GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
[Review] ซีรีส์ 'Arcane' ตอน 1-3: ก้าวแรกสู่โลกของ LoL ในมุมที่คุณไม่เคยสัมผัสมาก่อน
ลงวันที่ 10/11/2021

ด้วยความสำเร็จของเกม MOBA ยอดฮิตอย่าง League of Legends ที่ครั้งหนึ่งเคยครองตำแหน่ง “เกมที่มียอดผู้เล่นสูงที่สุดในประวัติศาสตร์” อยู่หลายปี และสร้างรายได้ให้กับผู้สร้างเกมอย่าง Riot Games (และเจ้าของบริษัท Riot Games อย่าง Tencent) ไปเป็นกอบเป็นกำตลอดระยะเวลานั้น คงไม่น่าแปลกใจที่ในที่สุดเราจะได้เห็นผู้พัฒนา Riot Games พยายามขยายเกมลูกรักออกไปสู่ตลาดอื่นๆ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ไม่ว่าจะเป็นเกมการ์ดใหม่อย่าง Legends of Runeterra ที่ได้รับความนิยมอยู่มิใช่น้อย ไปจนถึงการประกาศเปิดตัวเกม RPG แบบ Turn-based สำหรับเครื่อง PC อย่าง Ruined King: A League of Legends Story ที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา หรือกระทั่งการเข้าไปมีตัวตนอยู่ในวงการดนตรีในฐานะวง K/DA และไอดอล Seraphina ก็ตามที

แน่นอนว่านั่นย่อมรวมถึงซีรีส์ ‘Arcane’ ผลงานซีรีส์อนิเมชั่นใหม่ล่าสุดจาก Riot Games และสตูดิโอสัญชาติฝรั่งเศษ Fortiche Production ที่เพิ่งปล่อย 3 ตอนแรกออกมาให้ชมกันทางเว็บสตรีมมิ่ง Netflix เมื่อวันที่ 6 พฤษจิกายนที่ผ่านมา โดยซีซั่นแรกของซีรีส์จะมีทั้งหมด 9 ตอน แบ่งออกเป็นองก์ละ 3 ตอนซึ่งออกอากาศพร้อมกันทุกสัปดาห์ ซึ่งระหว่างแต่ละองก์จะมีการ “ข้ามเวลา” (Time Skip) ด้วย จึงอาจจะมองแต่ละองก์รวมกันเป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งในไตรภาคก็ได้

หลังจากที่รับชม 3 ตอนแรกของซีรีส์ ต้องยอมรับอย่างเต็มปากว่า ‘Arcane’ ถือเป็นก้าวแรกอันแข็งแกร่งในการขยายจักรวาล League of Legends สำหรับแฟนๆ ทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ ด้วยเนื้อเรื่องที่ซีเรียสและละเอียดอ่อนกว่าที่คาดหวังจะได้เห็นจากแฟรนไชส์ MOBA ซึ่งติดตามได้ง่ายแม้จะไม่เคยรู้จักกับโลกหรือตัวละครมาก่อน พร้อมกับผลงานอนิเมชั่นและการจัดภาพชั้นครูที่สามารถนำพาอารมณ์ของผู้ชมได้อย่างยอดเยี่ยม ในขณะเดียวกัน การที่ซีรีส์เลือกเน้นเรื่องราวชีวิตตัวละครเพียงไม่กี่ตัว ยังทำให้ ‘Arcane’ เป็นซีรีส์ที่ไม่ว่าใครๆ ก็ติดตามได้ และควรลองให้โอกาสซักครั้ง ไม่ว่าคุณจะรู้จักกับ League of Legends หรือไม่ก็ตาม

เรื่องราวของ ‘Arcane’ จะตั้งอยู่ในเมืองพี่น้อง Piltover และ Zaun (ก่อนที่จะเป็น Zaun ด้วยซ้ำ) โดย Piltover เป็นเมืองที่โด่งดังในเรื่องความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการค้าขายอันรุ่งเรือง ในขณะที่ Zaun (หรือที่ซีรีส์เรียกเพียงแค่ว่า ‘Undercity’ หรือ ‘เมืองเบื้องล่าง’) เปรียบได้กับ ‘ย่านสลัม’ ที่ถูกลืมของเมือง Piltover ซึ่งเต็มไปด้วยอาชญกรรมและสารเคมีที่ตกค้างจากขยะเหลือทิ้งของ Piltover อีกที ความแตกต่างอันสุดขั้วของเมืองทั้งสองนำไปสู่ความเกลียดชังและเหยียดหยามกันเองระหว่างผู้คนในเมือง ที่ต่างมองว่าอีกฝ่ายเป็นเสี้ยนหนามที่ควรถูกกำจัดไปให้สิ้นซาก 

ก่อนเหตุการณ์ของซีรีส์ ความขัดแย้งนี้ได้เคยนำไปสู่การปฏิวัติโดยประชากรเมืองเบื้องล่างที่ลุกฮือขึ้นมาเรียกร้องความเท่าเทียมจากเหล่าคนดีย์แห่งเมือง Piltover ในที่สุด แต่พวกเขากลับเผชิญการตอบโต้อย่างรุนแรงจากหน่วยตำรวจของ Piltover ที่ลงเอยด้วยการเสียชีวิตของชาวเมืองเบื้องล่างจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงพ่อแม่ของสองพี่น้อง ‘ไวโอเล็ต’ (Violet หรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘Vi’ หรือ ‘ไว’) และ ‘พาวเดอร์’ (หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ ‘Jinx’ หรือ ‘จิ๊งซ์’ นั่นเอง) 

การตายของพ่อแม่ทำให้สองพี่น้องต้องเติบโตในฐานะเด็กกำพร้าภายใต้การดูแลของ ‘แวนเดอร์’ อดีตหัวโจกแห่งการปฏิวัติ ที่ผันตัวมาเป็นเจ้าพ่อประจำย่านหนึ่งในเมืองเบื้องล่าง โดยไวและพาวเดอร์ต้องเอาตัวรอดด้วยการลักเล็กขโมยน้อยพร้อมกับแก๊งโจรเล็กๆ ที่มีไวเป็นหัวหน้า

เรื่องราวของ ‘Arcane’ เริ่มขึ้นเมื่อไวและแก๊งได้รับคำแนะนำให้ไปปล้นห้องทดลองแห่งหนึ่งใน Piltover ที่บังเอิ๊ญบังเอิญเป็นของนักประดิษฐ์หนุ่มไฟแรงที่ชื่อว่า ‘เจซ’ (Jayce ฮีโร่อีกตัวจากเกม) ผู้ซึ่งกำลังพยายามหาวิธีในการ “ควบคุมเวทมนตร์ด้วยวิทยาศาสตร์” โดยเหตุการณ์นี้เป็นตัวจุดชนวนที่พาไวและพาวเดอร์เข้าไปพัวพันกับความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง Piltover และเมืองเบื้องล่างอีกครั้ง และยังเป็นจุดเริ่มต้นของรอยร้าวที่จะเปลี่ยนสองพี่น้องให้กลายเป็นศัตรูคู่อริที่แฟนๆ ของ League of Legends คุ้นเคยกันดี

ความสูญเสียพ่อแม่ในอดีตของเธอ ส่งผลให้ไวเติบโตมาพร้อมกับความต้องการที่จะปกป้องน้องสาวทุกวิถีทาง ในขณะที่พาวเดอร์เองก็พยายามพิสูจน์ตัวเองต่อพี่สาวอยู่เสมอว่าเธอสามารถดูแลตัวเองได้ แต่ความเป็นเด็กของเธอก็ทำให้เธอมักทำผิดพลาดในขณะออกปล้นอยู่เสมอ จนสมาชิกคนอื่นๆ ในแก๊งเรียกเธอเป็น “ตัวซวย” (หรือภาษาอังกฤษคือ ‘Jinx’ นั่นเอง) ทำให้ไวต้องออกตัวปกป้องน้อง ซึ่งก็ยิ่งทำให้พาวเดอร์รู้สึกอยากพิสูจน์ตัวมากขึ้นไปด้วย วนไปมาอยู่อย่างนั้น

ลักษณะความสัมพันธ์ของไวและพาวเดอร์ถือเป็นหัวใจหลักของซีรีส์ ‘Arcane’ นี้ ที่ทำให้ผู้ชมทุกคนสามารถรู้สึกร่วมไปกับตัวละครเหล่านี้ได้โดยที่ไม่ต้องรู้จักมาก่อน ซึ่งในจุดนี้นับเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องในฝั่งของผู้เขียนบท เพราะเอาเข้าจริงๆ จักรวาลของ League of Legends นั้นกว้างใหญ่ไพศาลมาก เอาแค่ฮีโร่ในเกมก็ปาเข้าไปมากกว่า 140 ตัวแล้ว การพยายามเล่าเรื่องราวใหญ่โตที่มีตัวละครให้จำเยอะๆ อาจทำให้ซีรีส์เข้าถึงยากสำหรับคนที่ไม่ได้เป็นแฟนเกม LoL อยู่แล้ว การมุ่งเน้นไปที่เรื่องราวของตัวละครไม่กี่ตัวทำให้ซีรีส์สามารถนำเสนอปมความขัดแย้งที่มี “ความเป็นมนุษย์” ได้ มากกว่าจะเป็นเรื่องราวแฟนตาซีระดับมหากาพย์ที่ติดตามยากกว่า

ยิ่งไปกว่านั้น ซีรีส์ประสบความสำเร็จมากๆ ในการสื่ออารมณ์ของตัวละครออกมาทั้งในบทพูดและการแสดงบุคลิกสีหน้าทั้งหลาย โดยผลงานอนิเมชั่นของ Fortiche Productions ที่มีลักษณะเหมือนภาพจิตรกรรมสีฉูดฉาดกลับสามารถมอบความเป็นมนุษย์ให้กับตัวละครได้อย่างคาดไม่ถึง

Fortiche Productions ยังแสดงฝีมืออันน่าทึ่งในการจัดองก์ประกอบภาพในแต่ละเฟรมของซีรีส์ ทำให้แทบทุกเฟรมมอบความรู้สึกราวกับเป็นภาพนิ่ง แถมยังมีการใช้เอฟเฟกต์มุมกล้องและ Slow Motion เพื่อเน้นจังหวะระทึกขวัญในฉากแอคชั่นได้อย่างแยบยล จนต้องยอมรับว่า ‘Arcane’ ไม่เพียงเป็นผลงานอนิเมชั่นที่ดีที่สุดของ Riot แต่อาจเป็นผลงานซีรีส์อนิเมชั่นที่ดีเป็นอันดับต้นๆ บน Netflix ได้สบายเลย

ในขณะที่เรื่องราวของไวกับพาวเดอร์ดำเนินไปนั้น ‘Arcane’ ยังค่อยๆ ‘สร้างโลก’ (World Building) ของซีรีส์ไปด้วยผ่านเรื่องราวของตัวละคร ‘เจซ’ และ ‘วิคเตอร์’ (Viktor) สองนักประดิษฐ์หนุ่มไฟแรงที่ใฝ่ฝันจะควบคุมพลังแห่ง ‘มนต์ตรา’ ด้วยวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามกฏหมายของเมือง Piltover โดยเรื่องราวของทั้งสองแม้จะไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องราวของไวและพาวเดอร์โดยตรง แต่ก็เป็นช่องทางที่ทำให้ซีรีส์สามารถสำรวจมุมต่างๆ ของ “โลก” ของซีรีส์มากขึ้นทีละน้อยทั้งในเรื่องของวัฒนธรรมและวิถีชีวิต หรือความเชื่อที่ชาวเมืองมีต่อเวทมนต์ เป็นการค่อยๆ วางรากฐานเพื่อให้ซีรีส์สามารถเล่นกับปมที่ใหญ่ขึ้นได้ในอนาคต

ทั้งนี้ทั้งนั้น หากจะต้องตำหนิอะไรซักอย่าง คงเป็นการที่ซีรีส์มีจังหวะการเล่าเรื่องที่ค่อนข้างเร็ว แม้จะมีความยาวตอนละถึง 45 นาทีก็ตาม ซึ่งแม้จะไม่ได้ทำให้คุณภาพของการเล่าเรื่องโดยรวมเสียไปเท่าไหร่นัก แต่ก็แอบทำให้รู้สึก “เหนื่อย” ได้เหมือนกันเมื่อนั่งดูทั้ง 3 ตอนติดๆ กัน เพราะแทบทุกฉากมีข้อมูลหรือบทพูดบางอย่างที่ขับเคลื่อนเนื้อเรื่องไปข้างหน้าเสมอ แต่ครั้นจะดูทีละตอนก็ยากเหมือนกัน เพราะยอมรับตามตรงว่าซีรีส์สนุกมากจนอยากจะดูรวดเดียวให้จบทั้ง 9 ตอนด้วยซ้ำ

แน่นอนว่าเรายังมีอีก 6 ตอนที่เหลือก่อนที่ซีรีส์ ‘Arcane’ จะจบซีซั่นแรกจริงๆ แต่ถ้าวัดจากแค่ 3 ตอนแรก ก็รับประกันได้เลยว่าอีก 6 ตอนที่เหลือน่าจะมีอะไรสนุกๆ รออยู่อีกเพียบ 

อ่านรีวิวตอน 4-6

บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[Review] ซีรีส์ 'Arcane' ตอน 1-3: ก้าวแรกสู่โลกของ LoL ในมุมที่คุณไม่เคยสัมผัสมาก่อน
10/11/2021

ด้วยความสำเร็จของเกม MOBA ยอดฮิตอย่าง League of Legends ที่ครั้งหนึ่งเคยครองตำแหน่ง “เกมที่มียอดผู้เล่นสูงที่สุดในประวัติศาสตร์” อยู่หลายปี และสร้างรายได้ให้กับผู้สร้างเกมอย่าง Riot Games (และเจ้าของบริษัท Riot Games อย่าง Tencent) ไปเป็นกอบเป็นกำตลอดระยะเวลานั้น คงไม่น่าแปลกใจที่ในที่สุดเราจะได้เห็นผู้พัฒนา Riot Games พยายามขยายเกมลูกรักออกไปสู่ตลาดอื่นๆ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ไม่ว่าจะเป็นเกมการ์ดใหม่อย่าง Legends of Runeterra ที่ได้รับความนิยมอยู่มิใช่น้อย ไปจนถึงการประกาศเปิดตัวเกม RPG แบบ Turn-based สำหรับเครื่อง PC อย่าง Ruined King: A League of Legends Story ที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา หรือกระทั่งการเข้าไปมีตัวตนอยู่ในวงการดนตรีในฐานะวง K/DA และไอดอล Seraphina ก็ตามที

แน่นอนว่านั่นย่อมรวมถึงซีรีส์ ‘Arcane’ ผลงานซีรีส์อนิเมชั่นใหม่ล่าสุดจาก Riot Games และสตูดิโอสัญชาติฝรั่งเศษ Fortiche Production ที่เพิ่งปล่อย 3 ตอนแรกออกมาให้ชมกันทางเว็บสตรีมมิ่ง Netflix เมื่อวันที่ 6 พฤษจิกายนที่ผ่านมา โดยซีซั่นแรกของซีรีส์จะมีทั้งหมด 9 ตอน แบ่งออกเป็นองก์ละ 3 ตอนซึ่งออกอากาศพร้อมกันทุกสัปดาห์ ซึ่งระหว่างแต่ละองก์จะมีการ “ข้ามเวลา” (Time Skip) ด้วย จึงอาจจะมองแต่ละองก์รวมกันเป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งในไตรภาคก็ได้

หลังจากที่รับชม 3 ตอนแรกของซีรีส์ ต้องยอมรับอย่างเต็มปากว่า ‘Arcane’ ถือเป็นก้าวแรกอันแข็งแกร่งในการขยายจักรวาล League of Legends สำหรับแฟนๆ ทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ ด้วยเนื้อเรื่องที่ซีเรียสและละเอียดอ่อนกว่าที่คาดหวังจะได้เห็นจากแฟรนไชส์ MOBA ซึ่งติดตามได้ง่ายแม้จะไม่เคยรู้จักกับโลกหรือตัวละครมาก่อน พร้อมกับผลงานอนิเมชั่นและการจัดภาพชั้นครูที่สามารถนำพาอารมณ์ของผู้ชมได้อย่างยอดเยี่ยม ในขณะเดียวกัน การที่ซีรีส์เลือกเน้นเรื่องราวชีวิตตัวละครเพียงไม่กี่ตัว ยังทำให้ ‘Arcane’ เป็นซีรีส์ที่ไม่ว่าใครๆ ก็ติดตามได้ และควรลองให้โอกาสซักครั้ง ไม่ว่าคุณจะรู้จักกับ League of Legends หรือไม่ก็ตาม

เรื่องราวของ ‘Arcane’ จะตั้งอยู่ในเมืองพี่น้อง Piltover และ Zaun (ก่อนที่จะเป็น Zaun ด้วยซ้ำ) โดย Piltover เป็นเมืองที่โด่งดังในเรื่องความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการค้าขายอันรุ่งเรือง ในขณะที่ Zaun (หรือที่ซีรีส์เรียกเพียงแค่ว่า ‘Undercity’ หรือ ‘เมืองเบื้องล่าง’) เปรียบได้กับ ‘ย่านสลัม’ ที่ถูกลืมของเมือง Piltover ซึ่งเต็มไปด้วยอาชญกรรมและสารเคมีที่ตกค้างจากขยะเหลือทิ้งของ Piltover อีกที ความแตกต่างอันสุดขั้วของเมืองทั้งสองนำไปสู่ความเกลียดชังและเหยียดหยามกันเองระหว่างผู้คนในเมือง ที่ต่างมองว่าอีกฝ่ายเป็นเสี้ยนหนามที่ควรถูกกำจัดไปให้สิ้นซาก 

ก่อนเหตุการณ์ของซีรีส์ ความขัดแย้งนี้ได้เคยนำไปสู่การปฏิวัติโดยประชากรเมืองเบื้องล่างที่ลุกฮือขึ้นมาเรียกร้องความเท่าเทียมจากเหล่าคนดีย์แห่งเมือง Piltover ในที่สุด แต่พวกเขากลับเผชิญการตอบโต้อย่างรุนแรงจากหน่วยตำรวจของ Piltover ที่ลงเอยด้วยการเสียชีวิตของชาวเมืองเบื้องล่างจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงพ่อแม่ของสองพี่น้อง ‘ไวโอเล็ต’ (Violet หรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘Vi’ หรือ ‘ไว’) และ ‘พาวเดอร์’ (หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ ‘Jinx’ หรือ ‘จิ๊งซ์’ นั่นเอง) 

การตายของพ่อแม่ทำให้สองพี่น้องต้องเติบโตในฐานะเด็กกำพร้าภายใต้การดูแลของ ‘แวนเดอร์’ อดีตหัวโจกแห่งการปฏิวัติ ที่ผันตัวมาเป็นเจ้าพ่อประจำย่านหนึ่งในเมืองเบื้องล่าง โดยไวและพาวเดอร์ต้องเอาตัวรอดด้วยการลักเล็กขโมยน้อยพร้อมกับแก๊งโจรเล็กๆ ที่มีไวเป็นหัวหน้า

เรื่องราวของ ‘Arcane’ เริ่มขึ้นเมื่อไวและแก๊งได้รับคำแนะนำให้ไปปล้นห้องทดลองแห่งหนึ่งใน Piltover ที่บังเอิ๊ญบังเอิญเป็นของนักประดิษฐ์หนุ่มไฟแรงที่ชื่อว่า ‘เจซ’ (Jayce ฮีโร่อีกตัวจากเกม) ผู้ซึ่งกำลังพยายามหาวิธีในการ “ควบคุมเวทมนตร์ด้วยวิทยาศาสตร์” โดยเหตุการณ์นี้เป็นตัวจุดชนวนที่พาไวและพาวเดอร์เข้าไปพัวพันกับความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง Piltover และเมืองเบื้องล่างอีกครั้ง และยังเป็นจุดเริ่มต้นของรอยร้าวที่จะเปลี่ยนสองพี่น้องให้กลายเป็นศัตรูคู่อริที่แฟนๆ ของ League of Legends คุ้นเคยกันดี

ความสูญเสียพ่อแม่ในอดีตของเธอ ส่งผลให้ไวเติบโตมาพร้อมกับความต้องการที่จะปกป้องน้องสาวทุกวิถีทาง ในขณะที่พาวเดอร์เองก็พยายามพิสูจน์ตัวเองต่อพี่สาวอยู่เสมอว่าเธอสามารถดูแลตัวเองได้ แต่ความเป็นเด็กของเธอก็ทำให้เธอมักทำผิดพลาดในขณะออกปล้นอยู่เสมอ จนสมาชิกคนอื่นๆ ในแก๊งเรียกเธอเป็น “ตัวซวย” (หรือภาษาอังกฤษคือ ‘Jinx’ นั่นเอง) ทำให้ไวต้องออกตัวปกป้องน้อง ซึ่งก็ยิ่งทำให้พาวเดอร์รู้สึกอยากพิสูจน์ตัวมากขึ้นไปด้วย วนไปมาอยู่อย่างนั้น

ลักษณะความสัมพันธ์ของไวและพาวเดอร์ถือเป็นหัวใจหลักของซีรีส์ ‘Arcane’ นี้ ที่ทำให้ผู้ชมทุกคนสามารถรู้สึกร่วมไปกับตัวละครเหล่านี้ได้โดยที่ไม่ต้องรู้จักมาก่อน ซึ่งในจุดนี้นับเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องในฝั่งของผู้เขียนบท เพราะเอาเข้าจริงๆ จักรวาลของ League of Legends นั้นกว้างใหญ่ไพศาลมาก เอาแค่ฮีโร่ในเกมก็ปาเข้าไปมากกว่า 140 ตัวแล้ว การพยายามเล่าเรื่องราวใหญ่โตที่มีตัวละครให้จำเยอะๆ อาจทำให้ซีรีส์เข้าถึงยากสำหรับคนที่ไม่ได้เป็นแฟนเกม LoL อยู่แล้ว การมุ่งเน้นไปที่เรื่องราวของตัวละครไม่กี่ตัวทำให้ซีรีส์สามารถนำเสนอปมความขัดแย้งที่มี “ความเป็นมนุษย์” ได้ มากกว่าจะเป็นเรื่องราวแฟนตาซีระดับมหากาพย์ที่ติดตามยากกว่า

ยิ่งไปกว่านั้น ซีรีส์ประสบความสำเร็จมากๆ ในการสื่ออารมณ์ของตัวละครออกมาทั้งในบทพูดและการแสดงบุคลิกสีหน้าทั้งหลาย โดยผลงานอนิเมชั่นของ Fortiche Productions ที่มีลักษณะเหมือนภาพจิตรกรรมสีฉูดฉาดกลับสามารถมอบความเป็นมนุษย์ให้กับตัวละครได้อย่างคาดไม่ถึง

Fortiche Productions ยังแสดงฝีมืออันน่าทึ่งในการจัดองก์ประกอบภาพในแต่ละเฟรมของซีรีส์ ทำให้แทบทุกเฟรมมอบความรู้สึกราวกับเป็นภาพนิ่ง แถมยังมีการใช้เอฟเฟกต์มุมกล้องและ Slow Motion เพื่อเน้นจังหวะระทึกขวัญในฉากแอคชั่นได้อย่างแยบยล จนต้องยอมรับว่า ‘Arcane’ ไม่เพียงเป็นผลงานอนิเมชั่นที่ดีที่สุดของ Riot แต่อาจเป็นผลงานซีรีส์อนิเมชั่นที่ดีเป็นอันดับต้นๆ บน Netflix ได้สบายเลย

ในขณะที่เรื่องราวของไวกับพาวเดอร์ดำเนินไปนั้น ‘Arcane’ ยังค่อยๆ ‘สร้างโลก’ (World Building) ของซีรีส์ไปด้วยผ่านเรื่องราวของตัวละคร ‘เจซ’ และ ‘วิคเตอร์’ (Viktor) สองนักประดิษฐ์หนุ่มไฟแรงที่ใฝ่ฝันจะควบคุมพลังแห่ง ‘มนต์ตรา’ ด้วยวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามกฏหมายของเมือง Piltover โดยเรื่องราวของทั้งสองแม้จะไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องราวของไวและพาวเดอร์โดยตรง แต่ก็เป็นช่องทางที่ทำให้ซีรีส์สามารถสำรวจมุมต่างๆ ของ “โลก” ของซีรีส์มากขึ้นทีละน้อยทั้งในเรื่องของวัฒนธรรมและวิถีชีวิต หรือความเชื่อที่ชาวเมืองมีต่อเวทมนต์ เป็นการค่อยๆ วางรากฐานเพื่อให้ซีรีส์สามารถเล่นกับปมที่ใหญ่ขึ้นได้ในอนาคต

ทั้งนี้ทั้งนั้น หากจะต้องตำหนิอะไรซักอย่าง คงเป็นการที่ซีรีส์มีจังหวะการเล่าเรื่องที่ค่อนข้างเร็ว แม้จะมีความยาวตอนละถึง 45 นาทีก็ตาม ซึ่งแม้จะไม่ได้ทำให้คุณภาพของการเล่าเรื่องโดยรวมเสียไปเท่าไหร่นัก แต่ก็แอบทำให้รู้สึก “เหนื่อย” ได้เหมือนกันเมื่อนั่งดูทั้ง 3 ตอนติดๆ กัน เพราะแทบทุกฉากมีข้อมูลหรือบทพูดบางอย่างที่ขับเคลื่อนเนื้อเรื่องไปข้างหน้าเสมอ แต่ครั้นจะดูทีละตอนก็ยากเหมือนกัน เพราะยอมรับตามตรงว่าซีรีส์สนุกมากจนอยากจะดูรวดเดียวให้จบทั้ง 9 ตอนด้วยซ้ำ

แน่นอนว่าเรายังมีอีก 6 ตอนที่เหลือก่อนที่ซีรีส์ ‘Arcane’ จะจบซีซั่นแรกจริงๆ แต่ถ้าวัดจากแค่ 3 ตอนแรก ก็รับประกันได้เลยว่าอีก 6 ตอนที่เหลือน่าจะมีอะไรสนุกๆ รออยู่อีกเพียบ 

อ่านรีวิวตอน 4-6


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header