GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[บทความ] สรุปดราม่า QA เกม Cyberpunk 2077: เกมพังเพราะค่ายนอกจริงหรือ?
ลงวันที่ 01/07/2022

ยังคงกลายเป็นประเด็นอยู่เรื่อย ๆ เลยกับเกม Cyberpunk 2077 ของผู้พัฒนา CD Projekt Red ที่ล่าสุดมีรายงานว่าความล้มเหลวของเกม อาจไม่ได้เป็นความผิดของผู้พัฒนา CDPR ไปซะทั้งหมด แต่ส่วนหนึ่งอาจเป็นความผิดของบริษัท Quantic Labs ซึ่งเป็นบริษัทที่รับจ้างงานด้าน QA หรือการ “รับประกันคุณภาพ” เกม และกระบวนการทำงานอันฉ้อฉลของพวกเขา ที่ถูกเปิดโปงออกมาเร็ว ๆ นี้

แต่หลังจากที่มีการรายงานโดยสื่อกระแสหลักออกไปนั้น ได้มีการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมออกมาทั้งจากช่องยูทูป Upper Echelon Gaming ซึ่งเป็นผู้ที่ออกมาเปิดข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับ Quantic Labs เป็นรายแรก และจากผู้พัฒนา CD Projekt Red เอง และบริษัท Quantic Labs อีกด้วย ซึ่งน่าจะสามารถนำเสนอความจริงที่รอบด้านได้มากขึ้น และตอบคำถามได้ว่า “สรุปแล้วความล้มเหลวของเกม Cyberpunk 2077 เป็นความผิดของ Quantic Labs หรือไม่? แค่ไหน?”

วันนี้เราจึงอยากจะนำเสนอข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับประเด็นดราม่าครั้งล่าสุดของ CD Projekt Red ครั้งนี้ให้ทุกคนได้ติดตามกัน

ทำความรู้จักกับ Quantic Labs และบทบาทของพวกเขาในการพัฒนาเกม


สำหรับตัวตนของบริษัท Quantic Labs นั้น (อย่าสับสนกับผู้พัฒนา Quantic Dream เจ้าของผลงาน Detroit: Become Human นะจ๊ะ) เป็นอดีตผู้พัฒนาเกมรายย่อย ที่ผันตัวมารับจ้างทำงาน QA (Quality Assurance หรือการรับรองคุณภาพ) ให้กับสินค้าประเภทเกมและแอปพลิเคชั่น ซึ่งในเว็บไซต์ของค่ายมีการอ้างว่าเคยร่วมงานกับบริษัทชื่อดังในวงการเกมมากมาย ตั้งแต่ CDPR, Paradox Interactive, THQ Nordic, Ubisoft, Techland, Deep Silver และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเกมที่ค่ายอ้างว่าเคยรับจ้างในการ ‘รับรองคุณภาพประกอบไปด้วย The Witcher 3, Cyberpunk 2077, Darksiders, Wreckfest, Vampyr, Divinity: Original Sin 2, Warhammer 40.000: Inquisitor, Farming Simulator, How to Train Your Dragon, Might and Magic, Iron Man 3, Spiderman, Black Mirror, Dead Island, Game of Thrones, Call of Juarez, และ Cities: Skylines

แล้วการ “รับรองคุณภาพ” หมายถึงอะไรกันแน่? ในบริบทของการพัฒนาเกม การรับรองคุณภาพหมายถึงขั้นตอนในการทดสอบองค์ประกอบทั้งหมดของเกมอย่างละเอียด เพื่อตามหาบั๊คต่าง ๆ ในเกม รวมไปถึงต้นตอในการเกิดบั๊คนั้น เพื่อมอบให้กับผู้พัฒนาเกมได้แก้ไขต่อไป ซึ่งนักพัฒนาที่รับตำแหน่งในฝ่าย QA ของค่ายมักจะถูกเรียกง่าย ๆ ว่า “Tester” นั่นเอง

งานของผู้พัฒนาตำแหน่ง Tester อาจจะฟังดูง่าย เพราะอันที่จริงก็คือการ "นั่งเล่นเกม" ทั้งวันก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การทำงานในฐานะ Tester เองก็ต้องพึ่งทักษะเฉพาะตัวไม่น้อย และที่สำคัญคือต้องใช้ความใจเย็นอย่างมาก เพราะคุณอาจต้องเล่นภารกิจเดิมซ้ำ ๆ หรือทำการกระทำอะไรบางอย่าง (เช่นการคุยกับ NPC ตัวเดียว) ทีละหลายชั่วโมง เพื่อตรวจสอบว่าระบบสามารถรองรับการกระทำของผู้เล่นได้แค่ไหน (เช่น ถ้าเราคุยกับ NPC ตัวนี้ตอนใส่หมวกนี้จะเป็นอย่างไร? ถ้าเราคุยกับ NPC ตัวนี้ตอนเวลาในเกมต่างกันจะเป็นอย่างไร? เป็นต้น)

ในแง่หนึ่ง บริษัท QA แบบรับจ้างอย่าง Quantic Labs ก็ถูกสร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการเลิกจ้างผู้พัฒนาฝ่าย QA ในวงการเกม ที่ผู้พ้ฒนาตำแหน่ง Tester ในค่ายพัฒนาทั่วไป มักจะถูกโล๊ะทิ้งหลังจากที่เกมพัฒนาเสร็จสิ้นแล้ว และไม่จำเป็นต้องทดสอบเกมมากเท่าเดิมอีกต่อไป (อาจเหลือไว้เพียงส่วนน้อยเท่านั้น) ด้วยการว่าจ้างทำงาน QA ให้กับเกมของหลาย ๆ ค่ายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้พัฒนา QA ได้มีงานทำตลอด แทนที่จะหมดหน้าที่ไปหลังจากที่เกมพัฒนาเสร็จแล้ว

ทวนเหตุการณ์กันซะหน่อย


เรื่องราวเกี่ยวกับบริษัท Quantic Labs และบทบาทในการพัฒนา Cyberpunk 2077 กลายเป็นที่รับรู้ในวงกว้างเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน (เวลาไทย) ที่ผ่านมา เมื่อยูทูปเบอร์ดัง Upper Echolon Games ได้เผยแพร่วิดีโอที่เปิดเผยว่า เขาได้รับการติดต่อจากพนักงานผู้ไม่ประสงค์ออกนามคนหนึ่งของบริษัท Quantic Labs ที่ต้องการเปิดโปงกระบวนการทำงานอันหลอกลวงของบริษัท ซึ่งมีผู้พัฒนาใหญ่ ๆ มากมายใช้บริการอยู่ รวมถึงค่าย CD Projekt Red ด้วย โดย Quantic Labs ได้เคยมีประสบการณ์ในการรับจ้างงานจาก CD Projekt Red เพื่อตรวจสอบคุณภาพของเกม The Witcher 3: Wild Hunt มาก่อนแล้วเช่นกัน


ช่อง UEG ได้รับรองความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว ด้วยการเปิดเผยว่าแหล่งข่าวได้เปิดเผยเอกสารภายในของบริษัท Quantic Labs ซึ่งเข้าถึงได้โดยคนในบริษัทเท่านั้น ทำให้เขาเชื่อว่าแหล่งข่าวของเขามีตัวตนเป็นพนักงานของบริษัท Quantic Labs จริง และเอกสารดังกล่าวก็สนับสนุนข้อมูลที่เขากำลังเปิดโปงอยู่อีกด้วย

ข้อกล่าวหาของ UEG


สำหรับข้อกล่าวหาที่ UEG รายงานออกมาในคลิปวิดีโอแรกของเขา สามารถถูกสรุปออกมาเป็น 3 ข้อหลักดังนี้:

ข้อแรก บริษัท Quantic Labs ได้หลอกลวงลูกค้า (ซึ่งก็คือค่ายพัฒนาเกม) เกี่ยวกับขนาดของทีมที่รับผิดชอบงาน QA ให้กับแต่ละเกม โดยบริษัทมักจะอ้างต่อลูกค้าว่ามีผู้พัฒนา Tester ไม่ต่ำกว่า 30 คน ที่ร่วมกันทำงาน QA ให้กับเกมเดียวโดยเฉพาะ ในขณะที่ความเป็นจริงแล้ว บริษัทมักใช้ผู้พัฒนาเพียง 10-15 คนต่อทีมเท่านั้น และสร้างภาพว่ามีคนจำนวนมากด้วยการให้พนักงานคนเดียวส่งรายงานบั๊คภายใต้บัญชีพนักงานจำนวนมากกว่า 1 บัญชี แถมบางคนยังมีตำแหน่งในหลายทีมอีกต่างหาก 

ข้อที่สอง บริษัท Quantic Labs ได้โกหกว่าพวกเขาเลือกใช้ผู้พัฒนา Tester ที่มีประสบการณ์เป็นหลัก ในขณะที่ความเป็นจริงแล้วผู้พัฒนาส่วนใหญ่ ไม่ต่ำกว่า 70-80% ของค่ายเป็นพนักงานใหม่ที่ไม่เคยรับงานพัฒนาเกมมาก่อน และไม่มีความรู้ในการทำงานด้าน QA เป็นพิเศษ ซึ่งรวมถึงผู้พัฒนาตำแหน่งหัวหน้าทีมต่าง ๆ อีกด้วย โดยแหล่งข่าวของ UEG เผยว่าผู้บริหารค่ายมักเลือกจ้างผู้ไม่มีประสบการณ์เท่านั้น เพราะจะสามารถจ่ายผลตอบแทนขั้นต่ำได้ และเพราะอาชีพ Tester เปรียบเสมือนทางผ่านไปสู่การทำงานพัฒนาเกมตำแหน่งอื่นของพนักงานหลาย ๆ คน ทำให้ไม่มีใครกล้าร้องเรียนบริษัท และมีพนักงานใหม่ ๆ มาเสริมอยู่ตลอดเวลาแม้สภาพการทำงานจะย่ำแย่เพียงใดก็ตาม

ข้อที่สาม บริษัท Quantic Labs ได้ตั้งโควต้าอันเข้มงวด ให้ผู้พัฒนาส่วนใหญ่จำเป็นต้องรายงานบั๊คในเกมคนละไม่ต่ำกว่า 10 บั๊คต่อวัน ส่งผลให้ผู้พัฒนาส่วนใหญ่ของค่ายเน้นทำจำนวนด้วยการรายงานบั๊คเล็ก ๆ จำนวนมาก ๆ มากกว่าจะพยายามใช้เวลาไปกับการหาต้นเหตุของบั๊คใหญ่ ๆ ในเกม ยิ่งไปกว่านั้น แหล่งข่าวของคุณ UEG ยังรายงานว่าเขารู้สึกได้ว่าเหล่าผู้จัดการฝ่ายทั้งหลายมักไม่พอใจเมื่อผู้พัฒนาพยายามรายงานบั๊คที่ใหญ่หรือซับซ้อน โดยพวกเขาถูกคาดหวังให้เน้นทำจำนวนด้วยบั๊คง่าย ๆ มากกว่า

นอกจากนี้ ในคลิปของคุณ UEG ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับคลิปแถลงการณ์อันโด่งดังของคุณ Marcin Iwiński ผู้บริหารของค่าย CD Projekt Red ที่เผยแพร่เมื่อช่วงต้นปี 2021 ที่คุณ Marcin พยายามอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุที่เกม Cyberpunk 2077 วางจำหน่ายในสภาพที่ย่ำแย่เช่นนี้ โดยในช่วงหนึ่งของคลิปเขาได้กล่าวว่า “การทดสอบภายในของค่าย ไม่ได้เปิดเผยถึงปัญหาอันใหญ่หลวงที่ผู้เล่นหลายคนพบ” โดยคุณ UEG ตั้งข้อสันนิษฐานว่าคุณ Marcin อาจจะไม่ได้โกหกซะทีเดียว เพราะแม้ว่า CDPR จะมีทีมนักทดสอบเกมภายในของตัวเอง แต่พวกเขาก็อาจจะเน้นทดสอบเพียงเกมเวอร์ชั่น PC บนเครื่องระดับสูงเท่านั้น และมอบหมายงานทดสอบในคอนโซล (ซึ่งมีปัญหามากที่สุด) ให้กับ Quantic Labs ซึ่งอาจอธิบายคำพูดของคุณ Marcin ได้บ้าง



ทั้งนี้ คุณ UEG ได้ปล่อยคลิปวิดีโอเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวออกมาอีกครั้งในสองวันถัดมา โดยเขาได้แก้ไขข้อมูลที่สื่อเกมหลายสำนักรายงานสถานการณ์คลาดเคลื่อนไป เช่นเขาบอกว่าเขาไม่ได้พยายามปกป้องคุณ Marcin แต่เพียงแค่พยายามนำเสนอความเป็นไปได้หนึ่งที่ทำให้คุณ Marcin กล่าวออกมาเช่นนั้น เพราะจะอย่างไรก็แล้วแต่ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับเกม Cyberpunk 2077 ทั้งหมดย่อมเป็นของเข้าของผลงานอย่าง CDPR แน่นอนอยู่แล้ว

นอกจากนี้ คุณ UEG ได้เผยแพร่ข้อความจากยูทูปเบอร์อีกคน LegacyKillaHD ที่เผยว่าเขาได้รับการติดต่อจากพนักงานของ CDPR โดยตรงหลายคน ที่ออกมายืนยันกับเขาว่า Quantic Labs มีส่วนร่วมในการพัฒนา Cyberpunk 2077 น้อยมาก และผู้ที่ควรรับผิดชอบความล้มเหลวของเกม ยังคงเป็นผู้บริหารค่ายและหัวหน้าทีมพัฒนาหลาย ๆ คน รวมถึงคุณ Marcin เองด้วย


คำตอบโต้ของฝั่ง Quantic Labs


ในวันเดียวกับที่คุณ UEG ปล่อยคลิปแก้ไขข้อมูลที่สื่อมวลชนรายงานไปก่อนหน้านี้ CEO ของ Quantic Labs คุณ Stefan Seicarescu ได้ส่งคำแถลงการณ์ทางอีเมล์ให้กับสื่อ Forbes ซึ่งเป็นเว็บสื่อแรกที่นำเสนอเรื่องราวของคุณ UEG โดยภายในคำแถลงการณ์นั้นอ้างว่าข้อสรุปของทั้ง UEG และ Forbes เป็นข้อมูลของผู้ที่ “ไม่เข้าใจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระบวนการทดสอบเกมก่อนวางจำหน่าย” พร้อมกล่าวว่า “ผู้พัฒนาค่ายหนึ่งมักจะทำงานร่วมกับบริษัท QA หลายแห่งพร้อมกัน” 

ข้อสังเกตหนึ่งจากคำแถลงการณ์คือการที่ Quantic Labs ดูจะพยายามปัดความรับผิดชอบว่าบริษัทเป็นสาเหตุเบื้องหลังความล้มเหลวของ Cyberpunk 2077 แต่กลับไม่ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้ง 3 ของคุณ UEG โดยตรงแต่อย่างใด ซึ่งน่าแปลกเพราะข้อกล่าวหาเหล่านี้อาจเพียงพอให้พวกเขาโดนลูกค้าดำเนินคดีฐานฉ้อโกงได้ไม่ยาก โดยคุณ UEG เองก็ได้ออกมาเปิดเผยว่าเขาจะทำการสืบสวนเบื้องลึกเบื้องหลังของเรื่องราวทั้งหมดต่อไปอย่างแน่นอน

สรุป: Quantic Labs ไม่ได้มีส่วนรับผิดชอบกับสภาพเกม Cyberpunk 2077 แต่…


แม้ว่าสุดท้ายแล้ว คงพูดไม่ได้ว่าความล้มเหลวของ Cyberpunk 2077 เป็นความผิดของ Quantic Labs แม้ว่ากระบวนการทำงานอันน่าสงสัยของค่ายอาจจะมีผลบ้างไม่มากก็น้อย แต่สุดท้ายแล้วทาง CDPR ก็รับทราบถึงปัญหาทั้งหมดดี เพียงแต่การบริหารจัดการเวลาทำงานอันย่ำแย่ของผู้บริหาร ส่งผลให้ผู้พัฒนาไม่มีเวลาเพียงพอจะแก้ไขบั๊คเหล่านั้นได้ก่อนที่เกมจะวางจำหน่าย

สุดท้ายนี้ คงต้องบอกว่าประเด็นที่น่าจับตามองจริง ๆ อาจไม่ได้เกี่ยวกับเกม Cyberpunk 2077 ซะทีเดียว เมื่อคุณ UEG เปิดเผยว่าภายหลังจากที่เรื่องดังกล่าวเผยแพร่ออกไปนั่น เขาได้รับการติดต่อจากผู้พัฒนาในบริษัทรับจ้าง QA ลักษณะเดียวกับ Quantic Labs อีกหลายคน ที่เล่าถึงกระบวนการทำงานที่คล้ายกัน ซึ่งดูจะแพร่หลายมากในวงการเกมปัจจุบัน ไว้เรื่องราวต่าง ๆ มีการพัฒนาไปอีก เราจะนำมารายงานให้ทุกคนได้รับทราบกันอีกครั้งครับ

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] สรุปดราม่า QA เกม Cyberpunk 2077: เกมพังเพราะค่ายนอกจริงหรือ?
01/07/2022

ยังคงกลายเป็นประเด็นอยู่เรื่อย ๆ เลยกับเกม Cyberpunk 2077 ของผู้พัฒนา CD Projekt Red ที่ล่าสุดมีรายงานว่าความล้มเหลวของเกม อาจไม่ได้เป็นความผิดของผู้พัฒนา CDPR ไปซะทั้งหมด แต่ส่วนหนึ่งอาจเป็นความผิดของบริษัท Quantic Labs ซึ่งเป็นบริษัทที่รับจ้างงานด้าน QA หรือการ “รับประกันคุณภาพ” เกม และกระบวนการทำงานอันฉ้อฉลของพวกเขา ที่ถูกเปิดโปงออกมาเร็ว ๆ นี้

แต่หลังจากที่มีการรายงานโดยสื่อกระแสหลักออกไปนั้น ได้มีการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมออกมาทั้งจากช่องยูทูป Upper Echelon Gaming ซึ่งเป็นผู้ที่ออกมาเปิดข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับ Quantic Labs เป็นรายแรก และจากผู้พัฒนา CD Projekt Red เอง และบริษัท Quantic Labs อีกด้วย ซึ่งน่าจะสามารถนำเสนอความจริงที่รอบด้านได้มากขึ้น และตอบคำถามได้ว่า “สรุปแล้วความล้มเหลวของเกม Cyberpunk 2077 เป็นความผิดของ Quantic Labs หรือไม่? แค่ไหน?”

วันนี้เราจึงอยากจะนำเสนอข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับประเด็นดราม่าครั้งล่าสุดของ CD Projekt Red ครั้งนี้ให้ทุกคนได้ติดตามกัน

ทำความรู้จักกับ Quantic Labs และบทบาทของพวกเขาในการพัฒนาเกม


สำหรับตัวตนของบริษัท Quantic Labs นั้น (อย่าสับสนกับผู้พัฒนา Quantic Dream เจ้าของผลงาน Detroit: Become Human นะจ๊ะ) เป็นอดีตผู้พัฒนาเกมรายย่อย ที่ผันตัวมารับจ้างทำงาน QA (Quality Assurance หรือการรับรองคุณภาพ) ให้กับสินค้าประเภทเกมและแอปพลิเคชั่น ซึ่งในเว็บไซต์ของค่ายมีการอ้างว่าเคยร่วมงานกับบริษัทชื่อดังในวงการเกมมากมาย ตั้งแต่ CDPR, Paradox Interactive, THQ Nordic, Ubisoft, Techland, Deep Silver และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเกมที่ค่ายอ้างว่าเคยรับจ้างในการ ‘รับรองคุณภาพประกอบไปด้วย The Witcher 3, Cyberpunk 2077, Darksiders, Wreckfest, Vampyr, Divinity: Original Sin 2, Warhammer 40.000: Inquisitor, Farming Simulator, How to Train Your Dragon, Might and Magic, Iron Man 3, Spiderman, Black Mirror, Dead Island, Game of Thrones, Call of Juarez, และ Cities: Skylines

แล้วการ “รับรองคุณภาพ” หมายถึงอะไรกันแน่? ในบริบทของการพัฒนาเกม การรับรองคุณภาพหมายถึงขั้นตอนในการทดสอบองค์ประกอบทั้งหมดของเกมอย่างละเอียด เพื่อตามหาบั๊คต่าง ๆ ในเกม รวมไปถึงต้นตอในการเกิดบั๊คนั้น เพื่อมอบให้กับผู้พัฒนาเกมได้แก้ไขต่อไป ซึ่งนักพัฒนาที่รับตำแหน่งในฝ่าย QA ของค่ายมักจะถูกเรียกง่าย ๆ ว่า “Tester” นั่นเอง

งานของผู้พัฒนาตำแหน่ง Tester อาจจะฟังดูง่าย เพราะอันที่จริงก็คือการ "นั่งเล่นเกม" ทั้งวันก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การทำงานในฐานะ Tester เองก็ต้องพึ่งทักษะเฉพาะตัวไม่น้อย และที่สำคัญคือต้องใช้ความใจเย็นอย่างมาก เพราะคุณอาจต้องเล่นภารกิจเดิมซ้ำ ๆ หรือทำการกระทำอะไรบางอย่าง (เช่นการคุยกับ NPC ตัวเดียว) ทีละหลายชั่วโมง เพื่อตรวจสอบว่าระบบสามารถรองรับการกระทำของผู้เล่นได้แค่ไหน (เช่น ถ้าเราคุยกับ NPC ตัวนี้ตอนใส่หมวกนี้จะเป็นอย่างไร? ถ้าเราคุยกับ NPC ตัวนี้ตอนเวลาในเกมต่างกันจะเป็นอย่างไร? เป็นต้น)

ในแง่หนึ่ง บริษัท QA แบบรับจ้างอย่าง Quantic Labs ก็ถูกสร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการเลิกจ้างผู้พัฒนาฝ่าย QA ในวงการเกม ที่ผู้พ้ฒนาตำแหน่ง Tester ในค่ายพัฒนาทั่วไป มักจะถูกโล๊ะทิ้งหลังจากที่เกมพัฒนาเสร็จสิ้นแล้ว และไม่จำเป็นต้องทดสอบเกมมากเท่าเดิมอีกต่อไป (อาจเหลือไว้เพียงส่วนน้อยเท่านั้น) ด้วยการว่าจ้างทำงาน QA ให้กับเกมของหลาย ๆ ค่ายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้พัฒนา QA ได้มีงานทำตลอด แทนที่จะหมดหน้าที่ไปหลังจากที่เกมพัฒนาเสร็จแล้ว

ทวนเหตุการณ์กันซะหน่อย


เรื่องราวเกี่ยวกับบริษัท Quantic Labs และบทบาทในการพัฒนา Cyberpunk 2077 กลายเป็นที่รับรู้ในวงกว้างเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน (เวลาไทย) ที่ผ่านมา เมื่อยูทูปเบอร์ดัง Upper Echolon Games ได้เผยแพร่วิดีโอที่เปิดเผยว่า เขาได้รับการติดต่อจากพนักงานผู้ไม่ประสงค์ออกนามคนหนึ่งของบริษัท Quantic Labs ที่ต้องการเปิดโปงกระบวนการทำงานอันหลอกลวงของบริษัท ซึ่งมีผู้พัฒนาใหญ่ ๆ มากมายใช้บริการอยู่ รวมถึงค่าย CD Projekt Red ด้วย โดย Quantic Labs ได้เคยมีประสบการณ์ในการรับจ้างงานจาก CD Projekt Red เพื่อตรวจสอบคุณภาพของเกม The Witcher 3: Wild Hunt มาก่อนแล้วเช่นกัน


ช่อง UEG ได้รับรองความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว ด้วยการเปิดเผยว่าแหล่งข่าวได้เปิดเผยเอกสารภายในของบริษัท Quantic Labs ซึ่งเข้าถึงได้โดยคนในบริษัทเท่านั้น ทำให้เขาเชื่อว่าแหล่งข่าวของเขามีตัวตนเป็นพนักงานของบริษัท Quantic Labs จริง และเอกสารดังกล่าวก็สนับสนุนข้อมูลที่เขากำลังเปิดโปงอยู่อีกด้วย

ข้อกล่าวหาของ UEG


สำหรับข้อกล่าวหาที่ UEG รายงานออกมาในคลิปวิดีโอแรกของเขา สามารถถูกสรุปออกมาเป็น 3 ข้อหลักดังนี้:

ข้อแรก บริษัท Quantic Labs ได้หลอกลวงลูกค้า (ซึ่งก็คือค่ายพัฒนาเกม) เกี่ยวกับขนาดของทีมที่รับผิดชอบงาน QA ให้กับแต่ละเกม โดยบริษัทมักจะอ้างต่อลูกค้าว่ามีผู้พัฒนา Tester ไม่ต่ำกว่า 30 คน ที่ร่วมกันทำงาน QA ให้กับเกมเดียวโดยเฉพาะ ในขณะที่ความเป็นจริงแล้ว บริษัทมักใช้ผู้พัฒนาเพียง 10-15 คนต่อทีมเท่านั้น และสร้างภาพว่ามีคนจำนวนมากด้วยการให้พนักงานคนเดียวส่งรายงานบั๊คภายใต้บัญชีพนักงานจำนวนมากกว่า 1 บัญชี แถมบางคนยังมีตำแหน่งในหลายทีมอีกต่างหาก 

ข้อที่สอง บริษัท Quantic Labs ได้โกหกว่าพวกเขาเลือกใช้ผู้พัฒนา Tester ที่มีประสบการณ์เป็นหลัก ในขณะที่ความเป็นจริงแล้วผู้พัฒนาส่วนใหญ่ ไม่ต่ำกว่า 70-80% ของค่ายเป็นพนักงานใหม่ที่ไม่เคยรับงานพัฒนาเกมมาก่อน และไม่มีความรู้ในการทำงานด้าน QA เป็นพิเศษ ซึ่งรวมถึงผู้พัฒนาตำแหน่งหัวหน้าทีมต่าง ๆ อีกด้วย โดยแหล่งข่าวของ UEG เผยว่าผู้บริหารค่ายมักเลือกจ้างผู้ไม่มีประสบการณ์เท่านั้น เพราะจะสามารถจ่ายผลตอบแทนขั้นต่ำได้ และเพราะอาชีพ Tester เปรียบเสมือนทางผ่านไปสู่การทำงานพัฒนาเกมตำแหน่งอื่นของพนักงานหลาย ๆ คน ทำให้ไม่มีใครกล้าร้องเรียนบริษัท และมีพนักงานใหม่ ๆ มาเสริมอยู่ตลอดเวลาแม้สภาพการทำงานจะย่ำแย่เพียงใดก็ตาม

ข้อที่สาม บริษัท Quantic Labs ได้ตั้งโควต้าอันเข้มงวด ให้ผู้พัฒนาส่วนใหญ่จำเป็นต้องรายงานบั๊คในเกมคนละไม่ต่ำกว่า 10 บั๊คต่อวัน ส่งผลให้ผู้พัฒนาส่วนใหญ่ของค่ายเน้นทำจำนวนด้วยการรายงานบั๊คเล็ก ๆ จำนวนมาก ๆ มากกว่าจะพยายามใช้เวลาไปกับการหาต้นเหตุของบั๊คใหญ่ ๆ ในเกม ยิ่งไปกว่านั้น แหล่งข่าวของคุณ UEG ยังรายงานว่าเขารู้สึกได้ว่าเหล่าผู้จัดการฝ่ายทั้งหลายมักไม่พอใจเมื่อผู้พัฒนาพยายามรายงานบั๊คที่ใหญ่หรือซับซ้อน โดยพวกเขาถูกคาดหวังให้เน้นทำจำนวนด้วยบั๊คง่าย ๆ มากกว่า

นอกจากนี้ ในคลิปของคุณ UEG ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับคลิปแถลงการณ์อันโด่งดังของคุณ Marcin Iwiński ผู้บริหารของค่าย CD Projekt Red ที่เผยแพร่เมื่อช่วงต้นปี 2021 ที่คุณ Marcin พยายามอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุที่เกม Cyberpunk 2077 วางจำหน่ายในสภาพที่ย่ำแย่เช่นนี้ โดยในช่วงหนึ่งของคลิปเขาได้กล่าวว่า “การทดสอบภายในของค่าย ไม่ได้เปิดเผยถึงปัญหาอันใหญ่หลวงที่ผู้เล่นหลายคนพบ” โดยคุณ UEG ตั้งข้อสันนิษฐานว่าคุณ Marcin อาจจะไม่ได้โกหกซะทีเดียว เพราะแม้ว่า CDPR จะมีทีมนักทดสอบเกมภายในของตัวเอง แต่พวกเขาก็อาจจะเน้นทดสอบเพียงเกมเวอร์ชั่น PC บนเครื่องระดับสูงเท่านั้น และมอบหมายงานทดสอบในคอนโซล (ซึ่งมีปัญหามากที่สุด) ให้กับ Quantic Labs ซึ่งอาจอธิบายคำพูดของคุณ Marcin ได้บ้าง



ทั้งนี้ คุณ UEG ได้ปล่อยคลิปวิดีโอเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวออกมาอีกครั้งในสองวันถัดมา โดยเขาได้แก้ไขข้อมูลที่สื่อเกมหลายสำนักรายงานสถานการณ์คลาดเคลื่อนไป เช่นเขาบอกว่าเขาไม่ได้พยายามปกป้องคุณ Marcin แต่เพียงแค่พยายามนำเสนอความเป็นไปได้หนึ่งที่ทำให้คุณ Marcin กล่าวออกมาเช่นนั้น เพราะจะอย่างไรก็แล้วแต่ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับเกม Cyberpunk 2077 ทั้งหมดย่อมเป็นของเข้าของผลงานอย่าง CDPR แน่นอนอยู่แล้ว

นอกจากนี้ คุณ UEG ได้เผยแพร่ข้อความจากยูทูปเบอร์อีกคน LegacyKillaHD ที่เผยว่าเขาได้รับการติดต่อจากพนักงานของ CDPR โดยตรงหลายคน ที่ออกมายืนยันกับเขาว่า Quantic Labs มีส่วนร่วมในการพัฒนา Cyberpunk 2077 น้อยมาก และผู้ที่ควรรับผิดชอบความล้มเหลวของเกม ยังคงเป็นผู้บริหารค่ายและหัวหน้าทีมพัฒนาหลาย ๆ คน รวมถึงคุณ Marcin เองด้วย


คำตอบโต้ของฝั่ง Quantic Labs


ในวันเดียวกับที่คุณ UEG ปล่อยคลิปแก้ไขข้อมูลที่สื่อมวลชนรายงานไปก่อนหน้านี้ CEO ของ Quantic Labs คุณ Stefan Seicarescu ได้ส่งคำแถลงการณ์ทางอีเมล์ให้กับสื่อ Forbes ซึ่งเป็นเว็บสื่อแรกที่นำเสนอเรื่องราวของคุณ UEG โดยภายในคำแถลงการณ์นั้นอ้างว่าข้อสรุปของทั้ง UEG และ Forbes เป็นข้อมูลของผู้ที่ “ไม่เข้าใจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระบวนการทดสอบเกมก่อนวางจำหน่าย” พร้อมกล่าวว่า “ผู้พัฒนาค่ายหนึ่งมักจะทำงานร่วมกับบริษัท QA หลายแห่งพร้อมกัน” 

ข้อสังเกตหนึ่งจากคำแถลงการณ์คือการที่ Quantic Labs ดูจะพยายามปัดความรับผิดชอบว่าบริษัทเป็นสาเหตุเบื้องหลังความล้มเหลวของ Cyberpunk 2077 แต่กลับไม่ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้ง 3 ของคุณ UEG โดยตรงแต่อย่างใด ซึ่งน่าแปลกเพราะข้อกล่าวหาเหล่านี้อาจเพียงพอให้พวกเขาโดนลูกค้าดำเนินคดีฐานฉ้อโกงได้ไม่ยาก โดยคุณ UEG เองก็ได้ออกมาเปิดเผยว่าเขาจะทำการสืบสวนเบื้องลึกเบื้องหลังของเรื่องราวทั้งหมดต่อไปอย่างแน่นอน

สรุป: Quantic Labs ไม่ได้มีส่วนรับผิดชอบกับสภาพเกม Cyberpunk 2077 แต่…


แม้ว่าสุดท้ายแล้ว คงพูดไม่ได้ว่าความล้มเหลวของ Cyberpunk 2077 เป็นความผิดของ Quantic Labs แม้ว่ากระบวนการทำงานอันน่าสงสัยของค่ายอาจจะมีผลบ้างไม่มากก็น้อย แต่สุดท้ายแล้วทาง CDPR ก็รับทราบถึงปัญหาทั้งหมดดี เพียงแต่การบริหารจัดการเวลาทำงานอันย่ำแย่ของผู้บริหาร ส่งผลให้ผู้พัฒนาไม่มีเวลาเพียงพอจะแก้ไขบั๊คเหล่านั้นได้ก่อนที่เกมจะวางจำหน่าย

สุดท้ายนี้ คงต้องบอกว่าประเด็นที่น่าจับตามองจริง ๆ อาจไม่ได้เกี่ยวกับเกม Cyberpunk 2077 ซะทีเดียว เมื่อคุณ UEG เปิดเผยว่าภายหลังจากที่เรื่องดังกล่าวเผยแพร่ออกไปนั่น เขาได้รับการติดต่อจากผู้พัฒนาในบริษัทรับจ้าง QA ลักษณะเดียวกับ Quantic Labs อีกหลายคน ที่เล่าถึงกระบวนการทำงานที่คล้ายกัน ซึ่งดูจะแพร่หลายมากในวงการเกมปัจจุบัน ไว้เรื่องราวต่าง ๆ มีการพัฒนาไปอีก เราจะนำมารายงานให้ทุกคนได้รับทราบกันอีกครั้งครับ

บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header