingdom Hearts 3 ยังคงกราฟิคอันสดใสสไตล์ดิสนี่ย์ผสมกับสไตล์อันจัดจ้านของ JRPG สูตร Square Enix เอาไว้ได้เป็นอย่างดี อนิเมชั่นการเคลื่อนไหวและรายละเอียดของตัวละครและสิ่งของตามฉากสามารถรักษาตัวตนของโลกดิสนี่ย์นั้นๆ เอาไว้ได้ ที่สำคัญคือเกมรันอยู่ที่เฟรมเรต 60 FPS (ใน PS4 Pro) แบบคงที่แทบจะตลอดทั้งเกม ซึ่งก็น่าชมเพราะเกมมีเอฟเฟคและแสงสีจากท่าโจมตีพิเศษต่างๆ เยอะแยะเต็มจอแทบจะตลอดเวลา

[caption id="attachment_18372" align="aligncenter" width="1920"] มีแสงระยิบระยับเต็มจอตลอดเวลาที่ต่อสู้[/caption]

สิ่งที่น่าชมที่สุดเกี่ยวกับกราฟิคของเกมคือการที่เกมสามารถรักษาเอกลักษณ์ของโลกดิสนี่ย์ต่างๆ ไว้ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโลกของเล่นใน Toy Story ไปจนถึงโลกจากหนัง Live-action (หนังคนแสดงจริง) อย่าง Pirates of the Caribbean ทุกโลกล้วนมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามโลกนั้นๆ ซึ่งก็ช่วยเสริมบรรยากาศของเกมให้มีความหลากหลายขึ้นมาจริงๆ เพราะโซระในโลกหนึ่งก็อาจจะมีชุดหรือกระทั่ง Texture ตัวละครที่เปลี่ยนไปด้วย



แน่นอนว่าข้อปรับปรุงเหล่านี้ทั้งหมดก็ส่งผลต่อคุณภาพของฉากคัตซีนด้วย โดยฉากคัตซีนของ Kingdom Hearts 3 ก็ยังคงลายเซ็นแอคชั่นไร้แรงโน้มถ่วงของผู้กำกับ Tetsuya Nomura เอาไว้ได้ (นึกภาพไม่ออกลองไปดูหนัง Final Fantasy VII: Advent Children) ซึ่งพอนำมารวมกับกราฟิคแนวการ์ตูนของ Kingdom Hearts แล้วก็ทำให้ฉากคัตซีนมีความน่าตื่นเต้นมากกว่าทุกครั้ง แถมตัวละครทั้งหลายยังแสดงสีหน้าต่างๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้การสื่ออารมณ์ตามเนื้อเรื่องพัฒนาไปอีกระดับหนึ่งด้วย

[caption id="attachment_18374" align="aligncenter" width="1920"] เห็นน้ำตาตัวละครเป็นหยดๆ[/caption]

ข้อปรับปรุงอีกอย่างนึงในเรื่องของการนำเสนอที่ส่งผลต่อเกมเพลย์อย่างเห็นได้ชัดคือเรื่องของแผนที่ ที่เปลี่ยนจากแบบเก่าที่เป็นห้องเล็กๆ หลายๆ ห้องต่อกัน และต้องเข้าหน้าจอโหลดเกมทุกครั้งที่เปลี่ยนห้อง โลกส่วนใหญ่ใน Kingdom Hearts 3 จะมาในรูปแบบของแผนที่กว้างๆ เพียงอันเดียว ซึ่งเปิดโอกาสให้เราสามารถสำรวจโลกได้ลึกกว่าที่ผ่านมา แถมการออกแบบฉากยังสามารถเพิ่มความสูงหรือความกว้างได้มากขึ้น ซึ่งก็ทำให้การเคลื่อนที่อันสุดเหวี่ยงของเกมเปิดกว้างขึ้นไปอีกระดับด้วย


เนื้อเรื่อง


สำหรับเนื้อเรื่องของเกม Kingdom Hearts 3 จะเริ่มขึ้นต่อจากเกมภาค Dream Drop Distance ที่วางจำหน่ายสำหรับเครื่อง 3DS ในปี 2012 นั่นเอง โซระและริกุได้เข้ารับการทดสอบ Mark of Mastery เพื่อเลื่อนขั้นเป็นปรมาจารย์ Keyblade เพื่อเตรียมรับมือกับ Xehanort แต่ในขณะที่ริกุสามารถผ่านการทดสอบได้นั้น โซระกลับทำผิดพลาดจนเกือบโดน Xehanort เข้าครอบงำ และแม้ว่าสุดท้ายโซระจะหลุดพ้นจากการครอบงำมาได้ แต่พลังที่สั่งสมมาตลอดก็ดันโดน Xehanort ดูดเอาไปด้วย จึงไม่ผ่านการทดสอบในที่สุด

เนื้อเรื่องของเกม Kingdom Hearts 3 จึงเริ่มขึ้น โดยโซระจะต้องออกเดินทางไปยังโลกดิสนี่ย์ต่างๆ เพื่อฟื้นฟูพลังแห่งแสงในตัวขึ้นมาอีกครั้ง ในขณะที่ริกุและราชามิกกี้เมาส์ก็ออกเดินทางเพื่อหาวิธีปลดปล่อยปรมาจารย์ Aqua จากดินแดนแห่งความมืด เพื่อที่จะได้ปลุกชีพ Ventus ขึ้นมาและรวบรวม แสงทั้ง 7 ไว้ต่อกรกับ Xehanort และ ความมืดทั้ง 13 นั่นเอง

[caption id="attachment_18375" align="aligncenter" width="1920"] Xehanort และความมืดทั้ง 13[/caption]

นอกซะจากว่าคุณจะเป็นแฟนตัวยงที่เล่นเกมภาคเสริมอย่าง Dream Drop Distance และ Birth By Sleep มาก่อน แค่เรื่องย่อด้านบนก็คงทำให้งงหัวหมุนกันไปหมดแล้ว แต่สำหรับแฟนๆ ที่เล่นเกมภาคเสริมมาแล้วนั้น เนื้อเรื่องของเกม Kingdom Hearts 3 เปรียบเสมือนบทสรุปของเหตุการณ์ทั้งหมดในซีรี่ย์ ที่จะนำทุกอย่างกลับมาบรรจบกันเป็นเส้นเรื่องเดียวจนได้ ซึ่งก็เป็นทั้งข้อดีและข้อเสียสำหรับเกมนี้ ในแง่นึงก็ทำหน้าที่ของภาคต่อได้ดีเพราะสามารถคลายปมทั้งหมดได้อย่างน่าพอใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกมดูจะไม่แยแสคนที่ตามเนื้อเรื่องไม่ทันเท่าไหร่เช่นกัน พูดง่ายๆ คือคนที่อยากจะเล่น Kingdom Hearts 3 ให้สนุก จะต้องรู้เรื่องเกมภาคเก่าๆ มาก่อนเป็นอย่างดีประมาณหนึ่ง ไม่งั้นก็อย่าหวังว่าจะเข้าใจสิ่งที่ตัวละครคุยกันเลย

อีกหนึ่งจุดอ่อนของเกมคือปัญหาเรื่อง Pacing หรือการจัดจังหวะของเหตุการณ์ในเนื้อเรื่องที่มีความไม่สม่ำเสมอ เพราะเกมต้องเล่าทั้งเนื้อเรื่องของเกมเอง และเนื้อเรื่องของการ์ตูนดิสนี่ย์ต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งในหลายครั้งก็เกี่ยวข้องกันเพียงเบาบางเท่านั้นเอง จึงมีจังหวะที่ทำให้รู้สึกเหมือนเนื้อเรื่องหลักหยุดอยู่กับที่เหมือนกัน เช่นตอนที่เกมบังคับให้โซระและผองเพื่อนต้องหยุดฟังเอลซ่าร้องเพลง Let It Go (แบบเต็มเพลง) ขนาดที่เพื่อนร่วมทางของโซระอย่าง Goofy และ Donald ยังแซวหลายครั้งตลอดการเดินทางว่า นี่มันใช่เวลามาทำอะไรแบบนี้จริงๆ เหรอ?!

[caption id="attachment_18376" align="aligncenter" width="1920"] เอาเวลาไปกู้โลกเถอะหนุ่ม Rabbit ไม่ได้กล่าวไว้[/caption]

อิทธิพลของเกม Final Fantasy 15 (ซึ่งเป็นเกมที่คุณ Tetsuya Nomura ผู้กำกับเกมมีส่วนช่วยออกแบบเยอะมาก) ออกมาชัดเจนที่สุดในช่วงท้ายเกมในขณะที่เนื้อเรื่องเริ่มเร่งความเร็วสู่ตอนจบ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าทำให้รู้สึกเหมือนเกมกำลังพยายามเร่งตัวเองให้จบขึ้นมานิดหน่อย แต่ในขณะเดียวกันก็มีจังหวะน่าตื่นเต้นและซาบซึ้งเอาใจแฟนๆ มากมายเช่นกัน จึงอาจจะไม่รู้สึกขัดใจเท่ากับในกรณีของ Final Fantasy 15

โดยรวมๆ แล้ว ต้องยอมรับว่าในแง่ของโครงสร้างเนื้อเรื่องเกม Kingdom Hearts 3 ยังคงมีส่วนให้ปรับปรุงได้เยอะเมื่อเทียบกับการเล่าเรื่องในเกมภาคก่อนๆ แต่เกมก็มีตอนจบที่น่าพอใจมากพอที่แฟนๆ ของซีรี่ย์น่าจะทำใจมองข้ามข้อด้อยเหล่านั้นไปได้ แต่คนที่ไม่อินกับเนื้อเรื่องเท่าไหร่อาจจะรู้สึกขัดๆ คล้ายๆ กับในเกม Final Fantasy 15 เช่นกัน


เกมเพลย์


ในส่วนของเกมเพลย์นั้น Kingdom Hearts 3 ไม่ได้แตกต่างกับเกมภาคก่อนหน้าอย่างภาค 2 เท่าไหร่นัก โดยยังคงใช้ระบบแอคชั่นแบบเลือกจากเมนูเหมือนภาคเก่าๆ เปี๊ยบเลย แตกต่างกันนิดหน่อยตรงที่เกมเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนที่จากภาค Dream Drop Distance ที่ให้เราสามารถวิ่งไต่กำแพงหรือใช้สิ่งของในฉากในการช่วยต่อสู้ได้ประมาณหนึ่ง และยังมีระบบการใช้ท่าหรืออาวุธพิเศษจาก Birth By Sleep อยู่ด้วย แต่นอกจากนั้นก็ถือว่าการควบคุมยังเหมือนเดิมแทบจะทั้งหมดเลย

สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคงจะเป็นระบบอาวุธ Keyblade ที่ก็ดูจะได้รับอิทธิพลมาจากเกม Final Fantasy 15 อีกเช่นกัน โดยในภาคนี้โซระจะสามารถสวมใส่ Keyblade ได้พร้อมกันถึงสามเล่ม ซึ่งสามารถเปลี่ยนไปมาได้ตลอดระหว่างการต่อสู้ และแต่ละเล่มยังมีความสามารถในการกลายร่างเป็นอาวุธชนิดต่างๆ ได้อีก ทำให้การต่อสู้มีความหลากหลายเปลี่ยนไปตาม Keyblade/อาวุธที่ใช้ในขณะนั้น และสามารถเปลี่ยนอาวุธไปมาได้อย่างอิสระตามสถานการณ์อีกด้วย ซึ่งก็เหมือนกับความสามารถของ Noctis ที่สามารถสวมใส่และสับเปลี่ยนอาวุธได้อย่างอิสระ ซึ่งระบบนี้ก็เพิ่มความหลากหลายในการต่อสู้ได้ประมาณหนึ่ง อย่างอาวุธโล่ห์ Counter-Shield ที่ได้จาก Keyblade ของโลก Olympus ซึ่งมาพร้อมกับความสามารถในการกดกันค้างไว้ได้ (ปกติเวลากันจะกันเพียงพริบตาเดียว ทำให้ต้องกะจังหวะกันดีๆ) และมีท่าโจมตีสวนขึ้นอยู่กับว่ากันการโจมตีได้กี่ครั้ง ซึ่งก็ทำให้วิธีการที่เราต่อสู้กับศัตรูเปลี่ยนไปได้

[caption id="attachment_18243" align="aligncenter" width="1200"] Keyblade จากโลก Olympus กลายร่างเป็นโล่ห์ได้[/caption]

แต่ก็ไม่ใช่ Keyblade ทุกเล่มที่จะสามารถเปลี่ยนวิธีเล่นไปได้อย่างชัดเจนเท่าโล่ห์ Counter-Shield เช่นกัน โดยเฉพาะเล่มท้ายๆ เกมที่เริ่มมีความสามารถซ้ำกับ Keyblade ช่วงต้นเกม (เช่น Keyblade จากโลก Tangled และหมีพูห์ ที่เปลี่ยนเป็นปืนทั้งคู่) ซึ่งก็น่าเสียดายที่ระบบนี้ไม่สามารถมอบความหลากหลายได้มากกว่านี้ แต่โดยรวมก็ยังถือว่าเป็นระบบใหม่ที่ทำให้การต่อสู้น่าสนใจมากขึ้นมาได้นิดหน่อย

[caption id="attachment_18377" align="aligncenter" width="1024"] ปืนยิงน้ำผึ้ง ของขวัญจากหมีพูห์[/caption]

นอกจากนี้ ยังมีท่าพิเศษชุดใหม่ที่เกมเรียกว่า Attraction ซึ่งอิงมาจากเหล่าเครื่องเล่นต่างๆ ในสวนสนุก Disney Land เช่นเรือไวกิ้งหรือม้าหมุนเป็นต้น โดยท่าเหล่านี้มักจะมาพร้อมกับมินิเกมเล็กๆ ของตัวเอง ซึ่งในแง่หนึ่งก็ช่วยเพิ่มความหลากหลายให้การต่อสู้ได้บ้าง แต่เพราะจำนวนท่าที่ค่อนข้างน้อย (มีอยู่เพียง 5-6 ท่าเท่านั้น) แถมแต่ละท่ายังจะมีคัตซีนสั้นๆ ทุกครั้งที่กดใช้อีก และที่สำคัญที่สุด เราจะไม่สามารถเลือกได้ว่าท่าเหล่านี้จะใช้ได้เมื่อไหร่ และเลือกไม่ได้ด้วยว่าพอใช้ได้จะออกมาเป็นท่าไหน เพราะไม่ใช่ทุกท่าที่จะใช้ได้ในทุกสถานการณ์ ทำให้ช่วงหลังๆ รู้สึกน่ารำคาญขึ้นมามากกว่าจะมีประโยชน์ในบางครั้ง

[caption id="attachment_18378" align="aligncenter" width="1920"] เรียกเรือไวกิ้งออกมาชนซะเลย[/caption]

อีกหนึ่งระบบที่ช่วยเพิ่มความหลากหลายในการต่อสู้คือระบบ Link หรือที่หลายๆ เกมน่าจะเรียกว่าซัมม่อนนั่นเอง โดยโซระจะสามารถเรียกผองเพื่อนตัวละครจากการ์ตูนดิสนี่ย์เช่น Simba (จาก Lion King) หรือ Wreck-it-Ralph ออกมาช่วยต่อสู้กับศัตรูและเพิ่มเลือดของเราไปพร้อมๆ กัน โดยแต่ละตัวจะมาพร้อมกับมินิเกมย่อยๆ ของตัวเองเหมือนกับท่า Attraction แต่เพราะเราสามารถเลือกใช้ได้ทุกเมื่อ ทำให้ท่าเหล่านี้รู้สึกมีประโยชน์กว่า สามารถใช้พลิกสถานการณ์คับขันหรือลดจำนวนศัตรูเวลาโดนรุมได้

สำหรับแฟนๆ ของซีรี่ย์น่าจะคุ้นเคยและทำความเข้าใจกับระบบต่อสู้ของเกมได้ไม่ยากอยู่แล้ว และเอาเข้าจริงน่าจะเล่นได้ง่ายกว่าเกมภาคก่อนๆ ประมาณนึงเพราะโซระดูจะมีตัวเลือกในการโจมตีมากขึ้น จนทำให้เราแทบจะไม่ต้องหลบหรือกันเลยเพราะสามารถบุกได้ตลอดเวลา แต่สำหรับคนทั่วไปอาจจะมีความสับสนอยู่เล็กน้อยด้วยความสามารถของตัวละครที่มีอยู่เยอะ และมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเราเก็บเลเวลตัวละครสูงขึ้น จึงพูดได้ว่าเกมอาจจะต้องใช้ความเคยชินประมาณหนึ่งซะก่อนถึงจะเริ่มรู้สึกได้ถึงความลื่นไหลในการต่อสู้ของเกม

[caption id="attachment_18379" align="aligncenter" width="1024"] Simba กลับมาด้วยความหัวร้อนกว่าทุกครั้ง[/caption]

นอกเหนือจากการต่อสู้นั้น Kingdom Hearts 3 ไม่ได้มีกิจกรรมอะไรให้ทำเป็นเรื่องเป็นราวขนาดนั้น โดยความหลากหลายของเกมเพลย์จะมาจากวิธีการเล่นที่แตกต่างกันไปเล็กน้อยในโลกดิสนี่ย์แต่ละใบนั่นเอง เช่นโลก Toy Story ที่ให้เราสามารถขึ้นไปขี่หุ่น Gigas Mech เพื่อต่อสู้กับศัตรู (ที่ก็สามารถขี่หุ่นได้เช่นกัน) หรือระบบการล่องเรือของโลก Pirates of the Caribbean ที่ช่วยทำให้เกมเพลย์ไม่จำเจกันตลอดทั้งเกม แต่ก็เป็นเพียงโบนัสเล็กๆ เท่านั้น และพอจบเนื้อเรื่องของโลกแต่ละใบก็ไม่มีเหตุผลให้เราต้องกลับไปเล่นซ้ำอีก

[caption id="attachment_18380" align="aligncenter" width="1486"] ขับเรือโจรสลัดสนุกสนานในโลก Pirates of the Caribbean[/caption]

เกมเพลย์อีกส่วนที่เราจะได้สัมผัสบ่อยๆ ตลอดการเดินทางก็คือระบบการขับยาน Gummi Ship ไปมาระหว่างโลกต่างๆ นั่นเอง โดยแม้ว่าในภาคนี้จะพัฒนาระบบนี้ให้จริงจังขึ้นมามากกว่าครั้งก่อนๆ และเปิดให้เราสามารถสำรวจจักรวาลของเกมได้อย่างอิสระ แทนที่จะเป็นด่านแยกๆ กันเหมือนที่ผ่านมา แต่เกมเพลย์ของ Gummi Ship ก็ยังเป็นเพียงตัวขั้นเวลาเล็กๆ ในระหว่างการสำรวจโลกเท่านั้น แถมของรางวัลที่ได้รับจากการเล่นก็มักจะเป็นของที่ใช้ได้ในโหมด Gummi Ship เท่านั้นอีก เราจึงไม่มีความจำเป็นต้องสนใจกับระบบมากกว่าที่จำเป็นเลย คนที่ไม่ชอบก็จะไม่ต้องใช้เวลากับมัน ซึ่งก็คงเป็นเรื่องดีที่เกมให้ทางเลือกนี้กับผู้เล่น แต่ในอีกแง่ก็น่าเสียดายที่ผู้พัฒนาไม่สามารถทำให้ระบบนี้สนุกได้แบบเดียวกับในเกมอย่าง Nier: Automata ที่มีระบบคล้ายๆ กัน

[caption id="attachment_18381" align="aligncenter" width="1920"] ขับยาน Gummi Ship ท่องอวกาศได้แบบอิสระ[/caption]

โดยรวมๆ แล้วเกมเพลย์ของ Kingdom Hearts 3 ก็ไม่ได้แตกต่างกับเกมเพลย์ของภาค 2 มากนัก อาจจะง่ายกว่าด้วยซ้ำจากการที่ผู้เล่นมีเครื่องมือสำหรับต่อกรกับศัตรูมากกว่าทุกภาคที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีความสนุกและท้าทายในระดับที่ทำให้เกมไม่น่าเบื่อ แม้ว่าเกมเพลย์โดยรวมจะไม่ได้มีอะไรให้ทำมากมายก็ตาม


สรุป


8/10




[caption id="attachment_18382" align="aligncenter" width="1920"] บทสรุปการเดินทางของโซระและผองเพื่อน[/caption]

ในฐานะแฟนซีรี่ย์คนหนึ่งที่ติดตาม Kingdom Hearts มาตลอดระยะเวลาหลายปี ผู้เขียนพูดได้เลยว่าเกม Kingdom Hearts 3 คือเกมที่แฟนๆ คาดหวังจะได้เล่นมาตลอด และเป็นเกมที่ตอบคำถามที่ค้างคาใจแฟนๆ ได้อย่างน่าพึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าเกมจะไม่ได้สมบูรณ์แบบ และยังค่อนข้างจำกัดในเรื่องของกิจกรรมที่มีให้ทำก็ตาม ผู้ที่ติดตามซีรี่ย์มาตลอดไม่ควรพลาดบทสรุปการเดินทางของโซระและผองเพื่อนแน่นอน แต่สำหรับคนอื่นๆ ที่คาดหวังให้เกมนี้เป็นบทเริ่มต้นเพื่อเข้าสู่ซีรี่ย์ Kingdom Hearts นี่อาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดเช่นกัน

[penci_review id="18192"]

7
ข้อดี
ข้อเสีย
8
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
รีวิว Kingdom Hearts 3: จุดจบอันสมเกียรติของมหากาพย์กุญแจแห่งแสง
30/01/2019

ข้อดี


  • เกมกราฟิคสวยมาก มีเอกลักษณ์ตามสไตล์ Kingdom Hearts

  • เกมเพลย์แนวแอคชั่นสายฟ้าแล่บยังสนุกไม่เสื่อมคลาย

  • เนื้อเรื่องเอาใจแฟนๆ ของซีรี่ย์สุดชีวิต คลายปมจากเกมทุกภาค


ข้อเสีย

  • เกมค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบกับเกมอื่นๆ ในซีรี่ย์

  • มีอะไรให้ทำน้อย

  • เนื้อเรื่องซับซ้อนมาก ถ้าไม่รู้เรื่องมาก่อนน่าจะเข้าใจยาก




แนวเกม: แอคชั่น RPG

ผู้พัฒนา: Square Enix

จัดจำหน่าย: Square Enix

เวลาเล่น: ราวๆ 25 ชั่วโมง (จบเนื้อเรื่อง)

แพลตฟอร์ม: PlayStation 4, Xbox One (รีวิวใน PS4 Pro)

(ขอบคุณโค้ดรีวิวเกมจาก PlayStation SEA)



ในช่วงที่เกมออกมาใหม่ๆ ในปี 2002 คงไม่มีใครคาดคิดว่า Kingdom Hearts จะกลายเป็นเกมมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่และยืนยงมานานนับทศวรรษfขนาดนี้ ด้วยคอนเซปสุดพิศดารที่จับเอาตัวละครสุดอมตะของดิสนี่ย์มาผสมกับความเป็น JRPG สไตล์จัดจ้านแบบ Final Fantasy ของ Square Enix ดูเป็นสองรสชาติที่น่าจะจับมาปรุงให้เข้ากันยากประมาณหนึ่ง

แต่อย่างที่หลายๆ คนน่าจะได้ค้นพบ เกม Kingdom Hearts กลับกลายเป็นเกมที่สนุกกินใจมากกว่าที่หลายคนคิด และกลายเป็นซีรี่ย์ JRPG ตัวใหญ่ที่มีเกมภาคยิบย่อยปล่อยออกมาให้เล่นกันในเครื่องคอนโซล PS2 และคอนโซลพกพาหลายๆ รุ่นทั้งของโซนี่และนินเทนโด้ถึง 8 ภาคตลอด 16 ปีที่ผ่านมา จนมาถึงเกม Kingdom Hearts 3 เกมภาคที่ 9 ในซีรี่ย์และภาคสุดท้ายของไตรภาค Xehanort ที่ดำเนินมาตลอดตั้งแต่ Kingdom Hearts ภาคแรกนั่นเอง

[caption id="attachment_18135" align="aligncenter" width="1280"] ตาราง Timeline ของซีรี่ย์[/caption]

ผู้เขียนเองก็อาจจะถือว่าเป็นแฟนของซีรี่ย์นี้อยู่ประมาณนึง และก็เคยเล่นเกมภาคหลักและภาคเสริมทั้งหลายมาแล้วเกือบทุกภาค (แต่จบบ้างไม่จบบ้าง) จึงมีความตื่นเต้นมากๆ ที่จะได้เห็นจุดจบของการเดินทางของโซระและผองเพื่อนเสียที และในฐานะแฟนก็คงต้องบอกว่าเกม Kingdom Hearts 3 ถือเป็นจุดจบที่น่าพอใจมากๆ สำหรับผู้เขียน เกมสามารถคลายปมที่ผูกเอาไว้จากเกมภาคต่างๆ ได้เกือบหมด และยังคงเกมเพลย์แอคชั่นสุดเท่ของซีรี่ย์ไว้ได้เป็นอย่างดี อาจจะไม่ถึงกับสมบูรณ์แบบ แต่ก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกขัดใจกับอะไรเป็นพิเศษเช่นกัน

แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่าเนื้อเรื่องที่ปูมาตลอดซีรี่ย์นั้นมีความลึกและยาวเกินกว่าจะสามารถเล่าให้เข้าใจแบบสั้นๆ ได้ และการที่เกมพยายามคลายปมทั้งหมดที่ผูกเอาไว้ในเกมภาคเสริมทั้งหลายก็แปลว่าคนที่ไม่เคยเล่นภาคเสริมทั้งหมด (หรืออย่างน้อยไม่รู้เรื่องมาก่อน) ก็อาจจะงงไปกับเหตุการณ์และตัวละครมากมายที่มีอยู่ในเกมได้ง่ายๆ เลย ที่สำคัญที่สุด โครงสร้างของเกมดูจะได้รับอิทธิพลมาจากเกม Final Fantasy 15 มาพอสมควรทั้งในรูปแบบของเกมเพลย์และเนื้อเรื่อง ซึ่งก็อาจจะไปขัดใจหลายๆ คนได้เช่นกัน



ถ้าให้สรุปสั้นๆ เกม Kingdom Hearts 3 น่าจะเป็นเกมที่เหมาะกับแฟนๆ ของซีรี่ย์ที่รอคอยเกมนี้มาตลอด แต่ความต้องการจะตอบโจทย์แฟนๆ ก็ทำให้เกมเข้าถึงยากสำหรับผู้ที่ไม่ได้ติดตามซีรี่ย์มาอย่างใกล้ชิดเช่นกัน


กราฟิค/การนำเสนอ


ดังที่เห็นกันในเทรลเลอร์และสกรีนช๊อตมากมายที่ผ่านมา เกม Kingdom Hearts 3 ยังคงกราฟิคอันสดใสสไตล์ดิสนี่ย์ผสมกับสไตล์อันจัดจ้านของ JRPG สูตร Square Enix เอาไว้ได้เป็นอย่างดี อนิเมชั่นการเคลื่อนไหวและรายละเอียดของตัวละครและสิ่งของตามฉากสามารถรักษาตัวตนของโลกดิสนี่ย์นั้นๆ เอาไว้ได้ ที่สำคัญคือเกมรันอยู่ที่เฟรมเรต 60 FPS (ใน PS4 Pro) แบบคงที่แทบจะตลอดทั้งเกม ซึ่งก็น่าชมเพราะเกมมีเอฟเฟคและแสงสีจากท่าโจมตีพิเศษต่างๆ เยอะแยะเต็มจอแทบจะตลอดเวลา

[caption id="attachment_18372" align="aligncenter" width="1920"] มีแสงระยิบระยับเต็มจอตลอดเวลาที่ต่อสู้[/caption]

สิ่งที่น่าชมที่สุดเกี่ยวกับกราฟิคของเกมคือการที่เกมสามารถรักษาเอกลักษณ์ของโลกดิสนี่ย์ต่างๆ ไว้ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโลกของเล่นใน Toy Story ไปจนถึงโลกจากหนัง Live-action (หนังคนแสดงจริง) อย่าง Pirates of the Caribbean ทุกโลกล้วนมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามโลกนั้นๆ ซึ่งก็ช่วยเสริมบรรยากาศของเกมให้มีความหลากหลายขึ้นมาจริงๆ เพราะโซระในโลกหนึ่งก็อาจจะมีชุดหรือกระทั่ง Texture ตัวละครที่เปลี่ยนไปด้วย



แน่นอนว่าข้อปรับปรุงเหล่านี้ทั้งหมดก็ส่งผลต่อคุณภาพของฉากคัตซีนด้วย โดยฉากคัตซีนของ Kingdom Hearts 3 ก็ยังคงลายเซ็นแอคชั่นไร้แรงโน้มถ่วงของผู้กำกับ Tetsuya Nomura เอาไว้ได้ (นึกภาพไม่ออกลองไปดูหนัง Final Fantasy VII: Advent Children) ซึ่งพอนำมารวมกับกราฟิคแนวการ์ตูนของ Kingdom Hearts แล้วก็ทำให้ฉากคัตซีนมีความน่าตื่นเต้นมากกว่าทุกครั้ง แถมตัวละครทั้งหลายยังแสดงสีหน้าต่างๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้การสื่ออารมณ์ตามเนื้อเรื่องพัฒนาไปอีกระดับหนึ่งด้วย

[caption id="attachment_18374" align="aligncenter" width="1920"] เห็นน้ำตาตัวละครเป็นหยดๆ[/caption]

ข้อปรับปรุงอีกอย่างนึงในเรื่องของการนำเสนอที่ส่งผลต่อเกมเพลย์อย่างเห็นได้ชัดคือเรื่องของแผนที่ ที่เปลี่ยนจากแบบเก่าที่เป็นห้องเล็กๆ หลายๆ ห้องต่อกัน และต้องเข้าหน้าจอโหลดเกมทุกครั้งที่เปลี่ยนห้อง โลกส่วนใหญ่ใน Kingdom Hearts 3 จะมาในรูปแบบของแผนที่กว้างๆ เพียงอันเดียว ซึ่งเปิดโอกาสให้เราสามารถสำรวจโลกได้ลึกกว่าที่ผ่านมา แถมการออกแบบฉากยังสามารถเพิ่มความสูงหรือความกว้างได้มากขึ้น ซึ่งก็ทำให้การเคลื่อนที่อันสุดเหวี่ยงของเกมเปิดกว้างขึ้นไปอีกระดับด้วย


เนื้อเรื่อง


สำหรับเนื้อเรื่องของเกม Kingdom Hearts 3 จะเริ่มขึ้นต่อจากเกมภาค Dream Drop Distance ที่วางจำหน่ายสำหรับเครื่อง 3DS ในปี 2012 นั่นเอง โซระและริกุได้เข้ารับการทดสอบ Mark of Mastery เพื่อเลื่อนขั้นเป็นปรมาจารย์ Keyblade เพื่อเตรียมรับมือกับ Xehanort แต่ในขณะที่ริกุสามารถผ่านการทดสอบได้นั้น โซระกลับทำผิดพลาดจนเกือบโดน Xehanort เข้าครอบงำ และแม้ว่าสุดท้ายโซระจะหลุดพ้นจากการครอบงำมาได้ แต่พลังที่สั่งสมมาตลอดก็ดันโดน Xehanort ดูดเอาไปด้วย จึงไม่ผ่านการทดสอบในที่สุด

เนื้อเรื่องของเกม Kingdom Hearts 3 จึงเริ่มขึ้น โดยโซระจะต้องออกเดินทางไปยังโลกดิสนี่ย์ต่างๆ เพื่อฟื้นฟูพลังแห่งแสงในตัวขึ้นมาอีกครั้ง ในขณะที่ริกุและราชามิกกี้เมาส์ก็ออกเดินทางเพื่อหาวิธีปลดปล่อยปรมาจารย์ Aqua จากดินแดนแห่งความมืด เพื่อที่จะได้ปลุกชีพ Ventus ขึ้นมาและรวบรวม แสงทั้ง 7 ไว้ต่อกรกับ Xehanort และ ความมืดทั้ง 13 นั่นเอง

[caption id="attachment_18375" align="aligncenter" width="1920"] Xehanort และความมืดทั้ง 13[/caption]

นอกซะจากว่าคุณจะเป็นแฟนตัวยงที่เล่นเกมภาคเสริมอย่าง Dream Drop Distance และ Birth By Sleep มาก่อน แค่เรื่องย่อด้านบนก็คงทำให้งงหัวหมุนกันไปหมดแล้ว แต่สำหรับแฟนๆ ที่เล่นเกมภาคเสริมมาแล้วนั้น เนื้อเรื่องของเกม Kingdom Hearts 3 เปรียบเสมือนบทสรุปของเหตุการณ์ทั้งหมดในซีรี่ย์ ที่จะนำทุกอย่างกลับมาบรรจบกันเป็นเส้นเรื่องเดียวจนได้ ซึ่งก็เป็นทั้งข้อดีและข้อเสียสำหรับเกมนี้ ในแง่นึงก็ทำหน้าที่ของภาคต่อได้ดีเพราะสามารถคลายปมทั้งหมดได้อย่างน่าพอใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกมดูจะไม่แยแสคนที่ตามเนื้อเรื่องไม่ทันเท่าไหร่เช่นกัน พูดง่ายๆ คือคนที่อยากจะเล่น Kingdom Hearts 3 ให้สนุก จะต้องรู้เรื่องเกมภาคเก่าๆ มาก่อนเป็นอย่างดีประมาณหนึ่ง ไม่งั้นก็อย่าหวังว่าจะเข้าใจสิ่งที่ตัวละครคุยกันเลย

อีกหนึ่งจุดอ่อนของเกมคือปัญหาเรื่อง Pacing หรือการจัดจังหวะของเหตุการณ์ในเนื้อเรื่องที่มีความไม่สม่ำเสมอ เพราะเกมต้องเล่าทั้งเนื้อเรื่องของเกมเอง และเนื้อเรื่องของการ์ตูนดิสนี่ย์ต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งในหลายครั้งก็เกี่ยวข้องกันเพียงเบาบางเท่านั้นเอง จึงมีจังหวะที่ทำให้รู้สึกเหมือนเนื้อเรื่องหลักหยุดอยู่กับที่เหมือนกัน เช่นตอนที่เกมบังคับให้โซระและผองเพื่อนต้องหยุดฟังเอลซ่าร้องเพลง Let It Go (แบบเต็มเพลง) ขนาดที่เพื่อนร่วมทางของโซระอย่าง Goofy และ Donald ยังแซวหลายครั้งตลอดการเดินทางว่า นี่มันใช่เวลามาทำอะไรแบบนี้จริงๆ เหรอ?!

[caption id="attachment_18376" align="aligncenter" width="1920"] เอาเวลาไปกู้โลกเถอะหนุ่ม Rabbit ไม่ได้กล่าวไว้[/caption]

อิทธิพลของเกม Final Fantasy 15 (ซึ่งเป็นเกมที่คุณ Tetsuya Nomura ผู้กำกับเกมมีส่วนช่วยออกแบบเยอะมาก) ออกมาชัดเจนที่สุดในช่วงท้ายเกมในขณะที่เนื้อเรื่องเริ่มเร่งความเร็วสู่ตอนจบ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าทำให้รู้สึกเหมือนเกมกำลังพยายามเร่งตัวเองให้จบขึ้นมานิดหน่อย แต่ในขณะเดียวกันก็มีจังหวะน่าตื่นเต้นและซาบซึ้งเอาใจแฟนๆ มากมายเช่นกัน จึงอาจจะไม่รู้สึกขัดใจเท่ากับในกรณีของ Final Fantasy 15

โดยรวมๆ แล้ว ต้องยอมรับว่าในแง่ของโครงสร้างเนื้อเรื่องเกม Kingdom Hearts 3 ยังคงมีส่วนให้ปรับปรุงได้เยอะเมื่อเทียบกับการเล่าเรื่องในเกมภาคก่อนๆ แต่เกมก็มีตอนจบที่น่าพอใจมากพอที่แฟนๆ ของซีรี่ย์น่าจะทำใจมองข้ามข้อด้อยเหล่านั้นไปได้ แต่คนที่ไม่อินกับเนื้อเรื่องเท่าไหร่อาจจะรู้สึกขัดๆ คล้ายๆ กับในเกม Final Fantasy 15 เช่นกัน


เกมเพลย์


ในส่วนของเกมเพลย์นั้น Kingdom Hearts 3 ไม่ได้แตกต่างกับเกมภาคก่อนหน้าอย่างภาค 2 เท่าไหร่นัก โดยยังคงใช้ระบบแอคชั่นแบบเลือกจากเมนูเหมือนภาคเก่าๆ เปี๊ยบเลย แตกต่างกันนิดหน่อยตรงที่เกมเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนที่จากภาค Dream Drop Distance ที่ให้เราสามารถวิ่งไต่กำแพงหรือใช้สิ่งของในฉากในการช่วยต่อสู้ได้ประมาณหนึ่ง และยังมีระบบการใช้ท่าหรืออาวุธพิเศษจาก Birth By Sleep อยู่ด้วย แต่นอกจากนั้นก็ถือว่าการควบคุมยังเหมือนเดิมแทบจะทั้งหมดเลย

สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคงจะเป็นระบบอาวุธ Keyblade ที่ก็ดูจะได้รับอิทธิพลมาจากเกม Final Fantasy 15 อีกเช่นกัน โดยในภาคนี้โซระจะสามารถสวมใส่ Keyblade ได้พร้อมกันถึงสามเล่ม ซึ่งสามารถเปลี่ยนไปมาได้ตลอดระหว่างการต่อสู้ และแต่ละเล่มยังมีความสามารถในการกลายร่างเป็นอาวุธชนิดต่างๆ ได้อีก ทำให้การต่อสู้มีความหลากหลายเปลี่ยนไปตาม Keyblade/อาวุธที่ใช้ในขณะนั้น และสามารถเปลี่ยนอาวุธไปมาได้อย่างอิสระตามสถานการณ์อีกด้วย ซึ่งก็เหมือนกับความสามารถของ Noctis ที่สามารถสวมใส่และสับเปลี่ยนอาวุธได้อย่างอิสระ ซึ่งระบบนี้ก็เพิ่มความหลากหลายในการต่อสู้ได้ประมาณหนึ่ง อย่างอาวุธโล่ห์ Counter-Shield ที่ได้จาก Keyblade ของโลก Olympus ซึ่งมาพร้อมกับความสามารถในการกดกันค้างไว้ได้ (ปกติเวลากันจะกันเพียงพริบตาเดียว ทำให้ต้องกะจังหวะกันดีๆ) และมีท่าโจมตีสวนขึ้นอยู่กับว่ากันการโจมตีได้กี่ครั้ง ซึ่งก็ทำให้วิธีการที่เราต่อสู้กับศัตรูเปลี่ยนไปได้

[caption id="attachment_18243" align="aligncenter" width="1200"] Keyblade จากโลก Olympus กลายร่างเป็นโล่ห์ได้[/caption]

แต่ก็ไม่ใช่ Keyblade ทุกเล่มที่จะสามารถเปลี่ยนวิธีเล่นไปได้อย่างชัดเจนเท่าโล่ห์ Counter-Shield เช่นกัน โดยเฉพาะเล่มท้ายๆ เกมที่เริ่มมีความสามารถซ้ำกับ Keyblade ช่วงต้นเกม (เช่น Keyblade จากโลก Tangled และหมีพูห์ ที่เปลี่ยนเป็นปืนทั้งคู่) ซึ่งก็น่าเสียดายที่ระบบนี้ไม่สามารถมอบความหลากหลายได้มากกว่านี้ แต่โดยรวมก็ยังถือว่าเป็นระบบใหม่ที่ทำให้การต่อสู้น่าสนใจมากขึ้นมาได้นิดหน่อย

[caption id="attachment_18377" align="aligncenter" width="1024"] ปืนยิงน้ำผึ้ง ของขวัญจากหมีพูห์[/caption]

นอกจากนี้ ยังมีท่าพิเศษชุดใหม่ที่เกมเรียกว่า Attraction ซึ่งอิงมาจากเหล่าเครื่องเล่นต่างๆ ในสวนสนุก Disney Land เช่นเรือไวกิ้งหรือม้าหมุนเป็นต้น โดยท่าเหล่านี้มักจะมาพร้อมกับมินิเกมเล็กๆ ของตัวเอง ซึ่งในแง่หนึ่งก็ช่วยเพิ่มความหลากหลายให้การต่อสู้ได้บ้าง แต่เพราะจำนวนท่าที่ค่อนข้างน้อย (มีอยู่เพียง 5-6 ท่าเท่านั้น) แถมแต่ละท่ายังจะมีคัตซีนสั้นๆ ทุกครั้งที่กดใช้อีก และที่สำคัญที่สุด เราจะไม่สามารถเลือกได้ว่าท่าเหล่านี้จะใช้ได้เมื่อไหร่ และเลือกไม่ได้ด้วยว่าพอใช้ได้จะออกมาเป็นท่าไหน เพราะไม่ใช่ทุกท่าที่จะใช้ได้ในทุกสถานการณ์ ทำให้ช่วงหลังๆ รู้สึกน่ารำคาญขึ้นมามากกว่าจะมีประโยชน์ในบางครั้ง

[caption id="attachment_18378" align="aligncenter" width="1920"] เรียกเรือไวกิ้งออกมาชนซะเลย[/caption]

อีกหนึ่งระบบที่ช่วยเพิ่มความหลากหลายในการต่อสู้คือระบบ Link หรือที่หลายๆ เกมน่าจะเรียกว่าซัมม่อนนั่นเอง โดยโซระจะสามารถเรียกผองเพื่อนตัวละครจากการ์ตูนดิสนี่ย์เช่น Simba (จาก Lion King) หรือ Wreck-it-Ralph ออกมาช่วยต่อสู้กับศัตรูและเพิ่มเลือดของเราไปพร้อมๆ กัน โดยแต่ละตัวจะมาพร้อมกับมินิเกมย่อยๆ ของตัวเองเหมือนกับท่า Attraction แต่เพราะเราสามารถเลือกใช้ได้ทุกเมื่อ ทำให้ท่าเหล่านี้รู้สึกมีประโยชน์กว่า สามารถใช้พลิกสถานการณ์คับขันหรือลดจำนวนศัตรูเวลาโดนรุมได้

สำหรับแฟนๆ ของซีรี่ย์น่าจะคุ้นเคยและทำความเข้าใจกับระบบต่อสู้ของเกมได้ไม่ยากอยู่แล้ว และเอาเข้าจริงน่าจะเล่นได้ง่ายกว่าเกมภาคก่อนๆ ประมาณนึงเพราะโซระดูจะมีตัวเลือกในการโจมตีมากขึ้น จนทำให้เราแทบจะไม่ต้องหลบหรือกันเลยเพราะสามารถบุกได้ตลอดเวลา แต่สำหรับคนทั่วไปอาจจะมีความสับสนอยู่เล็กน้อยด้วยความสามารถของตัวละครที่มีอยู่เยอะ และมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเราเก็บเลเวลตัวละครสูงขึ้น จึงพูดได้ว่าเกมอาจจะต้องใช้ความเคยชินประมาณหนึ่งซะก่อนถึงจะเริ่มรู้สึกได้ถึงความลื่นไหลในการต่อสู้ของเกม

[caption id="attachment_18379" align="aligncenter" width="1024"] Simba กลับมาด้วยความหัวร้อนกว่าทุกครั้ง[/caption]

นอกเหนือจากการต่อสู้นั้น Kingdom Hearts 3 ไม่ได้มีกิจกรรมอะไรให้ทำเป็นเรื่องเป็นราวขนาดนั้น โดยความหลากหลายของเกมเพลย์จะมาจากวิธีการเล่นที่แตกต่างกันไปเล็กน้อยในโลกดิสนี่ย์แต่ละใบนั่นเอง เช่นโลก Toy Story ที่ให้เราสามารถขึ้นไปขี่หุ่น Gigas Mech เพื่อต่อสู้กับศัตรู (ที่ก็สามารถขี่หุ่นได้เช่นกัน) หรือระบบการล่องเรือของโลก Pirates of the Caribbean ที่ช่วยทำให้เกมเพลย์ไม่จำเจกันตลอดทั้งเกม แต่ก็เป็นเพียงโบนัสเล็กๆ เท่านั้น และพอจบเนื้อเรื่องของโลกแต่ละใบก็ไม่มีเหตุผลให้เราต้องกลับไปเล่นซ้ำอีก

[caption id="attachment_18380" align="aligncenter" width="1486"] ขับเรือโจรสลัดสนุกสนานในโลก Pirates of the Caribbean[/caption]

เกมเพลย์อีกส่วนที่เราจะได้สัมผัสบ่อยๆ ตลอดการเดินทางก็คือระบบการขับยาน Gummi Ship ไปมาระหว่างโลกต่างๆ นั่นเอง โดยแม้ว่าในภาคนี้จะพัฒนาระบบนี้ให้จริงจังขึ้นมามากกว่าครั้งก่อนๆ และเปิดให้เราสามารถสำรวจจักรวาลของเกมได้อย่างอิสระ แทนที่จะเป็นด่านแยกๆ กันเหมือนที่ผ่านมา แต่เกมเพลย์ของ Gummi Ship ก็ยังเป็นเพียงตัวขั้นเวลาเล็กๆ ในระหว่างการสำรวจโลกเท่านั้น แถมของรางวัลที่ได้รับจากการเล่นก็มักจะเป็นของที่ใช้ได้ในโหมด Gummi Ship เท่านั้นอีก เราจึงไม่มีความจำเป็นต้องสนใจกับระบบมากกว่าที่จำเป็นเลย คนที่ไม่ชอบก็จะไม่ต้องใช้เวลากับมัน ซึ่งก็คงเป็นเรื่องดีที่เกมให้ทางเลือกนี้กับผู้เล่น แต่ในอีกแง่ก็น่าเสียดายที่ผู้พัฒนาไม่สามารถทำให้ระบบนี้สนุกได้แบบเดียวกับในเกมอย่าง Nier: Automata ที่มีระบบคล้ายๆ กัน

[caption id="attachment_18381" align="aligncenter" width="1920"] ขับยาน Gummi Ship ท่องอวกาศได้แบบอิสระ[/caption]

โดยรวมๆ แล้วเกมเพลย์ของ Kingdom Hearts 3 ก็ไม่ได้แตกต่างกับเกมเพลย์ของภาค 2 มากนัก อาจจะง่ายกว่าด้วยซ้ำจากการที่ผู้เล่นมีเครื่องมือสำหรับต่อกรกับศัตรูมากกว่าทุกภาคที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีความสนุกและท้าทายในระดับที่ทำให้เกมไม่น่าเบื่อ แม้ว่าเกมเพลย์โดยรวมจะไม่ได้มีอะไรให้ทำมากมายก็ตาม


สรุป


8/10




[caption id="attachment_18382" align="aligncenter" width="1920"] บทสรุปการเดินทางของโซระและผองเพื่อน[/caption]

ในฐานะแฟนซีรี่ย์คนหนึ่งที่ติดตาม Kingdom Hearts มาตลอดระยะเวลาหลายปี ผู้เขียนพูดได้เลยว่าเกม Kingdom Hearts 3 คือเกมที่แฟนๆ คาดหวังจะได้เล่นมาตลอด และเป็นเกมที่ตอบคำถามที่ค้างคาใจแฟนๆ ได้อย่างน่าพึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าเกมจะไม่ได้สมบูรณ์แบบ และยังค่อนข้างจำกัดในเรื่องของกิจกรรมที่มีให้ทำก็ตาม ผู้ที่ติดตามซีรี่ย์มาตลอดไม่ควรพลาดบทสรุปการเดินทางของโซระและผองเพื่อนแน่นอน แต่สำหรับคนอื่นๆ ที่คาดหวังให้เกมนี้เป็นบทเริ่มต้นเพื่อเข้าสู่ซีรี่ย์ Kingdom Hearts นี่อาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดเช่นกัน

[penci_review id="18192"]


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header