GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
Review-In-Progress: Cyberpunk 2077 [NO SPOILER]
ลงวันที่ 07/12/2020

ตั้งแต่ที่ประกาศเปิดตัวครั้งแรกในปี 2012 เกม Cyberpunk 2077 ก็กลายเป็นหนึ่งในเกมที่ได้รับการรอคอยมากที่สุดของเกมเมอร์หลายๆ คนแทบจะชั่วข้ามคืน ทั้งจากชื่อเสียงอันเลื่องลือของผู้พัฒนา CD PROJEKT RED และผลงาน The Witcher 3 ที่ได้รับความนิยมถล่มทลาย ไปจนถึงจักรวาลต้นฉบับ Cyberpunk 2020 ที่เกมใช้อ้างอิง ซึ่งได้รับความนิยมมากในหมู่เกมเมอร์รุ่นเก๋าที่เติมโตมาในยุคของเกม RPG ตั้งโต๊ะทั้งหลาย

ตั้งแต่ที่ได้โค้ดเกมเวอร์ชั่น PC มาจากผู้พัฒนา CD PROJEKT RED เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ผู้เขียนได้ลองเล่นเกมไปแล้วราว 20 ชั่วโมง และทำให้ได้เห็นภาพของสุดยอดเกมแห่งปี 2020 มากกว่าเดิมพอสมควร แต่ด้วยขนาดของเกมและเนื้อหาเสริมที่มีอยู่เยอะจนตาลาย ทำให้ยังรู้สึกเหมือนเพิ่งสัมผัสเกมได้เพียงผิวเผินเท่านั้น และยังมีองค์ประกอบสำคัญหลายๆ อย่างที่ยังไม่มีโอกาสได้สัมผัส เช่นอาวุธหรือ Cyberware ระดับสูงทั้งหลาย รวมไปถึงผลของทางเลือกในระยะยาว



ด้วยประการฉะนี้ เราจึงเลือกที่จะยังไม่ให้คะแนนเกมในรีวิวนี้ทันที แต่จะทำการอัปเดทความเห็นความรู้สึกของผู้เขียนไปเรื่อยๆ จนกว่าที่เกมจะวางจำหน่ายในวันที่ 10 ธันวาคมนี้ เพื่อให้สามารถวิจารณ์แง่มุมต่างๆ ของเกมได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนมากที่สุด

หากใครมีคำถามที่อยากรู้เกี่ยวกับเกม ที่ไม่ได้รับการตอบในบทความนี้ สามารถคอมเมนต์เข้ามาถามเอาไว้ได้ แล้วเราจะพยายามตอบคำถามของคุณในอัปเดทบทความครั้งถัดไป

หมายเหตุ: เกมเวอร์ชั่นรีวิวนี้จะยังไม่ได้รับการปรับปรุงจาก Day One Patch และจะมีโปรแกรม Denuvo Anti-Tampering เข้ามาด้วยเพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเกมช่วงก่อนวางจำหน่าย ทำให้อาจจะมีข้อบกพร่องบางประการที่ผู้เขียนพบ แต่ผู้เล่นจะไม่พบ ต้องรอดูกันอีกทีว่าแพทช์ดังกล่าวจะปรับแก้อะไรบ้าง

(อ่านช่วงอัปเดทด้านล่าง)

*ขอขอบคุณบริษัท CD PROJEKT RED สำหรับโค้ดรีวิว และบริษัท Sicom, Nvidia สำหรับอุปกรณ์รีวิว*




ชะตากรรมของนักเลงแห่งโลกอนาคตที่คุณเป็นคนลิขิต


เนื้อเรื่องของเกม Cyberpunk 2077 จะเล่าเรื่องราวของตัวเอกที่ชื่อว่า V ทหารรับจ้างหน้าใหม่ไฟแรงของเมือง Night City ผู้ซึ่งถูกดึงเข้าไปพัวพันกับแผนการแย่งชิงอำนาจของเหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ (ที่เกมเรียกว่าเหล่า Megacorp) ที่ปกครองเมือง และต้องใช้เวลาที่เหลืออยู่ของเขาในการไขปริศนาเบื้องหลังเหตุการณ์ทั้งหมด โดยสิ่งที่ผู้พัฒนายกเป็นจุดขายสำคัญมาโดยตลอดคือเรื่องของทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของเสื้อผ้า หน้าตา หรือคำพูดของตัวละคร ที่ล้วนแล้วแต่จะส่งผลต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้น

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าด้วยระยะเวลาเล่นที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้เรายังไม่อยากวิจารณ์เนื้อเรื่องในภาพใหญ่ แต่จากระยะเวลาที่ทดลองเล่น พบว่าเนื้อเรื่องของเกมมีความเข้มข้นและ "เป็นผู้ใหญ่" ในแบบที่น้อยเกมจะกล้าทำ เกมให้เวลากับการพัฒนาตัวละครและเหตุการณ์ต่างๆ เยอะมากจนในบางครั้งเราอาจจะเล่นเกมเป็นชั่วโมงโดยที่คุยกับ NPC อย่างเดียวเลยก็ได้ ซึ่งในแง่นี้ก็อาจจะถูกใจคนที่ชื่นชอบการเล่น RPG อินๆ เหมือนดูซีรี่ส์ยาวๆ มากกว่าคนที่โหยหาประสบการณ์บู๊กระหน่ำดุเดือดเลือดพล่านแบบหนังฮอลลีวู้ด



เมื่อเริ่มต้นเกมครั้งแรก สิ่งแรกที่ผู้เล่นจะได้พบก็คือหน้าจอการเลือก Lifepath หรือภูมิหลังของตัวละคร และเมนูการสร้างตัวละคร โดยเราสามารถกำหนดรูปร่างหน้าตาของตัวละครได้ตั้งแต่เล็บมือยันอวัยวะเพศ แถมยังสามารถผสมคอมโบเพศตัวละครได้ตามใจอีกด้วย ซึ่งแม้จะเรียกเสียงฮือฮาจากหมู่ผู้เล่นที่ติดตามเกมได้พอสมควร แต่เอาเข้าจริงๆ ระบบสร้างตัวละครของเกมก็ไม่ได้น่าตื่นเต้นอะไร และยังจำกัดกว่าการสร้างตัวละครในเกม RPG อีกหลายๆ เกมด้วยซ้ำ

ที่สำคัญ ทางเลือกเหล่านี้กลับไม่ได้ส่งผลอะไรต่อเกมมากเท่าที่ผู้พัฒนาเคยบอกไว้ และเราแทบจะไม่มีโอกาสได้เห็นหน้าตาของตัวละครเลยในการเล่นทั่วไป (ยกเว้นเวลาเข้าหน้าต่างของสวมใส่) จึงอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้เวลากับการสร้างตัวละครมากนัก โดยทางเลือกที่เห็นว่าน่าจะส่งผลต่อผู้เล่นจริงๆ มีเพียงเสียงพูด (ที่จะสรรพนามทางเพศที่ตัวละครในเกมใช้เรียกเรา) และเล็บมือ (อวัยวะที่เราเห็นได้บ่อยที่สุด) นอกนั้นเอาเข้าจริงอยากเลือกอะไรก็ได้ไม่ต่างกัน



เช่นเดียวกับหน้าตา เมื่ออ้างอิงจากระยะเวลาที่ใช้เล่นเกมมา Lifepath ของตัวละครเองก็ไม่ได้ส่งผลต่อเกมอย่างใหญ่หลวงนัก หลักๆ แล้วก็จะมอบตัวเลือกบทสนทนาประจำสายให้ประปราย แต่ก็ไม่ได้มีทีท่าว่าจะเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ของผู้เล่นอย่างมีนัยยะสำคัญแต่อย่างใด ไม่ได้มีภารกิจเฉพาะสาย Lifepath หรือมีความสามารถหรือเหตุการณ์ใดๆ เพิ่มขึ้นมานอกจากช่วง 1-2 ชั่วโมงแรกของเกม เสมือนเป็นเพียง "สีสัน" อีกระดับหนึ่งมากกว่าจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของเนื้อเรื่อง เช่นผู้เขียนที่เลือกเล่นเป็นตัวละคร Corpo มักจะทำให้สามารถเลือกตัวเลือกบทสนทนาที่เป็นลักษณะ "รู้ทัน" กลโกงของเหล่าตัวละคร NPC ที่เป็นสาย Corpo เช่นเดียวกับเรา หรือช่วยให้เราตีสนิท NPC สายนี้ได้ง่ายขึ้น

แน่นอนว่าถ้าไม่มีทางเลือกเหล่านี้ก็อาจจะทำให้สถานการณ์คลี่คลายไปอีกแบบ แต่ผู้เขียนก็เชื่อว่าสุดท้ายแล้วเราก็ยังสามารถพบกับผลลัพธ์แบบเดียวกันได้แม้ไม่ได้เลือก Lifepath นั้นมาก็ตาม คนที่คาดหวังว่าการเล่นเกม 3 รอบ 3 Lifepath จะได้ประสบการณ์ที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงอาจต้องปรับความคาดหวังกันซักนิด



ทางเลือกที่ส่งผลสำคัญจริงๆ มักจะเกิดขึ้นในบทสนทนาระหว่างภารกิจ ที่อาจจะส่งผลสำคัญต่อเกมจริงๆ เช่นบางตัวเลือกอาจจะทำให้เราเลี่ยงการเผชิญหน้ากับศัตรูกลุ่มใหญ่ได้ หรืออาจจะถึงขนาดเปลี่ยนเป้าหมายของภารกิจไปเลยก็ยังได้ แต่สิ่งที่ยังไม่ชัดเจนจากระยะเวลาที่ได้เล่นคือทางเลือกเหล่านี้จะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อเกมแค่ไหน เช่นถ้าในภารกิจหนึ่งผู้เขียนเลือกเข้าข้างฝ่าย A เพื่อสู้กับฝ่าย B มันจะส่งผลเป็นวงกว้างต่อไปอย่างไร จะมีคนของฝ่าย B มาตามล้างแค้นไหม หรือเนื้อเรื่องหลักจะเปลี่ยนไปไหม ยังเป็นสิ่งที่ยังบอกไม่ได้ในตอนนี้

กล่าวโดยสรุป แม้ว่าเราจะพอฝันธงได้ระดับหนึ่งแล้วว่าทางเลือกทั้งหลายที่เราได้เลือกในช่วงต้นเกมจะไม่ได้ส่งผลต่อเกมที่เหลือขนาดนั้น แต่สิ่งที่ยังตอบลำบากคือเรื่องผลกระทบของทางเลือกบทสนทนาต่อเนื้อเรื่อง ซึ่งน่าจะต้องดูกันต่อไปอีกว่าจะส่งผลมากเท่าที่ผู้พัฒนาเคยคุยไว้แค่ไหน แต่ถ้าพูดถึงคุณภาพของเนื้อเรื่องและบทเท่าที่เล่นมา ก็ต้องบอกว่าเกมให้ความรู้สึกเหมือนกำลังดูซีรี่ส์สืบสวนสอบสวนเข้มข้นๆ เรื่องหนึ่งอยู่ และเพิ่งจะเข้าสู่ช่วงน่าตื่นเต้นจริงๆ เท่านั้นเอง

แถม: สำหรับคนที่อ่านรีวิวนี้ก่อนเกมวางจำหน่าย อยากแนะนำให้ได้ไปศึกษาเนื้อเรื่องและตัวละครจากเกมตั้งโต๊ะ Cyberpunk 2020 ให้ดีๆ เพราะเนื้อเรื่องของเกมจะอ้างอิงถึงตัวละครและเหตุการณ์เหล่านี้อย่างมีนัยยะสำคัญ จึงควรลองหาอ่านซะหน่อยเพื่อกันงง และเพื่อให้เข้าใจถึง "น้ำหนัก" หรือ "ความสำคัญ" ของเหตุการณ์ในเนื้อเรื่องต่อโลกของเกม




ก็บอกแล้วว่าเป็น RPG ไงเล่า!


ในแง่ของความเป็น RPG เกม CP2077 จะแบ่งการพัฒนาตัวละครออกเป็นสองด้านหลักๆ คือเลเวลของตัวละคร ซึ่งจะกำหนดค่า Stat และความสามารถ Perk ที่เราสามารถเลือกอัปเกรดได้ และระดับ Street Cred ซึ่งจะปลดล๊อคไอเทมและ Cyberware ที่เราสามารถซื้อได้นั่นเอง โดยทั้งสองมักจะพัฒนาไปพร้อมๆ กันขึ้นอยู่กับการกระทำของผู้เล่น (ไม่ค่อยชัดเจนนักว่าอะไรเพิ่ม Level เป็นหลัก และอะไรเพิ่ม Street Cred เป็นหลัก)

สำหรับค่า Level ทุกครั้งที่เพิ่มขึ้น เราจะได้รับแต้ม Stat และ Perk มาอย่างละหนึ่งแต้ม โดยค่า Stat จะมีทั้งหมด 5 ค่า (Body, Reflexes, Intelligence, Tech, Cool) ซึ่งจะให้ผลไม่เหมือนกัน Stat หนึ่งอาจเพิ่มพลังชีวิตและการโจมตีระยะประชิด ในขณะที่อีก Stat ลดเวลาในการเติมกระสุนปืนเป็นต้น นอกจากนี้ ในแต่ละ Stat ยังจะมีสาย Perk อีกถึง Stat ละ 2-3 สาย เปรียบเสมือนความสามารถติดตัวที่ช่วยเสริมสายการเล่นของเรา เช่นทำให้ปืนไรเฟิลส่ายน้อยลง หรือทำให้ชักปืนลูกซองออกมาได้เร็วขึ้น ยิ่งเราอัปค่า Stat ที่เกี่ยวข้องกับสาย Perk นั้นๆ ก็จะยิ่งปลดล๊อค Perk ในสายนั้นๆ ให้อัปได้เยอะขึ้น



อีกมิติหนึ่งที่น่าสนใจคือการที่เราสามารถพัฒนาสาย Perk แยกกับการอัป Stat ได้ด้วย ตราบใดที่เราใช้ทักษะที่เกี่ยวข้องกับสายนั้นบ่อยๆ เช่นเราอาจจะไม่ได้อัป Stat Intelligence ที่ช่วยพัฒนาความสามารถในการแฮ๊ค แต่ตราบใดที่เราแฮ๊คสิ่งของบ่อยๆ เราก็จะได้ค่าความชำนาญในการแฮ๊คเพิ่มขึ้นจนปลดแต้ม Perk หรือโบนัสความสามารถติดตัวที่เกี่ยวข้องกับการแฮ๊คได้อีกด้วย ทำให้ผู้เล่นมีอิสระในการพัฒนาตัวละครตามสายที่เล่นจริงๆ มากกว่าแค่การเลือกอัป Perk เพียงอย่างเดียว



ถือเป็นระบบที่น่าสนใจ ที่ทำให้ผู้เล่นรู้สึกว่าตัวเองกำลัง "ก้าวหน้า" อยู่ตลอดเวลา แต่ก็ยังคงขึ้นอยู่กับการเลือกอัปค่า Stat เป็นสำคัญ เพราะต่อให้มีแต้ม Perk มากมาย แต่ถ้าไม่ได้ปลดล๊อคตัว Perk ด้วยการอัปเกรด Stat ก็ใช้ไม่ได้ แถมค่า Stat ทั้งหลายยังสามารถเปิดทางเลือกบทสนทนา ตัวเลือก Cyberware ที่สวมใส่ได้ หรือการกระทำเพิ่มเติมให้เรามากขึ้นอีกด้วย (เช่นถ้าอัปค่า Body สูงๆ จะทำให้พังประตูบางบานเพื่อเปิดเส้นทางผ่านด่านใหม่ๆ ได้) เราจึงควรให้ความสำคัญกับการวางแผนเส้นทางการอัป Stat ให้ดีๆ ไม่งั้นอาจทำให้ตัวละครเกิดช้าได้ในกรณีที่เกลี่ยอัปหลาย Stat พร้อมกัน และที่สำคัญคือผู้เขียนยังไม่พบวิธีการรีเซ็ตค่า Stat หรือ Perk เลยด้วย ซึ่งถ้ามันเลือกแล้วเลือกเลยจริงๆ ก็ยิ่งต้องวางแผนกันให้ดีขึ้นไปอีก

การพัฒนาตัวละครเหล่านี้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก อาจจะสำคัญยิ่งกว่าฝีมือในการเล่น FPS ของแต่ละคนซะอีก เพราะทุกอย่างในเกมนี้จะอ้างอิงการคำนวนตัวเลขแบบ RPG แทบทั้งหมดโดยไม่สนใจตรรกะของเกมแนวอื่นเท่าไหร่ ยกตัวอย่างเช่นตรรกะของเกม FPS ส่วนใหญ่ที่บอกว่าปืนลูกซองต้องแรงกว่าปืนพกแน่ๆ แต่ในเกมนี้ ยิงปืนพกเข้าอกศัตรูก็ยังอาจจะแรงกว่ายัดลูกซองใส่หน้าตราบใดที่เราอัปเกรดความสามารถสายปืนพกมา การทำความเข้าใจระบบพัฒนาตัวละครและความสามารถต่างๆ ของ Perk จึงมีความสำคัญมาก



ในขณะที่ค่า Level จะเป็นการพัฒนาความสามารถแบบติดตัวซะเยอะกว่า (มีความสามารถกดใช้ประปราย) Street Cred จะเป็นตัวที่ปลดล๊อคไอเทมที่ช่วยมอบวิธีการเล่นใหม่ๆ ได้จริงๆ เช่นดาบ Mantis Blade ยอดนิยม หรือขากลที่มีไอพ่นทำให้เราสามารถลอยตัวกลางอากาศได้ โดยในช่วง 20 ชั่วโมงแรกของผู้เขียนยังไม่มีโอกาสสัมผัสกับแง่มุมนี้นักเพราะยังปลดล๊อคไม่ได้ ส่วน Cyberware ช่วงต้นเกมก็ยังไม่ค่อยมีอะไร ส่วนใหญ่ก็เพิ่มความสามารถติดตัวไม่ต่างจาก Perk เท่าไหร่ ถ้าได้ปลดล๊อคหรือทดลองเล่น Cyberware เจ๋งๆ จะลองมาเล่าให้ฟังในอัปเดทต่อๆ ไป




...แต่ก็ใช่ว่าอย่างอื่นจะไม่ดี?


เสน่ห์อย่างหนึ่งในการเล่นเกม Cyberpunk 2077 คือแม้ว่าเกมจะยึดมั่นในความเป็น RPG ก่อนเหนืออื่นใด แต่ก็ไม่ได้ละเลยองค์ประกอบเกมเพลย์อื่นๆ ไปเลยแต่อย่างใด และสามารถรักษามาตรฐานของเกม Open World แง่มุมต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน แม้จะไม่ได้เทียบเทียมกับเกมแนวนั้นๆ โดยตรง (กล่าวคือยังไง Call of Duty ก็ทำการยิงปืนได้ดีกว่า หรือ Dishonored ก็ทำการลอบเร้นได้ดีกว่า) แต่ทุกอย่างกลับดีพอในระดับที่ไม่รู้สึกว่ามีอะไรที่ "แย่" เลยซักอย่าง ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องที่น่าชมสำหรับเกมที่ใหญ่และลึกมากขนาดนี้

การที่ Cyberware และอาวุธเจ๋งๆ ส่วนใหญ่ดูจะถูกกีดกันจากผู้เล่นในช่วงต้นเกม ทำให้การต่อสู้ในเกมช่วงแรกๆ ค่อนข้างรู้สึกธรรมดาไปซะหน่อย เพราะปืนแทบทั้งหมดที่ได้ก็ยังเป็นเพียงปืนกระสุนโลหะทั่วๆ ไป อาวุธระยะประชิดอย่างมีดหรือดาบคาตะนะก็ยังไม่มีความสามารถหรือหน้าตาพิเศษอะไรนัก โดยผู้เขียนเพิ่งจะเริ่มพบปืนชนิด Tech Weapon ที่สามารถชาร์จยิงทะลุกำแพงได้ก็ตอนเล่นเกมมาเกิน 15 ชั่วโมงแล้ว และได้ปืนพก Smart Gun กระบอกแรกมาตอนเกือบ 20 ชั่วโมงพอดี ไม่แน่ใจว่าชนิดของอาวุธที่เก็บได้จากศัตรูจะขึ้นอยู่กับเลเวลของผู้เล่น หรือดูจากว่าเล่นเนื้อเรื่องไปไกลแค่ไหนแล้วหรืออย่างไร แต่ยิ่งเล่นไปเรื่อยๆ ก็ยิ่งพบกับอาวุธที่มีลูกเล่นแปลกตามากขึ้น ซึ่งก็ทำให้การต่อสู้มีความแปลกใหม่มากขึ้นไปเรื่อยๆ ด้วย



ด้วยความที่อาวุธและอุปกรณ์ในช่วงที่ผู้เขียนเล่นมายังค่อนข้างธรรมดาอย่างที่ว่า ทำให้การต่อสู้พลอยรู้สึก "ธรรมดา" ไปด้วยซะอย่างนั้น แม้ว่าความรู้สึกของการยิงปืนในเกมจะดีกว่าเกม RPG แนวเดียวกันที่ผ่านมา แต่กลับรู้สึก "เฉยๆ" คือไม่ได้แย่หรือมีปัญหาอะไรนัก แต่โดยรวมก็ไม่ได้รู้สึกสนุกหรือพิเศษไปกว่าเกม FPS กึ่ง RPG นับสิบๆ เกมที่เคยเล่นมาก่อนแล้ว

อีกส่วนอาจจะมาจากเหล่าศัตรูที่พบในเกมตอนนี้ด้วย ที่ส่วนมากยังคงเป็น "คนธรรมดา" อยู่ (คือยังไม่ได้ใส่ Cyberware จนเหนือมนุษย์อะไร) และ A.I. ของศัตรูก็มักมีความไม่สม่ำเสมอ เพราะส่วนใหญ่มักจะค่อนข้างโง่ในการต่อสู้ (เช่นรัวกระสุนใส่พื้น วิ่งวนไปมาอย่างไร้จุดหมาย หรือกระทั่งวิ่งสะดุดศพเพื่อนจนล้ม ซึ่งผู้เขียนเคยเห็นมาแล้วมากกว่าหนึ่งครั้ง) แต่ครั้นจะพยายามท้าทายตัวเองด้วยการลอบเร้นผ่าน ศัตรูกลับหูตาไวขึ้นมาซะงั้น ทำให้สุดท้ายเรามักจะโดนบังคับให้ต้องต่อสู้จนได้แม้จะไม่อยากทำ



ทั้งนี้ สิ่งที่ผู้เขียนอยากเห็นคืออาวุธระดับสูงที่สามารถมอบความสามารถที่อาวุธอื่นๆ ไม่มีได้ ยกตัวอย่างในช่วงหนึ่งของเกม ผู้เล่นจะเปลี่ยนจากควบคุม V มาควบคุมตัวละครอีกตัวหนึ่งเป็นระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งตัวละครนี้จะมาพร้อมกับปืนพกประจำตัวที่นอกจากจะยิงแรงเท่าปืนสไนเปอร์แล้ว ยังยิงทะลุกำแพงได้ (เพราะเป็นอาวุธ Tech Weapon) และเมื่อกดโจมตีระยะประชิด แทนที่จะใช้ด้ามปืนฟาดศัตรูเหมือนปืนพกทั่วไป ปืนกระบอกนี้จะปล่อยไฟออกมารอบตัวผู้ใช้เพื่อโจมตีศัตรู เป็นความสามารถที่ผู้เขียนยังไม่พบในปืนกระบอกใดๆ อีกเลยตลอดระยะเวลาที่เล่น และหวังว่าอาวุธระดับสูงๆ ชิ้นอื่นจะสามารถมอบลูกเล่นที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองได้เช่นกัน



ในส่วนของการขับรถ ผู้เขียนต้องออกตัวก่อนว่าเป็นคนที่ไม่ค่อยชอบการขับรถในเกมเป็นการส่วนตัว จึงไม่ได้รู้สึกประทับใจหรือให้ความสนใจกับการขับรถในเกมเป็นพิเศษ แต่ถ้าจะให้เปรียบความรู้สึกในการขับรถ อาจจะควบคุมยากกว่าในเกมอย่าง GTA V นิดหน่อย โดยเฉพาะในจังหวะเข้าโค้งที่รถหมุนแทบจะทุกครั้ง แต่ก็ยังดีกว่าที่พบได้ในเกมอย่าง Watch Dogs: Legion มากมายนัก อย่างน้อยๆ ก็ไม่ได้รู้สึกรำคาญเวลาต้องขับรถเป็นระยะทางไกลๆ ซึ่งสำหรับผู้เขียนถือเป็นตัวบ่งบอกคุณภาพของการขับรถในเกมได้ประมาณหนึ่ง

ถ้าจะมีระบบหนึ่งที่ผู้เขียนรู้สึก "ไม่ชอบ" ไปแล้วคงเป็นระบบการแฮ๊คกิ้ง ที่ในขณะนี้รู้สึกว่าไม่ค่อยมีผลอะไร แถมยังมีตัวเลือกจำกัดมาก โดยระบบแฮ๊คในเกมนี้จะมีความคล้ายคลึงกับระบบเวทย์มนตร์ในเกม RPG ทั่วไป เราจะต้องสวมใส่โปรแกรมแฮ๊คที่ต้องการในหน้าของสวมใส่ซะก่อนจึงจะใช้ได้ แต่ละโปรแกรมจะใช้หน่วย RAM (เปรียบกับ MP) ไม่เท่ากัน บางโปรแกรมสามารถสร้างความเสียหายได้โดยตรง ในขณะที่บางโปรแกรมอาจก่อกวนศัตรูในรุปแบบต่างๆ เช่นทำให้ตาบอดชั่วขณะ หรือลบความทรงจำระยะสั้น (ให้ศัตรูที่ตามหาเราอยู่เลิกตาม) โดยผู้เขียนพบว่าใช้ยาก และบางครั้งก็เหมือนจะติดบ้างไม่ติดบ้าง จึงอาจยังไม่สามารถให้คำวิจารณ์ที่ชัดเจนนักเพราะไม่รู้ว่าเป็นเพราะไม่ได้อัปสายนี้มาหรือเป็นบั๊ค แต่โดยรวมรู้สึกว่ามันทำอะไรได้น้อยกว่าที่คาดคิดเอาไว้



ทั้งหมดทั้งมวลนั้น คงต้องบอกว่าใน 20 ชั่วโมงที่ใช้ไปกับเกม เกมเพลย์ของ Cyberpunk 2077 ยังไม่มีอะไรที่ทำให้รู้สึกประทับใจหรือน่าจดจำเป็นพิเศษ จากอาวุธที่ยังค่อนข้างธรรมดา และศัตรูที่ไม่ได้มีความพิเศษไปกว่าที่พบในเกมทั่วไป แต่ในช่วงที่เล่นอยู่นี้ก็เริ่มเห็นอาวุธแปลกๆ โผล่มาให้เก็บบ้างแล้ว หวังว่าจะยิ่งพัฒนาไปเรื่อยๆ เมื่อเล่นเกมต่อไป




นิยามใหม่ของความเป็น "Open World"


เมื่อพูดถึงเกม Open World สิ่งหนึ่งที่ผู้พัฒนามักจะกล่าวถึงคือเรื่องของ "Immersion" หรือถ้าแปลเป็นภาษาไทยบ้านๆ ก็คือความอินนั่นแหละ โดยเกม Open World ระดับแนวหน้าแทบทุกเกมล้วนสามารถสร้างความรู้สึกอินไปกับโลกและเรื่องราวของเกมได้ผ่านการสร้างบรรยากาศและการออกแบบฉากที่สื่อถึง "ประวัติศาสตร์" หรือ "วิถีชีวิต" ของผู้ที่อาศัยในโลกนั้นๆ ซึ่งในแง่นี้อาจบอกได้ว่า Cyberpunk 2077 ได้วางมาตรฐานใหม่สำหรับการออกแบบโลก Open World ไปแล้วเรียบร้อย



แม้ผู้เขียนจะยังไม่มีโอกาสได้สำรวจทุกเขตในเมือง แต่แค่ในเขตที่ได้ลองสำรวจดูก็บอกได้แล้วว่าเมือง Night City ของเกมอัดแน่นไปด้วยรายละเอียดเล็กน้อยที่ช่วยเล่าความเป็นไปของชีวิตในเมืองเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นป้ายโฆณษาสีสันฉูดฉาดตามที่เชิญชวนให้คนตัดอวัยวะตัวเองทิ้งเพื่อเปลี่ยนถ่ายอวัยวะจักรกลที่สื่อถึงความธรรมดาของการปรับแต่งร่างกาย ไปจนถึงรายการทีวีและวิทยุที่พูดถึงโศกฆนาตกรรมในเมืองพร้อมประกาศยอดผู้เสียชีวิตประจำวันอย่างอารมณ์ดีราวกับเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทุกวัน ทุกสิ่งทุกอย่างในเกม Cyberpunk 2077 ให้ความรู้สึกว่าถูกออกแบบและจัดวางมาอย่างตั้งใจ เพื่อให้ Night City สามารถถ่ายทอดเรื่องราวของตัวเองไปสู่ผู้เล่นได้ตลอดเวลาผ่านการเล่นเกมไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่สุดเกี่ยวกับเกมในขณะนี้



สำหรับการรีวิวเกม Cyberpunk 2077 ผู้เขียนได้ทดลองเล่นเกมบนเครื่อง PC ที่มาพร้อมกับการ์ดจอ RTX 2060 / 16GB RAM และสามารถเล่นเกมที่การตั้งค่า Preset Ray Tracing - Medium (1080p) ได้ด้วยเฟรมเรตราวๆ 40-45 FPS และสามารถดันถึง Ray Tracing - Ultra ได้โดยที่เฟรมเรตเหลือราวๆ 30 FPS ซึ่งถือว่าไม่แย่เลยเมื่อเทียบกับระดับรายละเอียดที่ได้ โดยเฉพาะในแง่ของ Texture หรือพื้นผิวต่างๆ ที่ดูสมจริงมาก และช่วยทำให้เกมรู้สึกมีชีวิตชีวามากขึ้น

แถมต้องไม่ลืมว่าเกมฉบับรีวิวนี้เป็นเกมตัวเต็มที่พ่วงซอฟต์แวร์ Denuvo Anti-Tampering มาด้วย ซึ่งทางผู้พัฒนาเองแจ้งว่าจะทำให้เฟรมเรตลดลงราว 10-15 FPS อยู่แล้ว จึงยิ่งเชื่อได้ว่าเกมน่าจะทำงานบนการ์ดจอรุ่นเก่ากว่านี้ได้ไม่มีปัญหานัก (ปรับ Medium-High) เผลอๆ อาจจะดีกว่าที่แจ้งเอาไว้ใน Spec Sheet ที่ CDPR เคยปล่อยออกมาเองด้วยซ้ำ ยิ่งถ้าได้ Day One Patch ช่วยอีก คงไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะเล่นเกมไม่ได้ตราบใดที่เครื่องถึง Spec ขั้นต่ำเป็นอย่างน้อย



ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ได้จะบอกว่าเกมไร้ที่ติไปซะหมด เพราะด้วยขนาดและความละเอียดระดับนี้ คงหนีไม่พ้นที่จะต้องมีบั๊คติดมาบ้างไม่มากก็น้อย ข้อดีคือบั๊คในเกม CP2077 ที่พบส่วนใหญ่มักจะเป็นบั๊คตลกๆ เช่นบั๊คที่ทำให้อาวุธของศัตรูที่ตายแล้วค้างอยู่กลางอากาศเหนือศพพวกเขา (ซึ่งเอาจริงๆ เป็นบั๊คที่แอบมีประโยชน์) หรือบั๊คด้านกราฟิกเล็กน้อย เช่นครั้งหนึ่งที่ผู้เขียนขับมอเตอร์ไซค์ชนถังขยะจนมอเตอร์ไซค์ทะลุลงไปในพื้นและติดอยู่อย่างนั้น หรือบางครั้งเดินๆ อยู่ก็จะเห็น NPC ยืนท่าตัว T กลางถนน ซึ่งทั้งหมดเป็นบั๊คเล็กๆ ที่ชวนให้ขำกับตัวเองมากกว่าจะทำให้เสียประสบการณ์เล่นเกม ผู้เขียนเจอบั๊คที่รุนแรงเพียงครั้งเดียวเมื่อประตูที่ควรเปิดตามเนื้อเรื่องดันไม่ยอมเปิด จนทำให้ดำเนินเรื่องต่อไม่ได้ แต่พอโหลดเกมกลับมาลองใหม่ก็ผ่านได้ไม่มีปัญหา

นอกจากนี้ เกมยังมักจะมีปัญหาในด้านการนำทาง ที่มักไม่สามารถรับมือกับความต่างระดับของเมือง Night City เอง และมักมีปัญหาในการคำนวนเส้นทางไปสู่พื้นที่ต่างระดับจนผู้เขียนถึงกับ "หลงทาง" มาแล้ว แต่เมื่อเล่นไปเรื่อยๆ ก็พบว่าเราจะสามารถจดจำถนนหนทางของเมืองได้โดยธรรมชาติจากจุดสังเกติในฉาก เหมือนกับการเดินผ่านถนนเส้นหนึ่งในชีวิตจริงทุกวัน ซึ่งก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งข้อดีของฉากในเกม แม้ระบบนำทางจะตามไม่ค่อยทันก็ตาม






ซับไทยร่วงหรือรอด?!


ถ้าให้พูดตามตรง แม้จะเห็นใจทีมงานแปลซับและเมนูภาษาไทยที่ต้องแปลข้อความเยอะมากขนาดในเกม Cyberpunk 2077 แต่ต้องเรียนตามตรงว่าคุณภาพของซับและเมนูยังปรับปรุงได้อีกเยอะมากๆ ผู้เขียนพบว่าซับโดยรวมแม้จะสื่อความหมายได้ถูกต้องในระดับหนึ่ง แต่กลับไม่สามารถสื่ออามรมณ์ของเกมได้ และที่สำคัญยิ่งกว่าคือหน้าเมนูหลายส่วนที่มีความไม่สม่ำเสมอ แปลคำเดียวกันออกมาหลายแบบ หรือกระทั่งแปลตกความหมายของคำบรรยาย Perk ไปเลยก็มี ตัวอย่างหนึ่งที่พอนึกออก (เพราะเปิดเมนูเล่นได้แปบเดียวต้องเปลี่ยนกลับเป็นภาษาอังกฤษเพราะอ่านไม่เข้าใจ) คือการที่หน้าเมนูเดี๋ยวก็แปลคำว่า Light Machine Gun เป็นคำว่าปืนกลเบาบ้าง ปืนกลมือบ้าง หรือคำว่า Recoil บางครั้งก็แปลว่าการส่าย บางครั้งก็แปลว่าการถีบ ซึ่งทั้งหมดมันทำให้สับสนเวลาพยายามทำความเข้าใจระบบ Perk และมั่นใจได้ว่าน่าจะรวมไปถึงคำบรรยายไอเทมหลายๆ ชิ้นด้วย



จริงๆ ก็อาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ซับจะไม่สามารถคงอารมณ์ของเกมเอาไว้ได้ทั้งหมด ด้วยเนื้อหาที่ไม่น่าจะถูกใจกองเซ็นเซอร์ของบ้านเรา แต่อย่างน้อยๆ ทีมงานซับและเมนูน่าจะตรวจทานให้การแปลคำมันมีความสม่ำเสมอมากกว่านี้หน่อย เพื่อไม่ให้ดูเหมือนเป็นงานเผามากขนาดนี้ หวังว่าใน Day One Patch จะมีการปรับแก้ไขบ้างไม่มากก็น้อย เพราะในสภาพปัจจุบันอยากจะแนะนำให้เปิดเฉพาะจำเป็น ส่วนใครที่พออ่าน/ฟังอังกฤษได้บ้างก็อยู่กับภาษาอังกฤษน่าจะได้ประสบการณ์ที่ดีกว่า




สรุป: ยังไม่ประทับใจมากเป็นพิเศษ เนื้อเรื่องเพิ่งเริ่มเข้มข้นหลังจากเล่นไปแล้ว 20 ชั่วโมง / ต้องลองดูต่อไปก่อนว่าเกมเพลย์ระดับสูงๆ จะน่าสนใจขึ้นกว่าช่วงแรกหรือไม่ / กราฟิกไม่ได้สวยที่สุด แต่มีรายละเอียดหนาตาที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา

แล้วพบกับความเห็นฉบับอัปเดทได้ในเวลา 22.00 ของทุกวัน จนถึงวันที่ 10 ธันวาคมนี้

*เนื่องจากความขัดข้องทางเทคนิค ทำให้ไม่สามารถเพิ่มเนื้อหาเข้าไปท้ายบทความเดิมได้ สามารถหาอ่านบทความอัปเดทความเห็นได้ ที่นี่

บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
Review-In-Progress: Cyberpunk 2077 [NO SPOILER]
07/12/2020

ตั้งแต่ที่ประกาศเปิดตัวครั้งแรกในปี 2012 เกม Cyberpunk 2077 ก็กลายเป็นหนึ่งในเกมที่ได้รับการรอคอยมากที่สุดของเกมเมอร์หลายๆ คนแทบจะชั่วข้ามคืน ทั้งจากชื่อเสียงอันเลื่องลือของผู้พัฒนา CD PROJEKT RED และผลงาน The Witcher 3 ที่ได้รับความนิยมถล่มทลาย ไปจนถึงจักรวาลต้นฉบับ Cyberpunk 2020 ที่เกมใช้อ้างอิง ซึ่งได้รับความนิยมมากในหมู่เกมเมอร์รุ่นเก๋าที่เติมโตมาในยุคของเกม RPG ตั้งโต๊ะทั้งหลาย

ตั้งแต่ที่ได้โค้ดเกมเวอร์ชั่น PC มาจากผู้พัฒนา CD PROJEKT RED เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ผู้เขียนได้ลองเล่นเกมไปแล้วราว 20 ชั่วโมง และทำให้ได้เห็นภาพของสุดยอดเกมแห่งปี 2020 มากกว่าเดิมพอสมควร แต่ด้วยขนาดของเกมและเนื้อหาเสริมที่มีอยู่เยอะจนตาลาย ทำให้ยังรู้สึกเหมือนเพิ่งสัมผัสเกมได้เพียงผิวเผินเท่านั้น และยังมีองค์ประกอบสำคัญหลายๆ อย่างที่ยังไม่มีโอกาสได้สัมผัส เช่นอาวุธหรือ Cyberware ระดับสูงทั้งหลาย รวมไปถึงผลของทางเลือกในระยะยาว



ด้วยประการฉะนี้ เราจึงเลือกที่จะยังไม่ให้คะแนนเกมในรีวิวนี้ทันที แต่จะทำการอัปเดทความเห็นความรู้สึกของผู้เขียนไปเรื่อยๆ จนกว่าที่เกมจะวางจำหน่ายในวันที่ 10 ธันวาคมนี้ เพื่อให้สามารถวิจารณ์แง่มุมต่างๆ ของเกมได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนมากที่สุด

หากใครมีคำถามที่อยากรู้เกี่ยวกับเกม ที่ไม่ได้รับการตอบในบทความนี้ สามารถคอมเมนต์เข้ามาถามเอาไว้ได้ แล้วเราจะพยายามตอบคำถามของคุณในอัปเดทบทความครั้งถัดไป

หมายเหตุ: เกมเวอร์ชั่นรีวิวนี้จะยังไม่ได้รับการปรับปรุงจาก Day One Patch และจะมีโปรแกรม Denuvo Anti-Tampering เข้ามาด้วยเพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเกมช่วงก่อนวางจำหน่าย ทำให้อาจจะมีข้อบกพร่องบางประการที่ผู้เขียนพบ แต่ผู้เล่นจะไม่พบ ต้องรอดูกันอีกทีว่าแพทช์ดังกล่าวจะปรับแก้อะไรบ้าง

(อ่านช่วงอัปเดทด้านล่าง)

*ขอขอบคุณบริษัท CD PROJEKT RED สำหรับโค้ดรีวิว และบริษัท Sicom, Nvidia สำหรับอุปกรณ์รีวิว*




ชะตากรรมของนักเลงแห่งโลกอนาคตที่คุณเป็นคนลิขิต


เนื้อเรื่องของเกม Cyberpunk 2077 จะเล่าเรื่องราวของตัวเอกที่ชื่อว่า V ทหารรับจ้างหน้าใหม่ไฟแรงของเมือง Night City ผู้ซึ่งถูกดึงเข้าไปพัวพันกับแผนการแย่งชิงอำนาจของเหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ (ที่เกมเรียกว่าเหล่า Megacorp) ที่ปกครองเมือง และต้องใช้เวลาที่เหลืออยู่ของเขาในการไขปริศนาเบื้องหลังเหตุการณ์ทั้งหมด โดยสิ่งที่ผู้พัฒนายกเป็นจุดขายสำคัญมาโดยตลอดคือเรื่องของทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของเสื้อผ้า หน้าตา หรือคำพูดของตัวละคร ที่ล้วนแล้วแต่จะส่งผลต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้น

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าด้วยระยะเวลาเล่นที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้เรายังไม่อยากวิจารณ์เนื้อเรื่องในภาพใหญ่ แต่จากระยะเวลาที่ทดลองเล่น พบว่าเนื้อเรื่องของเกมมีความเข้มข้นและ "เป็นผู้ใหญ่" ในแบบที่น้อยเกมจะกล้าทำ เกมให้เวลากับการพัฒนาตัวละครและเหตุการณ์ต่างๆ เยอะมากจนในบางครั้งเราอาจจะเล่นเกมเป็นชั่วโมงโดยที่คุยกับ NPC อย่างเดียวเลยก็ได้ ซึ่งในแง่นี้ก็อาจจะถูกใจคนที่ชื่นชอบการเล่น RPG อินๆ เหมือนดูซีรี่ส์ยาวๆ มากกว่าคนที่โหยหาประสบการณ์บู๊กระหน่ำดุเดือดเลือดพล่านแบบหนังฮอลลีวู้ด



เมื่อเริ่มต้นเกมครั้งแรก สิ่งแรกที่ผู้เล่นจะได้พบก็คือหน้าจอการเลือก Lifepath หรือภูมิหลังของตัวละคร และเมนูการสร้างตัวละคร โดยเราสามารถกำหนดรูปร่างหน้าตาของตัวละครได้ตั้งแต่เล็บมือยันอวัยวะเพศ แถมยังสามารถผสมคอมโบเพศตัวละครได้ตามใจอีกด้วย ซึ่งแม้จะเรียกเสียงฮือฮาจากหมู่ผู้เล่นที่ติดตามเกมได้พอสมควร แต่เอาเข้าจริงๆ ระบบสร้างตัวละครของเกมก็ไม่ได้น่าตื่นเต้นอะไร และยังจำกัดกว่าการสร้างตัวละครในเกม RPG อีกหลายๆ เกมด้วยซ้ำ

ที่สำคัญ ทางเลือกเหล่านี้กลับไม่ได้ส่งผลอะไรต่อเกมมากเท่าที่ผู้พัฒนาเคยบอกไว้ และเราแทบจะไม่มีโอกาสได้เห็นหน้าตาของตัวละครเลยในการเล่นทั่วไป (ยกเว้นเวลาเข้าหน้าต่างของสวมใส่) จึงอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้เวลากับการสร้างตัวละครมากนัก โดยทางเลือกที่เห็นว่าน่าจะส่งผลต่อผู้เล่นจริงๆ มีเพียงเสียงพูด (ที่จะสรรพนามทางเพศที่ตัวละครในเกมใช้เรียกเรา) และเล็บมือ (อวัยวะที่เราเห็นได้บ่อยที่สุด) นอกนั้นเอาเข้าจริงอยากเลือกอะไรก็ได้ไม่ต่างกัน



เช่นเดียวกับหน้าตา เมื่ออ้างอิงจากระยะเวลาที่ใช้เล่นเกมมา Lifepath ของตัวละครเองก็ไม่ได้ส่งผลต่อเกมอย่างใหญ่หลวงนัก หลักๆ แล้วก็จะมอบตัวเลือกบทสนทนาประจำสายให้ประปราย แต่ก็ไม่ได้มีทีท่าว่าจะเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ของผู้เล่นอย่างมีนัยยะสำคัญแต่อย่างใด ไม่ได้มีภารกิจเฉพาะสาย Lifepath หรือมีความสามารถหรือเหตุการณ์ใดๆ เพิ่มขึ้นมานอกจากช่วง 1-2 ชั่วโมงแรกของเกม เสมือนเป็นเพียง "สีสัน" อีกระดับหนึ่งมากกว่าจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของเนื้อเรื่อง เช่นผู้เขียนที่เลือกเล่นเป็นตัวละคร Corpo มักจะทำให้สามารถเลือกตัวเลือกบทสนทนาที่เป็นลักษณะ "รู้ทัน" กลโกงของเหล่าตัวละคร NPC ที่เป็นสาย Corpo เช่นเดียวกับเรา หรือช่วยให้เราตีสนิท NPC สายนี้ได้ง่ายขึ้น

แน่นอนว่าถ้าไม่มีทางเลือกเหล่านี้ก็อาจจะทำให้สถานการณ์คลี่คลายไปอีกแบบ แต่ผู้เขียนก็เชื่อว่าสุดท้ายแล้วเราก็ยังสามารถพบกับผลลัพธ์แบบเดียวกันได้แม้ไม่ได้เลือก Lifepath นั้นมาก็ตาม คนที่คาดหวังว่าการเล่นเกม 3 รอบ 3 Lifepath จะได้ประสบการณ์ที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงอาจต้องปรับความคาดหวังกันซักนิด



ทางเลือกที่ส่งผลสำคัญจริงๆ มักจะเกิดขึ้นในบทสนทนาระหว่างภารกิจ ที่อาจจะส่งผลสำคัญต่อเกมจริงๆ เช่นบางตัวเลือกอาจจะทำให้เราเลี่ยงการเผชิญหน้ากับศัตรูกลุ่มใหญ่ได้ หรืออาจจะถึงขนาดเปลี่ยนเป้าหมายของภารกิจไปเลยก็ยังได้ แต่สิ่งที่ยังไม่ชัดเจนจากระยะเวลาที่ได้เล่นคือทางเลือกเหล่านี้จะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อเกมแค่ไหน เช่นถ้าในภารกิจหนึ่งผู้เขียนเลือกเข้าข้างฝ่าย A เพื่อสู้กับฝ่าย B มันจะส่งผลเป็นวงกว้างต่อไปอย่างไร จะมีคนของฝ่าย B มาตามล้างแค้นไหม หรือเนื้อเรื่องหลักจะเปลี่ยนไปไหม ยังเป็นสิ่งที่ยังบอกไม่ได้ในตอนนี้

กล่าวโดยสรุป แม้ว่าเราจะพอฝันธงได้ระดับหนึ่งแล้วว่าทางเลือกทั้งหลายที่เราได้เลือกในช่วงต้นเกมจะไม่ได้ส่งผลต่อเกมที่เหลือขนาดนั้น แต่สิ่งที่ยังตอบลำบากคือเรื่องผลกระทบของทางเลือกบทสนทนาต่อเนื้อเรื่อง ซึ่งน่าจะต้องดูกันต่อไปอีกว่าจะส่งผลมากเท่าที่ผู้พัฒนาเคยคุยไว้แค่ไหน แต่ถ้าพูดถึงคุณภาพของเนื้อเรื่องและบทเท่าที่เล่นมา ก็ต้องบอกว่าเกมให้ความรู้สึกเหมือนกำลังดูซีรี่ส์สืบสวนสอบสวนเข้มข้นๆ เรื่องหนึ่งอยู่ และเพิ่งจะเข้าสู่ช่วงน่าตื่นเต้นจริงๆ เท่านั้นเอง

แถม: สำหรับคนที่อ่านรีวิวนี้ก่อนเกมวางจำหน่าย อยากแนะนำให้ได้ไปศึกษาเนื้อเรื่องและตัวละครจากเกมตั้งโต๊ะ Cyberpunk 2020 ให้ดีๆ เพราะเนื้อเรื่องของเกมจะอ้างอิงถึงตัวละครและเหตุการณ์เหล่านี้อย่างมีนัยยะสำคัญ จึงควรลองหาอ่านซะหน่อยเพื่อกันงง และเพื่อให้เข้าใจถึง "น้ำหนัก" หรือ "ความสำคัญ" ของเหตุการณ์ในเนื้อเรื่องต่อโลกของเกม




ก็บอกแล้วว่าเป็น RPG ไงเล่า!


ในแง่ของความเป็น RPG เกม CP2077 จะแบ่งการพัฒนาตัวละครออกเป็นสองด้านหลักๆ คือเลเวลของตัวละคร ซึ่งจะกำหนดค่า Stat และความสามารถ Perk ที่เราสามารถเลือกอัปเกรดได้ และระดับ Street Cred ซึ่งจะปลดล๊อคไอเทมและ Cyberware ที่เราสามารถซื้อได้นั่นเอง โดยทั้งสองมักจะพัฒนาไปพร้อมๆ กันขึ้นอยู่กับการกระทำของผู้เล่น (ไม่ค่อยชัดเจนนักว่าอะไรเพิ่ม Level เป็นหลัก และอะไรเพิ่ม Street Cred เป็นหลัก)

สำหรับค่า Level ทุกครั้งที่เพิ่มขึ้น เราจะได้รับแต้ม Stat และ Perk มาอย่างละหนึ่งแต้ม โดยค่า Stat จะมีทั้งหมด 5 ค่า (Body, Reflexes, Intelligence, Tech, Cool) ซึ่งจะให้ผลไม่เหมือนกัน Stat หนึ่งอาจเพิ่มพลังชีวิตและการโจมตีระยะประชิด ในขณะที่อีก Stat ลดเวลาในการเติมกระสุนปืนเป็นต้น นอกจากนี้ ในแต่ละ Stat ยังจะมีสาย Perk อีกถึง Stat ละ 2-3 สาย เปรียบเสมือนความสามารถติดตัวที่ช่วยเสริมสายการเล่นของเรา เช่นทำให้ปืนไรเฟิลส่ายน้อยลง หรือทำให้ชักปืนลูกซองออกมาได้เร็วขึ้น ยิ่งเราอัปค่า Stat ที่เกี่ยวข้องกับสาย Perk นั้นๆ ก็จะยิ่งปลดล๊อค Perk ในสายนั้นๆ ให้อัปได้เยอะขึ้น



อีกมิติหนึ่งที่น่าสนใจคือการที่เราสามารถพัฒนาสาย Perk แยกกับการอัป Stat ได้ด้วย ตราบใดที่เราใช้ทักษะที่เกี่ยวข้องกับสายนั้นบ่อยๆ เช่นเราอาจจะไม่ได้อัป Stat Intelligence ที่ช่วยพัฒนาความสามารถในการแฮ๊ค แต่ตราบใดที่เราแฮ๊คสิ่งของบ่อยๆ เราก็จะได้ค่าความชำนาญในการแฮ๊คเพิ่มขึ้นจนปลดแต้ม Perk หรือโบนัสความสามารถติดตัวที่เกี่ยวข้องกับการแฮ๊คได้อีกด้วย ทำให้ผู้เล่นมีอิสระในการพัฒนาตัวละครตามสายที่เล่นจริงๆ มากกว่าแค่การเลือกอัป Perk เพียงอย่างเดียว



ถือเป็นระบบที่น่าสนใจ ที่ทำให้ผู้เล่นรู้สึกว่าตัวเองกำลัง "ก้าวหน้า" อยู่ตลอดเวลา แต่ก็ยังคงขึ้นอยู่กับการเลือกอัปค่า Stat เป็นสำคัญ เพราะต่อให้มีแต้ม Perk มากมาย แต่ถ้าไม่ได้ปลดล๊อคตัว Perk ด้วยการอัปเกรด Stat ก็ใช้ไม่ได้ แถมค่า Stat ทั้งหลายยังสามารถเปิดทางเลือกบทสนทนา ตัวเลือก Cyberware ที่สวมใส่ได้ หรือการกระทำเพิ่มเติมให้เรามากขึ้นอีกด้วย (เช่นถ้าอัปค่า Body สูงๆ จะทำให้พังประตูบางบานเพื่อเปิดเส้นทางผ่านด่านใหม่ๆ ได้) เราจึงควรให้ความสำคัญกับการวางแผนเส้นทางการอัป Stat ให้ดีๆ ไม่งั้นอาจทำให้ตัวละครเกิดช้าได้ในกรณีที่เกลี่ยอัปหลาย Stat พร้อมกัน และที่สำคัญคือผู้เขียนยังไม่พบวิธีการรีเซ็ตค่า Stat หรือ Perk เลยด้วย ซึ่งถ้ามันเลือกแล้วเลือกเลยจริงๆ ก็ยิ่งต้องวางแผนกันให้ดีขึ้นไปอีก

การพัฒนาตัวละครเหล่านี้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก อาจจะสำคัญยิ่งกว่าฝีมือในการเล่น FPS ของแต่ละคนซะอีก เพราะทุกอย่างในเกมนี้จะอ้างอิงการคำนวนตัวเลขแบบ RPG แทบทั้งหมดโดยไม่สนใจตรรกะของเกมแนวอื่นเท่าไหร่ ยกตัวอย่างเช่นตรรกะของเกม FPS ส่วนใหญ่ที่บอกว่าปืนลูกซองต้องแรงกว่าปืนพกแน่ๆ แต่ในเกมนี้ ยิงปืนพกเข้าอกศัตรูก็ยังอาจจะแรงกว่ายัดลูกซองใส่หน้าตราบใดที่เราอัปเกรดความสามารถสายปืนพกมา การทำความเข้าใจระบบพัฒนาตัวละครและความสามารถต่างๆ ของ Perk จึงมีความสำคัญมาก



ในขณะที่ค่า Level จะเป็นการพัฒนาความสามารถแบบติดตัวซะเยอะกว่า (มีความสามารถกดใช้ประปราย) Street Cred จะเป็นตัวที่ปลดล๊อคไอเทมที่ช่วยมอบวิธีการเล่นใหม่ๆ ได้จริงๆ เช่นดาบ Mantis Blade ยอดนิยม หรือขากลที่มีไอพ่นทำให้เราสามารถลอยตัวกลางอากาศได้ โดยในช่วง 20 ชั่วโมงแรกของผู้เขียนยังไม่มีโอกาสสัมผัสกับแง่มุมนี้นักเพราะยังปลดล๊อคไม่ได้ ส่วน Cyberware ช่วงต้นเกมก็ยังไม่ค่อยมีอะไร ส่วนใหญ่ก็เพิ่มความสามารถติดตัวไม่ต่างจาก Perk เท่าไหร่ ถ้าได้ปลดล๊อคหรือทดลองเล่น Cyberware เจ๋งๆ จะลองมาเล่าให้ฟังในอัปเดทต่อๆ ไป




...แต่ก็ใช่ว่าอย่างอื่นจะไม่ดี?


เสน่ห์อย่างหนึ่งในการเล่นเกม Cyberpunk 2077 คือแม้ว่าเกมจะยึดมั่นในความเป็น RPG ก่อนเหนืออื่นใด แต่ก็ไม่ได้ละเลยองค์ประกอบเกมเพลย์อื่นๆ ไปเลยแต่อย่างใด และสามารถรักษามาตรฐานของเกม Open World แง่มุมต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน แม้จะไม่ได้เทียบเทียมกับเกมแนวนั้นๆ โดยตรง (กล่าวคือยังไง Call of Duty ก็ทำการยิงปืนได้ดีกว่า หรือ Dishonored ก็ทำการลอบเร้นได้ดีกว่า) แต่ทุกอย่างกลับดีพอในระดับที่ไม่รู้สึกว่ามีอะไรที่ "แย่" เลยซักอย่าง ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องที่น่าชมสำหรับเกมที่ใหญ่และลึกมากขนาดนี้

การที่ Cyberware และอาวุธเจ๋งๆ ส่วนใหญ่ดูจะถูกกีดกันจากผู้เล่นในช่วงต้นเกม ทำให้การต่อสู้ในเกมช่วงแรกๆ ค่อนข้างรู้สึกธรรมดาไปซะหน่อย เพราะปืนแทบทั้งหมดที่ได้ก็ยังเป็นเพียงปืนกระสุนโลหะทั่วๆ ไป อาวุธระยะประชิดอย่างมีดหรือดาบคาตะนะก็ยังไม่มีความสามารถหรือหน้าตาพิเศษอะไรนัก โดยผู้เขียนเพิ่งจะเริ่มพบปืนชนิด Tech Weapon ที่สามารถชาร์จยิงทะลุกำแพงได้ก็ตอนเล่นเกมมาเกิน 15 ชั่วโมงแล้ว และได้ปืนพก Smart Gun กระบอกแรกมาตอนเกือบ 20 ชั่วโมงพอดี ไม่แน่ใจว่าชนิดของอาวุธที่เก็บได้จากศัตรูจะขึ้นอยู่กับเลเวลของผู้เล่น หรือดูจากว่าเล่นเนื้อเรื่องไปไกลแค่ไหนแล้วหรืออย่างไร แต่ยิ่งเล่นไปเรื่อยๆ ก็ยิ่งพบกับอาวุธที่มีลูกเล่นแปลกตามากขึ้น ซึ่งก็ทำให้การต่อสู้มีความแปลกใหม่มากขึ้นไปเรื่อยๆ ด้วย



ด้วยความที่อาวุธและอุปกรณ์ในช่วงที่ผู้เขียนเล่นมายังค่อนข้างธรรมดาอย่างที่ว่า ทำให้การต่อสู้พลอยรู้สึก "ธรรมดา" ไปด้วยซะอย่างนั้น แม้ว่าความรู้สึกของการยิงปืนในเกมจะดีกว่าเกม RPG แนวเดียวกันที่ผ่านมา แต่กลับรู้สึก "เฉยๆ" คือไม่ได้แย่หรือมีปัญหาอะไรนัก แต่โดยรวมก็ไม่ได้รู้สึกสนุกหรือพิเศษไปกว่าเกม FPS กึ่ง RPG นับสิบๆ เกมที่เคยเล่นมาก่อนแล้ว

อีกส่วนอาจจะมาจากเหล่าศัตรูที่พบในเกมตอนนี้ด้วย ที่ส่วนมากยังคงเป็น "คนธรรมดา" อยู่ (คือยังไม่ได้ใส่ Cyberware จนเหนือมนุษย์อะไร) และ A.I. ของศัตรูก็มักมีความไม่สม่ำเสมอ เพราะส่วนใหญ่มักจะค่อนข้างโง่ในการต่อสู้ (เช่นรัวกระสุนใส่พื้น วิ่งวนไปมาอย่างไร้จุดหมาย หรือกระทั่งวิ่งสะดุดศพเพื่อนจนล้ม ซึ่งผู้เขียนเคยเห็นมาแล้วมากกว่าหนึ่งครั้ง) แต่ครั้นจะพยายามท้าทายตัวเองด้วยการลอบเร้นผ่าน ศัตรูกลับหูตาไวขึ้นมาซะงั้น ทำให้สุดท้ายเรามักจะโดนบังคับให้ต้องต่อสู้จนได้แม้จะไม่อยากทำ



ทั้งนี้ สิ่งที่ผู้เขียนอยากเห็นคืออาวุธระดับสูงที่สามารถมอบความสามารถที่อาวุธอื่นๆ ไม่มีได้ ยกตัวอย่างในช่วงหนึ่งของเกม ผู้เล่นจะเปลี่ยนจากควบคุม V มาควบคุมตัวละครอีกตัวหนึ่งเป็นระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งตัวละครนี้จะมาพร้อมกับปืนพกประจำตัวที่นอกจากจะยิงแรงเท่าปืนสไนเปอร์แล้ว ยังยิงทะลุกำแพงได้ (เพราะเป็นอาวุธ Tech Weapon) และเมื่อกดโจมตีระยะประชิด แทนที่จะใช้ด้ามปืนฟาดศัตรูเหมือนปืนพกทั่วไป ปืนกระบอกนี้จะปล่อยไฟออกมารอบตัวผู้ใช้เพื่อโจมตีศัตรู เป็นความสามารถที่ผู้เขียนยังไม่พบในปืนกระบอกใดๆ อีกเลยตลอดระยะเวลาที่เล่น และหวังว่าอาวุธระดับสูงๆ ชิ้นอื่นจะสามารถมอบลูกเล่นที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองได้เช่นกัน



ในส่วนของการขับรถ ผู้เขียนต้องออกตัวก่อนว่าเป็นคนที่ไม่ค่อยชอบการขับรถในเกมเป็นการส่วนตัว จึงไม่ได้รู้สึกประทับใจหรือให้ความสนใจกับการขับรถในเกมเป็นพิเศษ แต่ถ้าจะให้เปรียบความรู้สึกในการขับรถ อาจจะควบคุมยากกว่าในเกมอย่าง GTA V นิดหน่อย โดยเฉพาะในจังหวะเข้าโค้งที่รถหมุนแทบจะทุกครั้ง แต่ก็ยังดีกว่าที่พบได้ในเกมอย่าง Watch Dogs: Legion มากมายนัก อย่างน้อยๆ ก็ไม่ได้รู้สึกรำคาญเวลาต้องขับรถเป็นระยะทางไกลๆ ซึ่งสำหรับผู้เขียนถือเป็นตัวบ่งบอกคุณภาพของการขับรถในเกมได้ประมาณหนึ่ง

ถ้าจะมีระบบหนึ่งที่ผู้เขียนรู้สึก "ไม่ชอบ" ไปแล้วคงเป็นระบบการแฮ๊คกิ้ง ที่ในขณะนี้รู้สึกว่าไม่ค่อยมีผลอะไร แถมยังมีตัวเลือกจำกัดมาก โดยระบบแฮ๊คในเกมนี้จะมีความคล้ายคลึงกับระบบเวทย์มนตร์ในเกม RPG ทั่วไป เราจะต้องสวมใส่โปรแกรมแฮ๊คที่ต้องการในหน้าของสวมใส่ซะก่อนจึงจะใช้ได้ แต่ละโปรแกรมจะใช้หน่วย RAM (เปรียบกับ MP) ไม่เท่ากัน บางโปรแกรมสามารถสร้างความเสียหายได้โดยตรง ในขณะที่บางโปรแกรมอาจก่อกวนศัตรูในรุปแบบต่างๆ เช่นทำให้ตาบอดชั่วขณะ หรือลบความทรงจำระยะสั้น (ให้ศัตรูที่ตามหาเราอยู่เลิกตาม) โดยผู้เขียนพบว่าใช้ยาก และบางครั้งก็เหมือนจะติดบ้างไม่ติดบ้าง จึงอาจยังไม่สามารถให้คำวิจารณ์ที่ชัดเจนนักเพราะไม่รู้ว่าเป็นเพราะไม่ได้อัปสายนี้มาหรือเป็นบั๊ค แต่โดยรวมรู้สึกว่ามันทำอะไรได้น้อยกว่าที่คาดคิดเอาไว้



ทั้งหมดทั้งมวลนั้น คงต้องบอกว่าใน 20 ชั่วโมงที่ใช้ไปกับเกม เกมเพลย์ของ Cyberpunk 2077 ยังไม่มีอะไรที่ทำให้รู้สึกประทับใจหรือน่าจดจำเป็นพิเศษ จากอาวุธที่ยังค่อนข้างธรรมดา และศัตรูที่ไม่ได้มีความพิเศษไปกว่าที่พบในเกมทั่วไป แต่ในช่วงที่เล่นอยู่นี้ก็เริ่มเห็นอาวุธแปลกๆ โผล่มาให้เก็บบ้างแล้ว หวังว่าจะยิ่งพัฒนาไปเรื่อยๆ เมื่อเล่นเกมต่อไป




นิยามใหม่ของความเป็น "Open World"


เมื่อพูดถึงเกม Open World สิ่งหนึ่งที่ผู้พัฒนามักจะกล่าวถึงคือเรื่องของ "Immersion" หรือถ้าแปลเป็นภาษาไทยบ้านๆ ก็คือความอินนั่นแหละ โดยเกม Open World ระดับแนวหน้าแทบทุกเกมล้วนสามารถสร้างความรู้สึกอินไปกับโลกและเรื่องราวของเกมได้ผ่านการสร้างบรรยากาศและการออกแบบฉากที่สื่อถึง "ประวัติศาสตร์" หรือ "วิถีชีวิต" ของผู้ที่อาศัยในโลกนั้นๆ ซึ่งในแง่นี้อาจบอกได้ว่า Cyberpunk 2077 ได้วางมาตรฐานใหม่สำหรับการออกแบบโลก Open World ไปแล้วเรียบร้อย



แม้ผู้เขียนจะยังไม่มีโอกาสได้สำรวจทุกเขตในเมือง แต่แค่ในเขตที่ได้ลองสำรวจดูก็บอกได้แล้วว่าเมือง Night City ของเกมอัดแน่นไปด้วยรายละเอียดเล็กน้อยที่ช่วยเล่าความเป็นไปของชีวิตในเมืองเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นป้ายโฆณษาสีสันฉูดฉาดตามที่เชิญชวนให้คนตัดอวัยวะตัวเองทิ้งเพื่อเปลี่ยนถ่ายอวัยวะจักรกลที่สื่อถึงความธรรมดาของการปรับแต่งร่างกาย ไปจนถึงรายการทีวีและวิทยุที่พูดถึงโศกฆนาตกรรมในเมืองพร้อมประกาศยอดผู้เสียชีวิตประจำวันอย่างอารมณ์ดีราวกับเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทุกวัน ทุกสิ่งทุกอย่างในเกม Cyberpunk 2077 ให้ความรู้สึกว่าถูกออกแบบและจัดวางมาอย่างตั้งใจ เพื่อให้ Night City สามารถถ่ายทอดเรื่องราวของตัวเองไปสู่ผู้เล่นได้ตลอดเวลาผ่านการเล่นเกมไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่สุดเกี่ยวกับเกมในขณะนี้



สำหรับการรีวิวเกม Cyberpunk 2077 ผู้เขียนได้ทดลองเล่นเกมบนเครื่อง PC ที่มาพร้อมกับการ์ดจอ RTX 2060 / 16GB RAM และสามารถเล่นเกมที่การตั้งค่า Preset Ray Tracing - Medium (1080p) ได้ด้วยเฟรมเรตราวๆ 40-45 FPS และสามารถดันถึง Ray Tracing - Ultra ได้โดยที่เฟรมเรตเหลือราวๆ 30 FPS ซึ่งถือว่าไม่แย่เลยเมื่อเทียบกับระดับรายละเอียดที่ได้ โดยเฉพาะในแง่ของ Texture หรือพื้นผิวต่างๆ ที่ดูสมจริงมาก และช่วยทำให้เกมรู้สึกมีชีวิตชีวามากขึ้น

แถมต้องไม่ลืมว่าเกมฉบับรีวิวนี้เป็นเกมตัวเต็มที่พ่วงซอฟต์แวร์ Denuvo Anti-Tampering มาด้วย ซึ่งทางผู้พัฒนาเองแจ้งว่าจะทำให้เฟรมเรตลดลงราว 10-15 FPS อยู่แล้ว จึงยิ่งเชื่อได้ว่าเกมน่าจะทำงานบนการ์ดจอรุ่นเก่ากว่านี้ได้ไม่มีปัญหานัก (ปรับ Medium-High) เผลอๆ อาจจะดีกว่าที่แจ้งเอาไว้ใน Spec Sheet ที่ CDPR เคยปล่อยออกมาเองด้วยซ้ำ ยิ่งถ้าได้ Day One Patch ช่วยอีก คงไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะเล่นเกมไม่ได้ตราบใดที่เครื่องถึง Spec ขั้นต่ำเป็นอย่างน้อย



ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ได้จะบอกว่าเกมไร้ที่ติไปซะหมด เพราะด้วยขนาดและความละเอียดระดับนี้ คงหนีไม่พ้นที่จะต้องมีบั๊คติดมาบ้างไม่มากก็น้อย ข้อดีคือบั๊คในเกม CP2077 ที่พบส่วนใหญ่มักจะเป็นบั๊คตลกๆ เช่นบั๊คที่ทำให้อาวุธของศัตรูที่ตายแล้วค้างอยู่กลางอากาศเหนือศพพวกเขา (ซึ่งเอาจริงๆ เป็นบั๊คที่แอบมีประโยชน์) หรือบั๊คด้านกราฟิกเล็กน้อย เช่นครั้งหนึ่งที่ผู้เขียนขับมอเตอร์ไซค์ชนถังขยะจนมอเตอร์ไซค์ทะลุลงไปในพื้นและติดอยู่อย่างนั้น หรือบางครั้งเดินๆ อยู่ก็จะเห็น NPC ยืนท่าตัว T กลางถนน ซึ่งทั้งหมดเป็นบั๊คเล็กๆ ที่ชวนให้ขำกับตัวเองมากกว่าจะทำให้เสียประสบการณ์เล่นเกม ผู้เขียนเจอบั๊คที่รุนแรงเพียงครั้งเดียวเมื่อประตูที่ควรเปิดตามเนื้อเรื่องดันไม่ยอมเปิด จนทำให้ดำเนินเรื่องต่อไม่ได้ แต่พอโหลดเกมกลับมาลองใหม่ก็ผ่านได้ไม่มีปัญหา

นอกจากนี้ เกมยังมักจะมีปัญหาในด้านการนำทาง ที่มักไม่สามารถรับมือกับความต่างระดับของเมือง Night City เอง และมักมีปัญหาในการคำนวนเส้นทางไปสู่พื้นที่ต่างระดับจนผู้เขียนถึงกับ "หลงทาง" มาแล้ว แต่เมื่อเล่นไปเรื่อยๆ ก็พบว่าเราจะสามารถจดจำถนนหนทางของเมืองได้โดยธรรมชาติจากจุดสังเกติในฉาก เหมือนกับการเดินผ่านถนนเส้นหนึ่งในชีวิตจริงทุกวัน ซึ่งก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งข้อดีของฉากในเกม แม้ระบบนำทางจะตามไม่ค่อยทันก็ตาม






ซับไทยร่วงหรือรอด?!


ถ้าให้พูดตามตรง แม้จะเห็นใจทีมงานแปลซับและเมนูภาษาไทยที่ต้องแปลข้อความเยอะมากขนาดในเกม Cyberpunk 2077 แต่ต้องเรียนตามตรงว่าคุณภาพของซับและเมนูยังปรับปรุงได้อีกเยอะมากๆ ผู้เขียนพบว่าซับโดยรวมแม้จะสื่อความหมายได้ถูกต้องในระดับหนึ่ง แต่กลับไม่สามารถสื่ออามรมณ์ของเกมได้ และที่สำคัญยิ่งกว่าคือหน้าเมนูหลายส่วนที่มีความไม่สม่ำเสมอ แปลคำเดียวกันออกมาหลายแบบ หรือกระทั่งแปลตกความหมายของคำบรรยาย Perk ไปเลยก็มี ตัวอย่างหนึ่งที่พอนึกออก (เพราะเปิดเมนูเล่นได้แปบเดียวต้องเปลี่ยนกลับเป็นภาษาอังกฤษเพราะอ่านไม่เข้าใจ) คือการที่หน้าเมนูเดี๋ยวก็แปลคำว่า Light Machine Gun เป็นคำว่าปืนกลเบาบ้าง ปืนกลมือบ้าง หรือคำว่า Recoil บางครั้งก็แปลว่าการส่าย บางครั้งก็แปลว่าการถีบ ซึ่งทั้งหมดมันทำให้สับสนเวลาพยายามทำความเข้าใจระบบ Perk และมั่นใจได้ว่าน่าจะรวมไปถึงคำบรรยายไอเทมหลายๆ ชิ้นด้วย



จริงๆ ก็อาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ซับจะไม่สามารถคงอารมณ์ของเกมเอาไว้ได้ทั้งหมด ด้วยเนื้อหาที่ไม่น่าจะถูกใจกองเซ็นเซอร์ของบ้านเรา แต่อย่างน้อยๆ ทีมงานซับและเมนูน่าจะตรวจทานให้การแปลคำมันมีความสม่ำเสมอมากกว่านี้หน่อย เพื่อไม่ให้ดูเหมือนเป็นงานเผามากขนาดนี้ หวังว่าใน Day One Patch จะมีการปรับแก้ไขบ้างไม่มากก็น้อย เพราะในสภาพปัจจุบันอยากจะแนะนำให้เปิดเฉพาะจำเป็น ส่วนใครที่พออ่าน/ฟังอังกฤษได้บ้างก็อยู่กับภาษาอังกฤษน่าจะได้ประสบการณ์ที่ดีกว่า




สรุป: ยังไม่ประทับใจมากเป็นพิเศษ เนื้อเรื่องเพิ่งเริ่มเข้มข้นหลังจากเล่นไปแล้ว 20 ชั่วโมง / ต้องลองดูต่อไปก่อนว่าเกมเพลย์ระดับสูงๆ จะน่าสนใจขึ้นกว่าช่วงแรกหรือไม่ / กราฟิกไม่ได้สวยที่สุด แต่มีรายละเอียดหนาตาที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา

แล้วพบกับความเห็นฉบับอัปเดทได้ในเวลา 22.00 ของทุกวัน จนถึงวันที่ 10 ธันวาคมนี้

*เนื่องจากความขัดข้องทางเทคนิค ทำให้ไม่สามารถเพิ่มเนื้อหาเข้าไปท้ายบทความเดิมได้ สามารถหาอ่านบทความอัปเดทความเห็นได้ ที่นี่


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header