GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
Biomutant Review 'เกมจอมยุทธ์หน้าขนผจญภัยสำหรับคอ RPG ตัวยง'
ลงวันที่ 24/05/2021

ตั้งแต่ที่เกมเปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี 2017 ที่งาน Gamescom ประเทศเยอรมนี เกม Biomutant ก็ได้รับการจับตามองโดยสื่อและเกมเมอร์หลายๆ คนจากทั่วโลก ที่คาดหวังกับแนวคิดของเกมที่ผู้พัฒนาบรรยายว่าเป็น “เทพนิยายกังฟูในโลกหลังอารยธรรมล่มสลาย” แต่ตลอดระยะเวลานับตั้งแต่ที่เกมเปิดตัว ผู้พัฒนา Experiment 101 ก็ไม่ค่อยจะได้ปล่อยข้อมูลหรือข่าวคราวอะไรเกี่ยวกับเกมออกมาให้ติดตามกันบ่อยนัก จนทำให้หลายคนอาจจะยังนึกภาพไม่ออกว่าจริงๆ แล้วเกม Biomutant มันเป็นอย่างไรกันแน่


หลังจากที่ได้เล่นเกม Biomutant ไปแล้วราวๆ 25 ชั่วโมงบนเครื่อง PlayStation 5 ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา (ขอขอบคุณบริษัท THQ Nordic และ Epicsoft สำหรับโค้ดรีวิวเกมล่วงหน้า) ต้องบอกว่า Biomutant ถือเป็นเกมที่มีจุดเด่นหลายจุด โดยเฉพาะในแง่ของเกมเพลย์และการพัฒนาตัวละคร ที่สามารถปรับแต่งความสามารถและค่า Stat ต่างๆ ได้อย่างยืดหยุ่น รวมไปถึงระบบการคราฟติ้ง (Crafting) ที่มีทางเลือกให้ปรับแต่งทั้งหน้าตาของไอเทมและตัวเลขความเสียหายได้อย่างไม่สิ้นสุด และยังมีโลก Open World ขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยเควสและความลับให้ค้นหาเต็มไปหมด ซึ่งน่าจะเข้าทางคนที่ชื่นชอบการเล่น RPG แนวผจญภัยเป็นอย่างมาก ตราบใดที่สามารถมองข้ามข้อบกพร่องอันใหญ่หลวงของเกมได้



เรื่องราวของ Biomutant เกิดขึ้นในในโลกหลังอารยธรรมล่มสลาย หลังจากที่เหล่ามนุษย์ในโลกของเกมได้ละทิ้งดาวเคราะห์บ้านเกิดที่ถูกทำลายจากมลพิษและสารเคมี เหลือทิ้งไว้เพียงสิงสาราสัตว์หลากหลายชนิดที่กลายพันธุ์อย่างรวดเร็วจากสารเคมีที่เหลือทิ้งเอาไว้ เมื่อเวลาผ่านไป เหล่าสัตว์กลายพันธุ์ก็ได้รวมตัวกันเป็นเผ่าต่างๆ 6 เผ่าที่ปกครองพื้นที่ของตัวเองอย่างสันติ โดยมีต้นไม้โลก (World Tree) ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างเผ่าทั้ง 6


แต่แล้ววันหนึ่ง จู่ๆ ก็มีสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่ 4 ตัวที่เรียกว่าเหล่า World Eaters ได้ปรากฏตัวขึ้นจากทะเล และเริ่มจู่โจมรากของต้นไม้โลก ซึ่งความวุ่นวายที่เกิดขึ้นนี้ยังจุดชนวนความขัดแย้งระหว่างเผ่าทั้ง 6 ที่ล้วนเตรียมตัวจะเปิดสงครามกับเผ่าอื่นๆ ได้ตลอดเวลาอีกด้วย


ผู้เล่นจะได้รับบทเป็นสัตว์กลายพันธุ์ตัวน้อย ผู้ซึ่งต้องเลือกว่าจะเป็นฮีโร่ที่ปราบสัตว์ประหลาดทั้ง 4 และนำสันติภาพมาสู่เผ่าทั้งหลาย หรือจะเป็นวายร้ายที่พยายามทำลายต้นไม้โลกเพื่อกวาดล้างทุกสิ่ง โดยแน่นอนว่าเนื้อเรื่องและตอนจบของเกมจะเปลี่ยนแปลงไปตามทางเลือกมากมายที่ผู้เล่นเลือกระหว่างทางนั่นเอง




เมื่อเริ่มต้นเกม ผู้เล่นจะต้องสร้างตัวเอกสัตว์กลายพันธุ์ของตัวเอง ซึ่งสามารถปรับแต่งได้ตั้งแต่สายพันธุ์ รูปร่างหน้าตา ค่าสถานะต่างๆ รวมไปถึงคลาสหรืออาชีพเริ่มต้นของตัวละครด้วย โดยสายพันธุ์ของตัวละครจะกำหนดค่า Stat เบื้องต้นของตัวละครเช่นกำลัง (Strength) ความว่องไว (Agility) หรือปัญญา (Intellect) ในขณะที่คลาสจะกำหนดความสามารถติดตัวและอาวุธเริ่มต้นของตัวละคร แต่เมื่อเล่นไปเรื่อยๆ เราจะสามารถอัปสกิลและค่า Stat ได้ตามใจชอบอยู่แล้ว และใช้อาวุธได้ทุกชนิดด้วย ทางเลือกทั้งหลายจึงสำคัญจริงๆ เฉพาะในช่วงไม่กี่ชั่วโมงแรกของเกมเท่านั้นเอง ส่วนคนที่กังวลเรื่องที่ค่า Stat ต่างๆ จะผูกกับรูปร่างหน้าตาของตัวละคร (เช่นถ้าค่า Strength หรือกำลังสูงก็จะทำให้ตัวละครมีรูปร่างบึกบึนโดยปริยาย ถ้ามีค่า Agility หรือว่องไวสูงก็จะตัวผอมๆ หน้าตาเจ้าเล่ห์โดยเลือกไม่ได้) ก็ไม่ต้องเป็นห่วงเพราะเล่นต่อไปไม่กี่ชั่วโมงเราก็จะสามารถปรับแต่งหน้าตาตัวละครได้อีกครั้งโดยไม่กระทบค่า Stat ของเราด้วย แต่ต้องเลือกสายพันธุ์ให้ดีเพราะเปลี่ยนทีหลังไม่ได้



เมื่อสร้างตัวละครเสร็จและผ่านฉากต่อสู้ที่เกมใช้ฝึกสอนการควบคุม รวมไปถึงฉากคัตซีนย้อนอดีตที่ค่อนข้างยาว ผู้เล่นก็จะได้รับอิสระในการผจญภัยไปในโลกของ Biomutant ได้อย่างอิสระ โดยจะมีเควสเนื้อเรื่องกว้างๆ ให้เราเท่านั้นเช่น “หยุดสงครามระหว่างเผ่า” หรือ “รักษาต้นไม่โลก” ก่อนที่จะให้เราออกไปผจญภัยและรับเควสอื่นๆ จาก NPC เอาเอง ในจุดนี้ต้องยอมรับว่าโลกของเกมทำออกมาได้สวยและน่าสนใจมากๆ ผู้เล่นจะได้เห็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแปลกๆ ของสัตว์กลายพันธุ์กับซากปรักหักพังที่หลงเหลืออยู่จากอารยธรรมมนุษย์ มีทั้งหุบเขาที่ปนเปื้อนไปด้วยสารเคมี หรือป่าที่มีน้ำมันรั่วไหลจนไฟโหมโชนตลอดเวลา ซึ่งผู้เล่นยังสามารถใช้ยานพาหนะหรือสัตว์ขี่หลากหลายชนิดเพื่อสำรวจได้อย่างอิสระ แม้ว่ากราฟิก Unreal Engine 4 ของเกมจะแลดูเก่าๆ ไปบ้างแต่ความหลากหลายของสภาพแวดล้อมบวกกับสไตล์การออกแบบที่มีเอกลักษณ์ก็พอจะทำให้มองข้ามสิ่งเหล่านี้ไปได้บ้าง



แน่นอนว่าโลกของเกมย่อมเต็มไปด้วยอันตรายมากมาย ทั้งในรูปแบบของสัตว์ร้าย กลุ่มโจร หรือสมาชิกของเผ่าอริ ที่ผู้เล่นจะต้องปราบผ่านเกมเพลย์สไตล์แอคชั่นของเกม โดยเกมเพลย์แนวแอคชั่นของ Biomutant ก็ค่อนข้างตรงไปตรงมา ผู้เล่นจะต้องใช้การโจมตีเบาหรือหนักรวมไปถึงการโจมตีด้วยอาวุธปืนเพื่อต่อกันเป็นคอมโบ พร้อมกับการพุ่งหลบหรือปัดป้องการโจมตีของศัตรูไปด้วย โดยเมื่อปัดป้องได้ก็จะทำให้สามารถใช้ท่าสวนที่มีความรุนแรงมากๆ ได้ และมีระบบหลอดสตามิน่าที่จำกัดจำนวนครั้งที่เราสามารถพุ่งหลบติดต่อกันได้ ถือเป็นระบบแอคชั่น RPG มาตรฐานที่ไม่ซับซ้อนหรือท้าทายจนเกินไปโดยเฉพาะสำหรับคนที่ผ่านเกมแอคชั่นเดือดๆ ชนิด Devil May Cry หรือ Sekiro: Shadows Die Twice มาแล้ว


สิ่งที่ทำให้เกมเพลย์ของ Biomutant รู้สึกสนุกขึ้นมาคือระบบสกิลประจำอาวุธของเกม รวมไปถึงระบบ Wung-Fu อีกด้วย โดยอาวุธแต่ละชนิดในเกม Biomutant ทั้งระยะประชิดและระยะไกล จะมีท่วงท่าคอมโบที่เรียกว่า Special Attack ของตัวเองที่จะต้องใช้แต้มสกิลในการปลดล๊อค และเมื่อเราใช้ท่า Special Attack ที่ไม่ซ้ำกัน 3 ครั้งจะทำให้ตัวละครเข้าสู่โหมดจอมยุทธ Wung-Fu ที่มาพร้อมท่าโจมตีพิเศษของตัวเองอีก การต่อสู้ในเกม Biomutant จึงมักจะเป็นเหมือนการร่ายระบำที่เต็มไปด้วยกระสุนและคมดาบ ในขณะที่ผู้เล่นพยายามหาช่องในการใช้ท่า Special Move ให้ครบ 3 ครั้ง และเผด็จศึกศัตรูด้วยโหมด Wung-Fu แบบเท่ๆ นั่นเอง ยังไม่นับรวมการสลับไปมาระหว่างอาวุธพิเศษอีกหลายชนิดที่หาได้ตามเนื้อเรื่อง ซึ่งมาพร้อมคอมโบของตัวเองเช่นเดียวกัน 




นอกเหนือจากวรยุทธ์ต่างๆ ที่กล่าวไปข้างต้น เกมยังมีระบบพลังพิเศษอีกสองชนิดที่เรียกว่า Mutations และ Psi-Powers อีกด้วย โดย Mutations หรือการกลายพันธุ์มักจะเป็นความสามารถที่เน้นการสนันสนุนมากกว่า เช่นการเรียกเห็ดออกมาเหยียบเพื่อให้กระโดดสูงขึ้น หรือการพ่นพิษให้ศัตรูเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่อง ในขณะที่ Psi-Powers จะมีลักษณะเป็นเหมือนพลังจิตหรือเวทย์มนตร์ เช่นการปาลูกไฟ หรือการเทเลพอร์ตระยะสั้นเป็นต้น ซึ่งก็ช่วยเสริมให้เกมเพลย์แนวแอคชั่นนั้นมีความหลากหลายมากขึ้นไปอีก 



องค์ประกอบเกมเพลย์ที่สำคัญอย่างสุดท้ายที่น่าชมคือเรื่องของการคราฟติ้ง (Crafting) ที่เปิดให้ผู้เล่นใช้ชิ้นส่วนชนิดต่างๆ ที่หาได้ในเกมมาประกอบกันเป็นอาวุธ ซึ่งทำให้สามารถสร้างอาวุธชุดเกราะหน้าตาพิศดารๆ มาใช้ได้ไม่รู้จบ และเปิดโอกาสให้ผู้เล่นสามารถปรับแต่งความสามารถของปืนได้มากมายผ่านการเลือกชิ้นส่วนที่มีค่า Stat ต่างๆ มาประกอบกัน ตั้งแต่คันท้าย ด้ามจับ ลำกล้อง หรือกระทั่งซองใส่กระสุน ซึ่งการไล่ตามหาชิ้นส่วนระดับสูงๆ เพื่อพัฒนาขีดจำกัดของปืนขึ้นไปเรื่อยๆ นับเป็นความสุขอย่างหนึ่งของเกมแนว RPG ที่จะได้ปรับแต่งอาวุธและชุดเกราะของตัวเองได้อย่างไร้ขีดจำกัด โดยผู้เล่นยังสามารถอัปเกรดไอเทมที่ชอบให้พัฒนาจากระดับเริ่มต้นไปเป็นระดับสูงได้ด้วย ฉะนั้นถ้าเจอชุดไอเทมที่ถูกใจก็สามารถเก็บไว้ใช้ได้จนเบื่อเลยเช่นเดียวกัน



ทั้งนี้ทั้งนั้น กล่าวถึงข้อดีหลายๆ อย่างของเกมไปแล้ว แต่เรายังไม่ได้พูดถึงจุดอ่อนอันใหญ่หลวงของเกม ซึ่งก็คือเรื่องของเนื้อเรื่องและการนำเสนอ ที่แลดูจะผ่านการใส่ใจมาไม่มากเท่ากับระบบเกมเพลย์ต่างๆ เลยแม้แต่น้อย ในระดับที่ไม่ใช่แค่ว่าไม่ได้เพิ่มอะไรให้กับเกม แต่กลับทำร้ายประสบการณ์การเล่นด้วยสำหรับผู้เขียน


ถ้าจะให้พูดกันตามตรง เนื้อเรื่องของเกม Biomutant น่าจะเป็นจุดที่อ่อนที่สุดเกี่ยวกับเกมซะแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเสมอเวลากล่าวถึงเกม RPG โลกเปิดยาวๆ ที่มีเนื้อเรื่องเป็นจุดขายหลักข้อหนึ่งเช่นเกมนี้ ปัญหาโดยรวมเกี่ยวกับเนื้อเรื่องอาจจะไม่ได้มาจากโครงเรื่องหรือเหตุการณ์ต่างๆ ซะทีเดียว (ซึ่งไม่ได้จะบอกว่าดีนะ) แต่เป็นวิธีที่เกมใช้ในการนำเสนอเหตุการณ์เหล่านั้นมากกว่า เช่นการที่ตัวละครในเกมจะพูดกันเป็นภาษาสัตว์มั่วๆ โดยมีเสียงสวรรค์คอยแปลภาษานั้นให้เราฟังอีกที ส่งผลให้บทสนทนาหนึ่งลากยาวออกไปนานกว่าที่ควรจะเป็นมากๆ เพราะต้องรอให้พวกสัตว์พูดซะก่อนแล้วค่อยฟังนักบรรยายแปลทีละประโยคๆ



และด้วยความที่นักบรรยายมักจะแปลจากมุมมองบุคคลที่สามเสมอ ทำให้บางครั้งก็งงๆ ว่าสรุปตอนนี้กำลังพูดถึงใครอะไรยังไง แถมเกมยังมีศัพท์แสลงในโลกของตัวเองที่ใช้เรียกสิ่งของทั่วไปเช่น “เงิน” (Money) ในเกมใช้คำว่า Green หรือ “น้ำ” (Water) ในเกมใช้คำว่า “Goo” ซึ่งขนาดคนฟังภาษาอังกฤษออกยังต้องมาตีความอีกขั้น และบางครั้งตัวนักบรรยายเองก็มีความสำบัดสำนวนเหมือนกำลังอ่านนิทานอีก สุดท้ายจึงทำให้การตามเนื้อเรื่องทั้งในส่วนของเนื้อเรื่องหลักและเนื้อเรื่องเสริมต่างๆ มีความติดขัดน่าหงุดหงิดอยู่ไม่น้อย


นอกจากนี้ โมเดลตัวละครในเกมแทบทุกตัวยังออกแบบมาได้ไม่ค่อยดีนัก ไม่ได้ชวนให้มองหรือจดจำตัวใดๆ ในทางที่ดีเท่าไหร่เลย แถมอนิเมชั่นยังทำออกมาแข็งๆ ราวกับเป็นเกมจากสมัย PS3 ซะอีก ซึ่งก็ทำให้การตัดสินใจของผู้พัฒนาในการใช้ฉากคัตซีนแบบ In-Engine (ใช้โมเดลเดียวกับในเกม มากกว่าการทำคัตซีนเป็นวิดีโอ CG) แทบจะ 100% เหมือนการวางยาตัวเองไปด้วย เพราะไม่สามารถสื่ออารมณ์ความรู้สึกหรือท่าทางที่ซับซ้อนใดๆ ได้เลย เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เนื้อเรื่องในเกมนี้ไม่น่าสนใจเลยแม้แต่น้อย




องค์ประกอบเนื้อเรื่องสุดท้ายคือระบบความดี-ความเลวหรือที่เกมเรียกว่า “Aura” นั่นเอง โดยในระหว่างการสนทนากับ NPC บางตัว ผู้เล่นมักจะได้รับตัวเลือกที่จะเพิ่มออร่าความดีหรือความเลวให้กับเราเพิ่มขึ้น ซึ่งจะกำหนดพลัง Psi-Powers ที่เราเข้าถึงได้และยังส่งผลต่อท่าที่ของ NPC ที่คุยกับเรา รวมไปถึงตอนจบของเนื้อเรื่องด้วย แน่นอนว่าเราจะไม่ขอพูดถึงตอนจบของเนื้อเรื่องเพื่อกันสปอย แต่เราพบว่าท่าทีที่เปลี่ยนไปของ NPC ต่อตัวละครที่มีออร่าด้านสว่างและด้านมืด เป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และทางเลือกที่ส่งผลต่อเนื้อเรื่องจริงๆ มักจะมีการแจ้งบอกก่อนเสมอ จึงมีอยู่จริงๆ เพียงไม่กี่ทางเลือกตลอดทั้งเกม



กล่าวโดยสรุป เกม Biomutant เป็นเกมที่วางพื้นฐานมาได้ดีพอสมควร แม้เกมจะสนุกเสมอในขณะที่กำลังท่องโลกกว้าง หรือเวลาที่หมกมุ่นอยู่กับการปั้นตัวละครผ่านระบบ RPG แต่ระบบเนื้อเรื่องของเกมทั้งหมดกลับทำออกมาแปลกมากจนทำให้เสียอารมณ์ไปได้เลยอยู่บ่อยครั้งเช่นกัน หากคุณไม่ใช่คนที่ชื่นชอบเกม RPG มากพอจะมองข้ามข้อเสียที่ว่าไปนี้ เกม Biomutant คงไม่ได้น่าสนใจนักสำหรับคุณ 


อดรู้สึกเสียดายไม่ได้ว่าถ้าเกมได้รับเงินทุนหรือมีเวลาออกแบบระบบเนื้อเรื่องและการนำเสนอให้ดีกว่านี้ เช่นการเพิ่มเสียงพากย์ หรือการออกแบบตัวละครในเกมใหม่ให้น่ารักหรือน่าดึงดูดขึ้น น่าจะไปได้ไกลกว่าสภาพปัจจุบันมากมายนัก และเราอาจจะได้ซีรีส์แอคชั่น RPG ที่น่าจับตามองมาอีกซักเกมก็เป็นได้


7
ข้อดี

เกมเพลย์แอคชั่นเข้าถึงง่าย แต่พลิกแพลงได้หลากหลาย

ระบบ RPG ลึกซึ้ง เหมาะสำหรับคนที่ชอบการปรับแต่งตัวเลข

โลกสวยงามและหลากหลาย น่าสำรวจ

ข้อเสีย

ระบบเสียงสวรรค์ที่ทำให้เกมเสียอรรถรส

เนื้อเรื่องติดตามยาก

ตัวละครไม่น่าสนใจ

7
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
Biomutant Review 'เกมจอมยุทธ์หน้าขนผจญภัยสำหรับคอ RPG ตัวยง'
24/05/2021

ตั้งแต่ที่เกมเปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี 2017 ที่งาน Gamescom ประเทศเยอรมนี เกม Biomutant ก็ได้รับการจับตามองโดยสื่อและเกมเมอร์หลายๆ คนจากทั่วโลก ที่คาดหวังกับแนวคิดของเกมที่ผู้พัฒนาบรรยายว่าเป็น “เทพนิยายกังฟูในโลกหลังอารยธรรมล่มสลาย” แต่ตลอดระยะเวลานับตั้งแต่ที่เกมเปิดตัว ผู้พัฒนา Experiment 101 ก็ไม่ค่อยจะได้ปล่อยข้อมูลหรือข่าวคราวอะไรเกี่ยวกับเกมออกมาให้ติดตามกันบ่อยนัก จนทำให้หลายคนอาจจะยังนึกภาพไม่ออกว่าจริงๆ แล้วเกม Biomutant มันเป็นอย่างไรกันแน่


หลังจากที่ได้เล่นเกม Biomutant ไปแล้วราวๆ 25 ชั่วโมงบนเครื่อง PlayStation 5 ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา (ขอขอบคุณบริษัท THQ Nordic และ Epicsoft สำหรับโค้ดรีวิวเกมล่วงหน้า) ต้องบอกว่า Biomutant ถือเป็นเกมที่มีจุดเด่นหลายจุด โดยเฉพาะในแง่ของเกมเพลย์และการพัฒนาตัวละคร ที่สามารถปรับแต่งความสามารถและค่า Stat ต่างๆ ได้อย่างยืดหยุ่น รวมไปถึงระบบการคราฟติ้ง (Crafting) ที่มีทางเลือกให้ปรับแต่งทั้งหน้าตาของไอเทมและตัวเลขความเสียหายได้อย่างไม่สิ้นสุด และยังมีโลก Open World ขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยเควสและความลับให้ค้นหาเต็มไปหมด ซึ่งน่าจะเข้าทางคนที่ชื่นชอบการเล่น RPG แนวผจญภัยเป็นอย่างมาก ตราบใดที่สามารถมองข้ามข้อบกพร่องอันใหญ่หลวงของเกมได้



เรื่องราวของ Biomutant เกิดขึ้นในในโลกหลังอารยธรรมล่มสลาย หลังจากที่เหล่ามนุษย์ในโลกของเกมได้ละทิ้งดาวเคราะห์บ้านเกิดที่ถูกทำลายจากมลพิษและสารเคมี เหลือทิ้งไว้เพียงสิงสาราสัตว์หลากหลายชนิดที่กลายพันธุ์อย่างรวดเร็วจากสารเคมีที่เหลือทิ้งเอาไว้ เมื่อเวลาผ่านไป เหล่าสัตว์กลายพันธุ์ก็ได้รวมตัวกันเป็นเผ่าต่างๆ 6 เผ่าที่ปกครองพื้นที่ของตัวเองอย่างสันติ โดยมีต้นไม้โลก (World Tree) ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างเผ่าทั้ง 6


แต่แล้ววันหนึ่ง จู่ๆ ก็มีสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่ 4 ตัวที่เรียกว่าเหล่า World Eaters ได้ปรากฏตัวขึ้นจากทะเล และเริ่มจู่โจมรากของต้นไม้โลก ซึ่งความวุ่นวายที่เกิดขึ้นนี้ยังจุดชนวนความขัดแย้งระหว่างเผ่าทั้ง 6 ที่ล้วนเตรียมตัวจะเปิดสงครามกับเผ่าอื่นๆ ได้ตลอดเวลาอีกด้วย


ผู้เล่นจะได้รับบทเป็นสัตว์กลายพันธุ์ตัวน้อย ผู้ซึ่งต้องเลือกว่าจะเป็นฮีโร่ที่ปราบสัตว์ประหลาดทั้ง 4 และนำสันติภาพมาสู่เผ่าทั้งหลาย หรือจะเป็นวายร้ายที่พยายามทำลายต้นไม้โลกเพื่อกวาดล้างทุกสิ่ง โดยแน่นอนว่าเนื้อเรื่องและตอนจบของเกมจะเปลี่ยนแปลงไปตามทางเลือกมากมายที่ผู้เล่นเลือกระหว่างทางนั่นเอง




เมื่อเริ่มต้นเกม ผู้เล่นจะต้องสร้างตัวเอกสัตว์กลายพันธุ์ของตัวเอง ซึ่งสามารถปรับแต่งได้ตั้งแต่สายพันธุ์ รูปร่างหน้าตา ค่าสถานะต่างๆ รวมไปถึงคลาสหรืออาชีพเริ่มต้นของตัวละครด้วย โดยสายพันธุ์ของตัวละครจะกำหนดค่า Stat เบื้องต้นของตัวละครเช่นกำลัง (Strength) ความว่องไว (Agility) หรือปัญญา (Intellect) ในขณะที่คลาสจะกำหนดความสามารถติดตัวและอาวุธเริ่มต้นของตัวละคร แต่เมื่อเล่นไปเรื่อยๆ เราจะสามารถอัปสกิลและค่า Stat ได้ตามใจชอบอยู่แล้ว และใช้อาวุธได้ทุกชนิดด้วย ทางเลือกทั้งหลายจึงสำคัญจริงๆ เฉพาะในช่วงไม่กี่ชั่วโมงแรกของเกมเท่านั้นเอง ส่วนคนที่กังวลเรื่องที่ค่า Stat ต่างๆ จะผูกกับรูปร่างหน้าตาของตัวละคร (เช่นถ้าค่า Strength หรือกำลังสูงก็จะทำให้ตัวละครมีรูปร่างบึกบึนโดยปริยาย ถ้ามีค่า Agility หรือว่องไวสูงก็จะตัวผอมๆ หน้าตาเจ้าเล่ห์โดยเลือกไม่ได้) ก็ไม่ต้องเป็นห่วงเพราะเล่นต่อไปไม่กี่ชั่วโมงเราก็จะสามารถปรับแต่งหน้าตาตัวละครได้อีกครั้งโดยไม่กระทบค่า Stat ของเราด้วย แต่ต้องเลือกสายพันธุ์ให้ดีเพราะเปลี่ยนทีหลังไม่ได้



เมื่อสร้างตัวละครเสร็จและผ่านฉากต่อสู้ที่เกมใช้ฝึกสอนการควบคุม รวมไปถึงฉากคัตซีนย้อนอดีตที่ค่อนข้างยาว ผู้เล่นก็จะได้รับอิสระในการผจญภัยไปในโลกของ Biomutant ได้อย่างอิสระ โดยจะมีเควสเนื้อเรื่องกว้างๆ ให้เราเท่านั้นเช่น “หยุดสงครามระหว่างเผ่า” หรือ “รักษาต้นไม่โลก” ก่อนที่จะให้เราออกไปผจญภัยและรับเควสอื่นๆ จาก NPC เอาเอง ในจุดนี้ต้องยอมรับว่าโลกของเกมทำออกมาได้สวยและน่าสนใจมากๆ ผู้เล่นจะได้เห็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแปลกๆ ของสัตว์กลายพันธุ์กับซากปรักหักพังที่หลงเหลืออยู่จากอารยธรรมมนุษย์ มีทั้งหุบเขาที่ปนเปื้อนไปด้วยสารเคมี หรือป่าที่มีน้ำมันรั่วไหลจนไฟโหมโชนตลอดเวลา ซึ่งผู้เล่นยังสามารถใช้ยานพาหนะหรือสัตว์ขี่หลากหลายชนิดเพื่อสำรวจได้อย่างอิสระ แม้ว่ากราฟิก Unreal Engine 4 ของเกมจะแลดูเก่าๆ ไปบ้างแต่ความหลากหลายของสภาพแวดล้อมบวกกับสไตล์การออกแบบที่มีเอกลักษณ์ก็พอจะทำให้มองข้ามสิ่งเหล่านี้ไปได้บ้าง



แน่นอนว่าโลกของเกมย่อมเต็มไปด้วยอันตรายมากมาย ทั้งในรูปแบบของสัตว์ร้าย กลุ่มโจร หรือสมาชิกของเผ่าอริ ที่ผู้เล่นจะต้องปราบผ่านเกมเพลย์สไตล์แอคชั่นของเกม โดยเกมเพลย์แนวแอคชั่นของ Biomutant ก็ค่อนข้างตรงไปตรงมา ผู้เล่นจะต้องใช้การโจมตีเบาหรือหนักรวมไปถึงการโจมตีด้วยอาวุธปืนเพื่อต่อกันเป็นคอมโบ พร้อมกับการพุ่งหลบหรือปัดป้องการโจมตีของศัตรูไปด้วย โดยเมื่อปัดป้องได้ก็จะทำให้สามารถใช้ท่าสวนที่มีความรุนแรงมากๆ ได้ และมีระบบหลอดสตามิน่าที่จำกัดจำนวนครั้งที่เราสามารถพุ่งหลบติดต่อกันได้ ถือเป็นระบบแอคชั่น RPG มาตรฐานที่ไม่ซับซ้อนหรือท้าทายจนเกินไปโดยเฉพาะสำหรับคนที่ผ่านเกมแอคชั่นเดือดๆ ชนิด Devil May Cry หรือ Sekiro: Shadows Die Twice มาแล้ว


สิ่งที่ทำให้เกมเพลย์ของ Biomutant รู้สึกสนุกขึ้นมาคือระบบสกิลประจำอาวุธของเกม รวมไปถึงระบบ Wung-Fu อีกด้วย โดยอาวุธแต่ละชนิดในเกม Biomutant ทั้งระยะประชิดและระยะไกล จะมีท่วงท่าคอมโบที่เรียกว่า Special Attack ของตัวเองที่จะต้องใช้แต้มสกิลในการปลดล๊อค และเมื่อเราใช้ท่า Special Attack ที่ไม่ซ้ำกัน 3 ครั้งจะทำให้ตัวละครเข้าสู่โหมดจอมยุทธ Wung-Fu ที่มาพร้อมท่าโจมตีพิเศษของตัวเองอีก การต่อสู้ในเกม Biomutant จึงมักจะเป็นเหมือนการร่ายระบำที่เต็มไปด้วยกระสุนและคมดาบ ในขณะที่ผู้เล่นพยายามหาช่องในการใช้ท่า Special Move ให้ครบ 3 ครั้ง และเผด็จศึกศัตรูด้วยโหมด Wung-Fu แบบเท่ๆ นั่นเอง ยังไม่นับรวมการสลับไปมาระหว่างอาวุธพิเศษอีกหลายชนิดที่หาได้ตามเนื้อเรื่อง ซึ่งมาพร้อมคอมโบของตัวเองเช่นเดียวกัน 




นอกเหนือจากวรยุทธ์ต่างๆ ที่กล่าวไปข้างต้น เกมยังมีระบบพลังพิเศษอีกสองชนิดที่เรียกว่า Mutations และ Psi-Powers อีกด้วย โดย Mutations หรือการกลายพันธุ์มักจะเป็นความสามารถที่เน้นการสนันสนุนมากกว่า เช่นการเรียกเห็ดออกมาเหยียบเพื่อให้กระโดดสูงขึ้น หรือการพ่นพิษให้ศัตรูเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่อง ในขณะที่ Psi-Powers จะมีลักษณะเป็นเหมือนพลังจิตหรือเวทย์มนตร์ เช่นการปาลูกไฟ หรือการเทเลพอร์ตระยะสั้นเป็นต้น ซึ่งก็ช่วยเสริมให้เกมเพลย์แนวแอคชั่นนั้นมีความหลากหลายมากขึ้นไปอีก 



องค์ประกอบเกมเพลย์ที่สำคัญอย่างสุดท้ายที่น่าชมคือเรื่องของการคราฟติ้ง (Crafting) ที่เปิดให้ผู้เล่นใช้ชิ้นส่วนชนิดต่างๆ ที่หาได้ในเกมมาประกอบกันเป็นอาวุธ ซึ่งทำให้สามารถสร้างอาวุธชุดเกราะหน้าตาพิศดารๆ มาใช้ได้ไม่รู้จบ และเปิดโอกาสให้ผู้เล่นสามารถปรับแต่งความสามารถของปืนได้มากมายผ่านการเลือกชิ้นส่วนที่มีค่า Stat ต่างๆ มาประกอบกัน ตั้งแต่คันท้าย ด้ามจับ ลำกล้อง หรือกระทั่งซองใส่กระสุน ซึ่งการไล่ตามหาชิ้นส่วนระดับสูงๆ เพื่อพัฒนาขีดจำกัดของปืนขึ้นไปเรื่อยๆ นับเป็นความสุขอย่างหนึ่งของเกมแนว RPG ที่จะได้ปรับแต่งอาวุธและชุดเกราะของตัวเองได้อย่างไร้ขีดจำกัด โดยผู้เล่นยังสามารถอัปเกรดไอเทมที่ชอบให้พัฒนาจากระดับเริ่มต้นไปเป็นระดับสูงได้ด้วย ฉะนั้นถ้าเจอชุดไอเทมที่ถูกใจก็สามารถเก็บไว้ใช้ได้จนเบื่อเลยเช่นเดียวกัน



ทั้งนี้ทั้งนั้น กล่าวถึงข้อดีหลายๆ อย่างของเกมไปแล้ว แต่เรายังไม่ได้พูดถึงจุดอ่อนอันใหญ่หลวงของเกม ซึ่งก็คือเรื่องของเนื้อเรื่องและการนำเสนอ ที่แลดูจะผ่านการใส่ใจมาไม่มากเท่ากับระบบเกมเพลย์ต่างๆ เลยแม้แต่น้อย ในระดับที่ไม่ใช่แค่ว่าไม่ได้เพิ่มอะไรให้กับเกม แต่กลับทำร้ายประสบการณ์การเล่นด้วยสำหรับผู้เขียน


ถ้าจะให้พูดกันตามตรง เนื้อเรื่องของเกม Biomutant น่าจะเป็นจุดที่อ่อนที่สุดเกี่ยวกับเกมซะแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเสมอเวลากล่าวถึงเกม RPG โลกเปิดยาวๆ ที่มีเนื้อเรื่องเป็นจุดขายหลักข้อหนึ่งเช่นเกมนี้ ปัญหาโดยรวมเกี่ยวกับเนื้อเรื่องอาจจะไม่ได้มาจากโครงเรื่องหรือเหตุการณ์ต่างๆ ซะทีเดียว (ซึ่งไม่ได้จะบอกว่าดีนะ) แต่เป็นวิธีที่เกมใช้ในการนำเสนอเหตุการณ์เหล่านั้นมากกว่า เช่นการที่ตัวละครในเกมจะพูดกันเป็นภาษาสัตว์มั่วๆ โดยมีเสียงสวรรค์คอยแปลภาษานั้นให้เราฟังอีกที ส่งผลให้บทสนทนาหนึ่งลากยาวออกไปนานกว่าที่ควรจะเป็นมากๆ เพราะต้องรอให้พวกสัตว์พูดซะก่อนแล้วค่อยฟังนักบรรยายแปลทีละประโยคๆ



และด้วยความที่นักบรรยายมักจะแปลจากมุมมองบุคคลที่สามเสมอ ทำให้บางครั้งก็งงๆ ว่าสรุปตอนนี้กำลังพูดถึงใครอะไรยังไง แถมเกมยังมีศัพท์แสลงในโลกของตัวเองที่ใช้เรียกสิ่งของทั่วไปเช่น “เงิน” (Money) ในเกมใช้คำว่า Green หรือ “น้ำ” (Water) ในเกมใช้คำว่า “Goo” ซึ่งขนาดคนฟังภาษาอังกฤษออกยังต้องมาตีความอีกขั้น และบางครั้งตัวนักบรรยายเองก็มีความสำบัดสำนวนเหมือนกำลังอ่านนิทานอีก สุดท้ายจึงทำให้การตามเนื้อเรื่องทั้งในส่วนของเนื้อเรื่องหลักและเนื้อเรื่องเสริมต่างๆ มีความติดขัดน่าหงุดหงิดอยู่ไม่น้อย


นอกจากนี้ โมเดลตัวละครในเกมแทบทุกตัวยังออกแบบมาได้ไม่ค่อยดีนัก ไม่ได้ชวนให้มองหรือจดจำตัวใดๆ ในทางที่ดีเท่าไหร่เลย แถมอนิเมชั่นยังทำออกมาแข็งๆ ราวกับเป็นเกมจากสมัย PS3 ซะอีก ซึ่งก็ทำให้การตัดสินใจของผู้พัฒนาในการใช้ฉากคัตซีนแบบ In-Engine (ใช้โมเดลเดียวกับในเกม มากกว่าการทำคัตซีนเป็นวิดีโอ CG) แทบจะ 100% เหมือนการวางยาตัวเองไปด้วย เพราะไม่สามารถสื่ออารมณ์ความรู้สึกหรือท่าทางที่ซับซ้อนใดๆ ได้เลย เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เนื้อเรื่องในเกมนี้ไม่น่าสนใจเลยแม้แต่น้อย




องค์ประกอบเนื้อเรื่องสุดท้ายคือระบบความดี-ความเลวหรือที่เกมเรียกว่า “Aura” นั่นเอง โดยในระหว่างการสนทนากับ NPC บางตัว ผู้เล่นมักจะได้รับตัวเลือกที่จะเพิ่มออร่าความดีหรือความเลวให้กับเราเพิ่มขึ้น ซึ่งจะกำหนดพลัง Psi-Powers ที่เราเข้าถึงได้และยังส่งผลต่อท่าที่ของ NPC ที่คุยกับเรา รวมไปถึงตอนจบของเนื้อเรื่องด้วย แน่นอนว่าเราจะไม่ขอพูดถึงตอนจบของเนื้อเรื่องเพื่อกันสปอย แต่เราพบว่าท่าทีที่เปลี่ยนไปของ NPC ต่อตัวละครที่มีออร่าด้านสว่างและด้านมืด เป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และทางเลือกที่ส่งผลต่อเนื้อเรื่องจริงๆ มักจะมีการแจ้งบอกก่อนเสมอ จึงมีอยู่จริงๆ เพียงไม่กี่ทางเลือกตลอดทั้งเกม



กล่าวโดยสรุป เกม Biomutant เป็นเกมที่วางพื้นฐานมาได้ดีพอสมควร แม้เกมจะสนุกเสมอในขณะที่กำลังท่องโลกกว้าง หรือเวลาที่หมกมุ่นอยู่กับการปั้นตัวละครผ่านระบบ RPG แต่ระบบเนื้อเรื่องของเกมทั้งหมดกลับทำออกมาแปลกมากจนทำให้เสียอารมณ์ไปได้เลยอยู่บ่อยครั้งเช่นกัน หากคุณไม่ใช่คนที่ชื่นชอบเกม RPG มากพอจะมองข้ามข้อเสียที่ว่าไปนี้ เกม Biomutant คงไม่ได้น่าสนใจนักสำหรับคุณ 


อดรู้สึกเสียดายไม่ได้ว่าถ้าเกมได้รับเงินทุนหรือมีเวลาออกแบบระบบเนื้อเรื่องและการนำเสนอให้ดีกว่านี้ เช่นการเพิ่มเสียงพากย์ หรือการออกแบบตัวละครในเกมใหม่ให้น่ารักหรือน่าดึงดูดขึ้น น่าจะไปได้ไกลกว่าสภาพปัจจุบันมากมายนัก และเราอาจจะได้ซีรีส์แอคชั่น RPG ที่น่าจับตามองมาอีกซักเกมก็เป็นได้



บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header