GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[บทความ] เกลือจนจะเป็นโรคไต แต่ทำไม เราถึงหยุดกดกาชาไม่ได้?
ลงวันที่ 05/11/2021

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ระบบกาชาปองเป็นหนึ่งในระบบที่ยอดนิยมของเกมในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเกม FPS, MMORPG หรือ MOBA ระบบสุ่มไอเทมนี้ก็แฝงตัวเข้าไปได้อย่างแนบเนียน ช่วยเพิ่มทั้งความตื่นเต้นในการสุ่มให้กับผู้เล่น และผู้เม็ดเงินที่ไหลเวียนเข้าสู่ผู้พัฒนาเกมได้เป็นอย่างดี

แต่ก็ใช่ว่ากาชาปองจะมีแต่ข้อดีเสมอไป ข้อเสียข้อใหญ่ของระบบนี้ก็คือ ความไม่แน่นอน ผู้เล่นไม่มีทางรู้เลยว่า ตัวเองจะได้ไอเทมอะไรจากการสุ่มครั้งนี้ แม้บางเกมจะมีการการันตี (Pity rate) เข้ามาช่วย แต่นั่นก็ไม่สามารถหยุดความเจ็บปวดของผู้เล่นดวงกุดได้เลยแม้แต่น้อย จนกลายเป็นเสียงโอดครวญตามกลุ่มเฟซบุ๊คของเกมกาชาแทบทุกเกมถึงความ "เกลือ" อันน่าคับแค้นใจ

ทว่าแม้จะมีเสียงบ่นมากมายเกี่ยวกับระบบนี้ จนเกิดเป็นแนวคิดในหมู่ผู้เล่นจำนวนไม่น้อยว่า “กาชาคือรูปแบบทางธุรกิจที่ชั่วร้าย” แต่จำนวนเงินที่เข้ากระเป๋าผู้พัฒนา กับจำนวนตัวเลขคนสุ่มกลับไม่ลดลงเลยในการเสี่ยงดวงประเภทนี้ ราวกับว่าทุกคนเสพติดมันไปแล้ว

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้คนยังคงติดอยู่ในวังวนการหมุนกาชา แม้ว่าเราจะบ่น “เกลือ” อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เราจะมาไขข้อสงสัยถึงประเด็นนี้กัน


ต้นกำเนิดความเค็ม


อันดับแรก การหมุนกาชาปองนั้นมีพื้นฐานคล้ายกับการพนัน เพราะทั้งคู่ต่างเป็นการจ่ายเงินไปก่อน และลุ้นว่าจะได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการหรือไม่ ซึ่งตรงจุดนี้จะมีสารเคมีในสมองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เจ้าสารเคมีตัวนี้มีชื่อว่า โดพามีน (Dopamine)

โดพามีนนั้นเป็นสารเคมีที่จะหลั่งออกมาในตอนที่มนุษย์กำลังมีความสุขหรือกำลังรู้สึกตื่นเต้น ซึ่งทางโรเบิร์ต ซาโปลสกี (Robert Sapolsky) นักประสาทวิทยาชาวอเมริกัน ได้เคยทำการทดลองกับสมองของลิงเกี่ยวกับเงื่อนไข และช่วงเวลาของการหลั่งสารโดพามีน โดยการทดลองมีรายละเอียดดังนี้

โรเบิร์ตได้ฝึกสอนลิงให้รับรู้ว่า เมื่อพวกมันกดปุ่ม 10 ครั้งในตอนที่มีสัญญาณไฟขึ้น พวกมันจะได้กล้วยตอบแทนเป็นรางวัล




สำหรับกราฟด้านบนเป็นการแสดงระดับของสารโดพามีนในสมองของลิง โดนลูกศรแรก (ซ้ายสุด) คือระดับเมื่อลิงเห็นสัญญาณไฟ จะเห็นได้ว่าโดพามีนหลั่งมากสุดในระหว่างทางที่กำลังกด (กราฟระหว่างลูกศรจุดแรกและจุดสอง) ไม่ใช่หลังจากที่ได้รางวัลไปแล้ว (ลูกศรจุดสุดท้าย) สรุปได้ว่าสารโดพามีนเป็นตัวขับเคลื่อนให้ลิงกดปุ่มต่อไปถึงสิบครั้ง เพื่อของรางวัลที่มันรอคอย

นอกจากนี้โรเบิร์ตยังทำการทดลองเพิ่มเติม โดยเพิ่มเงื่อนไขเข้าไปจากเดิมที่จะได้รางวัล 100% เมื่อกดปุ่มครบจำนวน กลายเป็น มีโอกาสได้รางวัล 75% 50% และ 25% ตามลำดับ



ผลลัพธ์ที่ออกมาถือว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก และอาจจะถือได้ว่า "ตรงข้าม" กับข้อสรุปที่ควรจะเป็นตามตรรกะทั่วไป โดยเราสามารถเห็นระดับโดพามีนที่หลังออกมากลับมีระดับ "ต่ำที่สุด" เมื่อลิงมีโอกาสได้รับรางวัล 100% แต่โดพามีนจะหลั่งออกมาเยอะสุดที่โอกาส 50% ซึ่งนั่นคือตัวเลขที่อยู่ระหว่างการได้ และไม่ได้ของรางวัลแบบเท่าๆ กัน ในขณะที่โอกาส 25% อยู่ตรงกึ่งกลาง หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ "การได้ลุ้น" ทำให้โดพามีนหลั่งออกมามากกว่าการรับประกันรางวัล แต่ก็ต้องอยู่ในระดับที่รางวัลออกบ่อยมากพอจะคาดหวังได้เช่นกัน

ด้วยโอกาสที่ไม่สามารถคาดเดาได้ บวกกับความตื่นเต้นในตอนที่ได้ลุ้น องค์ประกอบทั้งสองอย่างนี้คือตัวเร่งชั้นดีของการหลั่งสารโดพามีนในสมองระหว่างที่เรากำลังกดกาชาปอง ซึ่งหากได้สัมผัสภาวะดังกล่าวมากจนเกินไป บางคนอาจจะถึงขั้นเสพติดเลยทีเดียว

แน่นอนว่า สมองของมนุษย์กับลิง อาจจะไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด แต่โดยส่วนใหญ่แล้วพวกมันทำงานคล้ายกัน ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่สมองของมนุษย์จะมีปฏิกิริยากับโดพามีนในทางเดียวกันกับลิงที่อยู่ในการทดลองของโรเบิร์ต

ประกายสีทองที่ทุกคนถวิลหา

นอกจากนี้ ยังมีอาการที่เรียกในภาษาจิตวิทยาว่า Sunk Cost Effect หมายถึง การที่เราลงทุนกับบางสิ่งไปเยอะแล้ว แต่ยังไม่ได้ผลตอบแทนที่ดีกลับมา ทำให้ต้องเดินหน้าลงทุนต่อ หวังถอนทุนคืนให้ได้เท่านั้น สภาวะนี้ก็มีผลกับระบบกาชาปองเช่นกัน คุณอาจจะลงทุนเติมเงินไปเยอะ แต่ยังไม่ได้สิ่งที่ต้องการเสียที คุณอยากหยุดเติมแล้ว แต่สมองของคุณก็บอกว่า ที่เติมไปก่อนหน้านี้จะเสียเปล่า นั่นจึงบีบให้คุณต้องเติมเงินเพิ่มอย่างช่วยไม่ได้

ปรากฏการณ์อีกอย่างที่ทำให้การกดกาชาปองมีความน่าดึงดูดคือการที่คนในสังคมเกมต่างออกมาบอกกันปากต่อปากว่า ‘กาชาตู้นี้ดี กาชาตู้นี้เยี่ยม’ ก็เป็น Social Proof หรือการที่ปัจจัยภายนอกในสังคม (เช่นการพูดกันในกลุ่ม หรือการฟังจากปากอินฟลูเอนเซอร์) มีผลที่ช่วยส่งเสริมให้คุณมีอาการ “ของมันต้องมี” ทำให้เผลอตัวกดกาชาปองเพิ่มอีกเช่นกัน

อีกทั้งมนุษย์ยังเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ชอบการสูญเสีย ดังนั้นหากเจอคำโฆษณาที่ชวนล่อซื้ออย่าง “จำกัดเวลา” หรือ “ห้ามพลาด” ก็จะช่วยกระตุ้นให้คุณอยากถลุงเงินไปกับการเสี่ยงดวงขึ้นไปอีก และในเกมบางเกมจะมีระบบ Daily Mission ที่ให้ของรางวัลตอบแทนบางอย่าง โดย Daily Misson นี้ หากมองจากมุมมองคนเล่น มันก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะมันช่วยให้รางวัลฟรีแก่เรา แต่หากมองในมุมกลับแล้ว นี่จะเข้ากับทฤษฎี 21 วันของด็อกเตอร์แม็กซ์เวลล์ มอลต์ (Dr.Maxwell Maltz) ผู้เขียนหนังสือ Psycho-Cybernetics ที่ว่าด้วยการ “สร้างนิสัย” กล่าวคือหากคนเราทำสิ่งเดิมๆ เป็นเวลา 21 วัน จะทำให้คนเราเสพติดสิ่งนั้น หรือเคยชินกับสิ่งนั้นไปโดยปริยาย กลายเป็นส่วนหนึ่งของ “กิจวัตรประจำวัน” หรือ “Daily Routine” ที่พอไม่ทำก็อาจจะรู้สึกไม่สบายใจ อยู่ไม่สุข คล้ายกับการลืมทำงานบ้านนั่นเอง


เกมไรไม่รู้ววว~ (จริงๆ มีแทบทุกเกม)

บวกกับระบบค่าเงิน (Currency) ในเกม ที่ช่วยทำให้เราสบายใจมากขึ้นเวลาจับจ่ายใช้สอย หรือเติมเงินเข้าไป การที่เงินในโลกจริงถูกแปลงเป็นเพชรในเกมนั้นจะช่วยทำให้มนุษย์รู้สึกผิดน้อยลงเมื่อต้องใช้จ่ายในเกม เหมือนเป็นกระบวนการหลอกตัวเองของสมองว่า นี่มันไม่ใช่เงินจริงๆ นี่นา จะใช้เยอะสักหน่อยก็ไม่เป็นไร

นอกจากนี้ หากสังเกตตัวเลขของอัตราเติมเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนให้ดีๆ นั้น เรามักจะได้เห็นเลข 9 อยู่ในอัตราเติมเงินเป็นประจำ ยกตัวอย่างเช่นเกมกาชาชื่อดังอย่าง Genshin Impact เราจะเห็นได้ว่า ราคาเติมเงินจะเป็นราคาที่ลงท้ายด้วย 9 เสมอ โดยหลักการตั้งราคานี้เรียกว่า Odd Pricing เป็นหลักจิตวิทยาที่ตั้งราคาไม่เต็มหน่วย ช่วยทำให้คนเราคิดว่าราคานี้ถูกและคุ้มค่ากว่าราคาทั่วไป ซึ่งนี่เป็นสาเหตุที่เรามักได้เห็นของลดราคามีเลข 9 ห้อยท้ายอยู่ร่ำไป

อันดับสุดท้ายคือ อัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่เต็มหน่วย หากดูในเกม Genshin Impact สิ่งที่คนมักเติมเงินเพื่อให้ได้มาก็คือ Intertwined fate หรือลูกแก้วสีรุ้ง เพื่อให้ได้หมุนกาชาปองนั่นเอง ทว่าในเรต Genesis Crystals ที่ได้นั้น ไม่มีแพ็กไหนเลยก็หารเจ้าลูกแก้วสีรุ้งนี่ได้ลงตัว โดยลูกแก้วสีรุ้ง 1 ลูกมีมูลค่า 160 เพชร เท่ากับว่า:




60/160 = 0.375
300/160 = 1.875
980/160 = 6.125
1980/160 = 12.375
3280/160 = 20.5
6480/160 = 40.5


ซึ่งนี่ก็เป็นหลักการที่ทำให้มนุษย์อยากจะเติมเงินเพื่อเข้าไปเพื่อเพิ่มจำนวนครั้งที่หมุนได้เช่นกัน เราอาจจะเติมเงินเข้าไปครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้ของที่ต้องการ ทีนี้พอเรามามองเศษที่เหลืออยู่ เราจะคิดว่าขาดอีกนิดเดียวก็จะหมุนกาชาปองได้อีกครั้งแล้ว เติมอีกนิดหน่อยจะเป็นอะไรไป ครั้งนี้เราอาจจะได้ของที่ต้องการก็ได้นะ ด้วยวิธีเล่นกับตัวเลข และการหลอกล่อจิตใจของคน จึงไม่แปลกเลยหากคุณจะเผลอกดรหัสบัตรเครดิต และเติมเงินเข้าสู่เกมอีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่สนุกกับการลุ้นกาชาปอง หรือเป็นคนที่เสียดายเกินกว่าจะหยุดได้ ทั้งสองแบบนั้นจะนำคุณไปสู่ปลายทางเดียวกัน นั่นคือการหมุนกาชาปองต่อไปนั่นเอง


ทั้งนี้ทั้งนั้น บทความนี้ไม่ได้ต้องการจะตัดสินว่าระบบกาชาปองในเกมต่างๆ นั้นเป็นสิ่งที่ "ถูกหรือผิด" หากแต่เป็นการให้ข้อมูลเพื่อให้ทุกคนสามารถ "รู้เท่าทัน" กลยุทธ์ต่างๆ ที่ผู้พัฒนาเกมใช้ในการโน้มน้าวจิตใจของเรา ซึ่งน่าจะช่วยให้หลายๆ คนมีภูมิต้านทานต่อการถูกชักจูงมากขึ้น และอาจจะช่วยให้เราสามารถหลีกเลี่ยงการเสียเงินเกินจำเป็นไปกับก้อนเกลือในอนาคต

อ้างอิง:

https://www.psychologytoday.com/us/blog/brain-wise/201510/shopping-dopamine-and-anticipation


https://www.youtube.com/watch?v=clp3-KCLq_A&ab_channel=CLOUDSPHERE


https://www.cbc.ca/radio/undertheinfluence/the-real-reason-most-prices-end-in-99-cents-1.4731238


https://www.reddit.com/r/Genshin_Impact/comments/qj0fvc/psa_whale_hunting_a_guide_to_predatory_game/?utm_term=1604053848&utm_medium=post_embed&utm_source=embed&utm_name=&utm_content=header


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] เกลือจนจะเป็นโรคไต แต่ทำไม เราถึงหยุดกดกาชาไม่ได้?
05/11/2021

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ระบบกาชาปองเป็นหนึ่งในระบบที่ยอดนิยมของเกมในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเกม FPS, MMORPG หรือ MOBA ระบบสุ่มไอเทมนี้ก็แฝงตัวเข้าไปได้อย่างแนบเนียน ช่วยเพิ่มทั้งความตื่นเต้นในการสุ่มให้กับผู้เล่น และผู้เม็ดเงินที่ไหลเวียนเข้าสู่ผู้พัฒนาเกมได้เป็นอย่างดี

แต่ก็ใช่ว่ากาชาปองจะมีแต่ข้อดีเสมอไป ข้อเสียข้อใหญ่ของระบบนี้ก็คือ ความไม่แน่นอน ผู้เล่นไม่มีทางรู้เลยว่า ตัวเองจะได้ไอเทมอะไรจากการสุ่มครั้งนี้ แม้บางเกมจะมีการการันตี (Pity rate) เข้ามาช่วย แต่นั่นก็ไม่สามารถหยุดความเจ็บปวดของผู้เล่นดวงกุดได้เลยแม้แต่น้อย จนกลายเป็นเสียงโอดครวญตามกลุ่มเฟซบุ๊คของเกมกาชาแทบทุกเกมถึงความ "เกลือ" อันน่าคับแค้นใจ

ทว่าแม้จะมีเสียงบ่นมากมายเกี่ยวกับระบบนี้ จนเกิดเป็นแนวคิดในหมู่ผู้เล่นจำนวนไม่น้อยว่า “กาชาคือรูปแบบทางธุรกิจที่ชั่วร้าย” แต่จำนวนเงินที่เข้ากระเป๋าผู้พัฒนา กับจำนวนตัวเลขคนสุ่มกลับไม่ลดลงเลยในการเสี่ยงดวงประเภทนี้ ราวกับว่าทุกคนเสพติดมันไปแล้ว

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้คนยังคงติดอยู่ในวังวนการหมุนกาชา แม้ว่าเราจะบ่น “เกลือ” อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เราจะมาไขข้อสงสัยถึงประเด็นนี้กัน


ต้นกำเนิดความเค็ม


อันดับแรก การหมุนกาชาปองนั้นมีพื้นฐานคล้ายกับการพนัน เพราะทั้งคู่ต่างเป็นการจ่ายเงินไปก่อน และลุ้นว่าจะได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการหรือไม่ ซึ่งตรงจุดนี้จะมีสารเคมีในสมองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เจ้าสารเคมีตัวนี้มีชื่อว่า โดพามีน (Dopamine)

โดพามีนนั้นเป็นสารเคมีที่จะหลั่งออกมาในตอนที่มนุษย์กำลังมีความสุขหรือกำลังรู้สึกตื่นเต้น ซึ่งทางโรเบิร์ต ซาโปลสกี (Robert Sapolsky) นักประสาทวิทยาชาวอเมริกัน ได้เคยทำการทดลองกับสมองของลิงเกี่ยวกับเงื่อนไข และช่วงเวลาของการหลั่งสารโดพามีน โดยการทดลองมีรายละเอียดดังนี้

โรเบิร์ตได้ฝึกสอนลิงให้รับรู้ว่า เมื่อพวกมันกดปุ่ม 10 ครั้งในตอนที่มีสัญญาณไฟขึ้น พวกมันจะได้กล้วยตอบแทนเป็นรางวัล




สำหรับกราฟด้านบนเป็นการแสดงระดับของสารโดพามีนในสมองของลิง โดนลูกศรแรก (ซ้ายสุด) คือระดับเมื่อลิงเห็นสัญญาณไฟ จะเห็นได้ว่าโดพามีนหลั่งมากสุดในระหว่างทางที่กำลังกด (กราฟระหว่างลูกศรจุดแรกและจุดสอง) ไม่ใช่หลังจากที่ได้รางวัลไปแล้ว (ลูกศรจุดสุดท้าย) สรุปได้ว่าสารโดพามีนเป็นตัวขับเคลื่อนให้ลิงกดปุ่มต่อไปถึงสิบครั้ง เพื่อของรางวัลที่มันรอคอย

นอกจากนี้โรเบิร์ตยังทำการทดลองเพิ่มเติม โดยเพิ่มเงื่อนไขเข้าไปจากเดิมที่จะได้รางวัล 100% เมื่อกดปุ่มครบจำนวน กลายเป็น มีโอกาสได้รางวัล 75% 50% และ 25% ตามลำดับ



ผลลัพธ์ที่ออกมาถือว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก และอาจจะถือได้ว่า "ตรงข้าม" กับข้อสรุปที่ควรจะเป็นตามตรรกะทั่วไป โดยเราสามารถเห็นระดับโดพามีนที่หลังออกมากลับมีระดับ "ต่ำที่สุด" เมื่อลิงมีโอกาสได้รับรางวัล 100% แต่โดพามีนจะหลั่งออกมาเยอะสุดที่โอกาส 50% ซึ่งนั่นคือตัวเลขที่อยู่ระหว่างการได้ และไม่ได้ของรางวัลแบบเท่าๆ กัน ในขณะที่โอกาส 25% อยู่ตรงกึ่งกลาง หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ "การได้ลุ้น" ทำให้โดพามีนหลั่งออกมามากกว่าการรับประกันรางวัล แต่ก็ต้องอยู่ในระดับที่รางวัลออกบ่อยมากพอจะคาดหวังได้เช่นกัน

ด้วยโอกาสที่ไม่สามารถคาดเดาได้ บวกกับความตื่นเต้นในตอนที่ได้ลุ้น องค์ประกอบทั้งสองอย่างนี้คือตัวเร่งชั้นดีของการหลั่งสารโดพามีนในสมองระหว่างที่เรากำลังกดกาชาปอง ซึ่งหากได้สัมผัสภาวะดังกล่าวมากจนเกินไป บางคนอาจจะถึงขั้นเสพติดเลยทีเดียว

แน่นอนว่า สมองของมนุษย์กับลิง อาจจะไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด แต่โดยส่วนใหญ่แล้วพวกมันทำงานคล้ายกัน ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่สมองของมนุษย์จะมีปฏิกิริยากับโดพามีนในทางเดียวกันกับลิงที่อยู่ในการทดลองของโรเบิร์ต

ประกายสีทองที่ทุกคนถวิลหา

นอกจากนี้ ยังมีอาการที่เรียกในภาษาจิตวิทยาว่า Sunk Cost Effect หมายถึง การที่เราลงทุนกับบางสิ่งไปเยอะแล้ว แต่ยังไม่ได้ผลตอบแทนที่ดีกลับมา ทำให้ต้องเดินหน้าลงทุนต่อ หวังถอนทุนคืนให้ได้เท่านั้น สภาวะนี้ก็มีผลกับระบบกาชาปองเช่นกัน คุณอาจจะลงทุนเติมเงินไปเยอะ แต่ยังไม่ได้สิ่งที่ต้องการเสียที คุณอยากหยุดเติมแล้ว แต่สมองของคุณก็บอกว่า ที่เติมไปก่อนหน้านี้จะเสียเปล่า นั่นจึงบีบให้คุณต้องเติมเงินเพิ่มอย่างช่วยไม่ได้

ปรากฏการณ์อีกอย่างที่ทำให้การกดกาชาปองมีความน่าดึงดูดคือการที่คนในสังคมเกมต่างออกมาบอกกันปากต่อปากว่า ‘กาชาตู้นี้ดี กาชาตู้นี้เยี่ยม’ ก็เป็น Social Proof หรือการที่ปัจจัยภายนอกในสังคม (เช่นการพูดกันในกลุ่ม หรือการฟังจากปากอินฟลูเอนเซอร์) มีผลที่ช่วยส่งเสริมให้คุณมีอาการ “ของมันต้องมี” ทำให้เผลอตัวกดกาชาปองเพิ่มอีกเช่นกัน

อีกทั้งมนุษย์ยังเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ชอบการสูญเสีย ดังนั้นหากเจอคำโฆษณาที่ชวนล่อซื้ออย่าง “จำกัดเวลา” หรือ “ห้ามพลาด” ก็จะช่วยกระตุ้นให้คุณอยากถลุงเงินไปกับการเสี่ยงดวงขึ้นไปอีก และในเกมบางเกมจะมีระบบ Daily Mission ที่ให้ของรางวัลตอบแทนบางอย่าง โดย Daily Misson นี้ หากมองจากมุมมองคนเล่น มันก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะมันช่วยให้รางวัลฟรีแก่เรา แต่หากมองในมุมกลับแล้ว นี่จะเข้ากับทฤษฎี 21 วันของด็อกเตอร์แม็กซ์เวลล์ มอลต์ (Dr.Maxwell Maltz) ผู้เขียนหนังสือ Psycho-Cybernetics ที่ว่าด้วยการ “สร้างนิสัย” กล่าวคือหากคนเราทำสิ่งเดิมๆ เป็นเวลา 21 วัน จะทำให้คนเราเสพติดสิ่งนั้น หรือเคยชินกับสิ่งนั้นไปโดยปริยาย กลายเป็นส่วนหนึ่งของ “กิจวัตรประจำวัน” หรือ “Daily Routine” ที่พอไม่ทำก็อาจจะรู้สึกไม่สบายใจ อยู่ไม่สุข คล้ายกับการลืมทำงานบ้านนั่นเอง


เกมไรไม่รู้ววว~ (จริงๆ มีแทบทุกเกม)

บวกกับระบบค่าเงิน (Currency) ในเกม ที่ช่วยทำให้เราสบายใจมากขึ้นเวลาจับจ่ายใช้สอย หรือเติมเงินเข้าไป การที่เงินในโลกจริงถูกแปลงเป็นเพชรในเกมนั้นจะช่วยทำให้มนุษย์รู้สึกผิดน้อยลงเมื่อต้องใช้จ่ายในเกม เหมือนเป็นกระบวนการหลอกตัวเองของสมองว่า นี่มันไม่ใช่เงินจริงๆ นี่นา จะใช้เยอะสักหน่อยก็ไม่เป็นไร

นอกจากนี้ หากสังเกตตัวเลขของอัตราเติมเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนให้ดีๆ นั้น เรามักจะได้เห็นเลข 9 อยู่ในอัตราเติมเงินเป็นประจำ ยกตัวอย่างเช่นเกมกาชาชื่อดังอย่าง Genshin Impact เราจะเห็นได้ว่า ราคาเติมเงินจะเป็นราคาที่ลงท้ายด้วย 9 เสมอ โดยหลักการตั้งราคานี้เรียกว่า Odd Pricing เป็นหลักจิตวิทยาที่ตั้งราคาไม่เต็มหน่วย ช่วยทำให้คนเราคิดว่าราคานี้ถูกและคุ้มค่ากว่าราคาทั่วไป ซึ่งนี่เป็นสาเหตุที่เรามักได้เห็นของลดราคามีเลข 9 ห้อยท้ายอยู่ร่ำไป

อันดับสุดท้ายคือ อัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่เต็มหน่วย หากดูในเกม Genshin Impact สิ่งที่คนมักเติมเงินเพื่อให้ได้มาก็คือ Intertwined fate หรือลูกแก้วสีรุ้ง เพื่อให้ได้หมุนกาชาปองนั่นเอง ทว่าในเรต Genesis Crystals ที่ได้นั้น ไม่มีแพ็กไหนเลยก็หารเจ้าลูกแก้วสีรุ้งนี่ได้ลงตัว โดยลูกแก้วสีรุ้ง 1 ลูกมีมูลค่า 160 เพชร เท่ากับว่า:




60/160 = 0.375
300/160 = 1.875
980/160 = 6.125
1980/160 = 12.375
3280/160 = 20.5
6480/160 = 40.5


ซึ่งนี่ก็เป็นหลักการที่ทำให้มนุษย์อยากจะเติมเงินเพื่อเข้าไปเพื่อเพิ่มจำนวนครั้งที่หมุนได้เช่นกัน เราอาจจะเติมเงินเข้าไปครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้ของที่ต้องการ ทีนี้พอเรามามองเศษที่เหลืออยู่ เราจะคิดว่าขาดอีกนิดเดียวก็จะหมุนกาชาปองได้อีกครั้งแล้ว เติมอีกนิดหน่อยจะเป็นอะไรไป ครั้งนี้เราอาจจะได้ของที่ต้องการก็ได้นะ ด้วยวิธีเล่นกับตัวเลข และการหลอกล่อจิตใจของคน จึงไม่แปลกเลยหากคุณจะเผลอกดรหัสบัตรเครดิต และเติมเงินเข้าสู่เกมอีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่สนุกกับการลุ้นกาชาปอง หรือเป็นคนที่เสียดายเกินกว่าจะหยุดได้ ทั้งสองแบบนั้นจะนำคุณไปสู่ปลายทางเดียวกัน นั่นคือการหมุนกาชาปองต่อไปนั่นเอง


ทั้งนี้ทั้งนั้น บทความนี้ไม่ได้ต้องการจะตัดสินว่าระบบกาชาปองในเกมต่างๆ นั้นเป็นสิ่งที่ "ถูกหรือผิด" หากแต่เป็นการให้ข้อมูลเพื่อให้ทุกคนสามารถ "รู้เท่าทัน" กลยุทธ์ต่างๆ ที่ผู้พัฒนาเกมใช้ในการโน้มน้าวจิตใจของเรา ซึ่งน่าจะช่วยให้หลายๆ คนมีภูมิต้านทานต่อการถูกชักจูงมากขึ้น และอาจจะช่วยให้เราสามารถหลีกเลี่ยงการเสียเงินเกินจำเป็นไปกับก้อนเกลือในอนาคต

อ้างอิง:

https://www.psychologytoday.com/us/blog/brain-wise/201510/shopping-dopamine-and-anticipation


https://www.youtube.com/watch?v=clp3-KCLq_A&ab_channel=CLOUDSPHERE


https://www.cbc.ca/radio/undertheinfluence/the-real-reason-most-prices-end-in-99-cents-1.4731238


https://www.reddit.com/r/Genshin_Impact/comments/qj0fvc/psa_whale_hunting_a_guide_to_predatory_game/?utm_term=1604053848&utm_medium=post_embed&utm_source=embed&utm_name=&utm_content=header


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header