GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
Tales of Arise Review "๋มือปืนปากร้ายกับนายหน้ากากเหล็ก"
ลงวันที่ 17/09/2021

แม้จะไม่ได้ถูกจดจำในฐานะยักษ์ใหญ่แห่งวงการ JRPG เหมือนหลายๆ เกม แต่เกมซีรีส์ ‘Tales’ ก็มีประวัติที่ยาวนานไม่แพ้เกมซีรีส์เด่นๆ อย่าง Final Fantasy หรือ Persona เช่นกัน และก็ยังเป็นที่รักของกลุ่มแฟนที่ติดตามเกมแต่ละภาคอย่างจดจ่อมาตลอด โดยผู้พัฒนา Bandai Namco ก็ได้ตอบสนองการรอคอยของแฟนๆ ด้วยการประกาศเปิดตัวเกมภาคล่าสุดอย่าง Tales of Arise ไปในปี 2020 ที่ผ่านมา พอดีกับการฉลองครบรอบ 25 ปีของซีรีส์ ‘Tales’ พอดี


ด้วยกราฟิกใหม่อันสวยสะดุดตาที่พัฒนาขึ้นด้วย Unreal Engine 4 รวมไปถึงการพัฒนาในด้านเกมเพลย์ที่ทันสมัยขึ้น ทำให้ Tales of Arise กลายเป็นที่คาดหวังของแฟนๆ ซีรีส์ Tales ที่รอคอยเกมใหม่มาถึง 5 ปี (นับตั้งแต่ที่ Tales of Berseria วางจำหน่ายไปในปี 2016) รวมไปถึงแฟนๆ ของเกมแนว JRPG หลายคนที่คาดหวังให้ Tales of Arise เปรียบเหมือนการ “ตำนานบทใหม่” ที่จะผลักดันให้ซีรีส์นี้ทัดเทียมกับเกม JRPG ชื่อดังอื่นๆ ในที่สุด


หลังจากที่ได้เล่นเกมมาแล้วเกือบ 40 ชั่วโมง แม้จะยอมรับว่า Tales of Arise ถือเป็นการพัฒนาก้าวใหญ่ของซีรีส์ Tales ในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะในส่วนของการนำเสนอและเกมเพลย์ แต่ก็ยังมีองค์ประกอบมากมายที่ทำให้เกมรู้สึก “เก่า” อย่างชัดเจน รวมไปถึงกลิ่นอายความเป็นอนิเมะอันเข้มข้นของเกมที่บางครั้งก็แอบขัดกับเนื้อเรื่องที่ค่อนข้างจริงจังและมืดมน



Tales of Arise จะเล่าเรื่องราวการต่อสู้ของกลุ่มตัวเอกเพื่อปลดแอกเหล่าผู้คนแห่งดาว Dahna จากการกดขี่ของเหล่าผู้รุกรานจากดาว Rena ผู้ซึ่งใช้แรงงานพวกเขาดั่งทาสมาตลอด 300 ปี โดยตัวเอกและพวกพ้องจะต้องออกเดินทางไปยังเขตแดนทั้ง 5 ของดาว Dahna เพื่อพิชิตผู้นำชาว Rena ของแต่ละเขตและนำอิสรภาพมาสู่ชาว Dahna อีกครั้ง


ด้วยเนื้อเรื่องที่เล่นกับประเด็นเรื่องการใช้แรงงานทาส การเหยียดเชื้อชาติ ไปจนถึงการซ้อมทรมาน คงไม่แปลกใจถ้าจะบอกว่าเนื้อเรื่องของ Tales of Arise นั้นมีความเป็น “ผู้ใหญ่” กว่าเนื้อเรื่องของเกม Tales อื่นๆ ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นพัฒนาการที่น่าสนใจของซีรีส์ โดยเกมจะติดตามตัวละครหลักสองคนคือ Alphen ทาสชาว Dahna ความจำเสื่อมที่สวมใส่หน้ากากเหล็กปริศนาตลอดเวลา ผู้ซึ่งไม่สามารถรู้สึกถึงความเจ็บปวดได้ และ Shionne หญิงสาวชาว Rena ผู้ซึ่งต้องการล้มเหล่าผู้นำแคว้นทั้ง 5 ที่ปกครอง Dahna อยู่ด้วยเหตุผลบางอย่าง โดยเธอยังต้องคำสาปที่ทำให้ใครก็ตามที่แตะต้องตัวเธอต้องรู้สึกเจ็บปวดราวกับโดนไฟดูด (เข้ากับ Alphen ที่ไม่รู้สึกเจ็บปวดพอดี)



ระหว่างการเดินทางของทั้งสอง จะได้พบกับเพื่อนร่วมทางอีก 4 คน โดยแต่ละคนก็มีเหตุผลที่ต่างกันไปในการเข้าร่วมการต่อสู้ของ Alphen และ Shionne โดยเรื่องราวของตัวละครเหล่านี้เองที่เปรียบเสมือนจุดเด่นของเนื้อเรื่องใน Tales of Arise เพราะแต่ละคนเปรียบเสมือนตัวแทนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกดขี่โดยอำนาจในรูปแบบต่างๆ กันไป และการได้สังเกติพัฒนาการของตัวละครแต่ละตัวในการก้าวข้ามการกดขี่ของตัวเองผ่านทั้งเนื้อเรื่องและเหล่าบทสนทนา Skits อันเป็นเอกลักษ์ของเกมตระกูล Tales ก็ทำให้ผู้เล่นรู้สึกผูกพันธ์กับตัวละครเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี แม้จะต้องยอมรับว่าตัวละครทุกตัวจะค่อนข้างตามสูตรสำเร็จอนิเมะเป๊ะๆ ไปเลยก็ตาม



ทั้งนี้ทั้งนั้น เกม Tales of Arise ยังมีปริศนาและการหักมุมใหญ่หลายครั้งในช่วงท้ายของเกมที่ผู้เขียนรู้สึกข้องใจว่าจำเป็นจริงหรือไม่ และทำให้เนื้อเรื่องของเกมเปลี่ยนไปจากสิ่งที่ทำให้ผู้เขียนรู้สึกชอบในช่วงต้นๆ ซึ่งถ้าพูดอะไรมากไปกว่านี้ก็เสี่ยงจะสปอยกันซะเปล่า หลายคนที่ชื่นชอบเนื้อเรื่องแนวอนิเมะจัดๆ อาจจะไม่รู้สึกติดขัดเท่าไหร่ แต่โดยส่วนตัวผู้เขียนไม่ได้ประทับใจกับเนื้อเรื่องช่วงหลังๆ ของเกมนัก และรู้สึกว่าเนื้อเรื่องคงจะน่าจดจำกว่านี้ถ้าเกมให้เวลาไปกับเรื่องราวของตัวละครแต่ละตัวมากกว่า



เช่นเดียวกับเกม Tales อื่นๆ ที่ผ่านมา เกม Tales of Arise จะใช้ระบบต่อสู้แบบแอคชั่น ผู้เล่นจะสามารถมองเห็นศัตรูยืนเป็นกลุ่มๆ อยู่ตามแผนที่ และเมื่อเดินเข้าไปใกล้ก็จะถูกพาเข้าสู่สังเวียนต่อสู้ทรงกลมที่ใช้การควบคุมแบบแอคชั่น โดยในเบื้องต้นนั้น ผู้เล่นจะสามารถโจมตีธรรมดาสลับกับการกดใช้สกิลหรือที่เกมเรียกว่า ‘Artes’ เพื่อประติดประต่อกันเป็นคอมโบ และเมื่อทำคอมโบได้ถึงจุดหนึ่งก็จะสามารถกดท่าไม้ตายรุนแรงที่เรียกว่า Boost Strike เพื่อปิดฉากศัตรูได้อีกด้วย



นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถเปลี่ยนไปควบคุมตัวละครทั้ง 6 คนได้อย่างอิสระตลอดเวลา ซึ่งแต่ละคนจะมีลูกเล่นประจำตัวที่ทำให้ประสบการณ์การเล่นแตกต่างจากคนอื่นอย่างชัดเจน เช่นตัวละคร Law ที่จะเพิ่มพลังโจมตีของตัวเองไปเรื่อยๆ เมื่อสามารถโจมตีศัตรูอย่างต่อเนื่องตราบใดที่ไม่ได้รับความเสียหาย หรือตัวละคร Kisara ที่แลกความสามารถในการหลบหลีกมาใช้โล่ห์ขนาดใหญ่ในการป้องกันตัวเองเป็นต้น ความแตกต่างเหล่านี้ทำให้การต่อสู้มีความหลากหลายและไม่น่าเบื่อเพราะสามารถเปลี่ยนไปเล่นตัวอื่นๆ ได้เสมอ แถมเมื่อเล่นตัวละครจนคล่องหลายตัวแล้วยังสามารถกดเปลี่ยนตัวละครกลางคอมโบเพื่อต่อคอมโบไปเรื่อยๆ ได้อีกด้วย



ด้วยระบบต่อสู้ที่เน้นให้ผู้เล่นทำคอมโบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็ว ทำให้การต่อสู้ในเกม Tales of Arise ต่างจากเกม JRPG อื่นๆ เพราะแทนที่ผู้เล่นจะเก็บท่าใหญ่ๆ ไว้ใช้ในยามจำเป็นเท่านั้น เกมกลับส่งเสริมให้ผู้เล่นงัดสกิลทั้งหมดมาใช้ติดๆ กันตลอดเวลา ซึ่งก็ส่งผลการต่อสู้รู้สึกดุเดือดและรวดเร็วตลอดเวลา แม้จะต้องใช้ความเคยชินอยู่บ้างสำหรับคนที่เล่นเกมแอคชั่นอื่นๆ มา เพราะจะไม่สามารถกดหลบหลีกระหว่างปล่อยท่าได้ แถมระบบการต่อคอมโบของเกมยังทำให้ไม่ควรกดปุ่มเร็วๆ หรือกดซ้ำๆ ด้วย แต่เมื่อเข้ามือแล้วก็สนุกร้าวใจตลอด และทำให้การปลดล๊อคสกิลใหม่ๆ ผ่านระบบ Skill Panel มีความตื่นเต้นมากขึ้น เพราะอยากปลดล๊อคสกิลมาสร้างคอมโบใหม่ๆ อยู่ตลอดนั่นเอง 



แต่แม้ว่าการต่อสู้กับศัตรูทั่วไปจะสนุกและรวดเร็ว การต่อสู้กับบอสใน Tales of Arise กลับตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง บอสทุกตัวนอกจากจะมีพลังชีวิตมหาศาลแล้ว ยังไม่สามารถถูก Break หรือตีให้ชะงักได้อีก นั่นหมายความว่าการต่อคอมโบอย่างลื่นไหลแบบที่ทำกับศัตรูทั่วไปจะไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้บอสหลายๆ ตัว (โดยเฉพาะเหล่าบอสที่เป็นมนุษย์ทั้งหลาย) มักมีท่าโจมตีที่ปล่อยออกมาได้รวดเร็วจนมองไม่ทัน แถมแรงพอจะหวดตัวละครในตี้ทุกตัวลงไปนอนพร้อมกันได้อีก แม้ว่าบอสหลายตัวจะมีเงื่อนไขบางอย่างที่ทำให้มันหยุดชะงักให้เราตีฟรีได้แปบนึง (เช่นต้องใช้ท่า A ของตัวละคร B เพื่อสวนท่า C ของบอสเป็นต้น) แต่ระยะเวลา 2-3 วินาทีที่ได้จากการทำสำเร็จมักไม่ได้มีความหมายนักเมื่อเทียบกับปริมาณ HP ที่บอสแต่ละตัวมี 


ยิ่งไปกว่านั้น ผู้เขียนพบว่าปาร์ตี้ของผู้เขียนมักจะมีเลเวลตามศัตรูไม่ทันเสมอ นอกเหนือว่าจะทำภารกิจเสริมทั้งหมดในแต่ละพื้นที่ก่อนที่จะเดินทางต่อไป ซึ่งจะไม่ว่าเลยถ้าภารกิจเสริมที่ว่านี้มีความน่าสนใจกว่าแค่การ “เก็บเห็ดมา 5 ต้น” หรือ “ฆ่ามอนส์เตอร์ตัวนี้ 10 ตัว” แต่ถ้าไม่ทำก็จะทำให้การสู้บอสยากสาหัสได้เลยในหลายครั้ง จึงต้องจำใจทำให้หมดในที่สุด



หากจะพูดถึงข้อปรับปรุงที่เห็นชัดเจนที่สุด คงหนีไม่พ้นเรื่องของกราฟิกและการนำเสนอที่พัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับเกมภาคก่อนๆ ซึ่งต้องยกความดีความชอบให้กับเอนจิ้น Unreal Engine 4 ทำให้เกมมีกราฟิกแนวอนิเมะสไตล์ Cel-shade สีสันสดใส แถมอนิเมชั่นหน้าตาและการเคลื่อนไหวของเหล่าตัวละครสำคัญทั้งหมดในเกมยังออกแบบมาได้ละเอียดและลื่นไหลมาก แถมเอฟเฟกต์ Artes ต่างๆ ในการต่อสู้ยังจัดจ้านตระการตามาก อาจจะมากเกินไปด้วยซ้ำในบางกรณี เช่นเวลาที่ตัวละครในปาร์ตี้ทั้ง 4 ตัวรุมสกรัมศัตรูตัวเดียวพร้อมกัน บอกเลยว่าเอฟเฟกต์ฟุ้งว่อนจนมองอะไรไม่เห็นไปเลย



แต่การปรับปรุงนี้ก็ใช่ว่าจะไม่มีราคาที่ต้องแลกมา สำหรับ Tales of Arise นั้นการพัฒนาด้านกราฟิกต้องแลกมากับการแสดงผล (Performance) ที่ไม่ค่อยดีนักแม้กระทั่งบนเครื่อง PlayStation 5 ที่ใช้สำหรับรีวิว โดยแม้ว่าการตั้งค่า Graphics Mode จะทำให้เกมมีกราฟิกและแสงสีสวยงามมากอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่ก็ต้องแลกมากับเฟรมเรตที่เหวี่ยงขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา แถมยังมีปัญหาเรื่องสิ่งของในฉากที่โหลดไม่ทันแทบจะทุกครั้งที่หมุนกล้อง ในขณะที่การตั้งค่า Performance Mode จะทำให้เกมแสดงผลที่ 60FPS นิ่งๆ ได้ แต่ก็แลกมากับคุณภาพกราฟิกที่ลดลงอย่างน่าใจหาย


ทั้งนี้ทั้งนั้น ปัญหาด้านกราฟิกที่กล่าวไปไม่ได้หนักหนาถึงขนาดที่ทำให้ประสบการณ์โดยรวมของเกมเสียไปมากนัก เพราะอย่างน้อยโหมด Performance ก็ยังทำให้สามารถสนุกกับเกมเพลย์ได้อย่างลื่นไหล อาจจะเป็นเพียงความน่าผิดหวังว่าเกมเรือธงที่พัฒนาโดยค่ายที่มากทั้งประสบการณ์และเงินทุนอย่าง Bandai Namco กลับมีปัญหาเหล่านี้แม้ว่าตัวเกมเองจะไม่ได้มีขนาดใหญ่หรือใช้กราฟิกละเอียดสมจริงด้วยซ้ำ โดยเฉพาะบนเครื่องคอนโซลอย่าง PlayStation 5 ที่ควรจะมีพลังเหลือเฟือในการเล่นเกมระดับ Tales of Arise ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 



กล่าวโดยสรุป แม้จะพูดได้ไม่เต็มปากว่า Tales of Arise นั้นเป็นเกมที่ยอดเยี่ยมในระดับเดียวกับเกมท๊อปตารางอื่นๆ แต่เกมก็ยังมอบประสบการณ์ JRPG สไตล์อนิเมะสุดเข้มข้นอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองได้เป็นอย่างดี แถมยังมีระบบต่อสู้ที่สนุก รวดเร็ว และสดใหม่อยู่แทบจะตลอดระยะเวลาที่ได้เล่น หากคุณเป็นแฟนของเกมซีรีส์ Tales หรือเป็นคนที่ชื่นชอบสไตล์การเล่าเรื่องของการ์ตูนอนิเมะ เกม Tales of Arise ถูกสร้างมาเพื่อคนแบบคุณโดยเฉพาะ



7
ข้อดี

กราฟิกยกระดับจากภาคก่อนมาก

ระบบต่อสู้บู๊แหลกมันส์สะใจ

เนื้อเรื่องที่มีความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น

ข้อเสีย

เนื้อเรื่องช่วงหลังแอบออกทะเล

Boss Fight ไม่สนุก

ปัญหาเรื่องกราฟิกเล็กน้อย

8
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
Tales of Arise Review "๋มือปืนปากร้ายกับนายหน้ากากเหล็ก"
17/09/2021

แม้จะไม่ได้ถูกจดจำในฐานะยักษ์ใหญ่แห่งวงการ JRPG เหมือนหลายๆ เกม แต่เกมซีรีส์ ‘Tales’ ก็มีประวัติที่ยาวนานไม่แพ้เกมซีรีส์เด่นๆ อย่าง Final Fantasy หรือ Persona เช่นกัน และก็ยังเป็นที่รักของกลุ่มแฟนที่ติดตามเกมแต่ละภาคอย่างจดจ่อมาตลอด โดยผู้พัฒนา Bandai Namco ก็ได้ตอบสนองการรอคอยของแฟนๆ ด้วยการประกาศเปิดตัวเกมภาคล่าสุดอย่าง Tales of Arise ไปในปี 2020 ที่ผ่านมา พอดีกับการฉลองครบรอบ 25 ปีของซีรีส์ ‘Tales’ พอดี


ด้วยกราฟิกใหม่อันสวยสะดุดตาที่พัฒนาขึ้นด้วย Unreal Engine 4 รวมไปถึงการพัฒนาในด้านเกมเพลย์ที่ทันสมัยขึ้น ทำให้ Tales of Arise กลายเป็นที่คาดหวังของแฟนๆ ซีรีส์ Tales ที่รอคอยเกมใหม่มาถึง 5 ปี (นับตั้งแต่ที่ Tales of Berseria วางจำหน่ายไปในปี 2016) รวมไปถึงแฟนๆ ของเกมแนว JRPG หลายคนที่คาดหวังให้ Tales of Arise เปรียบเหมือนการ “ตำนานบทใหม่” ที่จะผลักดันให้ซีรีส์นี้ทัดเทียมกับเกม JRPG ชื่อดังอื่นๆ ในที่สุด


หลังจากที่ได้เล่นเกมมาแล้วเกือบ 40 ชั่วโมง แม้จะยอมรับว่า Tales of Arise ถือเป็นการพัฒนาก้าวใหญ่ของซีรีส์ Tales ในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะในส่วนของการนำเสนอและเกมเพลย์ แต่ก็ยังมีองค์ประกอบมากมายที่ทำให้เกมรู้สึก “เก่า” อย่างชัดเจน รวมไปถึงกลิ่นอายความเป็นอนิเมะอันเข้มข้นของเกมที่บางครั้งก็แอบขัดกับเนื้อเรื่องที่ค่อนข้างจริงจังและมืดมน



Tales of Arise จะเล่าเรื่องราวการต่อสู้ของกลุ่มตัวเอกเพื่อปลดแอกเหล่าผู้คนแห่งดาว Dahna จากการกดขี่ของเหล่าผู้รุกรานจากดาว Rena ผู้ซึ่งใช้แรงงานพวกเขาดั่งทาสมาตลอด 300 ปี โดยตัวเอกและพวกพ้องจะต้องออกเดินทางไปยังเขตแดนทั้ง 5 ของดาว Dahna เพื่อพิชิตผู้นำชาว Rena ของแต่ละเขตและนำอิสรภาพมาสู่ชาว Dahna อีกครั้ง


ด้วยเนื้อเรื่องที่เล่นกับประเด็นเรื่องการใช้แรงงานทาส การเหยียดเชื้อชาติ ไปจนถึงการซ้อมทรมาน คงไม่แปลกใจถ้าจะบอกว่าเนื้อเรื่องของ Tales of Arise นั้นมีความเป็น “ผู้ใหญ่” กว่าเนื้อเรื่องของเกม Tales อื่นๆ ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นพัฒนาการที่น่าสนใจของซีรีส์ โดยเกมจะติดตามตัวละครหลักสองคนคือ Alphen ทาสชาว Dahna ความจำเสื่อมที่สวมใส่หน้ากากเหล็กปริศนาตลอดเวลา ผู้ซึ่งไม่สามารถรู้สึกถึงความเจ็บปวดได้ และ Shionne หญิงสาวชาว Rena ผู้ซึ่งต้องการล้มเหล่าผู้นำแคว้นทั้ง 5 ที่ปกครอง Dahna อยู่ด้วยเหตุผลบางอย่าง โดยเธอยังต้องคำสาปที่ทำให้ใครก็ตามที่แตะต้องตัวเธอต้องรู้สึกเจ็บปวดราวกับโดนไฟดูด (เข้ากับ Alphen ที่ไม่รู้สึกเจ็บปวดพอดี)



ระหว่างการเดินทางของทั้งสอง จะได้พบกับเพื่อนร่วมทางอีก 4 คน โดยแต่ละคนก็มีเหตุผลที่ต่างกันไปในการเข้าร่วมการต่อสู้ของ Alphen และ Shionne โดยเรื่องราวของตัวละครเหล่านี้เองที่เปรียบเสมือนจุดเด่นของเนื้อเรื่องใน Tales of Arise เพราะแต่ละคนเปรียบเสมือนตัวแทนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกดขี่โดยอำนาจในรูปแบบต่างๆ กันไป และการได้สังเกติพัฒนาการของตัวละครแต่ละตัวในการก้าวข้ามการกดขี่ของตัวเองผ่านทั้งเนื้อเรื่องและเหล่าบทสนทนา Skits อันเป็นเอกลักษ์ของเกมตระกูล Tales ก็ทำให้ผู้เล่นรู้สึกผูกพันธ์กับตัวละครเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี แม้จะต้องยอมรับว่าตัวละครทุกตัวจะค่อนข้างตามสูตรสำเร็จอนิเมะเป๊ะๆ ไปเลยก็ตาม



ทั้งนี้ทั้งนั้น เกม Tales of Arise ยังมีปริศนาและการหักมุมใหญ่หลายครั้งในช่วงท้ายของเกมที่ผู้เขียนรู้สึกข้องใจว่าจำเป็นจริงหรือไม่ และทำให้เนื้อเรื่องของเกมเปลี่ยนไปจากสิ่งที่ทำให้ผู้เขียนรู้สึกชอบในช่วงต้นๆ ซึ่งถ้าพูดอะไรมากไปกว่านี้ก็เสี่ยงจะสปอยกันซะเปล่า หลายคนที่ชื่นชอบเนื้อเรื่องแนวอนิเมะจัดๆ อาจจะไม่รู้สึกติดขัดเท่าไหร่ แต่โดยส่วนตัวผู้เขียนไม่ได้ประทับใจกับเนื้อเรื่องช่วงหลังๆ ของเกมนัก และรู้สึกว่าเนื้อเรื่องคงจะน่าจดจำกว่านี้ถ้าเกมให้เวลาไปกับเรื่องราวของตัวละครแต่ละตัวมากกว่า



เช่นเดียวกับเกม Tales อื่นๆ ที่ผ่านมา เกม Tales of Arise จะใช้ระบบต่อสู้แบบแอคชั่น ผู้เล่นจะสามารถมองเห็นศัตรูยืนเป็นกลุ่มๆ อยู่ตามแผนที่ และเมื่อเดินเข้าไปใกล้ก็จะถูกพาเข้าสู่สังเวียนต่อสู้ทรงกลมที่ใช้การควบคุมแบบแอคชั่น โดยในเบื้องต้นนั้น ผู้เล่นจะสามารถโจมตีธรรมดาสลับกับการกดใช้สกิลหรือที่เกมเรียกว่า ‘Artes’ เพื่อประติดประต่อกันเป็นคอมโบ และเมื่อทำคอมโบได้ถึงจุดหนึ่งก็จะสามารถกดท่าไม้ตายรุนแรงที่เรียกว่า Boost Strike เพื่อปิดฉากศัตรูได้อีกด้วย



นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถเปลี่ยนไปควบคุมตัวละครทั้ง 6 คนได้อย่างอิสระตลอดเวลา ซึ่งแต่ละคนจะมีลูกเล่นประจำตัวที่ทำให้ประสบการณ์การเล่นแตกต่างจากคนอื่นอย่างชัดเจน เช่นตัวละคร Law ที่จะเพิ่มพลังโจมตีของตัวเองไปเรื่อยๆ เมื่อสามารถโจมตีศัตรูอย่างต่อเนื่องตราบใดที่ไม่ได้รับความเสียหาย หรือตัวละคร Kisara ที่แลกความสามารถในการหลบหลีกมาใช้โล่ห์ขนาดใหญ่ในการป้องกันตัวเองเป็นต้น ความแตกต่างเหล่านี้ทำให้การต่อสู้มีความหลากหลายและไม่น่าเบื่อเพราะสามารถเปลี่ยนไปเล่นตัวอื่นๆ ได้เสมอ แถมเมื่อเล่นตัวละครจนคล่องหลายตัวแล้วยังสามารถกดเปลี่ยนตัวละครกลางคอมโบเพื่อต่อคอมโบไปเรื่อยๆ ได้อีกด้วย



ด้วยระบบต่อสู้ที่เน้นให้ผู้เล่นทำคอมโบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็ว ทำให้การต่อสู้ในเกม Tales of Arise ต่างจากเกม JRPG อื่นๆ เพราะแทนที่ผู้เล่นจะเก็บท่าใหญ่ๆ ไว้ใช้ในยามจำเป็นเท่านั้น เกมกลับส่งเสริมให้ผู้เล่นงัดสกิลทั้งหมดมาใช้ติดๆ กันตลอดเวลา ซึ่งก็ส่งผลการต่อสู้รู้สึกดุเดือดและรวดเร็วตลอดเวลา แม้จะต้องใช้ความเคยชินอยู่บ้างสำหรับคนที่เล่นเกมแอคชั่นอื่นๆ มา เพราะจะไม่สามารถกดหลบหลีกระหว่างปล่อยท่าได้ แถมระบบการต่อคอมโบของเกมยังทำให้ไม่ควรกดปุ่มเร็วๆ หรือกดซ้ำๆ ด้วย แต่เมื่อเข้ามือแล้วก็สนุกร้าวใจตลอด และทำให้การปลดล๊อคสกิลใหม่ๆ ผ่านระบบ Skill Panel มีความตื่นเต้นมากขึ้น เพราะอยากปลดล๊อคสกิลมาสร้างคอมโบใหม่ๆ อยู่ตลอดนั่นเอง 



แต่แม้ว่าการต่อสู้กับศัตรูทั่วไปจะสนุกและรวดเร็ว การต่อสู้กับบอสใน Tales of Arise กลับตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง บอสทุกตัวนอกจากจะมีพลังชีวิตมหาศาลแล้ว ยังไม่สามารถถูก Break หรือตีให้ชะงักได้อีก นั่นหมายความว่าการต่อคอมโบอย่างลื่นไหลแบบที่ทำกับศัตรูทั่วไปจะไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้บอสหลายๆ ตัว (โดยเฉพาะเหล่าบอสที่เป็นมนุษย์ทั้งหลาย) มักมีท่าโจมตีที่ปล่อยออกมาได้รวดเร็วจนมองไม่ทัน แถมแรงพอจะหวดตัวละครในตี้ทุกตัวลงไปนอนพร้อมกันได้อีก แม้ว่าบอสหลายตัวจะมีเงื่อนไขบางอย่างที่ทำให้มันหยุดชะงักให้เราตีฟรีได้แปบนึง (เช่นต้องใช้ท่า A ของตัวละคร B เพื่อสวนท่า C ของบอสเป็นต้น) แต่ระยะเวลา 2-3 วินาทีที่ได้จากการทำสำเร็จมักไม่ได้มีความหมายนักเมื่อเทียบกับปริมาณ HP ที่บอสแต่ละตัวมี 


ยิ่งไปกว่านั้น ผู้เขียนพบว่าปาร์ตี้ของผู้เขียนมักจะมีเลเวลตามศัตรูไม่ทันเสมอ นอกเหนือว่าจะทำภารกิจเสริมทั้งหมดในแต่ละพื้นที่ก่อนที่จะเดินทางต่อไป ซึ่งจะไม่ว่าเลยถ้าภารกิจเสริมที่ว่านี้มีความน่าสนใจกว่าแค่การ “เก็บเห็ดมา 5 ต้น” หรือ “ฆ่ามอนส์เตอร์ตัวนี้ 10 ตัว” แต่ถ้าไม่ทำก็จะทำให้การสู้บอสยากสาหัสได้เลยในหลายครั้ง จึงต้องจำใจทำให้หมดในที่สุด



หากจะพูดถึงข้อปรับปรุงที่เห็นชัดเจนที่สุด คงหนีไม่พ้นเรื่องของกราฟิกและการนำเสนอที่พัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับเกมภาคก่อนๆ ซึ่งต้องยกความดีความชอบให้กับเอนจิ้น Unreal Engine 4 ทำให้เกมมีกราฟิกแนวอนิเมะสไตล์ Cel-shade สีสันสดใส แถมอนิเมชั่นหน้าตาและการเคลื่อนไหวของเหล่าตัวละครสำคัญทั้งหมดในเกมยังออกแบบมาได้ละเอียดและลื่นไหลมาก แถมเอฟเฟกต์ Artes ต่างๆ ในการต่อสู้ยังจัดจ้านตระการตามาก อาจจะมากเกินไปด้วยซ้ำในบางกรณี เช่นเวลาที่ตัวละครในปาร์ตี้ทั้ง 4 ตัวรุมสกรัมศัตรูตัวเดียวพร้อมกัน บอกเลยว่าเอฟเฟกต์ฟุ้งว่อนจนมองอะไรไม่เห็นไปเลย



แต่การปรับปรุงนี้ก็ใช่ว่าจะไม่มีราคาที่ต้องแลกมา สำหรับ Tales of Arise นั้นการพัฒนาด้านกราฟิกต้องแลกมากับการแสดงผล (Performance) ที่ไม่ค่อยดีนักแม้กระทั่งบนเครื่อง PlayStation 5 ที่ใช้สำหรับรีวิว โดยแม้ว่าการตั้งค่า Graphics Mode จะทำให้เกมมีกราฟิกและแสงสีสวยงามมากอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่ก็ต้องแลกมากับเฟรมเรตที่เหวี่ยงขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา แถมยังมีปัญหาเรื่องสิ่งของในฉากที่โหลดไม่ทันแทบจะทุกครั้งที่หมุนกล้อง ในขณะที่การตั้งค่า Performance Mode จะทำให้เกมแสดงผลที่ 60FPS นิ่งๆ ได้ แต่ก็แลกมากับคุณภาพกราฟิกที่ลดลงอย่างน่าใจหาย


ทั้งนี้ทั้งนั้น ปัญหาด้านกราฟิกที่กล่าวไปไม่ได้หนักหนาถึงขนาดที่ทำให้ประสบการณ์โดยรวมของเกมเสียไปมากนัก เพราะอย่างน้อยโหมด Performance ก็ยังทำให้สามารถสนุกกับเกมเพลย์ได้อย่างลื่นไหล อาจจะเป็นเพียงความน่าผิดหวังว่าเกมเรือธงที่พัฒนาโดยค่ายที่มากทั้งประสบการณ์และเงินทุนอย่าง Bandai Namco กลับมีปัญหาเหล่านี้แม้ว่าตัวเกมเองจะไม่ได้มีขนาดใหญ่หรือใช้กราฟิกละเอียดสมจริงด้วยซ้ำ โดยเฉพาะบนเครื่องคอนโซลอย่าง PlayStation 5 ที่ควรจะมีพลังเหลือเฟือในการเล่นเกมระดับ Tales of Arise ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 



กล่าวโดยสรุป แม้จะพูดได้ไม่เต็มปากว่า Tales of Arise นั้นเป็นเกมที่ยอดเยี่ยมในระดับเดียวกับเกมท๊อปตารางอื่นๆ แต่เกมก็ยังมอบประสบการณ์ JRPG สไตล์อนิเมะสุดเข้มข้นอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองได้เป็นอย่างดี แถมยังมีระบบต่อสู้ที่สนุก รวดเร็ว และสดใหม่อยู่แทบจะตลอดระยะเวลาที่ได้เล่น หากคุณเป็นแฟนของเกมซีรีส์ Tales หรือเป็นคนที่ชื่นชอบสไตล์การเล่าเรื่องของการ์ตูนอนิเมะ เกม Tales of Arise ถูกสร้างมาเพื่อคนแบบคุณโดยเฉพาะ




บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header