GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
ผลการค้นหา : "ti9"
OGs Mind Games - เจาะเส้นทางแชมป์จากสงครามจิตวิทยาของ OG
เป็นเวลากว่า 8 ปีในประวัติศาสตร์การแข่งขัน The International ทัวร์นาเมนต์ความฝันของโปรเพลเยอร์ DOTA 2 ทุกคนที่ไม่เคยมีทีมไหนหรือผู้เล่นคนไหนสามารถได้แชมป์ซ้ำกัน 2 ครั้ง ทำให้หลายๆ คนต่างก็พูดว่า DOTA is that hard หรือ DOTA เป็นเกมที่ยากจนไม่มีใครจะเก่งได้ที่สุดเสมอไป  และในการแข่งขัน TI9 ครั้งนี้ OG ก็กลายเป็นผู้พิสูจน์ ลบล้างทุกคำสาปที่เคยมีมาด้วยการครองแชมป์ 2 สมัยติดๆ กันโดยไม่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น แล้วอะไรล่ะที่ทำให้ทีม OG มาถึงจุดนี้ได้ คำตอบนั้นก็คือ Mind Game การทำสงความจิตวิทยาของคู่ต่อสู้ หรือการเล่น Mind Game เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับวงการ DOTA มาอย่างยาวนาน มันเป็นการเล่นกับอารมณ์ของคู่แข่งด้วยการปั่น หลอกล่อทำให้อีกฝั่งหัวร้อน หรือแม้กระทั่งสูญเสียความมั่นใจ นอกจากนี้ก็ยังช่วยเพิ่มความสนุกสนานและเพิ่มความมั่นใจให้แก่ทีมตัวเองด้วย ซึ่งในการแข่งขัน TI9 ครั้งนี้ OG ก็ได้แสดงให้เราเห็นว่าการใช้จิตวิทยาในการแข่งขันมันสำคัญขนาดไหน    You know what’s cooking? BOOM! การเล่น Mind Game หรือการเปิดสงครามประสาทของ OG เริ่มตั้งแต่การดราฟท์ตัวแบบงงๆ ของ Ana ที่จับ IO มาเป็นแคร์รี่ จนสร้างความแปลกใจให้กับนักพากย์ ผู้ชม คู่แข่ง และแม้กระทั่งทีมของตัวเอง จนหลายๆ คนอาจจะอุทานออกมาว่า “WTF” IO แทบไม่เคยถูกใช้ในฐานะฮีโร่ที่แบกเกมในการแข่งขันใหญ่ๆ มาก่อน ส่วนใหญ่มักจะถูกหยิบมาเล่นในตำแหน่งซัพพอร์ตมากกว่าเนื่องจากมีความสามารถในการเพิ่มเลือด มานา และความเร็ว แถมยังมี Relocate อัลติเมตที่ใช้ในการแก็งค์ สามารถช่วยเหลือตัว Core ของเกมในยามคับขันได้ดี [caption id="attachment_27231" align="alignnone" width="1024"] เกมแรกที่ Ana จับ IO มาเป็น Carry[/caption] ด้วยการชุบเลี้ยงจากเพื่อนร่วมทีม บวกกับฝีมือการฟาร์ม หยิบฮีโร่มาปั้นจนได้ดิบได้ดีของ Ana ทำให้เกมได้เปรียบ นอกจากนี้ IO เป็นฮีโร่ที่สามารถทำให้คู่แข่งประมาท เพราะไม่ได้มองว่าจะเป็นฮีโร่ที่สามารถเกิดแล้วบี้ไล่ฆ่าทีมตัวเองได้ในภายหลัง จึงไม่ได้ให้ค่ากับฮีโร่สายซัพตัวนี้เท่ากับตอนที่ Ana จับฮีโร่ฮาร์ดแคร์รี่แบบ Spectre หรือ Faceless Void  ข้อพิสูจน์ก็คือหลังจากที่ OG สามารถเก็บชัยชนะจาก NiP เกมแรกได้แล้ว จะเห็นว่าอีกฝั่งก็ยังไม่เลือกแบน IO เพราะไม่ได้คิดว่าจะส่งผลกับเกมขนาดนั้น และยังคิดว่ายังไงก็เอาอยู่ สามารถแก้ทางได้ อยากแบนฮีโร่อื่นมากกว่า เช่นเดียวกันกับอีกหลายๆ ทีมที่พ่ายให้กับ OG ในรอบ Group Stage อย่าง VP, Fnatic และ Newbee ซึ่งจากสถิติที่ Ana จับ IO แล้วชนะ 6-0 ก็แสดงให้เห็นว่า Mind Game นี้ใช้ได้ผล โดยครั้งสุดท้ายที่หยิบมาเล่นคือแมทช์ที่คว้าชัยชนะจาก Team Liquid และสร้างสถิติแชมป์ 2 สมัย [caption id="attachment_27140" align="alignnone" width="1024"] หน้าของ Ana เมื่อได้จับ IO หลัง Team Liquid ตัดสินใจไม่แบน[/caption]   Ceeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeb! Chat Wheel หรือวงล้อสนทนา เป็นฟังก์ชันที่อยู่ในเกม DOTA 2 มานานแล้ว โดยเหมือนเป็นคำพูดสำเร็จรูปที่เอาไว้ใช้สื่อสารกับเพื่อนร่วมทีม ในนั้นก็จะมีคำเบสิคต่างๆ อย่างเช่น “ช่วยด้วย” “เลนส์บนหาย!” หรือ “ต้องการ Ward” เป็นต้น หลังจากที่ Chat Wheel ได้เริ่มเพิ่มลูกเล่น เลือกกดเป็นเสียงพูดออกมาได้ แถมยังมีบางอันที่เป็นสถานะ [All] คือคู่ต่อสู้ก็ได้ยินด้วย ทำให้เริ่มมีเหล่าโปรเพลเยอร์ใช้วงล้อสนทนานี้กันมากขึ้น  OG ใช้ Chat Wheel นี้ในการแซวทีมฝั่งตรงข้าม โดยสแปมกันแทบจะตลอดทั้งเกม ไม่ว่าจะเป็นจังหวะบวก จังหวะที่ฆ่าฮีโร่ หรือจังหวะที่ตัวเองหนีรอดมาได้ ซึ่งถ้าถามว่ามันยั่วยุปลุกปั่นอารมณ์ฝั่งตรงข้ามขนาดไหน ก็บอกได้เลยว่ามันส่งผลต่ออารมณ์มากจนขนาดที่หลายๆ ทีมเลือกที่จะ Mute หรือปิดไมค์ ซึ่งจะทำให้ไม่เห็นข้อความทั้งหมดที่อีกฝั่งพิมพ์มา รวมทั้ง Chat Wheel ด้วย คำถามต่อมาคือ ถ้าศัตรูของคุณ Mute คุณแล้วคุณจะทำอย่างไร? วิธีที่ OG ใช้เพื่อเล่น Mind Game ของตัวเองต่อไปก็คือ การทิป  การทิป เป็นการให้หน่วยเงิน หรือแต้มในเกมเพื่อชมเชยผู้เล่นที่ทำได้ดี เช่น ถ้าเพื่อนสามารถปล่อยอัลติเมตเก็บคิลศัตรูหรือสร้างจังหวะการเล่นให้แก่ทีมได้ คนในทีมก็จะใช้วิธีการทิปเพื่อเอ่ยชมแบบ “ทำดีมากพ่อหนุ่ม” ซึ่งก็สามารถให้ทิปศัตรูได้เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่มักเป็นการทิปเพื่อชมเชยว่า “ขอบคุณนะที่เล่นพลาด” มากกว่าเพื่อชมจริงๆ  [caption id="attachment_27216" align="alignnone" width="1024"] รวมการทิปทั้งหมดจาก OG ในการแข่งขัน Grand Final ที่เจอกับ Team Liquid[/caption] เพื่อเป็นการปั่นให้สุด สเตปต่อมาที่ OG ทำนอกเหนือจากการทิปแล้วก็คือการปักธงและพ่นสเปรย์ข่มขวัญ การพ่นสเปรย์และปักธง (Banner) เป็นฟังก์ชันที่มาพร้อมกับ Battle Pass วิธีการใช้งานก็ไม่มีอะไรยาก แค่กดไอคอนแล้วปักธง หรือพ่นสเปรย์ใน Chat Wheel ลงไปที่พื้น เท่านี้มันก็จะไปเด่นหราต่อหน้าศัตรู  [caption id="attachment_27218" align="alignnone" width="1024"] สเปรย์ของ OG ในป่าของ Team Liquid[/caption] สิ่งที่โดดเด่นยิ่งกว่าการพ่นสเปรย์ Loser ในจังหวะที่ศัตรูตาย หรือพ่นในป่าฝั่งศัตรูเพื่อสลักชื่อบนพื้นว่า “OG มาเยือน” ก็เห็นจะเป็นกลยุทธ์การปักธงของ OG ที่ขยันปั่น เปลี่ยนรูปให้เข้ากับบริบทของแต่ละทีมอยู่เสมอ  อย่างแมทช์ที่เจอกับทีม Newbee ธงที่เราเห็นตลอดทั้งเกมคือธงที่มีรูป Goofy โดย JerAx ผู้เล่นซัพ 4 ให้สัมภาษณ์หลังเกมกับ Kaci ว่า ที่มาของรูป Goofy นี้ก็เป็นเพราะกัปตันทีมของ Newbee บอกลูกทีมเอาไว้ว่า “Dont get into their goofiness and they will beat us.” ทาง OG เลยใช้ตัวละครจาก Disney อย่าง Goofy ที่มีคาแรคเตอร์เซ่อซ่ามาเป็นรูปธง [caption id="attachment_27144" align="alignnone" width="873"] เครดิตรูป: Sheever take my energy[/caption] แมทช์ที่เจอกับ EG ทีมอดีตเพื่อนรัก ภาพเด็ดๆ ที่ OG เลือกใช้เพราะคิดว่าน่าจะกระทบกระเทือนกับจิตใจอีกฝั่งก็หนีไม่พ้น พ่อใหญ่ N0tail กับรูปซาสึเกะ ที่ทั้ง Fly และ N0tail โดนชาวเน็ตจับไปทำมีมเป็น เนื่องจากทั้งสองคนเหมาะจะเป็น นารูโตะ และ ซาสึเกะ แห่งวงการ DOTA โดนเพื่อนรักทิ้งไว้กลางทางเพื่อไล่ตามความฝันของตัวเองไป  [caption id="attachment_27172" align="alignnone" width="1024"] ธงที่ OG ปักในแมทช์ที่แข่งกับ EG[/caption] เอาเข้าจริงแล้วมันดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อยมาก การสแปม Chat Wheel พ่นสเปรย์ดักหน้า ปักธงใส่ หรือให้ทิปเวลาตายมันจะส่งผลกับเกมได้ขนาดไหนกันเชียว ตอบได้คำเดียวเลยว่า “มาก” มันไม่ต่างอะไรจากการที่คุณโดนศัตรูฆ่าตายซ้ำๆ แล้วศัตรูก็พิมพ์กลับมาสั้นๆ ว่า “ez” “มันเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว แน่นอนว่ามันช่วยในเรื่องของจิตใจพวกเราเยอะมาก ส่วนใหญ่ก็ทำเพราะว่าความสนุก เวลาเราเล่นมันมีพลังความฮึกเหิมไหลผ่านตัวเราอยู่ตลอด เรารักษาความฮึกเหิมนั้นไว้ด้วยการใช้ Chat Wheel แล้วเราก็รู้ด้วยว่าพอเล่นกับฝั่งศัตรูแล้วมันก็เวิร์ค  ผมหมายถึงในการเล่น DOTA ระดับนี้ ผมสามารถเดาได้ว่าพวกเขารู้สึกยังไง คิดอะไรอยู่ มันเห็นได้จากการเล่นของพวกเขา แน่นอนว่าพวกเขาก็เดาเราได้เหมือนกัน มันไม่ใช่แค่เล่นเกมกันเฉยๆ มันมีเรื่องของอารมณ์เข้ามาเกี่ยวด้วย ซึ่งอารมณ์พวกนี้มันก็ส่งผลกับเกม แล้วเราก็เห็นได้เลยว่าเมื่อไหร่ที่พวกเขาเริ่ม ถูกชักจูง มันเป็นสิ่งที่เราใช้ในการแข่งกับพวกเขา” Ceb ตอบพิธีกรเมื่อโดนถามว่าทำไปเพราะเอาสนุกหรือว่าสงครามประสาทนี่มันเป็นกลยุทธ์การแข่งจริงๆ    The Next Level Play! อะไรที่อยู่ในเกมแล้วทำได้ก็ทำไปหมดแล้ว ถึงเวลาของจิตวิทยานอกเกม ถ้าถามว่าฉากเปิดตัวผู้เล่นคนไหนที่น่าจดจำ ภาพพ่อใหญ่ N0tail ที่เดินถือกระดาษปึ๊งใหญ่เดินเข้าสนามมาพร้อมรอยยิ้มในรอบที่แข่งกับ PSG.LGD ก็น่าจะเป็นคำตอบที่ชัดเจน เพราะพี่แกเปิดตัวได้แกรนด์มากจริงๆ หากใครได้ดูสารคดี True Sight ของ TI8 ปีที่แล้วน่าจะยังจำกันได้ว่าในการแข่งรอบแกรนด์ไฟนอล พอ Chalice ผู้เล่นของทีมจีนเห็น Ceb เดินถือกระดาษไปมาในพิทแข่ง ก็เรียกให้เพื่อนดู พร้อมบอกว่า “เช่าหนี่***” กระดาษปึกใหญ่ของทีม OG ปึกนี้ นอกจากจะสร้างมีมเด็ดให้แก่คอมมูนิตี้ DOTA และกวนทีนผู้เล่นฝั่งตรงข้ามแล้ว มันยังเป็นเครื่องมือที่ OG เอาไว้รับมือกับเสียงเชียร์ของกองเชียร์ชาวจีนที่กำลังตะโกนเชียร์ทีมคู่แข่งดังก้องไปทั้งสนาม ด้วยการทำให้ตัวเองรู้สึกสนุกและรู้สึกผ่อนคลายกับการแข่ง “มันยากนะ บางทีมันก็ยาก ผมยังจำทัวร์นาเมนต์แรกที่มาแข่งที่จีนได้ โห ผมเสียความมั่นใจเลย เพราะว่าพวกเขาส่งเสียงเชียร์ทีมฝั่งตรงข้าม บางทีก็โห่ผม บางครั้งมันก็ทำให้คุณหลงทางได้เหมือนกัน ไม่ทุกครั้งหรอก แต่ก็ต้องมีบ้างแหละ” Ceb ให้สัมภาษณ์กับ Kaci ก่อนที่จะแข่งกับ PSG.LGD พอแข่งชนะ PSG.LGD แล้ว Ceb ก็ยังทำท่าแซวกองเชียร์กลับด้วย โดยยกมือขึ้นมา แล้วเอี้ยหูฟังในทำนองว่า “เสียงเชียร์ของพวกนายหายไปไหนแล้วล่ะ โดน Silence หรอ?” Absolutely Perfect! เห็นชอบเปิดวอร์ เล่นสงครามประสาทแบบนี้ ทว่า OG ก็ไม่ใช่ทีมเดียวที่เล่น Mind Game แถมยังมีจังหวะที่โดนคู่แข่งสแปมสเปรย์ใส่เหมือนกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ทีมแชมป์ยังยืนหยัดอยู่ได้คือการตระหนักถึงความสำคัญของ Mental Strength หรือ ความแข็งแกร่งทางจิตใจ  อย่างที่รู้กันว่าหลังจากจบ TI8 ไปแล้วผลงานของ OG ในการเก็บแต้มครั้งใหม่สู่ TI9 ก็ไม่ราบรื่น แทบไม่เคยได้ไปแตะขอบสนามการแข่งขันระดับ Major เลยซะด้วยซ้ำ ดังนั้นสภาพจิตใจของคนในทีมจึงค่อนข้างย่ำแย่เพราะว่าสูญเสียความมั่นใจในตัวเอง เอาเข้าจริงแล้วถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญมากเพราะ การตั้งคำถามกับความสามารถของตัวเองในยามที่ความมั่นใจถูกทำลายซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นเรื่องยากเกินที่จะรับมือ และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้เล่นหลายคนยอมตัดใจละทิ้งความฝันของตัวเองไป "มันเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากมากครับตอนนั้น เราไม่ค่อยมีแรงจูงใจในการแข่งเท่าไหร่ ผมจะไม่โกหกนะ มันยากมาก เราทำได้ไม่ดีเลยในการแข่งทัวร์นาเมนต์ต่างๆ" Topson ให้สัมภาษณ์กับ vpesports นอกจากนี้ N0tail ยังได้ให้สัมภาษณ์กับ Kaci หลังเกมที่แข่งกับ PSG.LGD ว่า "ก่อนแข่ง TI ครั้งนี้ ทุกอย่างมันค่อนข้างมืดมน หมาผมตาย มันเป็นช่วงเวลาที่แย่มาก ความมั่นใจของผมต่ำมากๆ ผมรู้สึกขอบคุณ Ceb มาก ทัวร์นาเมนต์นี้ผมยกความดีความชอบให้เขา" ในช่วงก่อน TI9 จะเริ่มขึ้น OG จึงได้จ้าง Mia Stellberg นักจิตวิทยาอีสปอร์ตที่มีผลงานโดดเด่นจากการช่วยทีมแข่ง CS:GO อย่าง Astralis ให้ไปถึงฝั่งฝัน โดยก่อนหน้านี้ Astralis เคยเป็นทีมต้องสาป ไม่สามารถเก็บชัยชนะจากการแข่งทัวร์นาเมนต์ได้ซักที ส่วนผู้เล่นเองก็เผชิญกับความกดดันอย่างหนัก Mia จึงช่วยฝึกความแข็งแกร่งทางร่างกายและจิตใจ ให้คำปรึกษาจนทำให้ Astralis สามารถเอาชนะทัวร์นาเมนต์ระดับ Major ครั้งแรกของทีมได้  ซึ่งก็ถือว่าได้ผล เพราะอย่างที่เราเห็นกัน OG มักก้าวเข้าสนามมาด้วยรอยยิ้มตั้งแต่วันแรกของ Main Stage จนถึงวันสุดท้ายที่เข้าเล่นในรอบ Grand Final ไม่ว่าจะถูกขึ้นนำไปก่อนกี่รอบ ก็มักจะ Comeback กลับมาได้ตลอด “ทุกคนต่างก็เล่นเกมเก่งกันทั้งนั้น แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมี Mindset ที่ดี คุณต้องเข้มแข็งถ้าคุณอยากจะเล่นให้ได้ดีที่สุด คุณต้องมีความแข็งแกร่งทางด้านจิตใจเหนือใครทั้งหมด” Ceb พูดในสารคดี Against the odd อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ OG กลายเป็นทีมที่แข็งแกร่งที่สุดทั้งในด้านของฝีมือการเล่นและสภาพจิตใจ ก็คือพวกเขาไม่เคยทอดทิ้งกัน เผชิญหน้ากับอุปสรรคด้วยกัน ผ่านความยากลำบากด้วยกัน เป็นกำลังใจให้กัน และชนะด้วยกัน N0tail กัปตันทีมเคยให้สัมภาษณ์ครั้งที่ยังเล่นให้กับทีม Cloud9 ในปี 2015 ว่า “DOTA เป็นเกมที่เล่นกันเป็นทีม มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณ มันขึ้นอยู่กับทุกคนรอบๆ คุณ” ซึ่งไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน หรือจะโดนใครทิ้งไประหว่างทาง กัปตันสุดแกร่งก็ยังคงเก็บความเชื่อนี้ไว้กับตัว และส่งต่อให้กับเพื่อนร่วมทีมที่ตอนนี้ได้กลายเป็นครอบครัวไปแล้ว “มีอยู่วันนึงผมตื่นขึ้นมาแล้วก็มีความคิดแล่นเข้ามาในหัวของผมว่า มันจะเป็นยังไงถ้าต้องเล่น DOTA กับทีมอื่น มันเป็นความคิดที่ทำให้รู้สึกเศร้ามากเพราะว่าผมไม่อยากเปลี่ยนอะไรเลย พวกเขาคอยระวังหลังให้ผมเสมอ ผมรู้สึกได้เลย ผมรักพวกเขา"  แหล่งอ้างอิงข้อมูล: - สัมภาษณ์หลังเกม N0tail - สัมภาษณ์หลังเกม JerAx - สัมภาษณ์ N0tail และ Ceb - สัมภาษณ์ทีม OG - สัมภาษณ์ Topson - สารคดี Against The Odd - OG จ้างนักจิตวิทยาอีสปอร์ต - Liquidpedia 1 | 2 | 3 บทความที่คุณอาจสนใจ รู้จักกับ Topson เด็กหนุ่มมหัศจรรย์แห่งโลก Dota 2 PUGNA ตัวร้ายกับไอเทมบิ้วแสน UNIQUE ของ TOPSON IO ฮีโร่ที่ควรจะเป็นได้แค่ Support แต่ดูเหมือนว่าวันนี้มันจะไม่ใช้แบบนั้นอีกแล้ว OG’s Mind Games – เจาะเส้นทางแชมป์จากสงครามจิตวิทยาของ OG
17 Aug 2020
(สัมภาษณ์) 7 คำถามกับ Topson เทพมิดเลน
ในงาน PvP Esports ที่ผ่านมา GameFever ได้มีโอกาสเข้าร่วมอีเวนต์การแข่งขันเกมแบบคอมมูนิตี้ และได้ส่ง Chmura นักเขียนสาววัยใสไปกระทบไหล่กับโปรเพลเยอร์ชื่อดังอย่าง Topias Miikka "Topson" Taavitsainen ผู้เล่นตำแหน่งมิดเลนจากทีม OG ที่แฟนๆ ก็ต่างยกย่อง ให้ฉายาว่าเป็นท่านเทพ "Godson" จากลีลาการเล่นที่กล้าได้กล้าเสียและดุเดือด นอกเหนือจากที่ระหว่างเข้าร่วมงานจะได้ตื่นตาตื่นใจกับการแข่งขันอันดุเดือดที่มีทีมไทยอย่าง Teletubbies เข้าแข่งแล้ว ตามประสาแฟนเกม DOTA 2 ที่ติดตามการแข่งขัน TI9 มาอย่างใกล้ชิด แถมยังเป็นแฟนเกิร์ลของทีม OG ที่มีความติ่งอย่างเต็มตัว พอได้รู้ว่า Topson จะมี Fanmeet ก็เลยอดไปต่อแถวด้วยไม่ได้ [caption id="attachment_36684" align="alignnone" width="1024"] Topson และสีหน้าของแฟนที่เพิ่งได้ลายเซ็นต์มา[/caption] ต่อแถวไปต่อแถวมาก็เหลือคนข้างหน้าอีกแค่ 2 คน ก่อนจะเป็นคิวของเราขึ้นไปขอลายเซ็น และถ่ายรูปด้วย แต่ปรากฎว่าเพื่อนที่มางานด้วยกันก็บอกว่าต้องรีบไปแล้ว ทำให้เราต้องรีบออกจากแถวไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งแฟนๆ คนอื่นที่อยู่ในแถวก็มองตาม พร้อมถามผ่านทางสายตาว่า "เอ็งบ้ารึเปล่าาา" ทว่าฟ้าก็มีตา ส่งให้สาวน้อยที่คิดว่าแต้มบุญหมด กลับมีความหวังขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อได้มีโอกาสสัมภาษณ์ท่านเทพ Topson แบบ 1 ต่อ 1 (เอาจริงๆ อยากเรียกว่าสองต่อสองมากกว่าแต่เกรงใจ) ซึ่งต้องแบ่งคิวกับสื่อเจ้าอื่นๆ เป็นตัวแทนของสื่อไทยแค่เจ้าเดียวที่ได้คุยกับ Topson จนนำมาสู่...   7 คำถามกับ Topson เทพมิดเลน Q: รู้สึกยังไงบ้างกับการได้มางาน PvP Esports ได้เจอแฟนๆ ใน SEA คุณมีแฟนคลับเยอะมากในภูมิภาคนี้ A: ดีมากครับที่ได้มาที่นี่ แฟนๆ ก็น่ารัก มีแฟนเยอะมากจริงๆ ดีเลยครับ Q: ถ้าให้เทียบความรู้สึกระหว่างครั้งแรกที่ถูกสัมภาษณ์ กับการสัมภาษณ์ในช่วงหลังมานี้ ความรู้สึกของคุณเปลี่ยนไปบ้างมั้ย A: ช่วงที่ถูกสัมภาษณ์ครั้งแรกๆ ผมไม่ค่อยรู้ว่าจะพูดอะไรดี แต่ตอนนี้ก็รู้สึกมั่นใจมากขึ้น ใช่ครับ (ยิ้ม) แล้วผมก็สนุกที่ได้ถูกสัมภาษณ์ด้วย Q: ตอนที่เข้ามาแข่งใหม่ๆ ในช่วง TI8 คุณโดนคอมเมนต์ในด้านลบค่อนข้างเยอะมาก พอมาตอนนี้แฟนๆ ต่างก็ยกย่องคุณว่าคุณเป็น Godson เทพมิดเลน มันรู้สึกเปลี่ยนไปยังไงบ้าง แล้วปัจจุบันคุณดีลกับความคิดเห็นในด้านลบที่มีต่อตัวคุณยังไงบ้าง A: เวลาคุณเล่น DOTA ก็จะมีคนเข้ามาด่าหรือว่าคุณ มันเป็นเรื่องปกติ สิ่งที่คุณทำได้ก็มีไม่กี่อย่าง คือ คุณเลือกที่จะไม่ใส่ใจ ช่างมัน หรือว่าใช้มันเป็นพลัง แล้วโชว์ให้คนพวกนี้เห็นว่าคุณเก่งกว่าที่เขาคิด ทำให้ความคิดเห็นด้านลบเป็นพลัง ตอนนี้ก็มีแฟนคลับชื่นชอบกับการเล่นของผม ผมก็ใช้มันเป็นพลังเหมือนกัน Q: แล้วมันทำให้คุณคิดมากบ้างมั้ย A: เมื่อก่อนก็มีบ้างครับ แต่ว่าตอนนี้ไม่ค่อยแล้ว Q: ส่วนใหญ่เท่าที่เห็นในวงการแข่งขันอีสปอร์ตภูมิภาคเล็กๆ แบบ SEA นักกีฬายังไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนทางด้านความแข็งแกร่งทางจิตใจมากเท่ากับภูมิภาค NA หรือ EU จากประสบการณ์ของตัวคุณเองแล้ว การมีนักจิตวิทยาคอยให้คำปรึกษาในทีมมันจำเป็นมากน้อยขนาดไหน A: เอาจริงๆ มันเป็นเรื่องที่ดีนะครับ พวกเขาเป็นคนที่คอยอยู่วงนอก ช่วยให้คุณมองเห็นภาพและมุมมองใหม่ๆ มากขึ้น แล้วคุณก็สามารถแชร์ความเครียด ความรู้สึกกับพวกเขาได้ด้วย มันทำให้ผู้เล่นมีความเครียดน้อยลง เป็นสิ่งที่ดีครับถ้าทีมมี อาจจะขาดได้นะ แต่พวกเขาช่วยได้มากจริงๆ  Q: คุณมีพี่ทั้งหมด 7 คน แล้วก็น้องอีก 4 คน โตมากับบ้านที่เต็มไปด้วยเด็กๆ มันรู้สึกยังไงบ้าง A: ในบ้านก็จะมีพวกพี่ชายที่เราต้องให้ความเคารพ พวกเขาเป็นคนคุมบ้านครับ คุณก็ต้องฟังสิ่งที่เขาพูด บ้านผมค่อนข้างเข้มงวด นั่นแหละครับ  Q: แฟนๆ เรียกแพทช์ใหม่ว่าเป็น DOTA 3 คุณเห็นด้วยมั้ย  A: เห็นด้วยครับ ผมชอบมากเลย เกมเปลี่ยนไปเยอะมาก ผมชอบมากจริงๆ  Q: ฝากอะไรถึงแฟนๆ ชาวไทยหน่อย A: สวัสดีครับ ขอบคุณแฟนๆ OG ชาวไทยทุกคนครับที่ช่วยเชียร์พวกเรา มันมีความหมายกับพวกเรามาก แม้ว่าจะสัมภาษณ์ได้อย่างไม่จุใจเท่าไหร่เพราะมีเวลาสั้นๆ เพียงแค่ 3 นาทีเท่านั้น แต่ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก ตลอดการสนทนาเพราะว่าเราไม่ได้ละสายตาไปจาก Topson เลยแม้แต่วิเดียว สำหรับใครที่เป็นแฟนก็อย่าลืมติดตามทีม OG ด้วยเพราะว่าทางทีมประกาศออกมาแล้วว่าจะเข้าร่วมการแข่งขันในเมเจอร์ที่ 3 ของซีซั่น 2019-2020 มาดูกันว่างานนี้ฟอร์มของสุดยอดแชมป์สองสมัยติดจะรุ่งริ่งหรือว่ารุ่งโรจน์
16 Dec 2019
(DOTA2) ไม่รุ่งก็ร่วง! 5 โค้ชเทพที่หวนกลับมาแข่งอีกครั้ง
ในวงการ DOTA2 ไม่ใช่แค่ผู้เล่นเท่านั้นที่มีความสำคัญกับความสำเร็จของทีม แต่ “โค้ช” ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ทีมไปถึงฝั่งฝัน GameFever เลยจะพาไปดู 5 โค้ชที่นอกจากจะทำหน้าที่ไกด์สมาชิกทีมแล้ว ยังหวนคืนสู่สังเวียน กลับมาช่วยทีมในยามจำเป็นอีกด้วย! ส่วนช่วยแล้วจะรุ่งหรือจะร่วงนั้นติดตามกันได้เลย! ถ้าพูดถึงเรื่องที่โค้ชลงมาเสียบแทน และเล่นในตำแหน่งผู้เล่นจนประสบความสำเร็จแล้วก็คงจะไม่มีใครไม่นึกถึง Ceb หรือชื่อเก่าในวงการคือ “7ckngMad” จากทีม OG แชมป์ TI8 ที่เกิดดราม่า สมาชิกหลักของทีมออกกระทันหันทำให้ผู้เล่นไม่พอ ซึ่งแม้ตอนแรกจะดูเหมือนเป็นการย้ายลงมาเล่นแก้ขัดไปก่อนเพราะว่าน่าจะเป็นคนที่เข้ากับทีมได้ดีที่สุด แต่ว่าการที่พวกเขาฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ จนสามารถครอบครอง Aegis ในการแข่งขัน TI8 ไปได้ก็เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า Ceb เองก็สามารถเป็นผู้เล่นที่ดีไม่แพ้ใคร นอกเหนือจากเรื่องฝีมือในการเล่นตำแหน่ง Pos 3 (ออฟเลน) แล้ว Ceb ก็ยังพกพาเอาสกิลโค้ชมาใช้กับเพื่อนร่วมทีมด้วย โดยสกิลที่ว่าก็คือสกิล การให้กำลังใจ และพูดเชียร์เพื่อนๆ อยู่เสมอ เรียกได้ว่าเขาแทบจะเป็นกำลังใจหลักของทีมในเวลาที่การแข่งขันตรึงเครียดเลยก็ว่าได้  ใน TI9 รอบ Group Stage ที่เพิ่งผ่านมา Ceb ก็ยังทำผลงานได้ดี รวมถึงฟอร์มการเล่นของ OG ก็กลับมาดุเดือดเลือดพล่านมากขึ้น เก็บชัยชนะจากทีมอื่นๆ ไปได้เยอะมากจนทำให้เป็นอันดับหนึ่งของกลุ่ม ขึ้นไปเล่นในสายบนแบบหล่อๆ  สุดท้ายนี้ก็อยากบอกว่า Ceeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeb!   Fnatic เป็นทีมขวัญใจของชาวไทย ที่มี Jabz ผู้เล่นมากฝีมือและเป็นชาวไทยในวงการ DOTA 2 หนึ่งเดียวที่ได้ไปโลดแล่นโชว์ฝีมืออยู่ในการแข่งขันระดับโลกในช่วง 5 ปีให้หลัง  แม้ว่าจะเปิดตัวมาได้ค่อนข้างดีกับการแข่งขันเก็บแต้ม DPC ในซีซัน 2018-2019 และสามารถคว้าอันดับที่ 3 ของการแข่ง DreamLeague Season 11 ไปได้ แต่ว่าในช่วงการแข่งโค้งสุดท้ายก่อน TI9 ผลงานของทีมกลับดรอปลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ทีมต้องเร่งแก้แผน เปลี่ยนไลน์อัพใหม่แบบสายฟ้าแลบ ผู้ที่มาทำหน้าที่เป็น Pos 5 (ซัพทาส) แทน Jabz ที่ย้ายไปเป็น Carry ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ DuBu โค้ชที่ติวเข้ม Fnatic มาเป็นเวลาเกือบปี นอกจากนี้ยังเป็นอดีตสมาชิกทีม MVP Phoenix ที่ได้อันดับ 5-6 ร่วมใน TI 6 อีกด้วย โดยตำแหน่งที่เขาเล่นตอนนั้นก็คือซัพ 5 พ่วงด้วยกับหน้าที่กัปตันเหมือนตอนนี้ไม่มีผิด อะฮึ่มมม แต่ถ้าให้ดูจากผลงานของ Fnatic ในรอบ Group Stage แล้วก็ถือว่าไม่ค่อยรุ่งเท่าไหร่ เพราะว่าเก็บชัยชนะไปได้เพียง 3 เกม และแพ้ไปถึง 4 เกมจนทำให้ไปอยู่ในสายล่าง ต้องรอลุ้นดูฟอร์มในรอบ Main Stage ว่าการที่ DuBu หวนกลับมาลงแข่งในครั้งนี้จะทำให้ Fnatic ไปถึงฝั่งฝันหรือไม่ แล้ว DuBu เองจะยังมีของอยู่หรือเปล่า   Team Liquid แชมป์ TI7 ก็เคยมีเหตุการณ์ที่ต้องให้โค้ชมาลง Stand-in เหมือนกัน โดย Heen โค้ชชาวเกาหลีใต้ที่คอยให้คำแนะนำกับม้าน้ำมาตั้งแต่ปี 2016 ต้องมาเล่นเป็นซัพพอร์ตในรายการ DreamLeague Season 9 แทน Miracle- ที่ไม่อยู่  ในคราวนั้นสลับเอากัปตันในตำนานอย่าง KuroKy ไปเล่นในตำแหน่ง Carry แทน ซึ่งฮีโร่ที่ Heen เลือกมาใช้แข่งบ่อยๆ ก็คือ Ancient Apparition (AA) โดยพอจบการแข่ง Team Liquid สามารถคว้าอันดับสามไปได้  ที่สำคัญคือ Heen ยังได้ตำแหน่ง MVP ของทัวร์นาเมนต์ไปครอง แต่!!! ไม่ได้เป็นเพราะว่าเขามีผลงานการเล่นที่น่าประทับใจ กลับกันคือสาเหตุของการที่ได้ตำแหน่งผู้เล่นยอดเยี่ยม (กระเทียมดอง) นี้ เป็นเพราะโดนแฟนๆ ในช่อง Twitch โหวตแบบประชด จนกลายเป็น Meme และติด #Heen กันอยู่พักหนึ่งเลยทีเดียว  แม้ Heen อาจจะไม่ได้เป็นผู้เล่นที่มีผลงานดีหรือมีสกิลเพลย์ขั้นสูง แต่สิ่งหนึ่งที่เขาทำได้ดีไม่แพ้ใครคือหน้าที่โค้ช ที่ทำให้ Team Liquid ได้แชมป์ TI7 ไปได้ ที่สำคัญคือพอย้ายมาคุม TNC Predator ใน TI9 ครั้งนี้แล้ว ก็ทำให้ TNC มีผลงานที่ดี อยู่ในสายบนของการแข่งขันอีกด้วย   EG ทีมราชันย์อันดับสาม ที่ไม่ว่าจะไปแข่งอะไรก็มักจะได้อันดับสามอยู่เสมอก็มีช่วงเวลาที่ให้โค้ชอย่าง BuLba มาเสียบแทบเป็น Stand-in เหมือนกัน โดยตอนนั้นต้องลงมาเล่นแทน Fly ซึ่งเป็นกัปตันทีม โดยโค้ชก็ไม่ทำให้ลูกทีมผิดหวัง (??) เพราะว่าในการแข่งขัน Adrenaline Cyber League โค้ชที่ติวเข้มให้ทีมมาตลอดตั้งแต่ปี 2017 ก็พาทีมร่วง ตกรอบไปตั้งแต่นัดแรก โดยแพ้ทีม Spirit ไป 2-0 เกม ทำให้ทีมจบอันดับที่ 3-4 ของรายการ สมกับฉายาที่แฟนๆ ขนานนามให้ว่าเป็น “MMR Assassin” (นักฆ่าดับฝันทีมตัวเอง) พอฟังแบบนี้แล้วอาจจะทำให้ภาพลักษณ์ของ BuLba ติดลบไปซักหน่อย แต่อย่างไรเขาก็เป็นถึงโค้ชผู้ปูทาง และอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ EG ที่ถึงแม้จะแทบไม่ได้อันดับที่ 1 หรือ 2 ในการแข่งขันอะไรเลย แต่ว่าก็ทำให้ EG เป็นอีกหนึ่งทีมที่น่ากลัว ฟอร์มการเล่นดี และเป็นหนึ่งในทีมที่ดีที่สุดของโลก  โดยก่อนที่จะผันตัวมาเป็นโค้ช BuLba เองก็เคยเป็นผู้เล่นในทีมดังๆ มาแล้วหลายทีม ตั้งแต่ Team Liquid, Team Secret และ Evil Geniuses ด้วย   ในการแข่งขันโปรซีนของ Team Secret โค้ชยอดฝีมือที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของทีมมาตั้งแต่ปี 2017 อย่าง SunBhie แทบไม่ได้ลงแข่งขันแทนเลย แต่ว่าโค้ชชาวเกาหลีใต้คนนี้ดันไปหน้าตาเหมือนผู้เล่นสุดโหด Midlane ของทีมอย่าง MidOne จนได้ฉายาว่า MidTwo  ช็อตที่บังเกิดเป็นความฮาคือตอนนี่ Team Secret ได้แชมป์ในงาน MDL Disneyland Paris Major และกำลังขึ้นสัมภาษณ์กับพิธีกรสายฮาขาประจำการแข่ง DOTA2 อย่าง SirActionSlacks ซึ่ง Slacks ก็เริ่มพูดว่า “ยินดีด้วยครับ! เราจะเริ่มสัมภาษณ์จากคุณก่อนเลย มิสเตอร์ MidOne” โดยที่หารู้ไม่ว่าตัวเองได้เดินเข้าไปหา SunBhie โค้ชชาวเกาหลีใต้!  พอถูกคิดว่าตัวเองเป็นผู้เล่นในทีม โค้ชก็ออกอาการเหวอ ไม่รู้ว่า Slacks เล่นมุกหรือสับสนจริงๆ ได้แต่เดินหลบฉากถอยไปข้างหลัง ส่วน YapzOr ผู้เล่นที่ยืนข้างๆ โค้ชก็ต้องออกมาชี้แจง ทำมือทำไม้ แล้วชี้ไปเหมือนจะบอกว่า “โน้นนนน MidOne ยืนอยู่ตรงน้านนน” ใครอยากดูว่าสองคนนี้หน้าตาเหมือนกันขนาดไหน แล้วเหตุการณ์จริงเป็นยังไง ดูได้จากลิงก์นี้เลย >>> https://clips.twitch.tv/EnticingCrackyRadicchioFloof  
20 Aug 2019
Valve เผย ยอดชั่วโมงการชม TI 8 สูงที่สุดในประวัติศาสตร์การแข่งขัน TI!
ผู้พัฒนาและจัดจำหน่ายเกม Valve เปิดเผยว่าแม้ TI 8 ทัวร์นาเม้นต์แข่งขัน DOTA 2 ปีล่าสุด จะมียอดชั่วโมงการรับชมพุ่งสูงกว่า TI ครั้งไหนๆ ทว่าการรับชมสูงสุด (วัดจากจำนวนผู้รับชมสูงสุดในหนึ่งวินาที) ลดลงจาก TI 7 ที่จัดขึ้นในปีก่อน ตลอดที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 15 - 25 สิงหาคม ที่ TI 8 ได้ถูกจัดขึ้น ยอดการรับชมผ่าน Twitch พุ่งสูงถึง 41.7 ล้านชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากทัวร์นาเม้นต์ปีก่อนถึง 12.6% ซึ่งยอดรับชมส่วนมากมาจากช่องภาษาอังกฤษ ทั้งนี้นี่ยังเป็นตัวเลขที่วัดจากช่องทาง Twitch เท่านั้น ยังไม่รวมถึงการชมผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น ช่อง Twitch ของแคสเตอร์ DOTA 2 โดย Concurrent Viewers หรือจำนวนการรับชมสูงสุดในหนึ่งวินาทีของ TI8 ปีนี้มียอดอยู่ที่ 630,000 คน ลดลงจากปีก่อนหน้าถึง 8% อาจเป็นไปได้ว่าเป็นผลมาจากการที่ Valve เผยแพร่การแข่งขัน TI 8 ผ่าน Steam.tv ซึ่งเป็นช่องทางใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้เป็นปีแรก ทั้งนี้แม้การแข่งขัน TI 8 จะจบลงไปแล้ว ทว่าทาง Valve ประกาศทิ้งท้ายเอาไว้ด้วยว่า TI 9 ปีหน้าจะจัดขึ้นที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ถือเป็นโอกาสดีสำหรับแฟนเกม DOTA 2 ชาวไทยรวมถึงภูมิภาคเอเชีย ที่จะได้ร่วมสัมผัสประสบการณ์การแข่งขัน ESPORTS ระดับโลก
29 Aug 2018
GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
ผลการค้นหา : "ti9"
OGs Mind Games - เจาะเส้นทางแชมป์จากสงครามจิตวิทยาของ OG
เป็นเวลากว่า 8 ปีในประวัติศาสตร์การแข่งขัน The International ทัวร์นาเมนต์ความฝันของโปรเพลเยอร์ DOTA 2 ทุกคนที่ไม่เคยมีทีมไหนหรือผู้เล่นคนไหนสามารถได้แชมป์ซ้ำกัน 2 ครั้ง ทำให้หลายๆ คนต่างก็พูดว่า DOTA is that hard หรือ DOTA เป็นเกมที่ยากจนไม่มีใครจะเก่งได้ที่สุดเสมอไป  และในการแข่งขัน TI9 ครั้งนี้ OG ก็กลายเป็นผู้พิสูจน์ ลบล้างทุกคำสาปที่เคยมีมาด้วยการครองแชมป์ 2 สมัยติดๆ กันโดยไม่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น แล้วอะไรล่ะที่ทำให้ทีม OG มาถึงจุดนี้ได้ คำตอบนั้นก็คือ Mind Game การทำสงความจิตวิทยาของคู่ต่อสู้ หรือการเล่น Mind Game เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับวงการ DOTA มาอย่างยาวนาน มันเป็นการเล่นกับอารมณ์ของคู่แข่งด้วยการปั่น หลอกล่อทำให้อีกฝั่งหัวร้อน หรือแม้กระทั่งสูญเสียความมั่นใจ นอกจากนี้ก็ยังช่วยเพิ่มความสนุกสนานและเพิ่มความมั่นใจให้แก่ทีมตัวเองด้วย ซึ่งในการแข่งขัน TI9 ครั้งนี้ OG ก็ได้แสดงให้เราเห็นว่าการใช้จิตวิทยาในการแข่งขันมันสำคัญขนาดไหน    You know what’s cooking? BOOM! การเล่น Mind Game หรือการเปิดสงครามประสาทของ OG เริ่มตั้งแต่การดราฟท์ตัวแบบงงๆ ของ Ana ที่จับ IO มาเป็นแคร์รี่ จนสร้างความแปลกใจให้กับนักพากย์ ผู้ชม คู่แข่ง และแม้กระทั่งทีมของตัวเอง จนหลายๆ คนอาจจะอุทานออกมาว่า “WTF” IO แทบไม่เคยถูกใช้ในฐานะฮีโร่ที่แบกเกมในการแข่งขันใหญ่ๆ มาก่อน ส่วนใหญ่มักจะถูกหยิบมาเล่นในตำแหน่งซัพพอร์ตมากกว่าเนื่องจากมีความสามารถในการเพิ่มเลือด มานา และความเร็ว แถมยังมี Relocate อัลติเมตที่ใช้ในการแก็งค์ สามารถช่วยเหลือตัว Core ของเกมในยามคับขันได้ดี [caption id="attachment_27231" align="alignnone" width="1024"] เกมแรกที่ Ana จับ IO มาเป็น Carry[/caption] ด้วยการชุบเลี้ยงจากเพื่อนร่วมทีม บวกกับฝีมือการฟาร์ม หยิบฮีโร่มาปั้นจนได้ดิบได้ดีของ Ana ทำให้เกมได้เปรียบ นอกจากนี้ IO เป็นฮีโร่ที่สามารถทำให้คู่แข่งประมาท เพราะไม่ได้มองว่าจะเป็นฮีโร่ที่สามารถเกิดแล้วบี้ไล่ฆ่าทีมตัวเองได้ในภายหลัง จึงไม่ได้ให้ค่ากับฮีโร่สายซัพตัวนี้เท่ากับตอนที่ Ana จับฮีโร่ฮาร์ดแคร์รี่แบบ Spectre หรือ Faceless Void  ข้อพิสูจน์ก็คือหลังจากที่ OG สามารถเก็บชัยชนะจาก NiP เกมแรกได้แล้ว จะเห็นว่าอีกฝั่งก็ยังไม่เลือกแบน IO เพราะไม่ได้คิดว่าจะส่งผลกับเกมขนาดนั้น และยังคิดว่ายังไงก็เอาอยู่ สามารถแก้ทางได้ อยากแบนฮีโร่อื่นมากกว่า เช่นเดียวกันกับอีกหลายๆ ทีมที่พ่ายให้กับ OG ในรอบ Group Stage อย่าง VP, Fnatic และ Newbee ซึ่งจากสถิติที่ Ana จับ IO แล้วชนะ 6-0 ก็แสดงให้เห็นว่า Mind Game นี้ใช้ได้ผล โดยครั้งสุดท้ายที่หยิบมาเล่นคือแมทช์ที่คว้าชัยชนะจาก Team Liquid และสร้างสถิติแชมป์ 2 สมัย [caption id="attachment_27140" align="alignnone" width="1024"] หน้าของ Ana เมื่อได้จับ IO หลัง Team Liquid ตัดสินใจไม่แบน[/caption]   Ceeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeb! Chat Wheel หรือวงล้อสนทนา เป็นฟังก์ชันที่อยู่ในเกม DOTA 2 มานานแล้ว โดยเหมือนเป็นคำพูดสำเร็จรูปที่เอาไว้ใช้สื่อสารกับเพื่อนร่วมทีม ในนั้นก็จะมีคำเบสิคต่างๆ อย่างเช่น “ช่วยด้วย” “เลนส์บนหาย!” หรือ “ต้องการ Ward” เป็นต้น หลังจากที่ Chat Wheel ได้เริ่มเพิ่มลูกเล่น เลือกกดเป็นเสียงพูดออกมาได้ แถมยังมีบางอันที่เป็นสถานะ [All] คือคู่ต่อสู้ก็ได้ยินด้วย ทำให้เริ่มมีเหล่าโปรเพลเยอร์ใช้วงล้อสนทนานี้กันมากขึ้น  OG ใช้ Chat Wheel นี้ในการแซวทีมฝั่งตรงข้าม โดยสแปมกันแทบจะตลอดทั้งเกม ไม่ว่าจะเป็นจังหวะบวก จังหวะที่ฆ่าฮีโร่ หรือจังหวะที่ตัวเองหนีรอดมาได้ ซึ่งถ้าถามว่ามันยั่วยุปลุกปั่นอารมณ์ฝั่งตรงข้ามขนาดไหน ก็บอกได้เลยว่ามันส่งผลต่ออารมณ์มากจนขนาดที่หลายๆ ทีมเลือกที่จะ Mute หรือปิดไมค์ ซึ่งจะทำให้ไม่เห็นข้อความทั้งหมดที่อีกฝั่งพิมพ์มา รวมทั้ง Chat Wheel ด้วย คำถามต่อมาคือ ถ้าศัตรูของคุณ Mute คุณแล้วคุณจะทำอย่างไร? วิธีที่ OG ใช้เพื่อเล่น Mind Game ของตัวเองต่อไปก็คือ การทิป  การทิป เป็นการให้หน่วยเงิน หรือแต้มในเกมเพื่อชมเชยผู้เล่นที่ทำได้ดี เช่น ถ้าเพื่อนสามารถปล่อยอัลติเมตเก็บคิลศัตรูหรือสร้างจังหวะการเล่นให้แก่ทีมได้ คนในทีมก็จะใช้วิธีการทิปเพื่อเอ่ยชมแบบ “ทำดีมากพ่อหนุ่ม” ซึ่งก็สามารถให้ทิปศัตรูได้เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่มักเป็นการทิปเพื่อชมเชยว่า “ขอบคุณนะที่เล่นพลาด” มากกว่าเพื่อชมจริงๆ  [caption id="attachment_27216" align="alignnone" width="1024"] รวมการทิปทั้งหมดจาก OG ในการแข่งขัน Grand Final ที่เจอกับ Team Liquid[/caption] เพื่อเป็นการปั่นให้สุด สเตปต่อมาที่ OG ทำนอกเหนือจากการทิปแล้วก็คือการปักธงและพ่นสเปรย์ข่มขวัญ การพ่นสเปรย์และปักธง (Banner) เป็นฟังก์ชันที่มาพร้อมกับ Battle Pass วิธีการใช้งานก็ไม่มีอะไรยาก แค่กดไอคอนแล้วปักธง หรือพ่นสเปรย์ใน Chat Wheel ลงไปที่พื้น เท่านี้มันก็จะไปเด่นหราต่อหน้าศัตรู  [caption id="attachment_27218" align="alignnone" width="1024"] สเปรย์ของ OG ในป่าของ Team Liquid[/caption] สิ่งที่โดดเด่นยิ่งกว่าการพ่นสเปรย์ Loser ในจังหวะที่ศัตรูตาย หรือพ่นในป่าฝั่งศัตรูเพื่อสลักชื่อบนพื้นว่า “OG มาเยือน” ก็เห็นจะเป็นกลยุทธ์การปักธงของ OG ที่ขยันปั่น เปลี่ยนรูปให้เข้ากับบริบทของแต่ละทีมอยู่เสมอ  อย่างแมทช์ที่เจอกับทีม Newbee ธงที่เราเห็นตลอดทั้งเกมคือธงที่มีรูป Goofy โดย JerAx ผู้เล่นซัพ 4 ให้สัมภาษณ์หลังเกมกับ Kaci ว่า ที่มาของรูป Goofy นี้ก็เป็นเพราะกัปตันทีมของ Newbee บอกลูกทีมเอาไว้ว่า “Dont get into their goofiness and they will beat us.” ทาง OG เลยใช้ตัวละครจาก Disney อย่าง Goofy ที่มีคาแรคเตอร์เซ่อซ่ามาเป็นรูปธง [caption id="attachment_27144" align="alignnone" width="873"] เครดิตรูป: Sheever take my energy[/caption] แมทช์ที่เจอกับ EG ทีมอดีตเพื่อนรัก ภาพเด็ดๆ ที่ OG เลือกใช้เพราะคิดว่าน่าจะกระทบกระเทือนกับจิตใจอีกฝั่งก็หนีไม่พ้น พ่อใหญ่ N0tail กับรูปซาสึเกะ ที่ทั้ง Fly และ N0tail โดนชาวเน็ตจับไปทำมีมเป็น เนื่องจากทั้งสองคนเหมาะจะเป็น นารูโตะ และ ซาสึเกะ แห่งวงการ DOTA โดนเพื่อนรักทิ้งไว้กลางทางเพื่อไล่ตามความฝันของตัวเองไป  [caption id="attachment_27172" align="alignnone" width="1024"] ธงที่ OG ปักในแมทช์ที่แข่งกับ EG[/caption] เอาเข้าจริงแล้วมันดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อยมาก การสแปม Chat Wheel พ่นสเปรย์ดักหน้า ปักธงใส่ หรือให้ทิปเวลาตายมันจะส่งผลกับเกมได้ขนาดไหนกันเชียว ตอบได้คำเดียวเลยว่า “มาก” มันไม่ต่างอะไรจากการที่คุณโดนศัตรูฆ่าตายซ้ำๆ แล้วศัตรูก็พิมพ์กลับมาสั้นๆ ว่า “ez” “มันเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว แน่นอนว่ามันช่วยในเรื่องของจิตใจพวกเราเยอะมาก ส่วนใหญ่ก็ทำเพราะว่าความสนุก เวลาเราเล่นมันมีพลังความฮึกเหิมไหลผ่านตัวเราอยู่ตลอด เรารักษาความฮึกเหิมนั้นไว้ด้วยการใช้ Chat Wheel แล้วเราก็รู้ด้วยว่าพอเล่นกับฝั่งศัตรูแล้วมันก็เวิร์ค  ผมหมายถึงในการเล่น DOTA ระดับนี้ ผมสามารถเดาได้ว่าพวกเขารู้สึกยังไง คิดอะไรอยู่ มันเห็นได้จากการเล่นของพวกเขา แน่นอนว่าพวกเขาก็เดาเราได้เหมือนกัน มันไม่ใช่แค่เล่นเกมกันเฉยๆ มันมีเรื่องของอารมณ์เข้ามาเกี่ยวด้วย ซึ่งอารมณ์พวกนี้มันก็ส่งผลกับเกม แล้วเราก็เห็นได้เลยว่าเมื่อไหร่ที่พวกเขาเริ่ม ถูกชักจูง มันเป็นสิ่งที่เราใช้ในการแข่งกับพวกเขา” Ceb ตอบพิธีกรเมื่อโดนถามว่าทำไปเพราะเอาสนุกหรือว่าสงครามประสาทนี่มันเป็นกลยุทธ์การแข่งจริงๆ    The Next Level Play! อะไรที่อยู่ในเกมแล้วทำได้ก็ทำไปหมดแล้ว ถึงเวลาของจิตวิทยานอกเกม ถ้าถามว่าฉากเปิดตัวผู้เล่นคนไหนที่น่าจดจำ ภาพพ่อใหญ่ N0tail ที่เดินถือกระดาษปึ๊งใหญ่เดินเข้าสนามมาพร้อมรอยยิ้มในรอบที่แข่งกับ PSG.LGD ก็น่าจะเป็นคำตอบที่ชัดเจน เพราะพี่แกเปิดตัวได้แกรนด์มากจริงๆ หากใครได้ดูสารคดี True Sight ของ TI8 ปีที่แล้วน่าจะยังจำกันได้ว่าในการแข่งรอบแกรนด์ไฟนอล พอ Chalice ผู้เล่นของทีมจีนเห็น Ceb เดินถือกระดาษไปมาในพิทแข่ง ก็เรียกให้เพื่อนดู พร้อมบอกว่า “เช่าหนี่***” กระดาษปึกใหญ่ของทีม OG ปึกนี้ นอกจากจะสร้างมีมเด็ดให้แก่คอมมูนิตี้ DOTA และกวนทีนผู้เล่นฝั่งตรงข้ามแล้ว มันยังเป็นเครื่องมือที่ OG เอาไว้รับมือกับเสียงเชียร์ของกองเชียร์ชาวจีนที่กำลังตะโกนเชียร์ทีมคู่แข่งดังก้องไปทั้งสนาม ด้วยการทำให้ตัวเองรู้สึกสนุกและรู้สึกผ่อนคลายกับการแข่ง “มันยากนะ บางทีมันก็ยาก ผมยังจำทัวร์นาเมนต์แรกที่มาแข่งที่จีนได้ โห ผมเสียความมั่นใจเลย เพราะว่าพวกเขาส่งเสียงเชียร์ทีมฝั่งตรงข้าม บางทีก็โห่ผม บางครั้งมันก็ทำให้คุณหลงทางได้เหมือนกัน ไม่ทุกครั้งหรอก แต่ก็ต้องมีบ้างแหละ” Ceb ให้สัมภาษณ์กับ Kaci ก่อนที่จะแข่งกับ PSG.LGD พอแข่งชนะ PSG.LGD แล้ว Ceb ก็ยังทำท่าแซวกองเชียร์กลับด้วย โดยยกมือขึ้นมา แล้วเอี้ยหูฟังในทำนองว่า “เสียงเชียร์ของพวกนายหายไปไหนแล้วล่ะ โดน Silence หรอ?” Absolutely Perfect! เห็นชอบเปิดวอร์ เล่นสงครามประสาทแบบนี้ ทว่า OG ก็ไม่ใช่ทีมเดียวที่เล่น Mind Game แถมยังมีจังหวะที่โดนคู่แข่งสแปมสเปรย์ใส่เหมือนกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ทีมแชมป์ยังยืนหยัดอยู่ได้คือการตระหนักถึงความสำคัญของ Mental Strength หรือ ความแข็งแกร่งทางจิตใจ  อย่างที่รู้กันว่าหลังจากจบ TI8 ไปแล้วผลงานของ OG ในการเก็บแต้มครั้งใหม่สู่ TI9 ก็ไม่ราบรื่น แทบไม่เคยได้ไปแตะขอบสนามการแข่งขันระดับ Major เลยซะด้วยซ้ำ ดังนั้นสภาพจิตใจของคนในทีมจึงค่อนข้างย่ำแย่เพราะว่าสูญเสียความมั่นใจในตัวเอง เอาเข้าจริงแล้วถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญมากเพราะ การตั้งคำถามกับความสามารถของตัวเองในยามที่ความมั่นใจถูกทำลายซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นเรื่องยากเกินที่จะรับมือ และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้เล่นหลายคนยอมตัดใจละทิ้งความฝันของตัวเองไป "มันเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากมากครับตอนนั้น เราไม่ค่อยมีแรงจูงใจในการแข่งเท่าไหร่ ผมจะไม่โกหกนะ มันยากมาก เราทำได้ไม่ดีเลยในการแข่งทัวร์นาเมนต์ต่างๆ" Topson ให้สัมภาษณ์กับ vpesports นอกจากนี้ N0tail ยังได้ให้สัมภาษณ์กับ Kaci หลังเกมที่แข่งกับ PSG.LGD ว่า "ก่อนแข่ง TI ครั้งนี้ ทุกอย่างมันค่อนข้างมืดมน หมาผมตาย มันเป็นช่วงเวลาที่แย่มาก ความมั่นใจของผมต่ำมากๆ ผมรู้สึกขอบคุณ Ceb มาก ทัวร์นาเมนต์นี้ผมยกความดีความชอบให้เขา" ในช่วงก่อน TI9 จะเริ่มขึ้น OG จึงได้จ้าง Mia Stellberg นักจิตวิทยาอีสปอร์ตที่มีผลงานโดดเด่นจากการช่วยทีมแข่ง CS:GO อย่าง Astralis ให้ไปถึงฝั่งฝัน โดยก่อนหน้านี้ Astralis เคยเป็นทีมต้องสาป ไม่สามารถเก็บชัยชนะจากการแข่งทัวร์นาเมนต์ได้ซักที ส่วนผู้เล่นเองก็เผชิญกับความกดดันอย่างหนัก Mia จึงช่วยฝึกความแข็งแกร่งทางร่างกายและจิตใจ ให้คำปรึกษาจนทำให้ Astralis สามารถเอาชนะทัวร์นาเมนต์ระดับ Major ครั้งแรกของทีมได้  ซึ่งก็ถือว่าได้ผล เพราะอย่างที่เราเห็นกัน OG มักก้าวเข้าสนามมาด้วยรอยยิ้มตั้งแต่วันแรกของ Main Stage จนถึงวันสุดท้ายที่เข้าเล่นในรอบ Grand Final ไม่ว่าจะถูกขึ้นนำไปก่อนกี่รอบ ก็มักจะ Comeback กลับมาได้ตลอด “ทุกคนต่างก็เล่นเกมเก่งกันทั้งนั้น แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมี Mindset ที่ดี คุณต้องเข้มแข็งถ้าคุณอยากจะเล่นให้ได้ดีที่สุด คุณต้องมีความแข็งแกร่งทางด้านจิตใจเหนือใครทั้งหมด” Ceb พูดในสารคดี Against the odd อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ OG กลายเป็นทีมที่แข็งแกร่งที่สุดทั้งในด้านของฝีมือการเล่นและสภาพจิตใจ ก็คือพวกเขาไม่เคยทอดทิ้งกัน เผชิญหน้ากับอุปสรรคด้วยกัน ผ่านความยากลำบากด้วยกัน เป็นกำลังใจให้กัน และชนะด้วยกัน N0tail กัปตันทีมเคยให้สัมภาษณ์ครั้งที่ยังเล่นให้กับทีม Cloud9 ในปี 2015 ว่า “DOTA เป็นเกมที่เล่นกันเป็นทีม มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณ มันขึ้นอยู่กับทุกคนรอบๆ คุณ” ซึ่งไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน หรือจะโดนใครทิ้งไประหว่างทาง กัปตันสุดแกร่งก็ยังคงเก็บความเชื่อนี้ไว้กับตัว และส่งต่อให้กับเพื่อนร่วมทีมที่ตอนนี้ได้กลายเป็นครอบครัวไปแล้ว “มีอยู่วันนึงผมตื่นขึ้นมาแล้วก็มีความคิดแล่นเข้ามาในหัวของผมว่า มันจะเป็นยังไงถ้าต้องเล่น DOTA กับทีมอื่น มันเป็นความคิดที่ทำให้รู้สึกเศร้ามากเพราะว่าผมไม่อยากเปลี่ยนอะไรเลย พวกเขาคอยระวังหลังให้ผมเสมอ ผมรู้สึกได้เลย ผมรักพวกเขา"  แหล่งอ้างอิงข้อมูล: - สัมภาษณ์หลังเกม N0tail - สัมภาษณ์หลังเกม JerAx - สัมภาษณ์ N0tail และ Ceb - สัมภาษณ์ทีม OG - สัมภาษณ์ Topson - สารคดี Against The Odd - OG จ้างนักจิตวิทยาอีสปอร์ต - Liquidpedia 1 | 2 | 3 บทความที่คุณอาจสนใจ รู้จักกับ Topson เด็กหนุ่มมหัศจรรย์แห่งโลก Dota 2 PUGNA ตัวร้ายกับไอเทมบิ้วแสน UNIQUE ของ TOPSON IO ฮีโร่ที่ควรจะเป็นได้แค่ Support แต่ดูเหมือนว่าวันนี้มันจะไม่ใช้แบบนั้นอีกแล้ว OG’s Mind Games – เจาะเส้นทางแชมป์จากสงครามจิตวิทยาของ OG
17 Aug 2020
(สัมภาษณ์) 7 คำถามกับ Topson เทพมิดเลน
ในงาน PvP Esports ที่ผ่านมา GameFever ได้มีโอกาสเข้าร่วมอีเวนต์การแข่งขันเกมแบบคอมมูนิตี้ และได้ส่ง Chmura นักเขียนสาววัยใสไปกระทบไหล่กับโปรเพลเยอร์ชื่อดังอย่าง Topias Miikka "Topson" Taavitsainen ผู้เล่นตำแหน่งมิดเลนจากทีม OG ที่แฟนๆ ก็ต่างยกย่อง ให้ฉายาว่าเป็นท่านเทพ "Godson" จากลีลาการเล่นที่กล้าได้กล้าเสียและดุเดือด นอกเหนือจากที่ระหว่างเข้าร่วมงานจะได้ตื่นตาตื่นใจกับการแข่งขันอันดุเดือดที่มีทีมไทยอย่าง Teletubbies เข้าแข่งแล้ว ตามประสาแฟนเกม DOTA 2 ที่ติดตามการแข่งขัน TI9 มาอย่างใกล้ชิด แถมยังเป็นแฟนเกิร์ลของทีม OG ที่มีความติ่งอย่างเต็มตัว พอได้รู้ว่า Topson จะมี Fanmeet ก็เลยอดไปต่อแถวด้วยไม่ได้ [caption id="attachment_36684" align="alignnone" width="1024"] Topson และสีหน้าของแฟนที่เพิ่งได้ลายเซ็นต์มา[/caption] ต่อแถวไปต่อแถวมาก็เหลือคนข้างหน้าอีกแค่ 2 คน ก่อนจะเป็นคิวของเราขึ้นไปขอลายเซ็น และถ่ายรูปด้วย แต่ปรากฎว่าเพื่อนที่มางานด้วยกันก็บอกว่าต้องรีบไปแล้ว ทำให้เราต้องรีบออกจากแถวไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งแฟนๆ คนอื่นที่อยู่ในแถวก็มองตาม พร้อมถามผ่านทางสายตาว่า "เอ็งบ้ารึเปล่าาา" ทว่าฟ้าก็มีตา ส่งให้สาวน้อยที่คิดว่าแต้มบุญหมด กลับมีความหวังขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อได้มีโอกาสสัมภาษณ์ท่านเทพ Topson แบบ 1 ต่อ 1 (เอาจริงๆ อยากเรียกว่าสองต่อสองมากกว่าแต่เกรงใจ) ซึ่งต้องแบ่งคิวกับสื่อเจ้าอื่นๆ เป็นตัวแทนของสื่อไทยแค่เจ้าเดียวที่ได้คุยกับ Topson จนนำมาสู่...   7 คำถามกับ Topson เทพมิดเลน Q: รู้สึกยังไงบ้างกับการได้มางาน PvP Esports ได้เจอแฟนๆ ใน SEA คุณมีแฟนคลับเยอะมากในภูมิภาคนี้ A: ดีมากครับที่ได้มาที่นี่ แฟนๆ ก็น่ารัก มีแฟนเยอะมากจริงๆ ดีเลยครับ Q: ถ้าให้เทียบความรู้สึกระหว่างครั้งแรกที่ถูกสัมภาษณ์ กับการสัมภาษณ์ในช่วงหลังมานี้ ความรู้สึกของคุณเปลี่ยนไปบ้างมั้ย A: ช่วงที่ถูกสัมภาษณ์ครั้งแรกๆ ผมไม่ค่อยรู้ว่าจะพูดอะไรดี แต่ตอนนี้ก็รู้สึกมั่นใจมากขึ้น ใช่ครับ (ยิ้ม) แล้วผมก็สนุกที่ได้ถูกสัมภาษณ์ด้วย Q: ตอนที่เข้ามาแข่งใหม่ๆ ในช่วง TI8 คุณโดนคอมเมนต์ในด้านลบค่อนข้างเยอะมาก พอมาตอนนี้แฟนๆ ต่างก็ยกย่องคุณว่าคุณเป็น Godson เทพมิดเลน มันรู้สึกเปลี่ยนไปยังไงบ้าง แล้วปัจจุบันคุณดีลกับความคิดเห็นในด้านลบที่มีต่อตัวคุณยังไงบ้าง A: เวลาคุณเล่น DOTA ก็จะมีคนเข้ามาด่าหรือว่าคุณ มันเป็นเรื่องปกติ สิ่งที่คุณทำได้ก็มีไม่กี่อย่าง คือ คุณเลือกที่จะไม่ใส่ใจ ช่างมัน หรือว่าใช้มันเป็นพลัง แล้วโชว์ให้คนพวกนี้เห็นว่าคุณเก่งกว่าที่เขาคิด ทำให้ความคิดเห็นด้านลบเป็นพลัง ตอนนี้ก็มีแฟนคลับชื่นชอบกับการเล่นของผม ผมก็ใช้มันเป็นพลังเหมือนกัน Q: แล้วมันทำให้คุณคิดมากบ้างมั้ย A: เมื่อก่อนก็มีบ้างครับ แต่ว่าตอนนี้ไม่ค่อยแล้ว Q: ส่วนใหญ่เท่าที่เห็นในวงการแข่งขันอีสปอร์ตภูมิภาคเล็กๆ แบบ SEA นักกีฬายังไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนทางด้านความแข็งแกร่งทางจิตใจมากเท่ากับภูมิภาค NA หรือ EU จากประสบการณ์ของตัวคุณเองแล้ว การมีนักจิตวิทยาคอยให้คำปรึกษาในทีมมันจำเป็นมากน้อยขนาดไหน A: เอาจริงๆ มันเป็นเรื่องที่ดีนะครับ พวกเขาเป็นคนที่คอยอยู่วงนอก ช่วยให้คุณมองเห็นภาพและมุมมองใหม่ๆ มากขึ้น แล้วคุณก็สามารถแชร์ความเครียด ความรู้สึกกับพวกเขาได้ด้วย มันทำให้ผู้เล่นมีความเครียดน้อยลง เป็นสิ่งที่ดีครับถ้าทีมมี อาจจะขาดได้นะ แต่พวกเขาช่วยได้มากจริงๆ  Q: คุณมีพี่ทั้งหมด 7 คน แล้วก็น้องอีก 4 คน โตมากับบ้านที่เต็มไปด้วยเด็กๆ มันรู้สึกยังไงบ้าง A: ในบ้านก็จะมีพวกพี่ชายที่เราต้องให้ความเคารพ พวกเขาเป็นคนคุมบ้านครับ คุณก็ต้องฟังสิ่งที่เขาพูด บ้านผมค่อนข้างเข้มงวด นั่นแหละครับ  Q: แฟนๆ เรียกแพทช์ใหม่ว่าเป็น DOTA 3 คุณเห็นด้วยมั้ย  A: เห็นด้วยครับ ผมชอบมากเลย เกมเปลี่ยนไปเยอะมาก ผมชอบมากจริงๆ  Q: ฝากอะไรถึงแฟนๆ ชาวไทยหน่อย A: สวัสดีครับ ขอบคุณแฟนๆ OG ชาวไทยทุกคนครับที่ช่วยเชียร์พวกเรา มันมีความหมายกับพวกเรามาก แม้ว่าจะสัมภาษณ์ได้อย่างไม่จุใจเท่าไหร่เพราะมีเวลาสั้นๆ เพียงแค่ 3 นาทีเท่านั้น แต่ก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก ตลอดการสนทนาเพราะว่าเราไม่ได้ละสายตาไปจาก Topson เลยแม้แต่วิเดียว สำหรับใครที่เป็นแฟนก็อย่าลืมติดตามทีม OG ด้วยเพราะว่าทางทีมประกาศออกมาแล้วว่าจะเข้าร่วมการแข่งขันในเมเจอร์ที่ 3 ของซีซั่น 2019-2020 มาดูกันว่างานนี้ฟอร์มของสุดยอดแชมป์สองสมัยติดจะรุ่งริ่งหรือว่ารุ่งโรจน์
16 Dec 2019
(DOTA2) ไม่รุ่งก็ร่วง! 5 โค้ชเทพที่หวนกลับมาแข่งอีกครั้ง
ในวงการ DOTA2 ไม่ใช่แค่ผู้เล่นเท่านั้นที่มีความสำคัญกับความสำเร็จของทีม แต่ “โค้ช” ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ทีมไปถึงฝั่งฝัน GameFever เลยจะพาไปดู 5 โค้ชที่นอกจากจะทำหน้าที่ไกด์สมาชิกทีมแล้ว ยังหวนคืนสู่สังเวียน กลับมาช่วยทีมในยามจำเป็นอีกด้วย! ส่วนช่วยแล้วจะรุ่งหรือจะร่วงนั้นติดตามกันได้เลย! ถ้าพูดถึงเรื่องที่โค้ชลงมาเสียบแทน และเล่นในตำแหน่งผู้เล่นจนประสบความสำเร็จแล้วก็คงจะไม่มีใครไม่นึกถึง Ceb หรือชื่อเก่าในวงการคือ “7ckngMad” จากทีม OG แชมป์ TI8 ที่เกิดดราม่า สมาชิกหลักของทีมออกกระทันหันทำให้ผู้เล่นไม่พอ ซึ่งแม้ตอนแรกจะดูเหมือนเป็นการย้ายลงมาเล่นแก้ขัดไปก่อนเพราะว่าน่าจะเป็นคนที่เข้ากับทีมได้ดีที่สุด แต่ว่าการที่พวกเขาฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ จนสามารถครอบครอง Aegis ในการแข่งขัน TI8 ไปได้ก็เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า Ceb เองก็สามารถเป็นผู้เล่นที่ดีไม่แพ้ใคร นอกเหนือจากเรื่องฝีมือในการเล่นตำแหน่ง Pos 3 (ออฟเลน) แล้ว Ceb ก็ยังพกพาเอาสกิลโค้ชมาใช้กับเพื่อนร่วมทีมด้วย โดยสกิลที่ว่าก็คือสกิล การให้กำลังใจ และพูดเชียร์เพื่อนๆ อยู่เสมอ เรียกได้ว่าเขาแทบจะเป็นกำลังใจหลักของทีมในเวลาที่การแข่งขันตรึงเครียดเลยก็ว่าได้  ใน TI9 รอบ Group Stage ที่เพิ่งผ่านมา Ceb ก็ยังทำผลงานได้ดี รวมถึงฟอร์มการเล่นของ OG ก็กลับมาดุเดือดเลือดพล่านมากขึ้น เก็บชัยชนะจากทีมอื่นๆ ไปได้เยอะมากจนทำให้เป็นอันดับหนึ่งของกลุ่ม ขึ้นไปเล่นในสายบนแบบหล่อๆ  สุดท้ายนี้ก็อยากบอกว่า Ceeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeb!   Fnatic เป็นทีมขวัญใจของชาวไทย ที่มี Jabz ผู้เล่นมากฝีมือและเป็นชาวไทยในวงการ DOTA 2 หนึ่งเดียวที่ได้ไปโลดแล่นโชว์ฝีมืออยู่ในการแข่งขันระดับโลกในช่วง 5 ปีให้หลัง  แม้ว่าจะเปิดตัวมาได้ค่อนข้างดีกับการแข่งขันเก็บแต้ม DPC ในซีซัน 2018-2019 และสามารถคว้าอันดับที่ 3 ของการแข่ง DreamLeague Season 11 ไปได้ แต่ว่าในช่วงการแข่งโค้งสุดท้ายก่อน TI9 ผลงานของทีมกลับดรอปลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ทีมต้องเร่งแก้แผน เปลี่ยนไลน์อัพใหม่แบบสายฟ้าแลบ ผู้ที่มาทำหน้าที่เป็น Pos 5 (ซัพทาส) แทน Jabz ที่ย้ายไปเป็น Carry ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ DuBu โค้ชที่ติวเข้ม Fnatic มาเป็นเวลาเกือบปี นอกจากนี้ยังเป็นอดีตสมาชิกทีม MVP Phoenix ที่ได้อันดับ 5-6 ร่วมใน TI 6 อีกด้วย โดยตำแหน่งที่เขาเล่นตอนนั้นก็คือซัพ 5 พ่วงด้วยกับหน้าที่กัปตันเหมือนตอนนี้ไม่มีผิด อะฮึ่มมม แต่ถ้าให้ดูจากผลงานของ Fnatic ในรอบ Group Stage แล้วก็ถือว่าไม่ค่อยรุ่งเท่าไหร่ เพราะว่าเก็บชัยชนะไปได้เพียง 3 เกม และแพ้ไปถึง 4 เกมจนทำให้ไปอยู่ในสายล่าง ต้องรอลุ้นดูฟอร์มในรอบ Main Stage ว่าการที่ DuBu หวนกลับมาลงแข่งในครั้งนี้จะทำให้ Fnatic ไปถึงฝั่งฝันหรือไม่ แล้ว DuBu เองจะยังมีของอยู่หรือเปล่า   Team Liquid แชมป์ TI7 ก็เคยมีเหตุการณ์ที่ต้องให้โค้ชมาลง Stand-in เหมือนกัน โดย Heen โค้ชชาวเกาหลีใต้ที่คอยให้คำแนะนำกับม้าน้ำมาตั้งแต่ปี 2016 ต้องมาเล่นเป็นซัพพอร์ตในรายการ DreamLeague Season 9 แทน Miracle- ที่ไม่อยู่  ในคราวนั้นสลับเอากัปตันในตำนานอย่าง KuroKy ไปเล่นในตำแหน่ง Carry แทน ซึ่งฮีโร่ที่ Heen เลือกมาใช้แข่งบ่อยๆ ก็คือ Ancient Apparition (AA) โดยพอจบการแข่ง Team Liquid สามารถคว้าอันดับสามไปได้  ที่สำคัญคือ Heen ยังได้ตำแหน่ง MVP ของทัวร์นาเมนต์ไปครอง แต่!!! ไม่ได้เป็นเพราะว่าเขามีผลงานการเล่นที่น่าประทับใจ กลับกันคือสาเหตุของการที่ได้ตำแหน่งผู้เล่นยอดเยี่ยม (กระเทียมดอง) นี้ เป็นเพราะโดนแฟนๆ ในช่อง Twitch โหวตแบบประชด จนกลายเป็น Meme และติด #Heen กันอยู่พักหนึ่งเลยทีเดียว  แม้ Heen อาจจะไม่ได้เป็นผู้เล่นที่มีผลงานดีหรือมีสกิลเพลย์ขั้นสูง แต่สิ่งหนึ่งที่เขาทำได้ดีไม่แพ้ใครคือหน้าที่โค้ช ที่ทำให้ Team Liquid ได้แชมป์ TI7 ไปได้ ที่สำคัญคือพอย้ายมาคุม TNC Predator ใน TI9 ครั้งนี้แล้ว ก็ทำให้ TNC มีผลงานที่ดี อยู่ในสายบนของการแข่งขันอีกด้วย   EG ทีมราชันย์อันดับสาม ที่ไม่ว่าจะไปแข่งอะไรก็มักจะได้อันดับสามอยู่เสมอก็มีช่วงเวลาที่ให้โค้ชอย่าง BuLba มาเสียบแทบเป็น Stand-in เหมือนกัน โดยตอนนั้นต้องลงมาเล่นแทน Fly ซึ่งเป็นกัปตันทีม โดยโค้ชก็ไม่ทำให้ลูกทีมผิดหวัง (??) เพราะว่าในการแข่งขัน Adrenaline Cyber League โค้ชที่ติวเข้มให้ทีมมาตลอดตั้งแต่ปี 2017 ก็พาทีมร่วง ตกรอบไปตั้งแต่นัดแรก โดยแพ้ทีม Spirit ไป 2-0 เกม ทำให้ทีมจบอันดับที่ 3-4 ของรายการ สมกับฉายาที่แฟนๆ ขนานนามให้ว่าเป็น “MMR Assassin” (นักฆ่าดับฝันทีมตัวเอง) พอฟังแบบนี้แล้วอาจจะทำให้ภาพลักษณ์ของ BuLba ติดลบไปซักหน่อย แต่อย่างไรเขาก็เป็นถึงโค้ชผู้ปูทาง และอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ EG ที่ถึงแม้จะแทบไม่ได้อันดับที่ 1 หรือ 2 ในการแข่งขันอะไรเลย แต่ว่าก็ทำให้ EG เป็นอีกหนึ่งทีมที่น่ากลัว ฟอร์มการเล่นดี และเป็นหนึ่งในทีมที่ดีที่สุดของโลก  โดยก่อนที่จะผันตัวมาเป็นโค้ช BuLba เองก็เคยเป็นผู้เล่นในทีมดังๆ มาแล้วหลายทีม ตั้งแต่ Team Liquid, Team Secret และ Evil Geniuses ด้วย   ในการแข่งขันโปรซีนของ Team Secret โค้ชยอดฝีมือที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของทีมมาตั้งแต่ปี 2017 อย่าง SunBhie แทบไม่ได้ลงแข่งขันแทนเลย แต่ว่าโค้ชชาวเกาหลีใต้คนนี้ดันไปหน้าตาเหมือนผู้เล่นสุดโหด Midlane ของทีมอย่าง MidOne จนได้ฉายาว่า MidTwo  ช็อตที่บังเกิดเป็นความฮาคือตอนนี่ Team Secret ได้แชมป์ในงาน MDL Disneyland Paris Major และกำลังขึ้นสัมภาษณ์กับพิธีกรสายฮาขาประจำการแข่ง DOTA2 อย่าง SirActionSlacks ซึ่ง Slacks ก็เริ่มพูดว่า “ยินดีด้วยครับ! เราจะเริ่มสัมภาษณ์จากคุณก่อนเลย มิสเตอร์ MidOne” โดยที่หารู้ไม่ว่าตัวเองได้เดินเข้าไปหา SunBhie โค้ชชาวเกาหลีใต้!  พอถูกคิดว่าตัวเองเป็นผู้เล่นในทีม โค้ชก็ออกอาการเหวอ ไม่รู้ว่า Slacks เล่นมุกหรือสับสนจริงๆ ได้แต่เดินหลบฉากถอยไปข้างหลัง ส่วน YapzOr ผู้เล่นที่ยืนข้างๆ โค้ชก็ต้องออกมาชี้แจง ทำมือทำไม้ แล้วชี้ไปเหมือนจะบอกว่า “โน้นนนน MidOne ยืนอยู่ตรงน้านนน” ใครอยากดูว่าสองคนนี้หน้าตาเหมือนกันขนาดไหน แล้วเหตุการณ์จริงเป็นยังไง ดูได้จากลิงก์นี้เลย >>> https://clips.twitch.tv/EnticingCrackyRadicchioFloof  
20 Aug 2019
Valve เผย ยอดชั่วโมงการชม TI 8 สูงที่สุดในประวัติศาสตร์การแข่งขัน TI!
ผู้พัฒนาและจัดจำหน่ายเกม Valve เปิดเผยว่าแม้ TI 8 ทัวร์นาเม้นต์แข่งขัน DOTA 2 ปีล่าสุด จะมียอดชั่วโมงการรับชมพุ่งสูงกว่า TI ครั้งไหนๆ ทว่าการรับชมสูงสุด (วัดจากจำนวนผู้รับชมสูงสุดในหนึ่งวินาที) ลดลงจาก TI 7 ที่จัดขึ้นในปีก่อน ตลอดที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 15 - 25 สิงหาคม ที่ TI 8 ได้ถูกจัดขึ้น ยอดการรับชมผ่าน Twitch พุ่งสูงถึง 41.7 ล้านชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากทัวร์นาเม้นต์ปีก่อนถึง 12.6% ซึ่งยอดรับชมส่วนมากมาจากช่องภาษาอังกฤษ ทั้งนี้นี่ยังเป็นตัวเลขที่วัดจากช่องทาง Twitch เท่านั้น ยังไม่รวมถึงการชมผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น ช่อง Twitch ของแคสเตอร์ DOTA 2 โดย Concurrent Viewers หรือจำนวนการรับชมสูงสุดในหนึ่งวินาทีของ TI8 ปีนี้มียอดอยู่ที่ 630,000 คน ลดลงจากปีก่อนหน้าถึง 8% อาจเป็นไปได้ว่าเป็นผลมาจากการที่ Valve เผยแพร่การแข่งขัน TI 8 ผ่าน Steam.tv ซึ่งเป็นช่องทางใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้เป็นปีแรก ทั้งนี้แม้การแข่งขัน TI 8 จะจบลงไปแล้ว ทว่าทาง Valve ประกาศทิ้งท้ายเอาไว้ด้วยว่า TI 9 ปีหน้าจะจัดขึ้นที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ถือเป็นโอกาสดีสำหรับแฟนเกม DOTA 2 ชาวไทยรวมถึงภูมิภาคเอเชีย ที่จะได้ร่วมสัมผัสประสบการณ์การแข่งขัน ESPORTS ระดับโลก
29 Aug 2018