GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
IT
TIPS & TRICKS ช่างคอม อยากให้คอมแรงเริ่มง่ายๆ ด้วยการดูแลเรื่องความร้อน
ลงวันที่ 25/08/2021

ในช่วง 3 - 4 ปี ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าการเล่นเกมบนเครื่อง PC เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ส่วนหนึ่งมาจากการที่ ราคาเครื่องประกอบดีๆ ไม่ได้แพงเทียบเท่ากับเมื่อก่อนแล้ว เพียงแค่มีเงิน 2 - 3 หมื่น ทุกคนก็สามารถมีเครื่อง PC ดีๆ ซึ่งสามารถเล่นเกมเกือบทั้งหมดในโลกได้ ต่างจากเมื่อก่อนที่อาจจำเป็นต้องใช้เงินถึง 4 - 5 หมื่น เพื่อให้ได้ PC ดีๆ สำหรับเล่นเกมเครื่องหนึ่งมา ซึ่งถ้าหากใช้เงินจำนวน 4 - 5 หมื่นในการประกอบ PC เครื่องหนึ่งในยุคนี้ เราก็จะได้เครื่องที่มีความแรงมากพอจะเปิดกราฟิกแบบจัดเต็มมาเล่นได้เลยแทน

อย่างไรก็ตามด้วยงบที่มีอยู่อย่างจำกัด หลายคนจึงให้ความสนใจไปกับการซื้อชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องให้แรงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยลืมคำนึงถึงการระบายความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพไป หลายคนมองว่าเจียดเอาเงินบางส่วนนำไปลงทุนให้เครื่องสามารถระบายความร้อนได้ดีไม่ใช่เรื่องที่ควรให้ความสำคัญอะไร ซึ่งขอยืนยันตรงนี้เลยว่า มันเป็นความเชื่อที่ผิด ส่วนว่าทำไมถึงผิด วันนี้ผู้เขียนจะอธิบายให้ได้อ่านกัน


ความร้อนจริงๆ แล้วส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยตรง

ปกติแล้วการทำงานของเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ทุกชนิดในโลกที่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าจะทำให้เกิดความร้อนตามมาเสมอ ซึ่งไม่เว้นแม้แต่กับเครื่อง PC เองที่จำเป็นต้องจ่ายไฟเลี่ยงให้กับ Mainboard, CPU, GPU, RAM และ Harddisk อยู่ตลอดเวลา ที่ย่อมทำให้เกิดความร้อนในการทำงานเช่นเดียวกัน โดยในอุปกรณ์เหล่านี้จะมีกลไกตัวหนึ่งถูกใส่มาเหมือนกันๆ นั้นคือ "การลดประสิทธิภาพในการทำงาน หรือกำลังไฟที่จ่ายลงเมื่ออุปกรณ์มีความร้อนมากเกินไปเพื่อป้องกันไม่ให้ Overheat จนทำให้อุปกรณ์เสียหาย" 

ดังนั้นการดูแลเรื่องความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะหมายถึงการทำให้ชิ้นส่วนภายในของ PC เราสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตลอดเวลาด้วย ยิ่งชิ้นส่วนที่เราหยิบมาใส่ PC ใช้ไฟ หรือมีความแรงมากขนาดไหน ความสามารถในการระบายความร้อนของเครื่อง PC เราก็ควรจะมีมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งการจะทำให้ PC สามารถระบายความร้อนได้จะมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้อง โดยจะขอกล่าวถึงเป็นข้อๆ ต่อไป 

สำหรับคลิปข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่งช่วยยืนยันว่า การทำให้เครื่อง PC ของเรามีอุณหภูมิที่เย็นอยู่ตลอดเวลา จะช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (FPS ในเกมเพิ่มมา 10 - 15 FPS)


อุณหภูมิเท่าไหร่ถึงเรียกว่าร้อน?

ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องเข้าใจผิด ที่มีกันอยู่ในทุกวันนี้ว่า "อุณหภูมิของ CPU กับ GPU ต้องเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าร้อน?" หลายคนอาจบอกว่ามากกว่า 90 องศาคือเรียกว่าร้อน บางคนก็บอกว่ามากกว่า 95 องศา แต่ในความเป็นจริง CPU ตั้งแต่เจเนอเรชั่น 7 เป็นต้นมา (Core i3,5,7,9 - 7xxx) จริงๆ มีอุณหภูมิปลอดภัยจริงๆ อยู่ที่ประมาณ 100 องศาแล้ว (สามารถดูได้ที่ค่า Tjunction Max ของ CPU แต่ละรุ่น) ดังนั้นต้องอุณหภูมิมากกว่า 100 องศาขึ้นไป ถึงจะเรียกว่าอันตราย และเริ่มมีการลดประสิทธิภาพการทำงานลง ทางฝั่งของ GPU เองก็จะมีอุณหภูมิสูงสุดที่รับได้เช่นกัน ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 91 - 100 องศา สามารถดูข้อมูลถูกต้องจริงๆ ได้ในเว็บไซต์ Official ของแต่ละรุ่น ตรง Thermal and Power Specs ของแต่ละรุ่นได้เลย 

อย่างไรก็ตามสำหรับตัวผู้เขียนเองส่วนตัวคิดว่าอุณหภูมิมากกว่า 95 องศา ก็ถือว่าอันตรายแล้ว เนื่องจากเซนเซอร์ที่วัดอุณหภูมิเองอาจมีความคลาดเคลื่อนไม่มากก็น้อย และในการใช้งานจริงอุณหภูมิของชิ้นส่วนเหล่านี้จะแกว่งขึ้นๆ ลงๆ อยู่แล้ว  ดังนั้นถ้าเป็นไปได้เลี้ยงความร้อนให้ไม่เกิน 90 องศา ไว้เลยตั้งแต่แรกจะเป็นการดีที่สุด เพราะต่อให้เกิดการแกว่งของอุณหภูมิก็จะแน่ใจได้ว่าไม่ขึ้นไปสูงกว่า 100 องศา แน่ๆ (ส่วนฝั่ง GPU ก็อย่าให้เกิน 84-86 องศา จะเป็นการดีที่สุด)


สำรวจความต้องการของอุปกรณ์ ความสามารถ และของแถมให้ดี

ในส่วนของ GPU นั้นไม่ค่อยน่าเป็นห่วงนักเนื่องจาก ส่วนใหญ่แล้วผู้ผลิตมักออกแบบความสามารถในการระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพมากพอมาให้เลย สำหรับ CPU รุ่นเริ่มต้นอย่าง i3, R3, i5 และ R5 ยังไม่น่าเป็นห่วงเท่าไหร่เนื่องจากมีการแถม Heatsink สำหรับระบายความร้อนมาให้ด้วย ซึ่งผมขอยืนยันตรงนี้ว่า Heatsink ที่แถมมาให้กับ CPU มีความสามารถมากพอในการระบายความร้อนได้อยู่แล้ว หากใช้งานทั่วไป หรือเล่นเกมไม่หนักมาก แต่หากใช้ในการเล่นเกมหนักๆ เมื่อไหร่ เมื่อ CPU ทำงานเต็มที่แบบ 100% ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะสามารถสังเกตได้ว่าความร้อนจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อถึงขีดจำกัดเมื่อไหร่ CPU ก็จะลดการทำงานของตัวเองลงเพื่อให้ไม่เกิดอาการ Overheat ดังนั้นการอัปเกรด Heatsink ให้ระบายความร้อนได้ดีมากขึ้นจึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าสำหรับคนที่จะเอาไปใช้เล่นเกมหนัก ซึ่งการอัปเกรดในที่นี้ก็ไม่จำเป็นต้องไปซื้อรุ่นแพงๆ แค่ตัวราคาประมาณ 1,000 - 2,000 บาท ก็สามารถช่วยระบายความร้อนได้แบบเอาอยู่แล้ว


สำหรับคนที่ซื้อรุ่นแรงๆ อย่าง i7, R7, i9 หรือ R9 ยิ่งเป็นรหัส K กับ X ด้วย การซื้อ Heatsink หรือ AIO ดีๆ มาช่วยระบายความร้อน จะเป็นเรื่องที่สำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะ CPU รุ่นเหล่านี้ใช้พลังงานเยอะ และมีประสิทธิภาพการทำงานสูง ดังนั้นจึงเกิดความร้อนที่สูงมากเป็นเงาตามตัวมาด้วย ผู้เขียนแนะนำให้มองหา Heatsink แบบ Tower ที่ใสพัดลมได้ 2 ตัวขึ้นไป หรือ AIO ขนาด 2 ตอนขึ้นไป มาใช้งาน ราคาก็มีตั้งแต่ 2,500 - 10,000 บาทเลยทีเดียว ส่วนว่ารุ่นไหนระบายความร้อนได้มีประสิทธิภาพขนาดไหน อันนี้แนะนำให้ไปลองหาดูรีวิวก่อนใน Youtube ครับ


ความสามารถในการระบายลมของเคส เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

เคสของ PC ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความร้อนภายใน PC ได้ เนื่องจากการระบายความร้อนด้วย Heatsink หรือ AIO ต่างเป็นการใช้ลมในการระบายความร้อนทั้งสิ้น ดังนั้นยิ่งเคสมีทิศทาง รวมถึงความสามารถในการให้ลมผ่านได้ดีขนาดไหน ก็ยิ่งสามารถระบายความร้อนได้ดีมากขึ้นเท่านั้น โดยทิศทางลมที่ช่างคอม ส่วนใหญ่มักจะใช้กันคือการดึงลมเย็นเข้าจากข้างหน้า และระบายลมร้อนออกทางด้านบนกับด้านหลังของตัวเคส ดังนั้นหากหน้าเคส ด้านบน และด้านหลัง มีช่องสำหรับให้ลมผ่านได้ มันจะช่วยระบายความร้อนได้ดีกว่าเคสแบบปิดทุกด้านอย่างแน่นอน

การเพิ่มพัดลมให้ดึงลมเข้าจากข้างหน้า และเพิ่มพัดลมให้ดึงลมออกด้านบน และด้านหลังเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยการระบายความร้อน ให้ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยหากจัดการทิศทางลมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ดี ส่วนนี้สามารถช่วยลดความร้อนของ CPU กับ GPU ได้สูงถึง 4 - 5 องศาเลยทีเดียว ในส่วนของวัสดุที่ของเคส จริงอยู่ว่าโลหะนั้นสามารถนำความร้อนได้ดีกว่าพลาสติก แต่ไม่ได้ส่งผลมากขนาดต้องหยิบมานั่งคิดให้ปวดหัวสำหรับการเลือกซื้อครับ


ฝุ่นคือศัตรูตัวร้ายอย่างถึงที่สุดในการระบายความร้อน PC

ในส่วนนี้คิดว่าคงไม่จำเป็นต้องอธิบายอะไรมากนักในเมื่อคลิปวิดีโอด้านบนได้อธิบายทุกอย่างไว้หมดแล้ว เนื่องจากหากปล่อยให้ฝุ่นภายในเครื่องของเรามีเยอะมากเกินไป มันจะไปขวางทางการระบายอากาศของลม ทำให้อุณหภูมิสะสมภายในเครื่องมีมากขึ้น และส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ CPU กับ GPU โดยตรงในเวลาต่อมา

RPM ของพัดลม < ความสามารถในการระบายอากาศของเคส

RPM หรือ Revolutions Per Minute หมายถึงจำนวนรอบการหมุนของพัดที่ติดอยู่ตามจุดต่างๆ ของเครื่อง อย่างที่ผมได้กล่าวไปแล้วข้างบนว่า การระบายความร้อนของอุปกรณ์ทั้งหมดภายใน PC จำเป็นต้องใช้การผ่านของลมในการช่วย ซึ่งหลายคนอาจกำลังมีความคิดว่า "ถ้าหากว่าเคสของเรามิทิศทางลมที่ไม่ดี ก็น่าจะสามารถใช้พัดลมรอบสูงๆ ในการทำงานทดแทนได้" ความคิดนี้ไม่ผิดเสียทีเดียว แต่ก็ไม่ถูกเช่นกัน

จริงอยู่ RPM ที่สูงจะช่วยในให้การระบายความร้อนสามารถทำได้ดีขึ้นจริง แต่การจะเอาเงินไปลงทุนพัดลมที่มีรอบสูงๆ มันจะเป็นการดีกว่าหากเงินไปซื้อเคสที่มีทิศทางการระบายลมที่ดีเลยตั้งแต่แรก หรือต่อให้บอกว่าจะซื้อพัดลมรอบสูงๆ มาติดเพิ่มในเคสปัจจุบันที่ใช้งานอยู่ และมีทิศทางการระบายอากาศไม่ดี บางครั้งการซื้อเคสใหม่ที่มีการระบายอากาศดีๆ ไปเลย ก็ใช้เงินไม่ต่างกันเท่าไหร่นัก แถมยังเป็นการดีกว่าสำหรับการใช้งานในระยะยาวด้วย

อย่างไรก็ตามนี้ไม่ได้เป็นการบอกว่าสำหรับคนที่ใช้เคสระบายความร้อนไม่ดีจำเป็นต้องไปซื้อเคสใหม่มาเปลี่ยน ถ้าหากเคสที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีการระบายอากาศที่เพียงพอ CPU กับ GPU ไม่ได้มีอุณหภูมิที่สูงจนน่าใจหายตลอดเวลา (มากกว่า 95 องศา ตลอดเวลา) ก็อาจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเลยเสียทีเดียว เพียงแต่มันจะเป็นการดีกว่าในระยะยาวเท่านั้นเอง  


หมั่นเช็กอุณหภูมิของ CPU และ GPU อยู่เสมอ

ไม่ใช่ทุกครั้งที่เครื่องของเราจะทำงานเป็นปกติ พัดลมหมุนตลอดเวลา การจ่ายไฟเป็นไปอย่างถูกต้อง มันมีบ้างในบางครั้งเช่นกันที่ PC ของเราจะทำงานผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นพัดลมไม่หมุน, PSU จ่ายไฟมากเกินไป หรืออะไรก็แล้วแต่ เหตุการณ์เหล่านี้จะทำให้ความร้อนของอุปกรณ์ภายในเครื่องเพิ่มสูงขึ้น และอาจพังได้หากรู้ตัวช้าเกินไป อันตรายที่สุดอาจถึงขั้นเกิดไฟไหม้ได้เลย

ดังนั้นมันจะเป็นการดีกว่ามากหากมีโปรแกรมสำหรับตรวจวัดอุณหภูมิของเครื่องเราได้ตลอดเวลา หรือเป็นหน้าจอสำหรับติดตั้งภายในเคส อะไรก็ได้ที่ทำให้เราสามารถสังเกตถึงความผิดปกติได้ทัน และหยุดการใช้งานเครื่องก่อนเหตุไม่คาดฝันจะเกิดขึ้น ส่วนตัวผู้เขียนใช้โปรแกรมของทาง MSI ชื่อว่า MSI Afterburner หรือถ้าใครมีโปรแกรมอะไรแนะนำก็สามารถคอมเมนต์แบ่งปันกันได้


หวังว่าบทความนี้จะช่วยตอบคำถามที่สงสัย, ช่วยให้เพื่อนๆ ประกอบคอมได้ง่ายขึ้น หรืออย่างน้อยช่วยให้สามารถเล่นเกมผ่าน PC ได้อย่างสบายใจมากขึ้น แม้ว่าโดยรวมแล้วการควบคุมอุณหภูมิจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้เพียง 10 - 15% แต่เชื่อเถอะครับว่านี้ถือเป็นเปอร์เซ็นที่เยอะมากแล้วสำหรับอุปกรณ์ Hardware  


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
TIPS & TRICKS ช่างคอม อยากให้คอมแรงเริ่มง่ายๆ ด้วยการดูแลเรื่องความร้อน
25/08/2021

ในช่วง 3 - 4 ปี ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าการเล่นเกมบนเครื่อง PC เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ส่วนหนึ่งมาจากการที่ ราคาเครื่องประกอบดีๆ ไม่ได้แพงเทียบเท่ากับเมื่อก่อนแล้ว เพียงแค่มีเงิน 2 - 3 หมื่น ทุกคนก็สามารถมีเครื่อง PC ดีๆ ซึ่งสามารถเล่นเกมเกือบทั้งหมดในโลกได้ ต่างจากเมื่อก่อนที่อาจจำเป็นต้องใช้เงินถึง 4 - 5 หมื่น เพื่อให้ได้ PC ดีๆ สำหรับเล่นเกมเครื่องหนึ่งมา ซึ่งถ้าหากใช้เงินจำนวน 4 - 5 หมื่นในการประกอบ PC เครื่องหนึ่งในยุคนี้ เราก็จะได้เครื่องที่มีความแรงมากพอจะเปิดกราฟิกแบบจัดเต็มมาเล่นได้เลยแทน

อย่างไรก็ตามด้วยงบที่มีอยู่อย่างจำกัด หลายคนจึงให้ความสนใจไปกับการซื้อชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องให้แรงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยลืมคำนึงถึงการระบายความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพไป หลายคนมองว่าเจียดเอาเงินบางส่วนนำไปลงทุนให้เครื่องสามารถระบายความร้อนได้ดีไม่ใช่เรื่องที่ควรให้ความสำคัญอะไร ซึ่งขอยืนยันตรงนี้เลยว่า มันเป็นความเชื่อที่ผิด ส่วนว่าทำไมถึงผิด วันนี้ผู้เขียนจะอธิบายให้ได้อ่านกัน


ความร้อนจริงๆ แล้วส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยตรง

ปกติแล้วการทำงานของเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ทุกชนิดในโลกที่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าจะทำให้เกิดความร้อนตามมาเสมอ ซึ่งไม่เว้นแม้แต่กับเครื่อง PC เองที่จำเป็นต้องจ่ายไฟเลี่ยงให้กับ Mainboard, CPU, GPU, RAM และ Harddisk อยู่ตลอดเวลา ที่ย่อมทำให้เกิดความร้อนในการทำงานเช่นเดียวกัน โดยในอุปกรณ์เหล่านี้จะมีกลไกตัวหนึ่งถูกใส่มาเหมือนกันๆ นั้นคือ "การลดประสิทธิภาพในการทำงาน หรือกำลังไฟที่จ่ายลงเมื่ออุปกรณ์มีความร้อนมากเกินไปเพื่อป้องกันไม่ให้ Overheat จนทำให้อุปกรณ์เสียหาย" 

ดังนั้นการดูแลเรื่องความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะหมายถึงการทำให้ชิ้นส่วนภายในของ PC เราสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตลอดเวลาด้วย ยิ่งชิ้นส่วนที่เราหยิบมาใส่ PC ใช้ไฟ หรือมีความแรงมากขนาดไหน ความสามารถในการระบายความร้อนของเครื่อง PC เราก็ควรจะมีมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งการจะทำให้ PC สามารถระบายความร้อนได้จะมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้อง โดยจะขอกล่าวถึงเป็นข้อๆ ต่อไป 

สำหรับคลิปข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่งช่วยยืนยันว่า การทำให้เครื่อง PC ของเรามีอุณหภูมิที่เย็นอยู่ตลอดเวลา จะช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (FPS ในเกมเพิ่มมา 10 - 15 FPS)


อุณหภูมิเท่าไหร่ถึงเรียกว่าร้อน?

ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องเข้าใจผิด ที่มีกันอยู่ในทุกวันนี้ว่า "อุณหภูมิของ CPU กับ GPU ต้องเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าร้อน?" หลายคนอาจบอกว่ามากกว่า 90 องศาคือเรียกว่าร้อน บางคนก็บอกว่ามากกว่า 95 องศา แต่ในความเป็นจริง CPU ตั้งแต่เจเนอเรชั่น 7 เป็นต้นมา (Core i3,5,7,9 - 7xxx) จริงๆ มีอุณหภูมิปลอดภัยจริงๆ อยู่ที่ประมาณ 100 องศาแล้ว (สามารถดูได้ที่ค่า Tjunction Max ของ CPU แต่ละรุ่น) ดังนั้นต้องอุณหภูมิมากกว่า 100 องศาขึ้นไป ถึงจะเรียกว่าอันตราย และเริ่มมีการลดประสิทธิภาพการทำงานลง ทางฝั่งของ GPU เองก็จะมีอุณหภูมิสูงสุดที่รับได้เช่นกัน ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 91 - 100 องศา สามารถดูข้อมูลถูกต้องจริงๆ ได้ในเว็บไซต์ Official ของแต่ละรุ่น ตรง Thermal and Power Specs ของแต่ละรุ่นได้เลย 

อย่างไรก็ตามสำหรับตัวผู้เขียนเองส่วนตัวคิดว่าอุณหภูมิมากกว่า 95 องศา ก็ถือว่าอันตรายแล้ว เนื่องจากเซนเซอร์ที่วัดอุณหภูมิเองอาจมีความคลาดเคลื่อนไม่มากก็น้อย และในการใช้งานจริงอุณหภูมิของชิ้นส่วนเหล่านี้จะแกว่งขึ้นๆ ลงๆ อยู่แล้ว  ดังนั้นถ้าเป็นไปได้เลี้ยงความร้อนให้ไม่เกิน 90 องศา ไว้เลยตั้งแต่แรกจะเป็นการดีที่สุด เพราะต่อให้เกิดการแกว่งของอุณหภูมิก็จะแน่ใจได้ว่าไม่ขึ้นไปสูงกว่า 100 องศา แน่ๆ (ส่วนฝั่ง GPU ก็อย่าให้เกิน 84-86 องศา จะเป็นการดีที่สุด)


สำรวจความต้องการของอุปกรณ์ ความสามารถ และของแถมให้ดี

ในส่วนของ GPU นั้นไม่ค่อยน่าเป็นห่วงนักเนื่องจาก ส่วนใหญ่แล้วผู้ผลิตมักออกแบบความสามารถในการระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพมากพอมาให้เลย สำหรับ CPU รุ่นเริ่มต้นอย่าง i3, R3, i5 และ R5 ยังไม่น่าเป็นห่วงเท่าไหร่เนื่องจากมีการแถม Heatsink สำหรับระบายความร้อนมาให้ด้วย ซึ่งผมขอยืนยันตรงนี้ว่า Heatsink ที่แถมมาให้กับ CPU มีความสามารถมากพอในการระบายความร้อนได้อยู่แล้ว หากใช้งานทั่วไป หรือเล่นเกมไม่หนักมาก แต่หากใช้ในการเล่นเกมหนักๆ เมื่อไหร่ เมื่อ CPU ทำงานเต็มที่แบบ 100% ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะสามารถสังเกตได้ว่าความร้อนจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อถึงขีดจำกัดเมื่อไหร่ CPU ก็จะลดการทำงานของตัวเองลงเพื่อให้ไม่เกิดอาการ Overheat ดังนั้นการอัปเกรด Heatsink ให้ระบายความร้อนได้ดีมากขึ้นจึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าสำหรับคนที่จะเอาไปใช้เล่นเกมหนัก ซึ่งการอัปเกรดในที่นี้ก็ไม่จำเป็นต้องไปซื้อรุ่นแพงๆ แค่ตัวราคาประมาณ 1,000 - 2,000 บาท ก็สามารถช่วยระบายความร้อนได้แบบเอาอยู่แล้ว


สำหรับคนที่ซื้อรุ่นแรงๆ อย่าง i7, R7, i9 หรือ R9 ยิ่งเป็นรหัส K กับ X ด้วย การซื้อ Heatsink หรือ AIO ดีๆ มาช่วยระบายความร้อน จะเป็นเรื่องที่สำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะ CPU รุ่นเหล่านี้ใช้พลังงานเยอะ และมีประสิทธิภาพการทำงานสูง ดังนั้นจึงเกิดความร้อนที่สูงมากเป็นเงาตามตัวมาด้วย ผู้เขียนแนะนำให้มองหา Heatsink แบบ Tower ที่ใสพัดลมได้ 2 ตัวขึ้นไป หรือ AIO ขนาด 2 ตอนขึ้นไป มาใช้งาน ราคาก็มีตั้งแต่ 2,500 - 10,000 บาทเลยทีเดียว ส่วนว่ารุ่นไหนระบายความร้อนได้มีประสิทธิภาพขนาดไหน อันนี้แนะนำให้ไปลองหาดูรีวิวก่อนใน Youtube ครับ


ความสามารถในการระบายลมของเคส เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

เคสของ PC ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความร้อนภายใน PC ได้ เนื่องจากการระบายความร้อนด้วย Heatsink หรือ AIO ต่างเป็นการใช้ลมในการระบายความร้อนทั้งสิ้น ดังนั้นยิ่งเคสมีทิศทาง รวมถึงความสามารถในการให้ลมผ่านได้ดีขนาดไหน ก็ยิ่งสามารถระบายความร้อนได้ดีมากขึ้นเท่านั้น โดยทิศทางลมที่ช่างคอม ส่วนใหญ่มักจะใช้กันคือการดึงลมเย็นเข้าจากข้างหน้า และระบายลมร้อนออกทางด้านบนกับด้านหลังของตัวเคส ดังนั้นหากหน้าเคส ด้านบน และด้านหลัง มีช่องสำหรับให้ลมผ่านได้ มันจะช่วยระบายความร้อนได้ดีกว่าเคสแบบปิดทุกด้านอย่างแน่นอน

การเพิ่มพัดลมให้ดึงลมเข้าจากข้างหน้า และเพิ่มพัดลมให้ดึงลมออกด้านบน และด้านหลังเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยการระบายความร้อน ให้ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยหากจัดการทิศทางลมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ดี ส่วนนี้สามารถช่วยลดความร้อนของ CPU กับ GPU ได้สูงถึง 4 - 5 องศาเลยทีเดียว ในส่วนของวัสดุที่ของเคส จริงอยู่ว่าโลหะนั้นสามารถนำความร้อนได้ดีกว่าพลาสติก แต่ไม่ได้ส่งผลมากขนาดต้องหยิบมานั่งคิดให้ปวดหัวสำหรับการเลือกซื้อครับ


ฝุ่นคือศัตรูตัวร้ายอย่างถึงที่สุดในการระบายความร้อน PC

ในส่วนนี้คิดว่าคงไม่จำเป็นต้องอธิบายอะไรมากนักในเมื่อคลิปวิดีโอด้านบนได้อธิบายทุกอย่างไว้หมดแล้ว เนื่องจากหากปล่อยให้ฝุ่นภายในเครื่องของเรามีเยอะมากเกินไป มันจะไปขวางทางการระบายอากาศของลม ทำให้อุณหภูมิสะสมภายในเครื่องมีมากขึ้น และส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ CPU กับ GPU โดยตรงในเวลาต่อมา

RPM ของพัดลม < ความสามารถในการระบายอากาศของเคส

RPM หรือ Revolutions Per Minute หมายถึงจำนวนรอบการหมุนของพัดที่ติดอยู่ตามจุดต่างๆ ของเครื่อง อย่างที่ผมได้กล่าวไปแล้วข้างบนว่า การระบายความร้อนของอุปกรณ์ทั้งหมดภายใน PC จำเป็นต้องใช้การผ่านของลมในการช่วย ซึ่งหลายคนอาจกำลังมีความคิดว่า "ถ้าหากว่าเคสของเรามิทิศทางลมที่ไม่ดี ก็น่าจะสามารถใช้พัดลมรอบสูงๆ ในการทำงานทดแทนได้" ความคิดนี้ไม่ผิดเสียทีเดียว แต่ก็ไม่ถูกเช่นกัน

จริงอยู่ RPM ที่สูงจะช่วยในให้การระบายความร้อนสามารถทำได้ดีขึ้นจริง แต่การจะเอาเงินไปลงทุนพัดลมที่มีรอบสูงๆ มันจะเป็นการดีกว่าหากเงินไปซื้อเคสที่มีทิศทางการระบายลมที่ดีเลยตั้งแต่แรก หรือต่อให้บอกว่าจะซื้อพัดลมรอบสูงๆ มาติดเพิ่มในเคสปัจจุบันที่ใช้งานอยู่ และมีทิศทางการระบายอากาศไม่ดี บางครั้งการซื้อเคสใหม่ที่มีการระบายอากาศดีๆ ไปเลย ก็ใช้เงินไม่ต่างกันเท่าไหร่นัก แถมยังเป็นการดีกว่าสำหรับการใช้งานในระยะยาวด้วย

อย่างไรก็ตามนี้ไม่ได้เป็นการบอกว่าสำหรับคนที่ใช้เคสระบายความร้อนไม่ดีจำเป็นต้องไปซื้อเคสใหม่มาเปลี่ยน ถ้าหากเคสที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีการระบายอากาศที่เพียงพอ CPU กับ GPU ไม่ได้มีอุณหภูมิที่สูงจนน่าใจหายตลอดเวลา (มากกว่า 95 องศา ตลอดเวลา) ก็อาจไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเลยเสียทีเดียว เพียงแต่มันจะเป็นการดีกว่าในระยะยาวเท่านั้นเอง  


หมั่นเช็กอุณหภูมิของ CPU และ GPU อยู่เสมอ

ไม่ใช่ทุกครั้งที่เครื่องของเราจะทำงานเป็นปกติ พัดลมหมุนตลอดเวลา การจ่ายไฟเป็นไปอย่างถูกต้อง มันมีบ้างในบางครั้งเช่นกันที่ PC ของเราจะทำงานผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นพัดลมไม่หมุน, PSU จ่ายไฟมากเกินไป หรืออะไรก็แล้วแต่ เหตุการณ์เหล่านี้จะทำให้ความร้อนของอุปกรณ์ภายในเครื่องเพิ่มสูงขึ้น และอาจพังได้หากรู้ตัวช้าเกินไป อันตรายที่สุดอาจถึงขั้นเกิดไฟไหม้ได้เลย

ดังนั้นมันจะเป็นการดีกว่ามากหากมีโปรแกรมสำหรับตรวจวัดอุณหภูมิของเครื่องเราได้ตลอดเวลา หรือเป็นหน้าจอสำหรับติดตั้งภายในเคส อะไรก็ได้ที่ทำให้เราสามารถสังเกตถึงความผิดปกติได้ทัน และหยุดการใช้งานเครื่องก่อนเหตุไม่คาดฝันจะเกิดขึ้น ส่วนตัวผู้เขียนใช้โปรแกรมของทาง MSI ชื่อว่า MSI Afterburner หรือถ้าใครมีโปรแกรมอะไรแนะนำก็สามารถคอมเมนต์แบ่งปันกันได้


หวังว่าบทความนี้จะช่วยตอบคำถามที่สงสัย, ช่วยให้เพื่อนๆ ประกอบคอมได้ง่ายขึ้น หรืออย่างน้อยช่วยให้สามารถเล่นเกมผ่าน PC ได้อย่างสบายใจมากขึ้น แม้ว่าโดยรวมแล้วการควบคุมอุณหภูมิจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้เพียง 10 - 15% แต่เชื่อเถอะครับว่านี้ถือเป็นเปอร์เซ็นที่เยอะมากแล้วสำหรับอุปกรณ์ Hardware  


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header