GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
[Review] รีวิวเกม Isle of Arrows ลูกผสม Tower Defense และ Roguelike พร้อมงานภาพสุดสบายตา
ลงวันที่ 05/11/2022


Isle of Arrows เกมเกาะแห่งลูกธนูเกมนี้เป็นเกมอินดี้ที่ผสานแนว Tower Defense และ Roguelike เข้าด้วยกัน เราจะรับบทเป็นผู้สร้างป้อมปราการที่แข็งแกร่งที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เหล่าผู้บุกรุกบุกเข้ามาทำลายพวกเรา ต้องวางแผนการตีถนน วางป้อมและสิ่งก่อสร้างต่างๆ เพื่อดึงประโยชน์ของมันออกมาใช้งานได้อย่างสูงสุดจากตัวเลือกที่สุ่มได้

แค่อ่านก็รู้สึกน่าสนใจแล้ว แถมไม่ค่อยมีเกมที่นำสองแนวเกมนี้มาผสมกันเท่าไหร่ ซึ่งเกมนี้ทำออกมาเป็นอย่างไรนั้น งั้นไปอ่านกันต่อเลย! (สายพกพาเองก็ห้ามพลาด เพราะเกมลงสมาร์ทโฟนด้วย)


เมื่อเรากดเริ่มเกม บนแถบข้างบนจะบอกถึงทรัพยากรที่เรามี ดังนี้

  • หัวใจ (Heart) พลังชีวิตของเรา จะลดเมื่อมีศัตรูบุกมาถึงฐาน 1 ตัวต่อ 1 หัวใจ ถ้าหมดคือจบเกม
  • เหรียญทอง (Coin) เงินของเราที่ใช้แลกเปลี่ยน ตัวเกมมีระบบดอกเบี้ยด้วยตามจำนวนเงินที่เก็บไว้ ระดับปกติ +1, 10-20: +2, 21-30: +3, 31 ขึ้นไป: +4
  • สะพาน (Bridge) สามารถวางแผ่นสิ่งก่อสร้างบนช่องที่ไม่มีพื้นได้ เสีย 1 อันต่อ 1 ช่อง สมมติว่าการ์ดที่วางมีสองช่องก็จะเสียสะพานสองอัน
  • ระเบิด (Bomb) สามารถวางทับสิ่งก่อสร้างที่มีอยู่ก่อนได้ เสีย 1 อันต่อ 1 ช่องเช่นกัน
  • รอบการบุก (Wave) จะมีบอกว่ารอบต่อไปจะเป็นรอบที่เท่าไหร่ ซึ่งเล่นไปเรื่อยๆ ก็จะพบกับเหตุการณ์ต่างๆ สอดแทรกที่จะสุ่มทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้นหรือลำบากยิ่งกว่าเดิม

มันจบแล้วอนาคิน ป้อมยิงธนูข้าอยู่ที่สูงกว่า! ปกติยิงได้แค่ 8 ช่องรอบตัวเองนะ ฉะนั้นใช้ความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ซะ!


Tower Defense: ป้อมปะทะศัตรู

วีธีการเล่นเกมนี้นั้นก็เหมือนกับเกมแนว Tower Defense ทั่วไปคือ มีทางเดิน มีฐานและมีศัตรู งานของเราคือการวางป้อมเพื่อจัดการกับเหล่าศัตรูก่อนจะเดินถึงฐาน (ซึ่งในเกมนี้คือแท่งคริสตัล) ซึ่งป้อมปราการในเกมนี้ก็ค่อนข้างมีหลากหลายทีเดียว ตั้งแต่ป้อมยิงธนูธรรมดา ป้อมยิงลูกระเบิดไปจนถึงป้อมปล่อยหินกลิ้ง แต่ละป้อมเองก็มีแนวการยิงของตัวเองที่แตกต่างกันไปให้เราต้องเลือกหาตำแหน่งวางที่เหมาะสมที่สุด เพราะยิ่งเล่นนานๆ ไป จำนวนศัตรูจะยิ่งมากและเริ่มมีตัวที่แข็งแกร่งปรากฏกาย

นอกจากนี้ยังมีสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่ช่วยรับมือศัตรูด้วย เช่น กับดักน้ำแข็ง (Ice Trap) ที่จะทำให้ศัตรูเดินช้าลง, กับดักหนาม (Spike Trap) ที่จะทำดาเมจใส่ศัตรูที่เดินชน


Roguelike: การสุ่มการ์ดสิ่งก่อสร้างท่ามกลางความเป็นไปได้อันมากมาย

จั่วหัวมาตั้งแต่แรกว่าเป็นแนว Roguelike ก็บอกเลยว่าการวางป้อมเพื่อจัดการศัตรูก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามการ์ดที่สุ่มได้ด้วย ในแต่ละรอบจะวางได้หนึ่งใบพร้อมกับได้รู้ว่ารอบหน้าเราจะได้การ์ดอะไร ถ้าอยากหยิบใบต่อไปมาใช้โดยไม่ต้องรอก็จ่าย 2 เหรียญทองเพื่อหยิบมาใช้ได้เลย

สังเกตเห็นว่าสิ่งก่อสร้างบางอย่างก็ไม่ได้มาเปล่าแต่มีบล็อกน้ำ (Water) ติดมาด้วย อาจจะทำให้รู้สึกหงุดหงิดไม่น้อยที่สิ่งกีดขวางนี้ทำให้เราวางสิ่งก่อสร้างได้ยุ่งยากขึ้น แต่ก็มีบางสิ่งก่อสร้างที่ต้องใช้น้ำในการแสดงผลเอฟเฟคด้วย ถ้าวางน้ำดีๆ ก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากมันได้นะ

ซึ่งการ์ดในเกมนี้ก็มีจำนวนที่หลากหลายมากกว่า 50 ใบเลยทีเดียว แค่แผ่นถนนก็มีตั้งหลายแบบแล้ว งั้นมาพูดถึงสิ่งก่อสร้างตั้งต้นที่พบเจอได้บ่อยๆ หน่อยดีกว่า

  • ธง (Flag) วางแล้วเพิ่มอาณาเขตเกาะ
  • สวน (Garden) วางแล้วเพิ่ม 1 เหรียญทองทันที
  • โรงปฏิบัติงาน (Workshop) หากมีน้ำ 2 ช่องอยู่ติดสิ่งก่อสร้างนี้ จะเลือกแผ่นทางเดินเพิ่มได้ฟรี
  • กระท่อมตกปลา (Fishing Hut) ได้รับ 2 เหรียญทองตามจำนวนน้ำที่อยู่ติดสิ่งก่อสร้างนี้
  • ป้อมสอดส่อง (Watchpost) ป้อมปราการที่อยู่ติดสิ่งก่อสร้างนี้ จะยิงแรงขึ้น 10% และเล็งไปที่เป้าหมายเลือดมากก่อน (บางป้อมจะเล็งตัวเลือดน้อยก่อน)
  • ตลาดนัด (Market Square) หากมีการวางสิ่งก่อสร้างครบ 8 ช่องรอบตัว จะเข้าสู่ตลาดมืด (Black Market) เพื่อซื้อของได้ทันที
  • อนุสาวรีย์ (Monument) หากมีการวางสิ่งก่อสร้างครบ 8 ช่องรอบตัว จะได้รับสะพาน 3 อัน
  • โกดัง (Storehouse) หากมีป้อมปราการ 2 ช่องอยู่ติดสิ่งก่อสร้างนี้ จะเลือกการ์ดโบนัสได้ฟรี
  • รูปปั้น (Statue) หากมีการวางสิ่งก่อสร้างครบ 8 ช่องรอบตัว จะได้รับระเบิด 2 ลูก
  • น้ำพุ (Fountain) หากมีการวางสิ่งก่อสร้างครบ 8 ช่องรอบตัว จะได้รับ 2 หัวใจ

สิ่งก่อสร้างแต่ละอย่างก็มีเอฟเฟคและเงื่อนไขการใช้งานแตกต่างกัน อย่าลืมกดเครื่องหมาย ? ตรงมุมการ์ดเพื่ออ่านก่อนวางด้วยล่ะ


จ๊ะเอ๋ตัวเอง! โผล่มาแบบนี้ ป้องกันทางเดียวมันยังไม่ปวดหัวพอใช่มั้ย!?

ในขณะที่เรากำลังวางแผนเส้นทางที่มีเพียงหนึ่งอย่างหัวหมุน จู่ๆ เกมก็เกิดจุดที่สองมาให้เราดูแลเฉยเลย ทำให้เราต้องวางทางเดินหรือป้อมในทางใหม่ด้วย ป้องกันทางหนึ่งได้แต่อีกทางโดนบุกเละไม่ได้นะ ซึ่งพอเล่นไปเรื่อยๆ ก็จะมีจุดที่สามโผล่มาให้เราป้องกันด้วย เอาล่ะวางแผนขยายเกาะและวางทางวางป้อมกันดีๆ ล่ะ


เซอร์ไพร์สที่จะทำให้เกมง่ายขึ้น.. หรือแม้แต่ยากยิ่งกว่าเดิม

เมื่อแต่ละรอบผ่านไปสักระยะหนึ่ง เราจะได้เจอกับเหตุการณ์แบบสุ่มที่อาจจะช่วยชีวิตเรา หรือแม้แต่การเสี่ยงโชค (เพราะ High Risk High Reward ยังไงล่ะ!) ซึ่งมีทั้งหมด 3 แบบ ดังนี้

  • การ์ดโบนัส (Bonus Cards) จะมีการ์ด 3 ใบมาให้เลือก ซึ่งเลือกได้เพียงใบเดียว ต้องการอะไรอยู่ก็หยิบเลย
  • ของโบราณ (Relics) เลือกแล้วจะได้บัพที่มีผลทันทีหรือตลอดเกมแล้วแต่เอฟเฟค เลือกให้ถูกใจตามสไตล์การเล่นของตัวเองแล้วกัน
  • การเผชิญหน้า (Encounters) ต้องแลกทรัพยากรที่เรามีหรือเสี่ยงทายหัวก้อยเพื่อสิ่งที่เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคืออะไร ถ้าได้ของดีก็ดีไป หากใครไม่ชอบความเสี่ยงก็สามารถกดข้ามได้

ซ้ายก็ดี ขวาก็น่าสนใจ


เรตการสุ่ม: โซ่ตรวนสำคัญที่ทำให้เกมแนว Roguelike ถ้าไม่สนุกก็หัวร้อนไปเลย

ลองจินตนาการว่าตอนเริ่มเกมมา นอกจากป้อมที่ตั้งต้นให้อันนึงแล้ว การ์ดที่เกมสุ่มมาให้คุณก็มีแต่ทาง ทางและทาง จนศัตรูเริ่มเยอะเกินที่ป้อมป้อมเดียวจะกันได้แล้ว ป้อมอันที่สองก็ยังไม่โผล่ ช่วงแรกเงินก็น้อยนิดเหลือเกินยังจะต้องมากดข้ามเพื่อหาป้อมอีก เฮ้อ รีเกมดีกว่า

แต่ท้ายเกมจะรีก็ไม่ได้น่ะสิ บางทีกว่าจะได้การ์ดที่ต้องการคือสุ่มกันตาเหลือก ยิ่งท้ายเกมที่มีสามทางต้องกันและศัตรูที่แข็งแกร่งขึ้น การที่ผู้เล่นสุ่มไม่ได้ป้อมปราการเลยคือแทบจะสิ้นหวัง จบกันที่พยายามมาทั้งหมด แต่ถ้าใครบริหารการเงินดีๆ ท้ายเกมก็อาจมีเงินพอรีหาการ์ดที่ต้องการก่อนจะจบตาที่ 40

เรตการสุ่มของเกมนี้ยังอยู่ในจุดที่ใจร้ายมากนัก จริงอยู่ที่เกมต้องมีเรตสุ่มในระดับที่ไม่ทำให้ผู้เล่นเอาชนะเกมแต่ละตาด้วยการวางแบบเดิมๆ แต่การได้การ์ดเส้นทางติดกันห้าหกอันในช่วงท้ายเกมมันทำให้หัวเสียไม่น้อย เป็นสิ่งเดียวจริงๆ ที่ทำให้เกมมอบประสบการ์ณหงุดหงิดใจมากกว่าสนุกในบางจังหวะ


สรุป: การผสมผสานของเกมสองแนวผ่านงานภาพสุดมินิมอลที่ทำออกมาได้น่าสนใจ

เกม Isle of Arrows เป็นเกมแนว Tower Defense ที่ทำให้เราต้องปรับแผนการเล่นอยู่เสมอเนื่องจากลูกเล่น Roguelike ที่สอดแทรกอยู่ในทุกกระเบียดนิ้วของเกม เป็นเกมที่ทั้งท้าทายและหัวร้อนกับการสุ่มอยู่หน่อยๆ เพราะบางทีเกมก็ไม่สุ่มการ์ดที่เราต้องการมาให้สักที ต้องการป้อมนะไม่ใช่ถนน ขอป้อมยิงหน่อย! ป้อมอยู่ไหนเนี่ย!! (ไม่รู้ๆๆ)

นอกจากนี้ตัวเกมก็มีหลายโหมดการเล่นเลยทีเดียวให้เราได้เลือกซึ่งจะเรียกว่ากิลด์ (Guild) ซึ่งจะมีคุณสมบัติตั้งต้นและการ์ดที่เราจะได้เจอระหว่างการเล่นไม่เหมือนกัน เรียกได้ว่าเปลี่ยนโหมดเปลี่ยนรสชาติ ทำให้แต่ละตาที่ได้เล่นก็จะพบกับประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน แอบดูดเวลาเหมือนกันนะเพราะตาหนึ่งก็กินเวลาไม่น้อย

ประกอบกับงานภาพที่มองแล้วสบายตา บางคนอาจจะคุ้นๆ กราฟิคหน้าตาแบบนี้ เพราะมีผู้พัฒนาคือคุณ Daniel Lutz ที่เคยเป็น Creative Director ของเกม Hitman GO และ Lara Croft GO มาก่อนนั่นเอง การออกแบบมองเพลินแต่เกมเพลย์ไม่เพลินเลยนะคุณพี่ (แซว)

ซึ่งเกมนี้นอกจากบน PC ก็ยังมีบนสมาร์ทโฟนด้วย แบบนี้สายพกพายิ่งพลาดไม่ได้แล้ว!

โดยรวมแล้วเป็นเกมที่น่าสนใจเกมหนึ่งเลยทีเดียว ถ้าเกม Tower Defense แบบปกติมันท้าทายไม่พอ เกมเกาะแห่งลูกธนูที่เสริมรสชาติด้วยแนว Roguelike เกมนี้คงจะพอทำให้ชีวิตตื่นเต้นได้นะ!

Isle of Arrows โดยผู้พัฒนา Gridpop

ราคา: 219 บาท (Steam และ App Store), 250 บาท (Google Play)

แพลตฟอร์มเกม: PC บนร้านค้า Steam, iOS, Android

รีวิวบน Steam: Very Positive

แท็กเกม: Tower Defense, Roguelike, Puzzle, Board Game


เล่นได้เรื่อยๆ เลยเกมนี้!

7
ข้อดี

ผสมทั้งสองแนวเกมอย่าง Tower Defense และ Roguelike ออกมาได้น่าสนใจ

การ์ดทางเดิน ป้อม สิ่งก่อสร้าง ศัตรูมีความหลากหลายไม่จำเจ

มีหลากโหมดให้เลือก เริ่มใหม่กี่ตาก็ไม่น่าเบื่อ

วางขายทั้งบนแพลตฟอร์ม PC และสมาร์ทโฟน

ข้อเสีย

เรตการสุ่มที่ค่อนข้างจะโหดร้ายในบางที โปรดบริหารการเงินกันดีๆ จะได้มีเงินรีการ์ด

8
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[Review] รีวิวเกม Isle of Arrows ลูกผสม Tower Defense และ Roguelike พร้อมงานภาพสุดสบายตา
05/11/2022


Isle of Arrows เกมเกาะแห่งลูกธนูเกมนี้เป็นเกมอินดี้ที่ผสานแนว Tower Defense และ Roguelike เข้าด้วยกัน เราจะรับบทเป็นผู้สร้างป้อมปราการที่แข็งแกร่งที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เหล่าผู้บุกรุกบุกเข้ามาทำลายพวกเรา ต้องวางแผนการตีถนน วางป้อมและสิ่งก่อสร้างต่างๆ เพื่อดึงประโยชน์ของมันออกมาใช้งานได้อย่างสูงสุดจากตัวเลือกที่สุ่มได้

แค่อ่านก็รู้สึกน่าสนใจแล้ว แถมไม่ค่อยมีเกมที่นำสองแนวเกมนี้มาผสมกันเท่าไหร่ ซึ่งเกมนี้ทำออกมาเป็นอย่างไรนั้น งั้นไปอ่านกันต่อเลย! (สายพกพาเองก็ห้ามพลาด เพราะเกมลงสมาร์ทโฟนด้วย)


เมื่อเรากดเริ่มเกม บนแถบข้างบนจะบอกถึงทรัพยากรที่เรามี ดังนี้

  • หัวใจ (Heart) พลังชีวิตของเรา จะลดเมื่อมีศัตรูบุกมาถึงฐาน 1 ตัวต่อ 1 หัวใจ ถ้าหมดคือจบเกม
  • เหรียญทอง (Coin) เงินของเราที่ใช้แลกเปลี่ยน ตัวเกมมีระบบดอกเบี้ยด้วยตามจำนวนเงินที่เก็บไว้ ระดับปกติ +1, 10-20: +2, 21-30: +3, 31 ขึ้นไป: +4
  • สะพาน (Bridge) สามารถวางแผ่นสิ่งก่อสร้างบนช่องที่ไม่มีพื้นได้ เสีย 1 อันต่อ 1 ช่อง สมมติว่าการ์ดที่วางมีสองช่องก็จะเสียสะพานสองอัน
  • ระเบิด (Bomb) สามารถวางทับสิ่งก่อสร้างที่มีอยู่ก่อนได้ เสีย 1 อันต่อ 1 ช่องเช่นกัน
  • รอบการบุก (Wave) จะมีบอกว่ารอบต่อไปจะเป็นรอบที่เท่าไหร่ ซึ่งเล่นไปเรื่อยๆ ก็จะพบกับเหตุการณ์ต่างๆ สอดแทรกที่จะสุ่มทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้นหรือลำบากยิ่งกว่าเดิม

มันจบแล้วอนาคิน ป้อมยิงธนูข้าอยู่ที่สูงกว่า! ปกติยิงได้แค่ 8 ช่องรอบตัวเองนะ ฉะนั้นใช้ความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ซะ!


Tower Defense: ป้อมปะทะศัตรู

วีธีการเล่นเกมนี้นั้นก็เหมือนกับเกมแนว Tower Defense ทั่วไปคือ มีทางเดิน มีฐานและมีศัตรู งานของเราคือการวางป้อมเพื่อจัดการกับเหล่าศัตรูก่อนจะเดินถึงฐาน (ซึ่งในเกมนี้คือแท่งคริสตัล) ซึ่งป้อมปราการในเกมนี้ก็ค่อนข้างมีหลากหลายทีเดียว ตั้งแต่ป้อมยิงธนูธรรมดา ป้อมยิงลูกระเบิดไปจนถึงป้อมปล่อยหินกลิ้ง แต่ละป้อมเองก็มีแนวการยิงของตัวเองที่แตกต่างกันไปให้เราต้องเลือกหาตำแหน่งวางที่เหมาะสมที่สุด เพราะยิ่งเล่นนานๆ ไป จำนวนศัตรูจะยิ่งมากและเริ่มมีตัวที่แข็งแกร่งปรากฏกาย

นอกจากนี้ยังมีสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่ช่วยรับมือศัตรูด้วย เช่น กับดักน้ำแข็ง (Ice Trap) ที่จะทำให้ศัตรูเดินช้าลง, กับดักหนาม (Spike Trap) ที่จะทำดาเมจใส่ศัตรูที่เดินชน


Roguelike: การสุ่มการ์ดสิ่งก่อสร้างท่ามกลางความเป็นไปได้อันมากมาย

จั่วหัวมาตั้งแต่แรกว่าเป็นแนว Roguelike ก็บอกเลยว่าการวางป้อมเพื่อจัดการศัตรูก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามการ์ดที่สุ่มได้ด้วย ในแต่ละรอบจะวางได้หนึ่งใบพร้อมกับได้รู้ว่ารอบหน้าเราจะได้การ์ดอะไร ถ้าอยากหยิบใบต่อไปมาใช้โดยไม่ต้องรอก็จ่าย 2 เหรียญทองเพื่อหยิบมาใช้ได้เลย

สังเกตเห็นว่าสิ่งก่อสร้างบางอย่างก็ไม่ได้มาเปล่าแต่มีบล็อกน้ำ (Water) ติดมาด้วย อาจจะทำให้รู้สึกหงุดหงิดไม่น้อยที่สิ่งกีดขวางนี้ทำให้เราวางสิ่งก่อสร้างได้ยุ่งยากขึ้น แต่ก็มีบางสิ่งก่อสร้างที่ต้องใช้น้ำในการแสดงผลเอฟเฟคด้วย ถ้าวางน้ำดีๆ ก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากมันได้นะ

ซึ่งการ์ดในเกมนี้ก็มีจำนวนที่หลากหลายมากกว่า 50 ใบเลยทีเดียว แค่แผ่นถนนก็มีตั้งหลายแบบแล้ว งั้นมาพูดถึงสิ่งก่อสร้างตั้งต้นที่พบเจอได้บ่อยๆ หน่อยดีกว่า

  • ธง (Flag) วางแล้วเพิ่มอาณาเขตเกาะ
  • สวน (Garden) วางแล้วเพิ่ม 1 เหรียญทองทันที
  • โรงปฏิบัติงาน (Workshop) หากมีน้ำ 2 ช่องอยู่ติดสิ่งก่อสร้างนี้ จะเลือกแผ่นทางเดินเพิ่มได้ฟรี
  • กระท่อมตกปลา (Fishing Hut) ได้รับ 2 เหรียญทองตามจำนวนน้ำที่อยู่ติดสิ่งก่อสร้างนี้
  • ป้อมสอดส่อง (Watchpost) ป้อมปราการที่อยู่ติดสิ่งก่อสร้างนี้ จะยิงแรงขึ้น 10% และเล็งไปที่เป้าหมายเลือดมากก่อน (บางป้อมจะเล็งตัวเลือดน้อยก่อน)
  • ตลาดนัด (Market Square) หากมีการวางสิ่งก่อสร้างครบ 8 ช่องรอบตัว จะเข้าสู่ตลาดมืด (Black Market) เพื่อซื้อของได้ทันที
  • อนุสาวรีย์ (Monument) หากมีการวางสิ่งก่อสร้างครบ 8 ช่องรอบตัว จะได้รับสะพาน 3 อัน
  • โกดัง (Storehouse) หากมีป้อมปราการ 2 ช่องอยู่ติดสิ่งก่อสร้างนี้ จะเลือกการ์ดโบนัสได้ฟรี
  • รูปปั้น (Statue) หากมีการวางสิ่งก่อสร้างครบ 8 ช่องรอบตัว จะได้รับระเบิด 2 ลูก
  • น้ำพุ (Fountain) หากมีการวางสิ่งก่อสร้างครบ 8 ช่องรอบตัว จะได้รับ 2 หัวใจ

สิ่งก่อสร้างแต่ละอย่างก็มีเอฟเฟคและเงื่อนไขการใช้งานแตกต่างกัน อย่าลืมกดเครื่องหมาย ? ตรงมุมการ์ดเพื่ออ่านก่อนวางด้วยล่ะ


จ๊ะเอ๋ตัวเอง! โผล่มาแบบนี้ ป้องกันทางเดียวมันยังไม่ปวดหัวพอใช่มั้ย!?

ในขณะที่เรากำลังวางแผนเส้นทางที่มีเพียงหนึ่งอย่างหัวหมุน จู่ๆ เกมก็เกิดจุดที่สองมาให้เราดูแลเฉยเลย ทำให้เราต้องวางทางเดินหรือป้อมในทางใหม่ด้วย ป้องกันทางหนึ่งได้แต่อีกทางโดนบุกเละไม่ได้นะ ซึ่งพอเล่นไปเรื่อยๆ ก็จะมีจุดที่สามโผล่มาให้เราป้องกันด้วย เอาล่ะวางแผนขยายเกาะและวางทางวางป้อมกันดีๆ ล่ะ


เซอร์ไพร์สที่จะทำให้เกมง่ายขึ้น.. หรือแม้แต่ยากยิ่งกว่าเดิม

เมื่อแต่ละรอบผ่านไปสักระยะหนึ่ง เราจะได้เจอกับเหตุการณ์แบบสุ่มที่อาจจะช่วยชีวิตเรา หรือแม้แต่การเสี่ยงโชค (เพราะ High Risk High Reward ยังไงล่ะ!) ซึ่งมีทั้งหมด 3 แบบ ดังนี้

  • การ์ดโบนัส (Bonus Cards) จะมีการ์ด 3 ใบมาให้เลือก ซึ่งเลือกได้เพียงใบเดียว ต้องการอะไรอยู่ก็หยิบเลย
  • ของโบราณ (Relics) เลือกแล้วจะได้บัพที่มีผลทันทีหรือตลอดเกมแล้วแต่เอฟเฟค เลือกให้ถูกใจตามสไตล์การเล่นของตัวเองแล้วกัน
  • การเผชิญหน้า (Encounters) ต้องแลกทรัพยากรที่เรามีหรือเสี่ยงทายหัวก้อยเพื่อสิ่งที่เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคืออะไร ถ้าได้ของดีก็ดีไป หากใครไม่ชอบความเสี่ยงก็สามารถกดข้ามได้

ซ้ายก็ดี ขวาก็น่าสนใจ


เรตการสุ่ม: โซ่ตรวนสำคัญที่ทำให้เกมแนว Roguelike ถ้าไม่สนุกก็หัวร้อนไปเลย

ลองจินตนาการว่าตอนเริ่มเกมมา นอกจากป้อมที่ตั้งต้นให้อันนึงแล้ว การ์ดที่เกมสุ่มมาให้คุณก็มีแต่ทาง ทางและทาง จนศัตรูเริ่มเยอะเกินที่ป้อมป้อมเดียวจะกันได้แล้ว ป้อมอันที่สองก็ยังไม่โผล่ ช่วงแรกเงินก็น้อยนิดเหลือเกินยังจะต้องมากดข้ามเพื่อหาป้อมอีก เฮ้อ รีเกมดีกว่า

แต่ท้ายเกมจะรีก็ไม่ได้น่ะสิ บางทีกว่าจะได้การ์ดที่ต้องการคือสุ่มกันตาเหลือก ยิ่งท้ายเกมที่มีสามทางต้องกันและศัตรูที่แข็งแกร่งขึ้น การที่ผู้เล่นสุ่มไม่ได้ป้อมปราการเลยคือแทบจะสิ้นหวัง จบกันที่พยายามมาทั้งหมด แต่ถ้าใครบริหารการเงินดีๆ ท้ายเกมก็อาจมีเงินพอรีหาการ์ดที่ต้องการก่อนจะจบตาที่ 40

เรตการสุ่มของเกมนี้ยังอยู่ในจุดที่ใจร้ายมากนัก จริงอยู่ที่เกมต้องมีเรตสุ่มในระดับที่ไม่ทำให้ผู้เล่นเอาชนะเกมแต่ละตาด้วยการวางแบบเดิมๆ แต่การได้การ์ดเส้นทางติดกันห้าหกอันในช่วงท้ายเกมมันทำให้หัวเสียไม่น้อย เป็นสิ่งเดียวจริงๆ ที่ทำให้เกมมอบประสบการ์ณหงุดหงิดใจมากกว่าสนุกในบางจังหวะ


สรุป: การผสมผสานของเกมสองแนวผ่านงานภาพสุดมินิมอลที่ทำออกมาได้น่าสนใจ

เกม Isle of Arrows เป็นเกมแนว Tower Defense ที่ทำให้เราต้องปรับแผนการเล่นอยู่เสมอเนื่องจากลูกเล่น Roguelike ที่สอดแทรกอยู่ในทุกกระเบียดนิ้วของเกม เป็นเกมที่ทั้งท้าทายและหัวร้อนกับการสุ่มอยู่หน่อยๆ เพราะบางทีเกมก็ไม่สุ่มการ์ดที่เราต้องการมาให้สักที ต้องการป้อมนะไม่ใช่ถนน ขอป้อมยิงหน่อย! ป้อมอยู่ไหนเนี่ย!! (ไม่รู้ๆๆ)

นอกจากนี้ตัวเกมก็มีหลายโหมดการเล่นเลยทีเดียวให้เราได้เลือกซึ่งจะเรียกว่ากิลด์ (Guild) ซึ่งจะมีคุณสมบัติตั้งต้นและการ์ดที่เราจะได้เจอระหว่างการเล่นไม่เหมือนกัน เรียกได้ว่าเปลี่ยนโหมดเปลี่ยนรสชาติ ทำให้แต่ละตาที่ได้เล่นก็จะพบกับประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน แอบดูดเวลาเหมือนกันนะเพราะตาหนึ่งก็กินเวลาไม่น้อย

ประกอบกับงานภาพที่มองแล้วสบายตา บางคนอาจจะคุ้นๆ กราฟิคหน้าตาแบบนี้ เพราะมีผู้พัฒนาคือคุณ Daniel Lutz ที่เคยเป็น Creative Director ของเกม Hitman GO และ Lara Croft GO มาก่อนนั่นเอง การออกแบบมองเพลินแต่เกมเพลย์ไม่เพลินเลยนะคุณพี่ (แซว)

ซึ่งเกมนี้นอกจากบน PC ก็ยังมีบนสมาร์ทโฟนด้วย แบบนี้สายพกพายิ่งพลาดไม่ได้แล้ว!

โดยรวมแล้วเป็นเกมที่น่าสนใจเกมหนึ่งเลยทีเดียว ถ้าเกม Tower Defense แบบปกติมันท้าทายไม่พอ เกมเกาะแห่งลูกธนูที่เสริมรสชาติด้วยแนว Roguelike เกมนี้คงจะพอทำให้ชีวิตตื่นเต้นได้นะ!

Isle of Arrows โดยผู้พัฒนา Gridpop

ราคา: 219 บาท (Steam และ App Store), 250 บาท (Google Play)

แพลตฟอร์มเกม: PC บนร้านค้า Steam, iOS, Android

รีวิวบน Steam: Very Positive

แท็กเกม: Tower Defense, Roguelike, Puzzle, Board Game


เล่นได้เรื่อยๆ เลยเกมนี้!


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header