GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
ข่าวเกม
[Review] รีวิว Nobody - The Turnaround เกมเอาตัวรอดของจริงขนานแท้ เมื่อชีวิตพร้อมสู้กลับในทุก ๆ วัน
ลงวันที่ 27/11/2022

ตามปกติแล้ว เกม Survival หรือเกมเอาตัวรอด เรามักจะได้เล่นเป็นสุดยอดคนเหนือมนุษย์ ที่หาหนทางรอดได้เสมอ แต่เคยคิดบ้างไหมว่า การที่เราชอบเล่นเกมเอาตัวรอดนั้น ชีวิตจริงเราก็กำลังเอาตัวรอดกันอยู่ทุกวี่ทุกวันอยู่แล้ว และ Nobody - The Turnaround ก็เหมือนกับการหยิบเอาเรื่องราวในชีวิตประจำวันเหล่านั้นมาถ่ายทอดเป็นวิดีโอเกมอีกที แต่มันจะเป็นเกมแบบไหน ยากจนข้นแค้นแค่ไหน ก็ลองมาดูกันได้ในรีวิวของเรา

**รีวิวตัวนี้ เขียนขึ้นขณะที่เกมอยู่ในช่วง Early Access**

เนื้อเรื่อง 3 บท ที่สะท้อนปัญหาชีวิตที่คนทุกคนต้องเจอ


แม้ว่าตอนนี้เนื้อเรื่องภายในเกมจะเปิดให้เล่นเพียงบทเดียวเท่านั้น แต่ที่หน้าจอเกมมีการเปิดเผยว่าเนื้อเรื่องหลักของเกมนี้จะมีทั้งหมด 3 บทด้วยกัน แต่ละบทจะมีเนื้อเรื่องที่แยกจากกัน เนื้อเรื่องทั้ง 3 บทจะแบ่งเป็น Debt Trap เป็นเนื้อหาที่เราได้เล่นกันตั้งแต่ตอนช่วง Demo แล้ว เมื่อพ่อของเราไปติดพนัน จนกลายเป็นหนี้สินก้อนใหญ่ แถมยังหนีไป ทิ้งหนี้ไว้ให้เราชดใช้ เราในฐานะผู้นำครอบครัวเพียงคนเดียว จึงต้องเดินหน้าเข้าเมืองหลวง หางานทำ และส่งหนี้รายวันคืนให้กับเจ้าหนี้

บทที่ 2 คือ Falling Relationship มีเรื่องย่อคือ เรากับแฟนสาวที่สัญญาว่าจะรักกันตลอดไป แต่ชีวิตจริงกลับมิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เมื่อแฟนสาวเราได้งานที่ดิบดี แต่ตัวเรากลับตกงานซะเอง แถมเรายังถูกครอบครัวกีดกันอีกด้วย เรียกได้ว่าชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร และปิดท้ายด้วยบทที่ 3 กับ Lost in the Night เรื่องราวของเด็กสาวที่มีชีวิตวัยเรียนที่เหลวแหลก แถมครอบครัวก็ไม่เข้าใจเธอ เธอจึงตัดสินใจหนีออกจากบ้าน มาใช้ชีวิตตัวเดียวในเมืองหลวง

เรียกได้ว่า เอาแค่เรื่องย่อ เนื้อหาทั้ง 3 บทก็ถือว่าน่าสนใจมากแล้ว น่าเสียดายจริง ๆ ที่ตอนนี้ตัวเกมยังเปิดให้เล่นแค่เพียงบทเดียว แต่เอาแค่บทเดียวที่มีให้เล่นก็น่าสนใจแล้ว เห็นแล้วรู้เลยว่าผู้สร้างเกมอยากจะนำเสนอปัญหาสะท้อนสังคมที่ทุกคนย่อมต้องเจอ แต่ใช้วิธีโดเกมมาเป็นสื่อกลาง ความเข้มข้นของเรื่องราวนั้น ในตอนนี้ที่เล่นได้เพียงบทของ Debt Trap ก็เพียงพอแล้วที่หลายคนอาจจะไม่อยากมีปัญหาชีวิตจมกองหนี้อีกเลย โดยเฉพาะหนี้นอกระบบที่ต้องจ่ายกันแบบรายวันอย่างนี้


แม้ว่าเนื้อเรื่องจะยังมาไม่ครบ และหลายคนอาจรู้สึกว่าเกมนี้เล่นแล้วมันได้รสชาติบัดซบกับชีวิตหรือไม่ ก็บอกเลยว่ามันไม่ถึงขนาดนั้น เพราะท้ายที่สุดแล้วมันก็ยังเป็นแค่เกม ที่อย่างมากเวลาแพ้ก็แค่ Restart จุดเช็คพอยท์ใหม่เท่านั้น เพียงแต่หลายคนอาจจะรู้สึกตลกร้ายเสียหน่อยกับการที่ชีวิตจริงก็สู้อยู่แล้ว ยังต้องมาเล่นเกมที่ต้องสู้ชีวิตอีก แต่สำหรับผู้เขียน นี่เป็นเกมที่ถ่ายทอดชีวิตจริงออกมาได้ดี ดีจนน่าขนลุกเลยทีเดียว และอาจจะทำให้ใครหลายคน ไม่อยากเป็นหนี้ หรือหาทางสู้ชีวิตจนปลดหนี้ให้ได้ ส่วนเนื้อเรื่องบทที่ 2 และ 3 ก็ต้องรอการอัปเดตกันต่อไปในอนาคต ดังนั้นรีวิวนี้เราจะเน้นไปที่เนื้อหาของเกมบทแรกเท่านั้น เพราะมันเล่นได้แค่นี้ในตอนนี้

ชีวิตจริงเป็นยังไง ในเกมก็เป็นอย่างนั้น (ถ้าคุณเป็นคนสู้ชีวิต)


จริงอยู่ว่าเกมนี้เป็นการจำลองชีวิตของคนเรา แต่ในเกมก็ออกจะหนักกว่าชีวิตคนทั่วไป ผู้เล่นจะได้เริ่มต้นจากการเดินทางเข้าสู่เมืองหลวง และเริ่มต้นหางานทำ เมื่อเริ่มเกมมา เราจะได้ทำแบบสอบถาม สำหรับแรงงาน ซึ่งตัวเกมระบุไว้เลยว่า แบบสอบถามนี้ คือแบบสอบถามที่ใช้กันจริงในช่วงปี 2020 ซะด้วย แน่นอนว่างานนี้มั่วไม่ได้ แต่ใครจะไปหาคำตอบแบบลอกข้อสอบเพื่อนจากที่อื่นเอาก็ว่ากันอีกที

รองลงมาคือเรื่องของการหาที่พักสำหรับหลับนอน คุณเพิ่งมาถึงเมืองหลวง แถมเป้าหมายคือการใช้หนี้ แน่นอนว่าที่พักของคุณจะเป็นที่อื่นไปไม่ได้นอกจากห้องพักรายวัน ซึ่งห้องพักรายวันนี้ จะแบ่งออกเป็นสองแบบด้วย นั่นคือแบบห้องรวม นอนร่วมกับคนอื่น และห้องแยกเดี่ยว ห้องแยกเดี่ยวจะถูกกว่าก็จริง แต่ก็ส่งผลกับสภาพจิตใจด้วย เช่นอาจจะนอนหลับได้ไม่เพียงพอ เพราะถูกรบกวน หรือมีเสียงดัง เป็นต้น ในช่วงแรกผู้เล่นจะต้องหาเงินจ่ายทั้งหนี้รายวัน และค่าเช่าห้องพักด้วย ขึ้นอยู่กับการบริหารเงินของเราเอง


รายละเอียดที่สำคัญของการหาเงิน จะเป็นอะไรอื่นไปไม่ได้ นอกจากการหางานทำเลี้ยงชีพ เราเข้ามาในฐานะคนธรรมดา ดังนั้นงานแรกที่เราจะทำได้ คืองานกรรมกรแบกหามเท่านั้น แต่ในอนาคต เราสามารถใช้ Skill Point ที่ได้มาจากการทำงาน มาเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ทำให้เราปลดล็อคสายงานใหม่ ๆ ที่เข้าไปทำได้ และส่วนมากก็จะเป็นงานที่อิงมาจากอาชีพจริงอย่างเช่น รปภ. / พนักงานแจกโบรชัวร์ / พนักงานใส่ชุดมาสคอตโปรโมทร้าน / พนักงานจัดโกดัง เป็นต้น และในแต่ละสายอาชีพยังสามารถนำ Skill Point ไปอัปเกรดความสามารถในสายงานนั้นได้ เช่น การแบกอิฐแบกปูน จะทำให้เราเดินเร็วขึ้น เป็นต้น ทำงานได้ไวขึ้น ก็หมายถึงเงินที่ได้เยอะขึ้น


รูปแบบการทำงานของแต่ละอาชีพก็จะต่างกันออกไป โดยมันไม่ใช่แค่คำว่าอาชีพที่สร้างขึ้่นมาเท่ ๆ แต่จะเป็นมินิเกม ที่เราจะได้เล่นเป็นอาชีพนั้นกันจริง ๆ เช่น รปภ. เราจะต้องทำหน้าที่ในการคัดกรองผู้คน ผู้คนจะเดินมาพร้อมประโยคบนหัว ถ้าเราอ่านแล้วคิดว่ามันไม่ใช่คนดี ก็อย่าให้ผ่านเข้าไป แต่ถ้าเป็นคนดี อาศัยอยู่ที่นี่ก็ให้เข้ามาได้ หรืองานแจกโบรชัวร์ ก็ต้องพยายามแจกให้คนรับเยอะที่สุด โดยมีสกิลยิบย่อยเข้ามาเอี่ยวด้วย เรียกได้ว่าละเอียดลุ่มลึกกันแบบสุด  ๆ 

ทำงานมาแล้ว ได้เงินมาแล้ว หาที่พักกันไว้แล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ห้ามหลงลืมโดยเด็ดขาดมีสองอย่างสำหรับเกมนี้ อย่างแรกเลยคือเรื่องความหิว ตัวละครจำเป็นจะต้องกินอาหารด้วย และไม่ใช่สักแต่ว่ากิน เกมนี้ไม่ได้ลงละเอียดถึงขั้นสารอาหารที่จำเป็นก็จริง แต่ตัวละครจะมาพร้อมกับความพึงพอใจ หากเรากินอาหารเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ทุกวัน ท้องอิ่มก็จริง แต่ตัวละครจะเกิดความเบื่อหน่าย ซึ่งมันจะไปส่งผลกระทบกับค่าที่สำคัญที่สุดในเกมอย่างค่า Mood หรืออารมณ์ความรู้สึก 


Mood ของตัวละคร จะส่งผลต่อทุกอย่างในชีวิต โดยมีการแบ่งออกเป็น 4 ระดับ หาก Mood ตัวละครยังอยู่ในสองระดับบนก็ยังโอเค แต่ถ้าต่ำลงมาที่ 2 ระดับล่าง จะเข้าข่ายอันตราย การที่ Mood ตัวละครอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่นั้น จะส่งผลให้ตัวละครคิดมากในเวลากลางคืนหรือเข้านอน ที่อาจจะเกิดเหตุการณ์สุ่มที่เป็นผลไม่ดีกับตัวละคร เช่น เครียดจัดจนออกไปหาทางระบาย แต่เผลอทำตัวเองบาดเจ็บ หรือใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยจนเงินหมดตัว ทำให้เกมไปต่อได้ลำบากมาก


วิธีการเพิ่ม Mood ของตัวละครนั้น มีหลากหลายวิธีมาก ไม่ว่าจะเป็นการไปเต้นแอโรบิก ซึ่งเป็นกิจกรรมเข้าสังคม การเล่นกิจกรรมต่าง ๆ การร้องคาราโอเกะ เล่นเกมตามร้านเน็ต และอื่น ๆ นอกจากนั้นยังมีระบบ Today's Trend หรือระบบที่บอกว่า วันนี้คนนิยมทำอะไรกัน เช่นวันนี้คนนิยมไปเล่นปาลูกโป่งกัน หากเราไปเล่นกิจกรรมนั้น ก็จะได้ค่า Mood เพิ่ม หรืองานบางสายอาชีพที่มีความเคารพในตัวเองสู. จะช่วยฟื้นฟูค่า Mood ได้ด้วย สิ่งนี้เองก็สะท้อนชีวิตประจำวันของเกมออกมาได้ค่อนข้างดี นั่นคือ ไม่ใช่ว่าเรามัวแต่จะหางาน หาเงินอย่างเดียว เราต้องหาความสุขให้กับชีวิตตัวเองด้วย ไม่เช่นนั้น สุขภาพจิตเราก็พังอยู่ดี

ไม่น่าเชื่อว่านี่คือระบบเกมที่จำลองชีวิตจริงออกมาได้ค่อนข้างแม่นยำ และเหมือนจริงเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน อะไรที่เราคิดว่าชีวิตจริงเราเคยเจอ ในเกมนี้เราก็จะได้เจอด้วย แต่มันอาจจะมาในรูปแบบที่ต่างกันออกไป น่าสนใจมากว่าเนื้อเรื่องในส่วนที่เหลือต่อจากบทนี้จะถูกนำเสนอและตีความออกมาเป็นแบบใดบ้าง


Nobody - The Turnaround อาจไม่ใช่เกมที่เพอร์เฟคท์ แต่ในฐานะที่เราทุกคนล้วนใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเมืองหลวง ทำงานหาเงินมาใช้จ่ายหนี้สินที่เราอาจไม่ได้ก่อ หรือก่อขึ้นมาเองโดยตั้งใจก็ตาม ทำให้บางครั้งเราก็รู้สึกจากเกมนี้ได้เลยว่า ชีวิตนี้ ไม่เป็นหนี้ ดีที่สุดแล้ว หรือถ้าเป็น ก็อย่าให้มันมารัดคอเรามากจนเกินไป ไม่่เช่นนั้น ความสุขในชีวิต อาจหาได้ยากยิ่งจริง ๆ

7
ข้อดี

- จำลองชีวิตคนยากจนข้นแค้่นได้ชัดเจนดี

- ไม่ได้ดราม่า หดหู่อะไรขนาดนั้น เล่นได้ สนุกด้วย ของจริง

- ระบบต่าง ๆ ค่อนข้างลุ่มลึก ละเอียดกว่าที่คิดไว้


ข้อเสีย

- Early Access หลาย ๆ อย่างเลยยังดูไม่สมประกอบ

- หลายอย่างดูเผา และลวกไปหน่อย เช่นกราฟิกบางพื้นที่

- บั๊กประปราย


8

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[Review] รีวิว Nobody - The Turnaround เกมเอาตัวรอดของจริงขนานแท้ เมื่อชีวิตพร้อมสู้กลับในทุก ๆ วัน
27/11/2022

ตามปกติแล้ว เกม Survival หรือเกมเอาตัวรอด เรามักจะได้เล่นเป็นสุดยอดคนเหนือมนุษย์ ที่หาหนทางรอดได้เสมอ แต่เคยคิดบ้างไหมว่า การที่เราชอบเล่นเกมเอาตัวรอดนั้น ชีวิตจริงเราก็กำลังเอาตัวรอดกันอยู่ทุกวี่ทุกวันอยู่แล้ว และ Nobody - The Turnaround ก็เหมือนกับการหยิบเอาเรื่องราวในชีวิตประจำวันเหล่านั้นมาถ่ายทอดเป็นวิดีโอเกมอีกที แต่มันจะเป็นเกมแบบไหน ยากจนข้นแค้นแค่ไหน ก็ลองมาดูกันได้ในรีวิวของเรา

**รีวิวตัวนี้ เขียนขึ้นขณะที่เกมอยู่ในช่วง Early Access**

เนื้อเรื่อง 3 บท ที่สะท้อนปัญหาชีวิตที่คนทุกคนต้องเจอ


แม้ว่าตอนนี้เนื้อเรื่องภายในเกมจะเปิดให้เล่นเพียงบทเดียวเท่านั้น แต่ที่หน้าจอเกมมีการเปิดเผยว่าเนื้อเรื่องหลักของเกมนี้จะมีทั้งหมด 3 บทด้วยกัน แต่ละบทจะมีเนื้อเรื่องที่แยกจากกัน เนื้อเรื่องทั้ง 3 บทจะแบ่งเป็น Debt Trap เป็นเนื้อหาที่เราได้เล่นกันตั้งแต่ตอนช่วง Demo แล้ว เมื่อพ่อของเราไปติดพนัน จนกลายเป็นหนี้สินก้อนใหญ่ แถมยังหนีไป ทิ้งหนี้ไว้ให้เราชดใช้ เราในฐานะผู้นำครอบครัวเพียงคนเดียว จึงต้องเดินหน้าเข้าเมืองหลวง หางานทำ และส่งหนี้รายวันคืนให้กับเจ้าหนี้

บทที่ 2 คือ Falling Relationship มีเรื่องย่อคือ เรากับแฟนสาวที่สัญญาว่าจะรักกันตลอดไป แต่ชีวิตจริงกลับมิได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เมื่อแฟนสาวเราได้งานที่ดิบดี แต่ตัวเรากลับตกงานซะเอง แถมเรายังถูกครอบครัวกีดกันอีกด้วย เรียกได้ว่าชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร และปิดท้ายด้วยบทที่ 3 กับ Lost in the Night เรื่องราวของเด็กสาวที่มีชีวิตวัยเรียนที่เหลวแหลก แถมครอบครัวก็ไม่เข้าใจเธอ เธอจึงตัดสินใจหนีออกจากบ้าน มาใช้ชีวิตตัวเดียวในเมืองหลวง

เรียกได้ว่า เอาแค่เรื่องย่อ เนื้อหาทั้ง 3 บทก็ถือว่าน่าสนใจมากแล้ว น่าเสียดายจริง ๆ ที่ตอนนี้ตัวเกมยังเปิดให้เล่นแค่เพียงบทเดียว แต่เอาแค่บทเดียวที่มีให้เล่นก็น่าสนใจแล้ว เห็นแล้วรู้เลยว่าผู้สร้างเกมอยากจะนำเสนอปัญหาสะท้อนสังคมที่ทุกคนย่อมต้องเจอ แต่ใช้วิธีโดเกมมาเป็นสื่อกลาง ความเข้มข้นของเรื่องราวนั้น ในตอนนี้ที่เล่นได้เพียงบทของ Debt Trap ก็เพียงพอแล้วที่หลายคนอาจจะไม่อยากมีปัญหาชีวิตจมกองหนี้อีกเลย โดยเฉพาะหนี้นอกระบบที่ต้องจ่ายกันแบบรายวันอย่างนี้


แม้ว่าเนื้อเรื่องจะยังมาไม่ครบ และหลายคนอาจรู้สึกว่าเกมนี้เล่นแล้วมันได้รสชาติบัดซบกับชีวิตหรือไม่ ก็บอกเลยว่ามันไม่ถึงขนาดนั้น เพราะท้ายที่สุดแล้วมันก็ยังเป็นแค่เกม ที่อย่างมากเวลาแพ้ก็แค่ Restart จุดเช็คพอยท์ใหม่เท่านั้น เพียงแต่หลายคนอาจจะรู้สึกตลกร้ายเสียหน่อยกับการที่ชีวิตจริงก็สู้อยู่แล้ว ยังต้องมาเล่นเกมที่ต้องสู้ชีวิตอีก แต่สำหรับผู้เขียน นี่เป็นเกมที่ถ่ายทอดชีวิตจริงออกมาได้ดี ดีจนน่าขนลุกเลยทีเดียว และอาจจะทำให้ใครหลายคน ไม่อยากเป็นหนี้ หรือหาทางสู้ชีวิตจนปลดหนี้ให้ได้ ส่วนเนื้อเรื่องบทที่ 2 และ 3 ก็ต้องรอการอัปเดตกันต่อไปในอนาคต ดังนั้นรีวิวนี้เราจะเน้นไปที่เนื้อหาของเกมบทแรกเท่านั้น เพราะมันเล่นได้แค่นี้ในตอนนี้

ชีวิตจริงเป็นยังไง ในเกมก็เป็นอย่างนั้น (ถ้าคุณเป็นคนสู้ชีวิต)


จริงอยู่ว่าเกมนี้เป็นการจำลองชีวิตของคนเรา แต่ในเกมก็ออกจะหนักกว่าชีวิตคนทั่วไป ผู้เล่นจะได้เริ่มต้นจากการเดินทางเข้าสู่เมืองหลวง และเริ่มต้นหางานทำ เมื่อเริ่มเกมมา เราจะได้ทำแบบสอบถาม สำหรับแรงงาน ซึ่งตัวเกมระบุไว้เลยว่า แบบสอบถามนี้ คือแบบสอบถามที่ใช้กันจริงในช่วงปี 2020 ซะด้วย แน่นอนว่างานนี้มั่วไม่ได้ แต่ใครจะไปหาคำตอบแบบลอกข้อสอบเพื่อนจากที่อื่นเอาก็ว่ากันอีกที

รองลงมาคือเรื่องของการหาที่พักสำหรับหลับนอน คุณเพิ่งมาถึงเมืองหลวง แถมเป้าหมายคือการใช้หนี้ แน่นอนว่าที่พักของคุณจะเป็นที่อื่นไปไม่ได้นอกจากห้องพักรายวัน ซึ่งห้องพักรายวันนี้ จะแบ่งออกเป็นสองแบบด้วย นั่นคือแบบห้องรวม นอนร่วมกับคนอื่น และห้องแยกเดี่ยว ห้องแยกเดี่ยวจะถูกกว่าก็จริง แต่ก็ส่งผลกับสภาพจิตใจด้วย เช่นอาจจะนอนหลับได้ไม่เพียงพอ เพราะถูกรบกวน หรือมีเสียงดัง เป็นต้น ในช่วงแรกผู้เล่นจะต้องหาเงินจ่ายทั้งหนี้รายวัน และค่าเช่าห้องพักด้วย ขึ้นอยู่กับการบริหารเงินของเราเอง


รายละเอียดที่สำคัญของการหาเงิน จะเป็นอะไรอื่นไปไม่ได้ นอกจากการหางานทำเลี้ยงชีพ เราเข้ามาในฐานะคนธรรมดา ดังนั้นงานแรกที่เราจะทำได้ คืองานกรรมกรแบกหามเท่านั้น แต่ในอนาคต เราสามารถใช้ Skill Point ที่ได้มาจากการทำงาน มาเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ทำให้เราปลดล็อคสายงานใหม่ ๆ ที่เข้าไปทำได้ และส่วนมากก็จะเป็นงานที่อิงมาจากอาชีพจริงอย่างเช่น รปภ. / พนักงานแจกโบรชัวร์ / พนักงานใส่ชุดมาสคอตโปรโมทร้าน / พนักงานจัดโกดัง เป็นต้น และในแต่ละสายอาชีพยังสามารถนำ Skill Point ไปอัปเกรดความสามารถในสายงานนั้นได้ เช่น การแบกอิฐแบกปูน จะทำให้เราเดินเร็วขึ้น เป็นต้น ทำงานได้ไวขึ้น ก็หมายถึงเงินที่ได้เยอะขึ้น


รูปแบบการทำงานของแต่ละอาชีพก็จะต่างกันออกไป โดยมันไม่ใช่แค่คำว่าอาชีพที่สร้างขึ้่นมาเท่ ๆ แต่จะเป็นมินิเกม ที่เราจะได้เล่นเป็นอาชีพนั้นกันจริง ๆ เช่น รปภ. เราจะต้องทำหน้าที่ในการคัดกรองผู้คน ผู้คนจะเดินมาพร้อมประโยคบนหัว ถ้าเราอ่านแล้วคิดว่ามันไม่ใช่คนดี ก็อย่าให้ผ่านเข้าไป แต่ถ้าเป็นคนดี อาศัยอยู่ที่นี่ก็ให้เข้ามาได้ หรืองานแจกโบรชัวร์ ก็ต้องพยายามแจกให้คนรับเยอะที่สุด โดยมีสกิลยิบย่อยเข้ามาเอี่ยวด้วย เรียกได้ว่าละเอียดลุ่มลึกกันแบบสุด  ๆ 

ทำงานมาแล้ว ได้เงินมาแล้ว หาที่พักกันไว้แล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ห้ามหลงลืมโดยเด็ดขาดมีสองอย่างสำหรับเกมนี้ อย่างแรกเลยคือเรื่องความหิว ตัวละครจำเป็นจะต้องกินอาหารด้วย และไม่ใช่สักแต่ว่ากิน เกมนี้ไม่ได้ลงละเอียดถึงขั้นสารอาหารที่จำเป็นก็จริง แต่ตัวละครจะมาพร้อมกับความพึงพอใจ หากเรากินอาหารเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ทุกวัน ท้องอิ่มก็จริง แต่ตัวละครจะเกิดความเบื่อหน่าย ซึ่งมันจะไปส่งผลกระทบกับค่าที่สำคัญที่สุดในเกมอย่างค่า Mood หรืออารมณ์ความรู้สึก 


Mood ของตัวละคร จะส่งผลต่อทุกอย่างในชีวิต โดยมีการแบ่งออกเป็น 4 ระดับ หาก Mood ตัวละครยังอยู่ในสองระดับบนก็ยังโอเค แต่ถ้าต่ำลงมาที่ 2 ระดับล่าง จะเข้าข่ายอันตราย การที่ Mood ตัวละครอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่นั้น จะส่งผลให้ตัวละครคิดมากในเวลากลางคืนหรือเข้านอน ที่อาจจะเกิดเหตุการณ์สุ่มที่เป็นผลไม่ดีกับตัวละคร เช่น เครียดจัดจนออกไปหาทางระบาย แต่เผลอทำตัวเองบาดเจ็บ หรือใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยจนเงินหมดตัว ทำให้เกมไปต่อได้ลำบากมาก


วิธีการเพิ่ม Mood ของตัวละครนั้น มีหลากหลายวิธีมาก ไม่ว่าจะเป็นการไปเต้นแอโรบิก ซึ่งเป็นกิจกรรมเข้าสังคม การเล่นกิจกรรมต่าง ๆ การร้องคาราโอเกะ เล่นเกมตามร้านเน็ต และอื่น ๆ นอกจากนั้นยังมีระบบ Today's Trend หรือระบบที่บอกว่า วันนี้คนนิยมทำอะไรกัน เช่นวันนี้คนนิยมไปเล่นปาลูกโป่งกัน หากเราไปเล่นกิจกรรมนั้น ก็จะได้ค่า Mood เพิ่ม หรืองานบางสายอาชีพที่มีความเคารพในตัวเองสู. จะช่วยฟื้นฟูค่า Mood ได้ด้วย สิ่งนี้เองก็สะท้อนชีวิตประจำวันของเกมออกมาได้ค่อนข้างดี นั่นคือ ไม่ใช่ว่าเรามัวแต่จะหางาน หาเงินอย่างเดียว เราต้องหาความสุขให้กับชีวิตตัวเองด้วย ไม่เช่นนั้น สุขภาพจิตเราก็พังอยู่ดี

ไม่น่าเชื่อว่านี่คือระบบเกมที่จำลองชีวิตจริงออกมาได้ค่อนข้างแม่นยำ และเหมือนจริงเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน อะไรที่เราคิดว่าชีวิตจริงเราเคยเจอ ในเกมนี้เราก็จะได้เจอด้วย แต่มันอาจจะมาในรูปแบบที่ต่างกันออกไป น่าสนใจมากว่าเนื้อเรื่องในส่วนที่เหลือต่อจากบทนี้จะถูกนำเสนอและตีความออกมาเป็นแบบใดบ้าง


Nobody - The Turnaround อาจไม่ใช่เกมที่เพอร์เฟคท์ แต่ในฐานะที่เราทุกคนล้วนใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเมืองหลวง ทำงานหาเงินมาใช้จ่ายหนี้สินที่เราอาจไม่ได้ก่อ หรือก่อขึ้นมาเองโดยตั้งใจก็ตาม ทำให้บางครั้งเราก็รู้สึกจากเกมนี้ได้เลยว่า ชีวิตนี้ ไม่เป็นหนี้ ดีที่สุดแล้ว หรือถ้าเป็น ก็อย่าให้มันมารัดคอเรามากจนเกินไป ไม่่เช่นนั้น ความสุขในชีวิต อาจหาได้ยากยิ่งจริง ๆ


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header