GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
[รีวิว] Poco X3 NFC เอามาทรมานบนเกม Genshin Impact จะรอดหรือจะร่วง?
ลงวันที่ 17/11/2020

หลังจาก Poco X3 NFC ออกสู่วางตลาดไปได้ไม่นาน ก็นับว่าเป็น Smartphone ที่แทบจะตบหลายยี่ห้อกันเลยทีเดียวทั้งสเปคต่อความคุ้มค่าคุ้มราคาและตอบโจทย์การเล่นเกมได้เป็นอย่างดีสมกับค่าตัวของมัน และคนเขียนเองก็ได้เป็นหนึ่งในเจ้าของเครื่องนี้ด้วยเช่นกัน

บทความนี้เราจะไม่ได้มาเน้นรีวิว Smartphone เครื่องนี้เป็นหลักเพราะคงจะทราบถึงสเปคและประสิทธิภาพเครื่องนี้กันมาพอสมควรแล้ว แต่เราจะมารีวิวเฉพาะทางด้วยการนำ Poco X3 NFC เอามาทรมานบนเกม Genshin Impact ที่เป็นเกมแนว Action RPG Openworld เพื่อทดลองว่าโทรศัพท์ยี่ห้อนี้เหมาะหรือคุ้มค่ากับการเอามาเล่นเกม Genshin Impact หรือไม่ เราไปดูกัน


==================================================



มาทำความรู้จักสเปคคร่าวๆ และตัวแพคเกจกันก่อน




ก่อนที่จะพูดถึงเนื้อเรื่องหลัก ก็ขอเกริ่นเกี่ยวกับตัวแพคเกจและสเปคโดยรวมของมันเสียหน่อย ซึ่งทางเราได้ซื้อตัวรุ่น Ram 6GB / Rom 128GB สีน้ำเงิน หรือตัวบนสุดของ Poco X3 NFC ในราคาเจ็ดพันต้นๆ โดยลักษณะกล่องจะเป็นสีดำด้านตัดกับตัวอักษรสีเหลือง พอเปิดฝากล่องก็จะมีแพคเกจเป็นกล่องสีเหลืองคร่อมอีกชั้นทำให้ตัวแพคเกจดูแข็งแรง ปลอดภัยเรื่องแรงกระแทกอย่างแน่นอน



ในตัวแพคเกจที่มีมาให้หลักๆ ก็จะประกอบไปด้วย



    • ตัวโทรศัพท์ Poco X3 NFC หนึ่งเครื่อง

    • เคสพลาสติคใส ตรงมุมจะแข็งกว่าปกติ

    • หัวชาร์จแบบ Fast Charge 33W

    • สาย USB Type-C to Type A หนึ่งเส้น ( สายชาร์จนั้นแหละ )

    • เข็มถาดจิ้มช่อง SIM

    • คู่มือและใบรับประกันต่างๆ




แพคเกจที่แถมมาให้ก็นับว่าเยอะพอสมควร ไม่มากไม่น้อยจนเกินไปตามมาตรฐาน



ส่วนการจับรู้สึกว่ากระชับมือ แต่ทว่าน้ำหนักตัวของมันดูหนักไปนิดหน่อย แต่ไม่ได้มากมายอะไร อาจจะเป็นเพราะตัวแบตเตอร์รี่ที่ให้มาเยอะมากๆ ก็ถือว่าหักล้างขอเสียเรื่องน้ำหนักไปได้



ส่วนในด้านสเปคเครื่องโดยคร่าวๆ ก็มีรายการดังนี้

สเปคข้อมูลสำคัญ (สำหรับการทดลองเล่นเกม Genshin Impact)



    • CPU: Qualcomm Snapdragon 732G แกน 8 หัว 2.3Ghz

    • GPU: Adreno 618

    • มีซิงค์ระบายความร้อนด้วยเทคโนโลยี LiquidCool Technology 1.0 Plus

    • หน้าจอใหญ่ 6.67 นิ้ว

    • ความละเอียดจอเป็น FHD+ แบบ IPS

    • ค่า Refresh Rate 120Hz

    • Touch Sampling 240Hz

    • Ram ขนาด 6GB แบบ LPDDRX4

    • ความจุ 64GB/128GB แบบ UFS 2.1 (ทางเราซื้อตัว 128GB มา)

    • แบตเตอรี่ 5160mAh, รองรับการชาร์ตด่วนที่ 33W




สเปคข้อมูลส่วนอื่นๆ (ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเล่นเกมแต่เขียนไว้สำหรับผู้สนใจ)



    • รองรับเทคโนโลยี 4G LTE

    • ถาด SIM รองรับ 2 ถาด และรองรับ Micro SD Card สูงสุด 256GB

    • ลำโพงคู่ รองรับ Hi-Res Audio ( ออกตรงลำโพงด้านทายเครื่องและตำแหน่งลำโพงรับสาย )

    • ช่องหูฟังแบบ 3.5 mm

    • รองรับ USB Type-C

    • รองรับสแกนลายนิ้วมือตรงปุ่ม Power

    • มาตรฐานกันน้ำและฝุ่น IP53

    • กล้องหลังหลัก 64MP, อัลตร้าไวล์ 13MP, เลนส์มาโคร 2MP, เลนส์ Depth 2MP รวมทั้งหมด 4 ตัว

    • กล้องหน้า 20MP

    • ระบบปฏิบัติการณ์ Android 10 ครอบด้วย MIUI 12 for POCO

    • รองรับเซนเซอร์ต่างๆ 8 อย่าง

    • รองรับ NFC




ซึ่งหากพูดด้วยสเปคแล้วขอบอกเลยว่า โห...สเปคจัดเต็มมากกับราคาที่จ่ายไป แต่ก็มีจุดที่แอบกังวลใจบางอย่างนั้นก็คือ เทคโนโลยี ROM ที่ยังคงใช้ UFS 2.1 อยู่ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการส่งถ่ายข้อมูลแบบเก่าอยู่ แต่จะขอพูดถึงรายละเอียดส่วนนี้ในหัวข้อต่อๆ ไป และหลังจากนี้จะเป็นการรีวิวเจ้า POCO X3 NFC เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเล่นเกม Genshin Impact เท่านั้น

==================================================



การเปิดเกมครั้งแรกที่ทั้งชอบและไม่ชอบใจ




โดยทางนี้จะใช้แอพ Game Turbo ของตัว Poco X3 เพื่อรีดประสิทธิภาพและบูสขุมพลัง CPU ภายในตัวเครื่องให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้นนอกเหนือจากนี้ยังสามารถตั้งค่าไม่ให้ใครมารบกวนเช่นปิดการแจ้งเตือนต่างๆ รวมถึงการบล็อคการโทรเข้าชั่วคราวเพื่อไม่ให้ใครหงุดหงิดใจ แต่เราเลือกที่จะไม่บล็อคเพราะอยากรู้ว่าเวลาแจ้งเตือนหรือ Headchat จาก Facebook จะส่งผลต่อเครื่องหรือไม่ และเราจะเริ่มต้นจากแบตเตอรี่ที่ 100% หรือ 5160 mAh เต็ม

ส่วนที่ชอบสิ่งแรกที่ได้เจอเลยคือ ตัว Game Turbo สามารถปรับแสงและสีของตัวหน้าจอให้เข้ากับสายตาเพื่อถนอมสายตาของเราหรือปรับให้เหมาะกับสภาพแสงโดยรอบตอนเล่นเกมให้มากที่สุด โดยจะมีโหมดเพิ่มความสว่างโดยจะทำให้ภาพดูสว่างนวลขึ้นไม่แสบตา, ภาพแบบอิ่มสีก็คือจะทำให้ภาพดูสีสดใสมากขึ้น หรือจะปรับภาพให้แสดงผลทั้งสองอย่างด้วยกันซึ่งมันก็จะกินแบตเตอรี่ด้วย...แน่นอนว่าไหนๆ มาทรมานเครื่องแล้วก็ต้องเปิดการแสดงภาพแบบสว่างและอิ่มสีอยู่แล้ว



และจุดนี้ก็ถือเป็นจุดที่เป็นข้อติจุดใหญ่ๆ จุดแรกเลยก็คือหลัง Log in เข้าไปแล้วมันโหลดเข้าเกมช้ามากๆ ราวๆ 40 วินาทีถึง 1 นาทีโดยประมาณ ขึ้นอยู่กับว่าเล่นครั้งล่าสุดเราอยู่ในเมืองหรืออยู่นอกเมือง โดยมันจะคาไว้ที่ไอคอนธาตุน้ำแข็งสักพักใหญ่ๆ กว่าจะเข้าหน้าเกมได้ ซึ่งเหตุผลตรงนี้มีข้อเดียวคือ ตัวอ่านหน่วยความจำภายในเครื่องยังคงใช้ UFS 2.1 ซึ่งเป็นรุ่นเก่า การอ่านเขียนข้อมูลดึงข้อมูลจากในเกมจะทำได้ช้ากว่าโทรศัพท์รุ่นใหม่ๆ ที่เริ่มมาใช้ UFS 3.0 ขึ้นไปแล้ว แต่หากเทียบกับราคาแล้วก็ถือว่าพอรับได้ เว้นแต่ว่าเป็นเกมเมอร์สายใจร้อนก็อาจจะนั่งเซ็งกันสักหน่อย

กราฟิคเปิดสุดไม่ต้องยั้ง พังหรือไม่เดี๋ยวรู้กัน




เมื่อเข้ามาหน้าตั้งค่าการแสดงผลแล้ว ค่าเดิมๆ ของมันถูกปรับให้เป็นคุณภาพต่ำ อันนี้เราจะแสดงกันให้เห็นชัดๆ เลยว่าเราเปลี่ยนมาเปิดสุดจริงๆนะ โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงกราฟิคเล็กน้อยในส่วนของหัวข้อ FPS ที่เดิมๆ มันตั้งไว้ 30 FPS เราเปลี่ยนให้มันเป็น 60 FPS แล้วมาดูกันว่าเล่นไป 1 ชั่วโมง แบตเตอรี่ลดกี่เปอเซ็นต์และเครื่องจะรีดประสิทธิภาพไหวไหม



ภาพนี้จะเป็นหลักฐานยืนยันชัดๆ อีกทีว่าเราเริ่มเล่นช่วงแบตเตอรี่ 100% เต็มและจะเล่นต่อเนื่อง 1 ชั่วโมงเพื่อทำการทดลองโดยมีน้อง Sucrose ที่แสนน่ารักและนุ่มนิ่มมากจะมาเป็นผู้ช่วยในครั้งนี้



แต่ว่าพอหลังตั้งค่าเสร็จ ภาพก็ดีเนียนดูสวยนะ แต่ก็อาจจะยังไม่เนียนไม่สวยเท่ากับโทรศัพท์ระดับสูงๆ เสียเท่าไหร่ หืมมมม....หลังจากนี้จะเป็นการทดลองภาคสนามกันแล้ว ช่วงเวลาการถ่ายทำจะไม่ตรงกันในแต่ละภาพที่จะได้เห็นก็จริงแต่ก็ขอให้รู้ไว้ว่าสถานะการณ์ต่างๆ และผลทดลองที่ได้ยังคงอยู่ภายในหนึ่งชั่วโมงการทดลองจ้า

ผลทดสอบการใช้ CPU, GPU และ FPS เขต Monstadt




ตอนนี้เราได้ทำการออกเดทกับน้อง Sucrose เพื่อทำการทดลองเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรของ CPU, GPU และค่าเฟรมเรตที่ทำออกมาได้โดยปรับการตั้งค่าให้สูงสุด โดยพาไปเดินเล่นช่วงนอกเมือง Monstadt ก็ได้เห็น CPU ใช้ไปโดยเฉลี่ย 55% แต่ GPU แทบจะวิ่งเต็ม 100% เกือบตลอดเวลา เพราะว่าเราได้ดึงประสิทธิภาพของตัว Snapdragon 732G อย่างเต็มที่ของมันแล้ว ซึ่งโดยรวมค่าเฟรมเรตที่ทำได้จะอยู่ในช่วง 45 ถึง 55 เฟรมเรต ถือว่าเคลื่อนไหวได้ราบเรียบมากๆ



จากนั้นก็ได้พาน้อง Sucrose ทำการทดลองด้วยการลงภาคสนามกับเหล่า Slime หินผู้โชคร้ายว่าเวลาต่อสู้เฟรมเรตจะเป็นอย่างไร ผลที่ออกมาก็ตามคาดคือ FPS ร่วงลงมา โดยต่ำสุดอยู่ที่ 30 FPS ไม่ต่ำกว่านั้น มีแกว่งๆ ขึ้นไป 40 FPS บ้าง โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 35 FPS



ทีนี้เราเปลี่ยนบรรยากาศมายังตัวเมือง Monstadt กันบ้างซึ่งหากเราเทเลพอร์ตเข้ามาในเมืองเลย จะแทบกระตุกช่วงพักหนึ่ง ก่อนจะเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งเป็นเพราะระบบการถ่ายโอนข้อมูลยังคงเป็น UFS 2.1 ซึ่งเป็นรุ่นเก่านั้นเอง ราวกับว่าต้องใช้เวลาโหลดฉากนิดหนึ่งอะไรประมาณนั้น

ตอนนี้น้อง Qiqi ก็อยากถ่ายรูปด้วย(?) เราเลยใจอ่อนยอมเปลี่ยนตัวให้ Sucrose ไปพักเหนื่อยบ้าง ต้องขอบอกก่อนว่าพอเราอยู่ในเมืองค่าเฟรมเรตที่ได้จะตกลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ค่า GPU กลับใช้พลังงานน้อยลงเป็นนัยยะสำคัญเช่นกัน โดยค่าเฟรมเรตที่ทำได้ ไม่ต่ำกว่า 25 FPS และสูงสุดไม่เกิน 40 FPS มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 30 FPS ซึ่งก็ไม่ค่อยมีปัญหาอะไรหงุดหงิดใจนัก ยังคงพอรับได้ บังคับได้ลื่นไหลพอสมควร



หลังจากนี้เราก็เอาทีมคณะผู้ช่วยไปบวกกับ Boss หมาป่า Adrius ซึ่งบอกเลยว่าเป็นอะไรที่มันมาก เพราะการต่อสู้ลื่นไหล ไม่มีอาการกระตุกให้กวนใจแต่อย่างใดเลย FPS เฉลี่ยที่ทำได้คือ 40 FPS ถือว่าทำออกมาได้ดีมากสำหรับ Poco X3 แม้จะต้องเจอกับเอฟเฟคเยอะๆ ก็ตามที ที่สำคัญ การควบคุมตอบสนองดีมาก ไม่มีอาการหลุดการควบคุมหรือหลอนเลยเพราะตัว Touch Sampling ที่มีมากถึง 240Hz ทำให้การตอบสนองต่อการกดนั้นไวมากๆ และแม่นยำมากๆ แม้ว่าเราจะติดฟิลม์กระจกอย่างหนาก็ตาม

ผลทดสอบการใช้ CPU, GPU และ FPS เขต Liyue




ทีนี้เราพาน้อง Sucrose มาเปลี่ยนบรรยากาศมาที่เขต Liyue กันบ้างโดยเริ่มจากเขตนอกท่าเรือ Liyue ที่เต็มไปด้วยผาน้อยใหญ่ บรรยากาศให้ความรู้สึกอยู่ในพื้นที่แฟนตาซีหนังจีนกำลังภายใน ผลการทดสอบของ CPU ก็ใช้พลังงานมากขึ้นนิดหน่อย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 55% และ GPU ก็ยังเต็มเกือบ 100% มีบ้างบางช่วงที่ตกลงมาที่ 85% โดยเฟรมเรตเฉลี่ยที่ทำได้จะอยู่ประมาณ 45 FPS เหมือนกัน ก็ไม่ค่อยแตกต่างจากเขตนอกเมือง Monstadt เท่าไหร่นัก

ส่วนในฉากต่อสู้ทั่วๆ ไปนั้นก็ยังลื่นไหลไม่ต่างเขตนอกเมือง Monstadt เช่นกัน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 40 FPS ไม่ต่ำกว่า 30 FPS อย่างแน่นอน แต่เนื่องจากว่าช่วงที่ถ่ายทำนั้นมีผลเท่ากันจึงเลยไม่ได้ตัดสินใจถ่ายช่วงต่อสู้เพื่อความกระชับของเนื้อหา



จากนั้นก็ลองพาเข้ามายังท่าเรือ Liyue ด้วยการเทเลพอร์ตดูบ้าง โดยงานนี้น้อง Klee โลลิที่น่ารักของผองเราก็อยากถ่ายรูปด้วย(?) พอเทเลพอร์ตเข้ามาในเมืองเท่านั้นแหละ กระตุกหนักกว่าอยู่ในเมือง Monstadt อีก แต่สักพักใหญ่ๆ ก็กลับมาลื่นเป็นปกติ เหตุผลก็เพราะว่าระบบถ่ายโอนข้อมูล UFS 2.1 เช่นเดิม และด้วยเมือง Liyue มี Object ที่เยอะมากอยู่แล้วไม่แปลกใจที่โหลดฉากไม่ทันและกระตุก แต่อย่างน้อยก็กลับมาลื่นปกติโดยปล่อยไว้สักพัก ส่วนเฟรมเรตเฉลี่ยที่ทำได้อยู่ที่ 30FPS ต่ำสุดคือ 25FPS ซึ่งอยู่ในเขตเมืองก็ยังพอโอเคไม่มีปัญหาอะไรขนาดนั้น



คราวนี้ก็มาถึงช่วงทีเด็ดของเรานั้นคือลุยภาคสนามไปตบตีกับ Tatarglia "Childe" แห่ง Fatui กัน ซึ่งบอกเลยว่าถึงจะเจอฉากอลังการงานสร้างตั้งแต่ Phase แรกของการต่อสู้เฟรมเรตที่ทำได้เฉลี่ยอยู่ที่ 45FPS ต่ำสุดอยู่ที่ 30FPS จัดว่าดีงามมากๆ เลยนะ



ช่วง Phase ที่สองของการต่อสู้ ลูกเล่นของเจ้า Childe ก็เยอะขึ้นแต่ด้วยตัว Touch Sampling 240Hz ทำให้ตอบสนองได้ไว การใช้ Beidou ในการต่อสู้หรือกดสกิลสวนกลับต่างๆ รวมถึงการกดสับตัวเพื่อใช้สกิลก็ทำได้รวดเร็ว คล่องมือมากๆ เฟรมเรตเฉลี่ยที่ทำได้ยังคงได้ดีอยู่ที่ 40FPS ไม่กระตุกหรือแลคแต่อย่างใด



พอเข้าสู่ช่วง Phase ที่สามของการต่อสู้ ชากคัตซีนดูเนียนตาและลื่นมากๆ ทำเฟรมเรตแตะไปที่ 55FPS พร้อมกับเสียงลำโพงคู่ที่กระหึ่มได้ใจในช่วงที่ Childe ได้ใช้พลังขั้นสุดยอด เอาซะเราขนลุกเลยทีเดียว



พอตัดฉากมาช่วงต่อสู้ค่าเฟรมเรตที่ทำได้ยังคงอยู่ที่ 40FPS โดยเฉลี่ย แน่นอนว่าการตอบสนองการทำอะไรต่างๆ ยังคงลื่นๆ สบายๆ หลบสกิลหรือต่อสู้กับ Childe ได้สบายหายห่วง...แน่นอนว่ามีน้อง Klee ซะอย่าง สายโลลิระเบิดเขา เผากระท่อมนั้นกลัวผู้ใหญ่ของ Fatui ซะทีไหน...ดู Damage นั้นสิ!

สรุปผลจากการเล่นครบหนึ่งชั่วโมงและขอสังเกตุต่างๆ




เมื่อเราทำการเล่นครบหนึ่งชั่วโมง จากแบตเตอรี่ 100% ตั้งค่าสเปคในเกมปรับสุด ผลก็คือแบตเตอรี่เหลือ 78% เท่ากับว่าหนึ่งชั่วโมงเราใช้แบตเตอรี่ไปราวๆ 22% โดยเฉลี่ย ถือว่าสูบพลังงานเอาเรื่องจากแบตเตอรี่ที่จุดมากถึง 5160mAh แต่เพราะทั้งนี้ก็มาจาก Engine ที่ใช้พัฒนา Genshin Impact เป็น Unity Engine เวอร์ชั่นเก่า ( เวอร์ชี่นเดียวกับ Honkai Impact ) ก็อาจจะเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เกมนี้กินสเปคเยอะและใช้พลังงานแบตเตอรี่เยอะในเวลาเดียวกัน



และก่อนหน้านั้นก็ได้ทำการทดลองเปิดแจ้งเตือนแบบลอยและเปิด Head Chat ของ Facebook Messenger เพื่อดูว่าหากใครทักมาจะเป็นอย่างไร ผลก็คือมีคนทัก Head Chat ปรากฎขึ้น เกมจะกระตุกทันที และกระตุกนานหลายวินาทีก่อนจะกลับมาลื่นอีกครั้ง ส่วนการแจ้งเตือนแบบลอยไม่มีผล ถ้ากำลังตบตีกับศัตรูอยู่แล้วมีใครทักมาก็อาจจะทำให้หงุดหงิดได้บ้างเป็นบางเวลา เหตุผลก็เพราะว่าเกม Genshin Impact บนมือถือก็กิน RAM ไปมากกว่า 3.5GB แล้วซึ่งตัว Poco X3 มี RAM อยู่ที่ 6GB หากเปิดการทำงานส่วนอื่นๆ ก็อาจจะมีการดึงทรัพยากรของ RAM กันเกิดขึ้น



และอีกข้อสังเกตุเลยก็คือเรื่องความร้อน พอเราปรับสุดในเกม Genshin Impact พอผ่านไปได้ห้านาที ฝาหลังร้อนเลยจ้า แต่ไม่ได้ลวกมือหรือร้อนจี๋อะไรแบบนั้น เนื่องจากตัวเครื่องมีฮีตซิงค์ที่เรียกว่า LiquidCool Technology 1.0 Plus ซึ่งมันเป็นระบบระบายความร้อนรูปแบบเดียวกันที่ใช้กับ CPU ของตัวคอมพิวเตอร์ โดยการทำงานของมันคือจะมีแท่งเหล็กทองแดงแปะพาดตัว CPU ข้างในแท่งทองแดงจะมีของเหลวนำความร้อนอยู่ ทำให้การนำความร้อนออกจากเครื่องได้รวดเร็ว จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเล่นแป๊บเดียวก็เริ่มร้อนมือ แต่ว่ามันก็ไม่ทำให้เครื่องร้อนเกินไป และพอหยุดเล่นเครื่องก็หายร้อนอย่างรวดเร็วเช่นกัน

==================================================


โดยสรุปแล้ว Poco X3 NFC สามารถเล่น Genshin Impact ได้อย่างสบายๆ ถึงจะปรับสุดก็ไม่เคยหวั่น แม้ว่าภาพหรือกราฟิคต่างๆ รวมถึงความลื่นไหลของเฟรมเรตอาจจะไม่ได้สูงเท่ากับมือถือระดับสูง แต่หากเทียบกับความคุ้มค่าในราคาหลักเจ็ดพันกว่าๆ แล้วล่ะก็ ถือว่าเป็นมือถือที่สามารถเล่นเกมหนักๆ ได้อย่างดี แม้ว่าเครื่องจะร้อนเร็วไปหน่อยก็ตาม มันก็ไม่ถึงกับลวกมือขนาดนั้น เพราะเทคโนโลยี LiquidCool Technology 1.0 Plus ที่ระบายความร้อนได้รวดเร็วนั้นเอง หากใครอยากหาซื้อมือถืองบไม่สูงเพื่อเล่น Genshin Impact โดยเฉพาะ Poco X3 NFC ก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ และหากอยากให้เล่นลื่นๆ ฟินๆ ก็ปรับแค่ระดับกลางๆ ก็ทำให้เราได้รับประสบการณ์จากเกมนี้มากเกินพอแล้ว และสุดท้ายนี้อยากจะบอกว่า Sucrose นั้นเราจองแล้ว หวงนะ! ( ล้อเล่นจ้า )



บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[รีวิว] Poco X3 NFC เอามาทรมานบนเกม Genshin Impact จะรอดหรือจะร่วง?
17/11/2020

หลังจาก Poco X3 NFC ออกสู่วางตลาดไปได้ไม่นาน ก็นับว่าเป็น Smartphone ที่แทบจะตบหลายยี่ห้อกันเลยทีเดียวทั้งสเปคต่อความคุ้มค่าคุ้มราคาและตอบโจทย์การเล่นเกมได้เป็นอย่างดีสมกับค่าตัวของมัน และคนเขียนเองก็ได้เป็นหนึ่งในเจ้าของเครื่องนี้ด้วยเช่นกัน

บทความนี้เราจะไม่ได้มาเน้นรีวิว Smartphone เครื่องนี้เป็นหลักเพราะคงจะทราบถึงสเปคและประสิทธิภาพเครื่องนี้กันมาพอสมควรแล้ว แต่เราจะมารีวิวเฉพาะทางด้วยการนำ Poco X3 NFC เอามาทรมานบนเกม Genshin Impact ที่เป็นเกมแนว Action RPG Openworld เพื่อทดลองว่าโทรศัพท์ยี่ห้อนี้เหมาะหรือคุ้มค่ากับการเอามาเล่นเกม Genshin Impact หรือไม่ เราไปดูกัน


==================================================



มาทำความรู้จักสเปคคร่าวๆ และตัวแพคเกจกันก่อน




ก่อนที่จะพูดถึงเนื้อเรื่องหลัก ก็ขอเกริ่นเกี่ยวกับตัวแพคเกจและสเปคโดยรวมของมันเสียหน่อย ซึ่งทางเราได้ซื้อตัวรุ่น Ram 6GB / Rom 128GB สีน้ำเงิน หรือตัวบนสุดของ Poco X3 NFC ในราคาเจ็ดพันต้นๆ โดยลักษณะกล่องจะเป็นสีดำด้านตัดกับตัวอักษรสีเหลือง พอเปิดฝากล่องก็จะมีแพคเกจเป็นกล่องสีเหลืองคร่อมอีกชั้นทำให้ตัวแพคเกจดูแข็งแรง ปลอดภัยเรื่องแรงกระแทกอย่างแน่นอน



ในตัวแพคเกจที่มีมาให้หลักๆ ก็จะประกอบไปด้วย



    • ตัวโทรศัพท์ Poco X3 NFC หนึ่งเครื่อง

    • เคสพลาสติคใส ตรงมุมจะแข็งกว่าปกติ

    • หัวชาร์จแบบ Fast Charge 33W

    • สาย USB Type-C to Type A หนึ่งเส้น ( สายชาร์จนั้นแหละ )

    • เข็มถาดจิ้มช่อง SIM

    • คู่มือและใบรับประกันต่างๆ




แพคเกจที่แถมมาให้ก็นับว่าเยอะพอสมควร ไม่มากไม่น้อยจนเกินไปตามมาตรฐาน



ส่วนการจับรู้สึกว่ากระชับมือ แต่ทว่าน้ำหนักตัวของมันดูหนักไปนิดหน่อย แต่ไม่ได้มากมายอะไร อาจจะเป็นเพราะตัวแบตเตอร์รี่ที่ให้มาเยอะมากๆ ก็ถือว่าหักล้างขอเสียเรื่องน้ำหนักไปได้



ส่วนในด้านสเปคเครื่องโดยคร่าวๆ ก็มีรายการดังนี้

สเปคข้อมูลสำคัญ (สำหรับการทดลองเล่นเกม Genshin Impact)



    • CPU: Qualcomm Snapdragon 732G แกน 8 หัว 2.3Ghz

    • GPU: Adreno 618

    • มีซิงค์ระบายความร้อนด้วยเทคโนโลยี LiquidCool Technology 1.0 Plus

    • หน้าจอใหญ่ 6.67 นิ้ว

    • ความละเอียดจอเป็น FHD+ แบบ IPS

    • ค่า Refresh Rate 120Hz

    • Touch Sampling 240Hz

    • Ram ขนาด 6GB แบบ LPDDRX4

    • ความจุ 64GB/128GB แบบ UFS 2.1 (ทางเราซื้อตัว 128GB มา)

    • แบตเตอรี่ 5160mAh, รองรับการชาร์ตด่วนที่ 33W




สเปคข้อมูลส่วนอื่นๆ (ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเล่นเกมแต่เขียนไว้สำหรับผู้สนใจ)



    • รองรับเทคโนโลยี 4G LTE

    • ถาด SIM รองรับ 2 ถาด และรองรับ Micro SD Card สูงสุด 256GB

    • ลำโพงคู่ รองรับ Hi-Res Audio ( ออกตรงลำโพงด้านทายเครื่องและตำแหน่งลำโพงรับสาย )

    • ช่องหูฟังแบบ 3.5 mm

    • รองรับ USB Type-C

    • รองรับสแกนลายนิ้วมือตรงปุ่ม Power

    • มาตรฐานกันน้ำและฝุ่น IP53

    • กล้องหลังหลัก 64MP, อัลตร้าไวล์ 13MP, เลนส์มาโคร 2MP, เลนส์ Depth 2MP รวมทั้งหมด 4 ตัว

    • กล้องหน้า 20MP

    • ระบบปฏิบัติการณ์ Android 10 ครอบด้วย MIUI 12 for POCO

    • รองรับเซนเซอร์ต่างๆ 8 อย่าง

    • รองรับ NFC




ซึ่งหากพูดด้วยสเปคแล้วขอบอกเลยว่า โห...สเปคจัดเต็มมากกับราคาที่จ่ายไป แต่ก็มีจุดที่แอบกังวลใจบางอย่างนั้นก็คือ เทคโนโลยี ROM ที่ยังคงใช้ UFS 2.1 อยู่ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการส่งถ่ายข้อมูลแบบเก่าอยู่ แต่จะขอพูดถึงรายละเอียดส่วนนี้ในหัวข้อต่อๆ ไป และหลังจากนี้จะเป็นการรีวิวเจ้า POCO X3 NFC เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเล่นเกม Genshin Impact เท่านั้น

==================================================



การเปิดเกมครั้งแรกที่ทั้งชอบและไม่ชอบใจ




โดยทางนี้จะใช้แอพ Game Turbo ของตัว Poco X3 เพื่อรีดประสิทธิภาพและบูสขุมพลัง CPU ภายในตัวเครื่องให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้นนอกเหนือจากนี้ยังสามารถตั้งค่าไม่ให้ใครมารบกวนเช่นปิดการแจ้งเตือนต่างๆ รวมถึงการบล็อคการโทรเข้าชั่วคราวเพื่อไม่ให้ใครหงุดหงิดใจ แต่เราเลือกที่จะไม่บล็อคเพราะอยากรู้ว่าเวลาแจ้งเตือนหรือ Headchat จาก Facebook จะส่งผลต่อเครื่องหรือไม่ และเราจะเริ่มต้นจากแบตเตอรี่ที่ 100% หรือ 5160 mAh เต็ม

ส่วนที่ชอบสิ่งแรกที่ได้เจอเลยคือ ตัว Game Turbo สามารถปรับแสงและสีของตัวหน้าจอให้เข้ากับสายตาเพื่อถนอมสายตาของเราหรือปรับให้เหมาะกับสภาพแสงโดยรอบตอนเล่นเกมให้มากที่สุด โดยจะมีโหมดเพิ่มความสว่างโดยจะทำให้ภาพดูสว่างนวลขึ้นไม่แสบตา, ภาพแบบอิ่มสีก็คือจะทำให้ภาพดูสีสดใสมากขึ้น หรือจะปรับภาพให้แสดงผลทั้งสองอย่างด้วยกันซึ่งมันก็จะกินแบตเตอรี่ด้วย...แน่นอนว่าไหนๆ มาทรมานเครื่องแล้วก็ต้องเปิดการแสดงภาพแบบสว่างและอิ่มสีอยู่แล้ว



และจุดนี้ก็ถือเป็นจุดที่เป็นข้อติจุดใหญ่ๆ จุดแรกเลยก็คือหลัง Log in เข้าไปแล้วมันโหลดเข้าเกมช้ามากๆ ราวๆ 40 วินาทีถึง 1 นาทีโดยประมาณ ขึ้นอยู่กับว่าเล่นครั้งล่าสุดเราอยู่ในเมืองหรืออยู่นอกเมือง โดยมันจะคาไว้ที่ไอคอนธาตุน้ำแข็งสักพักใหญ่ๆ กว่าจะเข้าหน้าเกมได้ ซึ่งเหตุผลตรงนี้มีข้อเดียวคือ ตัวอ่านหน่วยความจำภายในเครื่องยังคงใช้ UFS 2.1 ซึ่งเป็นรุ่นเก่า การอ่านเขียนข้อมูลดึงข้อมูลจากในเกมจะทำได้ช้ากว่าโทรศัพท์รุ่นใหม่ๆ ที่เริ่มมาใช้ UFS 3.0 ขึ้นไปแล้ว แต่หากเทียบกับราคาแล้วก็ถือว่าพอรับได้ เว้นแต่ว่าเป็นเกมเมอร์สายใจร้อนก็อาจจะนั่งเซ็งกันสักหน่อย

กราฟิคเปิดสุดไม่ต้องยั้ง พังหรือไม่เดี๋ยวรู้กัน




เมื่อเข้ามาหน้าตั้งค่าการแสดงผลแล้ว ค่าเดิมๆ ของมันถูกปรับให้เป็นคุณภาพต่ำ อันนี้เราจะแสดงกันให้เห็นชัดๆ เลยว่าเราเปลี่ยนมาเปิดสุดจริงๆนะ โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงกราฟิคเล็กน้อยในส่วนของหัวข้อ FPS ที่เดิมๆ มันตั้งไว้ 30 FPS เราเปลี่ยนให้มันเป็น 60 FPS แล้วมาดูกันว่าเล่นไป 1 ชั่วโมง แบตเตอรี่ลดกี่เปอเซ็นต์และเครื่องจะรีดประสิทธิภาพไหวไหม



ภาพนี้จะเป็นหลักฐานยืนยันชัดๆ อีกทีว่าเราเริ่มเล่นช่วงแบตเตอรี่ 100% เต็มและจะเล่นต่อเนื่อง 1 ชั่วโมงเพื่อทำการทดลองโดยมีน้อง Sucrose ที่แสนน่ารักและนุ่มนิ่มมากจะมาเป็นผู้ช่วยในครั้งนี้



แต่ว่าพอหลังตั้งค่าเสร็จ ภาพก็ดีเนียนดูสวยนะ แต่ก็อาจจะยังไม่เนียนไม่สวยเท่ากับโทรศัพท์ระดับสูงๆ เสียเท่าไหร่ หืมมมม....หลังจากนี้จะเป็นการทดลองภาคสนามกันแล้ว ช่วงเวลาการถ่ายทำจะไม่ตรงกันในแต่ละภาพที่จะได้เห็นก็จริงแต่ก็ขอให้รู้ไว้ว่าสถานะการณ์ต่างๆ และผลทดลองที่ได้ยังคงอยู่ภายในหนึ่งชั่วโมงการทดลองจ้า

ผลทดสอบการใช้ CPU, GPU และ FPS เขต Monstadt




ตอนนี้เราได้ทำการออกเดทกับน้อง Sucrose เพื่อทำการทดลองเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรของ CPU, GPU และค่าเฟรมเรตที่ทำออกมาได้โดยปรับการตั้งค่าให้สูงสุด โดยพาไปเดินเล่นช่วงนอกเมือง Monstadt ก็ได้เห็น CPU ใช้ไปโดยเฉลี่ย 55% แต่ GPU แทบจะวิ่งเต็ม 100% เกือบตลอดเวลา เพราะว่าเราได้ดึงประสิทธิภาพของตัว Snapdragon 732G อย่างเต็มที่ของมันแล้ว ซึ่งโดยรวมค่าเฟรมเรตที่ทำได้จะอยู่ในช่วง 45 ถึง 55 เฟรมเรต ถือว่าเคลื่อนไหวได้ราบเรียบมากๆ



จากนั้นก็ได้พาน้อง Sucrose ทำการทดลองด้วยการลงภาคสนามกับเหล่า Slime หินผู้โชคร้ายว่าเวลาต่อสู้เฟรมเรตจะเป็นอย่างไร ผลที่ออกมาก็ตามคาดคือ FPS ร่วงลงมา โดยต่ำสุดอยู่ที่ 30 FPS ไม่ต่ำกว่านั้น มีแกว่งๆ ขึ้นไป 40 FPS บ้าง โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 35 FPS



ทีนี้เราเปลี่ยนบรรยากาศมายังตัวเมือง Monstadt กันบ้างซึ่งหากเราเทเลพอร์ตเข้ามาในเมืองเลย จะแทบกระตุกช่วงพักหนึ่ง ก่อนจะเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งเป็นเพราะระบบการถ่ายโอนข้อมูลยังคงเป็น UFS 2.1 ซึ่งเป็นรุ่นเก่านั้นเอง ราวกับว่าต้องใช้เวลาโหลดฉากนิดหนึ่งอะไรประมาณนั้น

ตอนนี้น้อง Qiqi ก็อยากถ่ายรูปด้วย(?) เราเลยใจอ่อนยอมเปลี่ยนตัวให้ Sucrose ไปพักเหนื่อยบ้าง ต้องขอบอกก่อนว่าพอเราอยู่ในเมืองค่าเฟรมเรตที่ได้จะตกลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ค่า GPU กลับใช้พลังงานน้อยลงเป็นนัยยะสำคัญเช่นกัน โดยค่าเฟรมเรตที่ทำได้ ไม่ต่ำกว่า 25 FPS และสูงสุดไม่เกิน 40 FPS มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 30 FPS ซึ่งก็ไม่ค่อยมีปัญหาอะไรหงุดหงิดใจนัก ยังคงพอรับได้ บังคับได้ลื่นไหลพอสมควร



หลังจากนี้เราก็เอาทีมคณะผู้ช่วยไปบวกกับ Boss หมาป่า Adrius ซึ่งบอกเลยว่าเป็นอะไรที่มันมาก เพราะการต่อสู้ลื่นไหล ไม่มีอาการกระตุกให้กวนใจแต่อย่างใดเลย FPS เฉลี่ยที่ทำได้คือ 40 FPS ถือว่าทำออกมาได้ดีมากสำหรับ Poco X3 แม้จะต้องเจอกับเอฟเฟคเยอะๆ ก็ตามที ที่สำคัญ การควบคุมตอบสนองดีมาก ไม่มีอาการหลุดการควบคุมหรือหลอนเลยเพราะตัว Touch Sampling ที่มีมากถึง 240Hz ทำให้การตอบสนองต่อการกดนั้นไวมากๆ และแม่นยำมากๆ แม้ว่าเราจะติดฟิลม์กระจกอย่างหนาก็ตาม

ผลทดสอบการใช้ CPU, GPU และ FPS เขต Liyue




ทีนี้เราพาน้อง Sucrose มาเปลี่ยนบรรยากาศมาที่เขต Liyue กันบ้างโดยเริ่มจากเขตนอกท่าเรือ Liyue ที่เต็มไปด้วยผาน้อยใหญ่ บรรยากาศให้ความรู้สึกอยู่ในพื้นที่แฟนตาซีหนังจีนกำลังภายใน ผลการทดสอบของ CPU ก็ใช้พลังงานมากขึ้นนิดหน่อย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 55% และ GPU ก็ยังเต็มเกือบ 100% มีบ้างบางช่วงที่ตกลงมาที่ 85% โดยเฟรมเรตเฉลี่ยที่ทำได้จะอยู่ประมาณ 45 FPS เหมือนกัน ก็ไม่ค่อยแตกต่างจากเขตนอกเมือง Monstadt เท่าไหร่นัก

ส่วนในฉากต่อสู้ทั่วๆ ไปนั้นก็ยังลื่นไหลไม่ต่างเขตนอกเมือง Monstadt เช่นกัน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 40 FPS ไม่ต่ำกว่า 30 FPS อย่างแน่นอน แต่เนื่องจากว่าช่วงที่ถ่ายทำนั้นมีผลเท่ากันจึงเลยไม่ได้ตัดสินใจถ่ายช่วงต่อสู้เพื่อความกระชับของเนื้อหา



จากนั้นก็ลองพาเข้ามายังท่าเรือ Liyue ด้วยการเทเลพอร์ตดูบ้าง โดยงานนี้น้อง Klee โลลิที่น่ารักของผองเราก็อยากถ่ายรูปด้วย(?) พอเทเลพอร์ตเข้ามาในเมืองเท่านั้นแหละ กระตุกหนักกว่าอยู่ในเมือง Monstadt อีก แต่สักพักใหญ่ๆ ก็กลับมาลื่นเป็นปกติ เหตุผลก็เพราะว่าระบบถ่ายโอนข้อมูล UFS 2.1 เช่นเดิม และด้วยเมือง Liyue มี Object ที่เยอะมากอยู่แล้วไม่แปลกใจที่โหลดฉากไม่ทันและกระตุก แต่อย่างน้อยก็กลับมาลื่นปกติโดยปล่อยไว้สักพัก ส่วนเฟรมเรตเฉลี่ยที่ทำได้อยู่ที่ 30FPS ต่ำสุดคือ 25FPS ซึ่งอยู่ในเขตเมืองก็ยังพอโอเคไม่มีปัญหาอะไรขนาดนั้น



คราวนี้ก็มาถึงช่วงทีเด็ดของเรานั้นคือลุยภาคสนามไปตบตีกับ Tatarglia "Childe" แห่ง Fatui กัน ซึ่งบอกเลยว่าถึงจะเจอฉากอลังการงานสร้างตั้งแต่ Phase แรกของการต่อสู้เฟรมเรตที่ทำได้เฉลี่ยอยู่ที่ 45FPS ต่ำสุดอยู่ที่ 30FPS จัดว่าดีงามมากๆ เลยนะ



ช่วง Phase ที่สองของการต่อสู้ ลูกเล่นของเจ้า Childe ก็เยอะขึ้นแต่ด้วยตัว Touch Sampling 240Hz ทำให้ตอบสนองได้ไว การใช้ Beidou ในการต่อสู้หรือกดสกิลสวนกลับต่างๆ รวมถึงการกดสับตัวเพื่อใช้สกิลก็ทำได้รวดเร็ว คล่องมือมากๆ เฟรมเรตเฉลี่ยที่ทำได้ยังคงได้ดีอยู่ที่ 40FPS ไม่กระตุกหรือแลคแต่อย่างใด



พอเข้าสู่ช่วง Phase ที่สามของการต่อสู้ ชากคัตซีนดูเนียนตาและลื่นมากๆ ทำเฟรมเรตแตะไปที่ 55FPS พร้อมกับเสียงลำโพงคู่ที่กระหึ่มได้ใจในช่วงที่ Childe ได้ใช้พลังขั้นสุดยอด เอาซะเราขนลุกเลยทีเดียว



พอตัดฉากมาช่วงต่อสู้ค่าเฟรมเรตที่ทำได้ยังคงอยู่ที่ 40FPS โดยเฉลี่ย แน่นอนว่าการตอบสนองการทำอะไรต่างๆ ยังคงลื่นๆ สบายๆ หลบสกิลหรือต่อสู้กับ Childe ได้สบายหายห่วง...แน่นอนว่ามีน้อง Klee ซะอย่าง สายโลลิระเบิดเขา เผากระท่อมนั้นกลัวผู้ใหญ่ของ Fatui ซะทีไหน...ดู Damage นั้นสิ!

สรุปผลจากการเล่นครบหนึ่งชั่วโมงและขอสังเกตุต่างๆ




เมื่อเราทำการเล่นครบหนึ่งชั่วโมง จากแบตเตอรี่ 100% ตั้งค่าสเปคในเกมปรับสุด ผลก็คือแบตเตอรี่เหลือ 78% เท่ากับว่าหนึ่งชั่วโมงเราใช้แบตเตอรี่ไปราวๆ 22% โดยเฉลี่ย ถือว่าสูบพลังงานเอาเรื่องจากแบตเตอรี่ที่จุดมากถึง 5160mAh แต่เพราะทั้งนี้ก็มาจาก Engine ที่ใช้พัฒนา Genshin Impact เป็น Unity Engine เวอร์ชั่นเก่า ( เวอร์ชี่นเดียวกับ Honkai Impact ) ก็อาจจะเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เกมนี้กินสเปคเยอะและใช้พลังงานแบตเตอรี่เยอะในเวลาเดียวกัน



และก่อนหน้านั้นก็ได้ทำการทดลองเปิดแจ้งเตือนแบบลอยและเปิด Head Chat ของ Facebook Messenger เพื่อดูว่าหากใครทักมาจะเป็นอย่างไร ผลก็คือมีคนทัก Head Chat ปรากฎขึ้น เกมจะกระตุกทันที และกระตุกนานหลายวินาทีก่อนจะกลับมาลื่นอีกครั้ง ส่วนการแจ้งเตือนแบบลอยไม่มีผล ถ้ากำลังตบตีกับศัตรูอยู่แล้วมีใครทักมาก็อาจจะทำให้หงุดหงิดได้บ้างเป็นบางเวลา เหตุผลก็เพราะว่าเกม Genshin Impact บนมือถือก็กิน RAM ไปมากกว่า 3.5GB แล้วซึ่งตัว Poco X3 มี RAM อยู่ที่ 6GB หากเปิดการทำงานส่วนอื่นๆ ก็อาจจะมีการดึงทรัพยากรของ RAM กันเกิดขึ้น



และอีกข้อสังเกตุเลยก็คือเรื่องความร้อน พอเราปรับสุดในเกม Genshin Impact พอผ่านไปได้ห้านาที ฝาหลังร้อนเลยจ้า แต่ไม่ได้ลวกมือหรือร้อนจี๋อะไรแบบนั้น เนื่องจากตัวเครื่องมีฮีตซิงค์ที่เรียกว่า LiquidCool Technology 1.0 Plus ซึ่งมันเป็นระบบระบายความร้อนรูปแบบเดียวกันที่ใช้กับ CPU ของตัวคอมพิวเตอร์ โดยการทำงานของมันคือจะมีแท่งเหล็กทองแดงแปะพาดตัว CPU ข้างในแท่งทองแดงจะมีของเหลวนำความร้อนอยู่ ทำให้การนำความร้อนออกจากเครื่องได้รวดเร็ว จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเล่นแป๊บเดียวก็เริ่มร้อนมือ แต่ว่ามันก็ไม่ทำให้เครื่องร้อนเกินไป และพอหยุดเล่นเครื่องก็หายร้อนอย่างรวดเร็วเช่นกัน

==================================================


โดยสรุปแล้ว Poco X3 NFC สามารถเล่น Genshin Impact ได้อย่างสบายๆ ถึงจะปรับสุดก็ไม่เคยหวั่น แม้ว่าภาพหรือกราฟิคต่างๆ รวมถึงความลื่นไหลของเฟรมเรตอาจจะไม่ได้สูงเท่ากับมือถือระดับสูง แต่หากเทียบกับความคุ้มค่าในราคาหลักเจ็ดพันกว่าๆ แล้วล่ะก็ ถือว่าเป็นมือถือที่สามารถเล่นเกมหนักๆ ได้อย่างดี แม้ว่าเครื่องจะร้อนเร็วไปหน่อยก็ตาม มันก็ไม่ถึงกับลวกมือขนาดนั้น เพราะเทคโนโลยี LiquidCool Technology 1.0 Plus ที่ระบายความร้อนได้รวดเร็วนั้นเอง หากใครอยากหาซื้อมือถืองบไม่สูงเพื่อเล่น Genshin Impact โดยเฉพาะ Poco X3 NFC ก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ และหากอยากให้เล่นลื่นๆ ฟินๆ ก็ปรับแค่ระดับกลางๆ ก็ทำให้เราได้รับประสบการณ์จากเกมนี้มากเกินพอแล้ว และสุดท้ายนี้อยากจะบอกว่า Sucrose นั้นเราจองแล้ว หวงนะ! ( ล้อเล่นจ้า )




บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header