GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
ผลการค้นหา : "ระบบเกมช"
Final Review: Cyberpunk 2077
หลังจากที่ปล่อยให้ผู้เล่นเฝ้ารอกันมาเกือบสิบปี นับตั้งแต่ที่เกมประกาศเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกในปี 2012 บวกกับความคาดหวังในฝีมือและคำสัญญามากมายของผู้พัฒนา CD PROJEKT RED เกี่ยวกับความลึกล้ำของเกมที่พวกเขาต้องการจะสร้าง คงเป็นเรื่องธรรมดาที่เกม Cyberpunk 2077 จะต้องแบกรับความคาดหวังมโหฬารจากเกมเมอร์ทั่วโลกในฐานะเกม RPG โลกเปิดที่จะยกระดับประสบการณ์การเล่นเกมของผู้เล่นในแบบที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน หลังจากที่เล่นเกมมาเป็นเวลาเกือบ 40 ชั่วโมงจนจบเนื้อเรื่อง ถ้าถามว่าเกม Cyberpunk 2077 นับเป็นเกมที่จะพลิกความคาดหวังของผู้เล่นอย่างที่หลายคนอยากเห็นหรือไม่ คำตอบที่มอบได้คงเป็น “ไม่” ด้วยระบบเกมเพลย์ที่เอาจริงๆ ก็ไม่ได้ใหม่หรือน่าตื่นตาไปกว่าที่เคยเห็นมาในเกมอื่นนัก ถ้ามองโครงสร้างของเกมในภาพใหญ่ Cyberpunk 2077 ก็คงไม่ได้ต่างจากเกม RPG โลกเปิดอย่าง Fallout หรือ Mass Effect มากขนาดนั้น ด้วยความเป็นเกม RPG ที่ให้ความสำคัญกับระบบบทสนทนา แต่ในขณะเดียวกับ เกม Cyberpunk 2077 ก็เปรียบเสมือนจุดสูงสุดของการออกแบบเกม Open World ทั้งหมดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยโลกที่ละเอียดและน่าค้นหาที่พร้อมจะเซอร์ไพรส์เราด้วยเรื่องราวอันหลากหลายทั้งอารมณ์และรสชาติเกี่ยวกับชีวิตในมหานคร Night City เมืองแห่งอนาคตและอิสระที่สวยงามและโสมมในเวลาเดียวกัน ทั้งยังมีระบบเกมเพลย์ที่สนับสนุนให้ผู้เล่นแต่ละคนได้มีโอกาสแสดงออกถึงความเป็นตัวเอง และให้รางวัลกับคนที่ยินดีจะเรียนรู้ระบบ RPG อันซับซ้อนนี้จริงๆ      แม้จะไม่ใช่เกมที่จะกลายเป็นตำนานชั่วข้ามคืน แต่ Cyberpunk 2077 ก็เป็นผลลัพธ์ของการขัดเกลาระบบเกมเพลย์หลายๆ อย่างที่เห็นในวงการเกมในยุคที่ผ่านมาจนเปล่งประกาย และถือเป็นหนึ่งในเกม RPG ที่ดีและลึกเป็นอันดับต้นๆ ในรอบหลายปีมานี้อย่างแน่นอน *อ่านรีวิวช่วงต้นเกม (คลิ๊ก) และรีวิวอัปเดท 1 (คลิ๊ก) เพื่ออ่านความเห็นและรับชมภาพบทบรรยายไทย ตำนานที่มีชีวิต สำหรับคนที่อาจไม่ทราบ เกม Cyberpunk 2077 จะติดตามตัวละครเอกที่ชื่อ ‘V’ ทหารรับจ้างหน้าใหม่ที่ใฝ่ฝันอยากจะเป็นตำนานในมหานคร Night City บ้านเกิดของเขา แต่หลังจากที่ภารกิจหนึ่งของเขาเกิดผิดพลาดขึ้นมาอย่างร้ายแรง ทำให้ V ถูกปลูกถ่ายจิดสำนึกของนักร๊อคและ “ผู้ก่อการร้าย” ในตำนานอย่าง Johnny Silverhand เอาไว้ในหัว และทำให้จิตสำนึกแปลกปลอมนั้นค่อยๆ กัดกินสมองของเขาไปเรื่อยๆ โดย V จะต้องแข่งกับเวลาเพื่อหาวิธีรักษาชีวิตตัวเอง พร้อมกับไขปริศนาเบื้องหลังภารกิจอันผิดพลาดนั้น อย่างที่น่าจะพอทราบกันดีจากรายงานของสื่อต่างชาติที่มีเวลารีวิวเกมมากกว่าผู้เขียน เนื้อเรื่องของเกม Cyberpunk 2077 จะค่อนข้างสั้น และสามารถเล่นให้จบได้ในระยะเวลาไม่เกิน 20-25 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งจากที่เล่นมาก็ดูจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะพอผู้เขียนตัดสินใจนั่งเล่นเนื้อเรื่องอย่างเดียวเพื่อให้จบเกมเร็วที่สุด ก็พบว่าที่รู้สึกเหมือนอยู่กลางๆ เรื่องมันใกล้จะจบแล้ว และเล่นต่อไปอีกไม่เยอะก็พบฉากจบแล้ว โดยถ้าให้วิจารณ์ในแง่ของภารกิจเนื้อเรื่องเพียวๆ ก็คงต้องบอกว่าเนื้อเรื่องของเกม Cyberpunk 2077 เขียนบทมาได้อย่างเข้มข้นและน่าติดตาม พร้อมกับมีตัวละครที่ล้วนมีแง่มุมที่น่าสนใจของตัวเอง แต่ก็ไม่ใช่อะไรที่น่าตื่นเต้นหรือแตกต่างจากเกม RPG ที่มีตอนจบหลายแบบที่เคยเล่นมา แต่สิ่งที่น่าสนใจจริงๆ คือการที่เนื้อเรื่องของเกมสามารถเปลี่ยนแปลงและขยายขอบเขตของตัวเองไปได้ตามเนื้อหาเสริมที่เราเล่น ถ้าให้อธิบายโดยไม่สปอย ผู้เขียนได้มีโอกาสเล่นภารกิจเสริมอันหนึ่งจาก NPC ในเนื้อเรื่อง โดยภายในภารกิจผู้เขียนในฐานะ V ก็ได้มีโอกาสคุยเปิดใจกับตัวละครตัวนั้นอย่างลึกซึ้งถึงความเชื่อและความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ จนเหมือนจะช่วยคลายปมในใจบางอย่างให้กับ NPC ตัวนั้นได้ เป็นบทสนทนาที่น่าสนใจแต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่าจะสำคัญอะไรต่อเนื้อเรื่องขนาดนั้น แต่เมื่อไปถึงช่วงใกล้ๆ จบเนื้อเรื่อง ผู้เขียนก็ได้พบกับทางเลือกหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่าต่อยอดมาจากทางเลือกที่ว่านี้ โดยตัวละครดังกล่าวเป็นคนพูดออกมาเองว่าถ้าไม่ได้มีบทสนทนานั้น ก็คงไม่ได้นำมาสู่เรื่องราวเช่นนี้ หมายความว่าถ้าไม่ได้เล่นภารกิจเสริมที่ว่านั้น ตอนจบของผู้เขียนก็อาจจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงเลยก็ได้ ซึ่งไม่แน่ใจว่ายังมีอีกกี่ภารกิจเสริมที่จะส่งผลต่อตอนจบได้แบบนี้อีก แต่ก็หมายความว่ายิ่งเราทำภารกิจเสริมมากเท่าไหร่ โดยเฉพาะภารกิจเสริมที่เกี่ยวข้องกับตัวละครเหล่านี้ ก็ยิ่งทำให้มีโอกาสได้พบกับตอนจบหลากหลายขึ้นเท่านั้น มาถึงตรงนี้ บางคนอาจสงสัยว่าแล้วมันต่างกับที่พบในเกมอย่าง Fallout 4 อย่างไร? ก็ต้องบอกว่าแม้ในภาพใหญ่อาจไม่ต่างมาก แต่วิธีที่ Cyberpunk 2077 ผูกโยงเรื่องราวเหล่านี้เข้าด้วยกันต่างหากที่ทำให้เกมรู้สึกน่าทึ่ง เหตุการณ์ที่จะส่งผลต่อเนื้อเรื่องอย่างเป็นนัยยะสำคัญไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุการณ์ใหญ่ๆ เท่านั้น แต่บางครั้งแค่บทสนทนาธรรมดาๆ เกี่ยวกับชีวิตก็อาจย้อนกลับมามีความสำคัญในแบบที่ไม่ได้จินตนาการเอาไว้ในตอนแรก ทำให้ Cyberpunk 2077 รู้สึกมีความเป็น “มนุษย์” หรืออาจะเรียกว่าความ “เป็นธรรมชาติ” (ถ้าเป็นภาษาอังกฤษคงใช้คำว่า ‘organic’) ในแบบที่เกมปลายเปิดลักษณะเดียวกันเทียบไม่ติดเลย เมื่อมนุษย์คืออาวุธที่น่ากลัวที่สุด แม้ว่าการต่อสู้ของ Cyberpunk 2077 จะค่อนข้างจำกัดในชั่วโมงแรกๆ ของเกม (เอาจริงๆ ก็เป็นสิบชั่วโมงอยู่เหมือนกัน) ที่ผู้เล่นยังเข้าไม่ถึงอาวุธและ Cyberware ที่น่าสนใจ และรู้สึกไม่ค่อยต่างจากเกมแอคชั่น FPS ทั่วไปเท่าไหร่ แต่เกมก็เริ่มเปิดกว้างขึ้นเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลาที่เล่นเช่นกัน ยิ่งผู้เล่นสามารถปลดล๊อค Perk และ Cyberware ได้เยอะเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเปิดทางเลือกให้กับผู้เล่นมากขึ้นเรื่อยๆ ความน่าสนใจอีกอย่างของเกมอยู่ที่ระบบการพัฒนาตัวละคร ที่ทำให้ผู้เล่นสามารถพัฒนาตัวละครได้ตามใจอยากแค่จากการเล่นเกมตามที่อยากเล่น เพราะนอกจากระบบ Perk และ Attribute ที่จะพัฒนาขึ้นตามการอัปเลเวลแล้ว ยังมีระบบความชำนาญที่จะมอบโบนัสต่างๆ ให้ผู้เล่นตามการกระทำของเราอีกด้วย อย่างผู้เขียนค่อนข้างจะเน้นการอัปเกรด Attribute Reflex (การตอบสนอง) ที่ทำให้ผู้เขียนได้รับโบนัสจากการใช้อาวุธดาบ แต่เมื่อเล่นเกมไปเรื่อยๆ ก็พบว่าต้องใช้การแฮ๊คเยอะ ทำให้ผู้เขียนได้รับความชำนาญในด้านนั้นเพิ่มขึ้นตลอดที่เล่น และทำให้ได้รับโบนัสสำหรับทักษะการแฮ๊คไปด้วย แน่นอนว่าสุดท้ายทุกอย่างก็ยังขึ้นกับค่า Attribute ที่จะกำหนดว่าเราจะอัปเกรด Perk อะไรได้บ้าง จากการทดลองเล่นในระดับความยากปานกลาง พบว่าระดับความท้าทายของเกมโดยรวมจะค่อนไปทางง่ายซะมากกว่าโดยเฉพาะเมื่อเราอัปเกรดตัวละครไปถึงจุดหนึ่งแล้ว ยกตัวอย่างเช่นในกรณีของผู้เขียน ได้เลือกที่จะเน้นไปที่ความสามารถด้านการใช้ดาบควบคู่กับ Perk สายร่างกายที่ทำให้ถึกทนและฟื้นฟูพลังชีวิตเร็วขึ้น ซึ่งพออัปเกรดทั้งของสวมใส่และ Perk ถึงจุดหนึ่งก็พบว่าแทบจะสามารถวิ่งฝ่ากระสุนเข้าไปฟันหัวศัตรูทีละตัวโดยแทบไม่ต้องกลัวตายเลย แม้จะยอมรับว่าสะใจยิ่งนัก แต่ก็ทำให้เกมช่วงท้ายๆ รู้สึกง่ายไปเลยเช่นกัน จุดอ่อนอย่างหนึ่งของเกมมาจากการที่อาวุธและ Cyberware ที่ส่งผลต่อเกมเพลย์มากๆ มักจะถูกกันออกไปไว้ช่วงท้ายหมดเลย ไม่ว่าจะเพราะต้องการระดับ Street Cred สูง หรือไม่ก็ต้องใช้ Attribute สูงระดับหนึ่ง ส่งผลให้เกมเพลย์ช่วงต้นๆ รู้สึกธรรมดาๆ ไปซะหน่อย และกว่าจะเริ่มรู้สึกว่ามันเปิดกว้างให้เรามากขึ้นก็ปาไป 20 ชั่วโมงแล้วสำหรับผู้เขียน ซึ่งถ้าใครไม่ทำภารกิจเสริมเลย หรือทำน้อย เผลอๆ จะเล่นเนื้อเรื่องจบก่อนจะได้ลองใช้ Cyberware เท่ๆ เลยด้วยซ้ำ มหานครแห่งแสง สี และ RTX อีกหนึ่งแรงขับสำคัญเบื้องหลังความน่าทึ่งของเกมคงหนีไม่พ้นกราฟิกและการนำเสนอ ที่ทำให้เมือง Night City รู้สึกเป็น “โลกที่มีชีวิต” อย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อนในเกมไหนๆ ซึ่งในจุดนี้ต้องกล่าวชมทีมออกแบบของผู้พัฒนา CD PROJEKT RED มากๆ ที่สามารถทำให้โลกของเกม Open World นี้รู้สึกละเอียดไม่ต่างจากเกมแนวเส้นตรงหลายเกมที่ผ่านมา จนไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็รู้สึกเหมือนทุกกระเบียดนิ้วของเมือง Night City ถูกออกแบบและจัดวางมาอย่างตั้งใจ ทำให้เมืองรู้สึกมีเรื่องราวหรือประวัติศาสตร์ในแบบที่คล้ายกับสถานที่จริงอย่างไรอย่างนั้น สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนชอบมากๆ คือการที่แต่ละเขตจะมีบุคลิกที่ชัดเจนมากๆ ของตัวเอง ที่สะท้อนออกมาทั้งทางการออกแบบถนนหนทางและอาคาร ไปจนถึงการแต่งตัวของประชากรและอาชญากรในเขตนั้นๆ เปรียบเสมือนกับว่าแต่ละเขตเป็น “เมือง” ย่อมๆ ในเกม RPG แฟนตาซีที่มักจะมีธีมและเนื้อเรื่องของตัวเอง โดยแต่ละเขตในเมือง Night City ที่เราเยี่ยมเยียมจะมี NPC ที่เรียกว่า Fixer คอยมอบงานให้เรา ซึ่งงานเหล่านี้ก็มักจะแสดงออกถึงวิถีชีวิตของแต่ละเขตอีกด้วย ทำให้รู้สึกราวกับว่าเกมมีเรื่องราวใหม่ๆ มานำเสนอให้เราตลอดเวลา แม้กระทั่งเมื่อจบเนื้อเรื่องไปแล้วกลับมาเล่นก็ตาม  สำหรับการรีวิว ผู้เขียนได้ทดลองเล่นเกมบนเครื่อง PC ที่มีการ์ดจอ RTX 2060 และ 16GB RAM โดยเล่นเกมส่วนใหญ่ที่การตั้งค่ากราฟิก Preset Ray Tracing - Medium ซึ่งพบว่าเกมสามารถแสดงผลได้ที่ประมาณ 40-45 FPS (ตกไปถึง 35 เวลาบู๊ๆ) และสามารถดันได้ถึง RTX Ultra แลกกับเฟรมเรต 30 FPS ซึ่งถือว่าดีกว่าที่คาดเอาไว้ประมาณหนึ่ง คนที่กลัวว่าคอมพิวเตอร์ของตัวเองจะเล่นเกมไม่ไหวไม่น่าจะมีอะไรต้องห่วง ตราบใดที่มีคอม Spec ขั้นต่ำคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหากับการเล่นเกม (ตั้งค่าได้เท่าไหร่อีกเรื่องหนึ่ง) อีกอย่างที่ต้องไม่ลืมคือเกมเวอร์ชั่นทีเล่นเพื่อรีวิวนี้ยังไม่ได้อัปเดทแพทช์ Day One ที่ว่ากันว่าจะปรับปรุงการทำงานของเกม แถมยังไม่ได้อัปเดท Driver ของการ์ดจอ และมีซอฟต์แวร์ Denuvo Anti-Tampering มาฉุดเฟรมเรตของเกมลงอีก โดยเชื่อได้ว่าเกมเวอร์ชั่นที่ผู้เล่นทุกคนได้รับการน่าจะมีปัญหาน้อยกว่าเวอร์ชั่นที่ผู้เขียนเจอ  สรุป แม้จะไม่ใช่เกมที่เปรียบเสมือนตัวแทนแห่ง Next-Gen ที่หลายคนหวังจะเห็น แต่นั่นก็ไม่ใช่คำตำหนิเลยสำหรับ Cyberpunk 2077 เกมที่เปรียบเสมือนร่างสุดยอดของแนวคิดการออกแบบเกม Open World โดยรวมตลอดทศวรรตที่ผ่านมา ที่ทั้งสนุกและน่าหลงใหลได้ไม่รู้จบ ราวกับการนั่งดูซีรี่ส์ไซไฟดราม่าเข้มข้นหลายซีซั่นในเกมเดียว ที่สำคัญคือเกมเป็นเกมที่ยิ่งให้เวลาสำรวจโลกของเกมได้เท่าไหร่ ก็จะยิ่งเปิดกว้างและหลากหลายขึ้นเท่านั้น หากคุณเคยเล่นเกม Open World อะไรก็แล้วแต่ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาแล้วชอบ เชื่อได้เลยว่า Cyberpunk 2077 จะมีอะไรให้คุณแน่นอน
09 Dec 2020
GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
ผลการค้นหา : "ระบบเกมช"
Final Review: Cyberpunk 2077
หลังจากที่ปล่อยให้ผู้เล่นเฝ้ารอกันมาเกือบสิบปี นับตั้งแต่ที่เกมประกาศเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกในปี 2012 บวกกับความคาดหวังในฝีมือและคำสัญญามากมายของผู้พัฒนา CD PROJEKT RED เกี่ยวกับความลึกล้ำของเกมที่พวกเขาต้องการจะสร้าง คงเป็นเรื่องธรรมดาที่เกม Cyberpunk 2077 จะต้องแบกรับความคาดหวังมโหฬารจากเกมเมอร์ทั่วโลกในฐานะเกม RPG โลกเปิดที่จะยกระดับประสบการณ์การเล่นเกมของผู้เล่นในแบบที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน หลังจากที่เล่นเกมมาเป็นเวลาเกือบ 40 ชั่วโมงจนจบเนื้อเรื่อง ถ้าถามว่าเกม Cyberpunk 2077 นับเป็นเกมที่จะพลิกความคาดหวังของผู้เล่นอย่างที่หลายคนอยากเห็นหรือไม่ คำตอบที่มอบได้คงเป็น “ไม่” ด้วยระบบเกมเพลย์ที่เอาจริงๆ ก็ไม่ได้ใหม่หรือน่าตื่นตาไปกว่าที่เคยเห็นมาในเกมอื่นนัก ถ้ามองโครงสร้างของเกมในภาพใหญ่ Cyberpunk 2077 ก็คงไม่ได้ต่างจากเกม RPG โลกเปิดอย่าง Fallout หรือ Mass Effect มากขนาดนั้น ด้วยความเป็นเกม RPG ที่ให้ความสำคัญกับระบบบทสนทนา แต่ในขณะเดียวกับ เกม Cyberpunk 2077 ก็เปรียบเสมือนจุดสูงสุดของการออกแบบเกม Open World ทั้งหมดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยโลกที่ละเอียดและน่าค้นหาที่พร้อมจะเซอร์ไพรส์เราด้วยเรื่องราวอันหลากหลายทั้งอารมณ์และรสชาติเกี่ยวกับชีวิตในมหานคร Night City เมืองแห่งอนาคตและอิสระที่สวยงามและโสมมในเวลาเดียวกัน ทั้งยังมีระบบเกมเพลย์ที่สนับสนุนให้ผู้เล่นแต่ละคนได้มีโอกาสแสดงออกถึงความเป็นตัวเอง และให้รางวัลกับคนที่ยินดีจะเรียนรู้ระบบ RPG อันซับซ้อนนี้จริงๆ      แม้จะไม่ใช่เกมที่จะกลายเป็นตำนานชั่วข้ามคืน แต่ Cyberpunk 2077 ก็เป็นผลลัพธ์ของการขัดเกลาระบบเกมเพลย์หลายๆ อย่างที่เห็นในวงการเกมในยุคที่ผ่านมาจนเปล่งประกาย และถือเป็นหนึ่งในเกม RPG ที่ดีและลึกเป็นอันดับต้นๆ ในรอบหลายปีมานี้อย่างแน่นอน *อ่านรีวิวช่วงต้นเกม (คลิ๊ก) และรีวิวอัปเดท 1 (คลิ๊ก) เพื่ออ่านความเห็นและรับชมภาพบทบรรยายไทย ตำนานที่มีชีวิต สำหรับคนที่อาจไม่ทราบ เกม Cyberpunk 2077 จะติดตามตัวละครเอกที่ชื่อ ‘V’ ทหารรับจ้างหน้าใหม่ที่ใฝ่ฝันอยากจะเป็นตำนานในมหานคร Night City บ้านเกิดของเขา แต่หลังจากที่ภารกิจหนึ่งของเขาเกิดผิดพลาดขึ้นมาอย่างร้ายแรง ทำให้ V ถูกปลูกถ่ายจิดสำนึกของนักร๊อคและ “ผู้ก่อการร้าย” ในตำนานอย่าง Johnny Silverhand เอาไว้ในหัว และทำให้จิตสำนึกแปลกปลอมนั้นค่อยๆ กัดกินสมองของเขาไปเรื่อยๆ โดย V จะต้องแข่งกับเวลาเพื่อหาวิธีรักษาชีวิตตัวเอง พร้อมกับไขปริศนาเบื้องหลังภารกิจอันผิดพลาดนั้น อย่างที่น่าจะพอทราบกันดีจากรายงานของสื่อต่างชาติที่มีเวลารีวิวเกมมากกว่าผู้เขียน เนื้อเรื่องของเกม Cyberpunk 2077 จะค่อนข้างสั้น และสามารถเล่นให้จบได้ในระยะเวลาไม่เกิน 20-25 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งจากที่เล่นมาก็ดูจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะพอผู้เขียนตัดสินใจนั่งเล่นเนื้อเรื่องอย่างเดียวเพื่อให้จบเกมเร็วที่สุด ก็พบว่าที่รู้สึกเหมือนอยู่กลางๆ เรื่องมันใกล้จะจบแล้ว และเล่นต่อไปอีกไม่เยอะก็พบฉากจบแล้ว โดยถ้าให้วิจารณ์ในแง่ของภารกิจเนื้อเรื่องเพียวๆ ก็คงต้องบอกว่าเนื้อเรื่องของเกม Cyberpunk 2077 เขียนบทมาได้อย่างเข้มข้นและน่าติดตาม พร้อมกับมีตัวละครที่ล้วนมีแง่มุมที่น่าสนใจของตัวเอง แต่ก็ไม่ใช่อะไรที่น่าตื่นเต้นหรือแตกต่างจากเกม RPG ที่มีตอนจบหลายแบบที่เคยเล่นมา แต่สิ่งที่น่าสนใจจริงๆ คือการที่เนื้อเรื่องของเกมสามารถเปลี่ยนแปลงและขยายขอบเขตของตัวเองไปได้ตามเนื้อหาเสริมที่เราเล่น ถ้าให้อธิบายโดยไม่สปอย ผู้เขียนได้มีโอกาสเล่นภารกิจเสริมอันหนึ่งจาก NPC ในเนื้อเรื่อง โดยภายในภารกิจผู้เขียนในฐานะ V ก็ได้มีโอกาสคุยเปิดใจกับตัวละครตัวนั้นอย่างลึกซึ้งถึงความเชื่อและความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ จนเหมือนจะช่วยคลายปมในใจบางอย่างให้กับ NPC ตัวนั้นได้ เป็นบทสนทนาที่น่าสนใจแต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่าจะสำคัญอะไรต่อเนื้อเรื่องขนาดนั้น แต่เมื่อไปถึงช่วงใกล้ๆ จบเนื้อเรื่อง ผู้เขียนก็ได้พบกับทางเลือกหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่าต่อยอดมาจากทางเลือกที่ว่านี้ โดยตัวละครดังกล่าวเป็นคนพูดออกมาเองว่าถ้าไม่ได้มีบทสนทนานั้น ก็คงไม่ได้นำมาสู่เรื่องราวเช่นนี้ หมายความว่าถ้าไม่ได้เล่นภารกิจเสริมที่ว่านั้น ตอนจบของผู้เขียนก็อาจจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงเลยก็ได้ ซึ่งไม่แน่ใจว่ายังมีอีกกี่ภารกิจเสริมที่จะส่งผลต่อตอนจบได้แบบนี้อีก แต่ก็หมายความว่ายิ่งเราทำภารกิจเสริมมากเท่าไหร่ โดยเฉพาะภารกิจเสริมที่เกี่ยวข้องกับตัวละครเหล่านี้ ก็ยิ่งทำให้มีโอกาสได้พบกับตอนจบหลากหลายขึ้นเท่านั้น มาถึงตรงนี้ บางคนอาจสงสัยว่าแล้วมันต่างกับที่พบในเกมอย่าง Fallout 4 อย่างไร? ก็ต้องบอกว่าแม้ในภาพใหญ่อาจไม่ต่างมาก แต่วิธีที่ Cyberpunk 2077 ผูกโยงเรื่องราวเหล่านี้เข้าด้วยกันต่างหากที่ทำให้เกมรู้สึกน่าทึ่ง เหตุการณ์ที่จะส่งผลต่อเนื้อเรื่องอย่างเป็นนัยยะสำคัญไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุการณ์ใหญ่ๆ เท่านั้น แต่บางครั้งแค่บทสนทนาธรรมดาๆ เกี่ยวกับชีวิตก็อาจย้อนกลับมามีความสำคัญในแบบที่ไม่ได้จินตนาการเอาไว้ในตอนแรก ทำให้ Cyberpunk 2077 รู้สึกมีความเป็น “มนุษย์” หรืออาจะเรียกว่าความ “เป็นธรรมชาติ” (ถ้าเป็นภาษาอังกฤษคงใช้คำว่า ‘organic’) ในแบบที่เกมปลายเปิดลักษณะเดียวกันเทียบไม่ติดเลย เมื่อมนุษย์คืออาวุธที่น่ากลัวที่สุด แม้ว่าการต่อสู้ของ Cyberpunk 2077 จะค่อนข้างจำกัดในชั่วโมงแรกๆ ของเกม (เอาจริงๆ ก็เป็นสิบชั่วโมงอยู่เหมือนกัน) ที่ผู้เล่นยังเข้าไม่ถึงอาวุธและ Cyberware ที่น่าสนใจ และรู้สึกไม่ค่อยต่างจากเกมแอคชั่น FPS ทั่วไปเท่าไหร่ แต่เกมก็เริ่มเปิดกว้างขึ้นเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลาที่เล่นเช่นกัน ยิ่งผู้เล่นสามารถปลดล๊อค Perk และ Cyberware ได้เยอะเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเปิดทางเลือกให้กับผู้เล่นมากขึ้นเรื่อยๆ ความน่าสนใจอีกอย่างของเกมอยู่ที่ระบบการพัฒนาตัวละคร ที่ทำให้ผู้เล่นสามารถพัฒนาตัวละครได้ตามใจอยากแค่จากการเล่นเกมตามที่อยากเล่น เพราะนอกจากระบบ Perk และ Attribute ที่จะพัฒนาขึ้นตามการอัปเลเวลแล้ว ยังมีระบบความชำนาญที่จะมอบโบนัสต่างๆ ให้ผู้เล่นตามการกระทำของเราอีกด้วย อย่างผู้เขียนค่อนข้างจะเน้นการอัปเกรด Attribute Reflex (การตอบสนอง) ที่ทำให้ผู้เขียนได้รับโบนัสจากการใช้อาวุธดาบ แต่เมื่อเล่นเกมไปเรื่อยๆ ก็พบว่าต้องใช้การแฮ๊คเยอะ ทำให้ผู้เขียนได้รับความชำนาญในด้านนั้นเพิ่มขึ้นตลอดที่เล่น และทำให้ได้รับโบนัสสำหรับทักษะการแฮ๊คไปด้วย แน่นอนว่าสุดท้ายทุกอย่างก็ยังขึ้นกับค่า Attribute ที่จะกำหนดว่าเราจะอัปเกรด Perk อะไรได้บ้าง จากการทดลองเล่นในระดับความยากปานกลาง พบว่าระดับความท้าทายของเกมโดยรวมจะค่อนไปทางง่ายซะมากกว่าโดยเฉพาะเมื่อเราอัปเกรดตัวละครไปถึงจุดหนึ่งแล้ว ยกตัวอย่างเช่นในกรณีของผู้เขียน ได้เลือกที่จะเน้นไปที่ความสามารถด้านการใช้ดาบควบคู่กับ Perk สายร่างกายที่ทำให้ถึกทนและฟื้นฟูพลังชีวิตเร็วขึ้น ซึ่งพออัปเกรดทั้งของสวมใส่และ Perk ถึงจุดหนึ่งก็พบว่าแทบจะสามารถวิ่งฝ่ากระสุนเข้าไปฟันหัวศัตรูทีละตัวโดยแทบไม่ต้องกลัวตายเลย แม้จะยอมรับว่าสะใจยิ่งนัก แต่ก็ทำให้เกมช่วงท้ายๆ รู้สึกง่ายไปเลยเช่นกัน จุดอ่อนอย่างหนึ่งของเกมมาจากการที่อาวุธและ Cyberware ที่ส่งผลต่อเกมเพลย์มากๆ มักจะถูกกันออกไปไว้ช่วงท้ายหมดเลย ไม่ว่าจะเพราะต้องการระดับ Street Cred สูง หรือไม่ก็ต้องใช้ Attribute สูงระดับหนึ่ง ส่งผลให้เกมเพลย์ช่วงต้นๆ รู้สึกธรรมดาๆ ไปซะหน่อย และกว่าจะเริ่มรู้สึกว่ามันเปิดกว้างให้เรามากขึ้นก็ปาไป 20 ชั่วโมงแล้วสำหรับผู้เขียน ซึ่งถ้าใครไม่ทำภารกิจเสริมเลย หรือทำน้อย เผลอๆ จะเล่นเนื้อเรื่องจบก่อนจะได้ลองใช้ Cyberware เท่ๆ เลยด้วยซ้ำ มหานครแห่งแสง สี และ RTX อีกหนึ่งแรงขับสำคัญเบื้องหลังความน่าทึ่งของเกมคงหนีไม่พ้นกราฟิกและการนำเสนอ ที่ทำให้เมือง Night City รู้สึกเป็น “โลกที่มีชีวิต” อย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อนในเกมไหนๆ ซึ่งในจุดนี้ต้องกล่าวชมทีมออกแบบของผู้พัฒนา CD PROJEKT RED มากๆ ที่สามารถทำให้โลกของเกม Open World นี้รู้สึกละเอียดไม่ต่างจากเกมแนวเส้นตรงหลายเกมที่ผ่านมา จนไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็รู้สึกเหมือนทุกกระเบียดนิ้วของเมือง Night City ถูกออกแบบและจัดวางมาอย่างตั้งใจ ทำให้เมืองรู้สึกมีเรื่องราวหรือประวัติศาสตร์ในแบบที่คล้ายกับสถานที่จริงอย่างไรอย่างนั้น สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนชอบมากๆ คือการที่แต่ละเขตจะมีบุคลิกที่ชัดเจนมากๆ ของตัวเอง ที่สะท้อนออกมาทั้งทางการออกแบบถนนหนทางและอาคาร ไปจนถึงการแต่งตัวของประชากรและอาชญากรในเขตนั้นๆ เปรียบเสมือนกับว่าแต่ละเขตเป็น “เมือง” ย่อมๆ ในเกม RPG แฟนตาซีที่มักจะมีธีมและเนื้อเรื่องของตัวเอง โดยแต่ละเขตในเมือง Night City ที่เราเยี่ยมเยียมจะมี NPC ที่เรียกว่า Fixer คอยมอบงานให้เรา ซึ่งงานเหล่านี้ก็มักจะแสดงออกถึงวิถีชีวิตของแต่ละเขตอีกด้วย ทำให้รู้สึกราวกับว่าเกมมีเรื่องราวใหม่ๆ มานำเสนอให้เราตลอดเวลา แม้กระทั่งเมื่อจบเนื้อเรื่องไปแล้วกลับมาเล่นก็ตาม  สำหรับการรีวิว ผู้เขียนได้ทดลองเล่นเกมบนเครื่อง PC ที่มีการ์ดจอ RTX 2060 และ 16GB RAM โดยเล่นเกมส่วนใหญ่ที่การตั้งค่ากราฟิก Preset Ray Tracing - Medium ซึ่งพบว่าเกมสามารถแสดงผลได้ที่ประมาณ 40-45 FPS (ตกไปถึง 35 เวลาบู๊ๆ) และสามารถดันได้ถึง RTX Ultra แลกกับเฟรมเรต 30 FPS ซึ่งถือว่าดีกว่าที่คาดเอาไว้ประมาณหนึ่ง คนที่กลัวว่าคอมพิวเตอร์ของตัวเองจะเล่นเกมไม่ไหวไม่น่าจะมีอะไรต้องห่วง ตราบใดที่มีคอม Spec ขั้นต่ำคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหากับการเล่นเกม (ตั้งค่าได้เท่าไหร่อีกเรื่องหนึ่ง) อีกอย่างที่ต้องไม่ลืมคือเกมเวอร์ชั่นทีเล่นเพื่อรีวิวนี้ยังไม่ได้อัปเดทแพทช์ Day One ที่ว่ากันว่าจะปรับปรุงการทำงานของเกม แถมยังไม่ได้อัปเดท Driver ของการ์ดจอ และมีซอฟต์แวร์ Denuvo Anti-Tampering มาฉุดเฟรมเรตของเกมลงอีก โดยเชื่อได้ว่าเกมเวอร์ชั่นที่ผู้เล่นทุกคนได้รับการน่าจะมีปัญหาน้อยกว่าเวอร์ชั่นที่ผู้เขียนเจอ  สรุป แม้จะไม่ใช่เกมที่เปรียบเสมือนตัวแทนแห่ง Next-Gen ที่หลายคนหวังจะเห็น แต่นั่นก็ไม่ใช่คำตำหนิเลยสำหรับ Cyberpunk 2077 เกมที่เปรียบเสมือนร่างสุดยอดของแนวคิดการออกแบบเกม Open World โดยรวมตลอดทศวรรตที่ผ่านมา ที่ทั้งสนุกและน่าหลงใหลได้ไม่รู้จบ ราวกับการนั่งดูซีรี่ส์ไซไฟดราม่าเข้มข้นหลายซีซั่นในเกมเดียว ที่สำคัญคือเกมเป็นเกมที่ยิ่งให้เวลาสำรวจโลกของเกมได้เท่าไหร่ ก็จะยิ่งเปิดกว้างและหลากหลายขึ้นเท่านั้น หากคุณเคยเล่นเกม Open World อะไรก็แล้วแต่ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาแล้วชอบ เชื่อได้เลยว่า Cyberpunk 2077 จะมีอะไรให้คุณแน่นอน
09 Dec 2020