GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
ผลการค้นหา : "Uplay"
(ถ้า Steam) ตายแล้ว (เรา) จะไปไหน? และอนาคตแวดวงเกมจะเป็นเช่นใด??
บนโลกใบนี้ มีอยู่หลากหลายคำถามที่ยังไม่ได้รับการไขคำตอบ และเป็นปริศนาที่รอคอยการพิสูจน์ ซึ่งหนึ่งในนั้น ก็น่าจะเป็น ‘ถ้าตายแล้ว...ไปไหน?’ ที่แม้แต่ผู้เขียนเองก็ไม่อาจจะให้คำตอบได้ (เพราะยังไม่ตาย…) และยังไม่มีใครมาให้คำตอบของคำถามดังกล่าว (เพราะถ้ามาจริงๆ สิ่งแรกที่น่าจะทำคือการขอหวยงวดหน้า…) และสำหรับแวดวงวิดีโอเกมเอง โดยเฉพาะในฟากฝั่งของพีซี ก็มีคำถามหนึ่งที่ล่องลอยผ่านสายลมมาให้ได้ยินเป็นระยะๆ อยู่เสมอนั่นคือ ถ้าผู้ให้บริการรายใหญ่อย่าง Steam ของบริษัท Valve นั้นมีอันเป็นไปเสียแล้ว อนาคตแวดวงเกมจะเป็นอย่างไร ? [caption id="attachment_55889" align="aligncenter" width="1024"] ถ้ารอวันที่ Steam จะตาย รอถูกเลขท้ายสามชุดรางวัลที่หนึ่งอาจจะง่ายกว่ามั้ง?...[/caption] มันดูจะเป็นปริศนาที่คงจะยังไม่สามารถหาคำตอบได้อย่างเร็ววัน ท่ามกลางการเติบโตระดับก้าวกระโดดทั้งในแง่ของรายได้และปริมาณชิ้นงานเกมที่ไหลบ่าทะลักเข้าสู่แพลทฟอร์มดังกล่าว แต่ก็อีกนั่นล่ะ ถ้าหลักสัจธรรมเรื่องความอนิจจังอันไม่เที่ยงนั้นสามารถใช้ได้กับทุกสิ่งบนโลกใบนี้ มันก็น่าคิดและลองพิจารณาอยู่ใช่ที่ ว่าถ้าวันหนึ่ง ระบบที่แทบเป็นของสามัญประจำเครื่องอย่าง Steam ต้องล้มหายตายจาก เราจะทำอย่างไร และอนาคตแวดวงเกมจะดำเนินไปในทิศทางไหน ในวรรคถัดจากนี้ เป็นการวินิจฉัยของผู้เขียนของข้อมูลและการประเมินตามสถานการณ์ที่น่าจะเป็น ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ถูกผิดหรือการทำนายทายพยากรณ์ที่แม่นยำ เป็นเพียงหนึ่งความคิดเห็นที่อยากจะชวนพี่ๆ เพื่อนๆ ผู้อ่านมาร่วมคิดร่วมไขกับผู้เขียนกัน ส่วนแบ่งการตลาดของ Steam จากอดีตจนถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่การเปิดตัวครั้งแรกที่เป็นโปรแกรม Front-End Client สำหรับเกม Half-Life 2 ของบริษัท Valve ในปี 2003 นั้น Steam มีอัตราการเติบโตระดับก้าวกระโดดขึ้นมาในแต่ละปี ผ่านการพัฒนา ปรับปรุง และเพิ่มจำนวนชิ้นงานให้มากขึ้น จนถึงปัจจุบัน มีจำนวนชิ้นงานเกมกว่า 30000 เกมในร้านค้า และมีโปรแกรมใช้งานอื่นๆ รวมถึงไฟล์วิดีโอและ Downloadable Content กว่า 20000 ชิ้นในระบบ จากการสำรวจในปี 2019 ในด้านผู้ใช้งาน Steam มียอดผู้ใช้งานจากการสำรวจในปี 2015 ที่ 125 ล้านแอคเคาท์ และจากการสำรวจในช่วงการระบาดของ COVID-19 นั้น มียอดผู้ใช้งานพร้อมกันสูงสุดแตะเพดานที่ 47 ล้านแอคเคาท์ ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากสำหรับแพลทฟอร์มออนไลน์หนึ่งๆ [caption id="attachment_55882" align="aligncenter" width="1024"] แม้แต่กำแพงสูงตระหง่านของจีนแผ่นดินใหญ่ ก็ไม่อาจต้านทานการมาถึงของ Steam ไปได้ (ภาพการเปิดตัว Steam ในปี 2019 ที่ผ่านมา...)[/caption] เหนือสิ่งอื่นใด เมื่อสรุปรวมเป็นข้อมูลโดยประมาณการถึงส่วนแบ่งการตลาดของ Steam จะพบว่า มีส่วนแบ่งที่ 70% จากยอดรายได้ส่วนแบ่งของเกมแบบ Downloadable (ผลสำรวจจาก Forbes ในปี 2011) และทำให้ Steam สามารถตัดวงจรร้านค้าขายปลีกคนกลางได้อย่างเด็ดขาด เพราะมอบส่วนแบ่งให้ผู้พัฒนาเกมถึง 70% ของยอดจำหน่าย (ซึ่งแตกต่างจากร้านค้าคนกลาง ที่จ่ายให้แค่เพียง 30% เท่านั้น…) พร้อมกันนั้น การตัดคนกลางออกจากสมการการจำหน่าย ก็ทำให้ Steam สามารถกำหนดเงื่อนไขหลายช่องทางที่ยิ่งสร้างความได้เปรียบให้กับตนเอง อาทิ การออกเทศกาลลดราคากระหน่ำตามช่วงเวลาต่างๆ ที่ผู้ใช้งาน Steam ต่างคุ้นชินกัน เป็นต้น [caption id="attachment_55888" align="aligncenter" width="728"] จากวิสัยทัศน์เริ่มต้นของ Gabe Newell แห่ง Valve สู่การเป็นจ้าวตลาดรายใหญ่สุดของแวดวงเกมพีซี[/caption] มาถึงจุดนี้ ต่อให้ไม่ต้องเอาตัวเลขใดๆ ขึ้นมาแสดง หรือแผนภูมิใดๆ ขึ้นมาประกาศ มันก็ชัดเจนแล้วว่าในรอบเกือบสองทศวรรษนั้น วิสัยทัศน์ของ Gabe Newell กับ Steam นั้นได้ผงาด และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับแวดวงวิดีโอเกม โดยเฉพาะฟากฝั่งพีซีได้ถึงระดับไหน มันเติบโตจนกลายเป็นยักษ์ใหญ่ที่แทบจะไร้ทางตาย และการล้มหายก็ดูจะเป็นเรื่องเพ้อฝันสำหรับกลุ่มทฤษฏีสมคบคิดไปเสียมากกว่า แต่ Steam นั้นคงอยู่อย่างไร้การต่อต้านจริงหรือ? … ไม่เลย ห่างไกลจากความเป็นจริงมากนัก ชิ้นเนื้อที่รอคอยการถูกขย้ำ และศึกแย่งชิงผู้นำจ้าวแห่ง DRM ตลาด Digital Distribution สำหรับแวดวงวิดีโอเกมนั้น ใหญ่โตและขับเคลื่อนแวดวงอย่างมีนัยสำคัญ จึงไม่น่าแปลกใจนัก ที่มันจะกลายเป็นหนึ่งใน ‘ชิ้นเนื้อ’ ที่มีหมาป่ากระหายเลือดพร้อมจะขย้ำและโหยหาการขึ้นมาเป็นผู้นำจ้าวแห่งตลาด โดยล่าสุด Epic Game Store นั้น เรียกได้ว่าเป็นภัยคุกคามที่ประกาศถึงการคงอยู่ของ Steam ได้อย่างเด่นชัดที่สุด [caption id="attachment_55878" align="aligncenter" width="1024"] ภาพส่วนแบ่งการตลาดของ Epic Game Store (ภาพจากเว็บไซต์ The Verge)[/caption] จากแผนภูมิด้านบน แสดงให้เห็นถึงนโยบายส่วนแบ่งการตลาดระหว่างผู้พัฒนาเกมและผู้จัดจำหน่ายอย่าง Epic Game Store ที่ให้ได้มากกว่า Steam ซึ่งระบบนี้ก็ได้แสดงแสนยานุภาพไปแล้วเป็นที่เรียบร้อยในรอบปีที่ผ่านมา กับการคว้าหลายต่อหลายชิ้นงานเกมให้กลายเป็น Timed-Exclusive ล่วงหน้าหนึ่งปี (เช่น Metro Exodus, Control, Outer World จนถึง Total War Saga : Troy) เมื่อบวกรวมกับเงื่อนไขการจ่ายเงินที่ยั่วใจ และการหนุนหลังจากกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่อย่าง Tencent ก็ถือได้ว่าเป็นการเปิดหน้าประกาศศึกกันอย่างไม่ปิดบัง (แม้จะมีเสียงต่อต้านและความไม่พอใจจากกลุ่มคนเล่นอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ชะลอการเติบโตและการก้าวเข้ามาของ Epic Game Store ในภารกิจพิชิตยักษ์เหล่านี้แต่ประการใด…) [caption id="attachment_55879" align="aligncenter" width="1024"] หน้าจอ Front-End ของ GOG Galaxy 2.0 ที่มุ่งหมายจะสลายกำแพงระหว่างโปรแกรม Digital Store อื่นๆ ให้รวมเป็นหนึ่งเดียว[/caption] ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมรายย่อยที่ที่เคียงเนียนไปกับ Steam มาตั้งแต่แรกเริ่มอย่าง GOG.com ของ CD Projekt Red ที่แม้จะเปิดตัวด้วยการเป็น ‘บ้านเกมเก่า’ สำหรับเกมรุ่นยุคบุกเบิก แต่จากการสำรวจล่าสุดก็พบว่า มูลค่ารวมของสินทรัพย์ของบริษัทนั้น มีมากถึง 9.52 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (รวมมูลค่าลิขสิทธิ์ของสินทรัพย์อย่างซีรีส์ The Witcher และรายได้ของ GOG.com เอง) ซึ่งทะยานขึ้นเป็นอันดับสองของยุโรปแซงหน้า Ubisoft ไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย และการปรับปรุงระบบ Store ของ GOG.com อย่าง GOG Galaxy เวอร์ชัน 2.0 ก็เน้นสลายกำแพงความต่าง เพราะจะเป็น Hub ศูนย์กลางของทุกระบบ DRM ที่ผู้ใช้งานมี เหล่านี้ เป็นความเคลื่อนไหวที่น่ากลัว และน่าจับตามองเป็นอย่างมาก แต่โดยภาพรวมแล้ว ก็อาจจะยังพอบอกได้ว่า Steam ยังคงยืนหยัดอย่างตระหง่านเป็นแถวหน้าของ Digital Distribution ของแวดวงพีซี และสัดส่วนชิ้นเนื้อก็ถูกปันส่วนมากน้อยไปยังผู้จัดจำหน่ายรายอื่นๆ ตามโอกาสและวาระ ไม่นับรวมบริการเฉพาะของระบบคอนโซลอย่าง Playstation Store, Microsoft Store และ Nintendo Shop ที่มีส่วนแบ่งการตลาดของตนเองเป็นเอกเทศ กระนั้นแล้ว ถ้าหาก Steam ‘ต้องตาย’ แบบล้มหายตายจาก ออกไปจากธุรกิจจริงๆ จะเกิดอะไรขึ้น?   เมื่อยักษ์ล้ม … แม้ความเป็นไปได้ที่ Steam จะล้มหายตายไปจากสารบบนั้นจะน้อยพอๆ กับ 1 ใน 14 ล้านความเป็นไปได้ที่ Dr.Strange ได้ทำนายเอาไว้ในการกำจัด Thanos แต่ถ้าวันนั้นมาถึง วันที่ยักษ์ล้มลง ‘จริงๆ’ ในมุมมองของผู้เขียนนั้น มันอาจจะเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้ [caption id="attachment_55883" align="aligncenter" width="1024"] ไม่ต้องคาดเดาถึง 14 ล้านความเป็นไปได้ เพราะเราขอสรุปให้คุณทราบคร่าวๆ เอาไว้อย่างง่ายๆ เพียงสามข้อ...[/caption] -ชิ้นงานเกมบน Steam จะหลุดจากระบบ เป็นเอกเทศ และกระจายตัวไปยังแหล่งร้านค้า Digital Distribution อื่นๆ ที่เหลืออยู่ และการจัดสรรชิ้นเนื้อภูมิภาคส่วนแบ่งการตลาดจะเปลี่ยนแปลงไป -มีการคิดค้นร้านค้า Digital Distribution แบบไม่แสวงหาผลกำไร (แบบเดียวกับแพลทฟอร์มเกมอินดี้ itch.io) ที่ผู้พัฒนาเกมและผู้ใช้งาน สามารถทำการ Customize รูปแบบ Front-End และการเลือกจ่ายได้อย่างไม่จำกัด -ซากที่หลงเหลือของ Steam จะถูก Take-Over โดยยักษ์ที่ใหญ่รองลงมา ที่รอโอกาสที่จะฉวยคว้าและขึ้นมาเป็นจ้าวแห่งตลาด ทั้งสามความเป็นไปได้นี้ ถ้าวัดจากเหตุการณ์และสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น เชื่อว่าทางเลือกที่สาม ที่จะมีคนมา Take-Over ระบบ Steam ไปดำเนินการต่อ น่าจะเกิดขึ้น ยิ่งเมื่อพิจารณาจากหัวข้อที่แล้ว ที่ Epic Game Store ได้ประกาศศึกกับ Steam กันอย่างซึ่งๆ หน้า โดยมีกลุ่มทุนรายใหญ่หนุนหลัง รวมถึงเคยมีความพยายามที่จะ Take-Over ระบบ Steam โดยกลุ่มทุนอิสระมาก่อน ก็เชื่อว่าภาพดังกล่าวน่าจะเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด สถานการณ์ชิ้นเนื้อจะยังคงรูปแบบเดิม เปลี่ยนแค่เพียงผู้เล่นในตลาดแต่เพียงเท่านั้น [caption id="attachment_55887" align="aligncenter" width="1024"] ช้างสารสองเชือกชนกัน เราประชาชนคนเล่นก็ได้แต่นั่งจ้องรอดูผลลัพธ์[/caption] ส่วนในเรื่องสิทธิ์การเข้าถึงชิ้นงานที่อยู่บน Library ของ Steam นั้น ถ้าวันที่บริษัท Valve ล้มละลายหายไปจากตลาด ก็เชื่อว่าน่าจะยังคงเล่นได้ แต่ก็ยังเป็นที่ต้องสงสัย เพราะกับชิ้นงานกว่า 30000 เกมบนระบบนั้น จะถูกจัดสรรปันส่วนกันอย่างไร นั่นอาจจะทำให้เข้าได้กับทางเลือกที่หนึ่ง ที่หลายเกมเอง ก็ใช้ Steam เป็นเพียงทางผ่าน เพื่อไปยัง DRM ของตนเอง (เช่น Origin และ Uplay) เมื่อยักษ์ยังตระหง่าน และอนิจจังยังเดินทางมาไม่ถึง มาถึงจุดนี้ มันอาจจะเป็นเรื่องที่เพ้อฝันมากๆ ว่าการพ่ายแพ้และล้มตายจากของ Steam จะมาถึงในเร็ววัน เพราะสถานะการเงินของ Valve ยังคงหนาแน่นและมีสภาพคล่องเป็นอย่างสูง (โดยไม่ต้องมานั่งตอบคำถามว่าระหว่าง Half-Life 3 กับชาติหน้าอะไรจะมาถึงก่อนกัน…) รวมทั้งการที่ EA พร้อมจะจูบปากกับ Steam และนำเอาระบบ EA Access มาให้บริการแบบใส่พานถึงที่ ยิ่งประกันว่าเราคงจะได้อยู่กับ Steam นี้กันไปอีกนาน [caption id="attachment_55885" align="aligncenter" width="750"] เมื่อ EA กลับมาคืนดีกับ Steam โอกาสที่จะล้มนั้นก็เรียกว่าน้อยจนเกือบเป็นไปไม่ได้...[/caption] แต่เมื่อความไม่แน่นอนคือสัจธรรมอันแน่นอนของทุกสิ่งฉันใด วันที่ Steam อาจจะต้องมีอันเป็นไปก็อาจจะมาถึง (แม้จะไม่ใช่ในเร็วๆ นี้ก็ตาม….) และบทความชิ้นนี้ก็เป็นเพียงการคาดคะเนกะเกณฑ์ความเป็นไปได้ ที่ถ้าถามว่าเมื่อวันนั้นมาถึง เราจะไปที่ไหน ก็อาจจะใช้คำตอบเดียวกันกับที่เรามักจะบอกคนตายเสมอว่า … ‘ไปที่ชอบๆ’ “และเมื่อวัดจากการเคลื่อนไหวของวงการเกมที่มาได้ไกลกว่าจุดเริ่มต้นอย่างคาดไม่ถึง ก็เชื่อว่า ‘ที่ชอบๆ’ นั้นจะมีมากมาย เพียงพอ และรองรับกับทุกความต้องการเช่นนั้นเอง”
11 Jun 2020
Assassin’s Creed Discovery Tour พาคุณท่องไปในยุค อียิปต์ และกรีกโบราณ
Assassin’s Creed Discovery Tour เป็นโหมดใหม่จากทาง Ubisoft ที่จะให้ผู้เล่นสามารถเดินทางท่องเที่ยวไปในยุคสมัยของ อียิปต์โบราณ(Origin) และกรีกโบราณ(Odyssey) ที่สำคัญคือทั้ง 2 สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี โดยที่ผู้เล่นไม่จำเป็นต่องเป็นเจ้าของเกมตัวเต็มเลยด้วยครับ! ตัวโหมดดังกล่าว ได้รับการยืนยันจาก Daniel Ahmad ว่าสามารถดาวโหลดได้แล้วผ่าน Twitter เช่นกัน ในโหมดดังกล่าวผู้เล่นจะได้เดินทางไปยังส่วนต่างๆ ของยุคสมัยนั้นเท่านั้น ไม่ได้มีเกมเพลย์แอคชั่นอะไรให้สัมผัส และตลอดการเดินทางจะมีคำบรรยายคอยบอกความเป็นมา ของสถานที่สำคัญอย่าง สฟิงซ์, พีระมิด, หรือโคลอสเซียมด้วย นับเป็นอะไรที่น่าสนใจมากครับ ไม่แน่ว่าในอนาคต อาจมียุคอื่นๆ ให้เราได้ไปท่องเทียวอีกก็เป็นได้ Assassin’s Creed Discovery Tour เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีแล้ววันนี้ผ่าน Uplay เท่านั้น Assassins Creed Discovery Tour for Ancient Egypt and Ancient Greece are free to download on uPlay. (Announced on the conference call now) pic.twitter.com/WkdxvzHBWi — Daniel Ahmad (@ZhugeEX) May 14, 2020 Credit : VG247 ติดตามข่าวสารเกมต่างๆ ได้ที่
15 May 2020
GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
ผลการค้นหา : "Uplay"
(ถ้า Steam) ตายแล้ว (เรา) จะไปไหน? และอนาคตแวดวงเกมจะเป็นเช่นใด??
บนโลกใบนี้ มีอยู่หลากหลายคำถามที่ยังไม่ได้รับการไขคำตอบ และเป็นปริศนาที่รอคอยการพิสูจน์ ซึ่งหนึ่งในนั้น ก็น่าจะเป็น ‘ถ้าตายแล้ว...ไปไหน?’ ที่แม้แต่ผู้เขียนเองก็ไม่อาจจะให้คำตอบได้ (เพราะยังไม่ตาย…) และยังไม่มีใครมาให้คำตอบของคำถามดังกล่าว (เพราะถ้ามาจริงๆ สิ่งแรกที่น่าจะทำคือการขอหวยงวดหน้า…) และสำหรับแวดวงวิดีโอเกมเอง โดยเฉพาะในฟากฝั่งของพีซี ก็มีคำถามหนึ่งที่ล่องลอยผ่านสายลมมาให้ได้ยินเป็นระยะๆ อยู่เสมอนั่นคือ ถ้าผู้ให้บริการรายใหญ่อย่าง Steam ของบริษัท Valve นั้นมีอันเป็นไปเสียแล้ว อนาคตแวดวงเกมจะเป็นอย่างไร ? [caption id="attachment_55889" align="aligncenter" width="1024"] ถ้ารอวันที่ Steam จะตาย รอถูกเลขท้ายสามชุดรางวัลที่หนึ่งอาจจะง่ายกว่ามั้ง?...[/caption] มันดูจะเป็นปริศนาที่คงจะยังไม่สามารถหาคำตอบได้อย่างเร็ววัน ท่ามกลางการเติบโตระดับก้าวกระโดดทั้งในแง่ของรายได้และปริมาณชิ้นงานเกมที่ไหลบ่าทะลักเข้าสู่แพลทฟอร์มดังกล่าว แต่ก็อีกนั่นล่ะ ถ้าหลักสัจธรรมเรื่องความอนิจจังอันไม่เที่ยงนั้นสามารถใช้ได้กับทุกสิ่งบนโลกใบนี้ มันก็น่าคิดและลองพิจารณาอยู่ใช่ที่ ว่าถ้าวันหนึ่ง ระบบที่แทบเป็นของสามัญประจำเครื่องอย่าง Steam ต้องล้มหายตายจาก เราจะทำอย่างไร และอนาคตแวดวงเกมจะดำเนินไปในทิศทางไหน ในวรรคถัดจากนี้ เป็นการวินิจฉัยของผู้เขียนของข้อมูลและการประเมินตามสถานการณ์ที่น่าจะเป็น ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ถูกผิดหรือการทำนายทายพยากรณ์ที่แม่นยำ เป็นเพียงหนึ่งความคิดเห็นที่อยากจะชวนพี่ๆ เพื่อนๆ ผู้อ่านมาร่วมคิดร่วมไขกับผู้เขียนกัน ส่วนแบ่งการตลาดของ Steam จากอดีตจนถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่การเปิดตัวครั้งแรกที่เป็นโปรแกรม Front-End Client สำหรับเกม Half-Life 2 ของบริษัท Valve ในปี 2003 นั้น Steam มีอัตราการเติบโตระดับก้าวกระโดดขึ้นมาในแต่ละปี ผ่านการพัฒนา ปรับปรุง และเพิ่มจำนวนชิ้นงานให้มากขึ้น จนถึงปัจจุบัน มีจำนวนชิ้นงานเกมกว่า 30000 เกมในร้านค้า และมีโปรแกรมใช้งานอื่นๆ รวมถึงไฟล์วิดีโอและ Downloadable Content กว่า 20000 ชิ้นในระบบ จากการสำรวจในปี 2019 ในด้านผู้ใช้งาน Steam มียอดผู้ใช้งานจากการสำรวจในปี 2015 ที่ 125 ล้านแอคเคาท์ และจากการสำรวจในช่วงการระบาดของ COVID-19 นั้น มียอดผู้ใช้งานพร้อมกันสูงสุดแตะเพดานที่ 47 ล้านแอคเคาท์ ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงมากสำหรับแพลทฟอร์มออนไลน์หนึ่งๆ [caption id="attachment_55882" align="aligncenter" width="1024"] แม้แต่กำแพงสูงตระหง่านของจีนแผ่นดินใหญ่ ก็ไม่อาจต้านทานการมาถึงของ Steam ไปได้ (ภาพการเปิดตัว Steam ในปี 2019 ที่ผ่านมา...)[/caption] เหนือสิ่งอื่นใด เมื่อสรุปรวมเป็นข้อมูลโดยประมาณการถึงส่วนแบ่งการตลาดของ Steam จะพบว่า มีส่วนแบ่งที่ 70% จากยอดรายได้ส่วนแบ่งของเกมแบบ Downloadable (ผลสำรวจจาก Forbes ในปี 2011) และทำให้ Steam สามารถตัดวงจรร้านค้าขายปลีกคนกลางได้อย่างเด็ดขาด เพราะมอบส่วนแบ่งให้ผู้พัฒนาเกมถึง 70% ของยอดจำหน่าย (ซึ่งแตกต่างจากร้านค้าคนกลาง ที่จ่ายให้แค่เพียง 30% เท่านั้น…) พร้อมกันนั้น การตัดคนกลางออกจากสมการการจำหน่าย ก็ทำให้ Steam สามารถกำหนดเงื่อนไขหลายช่องทางที่ยิ่งสร้างความได้เปรียบให้กับตนเอง อาทิ การออกเทศกาลลดราคากระหน่ำตามช่วงเวลาต่างๆ ที่ผู้ใช้งาน Steam ต่างคุ้นชินกัน เป็นต้น [caption id="attachment_55888" align="aligncenter" width="728"] จากวิสัยทัศน์เริ่มต้นของ Gabe Newell แห่ง Valve สู่การเป็นจ้าวตลาดรายใหญ่สุดของแวดวงเกมพีซี[/caption] มาถึงจุดนี้ ต่อให้ไม่ต้องเอาตัวเลขใดๆ ขึ้นมาแสดง หรือแผนภูมิใดๆ ขึ้นมาประกาศ มันก็ชัดเจนแล้วว่าในรอบเกือบสองทศวรรษนั้น วิสัยทัศน์ของ Gabe Newell กับ Steam นั้นได้ผงาด และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับแวดวงวิดีโอเกม โดยเฉพาะฟากฝั่งพีซีได้ถึงระดับไหน มันเติบโตจนกลายเป็นยักษ์ใหญ่ที่แทบจะไร้ทางตาย และการล้มหายก็ดูจะเป็นเรื่องเพ้อฝันสำหรับกลุ่มทฤษฏีสมคบคิดไปเสียมากกว่า แต่ Steam นั้นคงอยู่อย่างไร้การต่อต้านจริงหรือ? … ไม่เลย ห่างไกลจากความเป็นจริงมากนัก ชิ้นเนื้อที่รอคอยการถูกขย้ำ และศึกแย่งชิงผู้นำจ้าวแห่ง DRM ตลาด Digital Distribution สำหรับแวดวงวิดีโอเกมนั้น ใหญ่โตและขับเคลื่อนแวดวงอย่างมีนัยสำคัญ จึงไม่น่าแปลกใจนัก ที่มันจะกลายเป็นหนึ่งใน ‘ชิ้นเนื้อ’ ที่มีหมาป่ากระหายเลือดพร้อมจะขย้ำและโหยหาการขึ้นมาเป็นผู้นำจ้าวแห่งตลาด โดยล่าสุด Epic Game Store นั้น เรียกได้ว่าเป็นภัยคุกคามที่ประกาศถึงการคงอยู่ของ Steam ได้อย่างเด่นชัดที่สุด [caption id="attachment_55878" align="aligncenter" width="1024"] ภาพส่วนแบ่งการตลาดของ Epic Game Store (ภาพจากเว็บไซต์ The Verge)[/caption] จากแผนภูมิด้านบน แสดงให้เห็นถึงนโยบายส่วนแบ่งการตลาดระหว่างผู้พัฒนาเกมและผู้จัดจำหน่ายอย่าง Epic Game Store ที่ให้ได้มากกว่า Steam ซึ่งระบบนี้ก็ได้แสดงแสนยานุภาพไปแล้วเป็นที่เรียบร้อยในรอบปีที่ผ่านมา กับการคว้าหลายต่อหลายชิ้นงานเกมให้กลายเป็น Timed-Exclusive ล่วงหน้าหนึ่งปี (เช่น Metro Exodus, Control, Outer World จนถึง Total War Saga : Troy) เมื่อบวกรวมกับเงื่อนไขการจ่ายเงินที่ยั่วใจ และการหนุนหลังจากกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่อย่าง Tencent ก็ถือได้ว่าเป็นการเปิดหน้าประกาศศึกกันอย่างไม่ปิดบัง (แม้จะมีเสียงต่อต้านและความไม่พอใจจากกลุ่มคนเล่นอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ชะลอการเติบโตและการก้าวเข้ามาของ Epic Game Store ในภารกิจพิชิตยักษ์เหล่านี้แต่ประการใด…) [caption id="attachment_55879" align="aligncenter" width="1024"] หน้าจอ Front-End ของ GOG Galaxy 2.0 ที่มุ่งหมายจะสลายกำแพงระหว่างโปรแกรม Digital Store อื่นๆ ให้รวมเป็นหนึ่งเดียว[/caption] ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมรายย่อยที่ที่เคียงเนียนไปกับ Steam มาตั้งแต่แรกเริ่มอย่าง GOG.com ของ CD Projekt Red ที่แม้จะเปิดตัวด้วยการเป็น ‘บ้านเกมเก่า’ สำหรับเกมรุ่นยุคบุกเบิก แต่จากการสำรวจล่าสุดก็พบว่า มูลค่ารวมของสินทรัพย์ของบริษัทนั้น มีมากถึง 9.52 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (รวมมูลค่าลิขสิทธิ์ของสินทรัพย์อย่างซีรีส์ The Witcher และรายได้ของ GOG.com เอง) ซึ่งทะยานขึ้นเป็นอันดับสองของยุโรปแซงหน้า Ubisoft ไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย และการปรับปรุงระบบ Store ของ GOG.com อย่าง GOG Galaxy เวอร์ชัน 2.0 ก็เน้นสลายกำแพงความต่าง เพราะจะเป็น Hub ศูนย์กลางของทุกระบบ DRM ที่ผู้ใช้งานมี เหล่านี้ เป็นความเคลื่อนไหวที่น่ากลัว และน่าจับตามองเป็นอย่างมาก แต่โดยภาพรวมแล้ว ก็อาจจะยังพอบอกได้ว่า Steam ยังคงยืนหยัดอย่างตระหง่านเป็นแถวหน้าของ Digital Distribution ของแวดวงพีซี และสัดส่วนชิ้นเนื้อก็ถูกปันส่วนมากน้อยไปยังผู้จัดจำหน่ายรายอื่นๆ ตามโอกาสและวาระ ไม่นับรวมบริการเฉพาะของระบบคอนโซลอย่าง Playstation Store, Microsoft Store และ Nintendo Shop ที่มีส่วนแบ่งการตลาดของตนเองเป็นเอกเทศ กระนั้นแล้ว ถ้าหาก Steam ‘ต้องตาย’ แบบล้มหายตายจาก ออกไปจากธุรกิจจริงๆ จะเกิดอะไรขึ้น?   เมื่อยักษ์ล้ม … แม้ความเป็นไปได้ที่ Steam จะล้มหายตายไปจากสารบบนั้นจะน้อยพอๆ กับ 1 ใน 14 ล้านความเป็นไปได้ที่ Dr.Strange ได้ทำนายเอาไว้ในการกำจัด Thanos แต่ถ้าวันนั้นมาถึง วันที่ยักษ์ล้มลง ‘จริงๆ’ ในมุมมองของผู้เขียนนั้น มันอาจจะเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้ [caption id="attachment_55883" align="aligncenter" width="1024"] ไม่ต้องคาดเดาถึง 14 ล้านความเป็นไปได้ เพราะเราขอสรุปให้คุณทราบคร่าวๆ เอาไว้อย่างง่ายๆ เพียงสามข้อ...[/caption] -ชิ้นงานเกมบน Steam จะหลุดจากระบบ เป็นเอกเทศ และกระจายตัวไปยังแหล่งร้านค้า Digital Distribution อื่นๆ ที่เหลืออยู่ และการจัดสรรชิ้นเนื้อภูมิภาคส่วนแบ่งการตลาดจะเปลี่ยนแปลงไป -มีการคิดค้นร้านค้า Digital Distribution แบบไม่แสวงหาผลกำไร (แบบเดียวกับแพลทฟอร์มเกมอินดี้ itch.io) ที่ผู้พัฒนาเกมและผู้ใช้งาน สามารถทำการ Customize รูปแบบ Front-End และการเลือกจ่ายได้อย่างไม่จำกัด -ซากที่หลงเหลือของ Steam จะถูก Take-Over โดยยักษ์ที่ใหญ่รองลงมา ที่รอโอกาสที่จะฉวยคว้าและขึ้นมาเป็นจ้าวแห่งตลาด ทั้งสามความเป็นไปได้นี้ ถ้าวัดจากเหตุการณ์และสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น เชื่อว่าทางเลือกที่สาม ที่จะมีคนมา Take-Over ระบบ Steam ไปดำเนินการต่อ น่าจะเกิดขึ้น ยิ่งเมื่อพิจารณาจากหัวข้อที่แล้ว ที่ Epic Game Store ได้ประกาศศึกกับ Steam กันอย่างซึ่งๆ หน้า โดยมีกลุ่มทุนรายใหญ่หนุนหลัง รวมถึงเคยมีความพยายามที่จะ Take-Over ระบบ Steam โดยกลุ่มทุนอิสระมาก่อน ก็เชื่อว่าภาพดังกล่าวน่าจะเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด สถานการณ์ชิ้นเนื้อจะยังคงรูปแบบเดิม เปลี่ยนแค่เพียงผู้เล่นในตลาดแต่เพียงเท่านั้น [caption id="attachment_55887" align="aligncenter" width="1024"] ช้างสารสองเชือกชนกัน เราประชาชนคนเล่นก็ได้แต่นั่งจ้องรอดูผลลัพธ์[/caption] ส่วนในเรื่องสิทธิ์การเข้าถึงชิ้นงานที่อยู่บน Library ของ Steam นั้น ถ้าวันที่บริษัท Valve ล้มละลายหายไปจากตลาด ก็เชื่อว่าน่าจะยังคงเล่นได้ แต่ก็ยังเป็นที่ต้องสงสัย เพราะกับชิ้นงานกว่า 30000 เกมบนระบบนั้น จะถูกจัดสรรปันส่วนกันอย่างไร นั่นอาจจะทำให้เข้าได้กับทางเลือกที่หนึ่ง ที่หลายเกมเอง ก็ใช้ Steam เป็นเพียงทางผ่าน เพื่อไปยัง DRM ของตนเอง (เช่น Origin และ Uplay) เมื่อยักษ์ยังตระหง่าน และอนิจจังยังเดินทางมาไม่ถึง มาถึงจุดนี้ มันอาจจะเป็นเรื่องที่เพ้อฝันมากๆ ว่าการพ่ายแพ้และล้มตายจากของ Steam จะมาถึงในเร็ววัน เพราะสถานะการเงินของ Valve ยังคงหนาแน่นและมีสภาพคล่องเป็นอย่างสูง (โดยไม่ต้องมานั่งตอบคำถามว่าระหว่าง Half-Life 3 กับชาติหน้าอะไรจะมาถึงก่อนกัน…) รวมทั้งการที่ EA พร้อมจะจูบปากกับ Steam และนำเอาระบบ EA Access มาให้บริการแบบใส่พานถึงที่ ยิ่งประกันว่าเราคงจะได้อยู่กับ Steam นี้กันไปอีกนาน [caption id="attachment_55885" align="aligncenter" width="750"] เมื่อ EA กลับมาคืนดีกับ Steam โอกาสที่จะล้มนั้นก็เรียกว่าน้อยจนเกือบเป็นไปไม่ได้...[/caption] แต่เมื่อความไม่แน่นอนคือสัจธรรมอันแน่นอนของทุกสิ่งฉันใด วันที่ Steam อาจจะต้องมีอันเป็นไปก็อาจจะมาถึง (แม้จะไม่ใช่ในเร็วๆ นี้ก็ตาม….) และบทความชิ้นนี้ก็เป็นเพียงการคาดคะเนกะเกณฑ์ความเป็นไปได้ ที่ถ้าถามว่าเมื่อวันนั้นมาถึง เราจะไปที่ไหน ก็อาจจะใช้คำตอบเดียวกันกับที่เรามักจะบอกคนตายเสมอว่า … ‘ไปที่ชอบๆ’ “และเมื่อวัดจากการเคลื่อนไหวของวงการเกมที่มาได้ไกลกว่าจุดเริ่มต้นอย่างคาดไม่ถึง ก็เชื่อว่า ‘ที่ชอบๆ’ นั้นจะมีมากมาย เพียงพอ และรองรับกับทุกความต้องการเช่นนั้นเอง”
11 Jun 2020
Assassin’s Creed Discovery Tour พาคุณท่องไปในยุค อียิปต์ และกรีกโบราณ
Assassin’s Creed Discovery Tour เป็นโหมดใหม่จากทาง Ubisoft ที่จะให้ผู้เล่นสามารถเดินทางท่องเที่ยวไปในยุคสมัยของ อียิปต์โบราณ(Origin) และกรีกโบราณ(Odyssey) ที่สำคัญคือทั้ง 2 สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี โดยที่ผู้เล่นไม่จำเป็นต่องเป็นเจ้าของเกมตัวเต็มเลยด้วยครับ! ตัวโหมดดังกล่าว ได้รับการยืนยันจาก Daniel Ahmad ว่าสามารถดาวโหลดได้แล้วผ่าน Twitter เช่นกัน ในโหมดดังกล่าวผู้เล่นจะได้เดินทางไปยังส่วนต่างๆ ของยุคสมัยนั้นเท่านั้น ไม่ได้มีเกมเพลย์แอคชั่นอะไรให้สัมผัส และตลอดการเดินทางจะมีคำบรรยายคอยบอกความเป็นมา ของสถานที่สำคัญอย่าง สฟิงซ์, พีระมิด, หรือโคลอสเซียมด้วย นับเป็นอะไรที่น่าสนใจมากครับ ไม่แน่ว่าในอนาคต อาจมียุคอื่นๆ ให้เราได้ไปท่องเทียวอีกก็เป็นได้ Assassin’s Creed Discovery Tour เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีแล้ววันนี้ผ่าน Uplay เท่านั้น Assassins Creed Discovery Tour for Ancient Egypt and Ancient Greece are free to download on uPlay. (Announced on the conference call now) pic.twitter.com/WkdxvzHBWi — Daniel Ahmad (@ZhugeEX) May 14, 2020 Credit : VG247 ติดตามข่าวสารเกมต่างๆ ได้ที่
15 May 2020