GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
[Review] รีวิวเกม God of War: Ragnarok การเดินทางฝ่าโชคชะตาอันแสนล้ำค่าของพ่อลูกเทพสงคราม
ลงวันที่ 03/11/2022

ในยุคสมัยปัจจุบัน ที่แฟนเกมเลือดร้อนจำนวนนับไม่ถ้วนบนโลกออนไลน์พร้อมจะรุมสาบแช่งผู้พัฒนาหน้าไหนก็ตามที่บังอาจดัดแปลงซีรีส์เกมอันเป็นที่บูชาของพวกเขา ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการตัดสินใจของผู้พัฒนา Sony Santa Monica Studio ในการยกเครื่องซีรีส์ลูกรักของพวกเขาอย่าง God of War ใหม่ทั้งหมด คงเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความกล้าหาญอยู่ไม่น้อย 


แต่ท้ายที่สุดแล้ว ความกล้าหาญของพวกเขาก็ถูกตอบแทนอย่างเต็มรัก เมื่อเกม God of War (2018) สามารถคว้าเอารางวัลเกมยอดเยี่ยมหลากหลายสาขาจากทั้งสำนักสื่อและเวทีประกาศรางวัล รวมถึงเวทีใหญ่ประจำปีอย่าง Game of the Year 2018 โดยผู้ที่ได้สัมผัสเกมล้วนกล่าวชมทั้งเกมเพลย์และการนำเสนอโลกและเนื้อเรื่อง จนหลายคนถึงขนาดยกให้ God of War (2018) เป็นหนึ่งในเกมที่ดีที่สุดของเจนเนอเรชันที่ผ่านมาเลยทีเดียว




ด้วยความสำเร็จอันท่วนท้นของเกมภาคก่อนหน้า ทำให้เกมภาคต่อจำเป็นต้องแบกรับความคาดหวังอันมหึมาเอาไว้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยหลังจากที่ใช้เวลากว่า 45 ชั่วโมงไปกับเกม God of War: Ragnarok ผู้เขียนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะบอกว่าเกมสามารถยกระดับประสบการณ์อันน่าทึ่งของภาคก่อนหน้าขึ้นไปได้ในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเกมเพลย์ กราฟิก และโดยเฉพาะเนื้อเรื่อง ซึ่งมีความซาบซึ้ง อบอุ่น กินใจอย่างคาดไม่ถึง เป็นการปิดฉาก(?)การเดินทางของสองพ่อลูกเทพสงครามอย่างสมเกียรติที่สุด เหนือความคาดหวังใด ๆ ที่ผู้เขียนมีก่อนจะได้เล่นเสียอีก 


ความเป็นมนุษย์ที่งดงามในความไม่สมบูรณ์


เนื้อเรื่องของเกม God of War: Ragnarok เริ่มขึ้นหลังเหตุการณ์ในเกมภาคก่อนราว 2-3 ปี ท่ามกลางความหนาวเหน็บของฤดูหนาวนิรันดร์ฟิมบุลวินเทอร์ (Fimbulwinter) อันเป็นผลมาจากการตายของบาลเดอร์ โดยสองพ่อลูกเทพสงครามเครโทสและอเทรอัสพยายามจะใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและสงบสุขในบ้านหลังน้อยกลางป่าของพวกเขา เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าที่ถูกลิขิตไว้โดยเหล่ายักษ์ในตอนจบของเกมภาคก่อนหน้านั่นเอง


เรื่องราวของเกมเริ่มขึ้นในขณะที่สองพ่อลูกเทพสงครามกำลังอยู่ระหว่างล่าสัตว์ ซึ่งแสดงออกถึงการเปลี่ยนแปลงของทั้งสองตัวละครตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ในขณะที่เครโทสดูจะละทิ้งความโกรธแค้นจากอดีตของตนเองเกือบจะทั้งหมดแล้ว ความแค้นนั้นกลับถูกทดแทนด้วยความอ่อนล้า อันเป็นผลมาจากการได้รู้ว่าตัวเองอาจต้องจากโลกนี้ไปในไม่ช้าตามคำทำนายของเหล่ายักษ์ ในขณะที่อเทรอัสดูจะมีความมั่นใจมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากพลังเทพที่เติบโตขึ้นของเขา พอ ๆ กับความมุทะลุตามประสาวัยรุ่นแตกหนุ่มของเขา โดยฉากเปิดนี้ยังมีการเชื่อมโยงบทพูดหรือการกระทำบางอย่างจากช่วงต้นเกมของภาคก่อนหน้าด้วย ยิ่งทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสองตัวละครได้ชัดเจนกว่าเดิม



หลังจากที่ทั้งสองเดินทางกลับมาจากการล่าสัตว์ ได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดบางอย่าง (ซึ่งเราจะไม่สปอย ให้ทุกคนไปเจอกันเอาเอง) ที่ชี้ชัดว่าแม้เครโทสเองจะไม่ต้องการเข้าไปพัวพันกับเหล่าเทพเอเซียร์ (Aesir) อีกต่อไป แต่เหล่าเทพยังมีธุระต้องสะสางกับเขาและลูกชายอยู่ และพวกเขาจะไม่หยุดจนกว่าจะได้สิ่งที่ต้องการ ส่งผลให้สองพ่อลูกเทพสงครามตัดสินใจออกเดินทางเพื่อตามหาเทียร์ เทพสงครามประจำถื่นผู้สาบสูญ เพื่อหาวิธีเปลี่ยนโชคชะตาที่กำหนดให้พวกเขาต้องต่อสู้กับเทพเอเซียร์หรือถ้าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโชคชะตาได้สำเร็จ ก็เพื่อเริ่มต้นสงคราม Ragnarok ตามคำทำนายและกำจัดโอดินกับพวกพ้องชาวแอสการ์ดให้สิ้นซาก 



แม้ว่าเรื่องราวของเกม God of War: Ragnarok จะเกี่ยวข้องกับการเดินทางข้ามมิติ และมีทั้งสัตว์วิเศษไปจนถึงเทพเจ้าหลากหลายองค์ให้เผชิญหน้า แต่จุดแข็งหลักของเนื้อเรื่องเกม God of War (2018) ก็ยังคงเป็นแก่นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพ่อกับลูกชาย ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความเป็นมนุษย์เป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้ผู้เล่นหลายคนรู้สึกซาบซึ้งและมีอารมณ์ร่วมไปกับเหตุการณ์ในเกมได้ โดยเกมภาค Ragnarok เองก็ยังรักษาจุดแข็งนี้เอาไว้ได้อย่างงดงาม ด้วยการนำเสนอปมขัดแย้งระหว่างตัวละครที่เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะมีประสบการณ์ร่วมไม่มากก็น้อย นั่นก็คือความต้องการของเครโทสที่จะปกป้องลูกชาย ซึ่งขัดแย้งกับความต้องการที่จะให้เขาได้เติบโตเป็นตัวของตัวเอง ในทางกลับกันอเทรอัสเอง แม้จะอยากก้าวเดินบนหนทางที่เลือกเอง แต่ในใจลึก ๆ ก็รู้ว่าตัวเองยังไม่พร้อมจะอยู่โดยไม่มีพ่อ ความกระอักกระอ่วนในใจก็ยังทำให้พวกเขาต่างไม่กล้าพูดความในใจให้อีกฝ่ายได้รู้ ซึ่งน่าจะเป็นความรู้สึกที่หลาย ๆ คงจะหาจุดร่วมได้ไม่ยาก การได้ติดตามความสัมพันธ์ที่ค่อย ๆ เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ของพ่อลูกทั้งสองผ่านคัตซีนและการสนทนาระหว่างสำรวจ จึงเป็นประสบการณ์ที่กินใจ ซาบซึ้ง และล้ำค่าอย่างแท้จริง ในแบบที่น้อยเกมมาก ๆ จะสามารถทำได้



เรื่องราวของพ่อลูกทั้งสอง ถูกเสริมด้วยเหล่าตัวละครเสริมอันน่าทึ่งจำนวนมาก ผู้ซึ่งต่างมีเรื่องราวของตนเองที่เข้ามาเกี่ยวโยงกับเครโทสและอเทรอัสมากกว่าในเกมภาคที่ผ่านมา ส่งผลให้ตัวละครเสริมแต่ละตัวได้มีช่วงเวลาเด่นของตนเองในเนื้อเรื่อง ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ก็มักจะวนกลับมาเสริมธีมต่าง ๆ ที่เกมพยายามนำเสนออย่างลึกซึ้งและมีความหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโชคชะตา ความแค้น การให้อภัย และที่สำคัญที่สุดคือครอบครัว นอกจากนี้ ตัวละครเพื่อนร่วมทางยังมักจะชวนเครโทสคุยหรือแซวกันไปมาตลอดเวลาในขณะที่สำรวจอยู่ โดยบทสนทนาเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้เล่นค้นพบสถานที่หรือสิ่งของบางอย่างในฉาก ซึ่งจะทำให้ตัวละครเพื่อนร่วมทางออกความเห็นหรือเล่าถึงที่มาที่ไปของสิ่งของ/สถานที่นั้น ๆ กลายเป็นอีกหนึ่งเหตุผลให้ผู้เล่นได้สำรวจแผนที่ของเกมอย่างละเอียด เพื่อรับฟังบทสนทนาอันยอดเยี่ยมของตัวละครในขณะที่พวกเขาถกเถียงกันเกี่ยวกับอะไรก็แล้วแต่ที่เราค้นพบ ถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมไม่น้อยเลยที่ผู้พัฒนาสามารถเขียนให้ตัวละครแทบทุกตัวในเกมรู้สึกมีมิติและมีเสน่ห์ได้ขนาดนี้ เพราะเอาเข้าจริงเกมมีตัวละครไม่น้อยหน้าภาพยนตร์รวมดาวใหญ่ ๆ ของจักรวาลมาร์เวลเลยทีเดียว


ตัวละครเสริมที่โดดเด่นเป็นพิเศษคงหนีไม่พ้นเฟรยาอดีตราชินีแห่งแอสการ์ด ที่แทบจะเสียสติจากความโกรธแค้นที่มีต่อเครโทสผู้ซึ่งหักคอบาลเดอร์ลูกชายของเธอในภาคที่แล้ว ส่งผลให้เธอสาบานว่าจะตามล้างแค้นเขาให้จงได้ โดย เฟรยาเปรียบเสมือนกระจกที่สะท้อนให้เห็นทั้งอดีตอันคาวเลือดของเครโทสและอนาคตของเขาถ้าต้องเสียอเทรอัส ไป และการได้เห็นเธอค่อย ๆ ละทิ้งความแค้นที่สุมอก และโอบรับการให้อภัยทั้งตนเองและผู้อื่น ก็เป็นอีกหนึ่งการเดินทางที่มีแก่นความเป็นมนุษย์อย่างมาก ซึ่งก็ทำให้เรื่องราวของเธอรู้สึกล้ำค่าและกินใจไม่แพ้ตัวละครหลักเลยทีเดียว 




ทั้งนี้ หากจะมีจุดอ่อนซักจุดในเนื้อเรื่องของเกม God of War: Ragnarok ก็คงจะเป็นตัวร้ายหลักของเรื่องอย่างโอดินที่แม้นักแสดงและนักพากย์จะถ่ายทอดตัวละครออกมาได้อย่างมีเสน่ห์ในทุก ๆ ฉากที่เขาปรากฏอยู่ แต่โอดินกลับเป็นตัวละครไม่กี่ตัวจริง ๆ ในเรื่องที่รู้สึกไม่ค่อยมีมิติเท่าที่ควร โดยเกมไม่สามารถให้คำอธิบายที่ดีพอกับการกระทำหลาย ๆ อย่างของเขา ที่ส่วนใหญ่ดูจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีต่อตัวเขาเองหรือเป้าหมายที่เขาพยายามไล่ตามอยู่ จนรู้สึกเหมือนว่าเขาเป็นเพียงเครื่องมือทางการเล่าเรื่อง (Plot Device) มากกว่าตัวละครที่มีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตนเอง เพื่อมอบข้ออ้างให้เหล่าฮีโร่ได้รวมพลังกันพิชิตในตอนท้ายเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าผิดหวังไม่น้อยเมื่อคิดว่าตัวละครอื่น ๆ แทบทุกตัวดูจะมีมิติตื้นลึกหนาบางของตนเอง แต่ตัวละครที่สำคัญอย่างตัวร้ายหลักกลับแบนเป็นแผ่นกระดาษแบบนี้



แต่อย่างที่กล่าวไป หัวใจหลักของเนื้อเรื่องในเกม God of War: Ragnarok ก็ยังคงเป็นเรื่องราวอันเปี่ยมไปด้วยความเป็นมนุษย์ที่ร้อยเรียงไปกับเหตุการณ์เหนือจินตนาการต่าง ๆ ซึ่งเกมสามารถนำเสนอจุดเด่นนี้ได้อย่างชัดเจน ในแบบที่มีเพียงสื่อวิดีโอเกมเท่านั้นที่ทำได้ ผลลัพธ์คือเนื้อเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนและอบอุ่นอย่างไม่คาดคิด เป็นประสบการณ์ที่จะเด่นชัดในความทรงจำของผู้เขียนไปอีกนาน 


แม้ไม่ใหม่ แต่ใหญ่และตื่นใจกว่าเดิม


ว่ากันตามตรง แก่นเกมเพลย์ของ GoW: Ragnarok แทบจะไม่ได้แตกต่างจากเกมภาคก่อนหน้าเลยซักนิดในแง่ของคุณภาพ เกมยังคงนำเสนอเกมเพลย์แอคชันอันดุเดือดสะใจ ควบคู่ไปกับการสำรวจและแก้พัซเซิลระหว่างทาง ซึ่งก็ประสบความสำเร็จมาแล้วในภาคก่อนหน้า โดยแทนที่จะไปยุ่งกับสิ่งที่ยังใช้ได้ดีอยู่แล้ว ผู้พัฒนา Sony Santa Monica เลือกที่จะทำตามวลีฝรั่งที่ว่า “ปริมาณก็เป็นคุณภาพในตัวของมันเอง” ด้วยการเพิ่มความหลากหลายลงไปในแทบทุกองค์ประกอบของเกมเพลย์เลยทีเดียว


ในส่วนของการสำรวจ ในขณะที่เกมภาคก่อนหน้าจะมีแผนที่กว้าง ๆ ให้สำรวจได้เพียงไม่กี่แผนที่ เกมภาค Ragnarok ได้เปิดให้ผู้เล่นสามารถเดินทางไปยังภพทั้ง 9 ได้อย่างอิสระประมาณหนึ่ง ซึ่งแต่ละภพก็จะมีพื้นที่กว้างที่สามารถสำรวจได้ในระดับที่ต่างกันไป โดยแม้ว่าการต่อสู้ส่วนใหญ่จะยังคงเกิดขึ้นในพื้นที่แคบ ๆ ที่มีลักษณะเหมือน “ดันเจียน” ที่ค่อนข้างเป็นเส้นตรง ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ตามแผนที่ การออกแบบแผนที่ให้เปิดกว้างมากขึ้นทำให้เกมเพลย์การสำรวจของ Ragnarok เป็นประสบการณ์ที่เพลิดเพลินเป็นอย่างมาก เพราะผู้พัฒนาได้ซุกซ่อนสมบัติ ของสะสม พัซเซิล ไปจนถึงภารกิจและบอสลับอยู่ในแทบทุกทางแยกที่พบเจอ ในระดับที่ว่าไม่ว่าจะเลือกเดินไปทางไหนก็มีอะไรให้เก็บหรือค้นพบเสมอ และทำให้การสำรวจในเกมรู้สึกมีความหมาย ต่างจากหลาย ๆ เกมที่บางครั้งการสำรวจกลับทำให้รู้สึกเสียเวลามากกว่า



ในด้านการต่อสู้ ทักษะพื้นฐานทั้งหมดของเครโทสจากเกมภาคก่อนหน้าได้ถูกนำมาไว้ในเกมภาคนี้เกือบทั้งหมด โดยการต่อสู้จะยังเน้นการร้อยเรียงท่าโจมตีเบา-หนัก การโจมตีระยะไกล และท่าเวทมนต์ Runic ต่าง ๆ เข้ากับการหลบหลีก ป้องกัน หรือปัดป้องการโจมตีของศัตรู ซึ่งความแตกต่างระหว่างเกม Ragnarok และภาคก่อนหน้าส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบของความหลากหลายมากกว่า ไม่ว่าจะจากการที่ผู้เล่นได้รับอาวุธ Blades of Chaos ของเครโทสมาตั้งแต่เริ่มเกม ซึ่งก็ทำให้เกมเพลย์ในช่วงต้นเกมหลากหลายขึ้นแล้วเมื่อเทียบกับภาคก่อน และจากชนิดของศัตรูที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก อย่างที่ผู้เขียนได้เคยกล่าวไปในบทความพรีวิวก่อนหน้านี้ว่าชนิดศัตรูที่พบในเกมเพลย์ 6 ชั่วโมงแรกของ Ragnarok นั้นแทบจะมากเท่ากับที่พบในเกมภาคก่อนทั้งเกมอยู่แล้ว และยิ่งผู้เล่นเดินทางสำรวจภพทั้ง 9 มากขึ้น ความหลากหลายที่ว่านี้ก็มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้กระทั่งในช่วงท้ายของเนื้อเรื่องเกือบ 40 ชั่วโมงถัดมา เกมก็ยังคงแนะนำศัตรูและมินิบอสใหม่ ๆ ให้ผู้เขียนได้วัดฝีมือด้วย ต่างจากในภาคก่อนหน้าที่ให้ผู้เล่นต่อสู้กับบอสโทรลถือซุงตัวเดิมซ้ำ ๆ กันนับสิบครั้งตลอดทั้งเกม 



เอาเข้าจริงแล้ว Ragnarok ก็มีการเพิ่มระบบเกมเพลย์ใหม่เอี่ยมของตนเองเข้ามา หลังจากที่เล่นเนื้อเรื่องจบไปแล้วน่าจะไม่ต่ำกว่า 60-70% ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่ก็รู้สึกเหมือนกันว่าถ้าเกมเพิ่มระบบดังกล่าวเข้ามาเร็วกว่านี้ซะได้ก็ดีเหมือนกัน เพื่อให้การต่อสู้ในช่วงใหญ่ ๆ ของเกมมีมิติใหม่เพิ่มขึ้นมามากกว่านี้ และเมื่อนำมารวมกับระบบการสำรวจที่มีกลิ่นอายของเกมแนว Metroidvania ที่ให้ผู้เล่นใช้ความสามารถใหม่ ๆ ที่ได้ตามเนื้อเรื่องเพื่อปลดล๊อคพื้นที่หรือแก้พัซเซิ่ลในฉาก หมายความว่าผู้เล่นที่ต้องการจะเก็บสมบัติหรือเควสลับทั้งหมดจะต้องสำรวจแผนที่เดิม ๆ ซ้ำกันหลายครั้ง (หรือไม่งั้นก็เก็บมาสำรวจทีเดียวทั้งหมดตอนท้ายเกม) ซึ่งก็อาจไม่ค่อยถูกใจผู้เล่นบางคน โดยเฉพาะเมื่อเกมไม่มีระบบมาร์กตำแหน่งของสมบัติหรือพัซเซิ่ลเพื่อย้อนกลับมาสำรวจภายหลังได้



แม้จะไม่ได้นำเสนออะไรที่รู้สึก “ใหม่” ซะทีเดียว แต่เกมเพลย์ของ God of War: Ragnarok ก็อัดแน่นไปด้วยคุณสมบัติอันสำคัญยิ่งของเกม นั่นก็คือ “ความสนุก” นั่นเอง นอกจากการต่อสู้ในเกมจะดุเดือดท้าทายตลอดทั้งเกมแล้ว การแก้พัซเซิ่ลหรือสำรวจแผนที่ยังนำไปสู่รางวัลที่มีความหมายบางอย่างเสมอ เป็นเกมที่รู้สึกว่าองค์ประกอบทั้งหมดเป็น “เนื้อ” โดยแทบไม่มี “น้ำ” ปนอยู่เลย พูดได้เต็มปากว่า “สนุกจนวางจอยไม่ลง” เลยทีเดียว


งานแสดง+พากย์เสียงที่เทพคู่ควร


เช่นเดียวกับในด้านเกมเพลย์ ข้อปรับปรุงในด้านการนำเสนอของ GoW: Ragnarok ไม่ได้มาในรูปแบบของการยกระดับคุณภาพกราฟิกซะทีเดียว (เพราะเกมยังวางจำหน่ายสำหรับ PS4 ด้วย) แต่เน้นการเพิ่มปริมาณแทน ซึ่งในบริบทนี้ก็หมายถึงความหลากหลายของสภาพแวดล้อมที่ผู้เล่นจะได้ค้นพบตลอดการสำรวจภพทั้ง 9 นั่นเอง อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่าในแผนที่แต่ละภพจะมีพื้นที่กว้างให้ผู้เล่นได้สำรวจ ซึ่งก็เปิดโอกาสให้ผู้พัฒนาสามารถนำเสนอฉากทัศน์ที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นป่ารกทึบของวานาไฮม์ไปจนถึงทะเลทรายที่ปกคลุมไปด้วยซากปรักหักพังของอัลฟ์ไฮม์มั่นใจได้ว่า GoW: Ragnarok จะมีอะไรเจ๋ง ๆ ให้ผู้เล่นได้ค้นพบมากกว่าที่ผ่านมาอย่างแน่นอน




สภาพแวดล้อมในเกมไม่ใช่องค์ประกอบเดียวที่ถูกทำให้หลากหลายมากขึ้น การเดินทางไปตามภพต่าง ๆ ของเครโทสและอเทรอัสยังพาพวกเขาไปพบกับตัวละครในตำนานนอร์สมากหน้าหลายตาด้วยกัน ซึ่งก็ทำให้ผู้พัฒนาได้มีโอกาสตีความและออกแบบตัวละครเหล่านี้ใหม่ในแบบของพวกเขาเอง ทำให้ผู้เล่นได้มีโอกาสพบกับทั้งสัตว์วิเศษและสถานที่อันน่ามหัศจรรย์มากมาย ที่ล้วนมีความหมายในภาพใหญ่ของเหตุการณ์ในเกมให้มีมิติมากขึ้น และยังช่วยสื่อถึงธีมที่เกมพยายามนำเสนอได้โดยรู้สึกเป็นเนื้อเดียวกับเนื้อเรื่องหลัก การค้นพบตัวละครหรือสถานที่เหล่านี้ระหว่างที่สำรวจจึงทำให้การเดินทางของตัวเอกทั้งสองให้ความรู้สึกของการผจญภัยอย่างแท้จริง




แต่แม้ว่าคุณภาพกราฟิกและการออกแบบโลกของ Ragnarok จะยอดเยี่ยมเพียงใด ดาวเด่นของเกมในด้านการนำเสนอคงหนีไม่พ้นการแสดงและพากย์เสียงตัวละครในเกม ซึ่งอาจจะเป็นการแสดงและพากย์เสียงเกมระดับ AAA ที่ดีที่สุดในรอบหลายปีเลยสำหรับผู้เขียน แม้ว่ากราฟิกหน้าตาตัวละครอาจไม่สมจริงไปถึงรูขุมขนเหมือนในเกมอย่าง Call of Duty: Modern Warfare II แต่ตัวละครทั้งหมดในเกม Ragnarok กลับสามารถแสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดอันลึกซึ้งผ่านทั้งภาษาพูดและภาษากายได้อย่างชัดเจนและมีมิติ โดยเครโทสเองเป็นตัวอย่างอันยอดเยี่ยมของคุณภาพการแสดงในเกมนี้ จากความสามารถในการแสดงอารมณ์มากมาย ทั้งความรัก ความเป็นห่วง ความเหน็ดเหนื่อย ความรำคาญ ความเสียใจ ผ่านสายตาและการขยับร่างกายเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้นตลอดทั้งเกม ซึ่งการที่เกมสามารถใช้ “ความเงียบ” เป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่องได้ดีพอ ๆ กับบทพูดน่าจะเป็นเครื่องชีวัดที่ดีถึงคุณภาพของกราฟิกตัวละครในเกม ถ้าจะบอกว่าการแสดงและการพากย์เสียงนี่แหละคือสิ่งที่จะทำให้ God of War: Ragnarok กลายเป็นประสบการณ์ที่ถูกจดจำโดยเกมเมอร์ไปอีกนาน ก็คงไม่ใช่การพูดเกินจริงเลยซักนิดเดียว




ในด้านความเสถียร ผู้เขียนได้เล่นเกมบนคอนโซล PlayStation 5 ในโหมด Performance เป็นหลัก ซึ่งก็สามารถมอบประสบการณ์เกมเพลย์แบบ 60FPS แบบลื่น ๆ ตลอดทั้งเกม แลกกับคุณภาพขิงพื้นผิว แสงสี และความคมชัดที่น้อยลง (ไม่สามารถทดสอบโหมด 120FPS และ 45FPS ได้) ซึ่งก็อย่างที่เคยบอกไปในพรีวิวอีกเช่นกันว่าโดยส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนรู้สึกว่าคุณภาพที่เพิ่มขึ้นจากโหมด Resolution ของเกมนั้นสังเกตได้น้อยกว่าเฟรมเรตที่ลดลงครึ่งหนึ่งอย่างแน่นอน แต่สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับผู้เล่นแต่ละคนว่าจะชอบแบบไหน และแม้ว่าผู้เขียนจะพบบั๊คที่ทำให้ไม่สามารถปฏิสัมพันธ์กับของในฉากได้เป็นครั้งคราว แต่ผู้พัฒนาก็ได้อัปเดตเกมไป 2-3 ครั้งตลอดช่วงที่รีวิวเกม และก็ดูเหมือนจะแก้ปัญหานี้ไปได้แล้ว เพราะผู้เขียนไม่พบปัญหาดังกล่าวอีกเลยจนจบเกม


คุณภาพคำแปลไทย


ในส่วนของคำแปลไทย ต้องยอมรับว่าด้วยบทพูดของเกม God of War: Ragnarok ที่เขียนมาค่อนข้างสละสลวย มีการผสมผสานทั้งศัพท์แสลงและการใช้คำ/ภาษาแบบคนยุคปัจจุบัน กับศัพท์โบราณที่ "เข้ากับ" ความเป็นแฟนตาซีของเกม ซึ่งจากการเล่นทดลองเล่นศัพท์ภาษาไทย แม้จะแปลความหมายได้ค่อนข้างถูกต้องอย่างน้อยซัก 80% แต่ในแง่ของอรรถรสและความคมคายของบทพูด ก็ไม่มั่นใจว่าคำแปลที่เห็นนี้จะสามารถสื่อนัยหรือมิติในคำพูดของตัวละครได้ดีแค่ไหน


ทั้งนี้ ผู้เขียนยอมรับว่าไม่ได้มีโอกาสทดลองเล่นเกมเป็นภาษาไทยมากนัก ส่วนหนึ่งเพราะผู้พัฒนาได้ขอความร่วมมือมาให้รอการอัปเดตเกมในภายหลังเสียก่อนค่อยทดลองใช้ภาษาไทย จึงไม่ได้มีเวลาเหลือให้ทดลองนัก โดยความเห็นในส่วนนี้อ้างอิงจากการทดลองเล่นเกมช่วงสั้น ๆ ราว 2 ชั่วโมงเท่านั้น


 

สรุป: ตอกย้ำสถานะเทพแห่งวงการ AAA


God of War: Ragnarok ถือเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงศักยภาพที่แท้จริงของเกม Singleplayer ระดับ AAA ที่สามารถมอบประสบการณ์เกมเพลย์ที่สนุกตั้งแต่ต้นจนจบ พร้อมกับกราฟิก เนื้อเรื่อง การออกแบบศิลป์ และการแสดงที่ล้วนอยู่ในระดับแนวหน้าของวงการทั้งสิ้น โดยไม่มีปัญหาหรือบั๊คมากวนใจเลย เกมอาจจะไม่ได้สมบูรณ์ทั้งหมด เพราะการจะหาเกมที่สมบูรณ์ไปทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ แต่ที่แน่ ๆ God of War: Ragnarok สมควรได้รับคะแนนที่สูงที่สุดที่ผู้เขียนพอจะให้ได้ เป็นอัญมณีเม็ดงามแห่งวงการเกมที่ทุกคนควรหาโอกาสสัมผัสด้วยตัวเองซักครั้ง


 

7
ข้อดี

เกมเพลย์แอคชันสุดมันส์ที่หลากหลายขึ้นกว่าเดิม

กราฟิกระดับแนวหน้า งดงามตามมาตรฐาน

เนื้อเรื่องยอดเยี่ยม มาพร้อมงานแสดง+พากย์ขั้นเทพ

มีเนื้อหาเน้น ๆ ให้ค้นพบตลอด แทบไม่มีจังหวะให้วางจอย

ข้อเสีย

ตัวร้ายแอบแบนไปหน่อย

10
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[Review] รีวิวเกม God of War: Ragnarok การเดินทางฝ่าโชคชะตาอันแสนล้ำค่าของพ่อลูกเทพสงคราม
03/11/2022

ในยุคสมัยปัจจุบัน ที่แฟนเกมเลือดร้อนจำนวนนับไม่ถ้วนบนโลกออนไลน์พร้อมจะรุมสาบแช่งผู้พัฒนาหน้าไหนก็ตามที่บังอาจดัดแปลงซีรีส์เกมอันเป็นที่บูชาของพวกเขา ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการตัดสินใจของผู้พัฒนา Sony Santa Monica Studio ในการยกเครื่องซีรีส์ลูกรักของพวกเขาอย่าง God of War ใหม่ทั้งหมด คงเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความกล้าหาญอยู่ไม่น้อย 


แต่ท้ายที่สุดแล้ว ความกล้าหาญของพวกเขาก็ถูกตอบแทนอย่างเต็มรัก เมื่อเกม God of War (2018) สามารถคว้าเอารางวัลเกมยอดเยี่ยมหลากหลายสาขาจากทั้งสำนักสื่อและเวทีประกาศรางวัล รวมถึงเวทีใหญ่ประจำปีอย่าง Game of the Year 2018 โดยผู้ที่ได้สัมผัสเกมล้วนกล่าวชมทั้งเกมเพลย์และการนำเสนอโลกและเนื้อเรื่อง จนหลายคนถึงขนาดยกให้ God of War (2018) เป็นหนึ่งในเกมที่ดีที่สุดของเจนเนอเรชันที่ผ่านมาเลยทีเดียว




ด้วยความสำเร็จอันท่วนท้นของเกมภาคก่อนหน้า ทำให้เกมภาคต่อจำเป็นต้องแบกรับความคาดหวังอันมหึมาเอาไว้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยหลังจากที่ใช้เวลากว่า 45 ชั่วโมงไปกับเกม God of War: Ragnarok ผู้เขียนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะบอกว่าเกมสามารถยกระดับประสบการณ์อันน่าทึ่งของภาคก่อนหน้าขึ้นไปได้ในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเกมเพลย์ กราฟิก และโดยเฉพาะเนื้อเรื่อง ซึ่งมีความซาบซึ้ง อบอุ่น กินใจอย่างคาดไม่ถึง เป็นการปิดฉาก(?)การเดินทางของสองพ่อลูกเทพสงครามอย่างสมเกียรติที่สุด เหนือความคาดหวังใด ๆ ที่ผู้เขียนมีก่อนจะได้เล่นเสียอีก 


ความเป็นมนุษย์ที่งดงามในความไม่สมบูรณ์


เนื้อเรื่องของเกม God of War: Ragnarok เริ่มขึ้นหลังเหตุการณ์ในเกมภาคก่อนราว 2-3 ปี ท่ามกลางความหนาวเหน็บของฤดูหนาวนิรันดร์ฟิมบุลวินเทอร์ (Fimbulwinter) อันเป็นผลมาจากการตายของบาลเดอร์ โดยสองพ่อลูกเทพสงครามเครโทสและอเทรอัสพยายามจะใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและสงบสุขในบ้านหลังน้อยกลางป่าของพวกเขา เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าที่ถูกลิขิตไว้โดยเหล่ายักษ์ในตอนจบของเกมภาคก่อนหน้านั่นเอง


เรื่องราวของเกมเริ่มขึ้นในขณะที่สองพ่อลูกเทพสงครามกำลังอยู่ระหว่างล่าสัตว์ ซึ่งแสดงออกถึงการเปลี่ยนแปลงของทั้งสองตัวละครตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ในขณะที่เครโทสดูจะละทิ้งความโกรธแค้นจากอดีตของตนเองเกือบจะทั้งหมดแล้ว ความแค้นนั้นกลับถูกทดแทนด้วยความอ่อนล้า อันเป็นผลมาจากการได้รู้ว่าตัวเองอาจต้องจากโลกนี้ไปในไม่ช้าตามคำทำนายของเหล่ายักษ์ ในขณะที่อเทรอัสดูจะมีความมั่นใจมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากพลังเทพที่เติบโตขึ้นของเขา พอ ๆ กับความมุทะลุตามประสาวัยรุ่นแตกหนุ่มของเขา โดยฉากเปิดนี้ยังมีการเชื่อมโยงบทพูดหรือการกระทำบางอย่างจากช่วงต้นเกมของภาคก่อนหน้าด้วย ยิ่งทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสองตัวละครได้ชัดเจนกว่าเดิม



หลังจากที่ทั้งสองเดินทางกลับมาจากการล่าสัตว์ ได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดบางอย่าง (ซึ่งเราจะไม่สปอย ให้ทุกคนไปเจอกันเอาเอง) ที่ชี้ชัดว่าแม้เครโทสเองจะไม่ต้องการเข้าไปพัวพันกับเหล่าเทพเอเซียร์ (Aesir) อีกต่อไป แต่เหล่าเทพยังมีธุระต้องสะสางกับเขาและลูกชายอยู่ และพวกเขาจะไม่หยุดจนกว่าจะได้สิ่งที่ต้องการ ส่งผลให้สองพ่อลูกเทพสงครามตัดสินใจออกเดินทางเพื่อตามหาเทียร์ เทพสงครามประจำถื่นผู้สาบสูญ เพื่อหาวิธีเปลี่ยนโชคชะตาที่กำหนดให้พวกเขาต้องต่อสู้กับเทพเอเซียร์หรือถ้าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโชคชะตาได้สำเร็จ ก็เพื่อเริ่มต้นสงคราม Ragnarok ตามคำทำนายและกำจัดโอดินกับพวกพ้องชาวแอสการ์ดให้สิ้นซาก 



แม้ว่าเรื่องราวของเกม God of War: Ragnarok จะเกี่ยวข้องกับการเดินทางข้ามมิติ และมีทั้งสัตว์วิเศษไปจนถึงเทพเจ้าหลากหลายองค์ให้เผชิญหน้า แต่จุดแข็งหลักของเนื้อเรื่องเกม God of War (2018) ก็ยังคงเป็นแก่นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพ่อกับลูกชาย ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความเป็นมนุษย์เป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้ผู้เล่นหลายคนรู้สึกซาบซึ้งและมีอารมณ์ร่วมไปกับเหตุการณ์ในเกมได้ โดยเกมภาค Ragnarok เองก็ยังรักษาจุดแข็งนี้เอาไว้ได้อย่างงดงาม ด้วยการนำเสนอปมขัดแย้งระหว่างตัวละครที่เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะมีประสบการณ์ร่วมไม่มากก็น้อย นั่นก็คือความต้องการของเครโทสที่จะปกป้องลูกชาย ซึ่งขัดแย้งกับความต้องการที่จะให้เขาได้เติบโตเป็นตัวของตัวเอง ในทางกลับกันอเทรอัสเอง แม้จะอยากก้าวเดินบนหนทางที่เลือกเอง แต่ในใจลึก ๆ ก็รู้ว่าตัวเองยังไม่พร้อมจะอยู่โดยไม่มีพ่อ ความกระอักกระอ่วนในใจก็ยังทำให้พวกเขาต่างไม่กล้าพูดความในใจให้อีกฝ่ายได้รู้ ซึ่งน่าจะเป็นความรู้สึกที่หลาย ๆ คงจะหาจุดร่วมได้ไม่ยาก การได้ติดตามความสัมพันธ์ที่ค่อย ๆ เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ของพ่อลูกทั้งสองผ่านคัตซีนและการสนทนาระหว่างสำรวจ จึงเป็นประสบการณ์ที่กินใจ ซาบซึ้ง และล้ำค่าอย่างแท้จริง ในแบบที่น้อยเกมมาก ๆ จะสามารถทำได้



เรื่องราวของพ่อลูกทั้งสอง ถูกเสริมด้วยเหล่าตัวละครเสริมอันน่าทึ่งจำนวนมาก ผู้ซึ่งต่างมีเรื่องราวของตนเองที่เข้ามาเกี่ยวโยงกับเครโทสและอเทรอัสมากกว่าในเกมภาคที่ผ่านมา ส่งผลให้ตัวละครเสริมแต่ละตัวได้มีช่วงเวลาเด่นของตนเองในเนื้อเรื่อง ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ก็มักจะวนกลับมาเสริมธีมต่าง ๆ ที่เกมพยายามนำเสนออย่างลึกซึ้งและมีความหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโชคชะตา ความแค้น การให้อภัย และที่สำคัญที่สุดคือครอบครัว นอกจากนี้ ตัวละครเพื่อนร่วมทางยังมักจะชวนเครโทสคุยหรือแซวกันไปมาตลอดเวลาในขณะที่สำรวจอยู่ โดยบทสนทนาเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้เล่นค้นพบสถานที่หรือสิ่งของบางอย่างในฉาก ซึ่งจะทำให้ตัวละครเพื่อนร่วมทางออกความเห็นหรือเล่าถึงที่มาที่ไปของสิ่งของ/สถานที่นั้น ๆ กลายเป็นอีกหนึ่งเหตุผลให้ผู้เล่นได้สำรวจแผนที่ของเกมอย่างละเอียด เพื่อรับฟังบทสนทนาอันยอดเยี่ยมของตัวละครในขณะที่พวกเขาถกเถียงกันเกี่ยวกับอะไรก็แล้วแต่ที่เราค้นพบ ถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมไม่น้อยเลยที่ผู้พัฒนาสามารถเขียนให้ตัวละครแทบทุกตัวในเกมรู้สึกมีมิติและมีเสน่ห์ได้ขนาดนี้ เพราะเอาเข้าจริงเกมมีตัวละครไม่น้อยหน้าภาพยนตร์รวมดาวใหญ่ ๆ ของจักรวาลมาร์เวลเลยทีเดียว


ตัวละครเสริมที่โดดเด่นเป็นพิเศษคงหนีไม่พ้นเฟรยาอดีตราชินีแห่งแอสการ์ด ที่แทบจะเสียสติจากความโกรธแค้นที่มีต่อเครโทสผู้ซึ่งหักคอบาลเดอร์ลูกชายของเธอในภาคที่แล้ว ส่งผลให้เธอสาบานว่าจะตามล้างแค้นเขาให้จงได้ โดย เฟรยาเปรียบเสมือนกระจกที่สะท้อนให้เห็นทั้งอดีตอันคาวเลือดของเครโทสและอนาคตของเขาถ้าต้องเสียอเทรอัส ไป และการได้เห็นเธอค่อย ๆ ละทิ้งความแค้นที่สุมอก และโอบรับการให้อภัยทั้งตนเองและผู้อื่น ก็เป็นอีกหนึ่งการเดินทางที่มีแก่นความเป็นมนุษย์อย่างมาก ซึ่งก็ทำให้เรื่องราวของเธอรู้สึกล้ำค่าและกินใจไม่แพ้ตัวละครหลักเลยทีเดียว 




ทั้งนี้ หากจะมีจุดอ่อนซักจุดในเนื้อเรื่องของเกม God of War: Ragnarok ก็คงจะเป็นตัวร้ายหลักของเรื่องอย่างโอดินที่แม้นักแสดงและนักพากย์จะถ่ายทอดตัวละครออกมาได้อย่างมีเสน่ห์ในทุก ๆ ฉากที่เขาปรากฏอยู่ แต่โอดินกลับเป็นตัวละครไม่กี่ตัวจริง ๆ ในเรื่องที่รู้สึกไม่ค่อยมีมิติเท่าที่ควร โดยเกมไม่สามารถให้คำอธิบายที่ดีพอกับการกระทำหลาย ๆ อย่างของเขา ที่ส่วนใหญ่ดูจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีต่อตัวเขาเองหรือเป้าหมายที่เขาพยายามไล่ตามอยู่ จนรู้สึกเหมือนว่าเขาเป็นเพียงเครื่องมือทางการเล่าเรื่อง (Plot Device) มากกว่าตัวละครที่มีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตนเอง เพื่อมอบข้ออ้างให้เหล่าฮีโร่ได้รวมพลังกันพิชิตในตอนท้ายเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าผิดหวังไม่น้อยเมื่อคิดว่าตัวละครอื่น ๆ แทบทุกตัวดูจะมีมิติตื้นลึกหนาบางของตนเอง แต่ตัวละครที่สำคัญอย่างตัวร้ายหลักกลับแบนเป็นแผ่นกระดาษแบบนี้



แต่อย่างที่กล่าวไป หัวใจหลักของเนื้อเรื่องในเกม God of War: Ragnarok ก็ยังคงเป็นเรื่องราวอันเปี่ยมไปด้วยความเป็นมนุษย์ที่ร้อยเรียงไปกับเหตุการณ์เหนือจินตนาการต่าง ๆ ซึ่งเกมสามารถนำเสนอจุดเด่นนี้ได้อย่างชัดเจน ในแบบที่มีเพียงสื่อวิดีโอเกมเท่านั้นที่ทำได้ ผลลัพธ์คือเนื้อเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนและอบอุ่นอย่างไม่คาดคิด เป็นประสบการณ์ที่จะเด่นชัดในความทรงจำของผู้เขียนไปอีกนาน 


แม้ไม่ใหม่ แต่ใหญ่และตื่นใจกว่าเดิม


ว่ากันตามตรง แก่นเกมเพลย์ของ GoW: Ragnarok แทบจะไม่ได้แตกต่างจากเกมภาคก่อนหน้าเลยซักนิดในแง่ของคุณภาพ เกมยังคงนำเสนอเกมเพลย์แอคชันอันดุเดือดสะใจ ควบคู่ไปกับการสำรวจและแก้พัซเซิลระหว่างทาง ซึ่งก็ประสบความสำเร็จมาแล้วในภาคก่อนหน้า โดยแทนที่จะไปยุ่งกับสิ่งที่ยังใช้ได้ดีอยู่แล้ว ผู้พัฒนา Sony Santa Monica เลือกที่จะทำตามวลีฝรั่งที่ว่า “ปริมาณก็เป็นคุณภาพในตัวของมันเอง” ด้วยการเพิ่มความหลากหลายลงไปในแทบทุกองค์ประกอบของเกมเพลย์เลยทีเดียว


ในส่วนของการสำรวจ ในขณะที่เกมภาคก่อนหน้าจะมีแผนที่กว้าง ๆ ให้สำรวจได้เพียงไม่กี่แผนที่ เกมภาค Ragnarok ได้เปิดให้ผู้เล่นสามารถเดินทางไปยังภพทั้ง 9 ได้อย่างอิสระประมาณหนึ่ง ซึ่งแต่ละภพก็จะมีพื้นที่กว้างที่สามารถสำรวจได้ในระดับที่ต่างกันไป โดยแม้ว่าการต่อสู้ส่วนใหญ่จะยังคงเกิดขึ้นในพื้นที่แคบ ๆ ที่มีลักษณะเหมือน “ดันเจียน” ที่ค่อนข้างเป็นเส้นตรง ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ตามแผนที่ การออกแบบแผนที่ให้เปิดกว้างมากขึ้นทำให้เกมเพลย์การสำรวจของ Ragnarok เป็นประสบการณ์ที่เพลิดเพลินเป็นอย่างมาก เพราะผู้พัฒนาได้ซุกซ่อนสมบัติ ของสะสม พัซเซิล ไปจนถึงภารกิจและบอสลับอยู่ในแทบทุกทางแยกที่พบเจอ ในระดับที่ว่าไม่ว่าจะเลือกเดินไปทางไหนก็มีอะไรให้เก็บหรือค้นพบเสมอ และทำให้การสำรวจในเกมรู้สึกมีความหมาย ต่างจากหลาย ๆ เกมที่บางครั้งการสำรวจกลับทำให้รู้สึกเสียเวลามากกว่า



ในด้านการต่อสู้ ทักษะพื้นฐานทั้งหมดของเครโทสจากเกมภาคก่อนหน้าได้ถูกนำมาไว้ในเกมภาคนี้เกือบทั้งหมด โดยการต่อสู้จะยังเน้นการร้อยเรียงท่าโจมตีเบา-หนัก การโจมตีระยะไกล และท่าเวทมนต์ Runic ต่าง ๆ เข้ากับการหลบหลีก ป้องกัน หรือปัดป้องการโจมตีของศัตรู ซึ่งความแตกต่างระหว่างเกม Ragnarok และภาคก่อนหน้าส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบของความหลากหลายมากกว่า ไม่ว่าจะจากการที่ผู้เล่นได้รับอาวุธ Blades of Chaos ของเครโทสมาตั้งแต่เริ่มเกม ซึ่งก็ทำให้เกมเพลย์ในช่วงต้นเกมหลากหลายขึ้นแล้วเมื่อเทียบกับภาคก่อน และจากชนิดของศัตรูที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก อย่างที่ผู้เขียนได้เคยกล่าวไปในบทความพรีวิวก่อนหน้านี้ว่าชนิดศัตรูที่พบในเกมเพลย์ 6 ชั่วโมงแรกของ Ragnarok นั้นแทบจะมากเท่ากับที่พบในเกมภาคก่อนทั้งเกมอยู่แล้ว และยิ่งผู้เล่นเดินทางสำรวจภพทั้ง 9 มากขึ้น ความหลากหลายที่ว่านี้ก็มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้กระทั่งในช่วงท้ายของเนื้อเรื่องเกือบ 40 ชั่วโมงถัดมา เกมก็ยังคงแนะนำศัตรูและมินิบอสใหม่ ๆ ให้ผู้เขียนได้วัดฝีมือด้วย ต่างจากในภาคก่อนหน้าที่ให้ผู้เล่นต่อสู้กับบอสโทรลถือซุงตัวเดิมซ้ำ ๆ กันนับสิบครั้งตลอดทั้งเกม 



เอาเข้าจริงแล้ว Ragnarok ก็มีการเพิ่มระบบเกมเพลย์ใหม่เอี่ยมของตนเองเข้ามา หลังจากที่เล่นเนื้อเรื่องจบไปแล้วน่าจะไม่ต่ำกว่า 60-70% ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่ก็รู้สึกเหมือนกันว่าถ้าเกมเพิ่มระบบดังกล่าวเข้ามาเร็วกว่านี้ซะได้ก็ดีเหมือนกัน เพื่อให้การต่อสู้ในช่วงใหญ่ ๆ ของเกมมีมิติใหม่เพิ่มขึ้นมามากกว่านี้ และเมื่อนำมารวมกับระบบการสำรวจที่มีกลิ่นอายของเกมแนว Metroidvania ที่ให้ผู้เล่นใช้ความสามารถใหม่ ๆ ที่ได้ตามเนื้อเรื่องเพื่อปลดล๊อคพื้นที่หรือแก้พัซเซิ่ลในฉาก หมายความว่าผู้เล่นที่ต้องการจะเก็บสมบัติหรือเควสลับทั้งหมดจะต้องสำรวจแผนที่เดิม ๆ ซ้ำกันหลายครั้ง (หรือไม่งั้นก็เก็บมาสำรวจทีเดียวทั้งหมดตอนท้ายเกม) ซึ่งก็อาจไม่ค่อยถูกใจผู้เล่นบางคน โดยเฉพาะเมื่อเกมไม่มีระบบมาร์กตำแหน่งของสมบัติหรือพัซเซิ่ลเพื่อย้อนกลับมาสำรวจภายหลังได้



แม้จะไม่ได้นำเสนออะไรที่รู้สึก “ใหม่” ซะทีเดียว แต่เกมเพลย์ของ God of War: Ragnarok ก็อัดแน่นไปด้วยคุณสมบัติอันสำคัญยิ่งของเกม นั่นก็คือ “ความสนุก” นั่นเอง นอกจากการต่อสู้ในเกมจะดุเดือดท้าทายตลอดทั้งเกมแล้ว การแก้พัซเซิ่ลหรือสำรวจแผนที่ยังนำไปสู่รางวัลที่มีความหมายบางอย่างเสมอ เป็นเกมที่รู้สึกว่าองค์ประกอบทั้งหมดเป็น “เนื้อ” โดยแทบไม่มี “น้ำ” ปนอยู่เลย พูดได้เต็มปากว่า “สนุกจนวางจอยไม่ลง” เลยทีเดียว


งานแสดง+พากย์เสียงที่เทพคู่ควร


เช่นเดียวกับในด้านเกมเพลย์ ข้อปรับปรุงในด้านการนำเสนอของ GoW: Ragnarok ไม่ได้มาในรูปแบบของการยกระดับคุณภาพกราฟิกซะทีเดียว (เพราะเกมยังวางจำหน่ายสำหรับ PS4 ด้วย) แต่เน้นการเพิ่มปริมาณแทน ซึ่งในบริบทนี้ก็หมายถึงความหลากหลายของสภาพแวดล้อมที่ผู้เล่นจะได้ค้นพบตลอดการสำรวจภพทั้ง 9 นั่นเอง อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่าในแผนที่แต่ละภพจะมีพื้นที่กว้างให้ผู้เล่นได้สำรวจ ซึ่งก็เปิดโอกาสให้ผู้พัฒนาสามารถนำเสนอฉากทัศน์ที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นป่ารกทึบของวานาไฮม์ไปจนถึงทะเลทรายที่ปกคลุมไปด้วยซากปรักหักพังของอัลฟ์ไฮม์มั่นใจได้ว่า GoW: Ragnarok จะมีอะไรเจ๋ง ๆ ให้ผู้เล่นได้ค้นพบมากกว่าที่ผ่านมาอย่างแน่นอน




สภาพแวดล้อมในเกมไม่ใช่องค์ประกอบเดียวที่ถูกทำให้หลากหลายมากขึ้น การเดินทางไปตามภพต่าง ๆ ของเครโทสและอเทรอัสยังพาพวกเขาไปพบกับตัวละครในตำนานนอร์สมากหน้าหลายตาด้วยกัน ซึ่งก็ทำให้ผู้พัฒนาได้มีโอกาสตีความและออกแบบตัวละครเหล่านี้ใหม่ในแบบของพวกเขาเอง ทำให้ผู้เล่นได้มีโอกาสพบกับทั้งสัตว์วิเศษและสถานที่อันน่ามหัศจรรย์มากมาย ที่ล้วนมีความหมายในภาพใหญ่ของเหตุการณ์ในเกมให้มีมิติมากขึ้น และยังช่วยสื่อถึงธีมที่เกมพยายามนำเสนอได้โดยรู้สึกเป็นเนื้อเดียวกับเนื้อเรื่องหลัก การค้นพบตัวละครหรือสถานที่เหล่านี้ระหว่างที่สำรวจจึงทำให้การเดินทางของตัวเอกทั้งสองให้ความรู้สึกของการผจญภัยอย่างแท้จริง




แต่แม้ว่าคุณภาพกราฟิกและการออกแบบโลกของ Ragnarok จะยอดเยี่ยมเพียงใด ดาวเด่นของเกมในด้านการนำเสนอคงหนีไม่พ้นการแสดงและพากย์เสียงตัวละครในเกม ซึ่งอาจจะเป็นการแสดงและพากย์เสียงเกมระดับ AAA ที่ดีที่สุดในรอบหลายปีเลยสำหรับผู้เขียน แม้ว่ากราฟิกหน้าตาตัวละครอาจไม่สมจริงไปถึงรูขุมขนเหมือนในเกมอย่าง Call of Duty: Modern Warfare II แต่ตัวละครทั้งหมดในเกม Ragnarok กลับสามารถแสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดอันลึกซึ้งผ่านทั้งภาษาพูดและภาษากายได้อย่างชัดเจนและมีมิติ โดยเครโทสเองเป็นตัวอย่างอันยอดเยี่ยมของคุณภาพการแสดงในเกมนี้ จากความสามารถในการแสดงอารมณ์มากมาย ทั้งความรัก ความเป็นห่วง ความเหน็ดเหนื่อย ความรำคาญ ความเสียใจ ผ่านสายตาและการขยับร่างกายเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้นตลอดทั้งเกม ซึ่งการที่เกมสามารถใช้ “ความเงียบ” เป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่องได้ดีพอ ๆ กับบทพูดน่าจะเป็นเครื่องชีวัดที่ดีถึงคุณภาพของกราฟิกตัวละครในเกม ถ้าจะบอกว่าการแสดงและการพากย์เสียงนี่แหละคือสิ่งที่จะทำให้ God of War: Ragnarok กลายเป็นประสบการณ์ที่ถูกจดจำโดยเกมเมอร์ไปอีกนาน ก็คงไม่ใช่การพูดเกินจริงเลยซักนิดเดียว




ในด้านความเสถียร ผู้เขียนได้เล่นเกมบนคอนโซล PlayStation 5 ในโหมด Performance เป็นหลัก ซึ่งก็สามารถมอบประสบการณ์เกมเพลย์แบบ 60FPS แบบลื่น ๆ ตลอดทั้งเกม แลกกับคุณภาพขิงพื้นผิว แสงสี และความคมชัดที่น้อยลง (ไม่สามารถทดสอบโหมด 120FPS และ 45FPS ได้) ซึ่งก็อย่างที่เคยบอกไปในพรีวิวอีกเช่นกันว่าโดยส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนรู้สึกว่าคุณภาพที่เพิ่มขึ้นจากโหมด Resolution ของเกมนั้นสังเกตได้น้อยกว่าเฟรมเรตที่ลดลงครึ่งหนึ่งอย่างแน่นอน แต่สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับผู้เล่นแต่ละคนว่าจะชอบแบบไหน และแม้ว่าผู้เขียนจะพบบั๊คที่ทำให้ไม่สามารถปฏิสัมพันธ์กับของในฉากได้เป็นครั้งคราว แต่ผู้พัฒนาก็ได้อัปเดตเกมไป 2-3 ครั้งตลอดช่วงที่รีวิวเกม และก็ดูเหมือนจะแก้ปัญหานี้ไปได้แล้ว เพราะผู้เขียนไม่พบปัญหาดังกล่าวอีกเลยจนจบเกม


คุณภาพคำแปลไทย


ในส่วนของคำแปลไทย ต้องยอมรับว่าด้วยบทพูดของเกม God of War: Ragnarok ที่เขียนมาค่อนข้างสละสลวย มีการผสมผสานทั้งศัพท์แสลงและการใช้คำ/ภาษาแบบคนยุคปัจจุบัน กับศัพท์โบราณที่ "เข้ากับ" ความเป็นแฟนตาซีของเกม ซึ่งจากการเล่นทดลองเล่นศัพท์ภาษาไทย แม้จะแปลความหมายได้ค่อนข้างถูกต้องอย่างน้อยซัก 80% แต่ในแง่ของอรรถรสและความคมคายของบทพูด ก็ไม่มั่นใจว่าคำแปลที่เห็นนี้จะสามารถสื่อนัยหรือมิติในคำพูดของตัวละครได้ดีแค่ไหน


ทั้งนี้ ผู้เขียนยอมรับว่าไม่ได้มีโอกาสทดลองเล่นเกมเป็นภาษาไทยมากนัก ส่วนหนึ่งเพราะผู้พัฒนาได้ขอความร่วมมือมาให้รอการอัปเดตเกมในภายหลังเสียก่อนค่อยทดลองใช้ภาษาไทย จึงไม่ได้มีเวลาเหลือให้ทดลองนัก โดยความเห็นในส่วนนี้อ้างอิงจากการทดลองเล่นเกมช่วงสั้น ๆ ราว 2 ชั่วโมงเท่านั้น


 

สรุป: ตอกย้ำสถานะเทพแห่งวงการ AAA


God of War: Ragnarok ถือเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงศักยภาพที่แท้จริงของเกม Singleplayer ระดับ AAA ที่สามารถมอบประสบการณ์เกมเพลย์ที่สนุกตั้งแต่ต้นจนจบ พร้อมกับกราฟิก เนื้อเรื่อง การออกแบบศิลป์ และการแสดงที่ล้วนอยู่ในระดับแนวหน้าของวงการทั้งสิ้น โดยไม่มีปัญหาหรือบั๊คมากวนใจเลย เกมอาจจะไม่ได้สมบูรณ์ทั้งหมด เพราะการจะหาเกมที่สมบูรณ์ไปทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้ แต่ที่แน่ ๆ God of War: Ragnarok สมควรได้รับคะแนนที่สูงที่สุดที่ผู้เขียนพอจะให้ได้ เป็นอัญมณีเม็ดงามแห่งวงการเกมที่ทุกคนควรหาโอกาสสัมผัสด้วยตัวเองซักครั้ง


 


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header