GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[บทความ] Enter the Matrix: ผู้วางรากฐานแนวทางขยายจักรวาลผ่านสื่อข้ามแขนง
ลงวันที่ 14/12/2021

ปัจจุบัน สื่อบันเทิงหลากหลายแขนงมีการเชื่อมโยงซึ่งกันและกันจนเป็นเนื้อเดียว แม้ว่าแต่ละสื่อนั้นมีวิธีการสำหรับโต้ตอบผู้รับสารที่แตกต่างกัน สิ่งดังกล่าวคือเครื่องมือแสนพิเศษที่บรรจุอัตลักษณ์ ส่งมอบสารซึ่งแฝงไปด้วยกลวิธีเล่าเรื่องที่มีเอกลักษณ์ สร้างมิติ เพิ่มรสชาติสดใหม่สำหรับการเสพสื่อแก่ผู้รับสาร หากเปรียบเปรยด้วยการลิ้มลองอาหาร รสสัมผัสและวิธีการรับประทานคืออีกปัจจัยส่งผลให้อาหารแต่ละจานมีความแตกต่าง การลิ้มลองสารจากสื่อต่างแขนงก็มีความคล้ายคลึงเช่นเดียวกัน เราอาจเรียกกลวิธีดังกล่าวว่าเป็น สื่อบูรณาการ, สื่อผสม, การเล่าเรื่องข้ามสื่อ หรือการเล่าเรื่องผ่านหลายแพลตฟอร์ม (transmedia)

สื่อบูรณาการไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป การใช้วิธีดังกล่าวกลายเป็นเรื่องปกติจนเป็นบรรทัดฐานในการเล่าเรื่องข้ามสื่ออย่างเป็นโครงข่าย เรามักเห็นในทำนองใช้เพื่อ “ขยายจักรวาล” แต่ก่อนสื่อบูรณาการกลายเป็นเรื่องปกติ เราเคยมีสื่อบูรณาการซึ่งนับว่าเป็นกลเม็ดอันแปลกใหม่ ไม่คุ้นตาในยุคก่อนหน้า หากย้อนเวลาไป 18 ปี กับวิดีโอเกมที่เป็นส่วนหนึ่งในเรื่องราวของจักรวาลทรงอิทธิพลต่อสื่อบันเทิงทุกแขนงสุดจวบจนปัจจุบัน เกม “Enter the Matrix” ในจักรวาล The Matrix ของสองพี่น้องตระกูล Wachowski 

ถึงแม้ว่า The Matrix หาใช่ผู้ริเริ่มการใช้สื่อบูรณาการเจ้าแรกๆ แต่ถือได้ว่า The Matrix ได้วางแนวทาง, รากฐานและสร้างกรณีศึกษาสำหรับการใช้สื่อบูรณาการจนเป็นแม่แบบอย่างปฏิเสธไม่ได้

เป็นช่วงเวลาประจวบเหมาะเมื่ออีกส่วนประกอบในจักรวาล The Matrix กำลังจะเข้าฉายอย่าง The Matrix Resurrections เราจึงขอย้อนกลับไปสำรวจความทะเยอทะยานในอดีต หากคุณตัดสินใจโน้มฝ่ามือจำลอง (หรือของจริง?) เคลื่อนไหวอย่างช้าๆ หยิบยกยาเม็ดสีแดงฉาน แล้วกลึนมันเข้าไปอย่างไม่รอรี

“ยินดีต้อนรับสู่โพรงกระต่ายไร้จุดจบ”


วางรากฐานขยายจักรวาล

Enter the Matrix เป็นวิดีโอเกมแนว action-adventure พัฒนาโดยทีม Shiny Entertainment เมื่อเรากล่าวคำว่า “วิดีโอเกมจากภาพยนตร์” มักมีอีกคำตามติดอย่างวิญญาณหลอนหลอกเสมอ 

“เกมขายของ” 

แต่จงให้รีบเร่งหยุดความคิดที่ด่วนตัดสินสักครู่ เพราะ Enter the Matrix ได้รับการปฏิบัติอย่างราษฎรเต็มขั้น หาได้ถูกแบ่งแยกวรรณะแบบวิดีโอเกมจากภาพยนตร์อื่น เช่นเดียวกันกับแอนิเมชั่น The Animatrix ซึ่งเป็นหนึ่งในสื่อบูรณาการควบคู่กันกับภาพยนตร์ The Matrix Reloaded


โดยแท้จริงแล้วโครงการสร้างเกม  Enter the Matrix เริ่มตั้งแต่ก่อนภาพยนตร์ภาพแรกฉายทั่วโลก สองพี่น้องตระกูล Wachowski และผู้อำนวยการสร้าง คุณ Joel Silver ติดต่อคุณ David Perry ผู้ก่อตั้ง Shiny Entertainment เพื่อให้พัฒนาเกมในจักรวาล The Matrix ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่สองพี่น้องตระกูล Wachowski กำลังทำสตอรี่บอร์ดภาพยนตร์ภาคแรก ทางคุณ Perry ปฏิเสธเพราะคิดว่า The Matrix เป็นเพียงแค่หนังแฮกเกอร์ดาดๆ อีกเรื่องเท่านั้น แน่นอนว่าภายหลังจากภาพยนตร์ออกฉาย ความคิดของเขาเปลี่ยนไป 

“นี้เป็นการตัดสินใจที่แย่ที่สุดในชีวิตการทำงานของผมเลย”

แต่เขาได้รับการติดต่อจากสองพี่น้องอีกครั้ง ซึ่งเขาก็ตกปากรับคำอย่างไม่รอช้า โดยโครงการพัฒนาเกม Enter the Matrix พัฒนาด้วยความร่วมมือของสองพี่น้องตระกูล Wachowski อย่างใกล้ชิด (เพราะพวกเขาก็เป็นเกมเมอร์ตัวยงเหมือนกัน) พวกเขาเขียนบทเกมซึ่งเขียนบทควบคู่ไปกับภาพยนตร์ลำดับที่สอง The Matrix Reloaded อีกกระทั่งเป็นผู้ลงมือกำกับฟุตเทจสำหรับเกมด้วยฟิล์ม 35 มม. 

โดยเรื่องราวใน Enter the Matrix เป็นเนื้อหา “อีกมุมมอง” จากภาพยนตร์ สาเหตุที่ใช้คำว่าอีกมุมมอง เพราะเกมเล่าเรื่องในช่องว่างระหว่างบรรทัดจากภาพยนตร์ (off-scene) เรื่องราวในเกมจะสอดคล้อง แบ่งรับ และไขกระจ่างถึงช่วงเวลาที่ภาพยนตร์เลือกข้ามไม่กล่าวถึง ตามทฤษฎี “แสดงแทนเล่าตรงๆ” (show don’t tell) ที่เรามักพบในสื่อบันเทิง แตกต่างจากเกมที่ดัดแปลงจากภาพยนตร์ที่ใช้มุมมองเดียวกันกับภาพยนตร์ เพียงแค่ดัดแปลงให้อยู่ในรูปแบบวิดีโอเกม อย่างเช่นผลงานชิ้นต่อมาของ Shiny Entertainment กับเกม The Matrix: Path of Neo ที่เกมนำแต่ละฉากจากภาพยนตร์มาให้เล่นเท่านั้น ไม่มีการแสดงอีกมุมมองแต่อย่างใด เว้นแต่บางส่วนที่เพิ่มเติมเพื่อเกมการเล่น

Enter the Matrix จึงถูกปฏิบัติในฐานะชิ้นส่วนสำคัญ ในการนำมาประกอบกับเรื่องราวในจักรวาล The Matrix เส้นเรื่องของเกมอยู่ในช่วงก่อนและระหว่าง The Matrix Reloaded เล่าผ่านตัวละครหลักสองตัวอย่าง Niobe กัปตันของยาน Logos และ Ghost ลูกเรือของยานดังกล่าว เราได้เล่นหลายช่วงของเกมเล่าเรื่องผ่านช่องว่างของภาพยนตร์ ยกตัวอย่างชัดเจนที่สุดคือ ฉากการต่อสู้บนทางด่วน ฝั่งภาพยนตร์ เป็นช่วงเวลาที่ Morpheus กำลังเพลี่ยงพล้ำต่อสายลับ เขากำลังจะตกจากรถ แต่ทันใดนั้นเอง Niobe บึ่งรถมารับเขาไว้ได้ทัน รอดพ้นจากหายนะไปได้อีกครั้ง ตัดกลับไปฝั่งวิดีโอเกม เราซึ่งรับบทเป็น Niobe ผู้เล่นจะได้ทราบว่าเหตุใด Niobe ถึงรู้ตำแหน่งและมาช่วย Morpheus ไว้ได้ทันการ 

“ฉันต้องการคุยกับ Morpheus”
“เชื่อฉันไหม เขาต้องการความช่วยเหลือจากเธอพอดี”
“เขาอยู่ไหน?”
“ตามเสียงไซเรนไปสิ”


นอกจากนั้นยังมีการเล่าเรื่องร่วมกับอีกสื่อคือแอนิเมชั่น The Animatrix ประกอบกับภาพยนตร์ The Matrix Reloaded และวิดีโอเกม Enter the Matrix อย่างใน The Matrix Reloaded ฉากการประชุมของเหล่ากัปตันยานฝ่ายมนุษย์ ถึงคำเตือนที่พวกเขาได้รับจากยาน Osiris ว่าเหล่าจักรกลกำลังขุดหา Zion ซึ่งในฝั่ง The Animatrix จะให้เราเห็นรายละเอียดจากมุมมองของลูกเรือยาน Osiris ในตอนที่ชื่อว่า “Final Flight of the Osiris” พวกเขาพบว่าฝ่ายจักรกลกำลังขุดหา Zion และกำลังถูก Sentinels โจมตียาน ลูกเรือนาม Jue อาสาเข้าไปในโลก Matrix เพื่อนำส่งสารคำเตือน ณ จุดส่งพัสดุ เธอส่งสารสำเร็จ ก่อนที่เธอและยาน Osiris ถูกทำลาย ส่วนฝั่ง Enter the Matrix เป็นช่วงต้นเกม Niobe และ Ghost บุกสำนักงานไปรษณีย์เพื่อชิงพัสดุดังกล่าวก่อนเหล่าสายลับจะได้มันไป

กลับกัน ถึงเกม Enter the Matrix ชาญฉลาดในแง่การขยายจักรวาล แต่ในแง่เสียงวิจารณ์ถึงตัวเกมไม่ค่อยจะดีนัก ด้วยความคาดหวังสูงเสียดฟ้า ผลจากกระแสของภาพยนตร์และการแสดงตัวว่าเเป็นเกมขยายจักรวาล เหตุเพราะระบบเกมการเล่นไม่ลื่นไหล เงอะงะ หรือแม้กระทั่งความผิดหวังจากผู้เล่นที่ไม่ได้เล่นเป็น Neo แต่กระนั้นเกมทำยอดขายถึง 5 ล้านฉบับ ถือว่าประสบความสำเร็จด้านยอดขายอย่างงดงาม


สานต่อด้วยความทะเยอทะยาน

การขยายจักรวาลของ The Matrix หาได้จบเพียงแค่นั้น หลังจากภาพยนตร์ภาคที่สาม The Matrix Revolutions ยังคงมีการใช้สื่อบูรณาการเพื่อขยายจักรวาลอีกเช่นเคย แต่ทะเยอทะยานกว่าหลายเท่าตัวยิ่งนัก กับเกมแนว MMORPG อย่าง The Matrix Online พัฒนาโดย Monolith Productions ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะผู้พัฒนาเกม F.E.A.R. และ Middle-earth: Shadow of Mordor 

The Matrix Online มีเรื่องราวที่มาจากวิสัยทัศน์ของคุณ Paul Chadwick นักเขียนคอมมิคเจ้าของผลงานชั้นยอด “Concrete” เขากำหนดทิศทางของเรื่องราวภายในเกมแบบองค์รวม สานต่อเรื่องราวมรดกที่สองพี่น้องได้มอบไว้ เรื่องราวภายในเกมดำเนินต่อจากเรื่องราวในภาพยนตร์ The Matrix Revolutions เมื่อสงครามยุติ ผลจากสัญญาสงบศึกของ Zion และ จักรกล โดยความตกลงระหว่าง Neo กับ Deus Ex Machina

“แกต้องการอะไร?” 
“สันติ”

เกมให้ผู้เล่นได้เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวที่ดำเนินต่อไปในจักรวาล The Matrix เกมใช้วิธีการเล่าเรื่องผ่านกิจกรรม อย่างเช่น การตามหาร่องรอยตัวตนที่ตกค้างของ Neo (residual self image หรือ RSI), การตามล่ากับชะตากรรมชีวิตของ Morpheus ไปจนถึงจุดจบของสัญญาสงบศึกและเริ่มต้นสงครามจักรกลครั้งที่สอง

ท้ายที่สุดเกมปิดตัวในวันที่ 31 กรกฎาคม 2009 ซึ่งถูกตัดจบไปอย่างน่าเสียดาย เพราะแท้จริงแล้วมีเนื้อเรื่องอื่นๆ อีกที่ไม่ถูกปล่อยให้เล่น รวมไปถึงเนื้อเรื่องช่วงจบเกมภาคนี้ที่ถูกวางแผนไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน


ผลผลิตผลิดอกจากรากฐานที่มั่นคง

สื่อบูรณาการกลายเป็นบรรทัดฐานของสื่อบันเทิงในปัจจุบัน เรามักเห็นสื่อหลักในแขนงหนึ่ง เลือกขยายจักรวาลผ่านสื่อแขนงอื่น ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยม, ทรงประสิทธิภาพ และเป็นที่สนใจต่อผู้รับสารยิ่งยวด เหตุเพราะสามารถชักจูงผู้รับสารที่หลงใหลหรือเคยชินในสื่อแขนงหนึ่ง เข้ามาสู่อีกพื้นที่ของสื่อแขนงหนึ่งได้โดยใจสมัคร แบบไม่ต้องบีบคั่นและโยนภาระให้ผู้เสพสื่อดังกล่าวแต่อย่างใด 

อย่าง Unknown 9 โครงการใหม่ของผู้กำกับ Assassin's Creed Unity คุณ Alexandre Amancio โดยเขาต้องการสร้างจักรวาลชื่อว่า Unknown 9 ที่เชื่อมโยงเรื่องราวและตัวละครโดยนำทุกแพลตฟอร์มสื่อเท่าที่โลกจะมีในตอนนี้ มาใช้จนครบถ้วน ไม่ว่าทั้งนิยาย, พอดแคสต์, ภาพยนตร์, คอมมิค, วิดีโอเกม และอะไรเหนือไปกว่านั้นเท่าที่เขาจะสรรหาได้

โดยคุณ Amancio กล่าวว่าปกติการสร้างจักรวาลเรื่องราว มักเริ่มต้นโดยพื้นฐานจากสื่อเดียว แล้วค่อยขยายออกไปยังสื่อรูปแบบอื่น แต่ปัญหาคือเมื่อยิ่งขยายไปสื่อประเภทอื่น มันยิ่งลดทอนความลุ่มลึกจากรูปแบบสื่อของต้นฉบับ ต่างจากการสร้างจักรวาลแบบบูรณาการตั้งแต่ต้น ซึ่งมันให้อารมณ์เหมือนวงออร์เคสตรา ต่างสื่อมีหน้าที่เป็นของตัวเอง ต่างช่วยเล่าเรื่องและร้อยเรียงสิ่งต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน 

ส่วนประกอบในจักรวาล Unknown 9 เริ่มทยอยออกมาภายใต้สื่อหลายรูปแบบ ด้านนิยาย คือนิยายไตรภาค Genesis ด้านพอดแคสต์ คือพอดแคสต์เล่าเรื่องซีรีส์ Out of Sight ด้านคอมมิค คือคอมมิคหัวเรื่อง Torment และที่น่าจับตามองที่สุดคือวิดีโอเกมทุนสูงอย่าง Awakening 

นอกจากนั้นยังมีเกม League of Legends ที่นำวิธีสื่อบูรณาการมาใช้ขยายจักรวาลหลักอีกเช่นกัน โดยเล่าผ่านทางสื่อแขนงทีวีซีรีส์รูปแบบสตรีมมิ่งอย่าง Arcane ซึ่งได้กลายเป็นชิ้นงานระดับครู จากความสุดขีดทั้งเนื้อหา, งานภาพและลูกเล่นในการเล่าเรื่อง 

ทุกสิ่งที่บังเกิดใน Arcane ล้วนเป็นผลพวงมาจากรากฐานที่แข็งแรงจากเรื่องราวเบื้องหลังในโลก League of Legends ที่พร้อมนำไปต่อยอดในสื่อแขนงอื่นได้อย่างไม่รู้จบ รวมไปถึงรากฐานที่มั่นคงในกลวิธีการใช้สื่อบูรณาการ เป็นมรดกที่สองพี่น้องตระกูล Wachowski ได้แสดงให้เห็นถึงความทรงพลังของการใช้สื่อบูรณาการในแบบที่ถูกที่ควร และฝากฝังให้กับอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงทุกวงการสืบไป

    

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] Enter the Matrix: ผู้วางรากฐานแนวทางขยายจักรวาลผ่านสื่อข้ามแขนง
14/12/2021

ปัจจุบัน สื่อบันเทิงหลากหลายแขนงมีการเชื่อมโยงซึ่งกันและกันจนเป็นเนื้อเดียว แม้ว่าแต่ละสื่อนั้นมีวิธีการสำหรับโต้ตอบผู้รับสารที่แตกต่างกัน สิ่งดังกล่าวคือเครื่องมือแสนพิเศษที่บรรจุอัตลักษณ์ ส่งมอบสารซึ่งแฝงไปด้วยกลวิธีเล่าเรื่องที่มีเอกลักษณ์ สร้างมิติ เพิ่มรสชาติสดใหม่สำหรับการเสพสื่อแก่ผู้รับสาร หากเปรียบเปรยด้วยการลิ้มลองอาหาร รสสัมผัสและวิธีการรับประทานคืออีกปัจจัยส่งผลให้อาหารแต่ละจานมีความแตกต่าง การลิ้มลองสารจากสื่อต่างแขนงก็มีความคล้ายคลึงเช่นเดียวกัน เราอาจเรียกกลวิธีดังกล่าวว่าเป็น สื่อบูรณาการ, สื่อผสม, การเล่าเรื่องข้ามสื่อ หรือการเล่าเรื่องผ่านหลายแพลตฟอร์ม (transmedia)

สื่อบูรณาการไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป การใช้วิธีดังกล่าวกลายเป็นเรื่องปกติจนเป็นบรรทัดฐานในการเล่าเรื่องข้ามสื่ออย่างเป็นโครงข่าย เรามักเห็นในทำนองใช้เพื่อ “ขยายจักรวาล” แต่ก่อนสื่อบูรณาการกลายเป็นเรื่องปกติ เราเคยมีสื่อบูรณาการซึ่งนับว่าเป็นกลเม็ดอันแปลกใหม่ ไม่คุ้นตาในยุคก่อนหน้า หากย้อนเวลาไป 18 ปี กับวิดีโอเกมที่เป็นส่วนหนึ่งในเรื่องราวของจักรวาลทรงอิทธิพลต่อสื่อบันเทิงทุกแขนงสุดจวบจนปัจจุบัน เกม “Enter the Matrix” ในจักรวาล The Matrix ของสองพี่น้องตระกูล Wachowski 

ถึงแม้ว่า The Matrix หาใช่ผู้ริเริ่มการใช้สื่อบูรณาการเจ้าแรกๆ แต่ถือได้ว่า The Matrix ได้วางแนวทาง, รากฐานและสร้างกรณีศึกษาสำหรับการใช้สื่อบูรณาการจนเป็นแม่แบบอย่างปฏิเสธไม่ได้

เป็นช่วงเวลาประจวบเหมาะเมื่ออีกส่วนประกอบในจักรวาล The Matrix กำลังจะเข้าฉายอย่าง The Matrix Resurrections เราจึงขอย้อนกลับไปสำรวจความทะเยอทะยานในอดีต หากคุณตัดสินใจโน้มฝ่ามือจำลอง (หรือของจริง?) เคลื่อนไหวอย่างช้าๆ หยิบยกยาเม็ดสีแดงฉาน แล้วกลึนมันเข้าไปอย่างไม่รอรี

“ยินดีต้อนรับสู่โพรงกระต่ายไร้จุดจบ”


วางรากฐานขยายจักรวาล

Enter the Matrix เป็นวิดีโอเกมแนว action-adventure พัฒนาโดยทีม Shiny Entertainment เมื่อเรากล่าวคำว่า “วิดีโอเกมจากภาพยนตร์” มักมีอีกคำตามติดอย่างวิญญาณหลอนหลอกเสมอ 

“เกมขายของ” 

แต่จงให้รีบเร่งหยุดความคิดที่ด่วนตัดสินสักครู่ เพราะ Enter the Matrix ได้รับการปฏิบัติอย่างราษฎรเต็มขั้น หาได้ถูกแบ่งแยกวรรณะแบบวิดีโอเกมจากภาพยนตร์อื่น เช่นเดียวกันกับแอนิเมชั่น The Animatrix ซึ่งเป็นหนึ่งในสื่อบูรณาการควบคู่กันกับภาพยนตร์ The Matrix Reloaded


โดยแท้จริงแล้วโครงการสร้างเกม  Enter the Matrix เริ่มตั้งแต่ก่อนภาพยนตร์ภาพแรกฉายทั่วโลก สองพี่น้องตระกูล Wachowski และผู้อำนวยการสร้าง คุณ Joel Silver ติดต่อคุณ David Perry ผู้ก่อตั้ง Shiny Entertainment เพื่อให้พัฒนาเกมในจักรวาล The Matrix ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่สองพี่น้องตระกูล Wachowski กำลังทำสตอรี่บอร์ดภาพยนตร์ภาคแรก ทางคุณ Perry ปฏิเสธเพราะคิดว่า The Matrix เป็นเพียงแค่หนังแฮกเกอร์ดาดๆ อีกเรื่องเท่านั้น แน่นอนว่าภายหลังจากภาพยนตร์ออกฉาย ความคิดของเขาเปลี่ยนไป 

“นี้เป็นการตัดสินใจที่แย่ที่สุดในชีวิตการทำงานของผมเลย”

แต่เขาได้รับการติดต่อจากสองพี่น้องอีกครั้ง ซึ่งเขาก็ตกปากรับคำอย่างไม่รอช้า โดยโครงการพัฒนาเกม Enter the Matrix พัฒนาด้วยความร่วมมือของสองพี่น้องตระกูล Wachowski อย่างใกล้ชิด (เพราะพวกเขาก็เป็นเกมเมอร์ตัวยงเหมือนกัน) พวกเขาเขียนบทเกมซึ่งเขียนบทควบคู่ไปกับภาพยนตร์ลำดับที่สอง The Matrix Reloaded อีกกระทั่งเป็นผู้ลงมือกำกับฟุตเทจสำหรับเกมด้วยฟิล์ม 35 มม. 

โดยเรื่องราวใน Enter the Matrix เป็นเนื้อหา “อีกมุมมอง” จากภาพยนตร์ สาเหตุที่ใช้คำว่าอีกมุมมอง เพราะเกมเล่าเรื่องในช่องว่างระหว่างบรรทัดจากภาพยนตร์ (off-scene) เรื่องราวในเกมจะสอดคล้อง แบ่งรับ และไขกระจ่างถึงช่วงเวลาที่ภาพยนตร์เลือกข้ามไม่กล่าวถึง ตามทฤษฎี “แสดงแทนเล่าตรงๆ” (show don’t tell) ที่เรามักพบในสื่อบันเทิง แตกต่างจากเกมที่ดัดแปลงจากภาพยนตร์ที่ใช้มุมมองเดียวกันกับภาพยนตร์ เพียงแค่ดัดแปลงให้อยู่ในรูปแบบวิดีโอเกม อย่างเช่นผลงานชิ้นต่อมาของ Shiny Entertainment กับเกม The Matrix: Path of Neo ที่เกมนำแต่ละฉากจากภาพยนตร์มาให้เล่นเท่านั้น ไม่มีการแสดงอีกมุมมองแต่อย่างใด เว้นแต่บางส่วนที่เพิ่มเติมเพื่อเกมการเล่น

Enter the Matrix จึงถูกปฏิบัติในฐานะชิ้นส่วนสำคัญ ในการนำมาประกอบกับเรื่องราวในจักรวาล The Matrix เส้นเรื่องของเกมอยู่ในช่วงก่อนและระหว่าง The Matrix Reloaded เล่าผ่านตัวละครหลักสองตัวอย่าง Niobe กัปตันของยาน Logos และ Ghost ลูกเรือของยานดังกล่าว เราได้เล่นหลายช่วงของเกมเล่าเรื่องผ่านช่องว่างของภาพยนตร์ ยกตัวอย่างชัดเจนที่สุดคือ ฉากการต่อสู้บนทางด่วน ฝั่งภาพยนตร์ เป็นช่วงเวลาที่ Morpheus กำลังเพลี่ยงพล้ำต่อสายลับ เขากำลังจะตกจากรถ แต่ทันใดนั้นเอง Niobe บึ่งรถมารับเขาไว้ได้ทัน รอดพ้นจากหายนะไปได้อีกครั้ง ตัดกลับไปฝั่งวิดีโอเกม เราซึ่งรับบทเป็น Niobe ผู้เล่นจะได้ทราบว่าเหตุใด Niobe ถึงรู้ตำแหน่งและมาช่วย Morpheus ไว้ได้ทันการ 

“ฉันต้องการคุยกับ Morpheus”
“เชื่อฉันไหม เขาต้องการความช่วยเหลือจากเธอพอดี”
“เขาอยู่ไหน?”
“ตามเสียงไซเรนไปสิ”


นอกจากนั้นยังมีการเล่าเรื่องร่วมกับอีกสื่อคือแอนิเมชั่น The Animatrix ประกอบกับภาพยนตร์ The Matrix Reloaded และวิดีโอเกม Enter the Matrix อย่างใน The Matrix Reloaded ฉากการประชุมของเหล่ากัปตันยานฝ่ายมนุษย์ ถึงคำเตือนที่พวกเขาได้รับจากยาน Osiris ว่าเหล่าจักรกลกำลังขุดหา Zion ซึ่งในฝั่ง The Animatrix จะให้เราเห็นรายละเอียดจากมุมมองของลูกเรือยาน Osiris ในตอนที่ชื่อว่า “Final Flight of the Osiris” พวกเขาพบว่าฝ่ายจักรกลกำลังขุดหา Zion และกำลังถูก Sentinels โจมตียาน ลูกเรือนาม Jue อาสาเข้าไปในโลก Matrix เพื่อนำส่งสารคำเตือน ณ จุดส่งพัสดุ เธอส่งสารสำเร็จ ก่อนที่เธอและยาน Osiris ถูกทำลาย ส่วนฝั่ง Enter the Matrix เป็นช่วงต้นเกม Niobe และ Ghost บุกสำนักงานไปรษณีย์เพื่อชิงพัสดุดังกล่าวก่อนเหล่าสายลับจะได้มันไป

กลับกัน ถึงเกม Enter the Matrix ชาญฉลาดในแง่การขยายจักรวาล แต่ในแง่เสียงวิจารณ์ถึงตัวเกมไม่ค่อยจะดีนัก ด้วยความคาดหวังสูงเสียดฟ้า ผลจากกระแสของภาพยนตร์และการแสดงตัวว่าเเป็นเกมขยายจักรวาล เหตุเพราะระบบเกมการเล่นไม่ลื่นไหล เงอะงะ หรือแม้กระทั่งความผิดหวังจากผู้เล่นที่ไม่ได้เล่นเป็น Neo แต่กระนั้นเกมทำยอดขายถึง 5 ล้านฉบับ ถือว่าประสบความสำเร็จด้านยอดขายอย่างงดงาม


สานต่อด้วยความทะเยอทะยาน

การขยายจักรวาลของ The Matrix หาได้จบเพียงแค่นั้น หลังจากภาพยนตร์ภาคที่สาม The Matrix Revolutions ยังคงมีการใช้สื่อบูรณาการเพื่อขยายจักรวาลอีกเช่นเคย แต่ทะเยอทะยานกว่าหลายเท่าตัวยิ่งนัก กับเกมแนว MMORPG อย่าง The Matrix Online พัฒนาโดย Monolith Productions ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะผู้พัฒนาเกม F.E.A.R. และ Middle-earth: Shadow of Mordor 

The Matrix Online มีเรื่องราวที่มาจากวิสัยทัศน์ของคุณ Paul Chadwick นักเขียนคอมมิคเจ้าของผลงานชั้นยอด “Concrete” เขากำหนดทิศทางของเรื่องราวภายในเกมแบบองค์รวม สานต่อเรื่องราวมรดกที่สองพี่น้องได้มอบไว้ เรื่องราวภายในเกมดำเนินต่อจากเรื่องราวในภาพยนตร์ The Matrix Revolutions เมื่อสงครามยุติ ผลจากสัญญาสงบศึกของ Zion และ จักรกล โดยความตกลงระหว่าง Neo กับ Deus Ex Machina

“แกต้องการอะไร?” 
“สันติ”

เกมให้ผู้เล่นได้เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวที่ดำเนินต่อไปในจักรวาล The Matrix เกมใช้วิธีการเล่าเรื่องผ่านกิจกรรม อย่างเช่น การตามหาร่องรอยตัวตนที่ตกค้างของ Neo (residual self image หรือ RSI), การตามล่ากับชะตากรรมชีวิตของ Morpheus ไปจนถึงจุดจบของสัญญาสงบศึกและเริ่มต้นสงครามจักรกลครั้งที่สอง

ท้ายที่สุดเกมปิดตัวในวันที่ 31 กรกฎาคม 2009 ซึ่งถูกตัดจบไปอย่างน่าเสียดาย เพราะแท้จริงแล้วมีเนื้อเรื่องอื่นๆ อีกที่ไม่ถูกปล่อยให้เล่น รวมไปถึงเนื้อเรื่องช่วงจบเกมภาคนี้ที่ถูกวางแผนไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน


ผลผลิตผลิดอกจากรากฐานที่มั่นคง

สื่อบูรณาการกลายเป็นบรรทัดฐานของสื่อบันเทิงในปัจจุบัน เรามักเห็นสื่อหลักในแขนงหนึ่ง เลือกขยายจักรวาลผ่านสื่อแขนงอื่น ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยม, ทรงประสิทธิภาพ และเป็นที่สนใจต่อผู้รับสารยิ่งยวด เหตุเพราะสามารถชักจูงผู้รับสารที่หลงใหลหรือเคยชินในสื่อแขนงหนึ่ง เข้ามาสู่อีกพื้นที่ของสื่อแขนงหนึ่งได้โดยใจสมัคร แบบไม่ต้องบีบคั่นและโยนภาระให้ผู้เสพสื่อดังกล่าวแต่อย่างใด 

อย่าง Unknown 9 โครงการใหม่ของผู้กำกับ Assassin's Creed Unity คุณ Alexandre Amancio โดยเขาต้องการสร้างจักรวาลชื่อว่า Unknown 9 ที่เชื่อมโยงเรื่องราวและตัวละครโดยนำทุกแพลตฟอร์มสื่อเท่าที่โลกจะมีในตอนนี้ มาใช้จนครบถ้วน ไม่ว่าทั้งนิยาย, พอดแคสต์, ภาพยนตร์, คอมมิค, วิดีโอเกม และอะไรเหนือไปกว่านั้นเท่าที่เขาจะสรรหาได้

โดยคุณ Amancio กล่าวว่าปกติการสร้างจักรวาลเรื่องราว มักเริ่มต้นโดยพื้นฐานจากสื่อเดียว แล้วค่อยขยายออกไปยังสื่อรูปแบบอื่น แต่ปัญหาคือเมื่อยิ่งขยายไปสื่อประเภทอื่น มันยิ่งลดทอนความลุ่มลึกจากรูปแบบสื่อของต้นฉบับ ต่างจากการสร้างจักรวาลแบบบูรณาการตั้งแต่ต้น ซึ่งมันให้อารมณ์เหมือนวงออร์เคสตรา ต่างสื่อมีหน้าที่เป็นของตัวเอง ต่างช่วยเล่าเรื่องและร้อยเรียงสิ่งต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน 

ส่วนประกอบในจักรวาล Unknown 9 เริ่มทยอยออกมาภายใต้สื่อหลายรูปแบบ ด้านนิยาย คือนิยายไตรภาค Genesis ด้านพอดแคสต์ คือพอดแคสต์เล่าเรื่องซีรีส์ Out of Sight ด้านคอมมิค คือคอมมิคหัวเรื่อง Torment และที่น่าจับตามองที่สุดคือวิดีโอเกมทุนสูงอย่าง Awakening 

นอกจากนั้นยังมีเกม League of Legends ที่นำวิธีสื่อบูรณาการมาใช้ขยายจักรวาลหลักอีกเช่นกัน โดยเล่าผ่านทางสื่อแขนงทีวีซีรีส์รูปแบบสตรีมมิ่งอย่าง Arcane ซึ่งได้กลายเป็นชิ้นงานระดับครู จากความสุดขีดทั้งเนื้อหา, งานภาพและลูกเล่นในการเล่าเรื่อง 

ทุกสิ่งที่บังเกิดใน Arcane ล้วนเป็นผลพวงมาจากรากฐานที่แข็งแรงจากเรื่องราวเบื้องหลังในโลก League of Legends ที่พร้อมนำไปต่อยอดในสื่อแขนงอื่นได้อย่างไม่รู้จบ รวมไปถึงรากฐานที่มั่นคงในกลวิธีการใช้สื่อบูรณาการ เป็นมรดกที่สองพี่น้องตระกูล Wachowski ได้แสดงให้เห็นถึงความทรงพลังของการใช้สื่อบูรณาการในแบบที่ถูกที่ควร และฝากฝังให้กับอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงทุกวงการสืบไป

    

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header