GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
ข่าวนอกเรื่อง
องค์กรเกมทั่วโลกออกมาต้าน WHO เรื่องโรคติดเกม
ลงวันที่ 20/06/2018

เป็นข่าวใหญ่พอสมควรสำหรับเกมเมอร์ทั่วโลก เมื่อสื่อทั่วโลกรายงานถึงการตัดสินใจขององค์กรอนามัยโลก (WHO) ที่ประกาศจะเพิ่มอาการ ติดเกม เข้าไปในคู่มือการจัดจำแนกโรค (ICD-11) ฉบับใหม่ล่าสุด ให้เป็นบรรทัดฐานในการวินิจฉัยโรคและอาการป่วยต่างๆ โดยองค์กรแพทย์ทั่วโลก (อ่านรายละเอียด ที่นี่)

ล่าสุด ตัวแทนจากองค์กรเกี่ยวกับเกมทั่วโลกได้ออกมาแสดงความไม่พอใจกับการตัดสินใจขององค์กรอนามัยโลก นำโดยองค์กรนักพัฒนาเกมยุโรป (EGDF) และสนับสนุนโดยองค์กรจากหลายประเทศรวมถึงองค์กรนานาชาติอย่าง ESA หรือองค์กรซอฟต์แวร์เพื่อความบันเทิงอีกด้วย โดยในคำแถลงการระบุว่า

มีผู้เล่นกว่า 2 พันล้านคนทั่วโลกที่สามารถสนุกกับวีดีโอเกมหลากหลายแนว บนคอนโซลหลากหลายชนิด ได้อย่างปลอดภัยและมีสติ นอกจากนี้ เกมยังได้รับการพิสูจน์และรับรองจากงานวิจัยทั่วโลกมาแล้วว่ามีส่วนช่วยทั้งด้านการศึกษา การบำบัด และการสันทนาการอีกด้วย เราจึงรู้สึกเป็นกังวลกับคำประกาศขององค์กรอนามัยโลก ที่ยังคงยืนยันจะบรรจุ โรคติดเกม ลงไปในคู่มือ ICD-11 ฉบับล่าสุด ทั้งที่มีเสียงต้านจากผู้เชี่ยวชาญทั้งในวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์ เพราะหลักฐานที่สนับสนุนการบรรจุโรคติดเกมนั้นยังคงคลุมเครือและเป็นที่ถกเถียงกันอย่างหนัก เราหวังว่าทางองค์กรอนามัยโลกจะพิจารณาหลักฐานและข้อพิสูจน์ต่างๆ อีกครั้งก่อนที่คู่มือ ICD-11 จะได้รับการอนุมัติในปีหน้า และทั้งองค์กรของเรารวมถึงผู้สนับสนุนจากทั่วโลกจะยังคงเดินหน้าต่อต้านการกระทำขององค์กรอนามัยโลก ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อวงการแพทย์ทั่วโลกโดยไร้สาเหตุ

องค์กรเกมต่างๆ ให้เหตุผลเพิ่มเติมถึงการออกมาต่อต้านคำประกาศของ WHO ว่าการบัญญัติให้อาการติดเกมกลายเป็นโรคทางการแพทย์อาจจะทำให้เกิดการสร้างความชอบธรรมแบบผิดๆ ให้กับผู้ที่ต่อต้านเกม เพราะอาการติดเกมยังคงมีหลักฐานสนับสนุนทางการแพทย์ไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับข้อมูลเชิงลึกที่อาการเสพติดชนิดอื่นๆ มีก่อนที่จะได้รับบัญญัติเป็นโรค

ในคู่มือ ICD-11 ฉบับปัจจุบันระบุอาการของผู้ติดเกมเอาไว้ว่าต้องเป็นผู้ที่ไม่สามารถควบคุมการเล่นเกมของตัวเองได้  รู้สึกมีความอยากเล่นเกมตลอดเวลาจนไม่เป็นอันคิดเรื่องอื่น ทำให้กระทบต่อความรับผิดชอบหรือความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างในทางลบอย่างต่อเนื่อง โดยในรายงานยังมีการแยกย่อยอาการออกมาเป็นผู้ที่ติดเกมออนไลน์ หรือออฟไลน์ เป็นต้น

ทั้งนี้ คงปฏิเสธลำบากว่าผู้ที่เล่นเกมจนเกิดผลเสียต่อชีวิตและความสัมพันธ์นั้นมีอยู่จริง แต่จะเรียกว่าเป็นอาการทางการแพทย์หรือไม่คงต้องรอดูกันอีกทีเรื่อย เพราะคู่มือ ICD-11 จะได้รับการรับรองในงานประชุมของ WHO ในเดือนพฤษภาคม 2019 และจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการในปี 2022 จึงยังมีความเป็นไปได้ว่า WHO จะยอมจำนนต่อเสียงคัดค้านจากเกมเมอร์ทั่วโลกและแก้คู่มืออีกครั้งก่อนจะนำเสนอต่อที่ประชุมในปีหน้า

 

 

 

 

บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
องค์กรเกมทั่วโลกออกมาต้าน WHO เรื่องโรคติดเกม
20/06/2018

เป็นข่าวใหญ่พอสมควรสำหรับเกมเมอร์ทั่วโลก เมื่อสื่อทั่วโลกรายงานถึงการตัดสินใจขององค์กรอนามัยโลก (WHO) ที่ประกาศจะเพิ่มอาการ ติดเกม เข้าไปในคู่มือการจัดจำแนกโรค (ICD-11) ฉบับใหม่ล่าสุด ให้เป็นบรรทัดฐานในการวินิจฉัยโรคและอาการป่วยต่างๆ โดยองค์กรแพทย์ทั่วโลก (อ่านรายละเอียด ที่นี่)

ล่าสุด ตัวแทนจากองค์กรเกี่ยวกับเกมทั่วโลกได้ออกมาแสดงความไม่พอใจกับการตัดสินใจขององค์กรอนามัยโลก นำโดยองค์กรนักพัฒนาเกมยุโรป (EGDF) และสนับสนุนโดยองค์กรจากหลายประเทศรวมถึงองค์กรนานาชาติอย่าง ESA หรือองค์กรซอฟต์แวร์เพื่อความบันเทิงอีกด้วย โดยในคำแถลงการระบุว่า

มีผู้เล่นกว่า 2 พันล้านคนทั่วโลกที่สามารถสนุกกับวีดีโอเกมหลากหลายแนว บนคอนโซลหลากหลายชนิด ได้อย่างปลอดภัยและมีสติ นอกจากนี้ เกมยังได้รับการพิสูจน์และรับรองจากงานวิจัยทั่วโลกมาแล้วว่ามีส่วนช่วยทั้งด้านการศึกษา การบำบัด และการสันทนาการอีกด้วย เราจึงรู้สึกเป็นกังวลกับคำประกาศขององค์กรอนามัยโลก ที่ยังคงยืนยันจะบรรจุ โรคติดเกม ลงไปในคู่มือ ICD-11 ฉบับล่าสุด ทั้งที่มีเสียงต้านจากผู้เชี่ยวชาญทั้งในวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์ เพราะหลักฐานที่สนับสนุนการบรรจุโรคติดเกมนั้นยังคงคลุมเครือและเป็นที่ถกเถียงกันอย่างหนัก เราหวังว่าทางองค์กรอนามัยโลกจะพิจารณาหลักฐานและข้อพิสูจน์ต่างๆ อีกครั้งก่อนที่คู่มือ ICD-11 จะได้รับการอนุมัติในปีหน้า และทั้งองค์กรของเรารวมถึงผู้สนับสนุนจากทั่วโลกจะยังคงเดินหน้าต่อต้านการกระทำขององค์กรอนามัยโลก ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อวงการแพทย์ทั่วโลกโดยไร้สาเหตุ

องค์กรเกมต่างๆ ให้เหตุผลเพิ่มเติมถึงการออกมาต่อต้านคำประกาศของ WHO ว่าการบัญญัติให้อาการติดเกมกลายเป็นโรคทางการแพทย์อาจจะทำให้เกิดการสร้างความชอบธรรมแบบผิดๆ ให้กับผู้ที่ต่อต้านเกม เพราะอาการติดเกมยังคงมีหลักฐานสนับสนุนทางการแพทย์ไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับข้อมูลเชิงลึกที่อาการเสพติดชนิดอื่นๆ มีก่อนที่จะได้รับบัญญัติเป็นโรค

ในคู่มือ ICD-11 ฉบับปัจจุบันระบุอาการของผู้ติดเกมเอาไว้ว่าต้องเป็นผู้ที่ไม่สามารถควบคุมการเล่นเกมของตัวเองได้  รู้สึกมีความอยากเล่นเกมตลอดเวลาจนไม่เป็นอันคิดเรื่องอื่น ทำให้กระทบต่อความรับผิดชอบหรือความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างในทางลบอย่างต่อเนื่อง โดยในรายงานยังมีการแยกย่อยอาการออกมาเป็นผู้ที่ติดเกมออนไลน์ หรือออฟไลน์ เป็นต้น

ทั้งนี้ คงปฏิเสธลำบากว่าผู้ที่เล่นเกมจนเกิดผลเสียต่อชีวิตและความสัมพันธ์นั้นมีอยู่จริง แต่จะเรียกว่าเป็นอาการทางการแพทย์หรือไม่คงต้องรอดูกันอีกทีเรื่อย เพราะคู่มือ ICD-11 จะได้รับการรับรองในงานประชุมของ WHO ในเดือนพฤษภาคม 2019 และจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการในปี 2022 จึงยังมีความเป็นไปได้ว่า WHO จะยอมจำนนต่อเสียงคัดค้านจากเกมเมอร์ทั่วโลกและแก้คู่มืออีกครั้งก่อนจะนำเสนอต่อที่ประชุมในปีหน้า

 

 

 

 


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header