GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[บทความ] ทำไมเกมมือถือถึงเป็นบ่อเงินบ่อทองของผู้พัฒนาเกม?
ลงวันที่ 22/07/2022

สิ่งที่เรียกว่าสมา์รตโฟนหรือโทรศัพท์มือถือนั้น ถือเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการดำรงชีวิตสำหรับมนุษย์ส่วนใหญ่ทั่วโลกเลยทีเดียว เพราะนอกจากมันจะสามารถใช้ติดต่อสื่อสารตามชื่อเรียกของมันแล้ว ความสมาร์ตของมันยังทำให้โทรศัพท์มือถือไม่ได้มีไว้ใช้แค่โทรเข้าและโทรออกอีกต่อไป


มันสามารถเป็นได้ทั้งกล้องถ่ายรูป ไฟฉาย วิทยุ โทรทัศน์ เราต์เตอร์อินเทอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งแพลตฟอร์มสำหรับเล่นวิดีโอเกม ซึ่งหากใครได้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับวงการเกมมาบ้าง เชื่อว่าคุณก็น่าจะเคยได้ยินข่าวถึงเกมบนมือถือที่กอบโกยรายได้ไปมหาศาล แม้ตัวเกมอาจจะไม่ได้ดูดีระดับเกม AAA ที่คุณเคยเล่นมาก็ตาม


และถ้าหากลองสังเกตให้ดี เราก็จะเห็นว่า บรรดาบริษัทผู้พัฒนาเกมต่าง ๆ ในยุคนี้ ล้วนหาช่องทางนำเกมของตัวเองมาดัดแปลงลงสู่แพลตฟอร์มของโทรศัพท์มือถือกันมากขึ้น ส่วนสาเหตุเบื้องหลังของการทำเกมต่าง ๆ ลงมือถือนั้น เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟัง


ใช้เวลาในการพัฒนาน้อยกว่า


ตั้งแต่อดีตจนถึงยุคปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือเป็นแพลตฟอร์มที่ค่อนข้างเต็มไปด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง ทั้งปัญหาการระบายความร้อน ปริมาณความจุของตัวเครื่อง ปริมาณความจุของแบตเตอรี่ ประสิทธิภาพของชิปเซ็ต ความละเอียดของหน้าจอ และอื่น ๆ อีกมากมาย และด้วยตัวแพลตฟอร์มที่ถูกตีกรอบเอาไว้แบบนี้ มันจึงได้ถูกส่งต่อมายังวิดีโอเกมที่ถูกพัฒนาลงโทรศัพท์มือถืออีกด้วย

Evolution of Smartphones in 10 Years! - YouTube

ภาพจาก Utsav Techie


ทว่าเมื่อลองมองอีกมุมหนึ่ง การที่แพลตฟอร์มถูกตีกรอบเอาไว้ตั้งแต่ต้น มันก็เป็นเรื่องที่ไม่ได้เลวร้ายมากนัก เพราะมันสามารถทำให้คุณภาพ และประสิทธิภาพของเกมลดทอนลงได้ โดยที่ไม่มีคนบ่นหรือด่ากราดมากเท่ากับแพลตฟอร์มอื่น ๆ นั่นเอง เราน่าจะเคยได้ยินคำว่า “ก็มันเป็นเกมมือถือ จะให้มันมีแบบโน้น แบบนี้ เหมือนเกมบน PC หรือคอนโซลได้ยังไง” กันมาบ้างแหละ


ซึ่งเมื่อตัวเกมมันถูกลดทอนประสิทธิภาพหลาย ๆ อย่างลง แถมไฟล์เกมก็ต้องถูกบีบอัดให้เล็กมากที่สุด เพื่อรองรับกับความจุของโทรศัพท์ที่ไม่สามารถเพิ่มเข้าไปได้ทีหลัง (โทรศัพท์รุ่นใหม่ ๆ มักจะใส่ SD Card เพิ่มความจุไม่ได้แล้ว)

ด้วยเหตุผลทั้งหมดทั้งมวลนี้ มันจึงทำให้เกมมือถือถูกพัฒนาและจัดจำหน่ายออกมาได้ค่อนข้างรวดเร็วกว่าเกมบนแพลตฟอร์มอื่น ๆ นั่นเอง


ใช้ทีมพัฒนาเพียงหยิบมือ


สืบเนื่องมาจากที่ตัวเกมมีขนาดเล็กลง ต้องการความใส่ใจในรายละเอียดที่น้อยลง นั่นจึงทำให้ทีมพัฒนาเกมในมือถือนั้น มีจำนวนคนต่อทีมที่น้อยลงเช่นกัน มันอาจจะฟังดูย้อนแย้งไปบ้าง ในการให้คนจำนวนเพียงน้อยนิดมาพัฒนาเกมที่อาจจะกลายเป็นแหล่งรายได้หลักของบริษัทในภายหลัง แต่ถ้าหากเราลองมองในแง่ของการจัดสรรคนให้เข้ากับปริมาณงานนั้น เราก็จะมองว่ามันดูสมเหตุสมผลได้ไม่ยากเลย


โดยถ้าให้เทียบง่าย ๆ การทำเกมมือถือสักหนึ่งเกมที่เน้นไปที่การขายตัวละครหรือมีระบบกาชาปอง กับเกมระดับ AAA สักหนึ่งเกมที่มีเนื้อเรื่องยอดเยี่ยม งานภาพสุดสวยงาม และระบบเกมเพลย์ที่โคตรสนุก วนกลับมาเล่นใหม่ได้ไม่รู้เบื่อ แค่ฟังจากตรงนี้ก็น่าจะรู้แล้วนะ ว่าเกมไหนที่ควรจะต้องการทีมพัฒนามากกว่า

Zeenoh Games: what's it like to be a small indie game developer in the  Philippines

ภาพจาก Tech in Asia


ทั้งสองเกมมีวิธีในการดึงดูดเงินจากกระเป๋าตังค์ของคุณไม่เหมือนกัน เกมแรกอาจจะดึงดูดเงินคุณด้วยการออกตัวละครสวย ๆ เท่ ๆ มาให้คุณอยากครอบครอง ส่วนอีกเกมนั้นอาจจะดึงดูดเงินคุณด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทีมพัฒนากว่า 100 ชีวิตร่วมกันตั้งใจทำ


และถึงต่อให้ขั้นตอนในการดึงดูดเงินจะแตกต่างกันก็จริง แต่สุดท้าย ถ้าผลลัพธ์ปลายทางคือการทำเงินได้ในจำนวนที่พอ ๆ กัน ยังไง้ยังไง เป็นใครก็คงต้องเลือกใช้หนทางที่มันเปลืองทรัพยากรน้อยกว่า อย่างการทำเกมมือถือนั่นแหละ


กับดักของเกมฟรี


ต้องยอมรับว่าค่านิยมของชาวเกมต่อเกมมือถือนั้น ค่อนข้างมีความพิลึกพิลั่นเป็นอย่างมาก เราจะได้เห็นจากบรรดาวิดีโอเกมทั้งหลายที่แต่ก่อนเคยเป็นเกมแบบต้องเสียเงินซื้อ แต่เมื่อพอร์ตมาลงให้กับโทรศัพท์มือถือ ทางผู้พัฒนาดันเลือกให้มันกลับกลายเป็นเกมฟรีซะอย่างนั้น ที่เห็นได้ชัดก็เป็นเกมอย่าง PUBG, Dead by Daylight และ Among Us


แน่นอนว่าที่ทางผู้พัฒนาเลือกที่จะแปลงเกมของพวกเขาให้เป็นเกมฟรี มันก็มีเหตุผลอยู่เช่นกัน โดยจุดประสงค์แรกเริ่มก็คือการเปิดให้เล่นฟรี เพื่อชักชวนคนให้เข้ามาสัมผัสกับเกมของพวกเขาให้ได้มากที่สุด จากนั้นเมื่อมีคนจำนวนมากพอแล้ว พวกเขาก็จะเริ่มใส่โปรโมชัน และของล่อตาล่อใจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สกินสุดสวยที่ต้องมีไว้ในครอบครอง แบตเทิลพาสสุดคุ้ม จ่ายเงินหลักร้อยได้ไอเทมหลักพัน หรือแม้กระทั่งโปรโมชันเติมเงินครั้งแรก ได้ค่าเงินในเกมคูณสอง

ซึ่งต่อให้คุณเป็นคนที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้ออะไรในเกมเป็นพิเศษ แต่ถ้าโดนเทคนิคการตลาดล่อกันขนาดนี้ มันก็ต้องมีหวั่นไหว จนเงินในบัญชีสั่นกันบ้างแหละ



และถ้าคุณยังสามารถใจแข็งพอ เกมบางเกมก็ได้ทวีความร้ายกาจมากขึ้นไปอีกขั้น ด้วยการใส่ภารกิจประจำวัน ดึงให้คนเล่นต้องมาติดหนึบกับตัวเกมอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยหากจะให้ยกตัวอย่างง่าย ๆ ที่เห็นภาพได้ชัดเจนก็คงเป็น Genshin Impact กับระบบ Daily Quest 


ภารกิจประจำวันพวกนี้ จะถูกสุ่มมาทุกวัน วันละ 4 ภารกิจ ถ้าหากผู้เล่นทำจนครบ ผู้เล่นก็จะได้ Primogem ค่าเงินสูงสุดภายนเกม Genshin Impact ไปแบบฟรี ๆ วันละ 60 หน่วยเลยทีเดียว ซึ่งยิ่งตัวเกมดึงผู้เล่นให้อยู่ในเกมได้นานเท่าไร โอกาสที่ผู้เล่นจะหลวมตัวมาเสียเงินให้กับเกมก็ยิ่งมีเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น


รายได้ช่องทางที่สองจากโฆษณา

In-Game Advertising: 8 Ad Formats to Monetize Mobile Games :

ภาพจาก Admixer


นอกจากการขายไอเทมในเกมแบบปกติแล้ว บางเกมที่ทีมงานอาจจะมีจำนวนไม่เยอะมาก หรือเป็นเกมอินดี้เล็ก ๆ พวกเขาก็อาจจะหารายได้เสริมจากการรับโฆษณาอีกด้วย


โมเดลการรับโฆษณาแบบนี้ ก็ทำกันมาค่อนข้างช้านานกันในแพตฟอร์มโทรศัพท์มือถือ จนบางทีมันก็กลายเป็นวัฒนธรรมไปแล้วเหมือนกัน ซึ่งการที่ผู้เล่นได้ของไปใช้ฟรี ๆ ผู้พัฒนาได้เงินจากค่าโฆษณา และผู้ว่าจ้างก็ได้รับการการันตีว่าจะมีคนดูโฆษณานั้น จัดเป็นสถานการณ์ในฝันที่มีแต่ได้กันทุกฝ่ายทั้งนั้นเลย


ดังนั้น หากในอนาคตเราจะได้เห็นเกมต่าง ๆ มีระบบการเลือกรับชมโฆษณาใส่เข้ามาภายในเกม เพื่อลดราคาขายให้ถูกลงล่ะก็ มันก็คงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกอะไรนัก


การจ่ายเงินที่ทำได้ง่าย เพียงปลายนิ้วสัมผัส


อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้โทรศัพท์มือถือเป็นแพลตฟอร์มเล่นเกมที่แตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ ก็คึอตัวอรรถประโยชน์ของมันนั่นเอง เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นโทรศัพท์ในยุคนี้แล้ว แน่นอนว่ามันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อแค่ทำหน้าที่เพียงแค่โทรเข้า-โทรออกเพียงอย่างเดียว แต่มันทำได้สารพัดอย่าง ทั้งเล่นโซเชียลมีเดีย ถ่ายรูป เล่นเกม ไปจนถึงการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านแอปของธนาคารต่าง ๆ ซึ่งตรงจุดนี้นี่เอง ที่ทำให้เกมมือถือมันสามารถดึงดูดเงินของกระเป๋าตังค์คุณได้ง่ายดายยิ่งนัก เพราะยิ่งคนเราสามารถทำธุรกรรมได้สะดวกมากขึ้นเท่าไร เงินก็จะยิ่งไหลออกไวเท่านั้น


ลองเปรียบเทียบง่าย ๆ ถ้าหากคุณต้องการจะซื้อหรือเติมเงินในเกมบนแพลตฟอร์มอื่น ๆ เช่น PlayStation, Switch หรือ PC สิ่งที่คุณต้องทำก็คือการยืนยันตัวตนผ่านขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย ทั้งพาไปหน้าเว็บนอก ยืนยันว่าไม่ใช่บอต กรอกรหัสผ่าน เผลอ ๆ คุณอาจจะต้องกรอกรหัสของบัตรเครดิตหรือบัญชีธนาคารของคุณเสียด้วยซ้ำ



ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้มันยุ่งยากมาก แตกต่างจากโทรศัพท์มือถือที่ผูกกับบัตรเครดิตหรือบัญชีธนาคารของคุณเอาไว้อยู่แล้ว แค่กรอกรหัสผ่านของแอปสัก 6 หลัก หรือถ้ายง่ายกว่านั้นก็คือการสแกนนิ้วมือหรือสแกนใบหน้า

เพียงเท่านี้ เงินของคุณก็พร้อมจะไหลออกไปสู่โลกกว้างแล้ว  นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกมโทรศัพท์สามารถสร้างรายได้อันมหาศาลให้กับทีมพัฒนาได้นั่นเอง


ตลาดที่กว้างใหญ่ไพศาล พร้อมรองรับเกมจำนวนมาก


ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีเครื่องเกมหรือคอมพิวเตอร์ แต่ทุกคนต้องมืโทรศัพท์มือถือ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคปัจจุบันนั้น มือถือแทบจะกลายเป็นสิ่งที่มนุษย์ขาดไม่ได้ไปเสียแล้ว ดังนั้นตลาดของเกมโทรศัพท์จึงเติบโตได้รวดเร็วมาก เพราะจำนวนพื้นฐานของคนที่มีโทรศัพท์มือถือมันมีสูงและกำลังเติบโตอยู่ทุกปีนั่นเอง


โดยในปี 2022 ได้มีการประมาณคร่าว ๆ ว่า มีคนที่เล่นเกมในโทรศัพท์มือถือมากถึง 2.7 พันล้านคนทั่วโลก ซึ่งคิดเป็นเกือบ 35% ของจำนวนประชาโลกที่มีทั้งหมด 7.753 พันล้านคนเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นแค่นี้ก็ชัดเจนแล้วว่า ตลาดของเกมมือถือมันยิ่งใหญ่มากแค่ไหนนะครับ


อ้างอิง: circuitstream



GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] ทำไมเกมมือถือถึงเป็นบ่อเงินบ่อทองของผู้พัฒนาเกม?
22/07/2022

สิ่งที่เรียกว่าสมา์รตโฟนหรือโทรศัพท์มือถือนั้น ถือเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการดำรงชีวิตสำหรับมนุษย์ส่วนใหญ่ทั่วโลกเลยทีเดียว เพราะนอกจากมันจะสามารถใช้ติดต่อสื่อสารตามชื่อเรียกของมันแล้ว ความสมาร์ตของมันยังทำให้โทรศัพท์มือถือไม่ได้มีไว้ใช้แค่โทรเข้าและโทรออกอีกต่อไป


มันสามารถเป็นได้ทั้งกล้องถ่ายรูป ไฟฉาย วิทยุ โทรทัศน์ เราต์เตอร์อินเทอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งแพลตฟอร์มสำหรับเล่นวิดีโอเกม ซึ่งหากใครได้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับวงการเกมมาบ้าง เชื่อว่าคุณก็น่าจะเคยได้ยินข่าวถึงเกมบนมือถือที่กอบโกยรายได้ไปมหาศาล แม้ตัวเกมอาจจะไม่ได้ดูดีระดับเกม AAA ที่คุณเคยเล่นมาก็ตาม


และถ้าหากลองสังเกตให้ดี เราก็จะเห็นว่า บรรดาบริษัทผู้พัฒนาเกมต่าง ๆ ในยุคนี้ ล้วนหาช่องทางนำเกมของตัวเองมาดัดแปลงลงสู่แพลตฟอร์มของโทรศัพท์มือถือกันมากขึ้น ส่วนสาเหตุเบื้องหลังของการทำเกมต่าง ๆ ลงมือถือนั้น เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟัง


ใช้เวลาในการพัฒนาน้อยกว่า


ตั้งแต่อดีตจนถึงยุคปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือเป็นแพลตฟอร์มที่ค่อนข้างเต็มไปด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง ทั้งปัญหาการระบายความร้อน ปริมาณความจุของตัวเครื่อง ปริมาณความจุของแบตเตอรี่ ประสิทธิภาพของชิปเซ็ต ความละเอียดของหน้าจอ และอื่น ๆ อีกมากมาย และด้วยตัวแพลตฟอร์มที่ถูกตีกรอบเอาไว้แบบนี้ มันจึงได้ถูกส่งต่อมายังวิดีโอเกมที่ถูกพัฒนาลงโทรศัพท์มือถืออีกด้วย

Evolution of Smartphones in 10 Years! - YouTube

ภาพจาก Utsav Techie


ทว่าเมื่อลองมองอีกมุมหนึ่ง การที่แพลตฟอร์มถูกตีกรอบเอาไว้ตั้งแต่ต้น มันก็เป็นเรื่องที่ไม่ได้เลวร้ายมากนัก เพราะมันสามารถทำให้คุณภาพ และประสิทธิภาพของเกมลดทอนลงได้ โดยที่ไม่มีคนบ่นหรือด่ากราดมากเท่ากับแพลตฟอร์มอื่น ๆ นั่นเอง เราน่าจะเคยได้ยินคำว่า “ก็มันเป็นเกมมือถือ จะให้มันมีแบบโน้น แบบนี้ เหมือนเกมบน PC หรือคอนโซลได้ยังไง” กันมาบ้างแหละ


ซึ่งเมื่อตัวเกมมันถูกลดทอนประสิทธิภาพหลาย ๆ อย่างลง แถมไฟล์เกมก็ต้องถูกบีบอัดให้เล็กมากที่สุด เพื่อรองรับกับความจุของโทรศัพท์ที่ไม่สามารถเพิ่มเข้าไปได้ทีหลัง (โทรศัพท์รุ่นใหม่ ๆ มักจะใส่ SD Card เพิ่มความจุไม่ได้แล้ว)

ด้วยเหตุผลทั้งหมดทั้งมวลนี้ มันจึงทำให้เกมมือถือถูกพัฒนาและจัดจำหน่ายออกมาได้ค่อนข้างรวดเร็วกว่าเกมบนแพลตฟอร์มอื่น ๆ นั่นเอง


ใช้ทีมพัฒนาเพียงหยิบมือ


สืบเนื่องมาจากที่ตัวเกมมีขนาดเล็กลง ต้องการความใส่ใจในรายละเอียดที่น้อยลง นั่นจึงทำให้ทีมพัฒนาเกมในมือถือนั้น มีจำนวนคนต่อทีมที่น้อยลงเช่นกัน มันอาจจะฟังดูย้อนแย้งไปบ้าง ในการให้คนจำนวนเพียงน้อยนิดมาพัฒนาเกมที่อาจจะกลายเป็นแหล่งรายได้หลักของบริษัทในภายหลัง แต่ถ้าหากเราลองมองในแง่ของการจัดสรรคนให้เข้ากับปริมาณงานนั้น เราก็จะมองว่ามันดูสมเหตุสมผลได้ไม่ยากเลย


โดยถ้าให้เทียบง่าย ๆ การทำเกมมือถือสักหนึ่งเกมที่เน้นไปที่การขายตัวละครหรือมีระบบกาชาปอง กับเกมระดับ AAA สักหนึ่งเกมที่มีเนื้อเรื่องยอดเยี่ยม งานภาพสุดสวยงาม และระบบเกมเพลย์ที่โคตรสนุก วนกลับมาเล่นใหม่ได้ไม่รู้เบื่อ แค่ฟังจากตรงนี้ก็น่าจะรู้แล้วนะ ว่าเกมไหนที่ควรจะต้องการทีมพัฒนามากกว่า

Zeenoh Games: what's it like to be a small indie game developer in the  Philippines

ภาพจาก Tech in Asia


ทั้งสองเกมมีวิธีในการดึงดูดเงินจากกระเป๋าตังค์ของคุณไม่เหมือนกัน เกมแรกอาจจะดึงดูดเงินคุณด้วยการออกตัวละครสวย ๆ เท่ ๆ มาให้คุณอยากครอบครอง ส่วนอีกเกมนั้นอาจจะดึงดูดเงินคุณด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทีมพัฒนากว่า 100 ชีวิตร่วมกันตั้งใจทำ


และถึงต่อให้ขั้นตอนในการดึงดูดเงินจะแตกต่างกันก็จริง แต่สุดท้าย ถ้าผลลัพธ์ปลายทางคือการทำเงินได้ในจำนวนที่พอ ๆ กัน ยังไง้ยังไง เป็นใครก็คงต้องเลือกใช้หนทางที่มันเปลืองทรัพยากรน้อยกว่า อย่างการทำเกมมือถือนั่นแหละ


กับดักของเกมฟรี


ต้องยอมรับว่าค่านิยมของชาวเกมต่อเกมมือถือนั้น ค่อนข้างมีความพิลึกพิลั่นเป็นอย่างมาก เราจะได้เห็นจากบรรดาวิดีโอเกมทั้งหลายที่แต่ก่อนเคยเป็นเกมแบบต้องเสียเงินซื้อ แต่เมื่อพอร์ตมาลงให้กับโทรศัพท์มือถือ ทางผู้พัฒนาดันเลือกให้มันกลับกลายเป็นเกมฟรีซะอย่างนั้น ที่เห็นได้ชัดก็เป็นเกมอย่าง PUBG, Dead by Daylight และ Among Us


แน่นอนว่าที่ทางผู้พัฒนาเลือกที่จะแปลงเกมของพวกเขาให้เป็นเกมฟรี มันก็มีเหตุผลอยู่เช่นกัน โดยจุดประสงค์แรกเริ่มก็คือการเปิดให้เล่นฟรี เพื่อชักชวนคนให้เข้ามาสัมผัสกับเกมของพวกเขาให้ได้มากที่สุด จากนั้นเมื่อมีคนจำนวนมากพอแล้ว พวกเขาก็จะเริ่มใส่โปรโมชัน และของล่อตาล่อใจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สกินสุดสวยที่ต้องมีไว้ในครอบครอง แบตเทิลพาสสุดคุ้ม จ่ายเงินหลักร้อยได้ไอเทมหลักพัน หรือแม้กระทั่งโปรโมชันเติมเงินครั้งแรก ได้ค่าเงินในเกมคูณสอง

ซึ่งต่อให้คุณเป็นคนที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้ออะไรในเกมเป็นพิเศษ แต่ถ้าโดนเทคนิคการตลาดล่อกันขนาดนี้ มันก็ต้องมีหวั่นไหว จนเงินในบัญชีสั่นกันบ้างแหละ



และถ้าคุณยังสามารถใจแข็งพอ เกมบางเกมก็ได้ทวีความร้ายกาจมากขึ้นไปอีกขั้น ด้วยการใส่ภารกิจประจำวัน ดึงให้คนเล่นต้องมาติดหนึบกับตัวเกมอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยหากจะให้ยกตัวอย่างง่าย ๆ ที่เห็นภาพได้ชัดเจนก็คงเป็น Genshin Impact กับระบบ Daily Quest 


ภารกิจประจำวันพวกนี้ จะถูกสุ่มมาทุกวัน วันละ 4 ภารกิจ ถ้าหากผู้เล่นทำจนครบ ผู้เล่นก็จะได้ Primogem ค่าเงินสูงสุดภายนเกม Genshin Impact ไปแบบฟรี ๆ วันละ 60 หน่วยเลยทีเดียว ซึ่งยิ่งตัวเกมดึงผู้เล่นให้อยู่ในเกมได้นานเท่าไร โอกาสที่ผู้เล่นจะหลวมตัวมาเสียเงินให้กับเกมก็ยิ่งมีเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น


รายได้ช่องทางที่สองจากโฆษณา

In-Game Advertising: 8 Ad Formats to Monetize Mobile Games :

ภาพจาก Admixer


นอกจากการขายไอเทมในเกมแบบปกติแล้ว บางเกมที่ทีมงานอาจจะมีจำนวนไม่เยอะมาก หรือเป็นเกมอินดี้เล็ก ๆ พวกเขาก็อาจจะหารายได้เสริมจากการรับโฆษณาอีกด้วย


โมเดลการรับโฆษณาแบบนี้ ก็ทำกันมาค่อนข้างช้านานกันในแพตฟอร์มโทรศัพท์มือถือ จนบางทีมันก็กลายเป็นวัฒนธรรมไปแล้วเหมือนกัน ซึ่งการที่ผู้เล่นได้ของไปใช้ฟรี ๆ ผู้พัฒนาได้เงินจากค่าโฆษณา และผู้ว่าจ้างก็ได้รับการการันตีว่าจะมีคนดูโฆษณานั้น จัดเป็นสถานการณ์ในฝันที่มีแต่ได้กันทุกฝ่ายทั้งนั้นเลย


ดังนั้น หากในอนาคตเราจะได้เห็นเกมต่าง ๆ มีระบบการเลือกรับชมโฆษณาใส่เข้ามาภายในเกม เพื่อลดราคาขายให้ถูกลงล่ะก็ มันก็คงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกอะไรนัก


การจ่ายเงินที่ทำได้ง่าย เพียงปลายนิ้วสัมผัส


อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้โทรศัพท์มือถือเป็นแพลตฟอร์มเล่นเกมที่แตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ ก็คึอตัวอรรถประโยชน์ของมันนั่นเอง เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นโทรศัพท์ในยุคนี้แล้ว แน่นอนว่ามันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อแค่ทำหน้าที่เพียงแค่โทรเข้า-โทรออกเพียงอย่างเดียว แต่มันทำได้สารพัดอย่าง ทั้งเล่นโซเชียลมีเดีย ถ่ายรูป เล่นเกม ไปจนถึงการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านแอปของธนาคารต่าง ๆ ซึ่งตรงจุดนี้นี่เอง ที่ทำให้เกมมือถือมันสามารถดึงดูดเงินของกระเป๋าตังค์คุณได้ง่ายดายยิ่งนัก เพราะยิ่งคนเราสามารถทำธุรกรรมได้สะดวกมากขึ้นเท่าไร เงินก็จะยิ่งไหลออกไวเท่านั้น


ลองเปรียบเทียบง่าย ๆ ถ้าหากคุณต้องการจะซื้อหรือเติมเงินในเกมบนแพลตฟอร์มอื่น ๆ เช่น PlayStation, Switch หรือ PC สิ่งที่คุณต้องทำก็คือการยืนยันตัวตนผ่านขั้นตอนต่าง ๆ มากมาย ทั้งพาไปหน้าเว็บนอก ยืนยันว่าไม่ใช่บอต กรอกรหัสผ่าน เผลอ ๆ คุณอาจจะต้องกรอกรหัสของบัตรเครดิตหรือบัญชีธนาคารของคุณเสียด้วยซ้ำ



ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้มันยุ่งยากมาก แตกต่างจากโทรศัพท์มือถือที่ผูกกับบัตรเครดิตหรือบัญชีธนาคารของคุณเอาไว้อยู่แล้ว แค่กรอกรหัสผ่านของแอปสัก 6 หลัก หรือถ้ายง่ายกว่านั้นก็คือการสแกนนิ้วมือหรือสแกนใบหน้า

เพียงเท่านี้ เงินของคุณก็พร้อมจะไหลออกไปสู่โลกกว้างแล้ว  นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกมโทรศัพท์สามารถสร้างรายได้อันมหาศาลให้กับทีมพัฒนาได้นั่นเอง


ตลาดที่กว้างใหญ่ไพศาล พร้อมรองรับเกมจำนวนมาก


ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีเครื่องเกมหรือคอมพิวเตอร์ แต่ทุกคนต้องมืโทรศัพท์มือถือ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคปัจจุบันนั้น มือถือแทบจะกลายเป็นสิ่งที่มนุษย์ขาดไม่ได้ไปเสียแล้ว ดังนั้นตลาดของเกมโทรศัพท์จึงเติบโตได้รวดเร็วมาก เพราะจำนวนพื้นฐานของคนที่มีโทรศัพท์มือถือมันมีสูงและกำลังเติบโตอยู่ทุกปีนั่นเอง


โดยในปี 2022 ได้มีการประมาณคร่าว ๆ ว่า มีคนที่เล่นเกมในโทรศัพท์มือถือมากถึง 2.7 พันล้านคนทั่วโลก ซึ่งคิดเป็นเกือบ 35% ของจำนวนประชาโลกที่มีทั้งหมด 7.753 พันล้านคนเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นแค่นี้ก็ชัดเจนแล้วว่า ตลาดของเกมมือถือมันยิ่งใหญ่มากแค่ไหนนะครับ


อ้างอิง: circuitstream



บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header