GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
'วิดีโอการ์ดเกม' สิ่งที่พัฒนาการ์ดเกมแบบกระดาษให้ล้ำหน้าขึ้นไปอีกขั้น
ลงวันที่ 06/05/2022

การ์ดเกมหรือการ์ดกระดาษ เป็นอีกหนึ่งการละเล่นที่อยู่คู่กับเด็กทั่วโลกมาอย่างยาวนาน เพราะไม่ว่าจะในยุคสมัยไหน จินตนาการของเด็ก ๆ ก็มักถูกเติมเต็มได้ด้วยรูปวาดสวย ๆ บนแผ่นการ์ดอยู่เสมอ


ทว่าในยุคปัจจุบัน ยุคที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น ทุกอย่างในชีวิตประจำวันถูกพัฒนาให้สะดวกสบายมากขึ้น 

แม้กระทั่งการละเล่นของเด็ก ๆ ก็ยังถูกเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างเลี่ยงไม่ได้ เกิดกลายเป็นอีกหนึ่งสื่อแขนงใหม่ ภายใต้ชื่อ ‘วิดีโอเกม’ นั่นเอง แน่นอนว่า วิดีโอเกมนั้นมีมากมาย หลากหลายประเภทแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น วิดีโอเกมแนวแก้ปริศนา วิดีโอเกมแนวแอ็กชัน วิดีโอเกมแนวผจญภัย ไปจนถึงวิดีโอเกมแนวการ์ดเกม ก็ยังมีด้วยเช่นกัน


โดยวิดีโอการ์ดเกมนั้น หากจะเรียกว่าเป็นร่างที่พัฒนาแล้วของการ์ดเกมแบบทั่ว ๆ ไปก็คงไม่ผิดนัก เพราะไม่ว่าจะมองจากมุมไหนแล้ว มันก็ล้วนมีแต่ข้อดีที่เหนือกว่า แถมยังสามารถกลบข้อด้อยของการ์ดเกมแบบกระดาษไปได้อย่างหมดจดอีกด้วย


ซึ่งสิ่งที่ทำให้วิดีโอการ์ดเกม เหนือกว่าการ์ดเกมแบบทั่ว ๆ ไปนั้น มีดังต่อไปนี้


ระบบการเล่นแบบใหม่ ที่การ์ดกระดาษไม่สามารถทำได้


จุดเด่นอย่างแรกของวิดีโอการ์ดเกมก็คือ Mechanic การเล่นที่แปลกและสดใหม่ จนเกมการ์ดกระดาษไม่มีทางที่จะสร้างรูปแบบการเล่นเช่นนี้ขึ้นมาได้อย่างแน่นอน



ขอบคุณภาพจาก leagueoflegends.fandom.com


ยกตัวอย่างเช่น ระบบ Allegiance ภายในเกม Legends of Runeterra ซึ่งเป็นระบบการเล่นที่จะแสดงผลขึ้นเมื่อการ์ด Top Deck (การ์ดใบบนสุดของเด็ค) มีภูมิภาคเดียวกันกับการ์ดที่มีความสามารถนี้ ซึ่งโดยปกติแล้ว ในเกมการ์ดกระดาษ ผู้เล่นจะไม่มีทางจะรู้การ์ด Top Deck ได้เลย หากไม่ได้ทำการเปิดการ์ดดู ทว่าในวิดีโอการ์ดเกมนั้น มันไม่ใช่ปัญหาเลยแม้แต่น้อย


ตัวระบบจะทำการดูการ์ดของคุณให้ตลอดทั้งกอง ช่วยให้เกมการเล่นลื่นไหล และไปต่อได้โดยที่ไร้การติดขัด ไม่จำเป็นจะต้องหยุดเกมเพื่อเปิดดูการ์ดหรือต้องมาสับการ์ดเข้ากองเข้าไปใหม่ จนทำให้เสียรูปแบบการจั่ว


นอกจากนี้ยังมีระบบอื่น ๆ อีกที่สามารถทำได้เฉพาะในวิดีโอการ์ดเกม เช่น ระบบ Traps ที่จะสุ่มวางกับดักเข้าไปบนการ์ดในกองของคู่ต่อสู้ หรือระบบ Manifest ที่สุ่มสร้างการ์ดขึ้นมาจากความว่างเปล่าภายในเงื่อนไขที่กำหนดอีกด้วย


กฎที่ชัดเจน ตัดสินอย่างเที่ยงธรรม


หากใครที่เล่นการ์ดเกมแบบกระดาษมาอย่างยาวนาน คุณก็น่าจะเคยพบกับประสบการณ์ที่แต่ละกลุ่ม มักจะมีกฎในการเล่นการ์ดที่แปลกแยกกันไปเป็นของตัวเอง บางกลุ่มห้ามเล่นการ์ดใบนี้ บางกลุ่มห้ามทำแบบนี้ หรือบางกลุ่มถึงกับเปลี่ยนกติกาของเกมไปอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนเลยก็มี



ขอบคุณภาพจาก Gssspotted


ซึ่งในปัจจุบัน เกมการ์ดบางประเภทก็ยังคงมีกฎที่แตกต่างกันให้อยู่ทั่วไป เช่น Uno หนึ่งในเกมการ์ดที่เล่นได้ทุกเพศทุกวัย ในบางกลุ่มเราจะเห็นได้ว่า การ์ดประเภท +2 หรือ +4 สามารถใช้ซ้อนทับกันได้ แต่บางกลุ่ม การ์ดใบนี้จะบังคับให้ผู้เล่นคนต่อไปต้องจั่วโดยอัตโนมัติ


และด้วยกฎที่แตกต่างกันตรงนี้นี่เอง จึงทำให้เกิดความสับสนที่ไม่จำเป็นขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ทว่าเมื่อหากลองเปรียบเทียบกับ Uno ที่อยู่ในรูปแบบวิดีโอเกมนั้น เราจะเห็นได้ว่า ตัวเกมอนุญาตให้คนที่มีการ์ด +2 หรือ +4 สามารถใช้การ์ดซ้อนทับกัน โยนผ่านให้ผู้เล่นคนถัดไปได้เรื่อย ๆ นี่จึงช่วยยืนยันถึงกฎที่แน่นอน และชัดเจนของวิดีโอการ์ดเกม มากยิ่งกว่าการ์ดเกมแบบกระดาษนั่นเอง


เอฟเฟกต์ต่าง ๆ ที่เพิ่มเข้ามา ไม่ต้องอาศัยจินตนาการเพียงอย่างเดียว


อีกหนึ่งจุดเด่นของวิดีโอการ์ดเกม ที่ช่วยเข้ามาเติมเต็ม และกลบฝังข้อเสียของการ์ดเกมแบบกระดาษได้อย่างหมดจด ก็คือ ความเป็นวิดีโอเกมนั่นเอง


อย่างที่เรารู้กันดีว่า สื่อวิดีโอเกมนั้น มันสามารถใส่แสง สี เสียง ไปจนถึงเอฟเฟกต์ต่าง ๆ ได้อย่างจัดเต็ม

ซึ่งข้อดีตรงนี้ ก็ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในวิดีโอการ์ดเกมด้วยเช่นกัน



ขอบคุณภาพจาก GrappLr


ผู้เล่นจะเห็นเอฟเฟกต์ต่าง ๆ กันด้วยสองตา ไม่ต้องมาคอยนั่งจินตนาการเอาเหมือนกับสมัยก่อนที่เล่นในการ์ดเกมเวอร์ชันกระดาษ ทั้งเอฟเฟกต์ในเวลาโจมตีและตั้งรับเมื่อการ์ดปะทะกัน เอฟเฟกต์การเปลี่ยนแปลงของการ์ดที่ช่วยเปลี่ยนภาพของการ์ดให้กลายเป็นใบใหม่ ไปจนถึงเอฟเฟกต์อื่น ๆ อีกมากมาย ตามแต่ที่ผู้สร้างจะจินตนาการและยัดใส่เข้าไปได้ ช่วยให้การเล่นการ์ดเกมมีความน่าตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น แตกต่างจากการเล่นการ์ดเกมในรูปแบบกระดาษที่อาจจะจืดชืดไปบ้าง เมื่อผู้เล่นไม่ได้ใส่จินตนาการของตัวเองลงไป


การตามหาการ์ดที่ราคายุติธรรม ไม่มีการโก่งราคาการ์ดเก่ง และขายแพงแบบในโลกจริง


ในโลกของเกมการ์ดแทบทุกชนิด มักจะมีสิ่งที่เรียกว่า ระดับความหายากอยู่ ซึ่งชื่อเรียกของแต่ละระดับนั้น จะแตกต่างกันไป แล้วแต่ผู้สร้างจะตั้งให้ โดยส่วนใหญ่จะมีตั้งแต่ Common, Rare, Epic ไปจนถึง Legendary



ขอบคุณภาพจาก TheOzzy213


แน่นอนว่ายิ่งการ์ดนั้น ๆ หายากมากเท่าไร ความสามารถของการ์ดก็จะยิ่งทรงพลังมากขึ้นตามไปด้วย จึงทำให้เกิดการซื้อขายการ์ดเก่ง ๆ กันในสังคมคนเล่นการ์ดอยู่เสมอ และเมื่อมีอุปสงค์ ก็ย่อมต้องมีอุปทาน ยิ่งความต้องการซื้อสูง ความต้องการขายก็จะสูงตามไปด้วย


แต่ทว่า…หากความต้องการซื้อมันไม่สัมพันธ์กับวัตถุดิบที่มีอยู่ในตลาดขึ้นมาล่ะ ? นั่นก็จะทำให้ราคาของสิ่งนั้น ๆ มีราคาสูงกว่าที่มันควรจะเป็นนั่นเอง


นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้การ์ดเกมเวอร์ชันกระดาษ มักมีต้นทุนที่สูงกว่า สำหรับคนที่ต้องการเล่นแบบจริงจัง เพราะบางเด็คที่คุณอยากจะเล่น นอกจากจะต้องใช้ดวงในการสุ่มเปิดหาซองการ์ดซ้ำ ๆ แล้ว คุณยังอาจจะต้องใช้เงินที่มากขึ้น เพื่อซื้อการ์ดที่เก่งขึ้น เข้ามาประดับในเด็คของตัวเองกันอีกด้วย


ซึ่งมันช่างแตกต่างจากวิดีโอการ์ดเกม ที่ราคาของการสุ่มมักจะคงที่ มีอัตราการดรอปของการ์ดที่ชัดเจน มีการันตีมาให้เมื่อสุ่มถึงจุดที่กำหนด แถมบางเกมอาจจะมีการ์ดแจกฟรี เมื่อคุณเล่นเกมนั้น ๆ ในปริมาณที่มากพอเสียด้วย และยิ่งบวกกับการที่ตัวเกมไม่มีระบบซื้อขายการ์ดเหมือนในโลกจริง ยิ่งทำให้การสุ่มภายในวิดีโอการ์ดเกมนั้น มันมีความเสถียรและราคาคงที่เอามาก ๆ ช่วยให้ระบบนิเวศภายในสังคมวิดีโอการ์ดเกมนั้น เป็นมิตรต่อทั้งผู้เล่นหน้าเดิมและผู้เล่นหน้าใหม่ ไม่จำเป็นที่จะต้องไปทุ่มเงินในจำนวนมาก ๆ กันตั้งแต่แรกเล่น


เข้าถึงง่าย เล่นได้ทุกที่ ทุกเวลา


วิดีโอการ์ดเกมส่วนใหญ่ มักจะทำมารองรับกับหลากหลายแพลตฟอร์ม ซึ่งหนึ่งในแพลตฟอร์มที่เข้าถึงผู้คนได้ง่ายที่สุดในยุคนี้ ก็คงหนีไม่พ้นโทรศัพท์มือถือ ประจวบเหมาะกับที่วิดีโอการ์ดเกมนั้น ล้วนไม่ได้เน้นหนักกันไปที่ภาพกราฟิก จึงส่งผลให้โทรศัพท์รุ่นที่มีอายุแล้ว ก็ยังสามารถเล่นได้อย่างหายห่วง


อีกทั้งในยุคที่อินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์เช่นนี้ ทำให้ข้อจำกัดในการดูเอลระหว่างสองผู้เล่นถูกกลบหายไปอย่างหมดจด เพราะขอแค่คุณมีเพียงโทรศัพท์ กับอินเทอร์เน็ต คุณก็สามารถดูเอลการ์ดเกมกับผู้เล่นอื่น ๆ จากทุกมุมโลกได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส


แตกต่างจากการ์ดเกมแบบกระดาษ ที่ผู้เล่นแต่ละคนจะต้องทำการเดินทางมาเพื่อเล่นกันในสถานที่ที่นัดกันเอาไว้ จึงทำให้ชุมชนคนเล่นการ์ดอาจจะไม่ได้เฟื่องฟู และแผ่ขยายวงกว้างไปได้เท่าที่ควรนั่นเอง


ปรับสมดุลง่าย เพียงแค่ออกแพตช์อัปเดต


เกมการ์ดในสมัยก่อนอาจจะไม่ค่อยได้เกิดการปรับสมดุลขึ้นมากนัก เนื่องจากการปรับแก้การ์ดในแต่ละที มันมักจะตามมาด้วยเรื่องยุ่งยากต่าง ๆ มากมาย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ทางผู้จัดแข่งจะตัดปัญหาการ์ดที่เก่งจนเกินพอดี (หรือเก่งจนถึงขั้นโกง) ด้วยการแบนไม่ให้ใช้การ์ดในการแข่งขันนั้น ๆ กันไปเลย



ขอบคุณภาพจาก GrappLr


กลับกันในวิดีโอการ์ดเกม ทางผู้พัฒนาจะจับตามองการ์ดที่มีอัตราชนะและอัตราการใช้สูงอยู่เสมอ การ์ดใบไหนที่มีอัตราชนะกับอัตราการใช้สูงจนเกินไป ก็มักจะถูกเนิร์ฟลงมา ส่วนใบไหนที่มีอัตราการใช้น้อยและอัตราชนะน้อยก็จะถูกบัฟขึ้นไป เพื่อให้เกิดความสมดุล และเกิดความหลากหลายในการใช้การ์ดมากยิ่งขึ้น


และการปรับสมดุลการ์ดนี้ ก็ทำได้ง่ายมาก เพียงแค่ทางผู้พัฒนาออกแพตช์มาปรับแก้เท่านั้น ผู้เล่นทุกคนจำเป็นที่จะต้องอัปเดตแพตช์ใหม่ก่อนเข้าเล่น เป็นเหมือนการบังคับให้ยอมรับการปรับสมดุลไปโดยปริยาย และยังช่วยทำให้ตัวเกมมีความสดใหม่อยู่เสมอ ผู้เล่นได้เจอกับการ์ดที่แปลก ๆ มากขึ้น ไม่ได้วนเจออยู่แต่กับเด็คเดิม ๆ นั่นเอง


= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =


และถึงในบทความนี้ เราจะพูดถึงกันแต่ข้อดีของวิดีโอการ์ดเกม แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า การ์ดเกมแบบกระดาษกำลังจะล้มหายตายจากพวกเราไปไหน ชุมชนคนเล่นการ์ดยังคงมีพบเห็นได้กันอยู่ทั่วไป เพราะเสน่ห์ของการ์ดแบบกระดาษนั้น มันยังคงไม่สามารถมีอะไรที่จะมาทดแทนได้ ความรู้สึกของปลายนิ้วที่สัมผัสกับตัวการ์ด ได้พลิก ได้จับด้วยมือของตัวเอง มันย่อมแตกต่างจากนิ้วที่สัมผัสกับหน้าจอหรือสัมผัสกับการคลิกเมาส์กันอยู่แล้ว


บางคนนอกจากจะเล่นการ์ดแล้ว พวกเขาก็ยังสะสมการ์ดเก็บเอาไว้ ช่วยเติมเต็มคุณค่าทางจิตใจอีกด้วย ดังนั้นทั้งวิดีโอการ์ดเกม และการ์ดเกมแบบกระดาษ ก็จะยังคงอยู่คู่กับชุมชนคนชอบเล่นการ์ดกันไปอีกพักใหญ่เลยล่ะครับ


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
'วิดีโอการ์ดเกม' สิ่งที่พัฒนาการ์ดเกมแบบกระดาษให้ล้ำหน้าขึ้นไปอีกขั้น
06/05/2022

การ์ดเกมหรือการ์ดกระดาษ เป็นอีกหนึ่งการละเล่นที่อยู่คู่กับเด็กทั่วโลกมาอย่างยาวนาน เพราะไม่ว่าจะในยุคสมัยไหน จินตนาการของเด็ก ๆ ก็มักถูกเติมเต็มได้ด้วยรูปวาดสวย ๆ บนแผ่นการ์ดอยู่เสมอ


ทว่าในยุคปัจจุบัน ยุคที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น ทุกอย่างในชีวิตประจำวันถูกพัฒนาให้สะดวกสบายมากขึ้น 

แม้กระทั่งการละเล่นของเด็ก ๆ ก็ยังถูกเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างเลี่ยงไม่ได้ เกิดกลายเป็นอีกหนึ่งสื่อแขนงใหม่ ภายใต้ชื่อ ‘วิดีโอเกม’ นั่นเอง แน่นอนว่า วิดีโอเกมนั้นมีมากมาย หลากหลายประเภทแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น วิดีโอเกมแนวแก้ปริศนา วิดีโอเกมแนวแอ็กชัน วิดีโอเกมแนวผจญภัย ไปจนถึงวิดีโอเกมแนวการ์ดเกม ก็ยังมีด้วยเช่นกัน


โดยวิดีโอการ์ดเกมนั้น หากจะเรียกว่าเป็นร่างที่พัฒนาแล้วของการ์ดเกมแบบทั่ว ๆ ไปก็คงไม่ผิดนัก เพราะไม่ว่าจะมองจากมุมไหนแล้ว มันก็ล้วนมีแต่ข้อดีที่เหนือกว่า แถมยังสามารถกลบข้อด้อยของการ์ดเกมแบบกระดาษไปได้อย่างหมดจดอีกด้วย


ซึ่งสิ่งที่ทำให้วิดีโอการ์ดเกม เหนือกว่าการ์ดเกมแบบทั่ว ๆ ไปนั้น มีดังต่อไปนี้


ระบบการเล่นแบบใหม่ ที่การ์ดกระดาษไม่สามารถทำได้


จุดเด่นอย่างแรกของวิดีโอการ์ดเกมก็คือ Mechanic การเล่นที่แปลกและสดใหม่ จนเกมการ์ดกระดาษไม่มีทางที่จะสร้างรูปแบบการเล่นเช่นนี้ขึ้นมาได้อย่างแน่นอน



ขอบคุณภาพจาก leagueoflegends.fandom.com


ยกตัวอย่างเช่น ระบบ Allegiance ภายในเกม Legends of Runeterra ซึ่งเป็นระบบการเล่นที่จะแสดงผลขึ้นเมื่อการ์ด Top Deck (การ์ดใบบนสุดของเด็ค) มีภูมิภาคเดียวกันกับการ์ดที่มีความสามารถนี้ ซึ่งโดยปกติแล้ว ในเกมการ์ดกระดาษ ผู้เล่นจะไม่มีทางจะรู้การ์ด Top Deck ได้เลย หากไม่ได้ทำการเปิดการ์ดดู ทว่าในวิดีโอการ์ดเกมนั้น มันไม่ใช่ปัญหาเลยแม้แต่น้อย


ตัวระบบจะทำการดูการ์ดของคุณให้ตลอดทั้งกอง ช่วยให้เกมการเล่นลื่นไหล และไปต่อได้โดยที่ไร้การติดขัด ไม่จำเป็นจะต้องหยุดเกมเพื่อเปิดดูการ์ดหรือต้องมาสับการ์ดเข้ากองเข้าไปใหม่ จนทำให้เสียรูปแบบการจั่ว


นอกจากนี้ยังมีระบบอื่น ๆ อีกที่สามารถทำได้เฉพาะในวิดีโอการ์ดเกม เช่น ระบบ Traps ที่จะสุ่มวางกับดักเข้าไปบนการ์ดในกองของคู่ต่อสู้ หรือระบบ Manifest ที่สุ่มสร้างการ์ดขึ้นมาจากความว่างเปล่าภายในเงื่อนไขที่กำหนดอีกด้วย


กฎที่ชัดเจน ตัดสินอย่างเที่ยงธรรม


หากใครที่เล่นการ์ดเกมแบบกระดาษมาอย่างยาวนาน คุณก็น่าจะเคยพบกับประสบการณ์ที่แต่ละกลุ่ม มักจะมีกฎในการเล่นการ์ดที่แปลกแยกกันไปเป็นของตัวเอง บางกลุ่มห้ามเล่นการ์ดใบนี้ บางกลุ่มห้ามทำแบบนี้ หรือบางกลุ่มถึงกับเปลี่ยนกติกาของเกมไปอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนเลยก็มี



ขอบคุณภาพจาก Gssspotted


ซึ่งในปัจจุบัน เกมการ์ดบางประเภทก็ยังคงมีกฎที่แตกต่างกันให้อยู่ทั่วไป เช่น Uno หนึ่งในเกมการ์ดที่เล่นได้ทุกเพศทุกวัย ในบางกลุ่มเราจะเห็นได้ว่า การ์ดประเภท +2 หรือ +4 สามารถใช้ซ้อนทับกันได้ แต่บางกลุ่ม การ์ดใบนี้จะบังคับให้ผู้เล่นคนต่อไปต้องจั่วโดยอัตโนมัติ


และด้วยกฎที่แตกต่างกันตรงนี้นี่เอง จึงทำให้เกิดความสับสนที่ไม่จำเป็นขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ทว่าเมื่อหากลองเปรียบเทียบกับ Uno ที่อยู่ในรูปแบบวิดีโอเกมนั้น เราจะเห็นได้ว่า ตัวเกมอนุญาตให้คนที่มีการ์ด +2 หรือ +4 สามารถใช้การ์ดซ้อนทับกัน โยนผ่านให้ผู้เล่นคนถัดไปได้เรื่อย ๆ นี่จึงช่วยยืนยันถึงกฎที่แน่นอน และชัดเจนของวิดีโอการ์ดเกม มากยิ่งกว่าการ์ดเกมแบบกระดาษนั่นเอง


เอฟเฟกต์ต่าง ๆ ที่เพิ่มเข้ามา ไม่ต้องอาศัยจินตนาการเพียงอย่างเดียว


อีกหนึ่งจุดเด่นของวิดีโอการ์ดเกม ที่ช่วยเข้ามาเติมเต็ม และกลบฝังข้อเสียของการ์ดเกมแบบกระดาษได้อย่างหมดจด ก็คือ ความเป็นวิดีโอเกมนั่นเอง


อย่างที่เรารู้กันดีว่า สื่อวิดีโอเกมนั้น มันสามารถใส่แสง สี เสียง ไปจนถึงเอฟเฟกต์ต่าง ๆ ได้อย่างจัดเต็ม

ซึ่งข้อดีตรงนี้ ก็ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในวิดีโอการ์ดเกมด้วยเช่นกัน



ขอบคุณภาพจาก GrappLr


ผู้เล่นจะเห็นเอฟเฟกต์ต่าง ๆ กันด้วยสองตา ไม่ต้องมาคอยนั่งจินตนาการเอาเหมือนกับสมัยก่อนที่เล่นในการ์ดเกมเวอร์ชันกระดาษ ทั้งเอฟเฟกต์ในเวลาโจมตีและตั้งรับเมื่อการ์ดปะทะกัน เอฟเฟกต์การเปลี่ยนแปลงของการ์ดที่ช่วยเปลี่ยนภาพของการ์ดให้กลายเป็นใบใหม่ ไปจนถึงเอฟเฟกต์อื่น ๆ อีกมากมาย ตามแต่ที่ผู้สร้างจะจินตนาการและยัดใส่เข้าไปได้ ช่วยให้การเล่นการ์ดเกมมีความน่าตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น แตกต่างจากการเล่นการ์ดเกมในรูปแบบกระดาษที่อาจจะจืดชืดไปบ้าง เมื่อผู้เล่นไม่ได้ใส่จินตนาการของตัวเองลงไป


การตามหาการ์ดที่ราคายุติธรรม ไม่มีการโก่งราคาการ์ดเก่ง และขายแพงแบบในโลกจริง


ในโลกของเกมการ์ดแทบทุกชนิด มักจะมีสิ่งที่เรียกว่า ระดับความหายากอยู่ ซึ่งชื่อเรียกของแต่ละระดับนั้น จะแตกต่างกันไป แล้วแต่ผู้สร้างจะตั้งให้ โดยส่วนใหญ่จะมีตั้งแต่ Common, Rare, Epic ไปจนถึง Legendary



ขอบคุณภาพจาก TheOzzy213


แน่นอนว่ายิ่งการ์ดนั้น ๆ หายากมากเท่าไร ความสามารถของการ์ดก็จะยิ่งทรงพลังมากขึ้นตามไปด้วย จึงทำให้เกิดการซื้อขายการ์ดเก่ง ๆ กันในสังคมคนเล่นการ์ดอยู่เสมอ และเมื่อมีอุปสงค์ ก็ย่อมต้องมีอุปทาน ยิ่งความต้องการซื้อสูง ความต้องการขายก็จะสูงตามไปด้วย


แต่ทว่า…หากความต้องการซื้อมันไม่สัมพันธ์กับวัตถุดิบที่มีอยู่ในตลาดขึ้นมาล่ะ ? นั่นก็จะทำให้ราคาของสิ่งนั้น ๆ มีราคาสูงกว่าที่มันควรจะเป็นนั่นเอง


นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้การ์ดเกมเวอร์ชันกระดาษ มักมีต้นทุนที่สูงกว่า สำหรับคนที่ต้องการเล่นแบบจริงจัง เพราะบางเด็คที่คุณอยากจะเล่น นอกจากจะต้องใช้ดวงในการสุ่มเปิดหาซองการ์ดซ้ำ ๆ แล้ว คุณยังอาจจะต้องใช้เงินที่มากขึ้น เพื่อซื้อการ์ดที่เก่งขึ้น เข้ามาประดับในเด็คของตัวเองกันอีกด้วย


ซึ่งมันช่างแตกต่างจากวิดีโอการ์ดเกม ที่ราคาของการสุ่มมักจะคงที่ มีอัตราการดรอปของการ์ดที่ชัดเจน มีการันตีมาให้เมื่อสุ่มถึงจุดที่กำหนด แถมบางเกมอาจจะมีการ์ดแจกฟรี เมื่อคุณเล่นเกมนั้น ๆ ในปริมาณที่มากพอเสียด้วย และยิ่งบวกกับการที่ตัวเกมไม่มีระบบซื้อขายการ์ดเหมือนในโลกจริง ยิ่งทำให้การสุ่มภายในวิดีโอการ์ดเกมนั้น มันมีความเสถียรและราคาคงที่เอามาก ๆ ช่วยให้ระบบนิเวศภายในสังคมวิดีโอการ์ดเกมนั้น เป็นมิตรต่อทั้งผู้เล่นหน้าเดิมและผู้เล่นหน้าใหม่ ไม่จำเป็นที่จะต้องไปทุ่มเงินในจำนวนมาก ๆ กันตั้งแต่แรกเล่น


เข้าถึงง่าย เล่นได้ทุกที่ ทุกเวลา


วิดีโอการ์ดเกมส่วนใหญ่ มักจะทำมารองรับกับหลากหลายแพลตฟอร์ม ซึ่งหนึ่งในแพลตฟอร์มที่เข้าถึงผู้คนได้ง่ายที่สุดในยุคนี้ ก็คงหนีไม่พ้นโทรศัพท์มือถือ ประจวบเหมาะกับที่วิดีโอการ์ดเกมนั้น ล้วนไม่ได้เน้นหนักกันไปที่ภาพกราฟิก จึงส่งผลให้โทรศัพท์รุ่นที่มีอายุแล้ว ก็ยังสามารถเล่นได้อย่างหายห่วง


อีกทั้งในยุคที่อินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์เช่นนี้ ทำให้ข้อจำกัดในการดูเอลระหว่างสองผู้เล่นถูกกลบหายไปอย่างหมดจด เพราะขอแค่คุณมีเพียงโทรศัพท์ กับอินเทอร์เน็ต คุณก็สามารถดูเอลการ์ดเกมกับผู้เล่นอื่น ๆ จากทุกมุมโลกได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส


แตกต่างจากการ์ดเกมแบบกระดาษ ที่ผู้เล่นแต่ละคนจะต้องทำการเดินทางมาเพื่อเล่นกันในสถานที่ที่นัดกันเอาไว้ จึงทำให้ชุมชนคนเล่นการ์ดอาจจะไม่ได้เฟื่องฟู และแผ่ขยายวงกว้างไปได้เท่าที่ควรนั่นเอง


ปรับสมดุลง่าย เพียงแค่ออกแพตช์อัปเดต


เกมการ์ดในสมัยก่อนอาจจะไม่ค่อยได้เกิดการปรับสมดุลขึ้นมากนัก เนื่องจากการปรับแก้การ์ดในแต่ละที มันมักจะตามมาด้วยเรื่องยุ่งยากต่าง ๆ มากมาย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ทางผู้จัดแข่งจะตัดปัญหาการ์ดที่เก่งจนเกินพอดี (หรือเก่งจนถึงขั้นโกง) ด้วยการแบนไม่ให้ใช้การ์ดในการแข่งขันนั้น ๆ กันไปเลย



ขอบคุณภาพจาก GrappLr


กลับกันในวิดีโอการ์ดเกม ทางผู้พัฒนาจะจับตามองการ์ดที่มีอัตราชนะและอัตราการใช้สูงอยู่เสมอ การ์ดใบไหนที่มีอัตราชนะกับอัตราการใช้สูงจนเกินไป ก็มักจะถูกเนิร์ฟลงมา ส่วนใบไหนที่มีอัตราการใช้น้อยและอัตราชนะน้อยก็จะถูกบัฟขึ้นไป เพื่อให้เกิดความสมดุล และเกิดความหลากหลายในการใช้การ์ดมากยิ่งขึ้น


และการปรับสมดุลการ์ดนี้ ก็ทำได้ง่ายมาก เพียงแค่ทางผู้พัฒนาออกแพตช์มาปรับแก้เท่านั้น ผู้เล่นทุกคนจำเป็นที่จะต้องอัปเดตแพตช์ใหม่ก่อนเข้าเล่น เป็นเหมือนการบังคับให้ยอมรับการปรับสมดุลไปโดยปริยาย และยังช่วยทำให้ตัวเกมมีความสดใหม่อยู่เสมอ ผู้เล่นได้เจอกับการ์ดที่แปลก ๆ มากขึ้น ไม่ได้วนเจออยู่แต่กับเด็คเดิม ๆ นั่นเอง


= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =


และถึงในบทความนี้ เราจะพูดถึงกันแต่ข้อดีของวิดีโอการ์ดเกม แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า การ์ดเกมแบบกระดาษกำลังจะล้มหายตายจากพวกเราไปไหน ชุมชนคนเล่นการ์ดยังคงมีพบเห็นได้กันอยู่ทั่วไป เพราะเสน่ห์ของการ์ดแบบกระดาษนั้น มันยังคงไม่สามารถมีอะไรที่จะมาทดแทนได้ ความรู้สึกของปลายนิ้วที่สัมผัสกับตัวการ์ด ได้พลิก ได้จับด้วยมือของตัวเอง มันย่อมแตกต่างจากนิ้วที่สัมผัสกับหน้าจอหรือสัมผัสกับการคลิกเมาส์กันอยู่แล้ว


บางคนนอกจากจะเล่นการ์ดแล้ว พวกเขาก็ยังสะสมการ์ดเก็บเอาไว้ ช่วยเติมเต็มคุณค่าทางจิตใจอีกด้วย ดังนั้นทั้งวิดีโอการ์ดเกม และการ์ดเกมแบบกระดาษ ก็จะยังคงอยู่คู่กับชุมชนคนชอบเล่นการ์ดกันไปอีกพักใหญ่เลยล่ะครับ


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header