GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
[Review] รีวิวเกม Ruined King: A League of Legends Story "JRPG ไซส์กระทัดรัดที่เพลินเกินคาด"
ลงวันที่ 22/11/2021

แฟนๆ ของเกม MOBA ยอดฮิตอย่าง League of Legends ได้รับเซอร์ไพรส์ครั้งใหญ่ไปเร็วๆ นี้ในงาน Riot Forge x Nintendo Switch Showcase ที่จัดขึ้นช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อผู้พัฒนา Riot Games ประกาศวางจำหน่ายเกมที่หลายคนรอคอยอย่าง Ruined King: A League of Legends Story ออกมาให้แฟนๆ ได้เล่นกันอย่างกระทันหันภายในงาน หลังจากที่ไม่ได้ปล่อยข่าวคราวอัปเดตมาซักพักใหญ่ๆ โดยเกมนี้ถือเป็นผลงานภายใต้ร่ม Riot Forge ที่ร่วมสร้างซีรีส์อนิเมชั่นสุดตระการตาอย่าง Arcane อีกด้วย

หลังจากที่เล่นเกม Ruined King จนจบเนื้อเรื่อง (และทำภารกิจเสริมทั้งหมด + เก็บอาวุธในตำนานให้ตัวละครทุกตัว ใช้เวลาทั้งสิ้นราว 40 ชั่วโมง) ต้องยอมรับว่าทั้ง Riot Forge และผู้พัฒนา Airship Syndicate ได้ดัดแปลงโลกและตัวละครของ League of Legends มาสู่เกม JRPG นี้ได้อย่างยอดเยี่ยม ทั้งระบบการต่อสู้ที่มีเอกลักษณ์น่าสนใจ ไปจนถึงเนื้อเรื่องและตัวละครที่เขียนมาอย่างเฉียบคมมีมิติ และยังรวมถึงการออกแบบสถานที่ต่างๆ ในเกม ที่เต็มไปด้วยความลับและปริศนาให้ผู้เล่นได้ค้นหาอยู่เสมอ จนบางครั้งก็รู้สึกว่า “วางไม่ลง” เลยทีเดียว

แม้จะมีบางจุดที่ยังปรับปรุงได้ในด้านการออกแบบระบบปลีกย่อยและในเรื่องของการแก้บั๊คต่างๆ โดยเฉพาะในเกมเวอร์ชั่น Nintendo Switch แต่ Ruined King: A League of Legends Story เป็นเครื่องพิสูจน์ชั้นยอดว่าแม้แต่ยักษ์อย่าง League of Legends ก็ยังเติบโตได้อีกมาก 


การเดินทางเพื่อปัดเป่าม่านหมอกแห่งอดีต

เรื่องราวของ Ruined King: A League of Legends Story จะตั้งอยู่ในเมือง Bilgewater และติดตามการเดินทางของกลุ่มฮีโร่จากจักรวาล League of Legends เพื่อหาทางยับยั้งการคืบคลานของ “หมอกสีดำ” ที่กระจายออกมาจากเกาะต้องสาป Shadow Isles ซึ่งนำพาเหล่าวิญญาณร้ายมาจู่โจมเหล่าผู้คนในเมืองอยู่เป็นระยะ พร้อมกับหยุดไม่ให้ราชาต้องสาป “Viego” (หรือ Ruined King) คืนชีพกลับมาอีกครั้งด้วย

ผู้เล่นจะต้องควบคุมกลุ่มตัวละครหลัก 6 ตัวจากเกม ที่ล้วนมีอดีตและจุดประสงค์ที่แตกต่างกันในการร่วมเดินทางครั้งนี้ โดยสิ่งที่ต้องชมคือตัวละครทุกตัวล้วนมี “ตัวตน” และอุปนิสัยที่ชัดเจนและแตกต่างกันมากๆ และสามารถรับ-ส่งบทกันอย่างคมคายได้ตลอดทั้งเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น “Sarah Fortune” ราชินีโจรสลัดแห่ง Bilgewater ผู้จมปลักกับความแค้น หรือ “Yasuo” นักดาบพเนจรที่วิ่งหนีความผิดพลาดในอดีต ตัวละครทุกตัวล้วนมี “ปม” หรือ “การยึดติด” บางอย่างที่ขับเคลื่อนการกระทำของพวกเขา ซึ่งช่วยเสริมมิติให้เรื่องราวการเดินทางครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี โดยเกมจะมีระบบฉากสนทนาระหว่างตัวละครให้ดูได้เมื่ออยู่ที่จุดพัก (คล้ายกับเกมตระกูล Tales of นั่นเอง) ซึ่งสามารถเปิดเผยความรู้สึกนึกคิดของตัวละครได้อีกทางด้วย

ในรีวิวซีรีส์ Arcane ของ GameFever ซึ่งเป็นผลงานใต้ร่ม Riot Forge เช่นเดียวกัน เราได้กล่าวชมการตัดสินใจของทีมงานเขียนบทในการใช้ “ตัวละคร” ในการนำเนื้อเรื่อง มากกว่าจะเป็นเหตุการณ์แฟนตาซีมหากาพย์ใหญ่โต เพราะเปิดโอกาสให้เล่าเรื่องราวที่ “เป็นมนุษย์” ได้มากกว่า ซึ่งคำชมนี้น่าจะสามารถใช้กับเรื่องราวส่วนใหญ่ของ Ruined King ได้เช่นเดียวกัน เพราะแม้ในภาพกว้างเนื้อเรื่องจะเกี่ยวกับการต่อสู้ระหว่างกลุ่มผู้กล้าและจอมมารอันชั่วร้าย แต่เหตุการณ์ระหว่างทางกลับถูกขับเคลื่อนด้วยเหตุผลของมนุษย์อย่างความแค้น ความกลัว ความเชื่อ หรือหน้าที่ ทำให้ผู้เล่นได้เข้าถึงตัวตนของตัวละครได้มากขึ้น ซึ่งก็ช่วยให้รู้สึกผูกพันธ์กับตัวละครแต่ละตัว และอยากติดตามเรื่องราวของพวกเขาต่อไปอย่างเป็นธรรมชาติ

ที่สำคัญกว่านั้นอีกคือการที่เลือกใช้ปม "ความเป็นมนุษย์" ที่เข้าถึงง่ายเช่นนี้ ทำให้เกม Ruined King (และซีรีส์ Arcane ก็ด้วย) สามารถติดตามได้ง่ายแม้จะไม่ได้คุ้นเคยกับโลกหรือตัวละครเหล่านี้มาก่อน เพราะสุดท้ายเกมก็นำเสนอพวกเขาเป็นเพียง "มนุษย์" มากกว่าจะถูกตีกรอบโดย "บทบาทในเกม" ของตัวละครเหล่านั้น

นอกจากนี้ เกมยังใช้ประโยชน์จาก “ความเป็นเกม” ในการเพิ่มมิติให้กับโลก Runeterra (World-Building) โดยรวมได้มากขึ้น ผ่านข้อความที่ผู้เล่นสามารถสะสมได้ในเกม รวมไปถึงภารกิจเสริม (และภารกิจลับ) ต่างๆ ที่มีให้ทำในเกม โดยหากจะต้องตำหนิซักเรื่อง คงเป็นการที่เกมมีภารกิจเสริมเหล่านี้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับเกม RPG ขนาดใหญ่ทั่วไป แต่ก็เป็นข้อตำหนิจาก “ความเสียดาย” ที่เกมไม่ได้มีอะไรให้ทำหรือค้นหาเยอะกว่านี้ มากกว่าจะเป็นความผิดพลาดของตัวเกมซะเอง


JRPG สายลูกครึ่งตะวันตกที่ทั้งใหม่และคุ้นเคยในเวลาเดียวกัน

แม้จะมีองค์ประกอบและโครงสร้างแบบเกม RPG ตะวันตกจำพวก Divinity: Original Sin อยู่บ้าง โดยเฉพาะในด้านการเดินทางและสำรวจ แต่ระบบต่อสู้เทิร์นเบสของ Ruined King กลับมีกลิ่นอายของ JRPG อย่างเข้มข้น ซึ่งคนที่เคยเล่นผลงานก่อนหน้าของผู้พัฒนา Airship Syndicate อย่าง Battle Chasers: Nightwar มาก่อนจะเห็นได้ว่าระบบเกมหลายๆ อย่างแทบจะยกมาจากเกมนั้นหมดเลย

ในการต่อสู้ ผู้เล่นจะสามารถเลือกตัวละครมาร่วมปาร์ตี้ได้ทีละ 3 ตัว (จาก 6) ซึ่งแต่ละตัวก็จะมีจุดเด่นแตกต่างกันไป การต่อสู้จะดำเนินไปแบบเทิร์นเบสที่มีความคล้ายกับระบบ ATB ของเกม Final Fantasy หลายๆ ภาค โดยตรงด้านล่างจอจะมีแถบไทม์ไลน์ที่มีไอคอนตัวละครวิ่งอยู่ และเมื่อไอคอนของใครวิ่งมาถึงเส้นก็จะถือว่าเป็นเทิร์นของตัวละครนั้น ซึ่งผู้เล่นจะสามารถเลือกใช้สกิลได้สองชนิดคือ ‘Instant’ และ ‘Lane’

สำหรับสกิลชนิด ‘Instant’ จะเป็นสกิลที่กดแล้วออกทันที เปรียบได้กับการโจมตีปกติของตัวละครแต่ละตัว ในขณะที่สกิล ‘Lane’ จะเป็นสกิลพิเศษที่มีเวลาร่าย ซึ่งเมื่อกดใช้จะต้องรอให้ไอคอนของตัวละครวิ่งกลับมาถึงเส้นอีกครั้งจึงจะปล่อยสกิลออกมา ทำให้การต่อสู้จำเป็นต้องใช้การวางแผนมากกว่าเกม JRPG เทิร์นเบสทั่วไป เพราะต้องคำนึงถึงตำแหน่งของตัวละครและศัตรูบนไทม์ไลน์ตลอดเวลา และเลือกว่าจะโจมตีทันที หรือจะรอร่ายสกิลที่รุนแรงกว่า แต่อาจเสี่ยงโดนศัตรูตบสวนก่อนสกิลจะออกได้ ที่สำคัญคือศัตรูในเกมนี้หลายตัวมักตีแรงและเลือดเยอะ แถมบางตัวยังมีเงื่อนไขที่ถ้าไม่ทำตามก็อาจกวาดตี้ลงไปกองได้เลยอีกต่างหาก


นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถควบคุมระยะเวลาในการร่ายของสกิลได้ประมาณหนึ่งผ่านระบบ ‘Lane’ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเกมนั่นเอง ไทม์ไลน์บอกลำดับเทิร์นของเกมจะถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนหรือ “เลน” ประกอบไปด้วย Speed, Balance, Power โดยในการร่ายสกิลชนิด ‘Lane’ อะไรก็แล้วแต่ จะสามารถเลือกได้ว่าจะร่ายในเลนไหน ถ้าร่ายในเลน Speed จะทำให้สกิลเบาลงแต่ออกเร็วขึ้น ในขณะที่เลน Power จะทำให้สกิลแรงขึ้นแต่ร่ายนานขึ้นไปด้วย ศัตรูบางชนิดยังมีความสามารถพิเศษที่บังคับให้ต้องใช้การโจมตีจากเลนบางเลนเท่านั้น หรืออาจวางกับดักเอาไว้ในเลนบางเลนเพื่อยับยั้งไม่ให้เราร่ายสกิลในเลนนั้นได้ด้วย ซึ่งระบบทั้งหมดนี้รวมกันทำให้การต่อสู้แต่ละครั้งมีความท้าทายและใช้การวางแผนมากกว่าเกม JRPG เทิร์นเบสทั่วไปพอสมควร

การวางแผนของเกมยังครอบคลุมออกมานอกการต่อสู้ ไปถึงระบบการพัฒนาตัวละครด้วย โดยเช่นเดียวกับในเกม League of Legends ตัวละครแต่ละตัวจะมีพัฒนาการสองแบบคือ ‘Ability Point’ และ ‘Runes’ นั่นเอง ซึ่งจะได้รับอย่างได้อย่างหนึ่ง (หรือทั้งคู่) ทุกครั้งที่เลเวลของตัวละครเพิ่มขึ้นถึงจุดที่กำหนด โดย Ability Point จะใช้เพื่ออัปเกรดสกิลของตัวละครเป็นรายสกิลไป เช่นเพิ่มความเสียหายที่ทำหรือทำให้ศัตรูติดสถานะต่างๆ เมื่อถูกสกิลนี้โจมตี ในขณะที่ Runes อาจเปรียบได้กับระบบ Perk ในเกมอื่นๆ ที่จะมอบเอฟเฟกต์ติดตัวต่างๆ ให้ตัวละคร เช่น Rune หนึ่งอาจเพิ่มโอกาสในการโจมตีติดคริติคอล หรือเพิ่มเอฟเฟกต์ตีดูดเลือด (Lifesteal) เป็นต้น

ข้อดีของระบบสกิลในเกมนี้คือการที่ผู้เล่นสามารถเลือก “ปั้น” ฮีโร่แต่ละตัวได้หลากหลายพอสมควร ตัวละคร Braum ของคุณจะเป็นแทงค์สุดถึกทนที่สามารถสร้างบาเรียป้องกันให้เพื่อนในทีมได้ หรือทำให้เขากลายเป็นนักสู้แถวหน้าที่เน้นการสะท้อนความเสียหายกลับคืนสู่ศัตรูก็ได้ หรืออย่างตัวละคร Pyke ที่สามารถปั้นเป็นยอดนักฆ่าที่เน้นปลิดชีพศัตรูในดาบเดียว หรือเป็นตัวป่วนที่เน้นแปะสถานะผิดปกติใส่ศัตรูรัวๆ ก็ได้ โดยสกิลต่างๆ ของตัวละครยังสามารถเกื้อหนุนกันไปมาได้เป็นอย่างดี ความสนุกอย่างหนึ่งของเกมจึงเป็นการหาคอมโบทีมและอัปเกรดที่ลงตัวสำหรับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไปอีกด้วย

ผลลัพธ์คือเกม JRPG ที่มีโครงสร้างคุ้นเคย แต่มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายที่รวมกันทำให้เกมรู้สึกแปลกใหม่กว่าเกม JRPG กระแสหลักหลายๆ เกม และต้องใช้การคิดวางแผนเสมอแม้กระทั่งในการต่อสู้กับศัตรูลูกกระจ๊อกทั่วไป


โลกของเกมที่แม้จะไม่ใหญ่ แต่มีอะไรมากกว่าที่เห็น

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น Ruined King ยังคงเป็นเกมที่มีกลิ่นอายของตะวันตกอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะในส่วนของการเดินทางและการสำรวจแผนที่เพื่อทำภารกิจเสริม โดยแม้ว่าเกมจะมีปริศนาและความลับให้ตามหา แถมโลกของเกมยังออกแบบมาได้อย่างมีสีสันและชีวิตชีวา แต่ก็มีหลายองค์ประกอบรวมกันที่ทำให้เกมรู้สึก “เก่า” อย่างช่วยไม่ได้เมื่อเทียบกับเกมยุคปัจจุบัน และอาจสร้างความหงุดหงิดรำคาญใจให้ผู้เล่นได้ไม่มากก็น้อย

ข้อดีของระบบการสำรวจในเกม Ruined King คือการที่เกมซุกซ่อนความลับเอาไว้ในมุมที่คาดไม่ถึงอยู่เสมอ ทำให้การสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ ในเกมรู้สึกตื่นเต้นและมีจุดหมายทุกครั้ง แถมความลับหลายๆ อย่างจำเป็นต้องใช้การอ่านและศึกษาข้อมูลที่เกมเสนอให้อย่างจริงจังจึงจะไขได้ ทำให้ผู้เล่นรู้สึกเหมือนตัวเองได้ “ค้นพบ” คำตอบด้วยตัวเองมากกว่าจะเป็นแค่การวิ่งตามหมุดไปเรื่อยๆ ในเกม RPG หลายเกม


นอกจากนี้ โลกของเกมยังตอบสนองต่อทางเลือกของผู้เล่นในภารกิจเสริมเหล่านี้ด้วย ซึ่งแม้จะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยยะสำคัญนัก แต่ก็ช่วยทำให้โลกของเกมรู้สึก “มีชีวิต” ราวกับว่า NPC ในเกมก็ดำเนินชีวิตของตัวเองไปเรื่อยๆ ในขณะที่ผู้เล่นออกเดินทางอยู่ ซึ่งจุดนี้เป็นข้อดีของเกม RPG สายตะวันตกที่เกมนำมาใช้ได้อย่างยอดเยี่ยม

แต่ในขณะเดียวกัน เกมก็มีการออกแบบหลายๆ จุดที่ทำให้รู้สึกน่าหงุดหงิดอยู่บ้าง ยกตัวอย่างเช่นการที่เกมไม่มีระบบ Fast Travel (มีแบบจำกัดมากๆ) ซึ่งเมื่อนำมารวมกับระบบภารกิจเสริมที่มักให้ผู้เล่นย้อนกลับไปสำรวจพื้นที่เก่าๆ ที่ผ่านมาแล้วบ่อยครั้ง ทำให้การเดินทางในเกมนี้กินเวลามากกว่าที่จำเป็นไปมาก แถมตัวละครก็ยังเดินช้าเหลือเกิน แม้กระทั่งในขณะที่วิ่งอยู่ก็ยังช้า จนบางครั้งก็อดรำคาญไม่ได้เมื่อจำเป็นต้องย้อนกลับไปสำรวจพื้นที่เหล่านี้

นอกจากนี้ แม้จะไม่มีการต่อสู้แบบ Random Encounter (เจอศัตรูแบบสุ่มเหมือนเกม JRPG คลาสสิค) แต่ศัตรูในเกมก็หูตาไวมากๆ ยืนอยู่อีกฟากห้องก็ยังอุตส่าห์เห็น และตราบใดที่ผู้เล่นไม่สามารถวิ่งหนีออกจากระยะสายตาของศัตรูได้ทัน ศัตรูจะวิ่งไล่กวดเราทั่วแผนที่ได้เลยโดยไม่ยอมแพ้ หมายความว่าบ่อยครั้งเวลาย้อนกลับไปสำรวจพื้นที่เก่าๆ ก็จะต้องต่อสู้กับศัตรูไปด้วยตลอดทางอย่างหลีกเลี่ยงแทบไม่ได้ ยิ่งช่วงท้ายๆ เกมที่ศัตรูเริ่มเก่งขึ้น ยิ่งทำให้การเดินทางเก็บภารกิจเสริมมีความน่าปวดหัวอยู่ไม่น้อย

อีกระบบที่รู้สึกเก่ามากๆ คือการที่ผู้เล่นไม่สามารถสับเปลี่ยนตัวละครในปาร์ตี้ได้ยกเว้นจะเจอจุดพักเท่านั้น แม้กระทั่งเวลาอยู่ในเมือง ซึ่งน่าหงุดหงิดเวลาที่เจอปริศนาหรือพัซเซิ่ลในฉากที่ต้องใช้ความสามารถพิเศษของตัวละครตัวใดตัวหนึ่งโดยเฉพาะในการแก้ และทำให้การทดสอบทีมหรือคอมโบใหม่ๆ ทำได้ลำบากกว่าที่ควรจะเป็นเพราะต้องคอยวิ่งไปกลับระหว่างจุดเซฟที่อยู่แสนไกลเพื่อทดสอบตัวละคร

นอกจากปัญหาที่กล่าวไป ยังมีองค์ประกอบย่อยๆ อื่นๆ ที่ถ้าปรับปรุงได้จะทำให้เกมสนุกขึ้นกว่านี้อีก เช่นการที่เกมไม่มีแผนที่มินิแมพ ทำให้ต้องคอยหยุดเปิดแผนที่อยู่เนืองๆ ตลอดระยะเวลาที่เล่น หรือการที่ไม่สามารถกดข้ามคัตซีนได้ (สำหรับกรณีที่ต้องสู้บอสที่มีคัตซีนขั้นหลายครั้ง) รวมไปถึงระบบ Auto-Save ของเกมที่ดูจะทำงานแบบไม่ค่อยสม่ำเสมอ ทำให้ผู้เล่นต้องคอยเซฟเกมเองบ่อยๆ ไม่งั้นเวลาตายก็เตรียมเล่นเกมใหม่จากการเซฟครั้งล่าสุดได้เลย โดยองค์ประกอบทั้งหมดนี้แม้จะไม่ได้ส่งผลเสียต่อ “แก่นหลัก” ของเกมเท่าไหร่นัก แต่ก็ทำให้ประสบการณ์การเล่นเสียไปบ้างเหมือนกัน และถ้าแก้ได้ก็จะทำให้ประสบการณ์โดยรวมมีความราบรื่นกว่านี้เยอะ


ภาพสวยสบายตา กับราคาด้านเทคนิค

เช่นเดียวกับในซีรีส์ Arcane ที่เรากล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ ต้องกล่าวชมวิสัยทัศน์ในการ “สร้างโลก” ของ Riot มากๆ แม้จะไม่ใช่เกมทุนใหญ่ระดับร้อยล้าน แถมยังพัฒนาด้วยทีมงานขนาดเล็ก แต่ Ruined King ก็ยังสามารถนำเสนอกราฟฟิกในเกมออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม โดยผู้พัฒนา Airship Syndicate สามารถตีความสถานที่ต่างๆ ในเกมออกมาได้อย่างน่าสนใจ ทุกซอกทุกมุมมีรายละเอียดที่บอกเล่าถึงเรื่องราวของสถานที่นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเมืองโจรสลัด Bilgewater ที่บางพื้นที่ดูจะสร้างมาจากเรืออัปปางขนาดใหญ่หลายๆ ลำประกอบกัน หรืออย่างโซน Shadow Isles ก็ล้วนอัดแน่นไปด้วยซากแห่งอดีตที่บ่งบอกถึงอารยธรรมที่สาบสูญของผู้คนก่อนที่ราชามาร Viego จะทำลายทุกสิ่ง ทุกกระเบียดนิ้วของเกมถูกอัดแน่นไปด้วยรายละเอียดที่ช่วยในการ “ขยายโลก” (World-Building) ของเกมให้มีมิติและประวัติศาสตร์ของตัวเอง


จากการทดลองเล่นเกมทั้งบน Nintendo Switch และ PC (ผู้เขียนเริ่มเล่นบน Switch แล้วยืมไอดีเพื่อนเล่นใน PC) สิ่งหนึ่งที่ต้องย้ำกับท่านผู้อ่านทุกท่านคือถ้าเลี่ยงได้ ให้เลี่ยงการเล่นเกมนี้บน Nintendo Switch ไปก่อนจนกว่าผู้พัฒนาจะออกแพทช์แก้ตัวเกมมากกว่านี้ เพราะแม้ภาพกราฟฟิกแนวการ์ตูนของเกมจะทำออกมาได้สวยงามตามมาตรฐาน แต่ก็แลกมาด้วยปัญหาด้านเทคนิคมากมายที่ส่งผลลบต่อประสบการณ์การเล่นเกมอย่างใหญ่หลวง

อย่างแรกคือการที่เฟรมเรตของ Switch มักจะตกลงทุกครั้งที่เดินผ่านสถานที่บางแห่ง หรือกระทั่งในแผนที่นั้นทั้งแผนที่เลยก็มี ซึ่งแน่นอนว่าสร้างความลำบากในการวิ่งหลบศัตรูหรือกับดักในฉาก การที่เกมแลคมากๆ ยังนำไปสู่ปัญหาบั๊คอื่นๆ ได้อีก เช่นกดคุยกับ NPC แล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น พัซเซิ่ลไม่ทำงาน หรือบางทีก็อาจถึงขั้นส่งเควสไม่ผ่านไปเลยก็มี (ไอเทมหายไปจากกระเป๋าแต่เควสไม่ผ่าน) ซึ่งในกรณีของผู้เขียนเป็นเควสเนื้อเรื่องด้วย แต่โชคดีที่เซฟไว้ก่อนหน้านั้นพอดีเลยโหลดเซฟใหม่มาแก้ได้ ถ้าใครไม่ได้เซฟมาก่อนและเจอแบบนี้เข้าไปก็อาจต้องย้อนกลับไปเล่นไกลเลยก็เป็นได้

การเล่นเกมใน PC (และเชื่อว่าใน PlayStation หรือ Xbox ด้วย) ให้ประสบการณ์ที่ดีกว่าก็จริง แต่ก็ใช่ว่าจะสมบูรณ์แบบ เพราะเกม Ruined King ยังมีบั๊คยิบย่อยประปรายอยู่เต็มไปหมด ซึ่งส่วนใหญ่จะสร้างความรำคาญมากกว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการเล่น ในกรณีของผู้เขียนที่ต่อจอย Xbox One เล่นใน PC มักจะพบปัญหาแปลกๆ ที่ทำให้ไม่สามารถกดปุ่ม “ลง” บนจอยเกมได้ในขณะที่ต่อสู้ ซึ่งก็ทำให้ไม่สามารถเลือกเป้าหมายการโจมตีได้ไปด้วย สุดท้ายก็ต้องเปลี่ยนมาใช้เมาส์เล่นจึงจะเลือกเป้าหมายได้ตามปกติ ซึ่งต้องเข้า-ออกเกมใหม่จึงจะแก้ปัญหานี้ได้ หรือปัญหาเควสที่ทำเสร็จไปแล้วยังค้างอยู่ในหน้าต่างรวมเควส หรือปัญหาที่จู่ๆ ก็พูดกับ NPC ไม่ได้ โดยทั้งหมดแก้ได้ด้วยการปิด-เปิดเกมใหม่จึงไม่ได้หนักหนานัก ถ้าพูดภาษาบ้านๆ ก็อาจบอกได้ว่าปัญหาเหล่านี้ “ทำให้ดูออกว่าเป็นเกมทุนต่ำ” นั่นเอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแก่นของเกมจะไม่ดีเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ หากคุณเป็นแฟนของแฟรนไชส์ League of Legends และ/หรือเป็นคนที่สนใจจะทำความรู้จักกับจักรวาลนี้มากขึ้น Ruined King: A League of Legends Story ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่จะให้คุณได้สัมผัสกับโลก Runeterra ในอีกรูปแบบหนึ่ง และเป็นเครื่องพิสูจน์ฝีมือในการสร้างโลกของ Riot ที่น่าสนใจและมีมิติไม่น้อยไปกว่าในซีรีส์ Arcane อันยอดเยี่ยมเลยทีเดียว เกมอาจจะยังมีจุดบกพร่องอยู่ไม่น้อย แต่ถ้ามองข้ามไปได้ สิ่งที่รอคุณอยู่คือเกม JRPG น้ำดีที่สร้างความเพลิดเพลินให้คุณได้ไม่น้อยไปกว่าเกมฟอร์มใหญ่หลายๆ เกมเลยทีเดียว

7
ข้อดี

ระบบต่อสู้สนุก ท้าทาย ใช้สมอง

เนื้อเรื่องและตัวละครยอดเยี่ยม มีมิติน่าติดตาม

กราฟฟิกสีสันสดใส มีเอกลักษณ์และสไตล์ของตัวเอง

โลกของเกมออกแบบมาได้น่าสนใจ มีอะไรให้ค้นหาตลอด

ข้อเสีย

บั๊คเยอะไปหน่อย

เกมค่อนข้างสั้น นอกจากเนื้อเรื่องมีอะไรให้ทำน้อย

ระบบหลายอย่างค่อนข้างเก่า เล่นแล้วรู้สึกติดขัดบ้าง

8
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[Review] รีวิวเกม Ruined King: A League of Legends Story "JRPG ไซส์กระทัดรัดที่เพลินเกินคาด"
22/11/2021

แฟนๆ ของเกม MOBA ยอดฮิตอย่าง League of Legends ได้รับเซอร์ไพรส์ครั้งใหญ่ไปเร็วๆ นี้ในงาน Riot Forge x Nintendo Switch Showcase ที่จัดขึ้นช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อผู้พัฒนา Riot Games ประกาศวางจำหน่ายเกมที่หลายคนรอคอยอย่าง Ruined King: A League of Legends Story ออกมาให้แฟนๆ ได้เล่นกันอย่างกระทันหันภายในงาน หลังจากที่ไม่ได้ปล่อยข่าวคราวอัปเดตมาซักพักใหญ่ๆ โดยเกมนี้ถือเป็นผลงานภายใต้ร่ม Riot Forge ที่ร่วมสร้างซีรีส์อนิเมชั่นสุดตระการตาอย่าง Arcane อีกด้วย

หลังจากที่เล่นเกม Ruined King จนจบเนื้อเรื่อง (และทำภารกิจเสริมทั้งหมด + เก็บอาวุธในตำนานให้ตัวละครทุกตัว ใช้เวลาทั้งสิ้นราว 40 ชั่วโมง) ต้องยอมรับว่าทั้ง Riot Forge และผู้พัฒนา Airship Syndicate ได้ดัดแปลงโลกและตัวละครของ League of Legends มาสู่เกม JRPG นี้ได้อย่างยอดเยี่ยม ทั้งระบบการต่อสู้ที่มีเอกลักษณ์น่าสนใจ ไปจนถึงเนื้อเรื่องและตัวละครที่เขียนมาอย่างเฉียบคมมีมิติ และยังรวมถึงการออกแบบสถานที่ต่างๆ ในเกม ที่เต็มไปด้วยความลับและปริศนาให้ผู้เล่นได้ค้นหาอยู่เสมอ จนบางครั้งก็รู้สึกว่า “วางไม่ลง” เลยทีเดียว

แม้จะมีบางจุดที่ยังปรับปรุงได้ในด้านการออกแบบระบบปลีกย่อยและในเรื่องของการแก้บั๊คต่างๆ โดยเฉพาะในเกมเวอร์ชั่น Nintendo Switch แต่ Ruined King: A League of Legends Story เป็นเครื่องพิสูจน์ชั้นยอดว่าแม้แต่ยักษ์อย่าง League of Legends ก็ยังเติบโตได้อีกมาก 


การเดินทางเพื่อปัดเป่าม่านหมอกแห่งอดีต

เรื่องราวของ Ruined King: A League of Legends Story จะตั้งอยู่ในเมือง Bilgewater และติดตามการเดินทางของกลุ่มฮีโร่จากจักรวาล League of Legends เพื่อหาทางยับยั้งการคืบคลานของ “หมอกสีดำ” ที่กระจายออกมาจากเกาะต้องสาป Shadow Isles ซึ่งนำพาเหล่าวิญญาณร้ายมาจู่โจมเหล่าผู้คนในเมืองอยู่เป็นระยะ พร้อมกับหยุดไม่ให้ราชาต้องสาป “Viego” (หรือ Ruined King) คืนชีพกลับมาอีกครั้งด้วย

ผู้เล่นจะต้องควบคุมกลุ่มตัวละครหลัก 6 ตัวจากเกม ที่ล้วนมีอดีตและจุดประสงค์ที่แตกต่างกันในการร่วมเดินทางครั้งนี้ โดยสิ่งที่ต้องชมคือตัวละครทุกตัวล้วนมี “ตัวตน” และอุปนิสัยที่ชัดเจนและแตกต่างกันมากๆ และสามารถรับ-ส่งบทกันอย่างคมคายได้ตลอดทั้งเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น “Sarah Fortune” ราชินีโจรสลัดแห่ง Bilgewater ผู้จมปลักกับความแค้น หรือ “Yasuo” นักดาบพเนจรที่วิ่งหนีความผิดพลาดในอดีต ตัวละครทุกตัวล้วนมี “ปม” หรือ “การยึดติด” บางอย่างที่ขับเคลื่อนการกระทำของพวกเขา ซึ่งช่วยเสริมมิติให้เรื่องราวการเดินทางครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี โดยเกมจะมีระบบฉากสนทนาระหว่างตัวละครให้ดูได้เมื่ออยู่ที่จุดพัก (คล้ายกับเกมตระกูล Tales of นั่นเอง) ซึ่งสามารถเปิดเผยความรู้สึกนึกคิดของตัวละครได้อีกทางด้วย

ในรีวิวซีรีส์ Arcane ของ GameFever ซึ่งเป็นผลงานใต้ร่ม Riot Forge เช่นเดียวกัน เราได้กล่าวชมการตัดสินใจของทีมงานเขียนบทในการใช้ “ตัวละคร” ในการนำเนื้อเรื่อง มากกว่าจะเป็นเหตุการณ์แฟนตาซีมหากาพย์ใหญ่โต เพราะเปิดโอกาสให้เล่าเรื่องราวที่ “เป็นมนุษย์” ได้มากกว่า ซึ่งคำชมนี้น่าจะสามารถใช้กับเรื่องราวส่วนใหญ่ของ Ruined King ได้เช่นเดียวกัน เพราะแม้ในภาพกว้างเนื้อเรื่องจะเกี่ยวกับการต่อสู้ระหว่างกลุ่มผู้กล้าและจอมมารอันชั่วร้าย แต่เหตุการณ์ระหว่างทางกลับถูกขับเคลื่อนด้วยเหตุผลของมนุษย์อย่างความแค้น ความกลัว ความเชื่อ หรือหน้าที่ ทำให้ผู้เล่นได้เข้าถึงตัวตนของตัวละครได้มากขึ้น ซึ่งก็ช่วยให้รู้สึกผูกพันธ์กับตัวละครแต่ละตัว และอยากติดตามเรื่องราวของพวกเขาต่อไปอย่างเป็นธรรมชาติ

ที่สำคัญกว่านั้นอีกคือการที่เลือกใช้ปม "ความเป็นมนุษย์" ที่เข้าถึงง่ายเช่นนี้ ทำให้เกม Ruined King (และซีรีส์ Arcane ก็ด้วย) สามารถติดตามได้ง่ายแม้จะไม่ได้คุ้นเคยกับโลกหรือตัวละครเหล่านี้มาก่อน เพราะสุดท้ายเกมก็นำเสนอพวกเขาเป็นเพียง "มนุษย์" มากกว่าจะถูกตีกรอบโดย "บทบาทในเกม" ของตัวละครเหล่านั้น

นอกจากนี้ เกมยังใช้ประโยชน์จาก “ความเป็นเกม” ในการเพิ่มมิติให้กับโลก Runeterra (World-Building) โดยรวมได้มากขึ้น ผ่านข้อความที่ผู้เล่นสามารถสะสมได้ในเกม รวมไปถึงภารกิจเสริม (และภารกิจลับ) ต่างๆ ที่มีให้ทำในเกม โดยหากจะต้องตำหนิซักเรื่อง คงเป็นการที่เกมมีภารกิจเสริมเหล่านี้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับเกม RPG ขนาดใหญ่ทั่วไป แต่ก็เป็นข้อตำหนิจาก “ความเสียดาย” ที่เกมไม่ได้มีอะไรให้ทำหรือค้นหาเยอะกว่านี้ มากกว่าจะเป็นความผิดพลาดของตัวเกมซะเอง


JRPG สายลูกครึ่งตะวันตกที่ทั้งใหม่และคุ้นเคยในเวลาเดียวกัน

แม้จะมีองค์ประกอบและโครงสร้างแบบเกม RPG ตะวันตกจำพวก Divinity: Original Sin อยู่บ้าง โดยเฉพาะในด้านการเดินทางและสำรวจ แต่ระบบต่อสู้เทิร์นเบสของ Ruined King กลับมีกลิ่นอายของ JRPG อย่างเข้มข้น ซึ่งคนที่เคยเล่นผลงานก่อนหน้าของผู้พัฒนา Airship Syndicate อย่าง Battle Chasers: Nightwar มาก่อนจะเห็นได้ว่าระบบเกมหลายๆ อย่างแทบจะยกมาจากเกมนั้นหมดเลย

ในการต่อสู้ ผู้เล่นจะสามารถเลือกตัวละครมาร่วมปาร์ตี้ได้ทีละ 3 ตัว (จาก 6) ซึ่งแต่ละตัวก็จะมีจุดเด่นแตกต่างกันไป การต่อสู้จะดำเนินไปแบบเทิร์นเบสที่มีความคล้ายกับระบบ ATB ของเกม Final Fantasy หลายๆ ภาค โดยตรงด้านล่างจอจะมีแถบไทม์ไลน์ที่มีไอคอนตัวละครวิ่งอยู่ และเมื่อไอคอนของใครวิ่งมาถึงเส้นก็จะถือว่าเป็นเทิร์นของตัวละครนั้น ซึ่งผู้เล่นจะสามารถเลือกใช้สกิลได้สองชนิดคือ ‘Instant’ และ ‘Lane’

สำหรับสกิลชนิด ‘Instant’ จะเป็นสกิลที่กดแล้วออกทันที เปรียบได้กับการโจมตีปกติของตัวละครแต่ละตัว ในขณะที่สกิล ‘Lane’ จะเป็นสกิลพิเศษที่มีเวลาร่าย ซึ่งเมื่อกดใช้จะต้องรอให้ไอคอนของตัวละครวิ่งกลับมาถึงเส้นอีกครั้งจึงจะปล่อยสกิลออกมา ทำให้การต่อสู้จำเป็นต้องใช้การวางแผนมากกว่าเกม JRPG เทิร์นเบสทั่วไป เพราะต้องคำนึงถึงตำแหน่งของตัวละครและศัตรูบนไทม์ไลน์ตลอดเวลา และเลือกว่าจะโจมตีทันที หรือจะรอร่ายสกิลที่รุนแรงกว่า แต่อาจเสี่ยงโดนศัตรูตบสวนก่อนสกิลจะออกได้ ที่สำคัญคือศัตรูในเกมนี้หลายตัวมักตีแรงและเลือดเยอะ แถมบางตัวยังมีเงื่อนไขที่ถ้าไม่ทำตามก็อาจกวาดตี้ลงไปกองได้เลยอีกต่างหาก


นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถควบคุมระยะเวลาในการร่ายของสกิลได้ประมาณหนึ่งผ่านระบบ ‘Lane’ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเกมนั่นเอง ไทม์ไลน์บอกลำดับเทิร์นของเกมจะถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนหรือ “เลน” ประกอบไปด้วย Speed, Balance, Power โดยในการร่ายสกิลชนิด ‘Lane’ อะไรก็แล้วแต่ จะสามารถเลือกได้ว่าจะร่ายในเลนไหน ถ้าร่ายในเลน Speed จะทำให้สกิลเบาลงแต่ออกเร็วขึ้น ในขณะที่เลน Power จะทำให้สกิลแรงขึ้นแต่ร่ายนานขึ้นไปด้วย ศัตรูบางชนิดยังมีความสามารถพิเศษที่บังคับให้ต้องใช้การโจมตีจากเลนบางเลนเท่านั้น หรืออาจวางกับดักเอาไว้ในเลนบางเลนเพื่อยับยั้งไม่ให้เราร่ายสกิลในเลนนั้นได้ด้วย ซึ่งระบบทั้งหมดนี้รวมกันทำให้การต่อสู้แต่ละครั้งมีความท้าทายและใช้การวางแผนมากกว่าเกม JRPG เทิร์นเบสทั่วไปพอสมควร

การวางแผนของเกมยังครอบคลุมออกมานอกการต่อสู้ ไปถึงระบบการพัฒนาตัวละครด้วย โดยเช่นเดียวกับในเกม League of Legends ตัวละครแต่ละตัวจะมีพัฒนาการสองแบบคือ ‘Ability Point’ และ ‘Runes’ นั่นเอง ซึ่งจะได้รับอย่างได้อย่างหนึ่ง (หรือทั้งคู่) ทุกครั้งที่เลเวลของตัวละครเพิ่มขึ้นถึงจุดที่กำหนด โดย Ability Point จะใช้เพื่ออัปเกรดสกิลของตัวละครเป็นรายสกิลไป เช่นเพิ่มความเสียหายที่ทำหรือทำให้ศัตรูติดสถานะต่างๆ เมื่อถูกสกิลนี้โจมตี ในขณะที่ Runes อาจเปรียบได้กับระบบ Perk ในเกมอื่นๆ ที่จะมอบเอฟเฟกต์ติดตัวต่างๆ ให้ตัวละคร เช่น Rune หนึ่งอาจเพิ่มโอกาสในการโจมตีติดคริติคอล หรือเพิ่มเอฟเฟกต์ตีดูดเลือด (Lifesteal) เป็นต้น

ข้อดีของระบบสกิลในเกมนี้คือการที่ผู้เล่นสามารถเลือก “ปั้น” ฮีโร่แต่ละตัวได้หลากหลายพอสมควร ตัวละคร Braum ของคุณจะเป็นแทงค์สุดถึกทนที่สามารถสร้างบาเรียป้องกันให้เพื่อนในทีมได้ หรือทำให้เขากลายเป็นนักสู้แถวหน้าที่เน้นการสะท้อนความเสียหายกลับคืนสู่ศัตรูก็ได้ หรืออย่างตัวละคร Pyke ที่สามารถปั้นเป็นยอดนักฆ่าที่เน้นปลิดชีพศัตรูในดาบเดียว หรือเป็นตัวป่วนที่เน้นแปะสถานะผิดปกติใส่ศัตรูรัวๆ ก็ได้ โดยสกิลต่างๆ ของตัวละครยังสามารถเกื้อหนุนกันไปมาได้เป็นอย่างดี ความสนุกอย่างหนึ่งของเกมจึงเป็นการหาคอมโบทีมและอัปเกรดที่ลงตัวสำหรับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไปอีกด้วย

ผลลัพธ์คือเกม JRPG ที่มีโครงสร้างคุ้นเคย แต่มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายที่รวมกันทำให้เกมรู้สึกแปลกใหม่กว่าเกม JRPG กระแสหลักหลายๆ เกม และต้องใช้การคิดวางแผนเสมอแม้กระทั่งในการต่อสู้กับศัตรูลูกกระจ๊อกทั่วไป


โลกของเกมที่แม้จะไม่ใหญ่ แต่มีอะไรมากกว่าที่เห็น

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น Ruined King ยังคงเป็นเกมที่มีกลิ่นอายของตะวันตกอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะในส่วนของการเดินทางและการสำรวจแผนที่เพื่อทำภารกิจเสริม โดยแม้ว่าเกมจะมีปริศนาและความลับให้ตามหา แถมโลกของเกมยังออกแบบมาได้อย่างมีสีสันและชีวิตชีวา แต่ก็มีหลายองค์ประกอบรวมกันที่ทำให้เกมรู้สึก “เก่า” อย่างช่วยไม่ได้เมื่อเทียบกับเกมยุคปัจจุบัน และอาจสร้างความหงุดหงิดรำคาญใจให้ผู้เล่นได้ไม่มากก็น้อย

ข้อดีของระบบการสำรวจในเกม Ruined King คือการที่เกมซุกซ่อนความลับเอาไว้ในมุมที่คาดไม่ถึงอยู่เสมอ ทำให้การสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ ในเกมรู้สึกตื่นเต้นและมีจุดหมายทุกครั้ง แถมความลับหลายๆ อย่างจำเป็นต้องใช้การอ่านและศึกษาข้อมูลที่เกมเสนอให้อย่างจริงจังจึงจะไขได้ ทำให้ผู้เล่นรู้สึกเหมือนตัวเองได้ “ค้นพบ” คำตอบด้วยตัวเองมากกว่าจะเป็นแค่การวิ่งตามหมุดไปเรื่อยๆ ในเกม RPG หลายเกม


นอกจากนี้ โลกของเกมยังตอบสนองต่อทางเลือกของผู้เล่นในภารกิจเสริมเหล่านี้ด้วย ซึ่งแม้จะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยยะสำคัญนัก แต่ก็ช่วยทำให้โลกของเกมรู้สึก “มีชีวิต” ราวกับว่า NPC ในเกมก็ดำเนินชีวิตของตัวเองไปเรื่อยๆ ในขณะที่ผู้เล่นออกเดินทางอยู่ ซึ่งจุดนี้เป็นข้อดีของเกม RPG สายตะวันตกที่เกมนำมาใช้ได้อย่างยอดเยี่ยม

แต่ในขณะเดียวกัน เกมก็มีการออกแบบหลายๆ จุดที่ทำให้รู้สึกน่าหงุดหงิดอยู่บ้าง ยกตัวอย่างเช่นการที่เกมไม่มีระบบ Fast Travel (มีแบบจำกัดมากๆ) ซึ่งเมื่อนำมารวมกับระบบภารกิจเสริมที่มักให้ผู้เล่นย้อนกลับไปสำรวจพื้นที่เก่าๆ ที่ผ่านมาแล้วบ่อยครั้ง ทำให้การเดินทางในเกมนี้กินเวลามากกว่าที่จำเป็นไปมาก แถมตัวละครก็ยังเดินช้าเหลือเกิน แม้กระทั่งในขณะที่วิ่งอยู่ก็ยังช้า จนบางครั้งก็อดรำคาญไม่ได้เมื่อจำเป็นต้องย้อนกลับไปสำรวจพื้นที่เหล่านี้

นอกจากนี้ แม้จะไม่มีการต่อสู้แบบ Random Encounter (เจอศัตรูแบบสุ่มเหมือนเกม JRPG คลาสสิค) แต่ศัตรูในเกมก็หูตาไวมากๆ ยืนอยู่อีกฟากห้องก็ยังอุตส่าห์เห็น และตราบใดที่ผู้เล่นไม่สามารถวิ่งหนีออกจากระยะสายตาของศัตรูได้ทัน ศัตรูจะวิ่งไล่กวดเราทั่วแผนที่ได้เลยโดยไม่ยอมแพ้ หมายความว่าบ่อยครั้งเวลาย้อนกลับไปสำรวจพื้นที่เก่าๆ ก็จะต้องต่อสู้กับศัตรูไปด้วยตลอดทางอย่างหลีกเลี่ยงแทบไม่ได้ ยิ่งช่วงท้ายๆ เกมที่ศัตรูเริ่มเก่งขึ้น ยิ่งทำให้การเดินทางเก็บภารกิจเสริมมีความน่าปวดหัวอยู่ไม่น้อย

อีกระบบที่รู้สึกเก่ามากๆ คือการที่ผู้เล่นไม่สามารถสับเปลี่ยนตัวละครในปาร์ตี้ได้ยกเว้นจะเจอจุดพักเท่านั้น แม้กระทั่งเวลาอยู่ในเมือง ซึ่งน่าหงุดหงิดเวลาที่เจอปริศนาหรือพัซเซิ่ลในฉากที่ต้องใช้ความสามารถพิเศษของตัวละครตัวใดตัวหนึ่งโดยเฉพาะในการแก้ และทำให้การทดสอบทีมหรือคอมโบใหม่ๆ ทำได้ลำบากกว่าที่ควรจะเป็นเพราะต้องคอยวิ่งไปกลับระหว่างจุดเซฟที่อยู่แสนไกลเพื่อทดสอบตัวละคร

นอกจากปัญหาที่กล่าวไป ยังมีองค์ประกอบย่อยๆ อื่นๆ ที่ถ้าปรับปรุงได้จะทำให้เกมสนุกขึ้นกว่านี้อีก เช่นการที่เกมไม่มีแผนที่มินิแมพ ทำให้ต้องคอยหยุดเปิดแผนที่อยู่เนืองๆ ตลอดระยะเวลาที่เล่น หรือการที่ไม่สามารถกดข้ามคัตซีนได้ (สำหรับกรณีที่ต้องสู้บอสที่มีคัตซีนขั้นหลายครั้ง) รวมไปถึงระบบ Auto-Save ของเกมที่ดูจะทำงานแบบไม่ค่อยสม่ำเสมอ ทำให้ผู้เล่นต้องคอยเซฟเกมเองบ่อยๆ ไม่งั้นเวลาตายก็เตรียมเล่นเกมใหม่จากการเซฟครั้งล่าสุดได้เลย โดยองค์ประกอบทั้งหมดนี้แม้จะไม่ได้ส่งผลเสียต่อ “แก่นหลัก” ของเกมเท่าไหร่นัก แต่ก็ทำให้ประสบการณ์การเล่นเสียไปบ้างเหมือนกัน และถ้าแก้ได้ก็จะทำให้ประสบการณ์โดยรวมมีความราบรื่นกว่านี้เยอะ


ภาพสวยสบายตา กับราคาด้านเทคนิค

เช่นเดียวกับในซีรีส์ Arcane ที่เรากล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ ต้องกล่าวชมวิสัยทัศน์ในการ “สร้างโลก” ของ Riot มากๆ แม้จะไม่ใช่เกมทุนใหญ่ระดับร้อยล้าน แถมยังพัฒนาด้วยทีมงานขนาดเล็ก แต่ Ruined King ก็ยังสามารถนำเสนอกราฟฟิกในเกมออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม โดยผู้พัฒนา Airship Syndicate สามารถตีความสถานที่ต่างๆ ในเกมออกมาได้อย่างน่าสนใจ ทุกซอกทุกมุมมีรายละเอียดที่บอกเล่าถึงเรื่องราวของสถานที่นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเมืองโจรสลัด Bilgewater ที่บางพื้นที่ดูจะสร้างมาจากเรืออัปปางขนาดใหญ่หลายๆ ลำประกอบกัน หรืออย่างโซน Shadow Isles ก็ล้วนอัดแน่นไปด้วยซากแห่งอดีตที่บ่งบอกถึงอารยธรรมที่สาบสูญของผู้คนก่อนที่ราชามาร Viego จะทำลายทุกสิ่ง ทุกกระเบียดนิ้วของเกมถูกอัดแน่นไปด้วยรายละเอียดที่ช่วยในการ “ขยายโลก” (World-Building) ของเกมให้มีมิติและประวัติศาสตร์ของตัวเอง


จากการทดลองเล่นเกมทั้งบน Nintendo Switch และ PC (ผู้เขียนเริ่มเล่นบน Switch แล้วยืมไอดีเพื่อนเล่นใน PC) สิ่งหนึ่งที่ต้องย้ำกับท่านผู้อ่านทุกท่านคือถ้าเลี่ยงได้ ให้เลี่ยงการเล่นเกมนี้บน Nintendo Switch ไปก่อนจนกว่าผู้พัฒนาจะออกแพทช์แก้ตัวเกมมากกว่านี้ เพราะแม้ภาพกราฟฟิกแนวการ์ตูนของเกมจะทำออกมาได้สวยงามตามมาตรฐาน แต่ก็แลกมาด้วยปัญหาด้านเทคนิคมากมายที่ส่งผลลบต่อประสบการณ์การเล่นเกมอย่างใหญ่หลวง

อย่างแรกคือการที่เฟรมเรตของ Switch มักจะตกลงทุกครั้งที่เดินผ่านสถานที่บางแห่ง หรือกระทั่งในแผนที่นั้นทั้งแผนที่เลยก็มี ซึ่งแน่นอนว่าสร้างความลำบากในการวิ่งหลบศัตรูหรือกับดักในฉาก การที่เกมแลคมากๆ ยังนำไปสู่ปัญหาบั๊คอื่นๆ ได้อีก เช่นกดคุยกับ NPC แล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น พัซเซิ่ลไม่ทำงาน หรือบางทีก็อาจถึงขั้นส่งเควสไม่ผ่านไปเลยก็มี (ไอเทมหายไปจากกระเป๋าแต่เควสไม่ผ่าน) ซึ่งในกรณีของผู้เขียนเป็นเควสเนื้อเรื่องด้วย แต่โชคดีที่เซฟไว้ก่อนหน้านั้นพอดีเลยโหลดเซฟใหม่มาแก้ได้ ถ้าใครไม่ได้เซฟมาก่อนและเจอแบบนี้เข้าไปก็อาจต้องย้อนกลับไปเล่นไกลเลยก็เป็นได้

การเล่นเกมใน PC (และเชื่อว่าใน PlayStation หรือ Xbox ด้วย) ให้ประสบการณ์ที่ดีกว่าก็จริง แต่ก็ใช่ว่าจะสมบูรณ์แบบ เพราะเกม Ruined King ยังมีบั๊คยิบย่อยประปรายอยู่เต็มไปหมด ซึ่งส่วนใหญ่จะสร้างความรำคาญมากกว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการเล่น ในกรณีของผู้เขียนที่ต่อจอย Xbox One เล่นใน PC มักจะพบปัญหาแปลกๆ ที่ทำให้ไม่สามารถกดปุ่ม “ลง” บนจอยเกมได้ในขณะที่ต่อสู้ ซึ่งก็ทำให้ไม่สามารถเลือกเป้าหมายการโจมตีได้ไปด้วย สุดท้ายก็ต้องเปลี่ยนมาใช้เมาส์เล่นจึงจะเลือกเป้าหมายได้ตามปกติ ซึ่งต้องเข้า-ออกเกมใหม่จึงจะแก้ปัญหานี้ได้ หรือปัญหาเควสที่ทำเสร็จไปแล้วยังค้างอยู่ในหน้าต่างรวมเควส หรือปัญหาที่จู่ๆ ก็พูดกับ NPC ไม่ได้ โดยทั้งหมดแก้ได้ด้วยการปิด-เปิดเกมใหม่จึงไม่ได้หนักหนานัก ถ้าพูดภาษาบ้านๆ ก็อาจบอกได้ว่าปัญหาเหล่านี้ “ทำให้ดูออกว่าเป็นเกมทุนต่ำ” นั่นเอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแก่นของเกมจะไม่ดีเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ หากคุณเป็นแฟนของแฟรนไชส์ League of Legends และ/หรือเป็นคนที่สนใจจะทำความรู้จักกับจักรวาลนี้มากขึ้น Ruined King: A League of Legends Story ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่จะให้คุณได้สัมผัสกับโลก Runeterra ในอีกรูปแบบหนึ่ง และเป็นเครื่องพิสูจน์ฝีมือในการสร้างโลกของ Riot ที่น่าสนใจและมีมิติไม่น้อยไปกว่าในซีรีส์ Arcane อันยอดเยี่ยมเลยทีเดียว เกมอาจจะยังมีจุดบกพร่องอยู่ไม่น้อย แต่ถ้ามองข้ามไปได้ สิ่งที่รอคุณอยู่คือเกม JRPG น้ำดีที่สร้างความเพลิดเพลินให้คุณได้ไม่น้อยไปกว่าเกมฟอร์มใหญ่หลายๆ เกมเลยทีเดียว


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header