GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
IT
[Play-to-Earn] รวมศัพท์ควรรู้ ในโลกของคริปโตและ NFT
ลงวันที่ 23/12/2021

ช่วงนี้กระแส Crypto-base Game ที่เป็นการเล่นเกมแบบ Play-to-Earn กำลังพุ่งขึ้นอย่างมาก แต่สำหรับบางคนที่เป็นมือใหม่หรือเพิ่งจะเริ่มศึกษา คงเจอคำศัพท์ที่ไม่รู้จักเต็มไปหมดเลยใช่ไหมล่ะ!

วันนี้ GameFever เลยรวบรวมศัพท์ทางเทคนิคที่นิยมใช้บ่อยๆในโลกของ Crypto-base Game เวลาไปศึกษาต่อจะได้ไม่งงยังไงล่ะ จะมีคำว่าอะไรบ้างลองไปดูกันเลย




Blockchain

คือเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่ง ที่มีหน้าที่เก็บข้อมูลการทำธุรกรรมออนไลน์ไว้ภายใน “กล่อง” ที่เชื่องโยงข้อมูลต่อกันเป็นรายการเรียงต่อ ๆ กันคล้ายกับห่วงโซ่ เมื่อข้อมูลถูกบันทึกแล้วจะไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงได้ และเพราะไม่มีใครสามารถแทรกแทรงเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้นี้เอง จึงทำให้เทคโนโลยี Blockchain โปร่งใส ตรวจสอบได้ 

โดย Blockchain จะเข้ามาเป็นกลไกหลักในโลกของ Crypto Currency เพราะสกุลเงินดิจิทัลเหล่านี้ไม่มีตัวกลางในการทำธุรกรรมแบบธนาคาร และเหรียญดิจิทัลหลายตัวก็มี Chain เป็นของตัวเอง เช่น Ethereum และ Bitcoin นั่นเอง

Decentralized Exchange (DEX)

กระดานสำหรับการแลกเปลี่ยน (Trade) สกุลเงินดิจิทัลโดยไม่มีตัวกลางคอยควบคุม แต่จะสร้างตลาดโดยการใช้เทคโนโลยี Blockchain เข้ามาดูแลแทน เช่น Pancakeswap, Uniswap และ Deri Protocol ซึ่งมีข้อดีคือ ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถมาปิดระบบได้ ทำให้ทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นในนี้และเหรียญทุกเหรียญจะเป็นของเราโดยสมบูรณ์ 

CryptoCurrency

เป็นการรวมกันของคำว่า Crypto Graphy ที่แปลว่าเข้ารหัส กับ Currency ที่หมายถึงสกุลเงิน รวมแล้วจะหมายถึงสกุลเงินในรูปแบบดิจิทัลที่ถูกเขารหัสไว้ ซึ่งแน่นอนว่าการจะยืนยันการทำธุรกรรมทุกประเภทจะต้องยืนยันผ่าน Blochchain เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลและทรัพย์สิน

Fiat Money

คำนี้ใช้สื่อถึงสกุลเงินที่ถูกใช้งานกันในโลกแห่งความเป็นจริง อย่างเงินบาท ดอลล่าร์สหรัฐ หรือยูโร โดยเราสามารถเทียบมูลค่าเหรียญคริปโตของเรากับเงินเฟียต (Fiat) บน Exchange เพื่อที่จะได้ทราบมูลค่ากับสกุลเงินจริง รวมถึงสามารถทำธุรกรรมถอนจาก CryptoCurrency เป็น Fiat Money สกุลต่างๆ ที่เราต้องการผ่านแพลตฟอร์ม Exchange ได้ด้วย

Coin & Token

ในกรณีที่เหรียญอย่าง Ethereum (ETH) และ Bitcoin (BTC) นั้นมี Chain เป็นของตัวเอง เราจะเรียกเหรีญตัวนั้นว่า Coin ในขณะที่เหรียญอื่นๆที่ต้องการศัยการทำธุรกรรมผ่าน chain อื่น เราจะเรียกว่า Token

ซึ่งในเกม Play-to-Earn ที่เราเล่นกัน เหรียญที่ได้รับจากในเกมแทบจะทั้งหมดเป็น Token ที่อาศัย chain ใด chain หนึ่งในการดำเนินการทางธุรกรรม

Wallet

กระเป๋าเก็บเหรียญ ที่จะแสดงข้อมูลว่าขณะนี้เราถือเหรียญแต่ละเหรียญไว้เป็นจำนวนเท่าไหร่ โดยบาง Wallet สามารถเช็คเหรียญหลายสกุลหรือหลาย chain ได้ บาง Wallet ก็สามารถเทียบเป็นมูลค่าเงิน Fiat ได้เลยก็มี ขึ้นอยู๋กับฟังก์ชั่นและการรองรับการใช้งานของแต่ละ Wallet

ตัวอย่างเช่น Metamask ซึ่งเป็น No.1 ของ Wallet ทั้งหมดในตอนนี้ เราสามารถเพิ่ม Chain ใน Network ได้ตามความต้องการในการใช้งาน ซึ่งถือว่ารองรับ Chain ได้ครอบคลุมมากเลยทีเดียว เทียบกับ Wemix ที่จะมีแต่ Chain ในเครือของตัวเองเท่านั้น แต่แลกมากับการเชื่อมต่อ DEX และเทียบค่าเงิน Fiat ได้จากในกระเป๋าโดยไม่ต้องขึ้นกระดานเทรดเลย

DeFi & GameFi

Decentralized Finance (DeFi) คือระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลาง โดยอาศัย Blockchain และ Smart Contact เข้ามาเป็นตัวควบคุมการทำธุรกรรม ซึ่งระบบนี้ถูกนำมาใช้กับการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลนั่นเอง

ส่วน GameFi เป็นรวมคำว่า Game เข้ากับ Defi เป็นการเล่นเกมโดยเพิ่มระบบการเงินแบบ Defi เข้ามาด้วย ทำให้เกิดการทำธุรกรรมต่างๆที่มาจากการเล่นเกม เข้าสู่การแลกเปลี่ยนเป็นเหรียญดิจิทัลแบบต่างๆ รวมถึงเงิน Fiat ด้วยยังไงล่ะ

Swap

คือการแลกเปลี่ยนเหรียญจากสกุลหนึ่งไปเป็นอีกสกุลหนึ่ง ซึ่งคำๆนี้ถูกใช้มาตั้งแต่การเทรดหุ้นหรือสกุลเงินมาก่อนแล้ว และด้วยหลักการเดียวกัน คือเทียบมูลค่าของ CryptoCurrency ที่เราถืออยู่ในมือกับอีกสกุลหนึ่งแล้วแลกออกมาตามค่าเงินของช่วงนั้น

Listed Exchange

หลายครั้งที่เกม Play-to-Earn จะโปรโมตตัวเองว่า 'ตอนนี้เหรียญของเราได้ Listed บน xxx Exchange แล้วนะ' ในที่นี้จะหมายถึงเราสามารถนำเหรียญจากเกมไปแลกเปลี่ยนบนตลาดและกระดานเทรดนั้นๆได้ โดยไม่ต้องทำการแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินอื่น เรียกง่ายๆว่าเหรียญนี้ได้รับการยอมรับบนกระดานเทรดแล้วนั่นเอง ซึ่งสำหรับค่ายเกม นี่ยังเป็นหนึ่งในการแสดงความเชื่อมั่นต่อผู้เล่นอีกด้วย


NFT

Non-Fungible Token (NFT) คือเหรียญดิจิทัลประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะตัว ไม่สามารถมีเหรียญใดเข้ามาทดแทนได้ ทำให้ NFT นับเป็นสินทรัพย์ทางดิจิทัลตัวหนึ่ง ที่รันอยู่บน Blockchain โดยเราสามารถทำธุรกรรม ซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยน ได้เหมือน CryptoCurrency ทุกประการ เพียงแต่จำนวนที่มีอยู่บนโลกจะจำกัดมากกว่า โดยอาจมีเพียงชิ้นเดียวก็ได้ใครจะไปรู้

และใน GameFi การสร้าง NFT ถือเป็นอีกหนึ่ง Gimmik หลักที่ขาดไม่ได้เลยก็ว่าได้ เพราะการที่เราสามารถหาไอเท็มที่มีเฉพาะในเกมได้ หรือสร้างตัวละครที่เป็นเอกลักษณ์ของเราเพียงตัวเดียวบนโลก ทำให้พวกมันมีมูลค่ามากพอที่จะสามารถแลกเปลี่ยนกันหรือซื้อสะสมไว้เช่นกัน

Liquidity Pool

คือคลังเหรียญของ DEX หรือในเกมนั้นๆ โดยควบคุมและสามารถซื้อขายผ่าน Smart Contact ได้เลย ซึ่งจำนวน Liquidity Pool ที่แพลตฟอร์มนั้นๆมี จะรับประกันสภาพคล่องของสินทรัพย์ระหว่างผู้ที่เข้าร่วมในตลาดได้อีกด้วย

และอย่างที่เรารู้กันว่า เหรียญ CryptoCurrency มีจำนวนที่แน่นอน ว่าง่ายๆก็คือวันหนึ่งมันจะไม่สามารถถูกขุดขึ้นมาใหม่ได้อีก Token ในเกมก็เช่นกัน ฉะนั้นบางเกมที่เหรียญออกมาจนครบในเวลาอันรวดเร็ว หรือคนเทขายเหรียญจนไม่เหลือใน Pool เลย ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกมเหล่านั้นแตกได้อย่างง่ายดาย

Yield Farming

เป็นรูปแบบการทำกำไรหนึ่งบนโลกของ CryptoCurrency ด้วยการฟาร์มเหรียญ วิธีการคือให้เรานำเหรียญของเราเข้าไปใน Liquidity Pool แล้วรอรับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียมหรือ Governance Token ของแพลตฟอร์ม เรียกอีกอย่างว่าเราเข้าไป Stake เหรียญแล้วรอให้กำไรงอกเงยด้วยตัวเอง

โดยเกม Play-to-Earn ส่วนใหญ่ต่างก็เข้าข่ายนี้เสียเป็นส่วนใหญ่ ถ้าจะให้ชัดเจนเลยคือ Morning Moon Village ที่ใช้ระบบนี้มาสร้างเป็นเกมเลย ซึ่งมีส่วนช่วยในการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในเกมได้อย่างดี ส่วนคนที่ลงเหรียญไว้ก็ได้กำไรกลับคืนมาเรื่อยๆ win-win ทั้งผู้เล่นและทีมงานสร้างเกมเลย

ROI

Return of Investment หรือผลตอบแทนจากการลงทุนนั่นเอง โดยจะคิดเทียบกับเงินแรกเข้าที่วางไว้แล้วได้เงินจำนวนนั้นคืนในเวลาเท่าไหร่ รวมถึงมีกำไรเข้ามาเท่าไหร่ด้วย ซึ่งในวงการ GameFi จะมีการนำเสนอข้อมูลนี้กันเพื่อพิจารณาความน่าเชื่อถือของเกมแต่ละเกม รวมถึงความคุ้มค่าในการเข้าไป Play-to-Earn กับเกมนั้นๆ ด้วยนั่นเอง

HODL

ในทางการเงินดิจิทัล คำนี้หมายถึงพฤติกรรมของรักลงทุนที่ตัดสินใจลงทุนกับเหรียญหรือเกมนั้นในระยะยาว โดยไม่กังวลกับราคาที่ผันผวนในปัจจุบัน ซึ่งก็มีเกมเมอร์หลายคนที่เป็นสายนี้หากเขามั่นใจกับแผนงานของเกมนั้นมากพอ ก็จะไม่สนการวิ่งของกราฟที่ขึ้นสุดลงสุด แต่จะรอจนถึงช่วงที่เหมาะสมจริงๆ หรือรอไปยาวๆจนกว่าจะถึงช่วงที่เจ้าตัวพอใจนั่นเอง อย่างไรก็ดี คำนี้ยังมีไว้แซวคนที่อดทนถือเหรียญไว้ไม่ยอมขาย เพราะราคาต่ำกว่าที่ซื้อมาได้ด้วยเช่นกัน

FOMO & JOMO

FOMO (Fear of Missing out) เป็นอีกพฤติกรรมที่ส่งผลต่อระบบเกมอย่างมาก เมื่อมีผู้คนส่วนมากกลัวที่จะขาดทุน จึงเร่งเทขายเหรียญก่อนที่ราคาจะร่วงไปมากกว่านี้ ซึ่งส่งผลต่อ Liquidity Pool และความน่าเชื่อถือของเกม อย่างที่เคยเกิดขึ้นกับ CryptoMine มาแล้ว ฉะนั้นเมื่อเห็นว่าเกมเจอภาวะนี้เมื่อไหร่ก็เตรียมกุมขมับได้เลย

ส่วนพฤติกรรมตรงกันข้ามก็คือ JOMO (Joy of Missing out) ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่ได้รู้สึกเสียดายที่เจอเหรียญราคาร่วงหรือแม้แต่ตัวเองกำลังขาดทุนกับเกมหรือการเทรดนั้นอยู่ก็ตาม และอาจเห็นเป็นเรื่องตลกด้วยซ้ำไป

Rug Pull

กลโกงรูปแบบหนึ่ง ที่แสร้งทำเป็นเปิดแพลตฟอร์มให้เรานำเงินไปลงทุน เมื่อมีเงินในระบบจำนวนมากแล้วเจ้าของแพลตฟอร์มนั้นก็ปิดแล้วหนีหายไปพร้อมกับเงินก้อนโต เป็นเหมือนการ 'ดึงพรมให้คนที่ยืนอยู่ล้มหน้าทิ่ม' เป็นการหักหลังผู้ลงทุนที่เจ็บแสบมากวิธีหนึ่งเลย

ซึ่งในวงการ Defi และ GameFi ก็มีไม่น้อย ที่ในช่วงแรกพยายามโฆษณาตัวเองให้น่าเชื่อถือ หรือสามารถลงเงินได้แต่ยังไม่ให้ถอนออก ก่อนที่ Dev จะสละโปรเจคทิ้งอย่างไม่ใยดีและไม่ทิ้งเงินคืนมาให้ด้วย ฉะนั้นเมื่อมีคนเตือนว่าเกมนี้ Rug Pull ล่ะก็รีบถอยให้ห่างเลยนะ

Airdrop

ถ้าเล่นเกมแนว Battle Royale กันมาก็น่าจะคุ้นกับคำนี้ดีเลยล่ะ เพราะมันคือของดีของฟรีที่ระบบจะปล่อยมาให้ผู้เล่นแย่งชิงเพื่อให้ได้ Supplies ในจำนวนที่มากขึ้นหรือดีกว่าเดิม คล้ายๆกันในโลกของ Crypto-base Game การจัดกิจกรรม Aridrop ก็คือการแจกของให้ผู้ที่สนใจแบบฟรีๆ เพียงแค่กดติดตามหรือทำตามกติกาเล็กๆน้อยๆ โดยจะได้ของรางวัลตอบแทนเป็นเหรียญหรือ NFT ของเกม เพื่อเป็นการโปรโมตและกระจายเหรียญให้เป็นที่รู้จัก รวมถึงสร้างมูลค่าให้กับเหรียญของเกมนั้นๆด้วย


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[Play-to-Earn] รวมศัพท์ควรรู้ ในโลกของคริปโตและ NFT
23/12/2021

ช่วงนี้กระแส Crypto-base Game ที่เป็นการเล่นเกมแบบ Play-to-Earn กำลังพุ่งขึ้นอย่างมาก แต่สำหรับบางคนที่เป็นมือใหม่หรือเพิ่งจะเริ่มศึกษา คงเจอคำศัพท์ที่ไม่รู้จักเต็มไปหมดเลยใช่ไหมล่ะ!

วันนี้ GameFever เลยรวบรวมศัพท์ทางเทคนิคที่นิยมใช้บ่อยๆในโลกของ Crypto-base Game เวลาไปศึกษาต่อจะได้ไม่งงยังไงล่ะ จะมีคำว่าอะไรบ้างลองไปดูกันเลย




Blockchain

คือเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่ง ที่มีหน้าที่เก็บข้อมูลการทำธุรกรรมออนไลน์ไว้ภายใน “กล่อง” ที่เชื่องโยงข้อมูลต่อกันเป็นรายการเรียงต่อ ๆ กันคล้ายกับห่วงโซ่ เมื่อข้อมูลถูกบันทึกแล้วจะไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงได้ และเพราะไม่มีใครสามารถแทรกแทรงเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้นี้เอง จึงทำให้เทคโนโลยี Blockchain โปร่งใส ตรวจสอบได้ 

โดย Blockchain จะเข้ามาเป็นกลไกหลักในโลกของ Crypto Currency เพราะสกุลเงินดิจิทัลเหล่านี้ไม่มีตัวกลางในการทำธุรกรรมแบบธนาคาร และเหรียญดิจิทัลหลายตัวก็มี Chain เป็นของตัวเอง เช่น Ethereum และ Bitcoin นั่นเอง

Decentralized Exchange (DEX)

กระดานสำหรับการแลกเปลี่ยน (Trade) สกุลเงินดิจิทัลโดยไม่มีตัวกลางคอยควบคุม แต่จะสร้างตลาดโดยการใช้เทคโนโลยี Blockchain เข้ามาดูแลแทน เช่น Pancakeswap, Uniswap และ Deri Protocol ซึ่งมีข้อดีคือ ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถมาปิดระบบได้ ทำให้ทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นในนี้และเหรียญทุกเหรียญจะเป็นของเราโดยสมบูรณ์ 

CryptoCurrency

เป็นการรวมกันของคำว่า Crypto Graphy ที่แปลว่าเข้ารหัส กับ Currency ที่หมายถึงสกุลเงิน รวมแล้วจะหมายถึงสกุลเงินในรูปแบบดิจิทัลที่ถูกเขารหัสไว้ ซึ่งแน่นอนว่าการจะยืนยันการทำธุรกรรมทุกประเภทจะต้องยืนยันผ่าน Blochchain เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลและทรัพย์สิน

Fiat Money

คำนี้ใช้สื่อถึงสกุลเงินที่ถูกใช้งานกันในโลกแห่งความเป็นจริง อย่างเงินบาท ดอลล่าร์สหรัฐ หรือยูโร โดยเราสามารถเทียบมูลค่าเหรียญคริปโตของเรากับเงินเฟียต (Fiat) บน Exchange เพื่อที่จะได้ทราบมูลค่ากับสกุลเงินจริง รวมถึงสามารถทำธุรกรรมถอนจาก CryptoCurrency เป็น Fiat Money สกุลต่างๆ ที่เราต้องการผ่านแพลตฟอร์ม Exchange ได้ด้วย

Coin & Token

ในกรณีที่เหรียญอย่าง Ethereum (ETH) และ Bitcoin (BTC) นั้นมี Chain เป็นของตัวเอง เราจะเรียกเหรีญตัวนั้นว่า Coin ในขณะที่เหรียญอื่นๆที่ต้องการศัยการทำธุรกรรมผ่าน chain อื่น เราจะเรียกว่า Token

ซึ่งในเกม Play-to-Earn ที่เราเล่นกัน เหรียญที่ได้รับจากในเกมแทบจะทั้งหมดเป็น Token ที่อาศัย chain ใด chain หนึ่งในการดำเนินการทางธุรกรรม

Wallet

กระเป๋าเก็บเหรียญ ที่จะแสดงข้อมูลว่าขณะนี้เราถือเหรียญแต่ละเหรียญไว้เป็นจำนวนเท่าไหร่ โดยบาง Wallet สามารถเช็คเหรียญหลายสกุลหรือหลาย chain ได้ บาง Wallet ก็สามารถเทียบเป็นมูลค่าเงิน Fiat ได้เลยก็มี ขึ้นอยู๋กับฟังก์ชั่นและการรองรับการใช้งานของแต่ละ Wallet

ตัวอย่างเช่น Metamask ซึ่งเป็น No.1 ของ Wallet ทั้งหมดในตอนนี้ เราสามารถเพิ่ม Chain ใน Network ได้ตามความต้องการในการใช้งาน ซึ่งถือว่ารองรับ Chain ได้ครอบคลุมมากเลยทีเดียว เทียบกับ Wemix ที่จะมีแต่ Chain ในเครือของตัวเองเท่านั้น แต่แลกมากับการเชื่อมต่อ DEX และเทียบค่าเงิน Fiat ได้จากในกระเป๋าโดยไม่ต้องขึ้นกระดานเทรดเลย

DeFi & GameFi

Decentralized Finance (DeFi) คือระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลาง โดยอาศัย Blockchain และ Smart Contact เข้ามาเป็นตัวควบคุมการทำธุรกรรม ซึ่งระบบนี้ถูกนำมาใช้กับการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลนั่นเอง

ส่วน GameFi เป็นรวมคำว่า Game เข้ากับ Defi เป็นการเล่นเกมโดยเพิ่มระบบการเงินแบบ Defi เข้ามาด้วย ทำให้เกิดการทำธุรกรรมต่างๆที่มาจากการเล่นเกม เข้าสู่การแลกเปลี่ยนเป็นเหรียญดิจิทัลแบบต่างๆ รวมถึงเงิน Fiat ด้วยยังไงล่ะ

Swap

คือการแลกเปลี่ยนเหรียญจากสกุลหนึ่งไปเป็นอีกสกุลหนึ่ง ซึ่งคำๆนี้ถูกใช้มาตั้งแต่การเทรดหุ้นหรือสกุลเงินมาก่อนแล้ว และด้วยหลักการเดียวกัน คือเทียบมูลค่าของ CryptoCurrency ที่เราถืออยู่ในมือกับอีกสกุลหนึ่งแล้วแลกออกมาตามค่าเงินของช่วงนั้น

Listed Exchange

หลายครั้งที่เกม Play-to-Earn จะโปรโมตตัวเองว่า 'ตอนนี้เหรียญของเราได้ Listed บน xxx Exchange แล้วนะ' ในที่นี้จะหมายถึงเราสามารถนำเหรียญจากเกมไปแลกเปลี่ยนบนตลาดและกระดานเทรดนั้นๆได้ โดยไม่ต้องทำการแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินอื่น เรียกง่ายๆว่าเหรียญนี้ได้รับการยอมรับบนกระดานเทรดแล้วนั่นเอง ซึ่งสำหรับค่ายเกม นี่ยังเป็นหนึ่งในการแสดงความเชื่อมั่นต่อผู้เล่นอีกด้วย


NFT

Non-Fungible Token (NFT) คือเหรียญดิจิทัลประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะตัว ไม่สามารถมีเหรียญใดเข้ามาทดแทนได้ ทำให้ NFT นับเป็นสินทรัพย์ทางดิจิทัลตัวหนึ่ง ที่รันอยู่บน Blockchain โดยเราสามารถทำธุรกรรม ซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยน ได้เหมือน CryptoCurrency ทุกประการ เพียงแต่จำนวนที่มีอยู่บนโลกจะจำกัดมากกว่า โดยอาจมีเพียงชิ้นเดียวก็ได้ใครจะไปรู้

และใน GameFi การสร้าง NFT ถือเป็นอีกหนึ่ง Gimmik หลักที่ขาดไม่ได้เลยก็ว่าได้ เพราะการที่เราสามารถหาไอเท็มที่มีเฉพาะในเกมได้ หรือสร้างตัวละครที่เป็นเอกลักษณ์ของเราเพียงตัวเดียวบนโลก ทำให้พวกมันมีมูลค่ามากพอที่จะสามารถแลกเปลี่ยนกันหรือซื้อสะสมไว้เช่นกัน

Liquidity Pool

คือคลังเหรียญของ DEX หรือในเกมนั้นๆ โดยควบคุมและสามารถซื้อขายผ่าน Smart Contact ได้เลย ซึ่งจำนวน Liquidity Pool ที่แพลตฟอร์มนั้นๆมี จะรับประกันสภาพคล่องของสินทรัพย์ระหว่างผู้ที่เข้าร่วมในตลาดได้อีกด้วย

และอย่างที่เรารู้กันว่า เหรียญ CryptoCurrency มีจำนวนที่แน่นอน ว่าง่ายๆก็คือวันหนึ่งมันจะไม่สามารถถูกขุดขึ้นมาใหม่ได้อีก Token ในเกมก็เช่นกัน ฉะนั้นบางเกมที่เหรียญออกมาจนครบในเวลาอันรวดเร็ว หรือคนเทขายเหรียญจนไม่เหลือใน Pool เลย ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกมเหล่านั้นแตกได้อย่างง่ายดาย

Yield Farming

เป็นรูปแบบการทำกำไรหนึ่งบนโลกของ CryptoCurrency ด้วยการฟาร์มเหรียญ วิธีการคือให้เรานำเหรียญของเราเข้าไปใน Liquidity Pool แล้วรอรับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียมหรือ Governance Token ของแพลตฟอร์ม เรียกอีกอย่างว่าเราเข้าไป Stake เหรียญแล้วรอให้กำไรงอกเงยด้วยตัวเอง

โดยเกม Play-to-Earn ส่วนใหญ่ต่างก็เข้าข่ายนี้เสียเป็นส่วนใหญ่ ถ้าจะให้ชัดเจนเลยคือ Morning Moon Village ที่ใช้ระบบนี้มาสร้างเป็นเกมเลย ซึ่งมีส่วนช่วยในการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในเกมได้อย่างดี ส่วนคนที่ลงเหรียญไว้ก็ได้กำไรกลับคืนมาเรื่อยๆ win-win ทั้งผู้เล่นและทีมงานสร้างเกมเลย

ROI

Return of Investment หรือผลตอบแทนจากการลงทุนนั่นเอง โดยจะคิดเทียบกับเงินแรกเข้าที่วางไว้แล้วได้เงินจำนวนนั้นคืนในเวลาเท่าไหร่ รวมถึงมีกำไรเข้ามาเท่าไหร่ด้วย ซึ่งในวงการ GameFi จะมีการนำเสนอข้อมูลนี้กันเพื่อพิจารณาความน่าเชื่อถือของเกมแต่ละเกม รวมถึงความคุ้มค่าในการเข้าไป Play-to-Earn กับเกมนั้นๆ ด้วยนั่นเอง

HODL

ในทางการเงินดิจิทัล คำนี้หมายถึงพฤติกรรมของรักลงทุนที่ตัดสินใจลงทุนกับเหรียญหรือเกมนั้นในระยะยาว โดยไม่กังวลกับราคาที่ผันผวนในปัจจุบัน ซึ่งก็มีเกมเมอร์หลายคนที่เป็นสายนี้หากเขามั่นใจกับแผนงานของเกมนั้นมากพอ ก็จะไม่สนการวิ่งของกราฟที่ขึ้นสุดลงสุด แต่จะรอจนถึงช่วงที่เหมาะสมจริงๆ หรือรอไปยาวๆจนกว่าจะถึงช่วงที่เจ้าตัวพอใจนั่นเอง อย่างไรก็ดี คำนี้ยังมีไว้แซวคนที่อดทนถือเหรียญไว้ไม่ยอมขาย เพราะราคาต่ำกว่าที่ซื้อมาได้ด้วยเช่นกัน

FOMO & JOMO

FOMO (Fear of Missing out) เป็นอีกพฤติกรรมที่ส่งผลต่อระบบเกมอย่างมาก เมื่อมีผู้คนส่วนมากกลัวที่จะขาดทุน จึงเร่งเทขายเหรียญก่อนที่ราคาจะร่วงไปมากกว่านี้ ซึ่งส่งผลต่อ Liquidity Pool และความน่าเชื่อถือของเกม อย่างที่เคยเกิดขึ้นกับ CryptoMine มาแล้ว ฉะนั้นเมื่อเห็นว่าเกมเจอภาวะนี้เมื่อไหร่ก็เตรียมกุมขมับได้เลย

ส่วนพฤติกรรมตรงกันข้ามก็คือ JOMO (Joy of Missing out) ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่ได้รู้สึกเสียดายที่เจอเหรียญราคาร่วงหรือแม้แต่ตัวเองกำลังขาดทุนกับเกมหรือการเทรดนั้นอยู่ก็ตาม และอาจเห็นเป็นเรื่องตลกด้วยซ้ำไป

Rug Pull

กลโกงรูปแบบหนึ่ง ที่แสร้งทำเป็นเปิดแพลตฟอร์มให้เรานำเงินไปลงทุน เมื่อมีเงินในระบบจำนวนมากแล้วเจ้าของแพลตฟอร์มนั้นก็ปิดแล้วหนีหายไปพร้อมกับเงินก้อนโต เป็นเหมือนการ 'ดึงพรมให้คนที่ยืนอยู่ล้มหน้าทิ่ม' เป็นการหักหลังผู้ลงทุนที่เจ็บแสบมากวิธีหนึ่งเลย

ซึ่งในวงการ Defi และ GameFi ก็มีไม่น้อย ที่ในช่วงแรกพยายามโฆษณาตัวเองให้น่าเชื่อถือ หรือสามารถลงเงินได้แต่ยังไม่ให้ถอนออก ก่อนที่ Dev จะสละโปรเจคทิ้งอย่างไม่ใยดีและไม่ทิ้งเงินคืนมาให้ด้วย ฉะนั้นเมื่อมีคนเตือนว่าเกมนี้ Rug Pull ล่ะก็รีบถอยให้ห่างเลยนะ

Airdrop

ถ้าเล่นเกมแนว Battle Royale กันมาก็น่าจะคุ้นกับคำนี้ดีเลยล่ะ เพราะมันคือของดีของฟรีที่ระบบจะปล่อยมาให้ผู้เล่นแย่งชิงเพื่อให้ได้ Supplies ในจำนวนที่มากขึ้นหรือดีกว่าเดิม คล้ายๆกันในโลกของ Crypto-base Game การจัดกิจกรรม Aridrop ก็คือการแจกของให้ผู้ที่สนใจแบบฟรีๆ เพียงแค่กดติดตามหรือทำตามกติกาเล็กๆน้อยๆ โดยจะได้ของรางวัลตอบแทนเป็นเหรียญหรือ NFT ของเกม เพื่อเป็นการโปรโมตและกระจายเหรียญให้เป็นที่รู้จัก รวมถึงสร้างมูลค่าให้กับเหรียญของเกมนั้นๆด้วย


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header