GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
[Review] รีวิวเกม Soul Hackers 2 "เกมสูตรสำเร็จที่ไม่มีอะไรใหม่ แต่ร้าวใจคอ JRPG"
ลงวันที่ 25/08/2022

แม้จะได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อยในช่วงที่วางจำหน่ายครั้งแรกในปี 1997 แต่เกม Devil Summoners: Soul Hacker ก็ห่างไกลความสำเร็จของเกมพี่น้องในตระกูล Shin Megami Tensei อยู่มาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับซีรีส์ชื่อดังอย่าง Persona ที่มักถูกยกย่องให้เป็น “สุดยอดเกม JRPG แห่งยุค” โดยนักวิจารณ์หลาย ๆ คน



ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้การเปิดตัวของเกม Soul Hackers 2 รู้สึกเป็นเซอร์ไพรส์สำหรับแฟน ๆ และทำให้แฟนเกม JRPG หลายคนรู้สึกสนใจและ/หรือสงสัยเกี่ยวกับเกมขึ้นมาไม่มากก็น้อย ว่าการกลับมาของซีรีส์ Soul Hackers หลังจากที่เวลาล่วงเลยมามากกว่า 20 ปีจะออกมาเป็นเช่นไร


หลังจากที่ได้เล่นเกมมาแล้วเป็นเวลามากกว่า 40 ชั่วโมง (ยังไม่จบเนื้อเรื่อง) ผู้เขียนรู้สึกมั่นใจพอจะตัดสินได้ว่า Soul Hackers 2 น่าจะเป็นเกม JRPG ที่เข้มข้นสมใจคนที่ชื่นชอบแนวนี้อย่างไม่ต้องสงสัย แถมยังมีเนื้อเรื่องและตัวละครอันยอดเยี่ยมตามมาตรฐานของผู้พัฒนาซีรีส์ Persona ด้วย แม้ว่าสุดท้ายแล้วเกมจะไม่ได้แม้แต่จะพยายามนำเสนออะไรที่แปลกใหม่เลยแม้แต่น้อย



เกมเพลย์


แก่นเกมเพลย์หลัก ๆ ของ Soul Hackers 2 สามารถแยกได้สองส่วนกว้าง ๆ คือเกมเพลย์ฝั่งตะลุยดันเจี้ยน และเกมเพลย์ฝั่ง Relationship Sim ในลักษณะคล้าย ๆ กับเกมซีรีส์ Persona นั่นเอง


ในฝั่งของการตะลุยดันเจี้ยน ผู้เล่นในฐานะตัวเอก Ringo จะต้องนำปาร์ตี้ตัวละครอีก 3 ตัว (รวมเป็น 4) เพื่อสำรวจดันเจี้ยนตามเนื้อเรื่องของเกม ในระหว่างการสำรวจ ผู้เล่นจะสามารถพบกับศัตรูเดินไปมาในฐานะหมอกสีต่าง ๆ ที่จะวิ่งไล่กวดผู้เล่นทันทีที่เห็น และเมื่อสัมผัสตัวผู้เล่นก็จะเข้าสู่การต่อสู้ โดยผู้เล่นจะสามารถให้ Ringo เอาดาบฟันศัตรูให้ล้มก่อนสัมผัสตัวได้ เพื่อให้เริ่มการต่อสู้ด้วยความได้เปรียบ (หรือถ้าโดนศัตรูวิ่งชนก็อาจเริ่มด้วยการเสียเปรียบได้)



เมื่อเข้าสู่การต่อสู้ ผู้ที่เคยเล่นเกมในแฟรนไชส์ Shin Megami Tensei มาก่อนน่าจะคุ้นเคยกับระบบในเกม ซึ่งมุ่งไปที่การพยายามโจมตีให้โดนจุดอ่อนของศัตรูด้วยการโจมตีและสกิลธาตุ/ชนิดต่าง ๆ ที่ได้มาจากปีศาจหรือ Demon ที่ตัวละคร “สวมใส่” อยู่ การโจมตีโดนจุดอ่อนแต่ละครั้งจะเพิ่ม Stack ให้กับการโจมตีพิเศษตอนจบเทิร์นที่เรียกว่า Sabbath ซึ่งจะเรียกเหล่าปีศาจที่เราเก็บเอาไว้ทั้งหมดออกมาโจมตีศัตรูพร้อมกัน โดยแน่นอนว่ายิ่งเก็บได้หลาย Stack ก็ยิ่งแรง แถมปีศาจบางตัวยังอาจมอบเอฟเฟกต์พิเศษให้เมื่อถูกเรียกออกมาในการโจมตี Sabbath ด้วย



ในส่วนของปีศาจในเกม Soul Hackers 2 จะไม่มีระบบการเลือกตัวเลือกเจรจาให้ปีศาจมาเป็นพวกเหมือนในเกม SMT ที่ผ่านมาอีกต่อไป แต่ผู้เล่นจะสามารถรับปีศาจใหม่ได้จากการสำรวจดันเจี้ยนแทน โดยทุกครั้งที่ผู้เล่นก้าวเท้าเข้าสู่ดันเจี้ยนอะไรก็ตาม ตัวเอก Ringo จะส่งปีศาจทั้งหมดที่เก็บเอาไว้ออกไปสอดแนมล่วงหน้า ซึ่งเราจะสามารถพบกับปีศาจเหล่านี้ได้ระหว่างที่สำรวจดันเจี้ยน และเมื่อเข้าไปคุยจะทำให้ได้รับของรางวัลต่าง ๆ เช่นเงิน ไอเทม หรืออาจพบกับปีศาจที่ถูกชวนมาเข้าร่วมทีมก็ได้ (ตราบใดที่สามารถทำตามเงื่อนไขที่พวกมันต้องการได้ เช่นมอบเงิน ไอเทม หรือ HP/MP ให้มันประมาณหนึ่ง)


เกมเพลย์การต่อสู้ของ Soul Hackers 2 อาจมองให้เป็นได้ทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนของเกมก็ว่าได้ เพราะแม้ว่าเกมเพลย์แนวเทิร์นเบสเช่นนี้อาจจะสนองความต้องการของคนที่ชื่นชอบ JRPG ได้อย่างเหมาะเจาะ แต่ก็ไม่มีอะไรใหม่หรือน่าสนใจมานำเสนอให้ผู้ที่เบื่อหน่ายกับเกมแนวนี้ หรือเคยเล่นเกมในตระกูล SMT มาเยอะแล้ว ซึ่งก็อาจทำให้การต่อสู้ในเกมรู้สึกซ้ำซากจำเจได้อยู่เหมือนกัน ยิ่ง Soul Hackers 2 เป็นเกมที่ค่อนข้างง่ายเมื่อเทียบกับเกม SMT อื่น ๆ ที่เป็นที่รู้จักในแง่ของความท้าทาย อาจส่งผลให้หลาย ๆ คนเบื่อไปซะก่อนจะเล่นจบได้ง่าย ๆ (อย่างน้อยในระดับความยาก Normal ที่ผู้เขียนเล่น)



นอกเหนือจากการต่อสู้ ผู้เล่นจะสามารถพบกับเกมเพลย์ฝั่ง “Relationship Sim” หรือเกมจำลองความสัมพันธ์แบบย่อม ๆ ในลักษณะคล้าย ๆ กับเกม Persona ได้ โดยผู้เล่นจะสามารถเลือกตัวเลือกบทสนทนา หรือชักชวนเพื่อนร่วมปาร์ตี้มาร่วมดริ๊งกันที่บาร์เพื่อสานสัมพันธ์และเพิ่มระดับ Soul Level ของตัวละครนั้นได้ (ไม่มีความสัมพันธ์แบบรักใคร่) โดยระดับความสัมพันธ์นี้จะเอาไว้ใช้ในการปลดล๊อคดันเจี้ยนเสริม Soul Matrix ได้ ซึ่งจะมอบทักษะติดตัวเพิ่มเติมให้กับตัวละครเพื่อนร่วมตี้แต่ละตัว รวมไปถึงเผยเนื้อเรื่องเสริมให้กับตัวละครแต่ละตัวด้วย ซึ่งเนื้อเรื่องเสริมเหล่านี้มักช่วยเสริมเหตุการณ์ในเนื้อเรื่องหลักได้เป็นอย่างดี จนแทบจะเรียกได้ว่า “จำเป็น” สำหรับการเล่นเลยทีเดียว



ทั้งนี้ ผู้ที่คาดหวังระบบความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งเหมือนใน Persona คงจะต้องผิดหวัง โดยระบบใน Soul Hackers 2 อาจเรียกว่าเป็นระบบของ Persona “แบบย่อม” ก็ได้ เพราะการพัฒนาความสัมพันธ์ทั้งหมดทำโดยการเลือกตัวเลือกบทสนทนาหรือการดริ๊งเท่านั้น ไม่มีการทำกิจกรรมหรือมอบของขวัญให้กันแต่อย่างใด แถมตัวเลือกทั้งหมดยังแสดงให้เห็นชัดเจนว่าจะเพิ่มระดับความสัมพันธ์ของใคร เท่าไหร่ การพยายามเพิ่มระดับของตัวละครเท่ากันทั้งหมดจึงเป็นเรื่องง่ายมาก



นอกเหนือไปจากนี้ เกม Soul Hackers 2 ไม่ได้มีอะไรให้ผู้เล่นทำมากนัก การสำรวจเมืองในเกมทำได้ค่อนข้างจำกัด แถมบนถนนก็ไม่ได้มีอะไรให้ทำนอกจากการซื้อไอเทมจากร้านค้าต่าง ๆ การรับเควสเสริม หรือการอัปเกรดอุปกรณ์เท่านั้น และแม้ว่าระบบการอัปเกรดตัวละครในเกมนี้จะมีความลึกอยู่ไม่น้อย แต่ก็ไม่ได้มีอะไรใหม่หรือเป็นเอกลักษณ์อยู่ดี


หากจะสรุปในภาพรวม เกมเพลย์ของ Soul Hackers 2 ถือเป็นการนำสูตรสำเร็จของ Shin Megami Tensei มาปรับให้ย่อยง่ายขึ้น ในเกมที่กระทัดรัดมากขึ้น ซึ่งผู้ที่ชื่นชอบเกม JRPG อยู่แล้วน่าจะชอบได้ไม่ยาก แม้ว่าเกมจะไม่มีอะไรใหม่หรือน่าตื่นเต้นเป็นพิเศษมานำเสนอเลยก็ตาม



เนื้อเรื่อง


เนื้อเรื่องของ Soul Hackers 2 จะติดตามตัวเอก Ringo ผู้ซึ่งเป็น “ร่างแทน” ที่สร้างขึ้นโดย A.I. ลึกลับที่ชื่อว่า Aion เพื่อยับยั้งเหตุการณ์สิ้นโลกบางอย่างที่กำลังจะมาถึง ภารกิจของเธอทำให้เธอต้องเข้าไปพัวพันกับ Devil Summoner (ผู้อัญเชิญปีศาจ) อีก 3 คนคือ Arrow, Milady, และ Saizo ผู้ซึ่งต่างมีอุดมการณ์ ทัศนคติ และเป้าหมายของตนเองต่อเหตุการณ์สิ้นโลก โดยทั้ง 4 จะต้องร่วมมือกันเพื่อสืบหาต้นตอเบื้องหลังเหตุการณ์เพื่อยับยั้งจุดจบของโลก



เอาเข้าจริง ๆ แล้ว เนื้อเรื่องของ Soul Hackers 2 มีความซับซ้อนและความเป็นผู้ใหญ่อยู่ไม่น้อย ตัวละครในเกมมักจะถกเถียงกันอย่างจริงจังเกี่ยวกับศีลธรรม ชีวิต และความเป็นมนุษย์ แถมเรื่องราวส่วนตัวของตัวละครเพื่อนร่วมตี้ทั้ง 3 ยังผูกเข้ากับและเสริมเนื้อเรื่องหลักได้อย่างดี ทำให้การดำเนินเรื่องมีแรงขับที่มีความเป็นมนุษย์ มากกว่าแค่ “การช่วยโลก” แบบกว้าง ๆ ซึ่งเนื้อเรื่องที่นำเสนอชีวิตของผู้ใหญ่นี้ อาจเป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุดของ Soul Hackers 2 เมื่อเทียบกับเกมจากซีรีส์ Persona หรือ Shin Megami Tensei ที่มักมีตัวเอกวัยมัธยมปลายซะมากกว่า ส่งผลให้ตัวละครใน Soul Hackers 2 รู้สึกมีมิติและทัศนคติที่ลึกซึ้ง รอบด้านมากกว่า


ทั้งนี้ ที่กล่าวไปทั้งหมดไม่ได้จะบอกว่าเนื้อเรื่องของ Soul Hackers 2 มีความซีเรียสหรือเครียดกว่าเกมอื่น ๆ ที่กล่าวไป ในทางตรงข้าม บุคลิกและบทพูดของตัวละครแต่ละตัวกลับทำให้บทสนทนาในเกมนี้รู้สึกมีอารมณ์ขันอยู่ไม่น้อย เป็นจุดกึ่งกลางพอดีระหว่างความสดใสฉูดฉาดของ Persona และความเคร่งขรึมอึมครึมของ Shin Megami Tensei 



การนำเสนอ


หากจะมีองค์ประกอบใดที่รู้สึกน่าผิดหวังชัดเจนเกี่ยวกับ Soul Hackers 2 คงจะเป็นเรื่องของกราฟิกและการนำเสนอ แม้ว่าการออกแบบและโมเดลตัวละครในเกมจะไม่ได้แย่ แต่การเลือกใช้กราฟิกแบบกึ่ง ๆ การ์ตูน Cell-shade แทนที่จะใช้กราฟิกแบบ “สมจริง” แบบเดียวกับในเกมก่อนหน้าอย่าง Shin Megami Tensei V กลับทำให้เกมรู้สึก “เก่า” อย่างน่าประหลาด ราวกับเป็นเกมยุุคปลาย PS3 - ต้น PS4 มากกว่าเกมยุคปัจจุบันในหลาย ๆ มุม


นอกจากนี้ กราฟิกแนวการ์ตูนเช่นนี้ยังทำให้เกมไม่สามารถนำเสนอโลกอนาคตอันเป็นที่ตั้งของตนเองได้มากเท่าที่ควร ทำให้โลกของเกมรู้สึกทั้งเล็กทั้งแคบ ไร้ชีวิตชีวา ซึ่งรู้สึกเหมือนเป็นการก้าวถอยหลังจากทั้ง Persona 5 และ Shin Megami Tensei V อย่างชัดเจน แถมอนิเมชั่นที่ค่อนข้างจำกัดยังทำให้ฉากคัตซีนของเกมรู้สึก “เล็ก” เมื่อเทียบกับเกมอื่น ซึ่งแม้จะไม่ใช่ปัญหาต่อประสบการณ์เกมโดยรวม แต่ก็มีส่วนช่วยให้เกมรู้สึก “เก่า” อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้

การตัดสินใจใช้กราฟิกแนวการ์ตูนเช่นนี้ ยิ่งน่างุนงงหนักขึ้นไปอีกเมื่อคำนึงถึงเรื่องราวเบื้องหลัง โดยสิ่งที่หลายคนอาจจะไม่ทราบคือผู้พัฒนา Atlus ประสบปัญหาในการพัฒนาเกม Persona 5 ไม่น้อยจากการใช้เอนจิ้นที่ค่ายพัฒนาเอง ส่งผลให้ค่ายตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้เอนจิ้น Unreal Engine 4 ที่เป็นสากลกว่าในการพัฒนาเกม Shin Megami Tensei V ซึ่งเป็นผลงานต่อมา แต่สำหรับ Soul Hackers 2 ค่ายกลับเลือกใช้เอนจิ้น Unity Engine ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นเครื่องมือของผู้พัฒนาอินดี้ เอาไว้สร้างเกมขนาดเล็กซะมากกว่า 



ในเรื่องของเสียง อาจสรุปรวม ๆ ได้ว่า “พอใช้” เท่านั้น แม้ว่าเพลงประกอบในเกมจะไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ก็ไม่ได้มีเพลงใดน่าจดจำเป็นพิเศษเช่นกัน แถมตัวละครเพื่อนร่วมตี้ยังมักจะพูดแทรกกันไปมาไม่หยุดในระหว่างการต่อสู้ ราวกับคอยพากย์ตามการตัดสินใจทั้งหมดของผู้เล่นตลอดเวลา ซึ่งก็น่ารำคาญมากจนหลายครั้งผู้เขียนเลือกที่จะเล่นเกมแบบปิดเสียงไปเลยในระหว่างที่สำรวจดันเจี้ยนอยู่


หากจะมีข้อดีซักข้อที่เกิดจากการใช้กราฟิกลักษณะนี้ คือการที่เกมไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์สเป๊คสูงในการเล่น ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้เขียนได้รีวิวเกมบนเครื่อง Laptop PC ที่มีการ์ดจอ RTX 3060 ซึ่งก็อาจเป็นสเป๊กที่ค่อนไปทางสูงอยู่บ้าง โดยสามารถรันเกมแบบปรับสุดทั้งหมดได้ที่เฟรมเรต 80-100 FPS คงที่แทบจะตลอดเวลา แม้จะเล่นติดต่อกันหลายชั่วโมงก็ตาม



สรุป


Soul Hackers 2 ยังคงเป็นเกม JRPG ที่ออกแบบมาได้ดี และมีเนื้อเรื่องกับตัวละครอันยอดเยี่ยมคอยเกื้อหนุนอยู่ แม้ว่าองค์กระกอบด้านการนำเสนอของเกมจะรู้สึกเป็นก้าวถอยหลังลงจากผลงานที่ผ่านมาของผู้พัฒนา Atlus อย่างชัดเจน แต่เกมก็ยังดีพอจะมอบความเพลิดเพลินให้ชาว JRPG ตัวยงได้หลายสิบชั่วโมงสบาย ๆ


7
ข้อดี

เกมเพลย์ JRPG สูตรสำเร็จที่คุณคุ้นเคย

เนื้อเรื่องและตัวละครน่าติดตามเสมอ



ข้อเสีย

กราฟิคและการนำเสนอด้อยกว่าผลงานก่อนหน้า

เกมเพลย์ไม่มีอะไรใหม่

เกมง่ายไปหน่อย ใครชอบความท้าทายอาจเบื่อเร็ว


8
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[Review] รีวิวเกม Soul Hackers 2 "เกมสูตรสำเร็จที่ไม่มีอะไรใหม่ แต่ร้าวใจคอ JRPG"
25/08/2022

แม้จะได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อยในช่วงที่วางจำหน่ายครั้งแรกในปี 1997 แต่เกม Devil Summoners: Soul Hacker ก็ห่างไกลความสำเร็จของเกมพี่น้องในตระกูล Shin Megami Tensei อยู่มาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับซีรีส์ชื่อดังอย่าง Persona ที่มักถูกยกย่องให้เป็น “สุดยอดเกม JRPG แห่งยุค” โดยนักวิจารณ์หลาย ๆ คน



ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้การเปิดตัวของเกม Soul Hackers 2 รู้สึกเป็นเซอร์ไพรส์สำหรับแฟน ๆ และทำให้แฟนเกม JRPG หลายคนรู้สึกสนใจและ/หรือสงสัยเกี่ยวกับเกมขึ้นมาไม่มากก็น้อย ว่าการกลับมาของซีรีส์ Soul Hackers หลังจากที่เวลาล่วงเลยมามากกว่า 20 ปีจะออกมาเป็นเช่นไร


หลังจากที่ได้เล่นเกมมาแล้วเป็นเวลามากกว่า 40 ชั่วโมง (ยังไม่จบเนื้อเรื่อง) ผู้เขียนรู้สึกมั่นใจพอจะตัดสินได้ว่า Soul Hackers 2 น่าจะเป็นเกม JRPG ที่เข้มข้นสมใจคนที่ชื่นชอบแนวนี้อย่างไม่ต้องสงสัย แถมยังมีเนื้อเรื่องและตัวละครอันยอดเยี่ยมตามมาตรฐานของผู้พัฒนาซีรีส์ Persona ด้วย แม้ว่าสุดท้ายแล้วเกมจะไม่ได้แม้แต่จะพยายามนำเสนออะไรที่แปลกใหม่เลยแม้แต่น้อย



เกมเพลย์


แก่นเกมเพลย์หลัก ๆ ของ Soul Hackers 2 สามารถแยกได้สองส่วนกว้าง ๆ คือเกมเพลย์ฝั่งตะลุยดันเจี้ยน และเกมเพลย์ฝั่ง Relationship Sim ในลักษณะคล้าย ๆ กับเกมซีรีส์ Persona นั่นเอง


ในฝั่งของการตะลุยดันเจี้ยน ผู้เล่นในฐานะตัวเอก Ringo จะต้องนำปาร์ตี้ตัวละครอีก 3 ตัว (รวมเป็น 4) เพื่อสำรวจดันเจี้ยนตามเนื้อเรื่องของเกม ในระหว่างการสำรวจ ผู้เล่นจะสามารถพบกับศัตรูเดินไปมาในฐานะหมอกสีต่าง ๆ ที่จะวิ่งไล่กวดผู้เล่นทันทีที่เห็น และเมื่อสัมผัสตัวผู้เล่นก็จะเข้าสู่การต่อสู้ โดยผู้เล่นจะสามารถให้ Ringo เอาดาบฟันศัตรูให้ล้มก่อนสัมผัสตัวได้ เพื่อให้เริ่มการต่อสู้ด้วยความได้เปรียบ (หรือถ้าโดนศัตรูวิ่งชนก็อาจเริ่มด้วยการเสียเปรียบได้)



เมื่อเข้าสู่การต่อสู้ ผู้ที่เคยเล่นเกมในแฟรนไชส์ Shin Megami Tensei มาก่อนน่าจะคุ้นเคยกับระบบในเกม ซึ่งมุ่งไปที่การพยายามโจมตีให้โดนจุดอ่อนของศัตรูด้วยการโจมตีและสกิลธาตุ/ชนิดต่าง ๆ ที่ได้มาจากปีศาจหรือ Demon ที่ตัวละคร “สวมใส่” อยู่ การโจมตีโดนจุดอ่อนแต่ละครั้งจะเพิ่ม Stack ให้กับการโจมตีพิเศษตอนจบเทิร์นที่เรียกว่า Sabbath ซึ่งจะเรียกเหล่าปีศาจที่เราเก็บเอาไว้ทั้งหมดออกมาโจมตีศัตรูพร้อมกัน โดยแน่นอนว่ายิ่งเก็บได้หลาย Stack ก็ยิ่งแรง แถมปีศาจบางตัวยังอาจมอบเอฟเฟกต์พิเศษให้เมื่อถูกเรียกออกมาในการโจมตี Sabbath ด้วย



ในส่วนของปีศาจในเกม Soul Hackers 2 จะไม่มีระบบการเลือกตัวเลือกเจรจาให้ปีศาจมาเป็นพวกเหมือนในเกม SMT ที่ผ่านมาอีกต่อไป แต่ผู้เล่นจะสามารถรับปีศาจใหม่ได้จากการสำรวจดันเจี้ยนแทน โดยทุกครั้งที่ผู้เล่นก้าวเท้าเข้าสู่ดันเจี้ยนอะไรก็ตาม ตัวเอก Ringo จะส่งปีศาจทั้งหมดที่เก็บเอาไว้ออกไปสอดแนมล่วงหน้า ซึ่งเราจะสามารถพบกับปีศาจเหล่านี้ได้ระหว่างที่สำรวจดันเจี้ยน และเมื่อเข้าไปคุยจะทำให้ได้รับของรางวัลต่าง ๆ เช่นเงิน ไอเทม หรืออาจพบกับปีศาจที่ถูกชวนมาเข้าร่วมทีมก็ได้ (ตราบใดที่สามารถทำตามเงื่อนไขที่พวกมันต้องการได้ เช่นมอบเงิน ไอเทม หรือ HP/MP ให้มันประมาณหนึ่ง)


เกมเพลย์การต่อสู้ของ Soul Hackers 2 อาจมองให้เป็นได้ทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนของเกมก็ว่าได้ เพราะแม้ว่าเกมเพลย์แนวเทิร์นเบสเช่นนี้อาจจะสนองความต้องการของคนที่ชื่นชอบ JRPG ได้อย่างเหมาะเจาะ แต่ก็ไม่มีอะไรใหม่หรือน่าสนใจมานำเสนอให้ผู้ที่เบื่อหน่ายกับเกมแนวนี้ หรือเคยเล่นเกมในตระกูล SMT มาเยอะแล้ว ซึ่งก็อาจทำให้การต่อสู้ในเกมรู้สึกซ้ำซากจำเจได้อยู่เหมือนกัน ยิ่ง Soul Hackers 2 เป็นเกมที่ค่อนข้างง่ายเมื่อเทียบกับเกม SMT อื่น ๆ ที่เป็นที่รู้จักในแง่ของความท้าทาย อาจส่งผลให้หลาย ๆ คนเบื่อไปซะก่อนจะเล่นจบได้ง่าย ๆ (อย่างน้อยในระดับความยาก Normal ที่ผู้เขียนเล่น)



นอกเหนือจากการต่อสู้ ผู้เล่นจะสามารถพบกับเกมเพลย์ฝั่ง “Relationship Sim” หรือเกมจำลองความสัมพันธ์แบบย่อม ๆ ในลักษณะคล้าย ๆ กับเกม Persona ได้ โดยผู้เล่นจะสามารถเลือกตัวเลือกบทสนทนา หรือชักชวนเพื่อนร่วมปาร์ตี้มาร่วมดริ๊งกันที่บาร์เพื่อสานสัมพันธ์และเพิ่มระดับ Soul Level ของตัวละครนั้นได้ (ไม่มีความสัมพันธ์แบบรักใคร่) โดยระดับความสัมพันธ์นี้จะเอาไว้ใช้ในการปลดล๊อคดันเจี้ยนเสริม Soul Matrix ได้ ซึ่งจะมอบทักษะติดตัวเพิ่มเติมให้กับตัวละครเพื่อนร่วมตี้แต่ละตัว รวมไปถึงเผยเนื้อเรื่องเสริมให้กับตัวละครแต่ละตัวด้วย ซึ่งเนื้อเรื่องเสริมเหล่านี้มักช่วยเสริมเหตุการณ์ในเนื้อเรื่องหลักได้เป็นอย่างดี จนแทบจะเรียกได้ว่า “จำเป็น” สำหรับการเล่นเลยทีเดียว



ทั้งนี้ ผู้ที่คาดหวังระบบความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งเหมือนใน Persona คงจะต้องผิดหวัง โดยระบบใน Soul Hackers 2 อาจเรียกว่าเป็นระบบของ Persona “แบบย่อม” ก็ได้ เพราะการพัฒนาความสัมพันธ์ทั้งหมดทำโดยการเลือกตัวเลือกบทสนทนาหรือการดริ๊งเท่านั้น ไม่มีการทำกิจกรรมหรือมอบของขวัญให้กันแต่อย่างใด แถมตัวเลือกทั้งหมดยังแสดงให้เห็นชัดเจนว่าจะเพิ่มระดับความสัมพันธ์ของใคร เท่าไหร่ การพยายามเพิ่มระดับของตัวละครเท่ากันทั้งหมดจึงเป็นเรื่องง่ายมาก



นอกเหนือไปจากนี้ เกม Soul Hackers 2 ไม่ได้มีอะไรให้ผู้เล่นทำมากนัก การสำรวจเมืองในเกมทำได้ค่อนข้างจำกัด แถมบนถนนก็ไม่ได้มีอะไรให้ทำนอกจากการซื้อไอเทมจากร้านค้าต่าง ๆ การรับเควสเสริม หรือการอัปเกรดอุปกรณ์เท่านั้น และแม้ว่าระบบการอัปเกรดตัวละครในเกมนี้จะมีความลึกอยู่ไม่น้อย แต่ก็ไม่ได้มีอะไรใหม่หรือเป็นเอกลักษณ์อยู่ดี


หากจะสรุปในภาพรวม เกมเพลย์ของ Soul Hackers 2 ถือเป็นการนำสูตรสำเร็จของ Shin Megami Tensei มาปรับให้ย่อยง่ายขึ้น ในเกมที่กระทัดรัดมากขึ้น ซึ่งผู้ที่ชื่นชอบเกม JRPG อยู่แล้วน่าจะชอบได้ไม่ยาก แม้ว่าเกมจะไม่มีอะไรใหม่หรือน่าตื่นเต้นเป็นพิเศษมานำเสนอเลยก็ตาม



เนื้อเรื่อง


เนื้อเรื่องของ Soul Hackers 2 จะติดตามตัวเอก Ringo ผู้ซึ่งเป็น “ร่างแทน” ที่สร้างขึ้นโดย A.I. ลึกลับที่ชื่อว่า Aion เพื่อยับยั้งเหตุการณ์สิ้นโลกบางอย่างที่กำลังจะมาถึง ภารกิจของเธอทำให้เธอต้องเข้าไปพัวพันกับ Devil Summoner (ผู้อัญเชิญปีศาจ) อีก 3 คนคือ Arrow, Milady, และ Saizo ผู้ซึ่งต่างมีอุดมการณ์ ทัศนคติ และเป้าหมายของตนเองต่อเหตุการณ์สิ้นโลก โดยทั้ง 4 จะต้องร่วมมือกันเพื่อสืบหาต้นตอเบื้องหลังเหตุการณ์เพื่อยับยั้งจุดจบของโลก



เอาเข้าจริง ๆ แล้ว เนื้อเรื่องของ Soul Hackers 2 มีความซับซ้อนและความเป็นผู้ใหญ่อยู่ไม่น้อย ตัวละครในเกมมักจะถกเถียงกันอย่างจริงจังเกี่ยวกับศีลธรรม ชีวิต และความเป็นมนุษย์ แถมเรื่องราวส่วนตัวของตัวละครเพื่อนร่วมตี้ทั้ง 3 ยังผูกเข้ากับและเสริมเนื้อเรื่องหลักได้อย่างดี ทำให้การดำเนินเรื่องมีแรงขับที่มีความเป็นมนุษย์ มากกว่าแค่ “การช่วยโลก” แบบกว้าง ๆ ซึ่งเนื้อเรื่องที่นำเสนอชีวิตของผู้ใหญ่นี้ อาจเป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุดของ Soul Hackers 2 เมื่อเทียบกับเกมจากซีรีส์ Persona หรือ Shin Megami Tensei ที่มักมีตัวเอกวัยมัธยมปลายซะมากกว่า ส่งผลให้ตัวละครใน Soul Hackers 2 รู้สึกมีมิติและทัศนคติที่ลึกซึ้ง รอบด้านมากกว่า


ทั้งนี้ ที่กล่าวไปทั้งหมดไม่ได้จะบอกว่าเนื้อเรื่องของ Soul Hackers 2 มีความซีเรียสหรือเครียดกว่าเกมอื่น ๆ ที่กล่าวไป ในทางตรงข้าม บุคลิกและบทพูดของตัวละครแต่ละตัวกลับทำให้บทสนทนาในเกมนี้รู้สึกมีอารมณ์ขันอยู่ไม่น้อย เป็นจุดกึ่งกลางพอดีระหว่างความสดใสฉูดฉาดของ Persona และความเคร่งขรึมอึมครึมของ Shin Megami Tensei 



การนำเสนอ


หากจะมีองค์ประกอบใดที่รู้สึกน่าผิดหวังชัดเจนเกี่ยวกับ Soul Hackers 2 คงจะเป็นเรื่องของกราฟิกและการนำเสนอ แม้ว่าการออกแบบและโมเดลตัวละครในเกมจะไม่ได้แย่ แต่การเลือกใช้กราฟิกแบบกึ่ง ๆ การ์ตูน Cell-shade แทนที่จะใช้กราฟิกแบบ “สมจริง” แบบเดียวกับในเกมก่อนหน้าอย่าง Shin Megami Tensei V กลับทำให้เกมรู้สึก “เก่า” อย่างน่าประหลาด ราวกับเป็นเกมยุุคปลาย PS3 - ต้น PS4 มากกว่าเกมยุคปัจจุบันในหลาย ๆ มุม


นอกจากนี้ กราฟิกแนวการ์ตูนเช่นนี้ยังทำให้เกมไม่สามารถนำเสนอโลกอนาคตอันเป็นที่ตั้งของตนเองได้มากเท่าที่ควร ทำให้โลกของเกมรู้สึกทั้งเล็กทั้งแคบ ไร้ชีวิตชีวา ซึ่งรู้สึกเหมือนเป็นการก้าวถอยหลังจากทั้ง Persona 5 และ Shin Megami Tensei V อย่างชัดเจน แถมอนิเมชั่นที่ค่อนข้างจำกัดยังทำให้ฉากคัตซีนของเกมรู้สึก “เล็ก” เมื่อเทียบกับเกมอื่น ซึ่งแม้จะไม่ใช่ปัญหาต่อประสบการณ์เกมโดยรวม แต่ก็มีส่วนช่วยให้เกมรู้สึก “เก่า” อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้

การตัดสินใจใช้กราฟิกแนวการ์ตูนเช่นนี้ ยิ่งน่างุนงงหนักขึ้นไปอีกเมื่อคำนึงถึงเรื่องราวเบื้องหลัง โดยสิ่งที่หลายคนอาจจะไม่ทราบคือผู้พัฒนา Atlus ประสบปัญหาในการพัฒนาเกม Persona 5 ไม่น้อยจากการใช้เอนจิ้นที่ค่ายพัฒนาเอง ส่งผลให้ค่ายตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้เอนจิ้น Unreal Engine 4 ที่เป็นสากลกว่าในการพัฒนาเกม Shin Megami Tensei V ซึ่งเป็นผลงานต่อมา แต่สำหรับ Soul Hackers 2 ค่ายกลับเลือกใช้เอนจิ้น Unity Engine ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นเครื่องมือของผู้พัฒนาอินดี้ เอาไว้สร้างเกมขนาดเล็กซะมากกว่า 



ในเรื่องของเสียง อาจสรุปรวม ๆ ได้ว่า “พอใช้” เท่านั้น แม้ว่าเพลงประกอบในเกมจะไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ก็ไม่ได้มีเพลงใดน่าจดจำเป็นพิเศษเช่นกัน แถมตัวละครเพื่อนร่วมตี้ยังมักจะพูดแทรกกันไปมาไม่หยุดในระหว่างการต่อสู้ ราวกับคอยพากย์ตามการตัดสินใจทั้งหมดของผู้เล่นตลอดเวลา ซึ่งก็น่ารำคาญมากจนหลายครั้งผู้เขียนเลือกที่จะเล่นเกมแบบปิดเสียงไปเลยในระหว่างที่สำรวจดันเจี้ยนอยู่


หากจะมีข้อดีซักข้อที่เกิดจากการใช้กราฟิกลักษณะนี้ คือการที่เกมไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์สเป๊คสูงในการเล่น ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้เขียนได้รีวิวเกมบนเครื่อง Laptop PC ที่มีการ์ดจอ RTX 3060 ซึ่งก็อาจเป็นสเป๊กที่ค่อนไปทางสูงอยู่บ้าง โดยสามารถรันเกมแบบปรับสุดทั้งหมดได้ที่เฟรมเรต 80-100 FPS คงที่แทบจะตลอดเวลา แม้จะเล่นติดต่อกันหลายชั่วโมงก็ตาม



สรุป


Soul Hackers 2 ยังคงเป็นเกม JRPG ที่ออกแบบมาได้ดี และมีเนื้อเรื่องกับตัวละครอันยอดเยี่ยมคอยเกื้อหนุนอยู่ แม้ว่าองค์กระกอบด้านการนำเสนอของเกมจะรู้สึกเป็นก้าวถอยหลังลงจากผลงานที่ผ่านมาของผู้พัฒนา Atlus อย่างชัดเจน แต่เกมก็ยังดีพอจะมอบความเพลิดเพลินให้ชาว JRPG ตัวยงได้หลายสิบชั่วโมงสบาย ๆ



บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header