GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
Review: รีวิวเกม Ghost of Tsushima "Assassin ก็ไม่ใช่ Jedi ก็ไม่เชิง"
ลงวันที่ 20/07/2020

ถ้าให้พูดกันตามตรง เกม Ghost of Tsushima / ‘นักรบปีศาจแห่งสึชิมะ’ ถือเป็นเกมที่ “สนุก” มากๆ เกมหนึ่ง ด้วยเกมเพลย์แนวแอคชั่นโลกเปิดอันดุเดือด ที่ผสมผสานการต่อสู้อันท้าทายของเกมอย่าง Star Wars Jedi: Fallen Order เข้ากับการลอบเร้นและโครงสร้างของเกม Assassin’s Creed จนทำให้ในหลายๆ จังหวะ เกมรู้สึกเหมือนเป็น “เกม Assassin’s Creed สไตล์ญี่ปุ่น” ที่แฟนๆ เรียกร้องจะได้เล่นมาตลอดเลยก็ว่าได้ ยังไม่นับรวมองค์ประกอบด้านการนำเสนออย่างกราฟิกและเพลง ที่ล้วนสร้างบรรยากาศให้การสำรวจโลกไม่น่าเบื่อตลอดระยะเวลาที่เล่น

แต่ Ghost of Tsushima ก็ยังประสบปัญหาหลายๆ อย่างที่มักพบในเกม Open World โดยเฉพาะในแง่ของเนื้อเรื่อง รวมไปถึงปัญหาด้านการนำเสนอบางประการ ที่ทำให้เกมมีความรู้สึก “เก่า” ไปซะหน่อย เมื่อเทียบกับเกมฟอร์มใหญ่อื่นๆ ทุกวันนี้ อดคิดไม่ได้ว่าถ้าเกมวางจำหน่ายเร็วกว่านี้ซักปีสองปี คงทำให้สามารถมองข้ามสิ่งที่เกมขาดไปได้ง่ายกว่านี้






◊ เนื้อเรื่อง ◊


เนื้อเรื่องของเกม Ghost of Tsushima จะอ้างอิงจากเหตุการณ์จริงทางประวัติศาสตร์ปี ค.ศ. 1274 เมื่อกองทัพจากจักรวรรดิ์มองโกลได้เริ่มต้นการรุกรานญี่ปุ่น โดยกองเรือมองโกลได้เทียบท่าที่เกาะสึชิมะ (Tsushima) เป็นอันดับแรก ผู้เล่นจะรับบทเป็นซามูไรหนุ่ม Jin Sakai (จิน ซาไค) ผู้รอดชีวิตไม่กี่คนจากการโจมตีระลอกแรกของกองทัพมองโกล ผู้ซึ่งตัดสินใจหันหลังให้กับวิถีนักรบอันทรงเกียรติ์ เพื่อต่อสู้กับเหล่าผู้รุกรานโดยไม่เลือกวิธีในฐานะ “นักรบปีศาจแห่งสึชิมะ” (The Ghost) พร้อมกับเหล่าเพื่อนพ้องนักรบ ที่พร้อมจะแลกทุกอย่างเพื่อปกป้องแผ่นดินเกิดของพวกเขา



เนื้อเรื่องเส้นหลัก หรือที่เกมเรียกว่า “Tale of Jin” (บันทึกของจิน) จะถูกแบ่งออกเป็นสาม “องค์” เกี่ยวกับความพยายามในการปลดแอกเกาะสึชิมะจากการปกครองของเหล่าผู้รุกราน ซึ่งในมิตินี้ เนื้อเรื่องหลักของเกม Ghost of Tsushima ค่อนข้างจะตามสูตรเรื่องราวแนวเดียวกันค่อนข้างจะเป๊ะๆ เลย จินก็คือนักรบผู้ถูกเลือก ทีต้องออกเดินทางอย่างโดดเดี่ยวเพื่อรวบรวมผู้กล้ากลุ่มเล็กๆ และปลุกใจชาวบ้านที่ถูกกดขี่ให้ลุกขึ้นมาต่อต้านเหล่าวายร้ายที่มีจำนวนมากกว่า ซึ่งก็ทำให้เนื้อเรื่องโดยรวมไม่ได้น่าจดจำเท่าไหร่ แม้จะไม่ได้แย่ แต่ก็รู้สึก “เฉยๆ” มาก

อีกอย่างก็คือ เนื้อเรื่องหลักของเกมพยายามจะนำเสนอประเด็นความขัดแย้งในใจของจิน เขาต้องทำในสิ่งที่ขัดกับคำสอนและความเชื่อทั้งหมดที่เขาเติบโตมา เพื่อปรับตัวเข้ากับศัตรูกลุ่มใหม่ ที่ไม่มีปัญหากับการ “เล่นสกปรก” เพื่อชัยชนะ ซึ่งเป็นประเด็นที่เกมใช้เป็นแก่นทางอารมณ์ (Emotional Core) ของเนื้อเรื่อง ปัญหามันเกิดตรงที่ว่าเกมนำเสนอชัดเจนเหลือเกินว่ามันมีทางเลือกที่ “ถูกและผิด” อยู่ในสถานการณ์นี้ ยกตัวอย่างเหตุการณ์หนึ่งในช่วงต้นๆ เกม เมื่อจินจำเป็นต้องช่วยชีวิตชาวบ้านกลุ่มหนึ่งจากเหล่าผู้รุกราน โดยตัวเขารู้ดีว่าถ้าเขาบุกเข้าไปโจมตีทหารมองโกลตรงๆ จะทำให้ชีวิตของชาวบ้านอยู่ในอันตราย เขาจึงต้องจำใจขัดวิถีซามูไร และลอบสังหารศัตรูทั้งหมดแบบเงียบๆ เพื่อให้สามารถรักษาชีวิตของชาวบ้านได้

ในสถานการณ์ที่ยกมา ผู้เขียนรู้สึกว่ามันช่างชัดเจนเหลือเกินว่าทางเลือกที่ถูกต้องคืออะไร หากจุดประสงค์ของจินคือการช่วยชีวิตชาวบ้าน งั้นทางเลือกที่จินเลือกก็น่าจะถูกต้องแล้ว ดีกว่าการรักษาเกียรติ์ของตนเองแต่ต้องแลกมากับชีวิตของผู้บริสุทธิ์ แต่จินก็ยังดูจะเป็นทุกข์กับการตัดสินใจของเขาอยู่ดี ทำให้ผู้เขียนรู้สึกไม่ค่อยอินกับประเด็นนี้เท่าไหร่ เพราะรู้สึกว่าบางครั้งก็เหมือนตัวละคร "คิดมาก" ไปเอง



ในอีกมุมหนึ่ง อาจจะมองได้ว่าเกมพยายามจะนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับความขัดแย้งที่ไม่มีทางออกระหว่างแนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่พยายามปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนไป และคนรุ่นเก่าที่พยายามจะคงไว้ซึ่ง “วัฒนธรรมและค่านิยมอันดีงาม” ที่พวกเขาถูกเสี้ยมสอนมาตลอดชีวิต และความลำบากใจของคนรุ่นใหม่ ที่จะต้องลุกขึ้นมาต่อต้านและล้มล้างความคิดเหล่านั้นเพื่อบรรลุจุดประสงค์ที่ยิ่งใหญ่กว่า แม้จะต้องปะทะกับเหล่าคนรุ่นเก่า ที่ในหลายครั้งก็เป็นคนที่เรารักและเคารพอยู่ แม้ว่าเราจะไม่สามารถยอมรับความคิดของพวกเขาได้อีกต่อไป ซึ่งก็ถือเป็นมิติที่น่าสนใจในเนื้อเรื่อง แต่สุดท้ายแล้ว เกมก็ยังคงนำเสนอประเด็นดังกล่าวออกมาได้ไม่ดีนัก เพราะสุดท้ายก็นำเสนอ “ฝั่งที่ถูกต้อง” อย่างชัดเจนอยู่ดี

ในทางกลับกัน เนื้อเรื่องส่วนที่เป็นเควสเสริมประจำตัวละครเพื่อนร่วมกลุ่มทั้งหมด กลับมีความน่าสนใจมากกว่าเนื้อเรื่องของจินเองทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการตามล่าลูกศิษย์ผู้ทรยศของ Sensei Ishikawa ไปจนถึงการตามล้างแค้นเพื่อครอบครัวของ Lady Masako ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องราวที่เข้มข้นน่าติดตาม ในระดับที่ทัดเทียมกับเนื้อเรื่องของเควสเกมอย่าง The Witcher 3 เลยทีเดียว เนื้อเรื่องเหล่านี้ยังมักจะปลดล๊อคบทใหม่ๆ ตามเนื้อเรื่องหลักไปเรื่อยๆ และมักจะตั้งคำถามเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่าง “ซามูไร” และ “ปีศาจ” (หรือความขัดแย้งระหว่างคนสองรุ่น) ในใจของจินได้ดีกว่าในเนื้อเรื่องหลักเสียอีก ทำให้การเล่นเนื้อเรื่องเสริมของตัวละครเหล่านี้ ย้อนกลับไปทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นในเนื้อเรื่องหลักน่าสนใจมากขึ้นอีกด้วย



แม้สุดท้าย เควสเสริมส่วนใหญ่ที่มีให้เล่นในเกมจะค่อนข้างสั้น และมีเนื้อเรื่องที่ไม่ค่อยน่าสนใจนัก แต่ด้วยเนื้อเรื่องหลักที่ “พอใช้” บวกกับเควสเสริมประจำตัวละครที่เขียนบทมาได้อย่างดี และนักแสดงและนักพากย์เสียงที่ยอดเยี่ยม (กล่าวถึงเพิ่มเติมในส่วนการนำเสนอ) ก็เพียงพอจะทำให้ผู้เขียนใช้เวลาอย่างเพลิดเพลินไปกับเกมไม่ต่ำกว่า 30-40 ชั่วโมงก่อนจะจบเนื้อเรื่อง




◊ เกมเพลย์ ◊


อย่างที่กล่าวไปในหัวเรื่อง เกมเพลย์ของ Ghost of Tsushima อาจจะบรรยายได้แบบกว้างๆ ว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างการต่อสู้ของเกมอย่าง Star Wars Jedi: Fallen Order ที่เน้นการปัดป้อง (Parry) และหลบหลีกการโจมตีของศัตรู และปลิดชีพศัตรูอย่างรวดเร็วในการโจมตีไม่กี่ครั้ง เข้ากับการลอบเร้นและโครงสร้างของเกม Assassin’s Creed ที่ให้ผู้เล่นเดินทางไปรอบๆ แผนที่เพื่อทำเควสเนื้อเรื่อง เควสเสริม รวมไปถึงกิจกรรมยิบย่อยอีกมากมาย พร้อมกับการพัฒนาความสามารถและอุปกรณ์ของตัวละครไปด้วย



ในระหว่างการต่อสู้อย่างซามูไร เกมเพลย์ของ Ghost of Tsushima อาจจะเปรียบได้กับเกมอย่าง Star Wars Jedi: Fallen Order ที่เน้นการหลบหลีกและปัดป้อง (Parry) การโจมตีของศัตรู เพื่อหาช่องว่างในการสวนกลับด้วยการโจมตีหนัก/เบา ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนท่าถือดาบให้ตรงตามชนิดของศัตรูเพื่อสร้างความได้เปรียบด้วย เกมมักจะแบ่งชัดเจนว่าการโจมตีแบบไหนที่ควรหลบหลีก และแบบไหนควรปัดป้อง โดยท่าที่ตั้งใจให้ปัดป้องทั้งหลายมักจะออกมาเป็นชุด และมักจะติดตามการหลบหลีกของผู้เล่นได้ตลอด จึงอาจจะพูดได้ว่าในขณะที่เกมอย่าง Jedi: Fallen Order หรือกระทั่ง Sekiro: Shadows Die Twice ยังเปิดให้ผู้เล่นที่อาจไม่ถนัดการกะจังหวะเพื่อปัดป้องสามารถใช้ความคล่องแคล่วมาทดแทนกันได้ ใน Ghost of Tsushima เกมแทบจะบังคับให้ผู้เล่นจำเป็นต้องฝึกฝนการปัดป้องให้ชำนาญระดับหนึ่งเลย แม้กระทั่งในการต่อสู้กับศัตรูระดับต่ำ เพราะความสมจริงของเกมหมายความว่าทั้งศัตรูและผู้เล่นจะสามารถรับการโจมตีได้เพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้นก่อนจะตาย

ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ได้จะบอกว่า Ghost of Tsushima มีความยากกว่า Jedi: Fallen Order หรือ Sekiro: Shadows Die Twice แต่อาจจะพูดได้ว่าเกม “คาดหวัง” ให้ผู้เล่นทุกคนสามารถใช้เครื่องมือทุกอย่างที่เกมมอบให้ให้เป็น ไม่ว่าจะเป็นทักษะพื้นฐานอย่างการหลบหลีกและป้องกัน ไปจนถึงระบบ Stance หรือท่าถือดาบ ที่มักจะเปลี่ยนท่วงท่าการโจมตีของผู้เล่นเพื่อรับมือกับศัตรูชนิดต่างๆ เช่นท่าหนึ่งเอาไว้รับมือกับศัตรูที่ถือดาบ ในขณะที่อีกท่าเอาไว้รับมือกับศัตรูที่ถือหอก เป็นต้น แม้จะไม่ค่อยเห็นผลในช่วงแรกๆ แต่ในช่วงท้ายๆ เกมศัตรูจะเริ่มใส่เกราะหนักที่ทำให้รับการโจมตีได้มากขึ้น ทำให้การพยายาม Stagger ศัตรูผ่านท่าโจมตีเฉพาะของแต่ละ Stance มีความจำเป็นขึ้นมา และทำให้ยิ่งเกมดำเนินไปเท่าไหร่ การต่อสู้ในเกมก็จะมีมิติมากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย



เกมมักจะทดสอบฝีมือของผู้เล่นอยู่เป็นระยะผ่านการต่อสู้แบบ Duel หรือการดวลดาบแบบตัวต่อตัวในพื้นที่จำกัด ซึ่งบอกได้เลยว่าเป็นเกมเพลย์ส่วนที่หินที่สุดในเกมเลย เพราะศัตรูในการดวลมักจะมีท่วงท่าและจังหวะการโจมตีที่ซับซ้อนกว่าศัตรูทั่วไป ที่จะบังคับให้ผู้เล่นจำเป็นต้องใช้ฝีมือในการต่อสู้ของตัวเองเพียวๆ 100% มีการดวลหลายครั้งที่ผู้เขียนตายแล้วตายอีกนับสิบๆ รอบกว่าจะผ่านไปได้ แต่ทุกครั้งที่เอาชนะศัตรูเหล่านี้ลงได้ ผู้เขียนก็สังเกติได้ถึงพัฒนาการในการเล่นของตัวเองเช่นเดียวกัน จึงทำให้การดวลเหล่านี้ยังคงสนุกทุกครั้ง และทำให้เรารู้สึกเหมือนตัวเองเป็นซามูไรยอดฝีมือขึ้นมาจริงๆ เลย



ในทางกลับกัน ต้องยอมรับว่าเกมเพลย์การลอบเร้นใน Ghost of Tsushima นั้นอาจจะเรียกได้ว่า “เบสิก” มากๆ ผู้เล่นจะสามารถกดปุ่มอนาล๊อคขวา (R3) เพื่อย่อตัวลงและหลบซ่อนในพงหญ้าได้ หรือจะปีนป่ายภูเขา/อาคาร/ต้นไม้ในสภาพแวดล้อมเพื่อหาจังหวะลอบสังหารศัตรูจากด้านบนก็ได้ ผู้เล่นจะมีเครื่องมือเช่นกระดิ่งและประทัดที่สามารถใช้ปาไปดึงดูดความสนใจของศัตรูได้ หรือลูกดอกพิษที่ทำให้ศัตรูเห็นภาพหลอนและโจมตีศัตรูด้วยกันเป็นต้น มีธนูไว้ใช้สังหารศัตรูเงียบๆ จากระยะไกล หรือจะเข้าไปปาดคอในระยะใกล้ก็ได้ เมื่อถูกเจอ ผู้เล่นก็สามารถปาระเบิดควันลงพื้นเพื่อหลบซ่อนจากศัตรูอีกครั้งได้ คือขาดไปแค่รถเข็นใส่กองฟางก็จะเป็น Assassin’s Creed แล้วจริงๆ แต่อาจจะจำกัดมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะเกมไม่ได้เปิดให้ปีนป่ายได้อย่างอิสระเท่า AC แถมองค์ประกอบอย่างการเคลื่อนย้ายศพศัตรูก็ไม่มี

ที่สำคัญ A.I. ศัตรูในเกมนี้ก็ไม่ค่อยจะฉลาดนัก โดยเฉพาะในระดับความยาก Normal นี่แทบจะเรียกว่าหูหนวกตาบอดกันหมดเลยทีเดียว ผู้เขียนสามารถกระโดดจากตึกสองชั้นลงมายืนข้างหลังศัตรูได้โดยที่พวกมันไม่รู้ตัวอะไรเลย แม้จะตกลงมาเสียงดังแค่ไหน หรือตัวเอกจะโอดครวญด้วยความเจ็บปวดอยู่สองวิเต็มๆ (เพราะโดดลงมาสูงเกินแล้วโดน Fall Damage) แต่ผู้เขียนก็ยังสามารถปาดคอพวกมันได้โดยที่ไม่มีใครรู้ แม้การปรับระดับความยากขึ้นมาเป็น Hard จะทำให้ศัตรูหูตาไวขึ้นพอสมควร และทำให้การลอบเร้นมีความท้าทายขึ้นมาบ้างเล็กน้อย แต่ก็ยังถือว่าเป็นรูปแบบการลอบเร้นแบบพื้นๆ ที่ค่อนข้างง่าย และอาจไม่ค่อยสนุกสำหรับคนที่โหยหาความท้าทายระดับเดียวกับการต่อสู้ในเกม



ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยความที่เกมพยายามจะปลดล๊อคความสามารถฝั่งลอบเร้น (เช่นมีดบิน ระเบิดควัน ประทัด)ไปตามเนื้อเรื่อง เพื่อสะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางความคิดของตัวเอก กว่าจะปลดล๊อคเครื่องมือทั้งหมดในการลอบเร้น ก็ปาเข้าไปเกือบครึ่งเกมแล้ว (20-25 ชั่วโมง) ทำให้การลอบเร้นในช่วงองค์แรกของเกม (5-10 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับความขยันในการเก็บเควส) ค่อนข้างจำกัดมากๆ ซึ่งแม้จะมีเหตุผลสนับสนุนในเนื้อเรื่อง แต่ก็ทำให้การลอบเร้นของเกมในครึ่งแรกทั้งหมดรู้สึกน่าเบื่อไปซะหน่อยสำหรับผู้เขียน ที่มักจะเลือกเดินเข้าไปท้าศัตรูซึ่งๆ หน้าเลยเพราะสนุกกว่า การลอบเร้นจะเริ่มรู้สึกมีความจำเป็นขึ้นมาจริงๆ ในช่วงท้ายเกม ที่เริ่มมีเครื่องมือและเงื่อนไขในภารกิจที่เน้นการลอบเร้นมากขึ้น แถมศัตรูระดับสูงยังมักจะมีชุดเกราะและอาวุธที่ทนทานกว่าช่วงต้นเกมหลายเท่า การลอบเร้นเข้าไปตัดกำลังกองทัพศัตรูอย่างเงียบๆ ก่อนจึงกลายเป็นสิ่งที่ผู้เขียนทำเพราะรู้สึกจำเป็น (ไม่งั้นโดนรุมตาย) มากกว่าเป็นทางเลือกจาก “ความสนุก” และมักจะเหลือศัตรูไว้ในค่ายจำนวนหนึ่งเพื่อต่อสู้ตรงๆ เสมอ (แต่ยอมรับว่าคนที่อยากได้อารมณ์ Assassin’s Creed แบบคลาสสิคในยุคญี่ปุ่นโบราณ น่าจะอินได้ไม่ยาก



ในส่วนของการสำรวจ Ghost of Tsushima จะมีลักษณะคล้ายๆ กับเกมโลกเปิดส่วนใหญ่ในแง่ของโครงสร้าง ที่จะมีภารกิจหลักและเสริม รวมไปถึงกิจกรรมย่อยๆ อย่างการแช่บ่อน้ำแร่เพื่อเพิ่ม Max HP หรือการสำรวจศาลเจ้าเพื่อรับเครื่องราง กระจัดกระจายให้ทำอยู่เต็มแผนที่ ซึ่งแน่นอนว่าบางกิจกรรมก็สนุก เช่นการสำรวจศาลเจ้า ที่มักจะมาในรูปแบบของพัซเซิ่ลการปีนป่าย (Platforming Puzzle) แบบเบาๆ หรือการเคลียร์ค่ายทหารมองโกล ที่ทำให้ได้รับแต้มความสามารถเพิ่ม ในขณะที่บางกิจกรรมก็ไม่ค่อยสนุก เช่นการแต่งกลอนไฮกุ หรือการวิ่งไล่หมาจิ้งจอก อาจจะแล้วแต่ความชอบของแต่ละคน แต่อย่างน้อยระบบ Fast Travel ของเกมก็ทำให้ผู้เล่นสามารถเดินทางไปยังตำแหน่งของกิจกรรมที่พบในแผนที่ได้ทุกเมื่อ ฉะนั้นการจะทิ้งกิจกรรมที่ไม่อยากทำไว้จนถึงเวลาที่จำเป็นจริงๆ ค่อยมาทำก็ยังง่ายดาย เพราะสามารถวาร์ปกลับไปยังตำแหน่งนั้นๆ ได้ทันที

การสำรวจจะผูกเข้ากับระบบการพัฒนาตัวละครด้วย เพราะกิจกรรมแทบทุกอย่างที่ทำได้บนแผนที่จะมอบประโยชน์ให้กับตัวละครแตกต่างกันไป เช่นการแช่บ่อน้ำร้อนเพื่อเพิ่ม Max HP หรือการฝึกฟันไม้ไผ่เพื่อเพิ่มเกจ Resolve ที่เอาไว้ใช้ปล่อยท่าพิเศษและฟื้นฟูพลังชีวิตของผู้เล่นขณะต่อสู้ นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถเลือกใส่ชุดเกราะ (ต้องเลือกเปลี่ยนทั้งชุด ยกเว้นหมวกกับหน้ากากสามารถผสมกันได้) และเครื่องรางชนิดต่างๆ ได้ เช่นเกราะซามูไรที่ใส่แล้วได้พลังโจมตีและพลังชีวิตเพิ่ม หรือเครื่องรางที่ทำให้ปามีดสั้นได้เพิ่มขึ้น 2 เล่มเป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมอบความสามารถพิเศษต่างกัน และทำให้ผู้เล่นสามารถเลือกสับเปลี่ยนให้เข้ากับสไตล์การเล่นหรือสถานการณ์ได้ เราอาจจะเลือกใส่เกราะหนักและใส่เครื่องรางที่เพิ่มพลังป้องกันเมื่อต้องดวลเดี่ยวกับบอส แต่เปลี่ยนมาใส่เกราะโรนินที่ทำให้ศัตรูมองเห็นเราช้าลงเมื่อต้องการลอบเร้นเป็นต้น ทำให้ชุดเกราะทุกชุดมีประโยชน์ และทำให้ผู้เล่นสามารถเตรียมตัวรับสถานการณ์ได้อย่างหลากหลาย แม้จะไม่ได้ลึกเท่าระบบชุดเกราะในเกม RPG ก็ตาม ซึ่งก้อาจไม่ใช่เรื่องแย่สำหรับหลายคนที่เบื่อหน่ายระบบ RPG ในเกมแอคชั่น



ในการเดินทาง ผู้เล่นจะต้องพึ่งพา “สายลม” ในการนำทางไปสู่จุดหมายในลักษณะเดียวกับการปักหมุดหรือการตั้ง Way Point ในเกมอื่นๆ ซึ่งก็ช่วยทำให้การเล่น Ghost of Tsushima ส่วนใหญ่มี HUD เช่นหลอดเลือดหรือมินิแมพขึ้นมากวนใจน้อยมาก และทำให้ผู้เล่นสามารถรับบรรยากาศของเกมได้ในระหว่างที่เดินทางไกลด้วยการขี่ม้า กลับกันคือระบบนกนำทาง ที่มักจะส่งนกสีเหลืองๆ มาพาผู้เล่นไปยังตำแหน่งของกิจกรรมเสริมที่ใกล้ที่สุด ซึ่งมักจะโผล่มาแบบสุ่ม แถมเจ้านกยังมักจะบินติดฉาก หรือไม่ก็บินหายไปเฉยๆ (ไม่รู้ว่าเป็นบั๊คหรือหาไม่เจอเอง) แต่ที่แน่ๆ คือผู้เขียนพบว่านกเหล่านี้มักจะพาเราหลงและเสียเวลาไป มากกว่าที่จะพาไปเจออะไรที่มีประโยชน์จริงๆ

นอกจากนี้ ผู้เล่นยังมีสิทธิจะพบกับหน่วยลาดตระเวน หรือกระทั่งค่ายทหารของพวกมองโกล ที่เมื่อกำจัดแล้วก็จะได้รับทรัพยากรมาใช้พัฒนาอาวุธชุดเกราะของเรา หรือกระทั่งได้รับ Technique Point มาใช้อัพความสามารถ เช่นการปัดลูกธนู ซึ่งการทำให้กิจกรรมเล็กน้อยทั้งหมดในแผนที่มีประโยชน์ในแบบของตัวเอง ก็ช่วยทำให้การสำรวจในเกม Ghost of Tsushima ไม่รู้สึกเสียเวลา เพราะต่อให้เป็นกิจกรรมเล็กน้อยแค่ไหนก็มีผลในการพัฒนาตัวละครไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง



กล่าวโดยสรุป การต่อสู้ในเกม Ghost of Tsushima ถือเป็นจุดแข็งที่สุดของเกม และทำออกมาได้ค่อนข้างสนุกและท้าทายโดยที่ไม่ได้ยากจนเกินความสามารถ และสามารถปรับระดับความยากได้ตลอดเวลาในจังหวะที่รู้สึกว่าเล่นไม่ผ่าน นอกจากนี้ เกมยังมีแผนที่โลกที่กว้างใหญ่ ที่มีกิจกรรมให้ทำมากมาย และทุกกิจกรรมก็ล้วนช่วยพัฒนาตัวละครของผู้เล่นในวิธีที่ต่างกัน ถ้าจะให้พูดถึงสิ่งที่ผู้เขียนมองว่าเป็นจุดอ่อน คงจะเป็นระบบการลอบเร้น ที่ค่อนข้างจะธรรมดาๆ และไม่ได้นำเสนออะไรที่ใหม่หรือเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองเท่าไหร่ แต่สำหรับคนที่ใฝ่ฝันอยากจะได้เล่นเกม Assassin’s Creed ฉบับญี่ปุ่น โดยเฉพาะคนที่ชื่นชอบเกมเพลย์ของ Assassin’s Creed ยุคแรกๆ นี่อาจจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ของพวกคุณได้ดีที่สุดแล้วในขณะนี้




◊ กราฟิก/การนำเสนอ ◊


จากภาพที่เปิดเผยออกมา ทั้งในเทรลเลอร์และในสกรีนช๊อตมากมายของเกม เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะเห็นด้วยกับผู้เชียนว่า Ghost of Tsushima เป็นเกมที่ “สวย” มากๆ ด้วยสภาพแวดล้อมสีฉูดฉาดของเกม ไปจนถึงเอฟเฟกต์ใบไม้ใบหญ้าที่ปลิวไหวไปตามลมตลอดเวลา ที่ช่วยสร้างบรรยากาศที่มีมนต์ขลังบางอย่างให้กับเกม แม้ว่าตัวเกมเองจะไม่ได้มีความแฟนตาซีก็ตาม ซึ่งก็ช่วยสร้างเอกลักษณ์ให้กับโลกของเกม ให้เป็นมากกว่าแค่อ้างอิงจากญี่ปุ่นยุคโบราณมาตรงๆ ที่อาจจะไม่ได้น่าสนใจเท่า

ยิ่งไปกว่านั้นคือเรื่องของเพลงในเกม ที่ช่วยสร้างบรรยากศให้กับการเดินทางได้เป็นอย่างดี และย้อนกลับไปเสริมบรรยากาศของเกม และสร้างความรู้สึกน่าพิศวงให้กับการสำรวจเกาะสึชิมะอย่างน่าประหลาด แน่นอนว่าทั้งหมดทำให้การเดินทางไปมาในเกาะสึชิมะของเกมเป็นประสบการณ์ที่น่าเพลิดเพลินแทบจะตลอดเวลาเลยทีเดียว แถมผู้เล่นยังสามารถปลดล๊อคเพลงต่างๆ ให้ตัวละครจินสามารถเป่าขลุ่ยตามได้ ซึ่งการเป่าขลุ่ยยังเป็นวิธีการที่เกมเปิดให้ผู้เล่นควบคุมสภาพอากาศของเกมด้วย (เช่นเพลงหนึ่งอาจทำให้ฟ้าใส แต่อีกเพลงทำให้ฝนตก เป็นต้น) แม้ว่าสภาพแวดล้อมมักจะไม่ได้มีผลอะไรกับการเล่นเกมจริงๆ เท่าไหร่ก็ตาม



อีกสิ่งที่น่าชมคือคุณภาพของการพากย์เสียง และการแสกนหน้านักแสดง ที่บอกเลยว่ามีหลายฉากที่ผู้เขียนเกิดความอินตามเนื้อเรื่องได้เพียงเพราะจากสีหน้าและน้ำเสียงของนักแสดงเลย โดยเฉพาะท่านลุงชิมูระ พ่อบุญธรรมและอาจารย์ของตัวเอก ที่อาจจะเป็นผลงานการแสดงและพากย์เสียงตัวละครที่ผู้เขียนชอบที่สุดชิ้นหนึ่งได้เลย (อย่างน้อยก็ในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษที่ผู้เขียนเล่น) ซึ่งคุณภาพของเสียงพากย์และการแสดง อาจจะเรียกได้ว่าเป็นสิ่งเดียวที่ค้ำชูเนื้อเรื่องของเกมเอาไว้อยู่ เพราะถ้าไม่ได้กลุ่มนักแสดงและนักพากย์นี้มา เชื่อว่าผู้เขียนคงหักคะแนนส่วนเนื้อเรื่องไปมากกว่านี้แน่นอน



แต่ในความสวยงามของเกม ก็รู้สึกถึงความ ”ปรุงแต่ง” มากกว่าเกม Open World คู่แข่งหลายๆ เกมเช่นเดียวกัน จากการที่รายละเอียดหลายๆ อย่างในโลกขาดชีวิตชีวาไปอย่างชัดเจน เช่นเหล่า NPC ชาวบ้าน ที่ส่วนใหญ่มักจะยืนอยู่ที่เดิมเฉยๆ ทั้งเกม หรืออนิเมชั่นของน้ำและโคลนเมื่อวิ่งผ่าน ที่บ้างครั้งก็กระเซ็นแบบสมจริง แต่บางครั้งก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย เหมือนผู้พัฒนาพยายามทำให้เกมสวยที่สุดเมื่อมองในภาพใหญ่ (ต้องยอมรับว่ามันสวยจริงๆ) แทนที่จะปั้นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทั้งหมดให้สวยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้อย่างที่ผู้พัฒนาหลายๆ สำนักพยายามทำในปัจจุบัน ซึ่งว่ากันตามตรงก็ไม่ได้ส่งผลต่อเกมเพลย์เท่าไหร่นัก แต่เพราะเกมอื่นๆ หลายเกมดูจะแก้ไขปัญหานี้ไปได้บ้างไม่มากก็น้อย เลยทำให้กลายเป็นข้อบกพร่องที่สังเกติง่ายในเกมนี้




◊ ซับไทยและ Kurosawa Mode ◊


อย่างที่หลายคนอาจจะทราบกันดี เกม Ghost of Tsushima สนับสนุนบทบรรยายและเมนูภาษาไทยด้วย เช่นเดียวกับเกม PlayStation 4 Exclusive เกมก่อนหน้าอย่าง The Last of Us Part II ซึ่งเกม TLoU2 เป็นหนึ่งในเกมที่หลายๆ คน (รวมไปถึงทีมงาน GameFever ด้วย) ต่างชื่นชมว่าทำบทบรรยายไทยออกมาได้ดีมากๆ

สำหรับเกม Ghost of Tsushima นั้น อาจจะด้วยความที่ผู้แปลพยายามจะรักษาความเป็นสมัยโบราณของเกมด้วย แต่บทบรรยายไทยของเกมมีความแข็งๆ ต่างจากเกม TLoU2 อย่างมาก และมีหลายคำที่แปลออกมาแปลกๆ สังเกติง่ายๆ แค่จากคำว่า “Continue” ในเมนูหลักของเกม ที่ถูกแปลออกมาเป็น “ทำต่อ” แทนที่จะเป็น “เล่นต่อ” เป็นต้น ผู้เขียนยอมรับตามตรงว่าทนเล่นซับไทยอยู่ได้ประมาณสองภารกิจ ก่อนที่จะทนไม่ไหวเปลี่ยนกลับไปเล่นซับอังกฤษ เพราะมันทำให้เสียอรรถรสและสมาธิขณะเล่นจริงๆ



ในส่วนของโหมดพิเศษ Kurosawa Mode ของเกม หรือที่น่าจะเรียกกันง่ายๆ ว่า “โหมดขาวดำ” นั้น จะทำให้ภาพในเกมทั้งหมดกลายเป็นสีขาวดำ เช่นเดียวกับเหล่าหนังซามูไรในยุค 1950-60 ของผู้กำกับภาพยนตร์ในตำนาน คุโรซาวะ อาคิระ ที่ผลิตผลงานภาพยนตร์ซามูไรอันโด่งดังอย่าง Seven Samurai (1954) และ Yojimbo (1961) อันเป็นแรงบันดาลใจของเหล่าผู้พัฒนานั่นเอง โหมดจะใส่เอฟเฟกต์ Film Grain เข้าไปเพื่อจำลองความรู้สึกของภาพยนตร์ในยุคนั้น และจะทำให้ลมในเกมพัดแรงขึ้นมากๆ เพื่อเสริมอารมณ์ของเกม ซึ่งก็ไม่ได้มีอะไรมากนะ สำหรับผู้เขียนไม่ได้รู้สึกมันช่วยทำให้เกมสนุกขึ้นหรืออะไร แต่ก็คงมีคอหนังตัวยงที่อาจจะชื่นชอบความรู้สึกของการได้ “เล่นหนังซามูไร” ก็เป็นได้ 






◊ สรุป ◊


เกม Ghost of Tsushima อาจไม่ใช่เกมที่พยายามนำเสนออะไรที่ใหม่กว่าคนอื่น และก็ต้องยอมรับว่ามีหลายองค์ประกอบที่รู้สึกว่าเป็นปัญหาอยู่บ้าง แต่ Ghost of Tsushima ก็ยังเป็นเกมที่สนุกในตัวของมันเอง ที่น่าจะมอบประสบการณ์นินจาซามูไรที่หลายคนต้องการมาตลอดได้เป็นอย่างดี น่าเสียดายที่บทบรรยายไทยของเกมไม่สามารถคงมาตรฐานที่ The Last of Us Part II ตั้งมาได้ แต่สำหรับคนที่ไม่เข้าใจภาษาอังกฤษ (หรือญี่ปุ่น) จริงๆ ก็ยังถือว่าดีกว่าไม่มีอะไรเลยล่ะนะ



[penci_review id="61128"]

7
ข้อดี
ข้อเสีย
9
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
Review: รีวิวเกม Ghost of Tsushima "Assassin ก็ไม่ใช่ Jedi ก็ไม่เชิง"
20/07/2020

ถ้าให้พูดกันตามตรง เกม Ghost of Tsushima / ‘นักรบปีศาจแห่งสึชิมะ’ ถือเป็นเกมที่ “สนุก” มากๆ เกมหนึ่ง ด้วยเกมเพลย์แนวแอคชั่นโลกเปิดอันดุเดือด ที่ผสมผสานการต่อสู้อันท้าทายของเกมอย่าง Star Wars Jedi: Fallen Order เข้ากับการลอบเร้นและโครงสร้างของเกม Assassin’s Creed จนทำให้ในหลายๆ จังหวะ เกมรู้สึกเหมือนเป็น “เกม Assassin’s Creed สไตล์ญี่ปุ่น” ที่แฟนๆ เรียกร้องจะได้เล่นมาตลอดเลยก็ว่าได้ ยังไม่นับรวมองค์ประกอบด้านการนำเสนออย่างกราฟิกและเพลง ที่ล้วนสร้างบรรยากาศให้การสำรวจโลกไม่น่าเบื่อตลอดระยะเวลาที่เล่น

แต่ Ghost of Tsushima ก็ยังประสบปัญหาหลายๆ อย่างที่มักพบในเกม Open World โดยเฉพาะในแง่ของเนื้อเรื่อง รวมไปถึงปัญหาด้านการนำเสนอบางประการ ที่ทำให้เกมมีความรู้สึก “เก่า” ไปซะหน่อย เมื่อเทียบกับเกมฟอร์มใหญ่อื่นๆ ทุกวันนี้ อดคิดไม่ได้ว่าถ้าเกมวางจำหน่ายเร็วกว่านี้ซักปีสองปี คงทำให้สามารถมองข้ามสิ่งที่เกมขาดไปได้ง่ายกว่านี้






◊ เนื้อเรื่อง ◊


เนื้อเรื่องของเกม Ghost of Tsushima จะอ้างอิงจากเหตุการณ์จริงทางประวัติศาสตร์ปี ค.ศ. 1274 เมื่อกองทัพจากจักรวรรดิ์มองโกลได้เริ่มต้นการรุกรานญี่ปุ่น โดยกองเรือมองโกลได้เทียบท่าที่เกาะสึชิมะ (Tsushima) เป็นอันดับแรก ผู้เล่นจะรับบทเป็นซามูไรหนุ่ม Jin Sakai (จิน ซาไค) ผู้รอดชีวิตไม่กี่คนจากการโจมตีระลอกแรกของกองทัพมองโกล ผู้ซึ่งตัดสินใจหันหลังให้กับวิถีนักรบอันทรงเกียรติ์ เพื่อต่อสู้กับเหล่าผู้รุกรานโดยไม่เลือกวิธีในฐานะ “นักรบปีศาจแห่งสึชิมะ” (The Ghost) พร้อมกับเหล่าเพื่อนพ้องนักรบ ที่พร้อมจะแลกทุกอย่างเพื่อปกป้องแผ่นดินเกิดของพวกเขา



เนื้อเรื่องเส้นหลัก หรือที่เกมเรียกว่า “Tale of Jin” (บันทึกของจิน) จะถูกแบ่งออกเป็นสาม “องค์” เกี่ยวกับความพยายามในการปลดแอกเกาะสึชิมะจากการปกครองของเหล่าผู้รุกราน ซึ่งในมิตินี้ เนื้อเรื่องหลักของเกม Ghost of Tsushima ค่อนข้างจะตามสูตรเรื่องราวแนวเดียวกันค่อนข้างจะเป๊ะๆ เลย จินก็คือนักรบผู้ถูกเลือก ทีต้องออกเดินทางอย่างโดดเดี่ยวเพื่อรวบรวมผู้กล้ากลุ่มเล็กๆ และปลุกใจชาวบ้านที่ถูกกดขี่ให้ลุกขึ้นมาต่อต้านเหล่าวายร้ายที่มีจำนวนมากกว่า ซึ่งก็ทำให้เนื้อเรื่องโดยรวมไม่ได้น่าจดจำเท่าไหร่ แม้จะไม่ได้แย่ แต่ก็รู้สึก “เฉยๆ” มาก

อีกอย่างก็คือ เนื้อเรื่องหลักของเกมพยายามจะนำเสนอประเด็นความขัดแย้งในใจของจิน เขาต้องทำในสิ่งที่ขัดกับคำสอนและความเชื่อทั้งหมดที่เขาเติบโตมา เพื่อปรับตัวเข้ากับศัตรูกลุ่มใหม่ ที่ไม่มีปัญหากับการ “เล่นสกปรก” เพื่อชัยชนะ ซึ่งเป็นประเด็นที่เกมใช้เป็นแก่นทางอารมณ์ (Emotional Core) ของเนื้อเรื่อง ปัญหามันเกิดตรงที่ว่าเกมนำเสนอชัดเจนเหลือเกินว่ามันมีทางเลือกที่ “ถูกและผิด” อยู่ในสถานการณ์นี้ ยกตัวอย่างเหตุการณ์หนึ่งในช่วงต้นๆ เกม เมื่อจินจำเป็นต้องช่วยชีวิตชาวบ้านกลุ่มหนึ่งจากเหล่าผู้รุกราน โดยตัวเขารู้ดีว่าถ้าเขาบุกเข้าไปโจมตีทหารมองโกลตรงๆ จะทำให้ชีวิตของชาวบ้านอยู่ในอันตราย เขาจึงต้องจำใจขัดวิถีซามูไร และลอบสังหารศัตรูทั้งหมดแบบเงียบๆ เพื่อให้สามารถรักษาชีวิตของชาวบ้านได้

ในสถานการณ์ที่ยกมา ผู้เขียนรู้สึกว่ามันช่างชัดเจนเหลือเกินว่าทางเลือกที่ถูกต้องคืออะไร หากจุดประสงค์ของจินคือการช่วยชีวิตชาวบ้าน งั้นทางเลือกที่จินเลือกก็น่าจะถูกต้องแล้ว ดีกว่าการรักษาเกียรติ์ของตนเองแต่ต้องแลกมากับชีวิตของผู้บริสุทธิ์ แต่จินก็ยังดูจะเป็นทุกข์กับการตัดสินใจของเขาอยู่ดี ทำให้ผู้เขียนรู้สึกไม่ค่อยอินกับประเด็นนี้เท่าไหร่ เพราะรู้สึกว่าบางครั้งก็เหมือนตัวละคร "คิดมาก" ไปเอง



ในอีกมุมหนึ่ง อาจจะมองได้ว่าเกมพยายามจะนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับความขัดแย้งที่ไม่มีทางออกระหว่างแนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่พยายามปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนไป และคนรุ่นเก่าที่พยายามจะคงไว้ซึ่ง “วัฒนธรรมและค่านิยมอันดีงาม” ที่พวกเขาถูกเสี้ยมสอนมาตลอดชีวิต และความลำบากใจของคนรุ่นใหม่ ที่จะต้องลุกขึ้นมาต่อต้านและล้มล้างความคิดเหล่านั้นเพื่อบรรลุจุดประสงค์ที่ยิ่งใหญ่กว่า แม้จะต้องปะทะกับเหล่าคนรุ่นเก่า ที่ในหลายครั้งก็เป็นคนที่เรารักและเคารพอยู่ แม้ว่าเราจะไม่สามารถยอมรับความคิดของพวกเขาได้อีกต่อไป ซึ่งก็ถือเป็นมิติที่น่าสนใจในเนื้อเรื่อง แต่สุดท้ายแล้ว เกมก็ยังคงนำเสนอประเด็นดังกล่าวออกมาได้ไม่ดีนัก เพราะสุดท้ายก็นำเสนอ “ฝั่งที่ถูกต้อง” อย่างชัดเจนอยู่ดี

ในทางกลับกัน เนื้อเรื่องส่วนที่เป็นเควสเสริมประจำตัวละครเพื่อนร่วมกลุ่มทั้งหมด กลับมีความน่าสนใจมากกว่าเนื้อเรื่องของจินเองทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการตามล่าลูกศิษย์ผู้ทรยศของ Sensei Ishikawa ไปจนถึงการตามล้างแค้นเพื่อครอบครัวของ Lady Masako ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องราวที่เข้มข้นน่าติดตาม ในระดับที่ทัดเทียมกับเนื้อเรื่องของเควสเกมอย่าง The Witcher 3 เลยทีเดียว เนื้อเรื่องเหล่านี้ยังมักจะปลดล๊อคบทใหม่ๆ ตามเนื้อเรื่องหลักไปเรื่อยๆ และมักจะตั้งคำถามเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่าง “ซามูไร” และ “ปีศาจ” (หรือความขัดแย้งระหว่างคนสองรุ่น) ในใจของจินได้ดีกว่าในเนื้อเรื่องหลักเสียอีก ทำให้การเล่นเนื้อเรื่องเสริมของตัวละครเหล่านี้ ย้อนกลับไปทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นในเนื้อเรื่องหลักน่าสนใจมากขึ้นอีกด้วย



แม้สุดท้าย เควสเสริมส่วนใหญ่ที่มีให้เล่นในเกมจะค่อนข้างสั้น และมีเนื้อเรื่องที่ไม่ค่อยน่าสนใจนัก แต่ด้วยเนื้อเรื่องหลักที่ “พอใช้” บวกกับเควสเสริมประจำตัวละครที่เขียนบทมาได้อย่างดี และนักแสดงและนักพากย์เสียงที่ยอดเยี่ยม (กล่าวถึงเพิ่มเติมในส่วนการนำเสนอ) ก็เพียงพอจะทำให้ผู้เขียนใช้เวลาอย่างเพลิดเพลินไปกับเกมไม่ต่ำกว่า 30-40 ชั่วโมงก่อนจะจบเนื้อเรื่อง




◊ เกมเพลย์ ◊


อย่างที่กล่าวไปในหัวเรื่อง เกมเพลย์ของ Ghost of Tsushima อาจจะบรรยายได้แบบกว้างๆ ว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างการต่อสู้ของเกมอย่าง Star Wars Jedi: Fallen Order ที่เน้นการปัดป้อง (Parry) และหลบหลีกการโจมตีของศัตรู และปลิดชีพศัตรูอย่างรวดเร็วในการโจมตีไม่กี่ครั้ง เข้ากับการลอบเร้นและโครงสร้างของเกม Assassin’s Creed ที่ให้ผู้เล่นเดินทางไปรอบๆ แผนที่เพื่อทำเควสเนื้อเรื่อง เควสเสริม รวมไปถึงกิจกรรมยิบย่อยอีกมากมาย พร้อมกับการพัฒนาความสามารถและอุปกรณ์ของตัวละครไปด้วย



ในระหว่างการต่อสู้อย่างซามูไร เกมเพลย์ของ Ghost of Tsushima อาจจะเปรียบได้กับเกมอย่าง Star Wars Jedi: Fallen Order ที่เน้นการหลบหลีกและปัดป้อง (Parry) การโจมตีของศัตรู เพื่อหาช่องว่างในการสวนกลับด้วยการโจมตีหนัก/เบา ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนท่าถือดาบให้ตรงตามชนิดของศัตรูเพื่อสร้างความได้เปรียบด้วย เกมมักจะแบ่งชัดเจนว่าการโจมตีแบบไหนที่ควรหลบหลีก และแบบไหนควรปัดป้อง โดยท่าที่ตั้งใจให้ปัดป้องทั้งหลายมักจะออกมาเป็นชุด และมักจะติดตามการหลบหลีกของผู้เล่นได้ตลอด จึงอาจจะพูดได้ว่าในขณะที่เกมอย่าง Jedi: Fallen Order หรือกระทั่ง Sekiro: Shadows Die Twice ยังเปิดให้ผู้เล่นที่อาจไม่ถนัดการกะจังหวะเพื่อปัดป้องสามารถใช้ความคล่องแคล่วมาทดแทนกันได้ ใน Ghost of Tsushima เกมแทบจะบังคับให้ผู้เล่นจำเป็นต้องฝึกฝนการปัดป้องให้ชำนาญระดับหนึ่งเลย แม้กระทั่งในการต่อสู้กับศัตรูระดับต่ำ เพราะความสมจริงของเกมหมายความว่าทั้งศัตรูและผู้เล่นจะสามารถรับการโจมตีได้เพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้นก่อนจะตาย

ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ได้จะบอกว่า Ghost of Tsushima มีความยากกว่า Jedi: Fallen Order หรือ Sekiro: Shadows Die Twice แต่อาจจะพูดได้ว่าเกม “คาดหวัง” ให้ผู้เล่นทุกคนสามารถใช้เครื่องมือทุกอย่างที่เกมมอบให้ให้เป็น ไม่ว่าจะเป็นทักษะพื้นฐานอย่างการหลบหลีกและป้องกัน ไปจนถึงระบบ Stance หรือท่าถือดาบ ที่มักจะเปลี่ยนท่วงท่าการโจมตีของผู้เล่นเพื่อรับมือกับศัตรูชนิดต่างๆ เช่นท่าหนึ่งเอาไว้รับมือกับศัตรูที่ถือดาบ ในขณะที่อีกท่าเอาไว้รับมือกับศัตรูที่ถือหอก เป็นต้น แม้จะไม่ค่อยเห็นผลในช่วงแรกๆ แต่ในช่วงท้ายๆ เกมศัตรูจะเริ่มใส่เกราะหนักที่ทำให้รับการโจมตีได้มากขึ้น ทำให้การพยายาม Stagger ศัตรูผ่านท่าโจมตีเฉพาะของแต่ละ Stance มีความจำเป็นขึ้นมา และทำให้ยิ่งเกมดำเนินไปเท่าไหร่ การต่อสู้ในเกมก็จะมีมิติมากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย



เกมมักจะทดสอบฝีมือของผู้เล่นอยู่เป็นระยะผ่านการต่อสู้แบบ Duel หรือการดวลดาบแบบตัวต่อตัวในพื้นที่จำกัด ซึ่งบอกได้เลยว่าเป็นเกมเพลย์ส่วนที่หินที่สุดในเกมเลย เพราะศัตรูในการดวลมักจะมีท่วงท่าและจังหวะการโจมตีที่ซับซ้อนกว่าศัตรูทั่วไป ที่จะบังคับให้ผู้เล่นจำเป็นต้องใช้ฝีมือในการต่อสู้ของตัวเองเพียวๆ 100% มีการดวลหลายครั้งที่ผู้เขียนตายแล้วตายอีกนับสิบๆ รอบกว่าจะผ่านไปได้ แต่ทุกครั้งที่เอาชนะศัตรูเหล่านี้ลงได้ ผู้เขียนก็สังเกติได้ถึงพัฒนาการในการเล่นของตัวเองเช่นเดียวกัน จึงทำให้การดวลเหล่านี้ยังคงสนุกทุกครั้ง และทำให้เรารู้สึกเหมือนตัวเองเป็นซามูไรยอดฝีมือขึ้นมาจริงๆ เลย



ในทางกลับกัน ต้องยอมรับว่าเกมเพลย์การลอบเร้นใน Ghost of Tsushima นั้นอาจจะเรียกได้ว่า “เบสิก” มากๆ ผู้เล่นจะสามารถกดปุ่มอนาล๊อคขวา (R3) เพื่อย่อตัวลงและหลบซ่อนในพงหญ้าได้ หรือจะปีนป่ายภูเขา/อาคาร/ต้นไม้ในสภาพแวดล้อมเพื่อหาจังหวะลอบสังหารศัตรูจากด้านบนก็ได้ ผู้เล่นจะมีเครื่องมือเช่นกระดิ่งและประทัดที่สามารถใช้ปาไปดึงดูดความสนใจของศัตรูได้ หรือลูกดอกพิษที่ทำให้ศัตรูเห็นภาพหลอนและโจมตีศัตรูด้วยกันเป็นต้น มีธนูไว้ใช้สังหารศัตรูเงียบๆ จากระยะไกล หรือจะเข้าไปปาดคอในระยะใกล้ก็ได้ เมื่อถูกเจอ ผู้เล่นก็สามารถปาระเบิดควันลงพื้นเพื่อหลบซ่อนจากศัตรูอีกครั้งได้ คือขาดไปแค่รถเข็นใส่กองฟางก็จะเป็น Assassin’s Creed แล้วจริงๆ แต่อาจจะจำกัดมากกว่าด้วยซ้ำ เพราะเกมไม่ได้เปิดให้ปีนป่ายได้อย่างอิสระเท่า AC แถมองค์ประกอบอย่างการเคลื่อนย้ายศพศัตรูก็ไม่มี

ที่สำคัญ A.I. ศัตรูในเกมนี้ก็ไม่ค่อยจะฉลาดนัก โดยเฉพาะในระดับความยาก Normal นี่แทบจะเรียกว่าหูหนวกตาบอดกันหมดเลยทีเดียว ผู้เขียนสามารถกระโดดจากตึกสองชั้นลงมายืนข้างหลังศัตรูได้โดยที่พวกมันไม่รู้ตัวอะไรเลย แม้จะตกลงมาเสียงดังแค่ไหน หรือตัวเอกจะโอดครวญด้วยความเจ็บปวดอยู่สองวิเต็มๆ (เพราะโดดลงมาสูงเกินแล้วโดน Fall Damage) แต่ผู้เขียนก็ยังสามารถปาดคอพวกมันได้โดยที่ไม่มีใครรู้ แม้การปรับระดับความยากขึ้นมาเป็น Hard จะทำให้ศัตรูหูตาไวขึ้นพอสมควร และทำให้การลอบเร้นมีความท้าทายขึ้นมาบ้างเล็กน้อย แต่ก็ยังถือว่าเป็นรูปแบบการลอบเร้นแบบพื้นๆ ที่ค่อนข้างง่าย และอาจไม่ค่อยสนุกสำหรับคนที่โหยหาความท้าทายระดับเดียวกับการต่อสู้ในเกม



ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยความที่เกมพยายามจะปลดล๊อคความสามารถฝั่งลอบเร้น (เช่นมีดบิน ระเบิดควัน ประทัด)ไปตามเนื้อเรื่อง เพื่อสะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางความคิดของตัวเอก กว่าจะปลดล๊อคเครื่องมือทั้งหมดในการลอบเร้น ก็ปาเข้าไปเกือบครึ่งเกมแล้ว (20-25 ชั่วโมง) ทำให้การลอบเร้นในช่วงองค์แรกของเกม (5-10 ชั่วโมงขึ้นอยู่กับความขยันในการเก็บเควส) ค่อนข้างจำกัดมากๆ ซึ่งแม้จะมีเหตุผลสนับสนุนในเนื้อเรื่อง แต่ก็ทำให้การลอบเร้นของเกมในครึ่งแรกทั้งหมดรู้สึกน่าเบื่อไปซะหน่อยสำหรับผู้เขียน ที่มักจะเลือกเดินเข้าไปท้าศัตรูซึ่งๆ หน้าเลยเพราะสนุกกว่า การลอบเร้นจะเริ่มรู้สึกมีความจำเป็นขึ้นมาจริงๆ ในช่วงท้ายเกม ที่เริ่มมีเครื่องมือและเงื่อนไขในภารกิจที่เน้นการลอบเร้นมากขึ้น แถมศัตรูระดับสูงยังมักจะมีชุดเกราะและอาวุธที่ทนทานกว่าช่วงต้นเกมหลายเท่า การลอบเร้นเข้าไปตัดกำลังกองทัพศัตรูอย่างเงียบๆ ก่อนจึงกลายเป็นสิ่งที่ผู้เขียนทำเพราะรู้สึกจำเป็น (ไม่งั้นโดนรุมตาย) มากกว่าเป็นทางเลือกจาก “ความสนุก” และมักจะเหลือศัตรูไว้ในค่ายจำนวนหนึ่งเพื่อต่อสู้ตรงๆ เสมอ (แต่ยอมรับว่าคนที่อยากได้อารมณ์ Assassin’s Creed แบบคลาสสิคในยุคญี่ปุ่นโบราณ น่าจะอินได้ไม่ยาก



ในส่วนของการสำรวจ Ghost of Tsushima จะมีลักษณะคล้ายๆ กับเกมโลกเปิดส่วนใหญ่ในแง่ของโครงสร้าง ที่จะมีภารกิจหลักและเสริม รวมไปถึงกิจกรรมย่อยๆ อย่างการแช่บ่อน้ำแร่เพื่อเพิ่ม Max HP หรือการสำรวจศาลเจ้าเพื่อรับเครื่องราง กระจัดกระจายให้ทำอยู่เต็มแผนที่ ซึ่งแน่นอนว่าบางกิจกรรมก็สนุก เช่นการสำรวจศาลเจ้า ที่มักจะมาในรูปแบบของพัซเซิ่ลการปีนป่าย (Platforming Puzzle) แบบเบาๆ หรือการเคลียร์ค่ายทหารมองโกล ที่ทำให้ได้รับแต้มความสามารถเพิ่ม ในขณะที่บางกิจกรรมก็ไม่ค่อยสนุก เช่นการแต่งกลอนไฮกุ หรือการวิ่งไล่หมาจิ้งจอก อาจจะแล้วแต่ความชอบของแต่ละคน แต่อย่างน้อยระบบ Fast Travel ของเกมก็ทำให้ผู้เล่นสามารถเดินทางไปยังตำแหน่งของกิจกรรมที่พบในแผนที่ได้ทุกเมื่อ ฉะนั้นการจะทิ้งกิจกรรมที่ไม่อยากทำไว้จนถึงเวลาที่จำเป็นจริงๆ ค่อยมาทำก็ยังง่ายดาย เพราะสามารถวาร์ปกลับไปยังตำแหน่งนั้นๆ ได้ทันที

การสำรวจจะผูกเข้ากับระบบการพัฒนาตัวละครด้วย เพราะกิจกรรมแทบทุกอย่างที่ทำได้บนแผนที่จะมอบประโยชน์ให้กับตัวละครแตกต่างกันไป เช่นการแช่บ่อน้ำร้อนเพื่อเพิ่ม Max HP หรือการฝึกฟันไม้ไผ่เพื่อเพิ่มเกจ Resolve ที่เอาไว้ใช้ปล่อยท่าพิเศษและฟื้นฟูพลังชีวิตของผู้เล่นขณะต่อสู้ นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถเลือกใส่ชุดเกราะ (ต้องเลือกเปลี่ยนทั้งชุด ยกเว้นหมวกกับหน้ากากสามารถผสมกันได้) และเครื่องรางชนิดต่างๆ ได้ เช่นเกราะซามูไรที่ใส่แล้วได้พลังโจมตีและพลังชีวิตเพิ่ม หรือเครื่องรางที่ทำให้ปามีดสั้นได้เพิ่มขึ้น 2 เล่มเป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมอบความสามารถพิเศษต่างกัน และทำให้ผู้เล่นสามารถเลือกสับเปลี่ยนให้เข้ากับสไตล์การเล่นหรือสถานการณ์ได้ เราอาจจะเลือกใส่เกราะหนักและใส่เครื่องรางที่เพิ่มพลังป้องกันเมื่อต้องดวลเดี่ยวกับบอส แต่เปลี่ยนมาใส่เกราะโรนินที่ทำให้ศัตรูมองเห็นเราช้าลงเมื่อต้องการลอบเร้นเป็นต้น ทำให้ชุดเกราะทุกชุดมีประโยชน์ และทำให้ผู้เล่นสามารถเตรียมตัวรับสถานการณ์ได้อย่างหลากหลาย แม้จะไม่ได้ลึกเท่าระบบชุดเกราะในเกม RPG ก็ตาม ซึ่งก้อาจไม่ใช่เรื่องแย่สำหรับหลายคนที่เบื่อหน่ายระบบ RPG ในเกมแอคชั่น



ในการเดินทาง ผู้เล่นจะต้องพึ่งพา “สายลม” ในการนำทางไปสู่จุดหมายในลักษณะเดียวกับการปักหมุดหรือการตั้ง Way Point ในเกมอื่นๆ ซึ่งก็ช่วยทำให้การเล่น Ghost of Tsushima ส่วนใหญ่มี HUD เช่นหลอดเลือดหรือมินิแมพขึ้นมากวนใจน้อยมาก และทำให้ผู้เล่นสามารถรับบรรยากาศของเกมได้ในระหว่างที่เดินทางไกลด้วยการขี่ม้า กลับกันคือระบบนกนำทาง ที่มักจะส่งนกสีเหลืองๆ มาพาผู้เล่นไปยังตำแหน่งของกิจกรรมเสริมที่ใกล้ที่สุด ซึ่งมักจะโผล่มาแบบสุ่ม แถมเจ้านกยังมักจะบินติดฉาก หรือไม่ก็บินหายไปเฉยๆ (ไม่รู้ว่าเป็นบั๊คหรือหาไม่เจอเอง) แต่ที่แน่ๆ คือผู้เขียนพบว่านกเหล่านี้มักจะพาเราหลงและเสียเวลาไป มากกว่าที่จะพาไปเจออะไรที่มีประโยชน์จริงๆ

นอกจากนี้ ผู้เล่นยังมีสิทธิจะพบกับหน่วยลาดตระเวน หรือกระทั่งค่ายทหารของพวกมองโกล ที่เมื่อกำจัดแล้วก็จะได้รับทรัพยากรมาใช้พัฒนาอาวุธชุดเกราะของเรา หรือกระทั่งได้รับ Technique Point มาใช้อัพความสามารถ เช่นการปัดลูกธนู ซึ่งการทำให้กิจกรรมเล็กน้อยทั้งหมดในแผนที่มีประโยชน์ในแบบของตัวเอง ก็ช่วยทำให้การสำรวจในเกม Ghost of Tsushima ไม่รู้สึกเสียเวลา เพราะต่อให้เป็นกิจกรรมเล็กน้อยแค่ไหนก็มีผลในการพัฒนาตัวละครไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง



กล่าวโดยสรุป การต่อสู้ในเกม Ghost of Tsushima ถือเป็นจุดแข็งที่สุดของเกม และทำออกมาได้ค่อนข้างสนุกและท้าทายโดยที่ไม่ได้ยากจนเกินความสามารถ และสามารถปรับระดับความยากได้ตลอดเวลาในจังหวะที่รู้สึกว่าเล่นไม่ผ่าน นอกจากนี้ เกมยังมีแผนที่โลกที่กว้างใหญ่ ที่มีกิจกรรมให้ทำมากมาย และทุกกิจกรรมก็ล้วนช่วยพัฒนาตัวละครของผู้เล่นในวิธีที่ต่างกัน ถ้าจะให้พูดถึงสิ่งที่ผู้เขียนมองว่าเป็นจุดอ่อน คงจะเป็นระบบการลอบเร้น ที่ค่อนข้างจะธรรมดาๆ และไม่ได้นำเสนออะไรที่ใหม่หรือเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองเท่าไหร่ แต่สำหรับคนที่ใฝ่ฝันอยากจะได้เล่นเกม Assassin’s Creed ฉบับญี่ปุ่น โดยเฉพาะคนที่ชื่นชอบเกมเพลย์ของ Assassin’s Creed ยุคแรกๆ นี่อาจจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ของพวกคุณได้ดีที่สุดแล้วในขณะนี้




◊ กราฟิก/การนำเสนอ ◊


จากภาพที่เปิดเผยออกมา ทั้งในเทรลเลอร์และในสกรีนช๊อตมากมายของเกม เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะเห็นด้วยกับผู้เชียนว่า Ghost of Tsushima เป็นเกมที่ “สวย” มากๆ ด้วยสภาพแวดล้อมสีฉูดฉาดของเกม ไปจนถึงเอฟเฟกต์ใบไม้ใบหญ้าที่ปลิวไหวไปตามลมตลอดเวลา ที่ช่วยสร้างบรรยากาศที่มีมนต์ขลังบางอย่างให้กับเกม แม้ว่าตัวเกมเองจะไม่ได้มีความแฟนตาซีก็ตาม ซึ่งก็ช่วยสร้างเอกลักษณ์ให้กับโลกของเกม ให้เป็นมากกว่าแค่อ้างอิงจากญี่ปุ่นยุคโบราณมาตรงๆ ที่อาจจะไม่ได้น่าสนใจเท่า

ยิ่งไปกว่านั้นคือเรื่องของเพลงในเกม ที่ช่วยสร้างบรรยากศให้กับการเดินทางได้เป็นอย่างดี และย้อนกลับไปเสริมบรรยากาศของเกม และสร้างความรู้สึกน่าพิศวงให้กับการสำรวจเกาะสึชิมะอย่างน่าประหลาด แน่นอนว่าทั้งหมดทำให้การเดินทางไปมาในเกาะสึชิมะของเกมเป็นประสบการณ์ที่น่าเพลิดเพลินแทบจะตลอดเวลาเลยทีเดียว แถมผู้เล่นยังสามารถปลดล๊อคเพลงต่างๆ ให้ตัวละครจินสามารถเป่าขลุ่ยตามได้ ซึ่งการเป่าขลุ่ยยังเป็นวิธีการที่เกมเปิดให้ผู้เล่นควบคุมสภาพอากาศของเกมด้วย (เช่นเพลงหนึ่งอาจทำให้ฟ้าใส แต่อีกเพลงทำให้ฝนตก เป็นต้น) แม้ว่าสภาพแวดล้อมมักจะไม่ได้มีผลอะไรกับการเล่นเกมจริงๆ เท่าไหร่ก็ตาม



อีกสิ่งที่น่าชมคือคุณภาพของการพากย์เสียง และการแสกนหน้านักแสดง ที่บอกเลยว่ามีหลายฉากที่ผู้เขียนเกิดความอินตามเนื้อเรื่องได้เพียงเพราะจากสีหน้าและน้ำเสียงของนักแสดงเลย โดยเฉพาะท่านลุงชิมูระ พ่อบุญธรรมและอาจารย์ของตัวเอก ที่อาจจะเป็นผลงานการแสดงและพากย์เสียงตัวละครที่ผู้เขียนชอบที่สุดชิ้นหนึ่งได้เลย (อย่างน้อยก็ในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษที่ผู้เขียนเล่น) ซึ่งคุณภาพของเสียงพากย์และการแสดง อาจจะเรียกได้ว่าเป็นสิ่งเดียวที่ค้ำชูเนื้อเรื่องของเกมเอาไว้อยู่ เพราะถ้าไม่ได้กลุ่มนักแสดงและนักพากย์นี้มา เชื่อว่าผู้เขียนคงหักคะแนนส่วนเนื้อเรื่องไปมากกว่านี้แน่นอน



แต่ในความสวยงามของเกม ก็รู้สึกถึงความ ”ปรุงแต่ง” มากกว่าเกม Open World คู่แข่งหลายๆ เกมเช่นเดียวกัน จากการที่รายละเอียดหลายๆ อย่างในโลกขาดชีวิตชีวาไปอย่างชัดเจน เช่นเหล่า NPC ชาวบ้าน ที่ส่วนใหญ่มักจะยืนอยู่ที่เดิมเฉยๆ ทั้งเกม หรืออนิเมชั่นของน้ำและโคลนเมื่อวิ่งผ่าน ที่บ้างครั้งก็กระเซ็นแบบสมจริง แต่บางครั้งก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย เหมือนผู้พัฒนาพยายามทำให้เกมสวยที่สุดเมื่อมองในภาพใหญ่ (ต้องยอมรับว่ามันสวยจริงๆ) แทนที่จะปั้นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทั้งหมดให้สวยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้อย่างที่ผู้พัฒนาหลายๆ สำนักพยายามทำในปัจจุบัน ซึ่งว่ากันตามตรงก็ไม่ได้ส่งผลต่อเกมเพลย์เท่าไหร่นัก แต่เพราะเกมอื่นๆ หลายเกมดูจะแก้ไขปัญหานี้ไปได้บ้างไม่มากก็น้อย เลยทำให้กลายเป็นข้อบกพร่องที่สังเกติง่ายในเกมนี้




◊ ซับไทยและ Kurosawa Mode ◊


อย่างที่หลายคนอาจจะทราบกันดี เกม Ghost of Tsushima สนับสนุนบทบรรยายและเมนูภาษาไทยด้วย เช่นเดียวกับเกม PlayStation 4 Exclusive เกมก่อนหน้าอย่าง The Last of Us Part II ซึ่งเกม TLoU2 เป็นหนึ่งในเกมที่หลายๆ คน (รวมไปถึงทีมงาน GameFever ด้วย) ต่างชื่นชมว่าทำบทบรรยายไทยออกมาได้ดีมากๆ

สำหรับเกม Ghost of Tsushima นั้น อาจจะด้วยความที่ผู้แปลพยายามจะรักษาความเป็นสมัยโบราณของเกมด้วย แต่บทบรรยายไทยของเกมมีความแข็งๆ ต่างจากเกม TLoU2 อย่างมาก และมีหลายคำที่แปลออกมาแปลกๆ สังเกติง่ายๆ แค่จากคำว่า “Continue” ในเมนูหลักของเกม ที่ถูกแปลออกมาเป็น “ทำต่อ” แทนที่จะเป็น “เล่นต่อ” เป็นต้น ผู้เขียนยอมรับตามตรงว่าทนเล่นซับไทยอยู่ได้ประมาณสองภารกิจ ก่อนที่จะทนไม่ไหวเปลี่ยนกลับไปเล่นซับอังกฤษ เพราะมันทำให้เสียอรรถรสและสมาธิขณะเล่นจริงๆ



ในส่วนของโหมดพิเศษ Kurosawa Mode ของเกม หรือที่น่าจะเรียกกันง่ายๆ ว่า “โหมดขาวดำ” นั้น จะทำให้ภาพในเกมทั้งหมดกลายเป็นสีขาวดำ เช่นเดียวกับเหล่าหนังซามูไรในยุค 1950-60 ของผู้กำกับภาพยนตร์ในตำนาน คุโรซาวะ อาคิระ ที่ผลิตผลงานภาพยนตร์ซามูไรอันโด่งดังอย่าง Seven Samurai (1954) และ Yojimbo (1961) อันเป็นแรงบันดาลใจของเหล่าผู้พัฒนานั่นเอง โหมดจะใส่เอฟเฟกต์ Film Grain เข้าไปเพื่อจำลองความรู้สึกของภาพยนตร์ในยุคนั้น และจะทำให้ลมในเกมพัดแรงขึ้นมากๆ เพื่อเสริมอารมณ์ของเกม ซึ่งก็ไม่ได้มีอะไรมากนะ สำหรับผู้เขียนไม่ได้รู้สึกมันช่วยทำให้เกมสนุกขึ้นหรืออะไร แต่ก็คงมีคอหนังตัวยงที่อาจจะชื่นชอบความรู้สึกของการได้ “เล่นหนังซามูไร” ก็เป็นได้ 






◊ สรุป ◊


เกม Ghost of Tsushima อาจไม่ใช่เกมที่พยายามนำเสนออะไรที่ใหม่กว่าคนอื่น และก็ต้องยอมรับว่ามีหลายองค์ประกอบที่รู้สึกว่าเป็นปัญหาอยู่บ้าง แต่ Ghost of Tsushima ก็ยังเป็นเกมที่สนุกในตัวของมันเอง ที่น่าจะมอบประสบการณ์นินจาซามูไรที่หลายคนต้องการมาตลอดได้เป็นอย่างดี น่าเสียดายที่บทบรรยายไทยของเกมไม่สามารถคงมาตรฐานที่ The Last of Us Part II ตั้งมาได้ แต่สำหรับคนที่ไม่เข้าใจภาษาอังกฤษ (หรือญี่ปุ่น) จริงๆ ก็ยังถือว่าดีกว่าไม่มีอะไรเลยล่ะนะ



[penci_review id="61128"]


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header