GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
รีวิว Watch Dogs: Legion "ก้าวแรกสู่ Next Gen ของ Ubisoft"
ลงวันที่ 28/10/2020

หลังจากที่ได้ทดลองเล่นเกม Watch Dogs: Legion บนเครื่อง PS4 และ PC รวมๆ กันราว 20 ชั่วโมง ทำให้นึกย้อนกลับไปถึงการเล่นเกมคร่อม Gen อย่าง Assassins Creed IV: Black Flag ในเครื่อง PS3 เมื่อหลายปีมาแล้ว โดยแม้ว่าเกมเพลย์จะไม่ได้ต่างกันกับเวอร์ชั่น PS4 ที่ถือเป็น "Next-Gen" ในสมัยนั้น แต่ประสบการณ์ที่ได้จากเกมทั้งสองเวอร์ชั่นช่างต่างกันเหลือเกิน จากองค์ประกอบที่พัฒนาขึ้นจาก Gen หนึ่งไปอีก Gen หนึ่ง

เกม Watch Dogs: Legion (เช่นเดียวกับเกม ACIV: Black Flag ที่กล่าวไป) อาจจะไม่ใช่เกมที่แปลกใหม่หรือหวือหวามากในแง่ของเกมเพลย์พื้นฐาน เช่นระบบต่อสู้ ระบบขับรถ หรือแม้กระทั่งระบบการแฮ๊คกิ้งของเกม ที่แม้จะดีขึ้นจากภาค 2 พอสมควร แต่ก็ไม่ได้พิเศษไปกว่าเกมอื่นๆ ที่ผ่านมาของค่าย Ubisoft เท่าไหร่ แต่สิ่งที่ทำให้เกมมีความรู้สึกเป็น "Next-Gen" คือเรื่องของกราฟิกและเวลาโหลด ที่ทำให้ประสบการณ์การเล่นเกมบน PS4 และ PC แตกต่างกันอย่างชัดเจน และมีอิทธิพลต่อประสบการณ์การเล่นเกมอย่างมีนัยยะสำคัญเลย



(ขอขอบคุณ Ubisoft สำหรับโค้ดเกมเวอร์ชั่น PS4 และ NVIDIA สำหรับเวอร์ชั่น PC)

เนื้อเรื่อง


Watch Dogs: Legion จะเกิดขึ้นหลังจากเกม Watch Dogs 2 ประมาณหนึ่ง โดยจะติดตามกลุ่มแฮ๊คเกอร์ DedSec สาขาลอนดอน ผู้ซึ่งต้องต่อกรกับองค์กรทหารรับจ้าง Albion ที่ถูกรัฐบาลลอนดอนว่าจ้างให้รักษาความสงบในเมือง หลังจากเหตุการณ์วางระเบิดครั้งใหญ่ของผู้ก่อการร้าย Zero Day แต่บริษัท Albion กลับฉวยโอกาสนี้ในการเข้ายึดครองเมืองลอนดอนอย่างเต็มตัวด้วยการป้ายสีความผิดให้กับ DedSec พร้อมกับจับกุมประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ต่อต้านพวกเขาไปคุมขังอย่างกว้างขวาง



ผู้เล่นจะรับบทเป็นสมาชิกใหม่ขององค์กร DedSec สาขาลอนดอน ผู้ซึ่งต้องชักชวนเหล่าประชากรผู้เหลืออดกับอำนาจเผด็จการของ Albion ให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับผู้กดขี่ และทำให้ลอนดอนเป็นอิสระจากกลุ่มทหารรับจ้างที่ว่านี้อีกครั้ง



 

ถ้าให้เปรียบเทียบกับเนื้อเรื่องของเกมภาคที่ผ่านมา Watch Dogs: Legion เปรียบเสมือนจุดกึ่งกลางระหว่างความซีเรียสอึมครึมของเกมภาคแรก และความอารมณ์ดีติดตลกของเกมภาค 2 ซึ่งเป็นสมดุลที่กลมกล่อมกว่าทั้งสองภาคที่ผ่านมามากๆ โดยแม้ว่าเราจะยังมีตัวละครอย่างเจ้า A.I. ฝีปากร้ายประจำกลุ่ม DedSec อย่าง Bagley ที่จะคอบปล่อยมุกแซวผู้เล่นตลอดเวลา แต่เนื้อเรื่องก็ยังพูดถึงเหตุการณ์หนักๆ อย่างการค้าอวัยวะมนุษย์หรือการค้าแรงงานผิดกฏหมายได้พร้อมๆ กัน ซึ่งทำให้เรื่องราวของเกมไม่รู้สึกจริงจังหรือมืดมนมากจนเกินพอดี

ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่น่าชมไม่แพ้กันก็คือการที่เกมสามารถผูกโยงเรื่องราวของเหล่า NPC นิรนามในโลกเข้ากับเนื้อเรื่องของเกมได้ และทำให้ NPC เหล่านี้รู้สึกเหมือนมีความเป็นมนุษย์มาก จากบทสนทนาที่มีเสียงพากย์สำหรับตัวละครทุกตัว ไปจนถึงอุปนิสัยของตัวละครที่แสดงออกมาผ่านบทสนทนากันเองในทีมอย่างเป็นธรรมชาติ หรือการพูดบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยจากประสบการณ์ของผู้เขียน NPC ในเกมนี้มีอุปนิสัย หน้าตา และภูมิหลังที่หลากหลายมากๆ (ยังไม่เคยเจอตัวที่หน้าตาซ้ำกันเลย) และความหลากหลายนี้เองก็ช่วยทำให้เนื้อเรื่องมีสีสันกว่าเดิมด้วย ยิ่งเราเชิญชวน NPC เข้ามาร่วมทีมได้มากขึ้น ก็ยิ่งทำให้บทสนทนาระหว่างสมาชิกทีม DedSec ของเรามีชีวิตชีวามากขึ้นไปด้วย



นอกจากเนื้อเรื่องหลักแล้ว WD: L ยังมีเนื้อเรื่องเล็กๆ ของ NPC แต่ละตัว รวมไปถึงเนื้อเรื่องประจำเขต (Boroughs) ต่างๆ ของเมืองลอนดอนอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดล้วนพูดถึงความพยายามของเหล่าประชาชนคนเดินดินในการต่อต้านอำนาจของ Albion ซึ่งก็ช่วยเสริมให้ผู้เล่นรู้สึกเหมือนตัวเองและการกระทำของเรามีผลต่อโลกในแบบที่เป็นธรรมชาติมาก

แม้ว่าผู้เขียนจะยังไม่ได้เล่นจนจบเนื้อเรื่อง (เนื่องจากได้โค้ดเกมมาค่อนข้างช้า) ทำให้ยังไม่สามารถออกความเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ในเนื้อเรื่องโดยรวมๆ ได้ แต่เท่าที่ผู้เขียนเล่นมา ก็ต้องบอกว่าเนื้อเรื่องและบทพูดของ Watch Dogs: Legion เป็นการพัฒนาขึ้นจากภาคก่อนหน้าอย่างชัดเจน และเป็นเกม Watch Dogs เกมแรกที่ผู้เขียนรู้สึกสนใจเนื้อเรื่องขึ้นมาจริงๆ


เกมเพลย์


ในขั้นพื้นฐานนั้น เกม Watch Dogs: Legion ก็ไม่ได้แตกต่างจากเกมโลกเปิดสูตร Ubisoft อื่นๆ นัก ผู้เล่นจะต้องเดินทางไปบนแผนที่อันกว้างใหญ่ของเมืองลอนดอนเพื่อทำภารกิจหลากหลายชนิด เพื่อดำเนินเนื้อเรื่องและ/หรือเก็บทรัพยากรณ์หรือของตกแต่งไว้สำหรับพัฒนาตัวละครไปเรื่อยๆ โดยระบบการควบคุมเบื้องต้นก็ไม่ได้ต่างจากเกมแอคชั่นบุคคลที่ 3 ทั่วไปนัก



ระบบที่พัฒนาขึ้นกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัดอาจจะมีเพียงระบบต่อสู้มือเปล่า ที่ใส่ความเป็นเกมแอคชั่นแบบเดียวกับ The Witcher เข้าไป โดยผู้เล่นจะต้องคอยหลบหลีกและหาจังหวะสวนกลับการโจมตีของศัตรูตลอดเวลา ทำให้มีความน่าสนใจมากขึ้นประมาณหนึ่ง แถมตัวละครแต่ละชนิดยังมีท่าทางแอคชั่นที่ต่างกัน ทำให้มีความน่าสนใจทั้งในแง่ของเกมเพลย์และอนิเมชั่นด้วย

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้จะพูดได้เต็มปากว่า WD: L ถือเป็นเกม Watch Dogs ที่ดีที่สุด แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะเรียกว่าเป็นเกมที่ “ดี” ในภาพรวมได้แค่ไหน จากเกมเพลย์อีกหลายๆ ส่วนที่ยังไม่ค่อยเข้ารูปเข้ารอยนัก



อย่างแรกคือระบบการแฮ๊คกิ้ง ที่ยังคงติดๆ ขัดๆ อยู่ไม่ต่างจากเกมภาคเก่า แม้จะมีลูกเล่นใหม่ๆ อย่างการบังคับโดรนก่อสร้างเพื่อบินไปไหนมาไหน แต่โดยรวมก็ไม่ได้ต่างไปจากที่ผ่านมานัก ผู้เล่นจะต้องกระโดดจากกล้องวงจรปิดเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอมุมที่ต้องการในการแฮ๊คเข้าสู่ระบบที่ต้องแฮ๊ค โดยแม้ว่าในบางกรณีที่ต้องทำการแฮ๊คกิ้งในพื้นที่จำกัดจะไม่ได้มีปัญหานัก และยังมีพื้นที่ให้เราใช้การแฮ๊คกิ้งในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ได้ แต่เมื่อเราต้องบุกเข้าไปในอาคารหรือฐานทัพขนาดใหญ่ ก็อดหงุดหงิดไม่ได้เหมือนกัน เมื่อเราเลือกไม่ถูกว่ากล้องวงจรปิดกล้องไหนกันแน่ที่จะมองเห็นมุมที่เราต้องการ และการโดดไปโดดมาอย่างไร้จุดหมายก็ไม่ใช่เกมเพลย์ที่สนุกเท่าไหร่นัก และทำให้การเล่นเกมเหมือนเป็นเกมลอบเร้นบุคคลที่ 3 ธรรมดาๆ กลับรู้สึกสนุกกว่าการแฮ๊คกิ้งจริงๆ



อย่างต่อมาคือระบบขับรถของเกม ที่ทำออกมาได้ไม่ค่อยสนุกเอาซะเลย และเผลอๆ อาจจะแย่กว่าที่เคยมีในเกม Watch Dogs ภาคก่อนๆ ด้วยซ้ำ ส่วนหนึ่งมาจากสภาพถนนของกรุงลอนดินที่ค่อนข้างแคบ ทำให้เราไม่สามารถขับซอกแซกผ่านรถอันอืดอาดของ NPC ได้คล่องแคล่วเท่าเกมอย่าง GTA เมื่อนำมาผนวกกับการที่เกมมักจะบังคับให้เราต้องเดินทางข้ามแผนที่ไปมาเพื่อทำภารกิจ ทำให้ประสบการณ์การเดินทางในเกม Watch Dogs: Legion รู้สึกน่าหงุดหงิดรำคาญใจมากๆ



แต่ครั้นจะไปใช้ระบบ Fast Travel ที่อ้างอิงจากรถไฟใต้ดินของลอนดอน ก็ยังหนีไม่พ้นความอืดอาดของจราจรในเกม เพราะผู้เล่นจะต้องเดินเท้าเข้าไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อปลดล๊อคสถานีรถไฟในเขตเหล่านั้นเสียก่อนถึงจะสามารถ Fast Travel ไปได้ ทำให้ผู้เล่นเหมือนโดนบังคับให้ต้องใช้การสัญจรทางถนนเป็นวิธีการหลักในการเดินทางอยู่ดี ซึ่งสำหรับผู้เขียนถือเป็นจุดอ่อนมากๆ ของเกมนี้

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อใช้ระบบ Fast Travel ก็ยังหนีไม่พ้นความหงุดหงิดรำคาญใจ เพราะเราจะต้องพบกับหน้าจอโหลดเกมทุกครั้งที่เดินทาง หรือกระทั่งทุกครั้งที่เข้า/ออกคัตซีนหรืออาคารบางแห่ง โดยใน PS4 จะต้องเผชิญกับปัญหานี้บ่อยมากๆ จนเรียกได้ว่าทำให้ประสบการณ์การเล่นเกมแย่ลงไปเลยเหมือนกัน



ปัญหาที่กล่าวมาเกี่ยวกับหน้าจอโหลดเกม ทำให้การเล่นเกมบน PC ที่มี SSD (หรือคอนโซล Next Gen ทั้งหลาย) ช่วยทำให้ประสบการณ์การเล่นเกมดีขึ้นอย่างมาก เพราะความเร็วในการโหลดทำให้ผู้เขียนสามารถใช้ระบบ Fast Travel ได้โดยไม่ต้องรอเกมโหลดเป็นนาทีและทำให้เล่นเกมได้ลื่นไหลมากขึ้น เรียกว่าเปลี่ยนความรู้สึกของผู้เขียนไปได้เลย จนอดสงสัยไม่ได้ว่าผู้พัฒนาตั้งใจออกแบบระบบเกมเพื่อให้เล่นบนเครื่องที่มี SSD แต่แรกเลยหรือเปล่า เพราะมันส่งผลต่อประสบการณ์โดยรวมอย่างใหญ่หลวงมาก

อีกหนึ่งข้อตำหนิใหญ่ๆ คือเรื่องของภารกิจเสริม เช่นภารกิจการดึง NPC มาเป็นพวก ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทเท่านั้น และมักจะวนมาให้เล่นซ้ำๆ กันบ่อยมาก ซึ่งการซ้ำในรูปแบบเฉยๆ อาจจะยังไม่แย่มาก แต่บางครั้งก็ซ้ำไปจนถึงฉากที่จะต้องเข้าไปทำภารกิจเลยด้วย เช่นภารกิจหนึ่งบอกให้เข้าไปขโมยคลิปวิดีโอจากสถานีตำรวจ ส่วนอีกภารกิจหนึ่งให้ไปแฮ๊คระบบรักษาความปลอดภัยของสถานีตำรวจแห่งเดียวกัน โดยการที่เราต้องวนเวียนทำภารกิจเดิมๆ ในสถานที่เดิมๆ ก็ทำให้เบื่อหน่ายไปได้เร็วเหมือนกัน

นอกเหนือไปจากนั้นก็มีเพียงข้อตำหนิเล็กๆ อย่างการที่เราไม่สามารถเปิดโหมดแสกนค้างเอาไว้เพื่อมองหา NPC ที่น่าชวนมาร่วมทีม (ต้องกดแสกนทีละคน ซึ่งเสียเวลามาก) หรือการที่เราไม่สามารถหยิบอาวุธในฉากหรืออาวุธที่ศัตรูทำหล่นมาใช้ได้ ซึ่งทั้งหมดเป็นปัญหาที่สร้างความรำคาญใจเล็กน้อยมากกว่าจะส่งผลต่อประสบการณ์โดยรวมของเกม 


กราฟิก/การนำเสนอ


อย่างที่อาจจะพอเดาได้จากหัวข้ออื่นๆ การเล่นเกม WD: L ใน PS4 และใน PC เป็นประสบการณ์ที่ต่างกันอย่างมาก และคงไม่มีจุดไหนที่แสดงถึงความแตกต่างระหว่างสองเวอร์ชั่นได้ชัดเจนเท่ากับในส่วนของกราฟิก

จากวิดีโอตัวอย่างรวมไปถึงการสื่อสารของผู้พัฒนาที่ผ่านมา ทำให้รู้ว่าระบบ Ray Tracing จะมีความสำคัญมากต่อเกม WD: L ซึ่งในจุดนี้ผู้เขียนรู้สึกว่าต้องเห็นด้วยกับเขาจริงๆ เพราะการเล่นเกมใน PS4 โดยไม่มีระบบ Ray Tracing ทำให้ภาพในเกมรู้สึก “แบน” และจืดชืดไปซะหน่อยเมื่อเทียบกับการเล่นใน PC ที่สามารถแสดงถึงแสงสีของเมืองได้อย่างเต็มที่ แถมด้วยสภาพอากาศของลอนดอนที่มักจะมีฝนตกอยู่บ่อยๆ ยิ่งทำให้เทคโนโลยี Ray Tracing มีความสำคัญต่อประสบการณ์โดยรวมมากกว่าหลายๆ เกมที่ผู้เขียนเคยเล่นมาเลยก็ว่าได้ (เพราะมีพื้นผิวที่สะท้อนแสงเยอะ) นอกจากนี้ เทคโนโลยี NVIDIA DLSS ที่ผู้พัฒนาเลือกใช้ยังทำให้เกมสามารถรันได้อย่างลื่นไหลมากๆ แม้จะเปิด Ray Tracing แถมยังสามารถปรับแต่งสมดุลย์ระหว่างความละเอียดและเฟรมเรตได้ด้วย ซึ่งทั้งหมดทำให้ประสบการณ์เกมบน PC ดีกว่าบน PS4 อย่างก้าวกระโดด และเชื่อว่าในเครื่อง Xbox Series X / PS5 ก็คงไม่ต่างกัน



นอกเหนือไปจากนั้น ต้องบอกว่า WD: L ได้พัฒนากราฟิกในด้านหน้าตาตัวละครและความสมจริงโดยรวมขึ้นจากเกมอย่าง Assassin’s Creed: Odyssey หรือ Ghost Recon: Breakpoint เสียอีก โดยแม้ว่าสุดท้ายคงจะไม่ได้อยู่ในมาตรฐานเดียวกับเกมอย่าง Call of Duty หรือ Cyberpunk 2077 แต่ก็ถือว่าเป็นพัฒนาการที่ชัดเจน และทำให้ตัวละครในเกมมีชีวิตชีวาขึ้นมาได้เหมือนกัน



ถ้าจะมีข้อเสีย คงหนีไม่พ้นเรื่องที่ตัวละครในเกมมักจะพูดกันด้วยสำเนียงอังกฤษแบบเน้นๆ ซึ่งแค่นี้ก็หลากหลายและฟังยากมากอยู๋แล้ว ยังมีสำเนียงของเหล่าผู้อพยพจากประเทศต่างๆ ที่ก็มีสำเนียงของตัวเองอีกที แถมการพูดจาของชาวอังกฤษยังเต็มไปด้วยศัพท์แสลงมากมายที่อาจจะต้องตีความกันหน่อยกว่าจะเข้าใจ นับเป็นเรื่องน่าเสียดายที่เกมไม่มีบทบรรยายภาษาไทย เพราะคนที่ฟังภาษาอังกฤษไม่ถนัดเป็นทุนเดิมอยู่แล้วน่าจะยิ่งงงเข้าไปอีก และไม่มั่นใจว่าจะติดตามเนื้อเรื่องหรือเหตุการณ์ต่างๆ ได้ดีแค่ไหน

สรุป




กล่าวโดยสรุป แม้ว่า WD: L จะมีพัฒนาการที่ทำให้เกมมีความน่าสนใจมากกว่าเกมภาคก่อนๆ ในซีรี่ส์ โดยเฉพาะในส่วนของเนื้อเรื่อง แต่โดยรวมก็ยังไม่ได้มอบอะไรที่ใหม่หรือพิเศษไปกว่าที่เราๆ น่าจะเคยได้เล่นกันมาแล้ว ไม่ใช่ว่าเกมไม่ดี แต่อาจจะเรียกได้ว่า “เฉยๆ” เสียมากกว่า แฟนๆ ของซีรี่ส์นี้น่าจะชอบเกมนี้ในฐานะเกม Watch Dogs ที่ดีที่สุด แต่สำหรับคนทั่วไป Watch Dogs: Legion อาจจะไม่ได้มีอะไรให้พวกคุณมากไปกว่าเกมแอคชั่นบุคคลที่ 3 เกมอื่นๆ นัก โดยเฉพาะเกมร่วมค่าย Ubisoft ด้วยกัน

[penci_review id="71206"]

7
ข้อดี
ข้อเสีย
8
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
รีวิว Watch Dogs: Legion "ก้าวแรกสู่ Next Gen ของ Ubisoft"
28/10/2020

หลังจากที่ได้ทดลองเล่นเกม Watch Dogs: Legion บนเครื่อง PS4 และ PC รวมๆ กันราว 20 ชั่วโมง ทำให้นึกย้อนกลับไปถึงการเล่นเกมคร่อม Gen อย่าง Assassins Creed IV: Black Flag ในเครื่อง PS3 เมื่อหลายปีมาแล้ว โดยแม้ว่าเกมเพลย์จะไม่ได้ต่างกันกับเวอร์ชั่น PS4 ที่ถือเป็น "Next-Gen" ในสมัยนั้น แต่ประสบการณ์ที่ได้จากเกมทั้งสองเวอร์ชั่นช่างต่างกันเหลือเกิน จากองค์ประกอบที่พัฒนาขึ้นจาก Gen หนึ่งไปอีก Gen หนึ่ง

เกม Watch Dogs: Legion (เช่นเดียวกับเกม ACIV: Black Flag ที่กล่าวไป) อาจจะไม่ใช่เกมที่แปลกใหม่หรือหวือหวามากในแง่ของเกมเพลย์พื้นฐาน เช่นระบบต่อสู้ ระบบขับรถ หรือแม้กระทั่งระบบการแฮ๊คกิ้งของเกม ที่แม้จะดีขึ้นจากภาค 2 พอสมควร แต่ก็ไม่ได้พิเศษไปกว่าเกมอื่นๆ ที่ผ่านมาของค่าย Ubisoft เท่าไหร่ แต่สิ่งที่ทำให้เกมมีความรู้สึกเป็น "Next-Gen" คือเรื่องของกราฟิกและเวลาโหลด ที่ทำให้ประสบการณ์การเล่นเกมบน PS4 และ PC แตกต่างกันอย่างชัดเจน และมีอิทธิพลต่อประสบการณ์การเล่นเกมอย่างมีนัยยะสำคัญเลย



(ขอขอบคุณ Ubisoft สำหรับโค้ดเกมเวอร์ชั่น PS4 และ NVIDIA สำหรับเวอร์ชั่น PC)

เนื้อเรื่อง


Watch Dogs: Legion จะเกิดขึ้นหลังจากเกม Watch Dogs 2 ประมาณหนึ่ง โดยจะติดตามกลุ่มแฮ๊คเกอร์ DedSec สาขาลอนดอน ผู้ซึ่งต้องต่อกรกับองค์กรทหารรับจ้าง Albion ที่ถูกรัฐบาลลอนดอนว่าจ้างให้รักษาความสงบในเมือง หลังจากเหตุการณ์วางระเบิดครั้งใหญ่ของผู้ก่อการร้าย Zero Day แต่บริษัท Albion กลับฉวยโอกาสนี้ในการเข้ายึดครองเมืองลอนดอนอย่างเต็มตัวด้วยการป้ายสีความผิดให้กับ DedSec พร้อมกับจับกุมประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ต่อต้านพวกเขาไปคุมขังอย่างกว้างขวาง



ผู้เล่นจะรับบทเป็นสมาชิกใหม่ขององค์กร DedSec สาขาลอนดอน ผู้ซึ่งต้องชักชวนเหล่าประชากรผู้เหลืออดกับอำนาจเผด็จการของ Albion ให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับผู้กดขี่ และทำให้ลอนดอนเป็นอิสระจากกลุ่มทหารรับจ้างที่ว่านี้อีกครั้ง



 

ถ้าให้เปรียบเทียบกับเนื้อเรื่องของเกมภาคที่ผ่านมา Watch Dogs: Legion เปรียบเสมือนจุดกึ่งกลางระหว่างความซีเรียสอึมครึมของเกมภาคแรก และความอารมณ์ดีติดตลกของเกมภาค 2 ซึ่งเป็นสมดุลที่กลมกล่อมกว่าทั้งสองภาคที่ผ่านมามากๆ โดยแม้ว่าเราจะยังมีตัวละครอย่างเจ้า A.I. ฝีปากร้ายประจำกลุ่ม DedSec อย่าง Bagley ที่จะคอบปล่อยมุกแซวผู้เล่นตลอดเวลา แต่เนื้อเรื่องก็ยังพูดถึงเหตุการณ์หนักๆ อย่างการค้าอวัยวะมนุษย์หรือการค้าแรงงานผิดกฏหมายได้พร้อมๆ กัน ซึ่งทำให้เรื่องราวของเกมไม่รู้สึกจริงจังหรือมืดมนมากจนเกินพอดี

ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่น่าชมไม่แพ้กันก็คือการที่เกมสามารถผูกโยงเรื่องราวของเหล่า NPC นิรนามในโลกเข้ากับเนื้อเรื่องของเกมได้ และทำให้ NPC เหล่านี้รู้สึกเหมือนมีความเป็นมนุษย์มาก จากบทสนทนาที่มีเสียงพากย์สำหรับตัวละครทุกตัว ไปจนถึงอุปนิสัยของตัวละครที่แสดงออกมาผ่านบทสนทนากันเองในทีมอย่างเป็นธรรมชาติ หรือการพูดบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยจากประสบการณ์ของผู้เขียน NPC ในเกมนี้มีอุปนิสัย หน้าตา และภูมิหลังที่หลากหลายมากๆ (ยังไม่เคยเจอตัวที่หน้าตาซ้ำกันเลย) และความหลากหลายนี้เองก็ช่วยทำให้เนื้อเรื่องมีสีสันกว่าเดิมด้วย ยิ่งเราเชิญชวน NPC เข้ามาร่วมทีมได้มากขึ้น ก็ยิ่งทำให้บทสนทนาระหว่างสมาชิกทีม DedSec ของเรามีชีวิตชีวามากขึ้นไปด้วย



นอกจากเนื้อเรื่องหลักแล้ว WD: L ยังมีเนื้อเรื่องเล็กๆ ของ NPC แต่ละตัว รวมไปถึงเนื้อเรื่องประจำเขต (Boroughs) ต่างๆ ของเมืองลอนดอนอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดล้วนพูดถึงความพยายามของเหล่าประชาชนคนเดินดินในการต่อต้านอำนาจของ Albion ซึ่งก็ช่วยเสริมให้ผู้เล่นรู้สึกเหมือนตัวเองและการกระทำของเรามีผลต่อโลกในแบบที่เป็นธรรมชาติมาก

แม้ว่าผู้เขียนจะยังไม่ได้เล่นจนจบเนื้อเรื่อง (เนื่องจากได้โค้ดเกมมาค่อนข้างช้า) ทำให้ยังไม่สามารถออกความเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ในเนื้อเรื่องโดยรวมๆ ได้ แต่เท่าที่ผู้เขียนเล่นมา ก็ต้องบอกว่าเนื้อเรื่องและบทพูดของ Watch Dogs: Legion เป็นการพัฒนาขึ้นจากภาคก่อนหน้าอย่างชัดเจน และเป็นเกม Watch Dogs เกมแรกที่ผู้เขียนรู้สึกสนใจเนื้อเรื่องขึ้นมาจริงๆ


เกมเพลย์


ในขั้นพื้นฐานนั้น เกม Watch Dogs: Legion ก็ไม่ได้แตกต่างจากเกมโลกเปิดสูตร Ubisoft อื่นๆ นัก ผู้เล่นจะต้องเดินทางไปบนแผนที่อันกว้างใหญ่ของเมืองลอนดอนเพื่อทำภารกิจหลากหลายชนิด เพื่อดำเนินเนื้อเรื่องและ/หรือเก็บทรัพยากรณ์หรือของตกแต่งไว้สำหรับพัฒนาตัวละครไปเรื่อยๆ โดยระบบการควบคุมเบื้องต้นก็ไม่ได้ต่างจากเกมแอคชั่นบุคคลที่ 3 ทั่วไปนัก



ระบบที่พัฒนาขึ้นกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัดอาจจะมีเพียงระบบต่อสู้มือเปล่า ที่ใส่ความเป็นเกมแอคชั่นแบบเดียวกับ The Witcher เข้าไป โดยผู้เล่นจะต้องคอยหลบหลีกและหาจังหวะสวนกลับการโจมตีของศัตรูตลอดเวลา ทำให้มีความน่าสนใจมากขึ้นประมาณหนึ่ง แถมตัวละครแต่ละชนิดยังมีท่าทางแอคชั่นที่ต่างกัน ทำให้มีความน่าสนใจทั้งในแง่ของเกมเพลย์และอนิเมชั่นด้วย

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้จะพูดได้เต็มปากว่า WD: L ถือเป็นเกม Watch Dogs ที่ดีที่สุด แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะเรียกว่าเป็นเกมที่ “ดี” ในภาพรวมได้แค่ไหน จากเกมเพลย์อีกหลายๆ ส่วนที่ยังไม่ค่อยเข้ารูปเข้ารอยนัก



อย่างแรกคือระบบการแฮ๊คกิ้ง ที่ยังคงติดๆ ขัดๆ อยู่ไม่ต่างจากเกมภาคเก่า แม้จะมีลูกเล่นใหม่ๆ อย่างการบังคับโดรนก่อสร้างเพื่อบินไปไหนมาไหน แต่โดยรวมก็ไม่ได้ต่างไปจากที่ผ่านมานัก ผู้เล่นจะต้องกระโดดจากกล้องวงจรปิดเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอมุมที่ต้องการในการแฮ๊คเข้าสู่ระบบที่ต้องแฮ๊ค โดยแม้ว่าในบางกรณีที่ต้องทำการแฮ๊คกิ้งในพื้นที่จำกัดจะไม่ได้มีปัญหานัก และยังมีพื้นที่ให้เราใช้การแฮ๊คกิ้งในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ได้ แต่เมื่อเราต้องบุกเข้าไปในอาคารหรือฐานทัพขนาดใหญ่ ก็อดหงุดหงิดไม่ได้เหมือนกัน เมื่อเราเลือกไม่ถูกว่ากล้องวงจรปิดกล้องไหนกันแน่ที่จะมองเห็นมุมที่เราต้องการ และการโดดไปโดดมาอย่างไร้จุดหมายก็ไม่ใช่เกมเพลย์ที่สนุกเท่าไหร่นัก และทำให้การเล่นเกมเหมือนเป็นเกมลอบเร้นบุคคลที่ 3 ธรรมดาๆ กลับรู้สึกสนุกกว่าการแฮ๊คกิ้งจริงๆ



อย่างต่อมาคือระบบขับรถของเกม ที่ทำออกมาได้ไม่ค่อยสนุกเอาซะเลย และเผลอๆ อาจจะแย่กว่าที่เคยมีในเกม Watch Dogs ภาคก่อนๆ ด้วยซ้ำ ส่วนหนึ่งมาจากสภาพถนนของกรุงลอนดินที่ค่อนข้างแคบ ทำให้เราไม่สามารถขับซอกแซกผ่านรถอันอืดอาดของ NPC ได้คล่องแคล่วเท่าเกมอย่าง GTA เมื่อนำมาผนวกกับการที่เกมมักจะบังคับให้เราต้องเดินทางข้ามแผนที่ไปมาเพื่อทำภารกิจ ทำให้ประสบการณ์การเดินทางในเกม Watch Dogs: Legion รู้สึกน่าหงุดหงิดรำคาญใจมากๆ



แต่ครั้นจะไปใช้ระบบ Fast Travel ที่อ้างอิงจากรถไฟใต้ดินของลอนดอน ก็ยังหนีไม่พ้นความอืดอาดของจราจรในเกม เพราะผู้เล่นจะต้องเดินเท้าเข้าไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อปลดล๊อคสถานีรถไฟในเขตเหล่านั้นเสียก่อนถึงจะสามารถ Fast Travel ไปได้ ทำให้ผู้เล่นเหมือนโดนบังคับให้ต้องใช้การสัญจรทางถนนเป็นวิธีการหลักในการเดินทางอยู่ดี ซึ่งสำหรับผู้เขียนถือเป็นจุดอ่อนมากๆ ของเกมนี้

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อใช้ระบบ Fast Travel ก็ยังหนีไม่พ้นความหงุดหงิดรำคาญใจ เพราะเราจะต้องพบกับหน้าจอโหลดเกมทุกครั้งที่เดินทาง หรือกระทั่งทุกครั้งที่เข้า/ออกคัตซีนหรืออาคารบางแห่ง โดยใน PS4 จะต้องเผชิญกับปัญหานี้บ่อยมากๆ จนเรียกได้ว่าทำให้ประสบการณ์การเล่นเกมแย่ลงไปเลยเหมือนกัน



ปัญหาที่กล่าวมาเกี่ยวกับหน้าจอโหลดเกม ทำให้การเล่นเกมบน PC ที่มี SSD (หรือคอนโซล Next Gen ทั้งหลาย) ช่วยทำให้ประสบการณ์การเล่นเกมดีขึ้นอย่างมาก เพราะความเร็วในการโหลดทำให้ผู้เขียนสามารถใช้ระบบ Fast Travel ได้โดยไม่ต้องรอเกมโหลดเป็นนาทีและทำให้เล่นเกมได้ลื่นไหลมากขึ้น เรียกว่าเปลี่ยนความรู้สึกของผู้เขียนไปได้เลย จนอดสงสัยไม่ได้ว่าผู้พัฒนาตั้งใจออกแบบระบบเกมเพื่อให้เล่นบนเครื่องที่มี SSD แต่แรกเลยหรือเปล่า เพราะมันส่งผลต่อประสบการณ์โดยรวมอย่างใหญ่หลวงมาก

อีกหนึ่งข้อตำหนิใหญ่ๆ คือเรื่องของภารกิจเสริม เช่นภารกิจการดึง NPC มาเป็นพวก ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทเท่านั้น และมักจะวนมาให้เล่นซ้ำๆ กันบ่อยมาก ซึ่งการซ้ำในรูปแบบเฉยๆ อาจจะยังไม่แย่มาก แต่บางครั้งก็ซ้ำไปจนถึงฉากที่จะต้องเข้าไปทำภารกิจเลยด้วย เช่นภารกิจหนึ่งบอกให้เข้าไปขโมยคลิปวิดีโอจากสถานีตำรวจ ส่วนอีกภารกิจหนึ่งให้ไปแฮ๊คระบบรักษาความปลอดภัยของสถานีตำรวจแห่งเดียวกัน โดยการที่เราต้องวนเวียนทำภารกิจเดิมๆ ในสถานที่เดิมๆ ก็ทำให้เบื่อหน่ายไปได้เร็วเหมือนกัน

นอกเหนือไปจากนั้นก็มีเพียงข้อตำหนิเล็กๆ อย่างการที่เราไม่สามารถเปิดโหมดแสกนค้างเอาไว้เพื่อมองหา NPC ที่น่าชวนมาร่วมทีม (ต้องกดแสกนทีละคน ซึ่งเสียเวลามาก) หรือการที่เราไม่สามารถหยิบอาวุธในฉากหรืออาวุธที่ศัตรูทำหล่นมาใช้ได้ ซึ่งทั้งหมดเป็นปัญหาที่สร้างความรำคาญใจเล็กน้อยมากกว่าจะส่งผลต่อประสบการณ์โดยรวมของเกม 


กราฟิก/การนำเสนอ


อย่างที่อาจจะพอเดาได้จากหัวข้ออื่นๆ การเล่นเกม WD: L ใน PS4 และใน PC เป็นประสบการณ์ที่ต่างกันอย่างมาก และคงไม่มีจุดไหนที่แสดงถึงความแตกต่างระหว่างสองเวอร์ชั่นได้ชัดเจนเท่ากับในส่วนของกราฟิก

จากวิดีโอตัวอย่างรวมไปถึงการสื่อสารของผู้พัฒนาที่ผ่านมา ทำให้รู้ว่าระบบ Ray Tracing จะมีความสำคัญมากต่อเกม WD: L ซึ่งในจุดนี้ผู้เขียนรู้สึกว่าต้องเห็นด้วยกับเขาจริงๆ เพราะการเล่นเกมใน PS4 โดยไม่มีระบบ Ray Tracing ทำให้ภาพในเกมรู้สึก “แบน” และจืดชืดไปซะหน่อยเมื่อเทียบกับการเล่นใน PC ที่สามารถแสดงถึงแสงสีของเมืองได้อย่างเต็มที่ แถมด้วยสภาพอากาศของลอนดอนที่มักจะมีฝนตกอยู่บ่อยๆ ยิ่งทำให้เทคโนโลยี Ray Tracing มีความสำคัญต่อประสบการณ์โดยรวมมากกว่าหลายๆ เกมที่ผู้เขียนเคยเล่นมาเลยก็ว่าได้ (เพราะมีพื้นผิวที่สะท้อนแสงเยอะ) นอกจากนี้ เทคโนโลยี NVIDIA DLSS ที่ผู้พัฒนาเลือกใช้ยังทำให้เกมสามารถรันได้อย่างลื่นไหลมากๆ แม้จะเปิด Ray Tracing แถมยังสามารถปรับแต่งสมดุลย์ระหว่างความละเอียดและเฟรมเรตได้ด้วย ซึ่งทั้งหมดทำให้ประสบการณ์เกมบน PC ดีกว่าบน PS4 อย่างก้าวกระโดด และเชื่อว่าในเครื่อง Xbox Series X / PS5 ก็คงไม่ต่างกัน



นอกเหนือไปจากนั้น ต้องบอกว่า WD: L ได้พัฒนากราฟิกในด้านหน้าตาตัวละครและความสมจริงโดยรวมขึ้นจากเกมอย่าง Assassin’s Creed: Odyssey หรือ Ghost Recon: Breakpoint เสียอีก โดยแม้ว่าสุดท้ายคงจะไม่ได้อยู่ในมาตรฐานเดียวกับเกมอย่าง Call of Duty หรือ Cyberpunk 2077 แต่ก็ถือว่าเป็นพัฒนาการที่ชัดเจน และทำให้ตัวละครในเกมมีชีวิตชีวาขึ้นมาได้เหมือนกัน



ถ้าจะมีข้อเสีย คงหนีไม่พ้นเรื่องที่ตัวละครในเกมมักจะพูดกันด้วยสำเนียงอังกฤษแบบเน้นๆ ซึ่งแค่นี้ก็หลากหลายและฟังยากมากอยู๋แล้ว ยังมีสำเนียงของเหล่าผู้อพยพจากประเทศต่างๆ ที่ก็มีสำเนียงของตัวเองอีกที แถมการพูดจาของชาวอังกฤษยังเต็มไปด้วยศัพท์แสลงมากมายที่อาจจะต้องตีความกันหน่อยกว่าจะเข้าใจ นับเป็นเรื่องน่าเสียดายที่เกมไม่มีบทบรรยายภาษาไทย เพราะคนที่ฟังภาษาอังกฤษไม่ถนัดเป็นทุนเดิมอยู่แล้วน่าจะยิ่งงงเข้าไปอีก และไม่มั่นใจว่าจะติดตามเนื้อเรื่องหรือเหตุการณ์ต่างๆ ได้ดีแค่ไหน

สรุป




กล่าวโดยสรุป แม้ว่า WD: L จะมีพัฒนาการที่ทำให้เกมมีความน่าสนใจมากกว่าเกมภาคก่อนๆ ในซีรี่ส์ โดยเฉพาะในส่วนของเนื้อเรื่อง แต่โดยรวมก็ยังไม่ได้มอบอะไรที่ใหม่หรือพิเศษไปกว่าที่เราๆ น่าจะเคยได้เล่นกันมาแล้ว ไม่ใช่ว่าเกมไม่ดี แต่อาจจะเรียกได้ว่า “เฉยๆ” เสียมากกว่า แฟนๆ ของซีรี่ส์นี้น่าจะชอบเกมนี้ในฐานะเกม Watch Dogs ที่ดีที่สุด แต่สำหรับคนทั่วไป Watch Dogs: Legion อาจจะไม่ได้มีอะไรให้พวกคุณมากไปกว่าเกมแอคชั่นบุคคลที่ 3 เกมอื่นๆ นัก โดยเฉพาะเกมร่วมค่าย Ubisoft ด้วยกัน

[penci_review id="71206"]


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header