GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[บทความ] เกมออนไลน์ กำลังจะตายจริงหรือไม่ เมื่อเทรนด์เกม Live Services กำลังมาถึงทางตัน
ลงวันที่ 14/07/2023

คำว่าเกมออนไลน์ หากพูดในยุคปัจจุบันกับยุคก่อน อาจจะดูกลายเป็นคนละแนวเกมกันไปเลย สำหรับเกมออนไลน์ในสมัยก่อนนั้น อาจหมายถึงเกมดัง ๆ ที่เหล่าผู้ให้บริการในไทย ไปเซ็นสัญญามาเปิดให้บริการ และเปิดให้เล่นกันในรูปแบบภาษาไทย ได้พบเจอสังคม เพื่อนฝูงในโลกออนไลน์ ที่หลายคนต่อยอดมาเป็นมิตรภาพจากเกมจวบจนปัจจุบัน แต่ในทุกวันนี้ เกมออนไลน์อาจหมายถึงรูปแบบการเปิดตัวเกมแบบเน้นระบบออนไลน์ มีการอัปเดตเนื้อหา คอนเทนต์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หรือที่เรามักจะได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า Live Services


แต่ด้วยการแข่งขันที่สูงขึ้น ปัจจุบันเกมออนไลน์ หรือ Live Services หลายเกม ก็ทำได้แค่เป็นกระแสลมแผ่วเบา พัดผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่อาจสั่นคลอนบัลลังก์เกมยักษ์ใหญ่ที่ตั้งตัวไว้ได้ดีแล้วได้ ทำให้หลายคนมองว่ากระแสเกม Live Services กำลังจะหมดไป และนี่คือหัวข้อที่เราจะมาพูดถึงกันในวันนี้ ว่าเกม Live Services ใหม่ ๆ กำลังไร้ที่ยืน จริงหรือไม่

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนสำหรับเกม Live Services สำหรับประเภทเกมนี้นั้น ในวงการเกมจะเรียกกันอย่างเป็นทางการว่า Games as a service (เรียกย่อ ๆ ว่า GaaS) ในวงการอุตสาหกรรมเกมจะเข้าใจถึงโมเดลเกมแนวนี้ว่า เป็นเกมที่จะคอยอัปเดตหรือเพิ่มเนื้อหาของตัวเกมเพื่อสร้างรายได้แบบต่อเนื่อง คล้าย ๆ กับการเปิดให้ซื้อซอฟต์แวร์สักอัน แล้วก็คอยอัปเดตเข้าไปเรื่อย ๆ แต่กับเกมจะมีการขายของใหม่ เนื้อหาใหม่เพิ่มขึ้นก็แล้วแต่เกมใดว่าจะทำแบบไหน ทำให้มันเป็นเกมในระยะยาว ไม่จบหรือหมดคอนเทนต์ทันทีเมื่อเกมเปิดตัว 


ย้อนไปสมัยแรกเริ่มเลย เกมที่เข้าข่ายว่าเป็นเกม GaaS เกมแรก ๆ ก็คือเกม MMO ชื่อดังอย่าง World of Warcraft ที่เป็นรูปแบบจ่ายเงินรายเดือน และผู้พัฒนาก็นำรายได้บางส่วนจากตรงนั้นไปพัฒนาคอนเทนต์และเนื้อหาใหม่ ๆ เพิ่ม ซึ่งโมเดลนี้ก็เริ่มได้รับความนิยมสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งค่ายเกมใหญ่ ๆ เริ่มหันมาทำตาม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น Tencent หรือแม้กระทั่ง Valve ที่ลองเชิงกับ Team Fortress 2 ด้วยการใช้บริการ GaaS นี้ มาอัปเดต Gold Rush ให้กับเกม เพื่อดึงเอาฐานแฟนกลับคืนมา หลังจากที่ยอดผู้เล่นเริ่มลดลง และมาใช้แบบเต็ม ๆ กับ CS:GO รวมไปถึง DotA 2 เพื่อแข่งขันกับ League of Legends ที่กำลังมาแรงสุด ๆ ในช่วงนั้น


GaaS ยังเป็นจุดกำเนิดระบบยิบย่อยอื่น ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Subscription หรือการจ่ายเงินแบบรายเดือนเพื่อรับไอเทมในระยะยาวที่ตอนนี้หลายคนน่าจะชินกันแล้ว รวมไปถึงระบบ Microtransaction หรือไอเทมจำพวกแพคเกจ Loot Box ต่าง ๆ และยังกลายมาเป็นจุดกำเนิดระบบยอดนิยมอย่าง Season Pass / Battle Pass ด้วย เรียกได้ว่า Games as a Service นั้น เป็นจุดกำเนิดของระบบหลาย ๆ ระบบเลยทีเดียว และส่วนใหญ่แล้วเกมประเภทนี้มักจะทำมาให้เล่นกันแบบ Free to Play หรือเปิดให้เล่นฟรี แล้วจ่ายเงินซื้อของในเกมไปเรื่อย ๆ ทีมพัฒนาก็จะปล่อยคอนเทนต์ใหม่ออกมาเรื่อย ๆ เช่นกัน

เหตุใด เกมออนไลน์ แบบ GaaS ถึงกำลังจะตาย


ก่อนอื่นเราต้องเท้าความกันสักหน่อยว่า ในช่วง 3-4 ปีหลังมานี้ เกมประเภท GaaS นั้น มีออกมากันเยอะมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นเกมแบบเล่นฟรี หรือเกมขายก็ตาม นับตั้งแต่เกมอย่าง PUBG หรือ Fortnite เข้ามาเป็นใหญ่ในพื้นที่ของเกมแนวนี้ มันก็เหมือนจุดประกายไอเดียของทีมผู้พัฒนาว่า เกมแบบนี้แหละ ทำง่าย หาเงินง่าย ขายง่ายอีกต่างหาก เปิดเล่นฟรี เปิดระบบเติมเงิน โกยคนช่วงแรกรัว ๆ ทำให้เกมประเภทนี้ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด เริ่มจากเกมแบบทำมาขายในรูปแบบ Early Access โดยหวังว่าจะนำเงินรายได้ไปพัฒนาต่อ

ยกตัวอย่างเช่น Island of Nyne เกมที่อ้างว่าเอาเกมเมอร์สายยิงตัวจริงมาพัฒนาเพื่อความสนุก ความเข้มข้นของตัวเกม และวางจำหน่ายแบบ Early Access ในปี 2018 ก่อนเกมจะโดนสวดยับเรื่องคุณภาพ และเซิร์ฟเวอร์ สุดท้ายตัวเกมก็เงียบกริบ และปิดตัวไปอย่างเงียบ ๆ ก่อนที่สตูดิโอพัฒนาเกมจะปิดตัวลงในปีเดียวกันนั้นเอง ซึ่งในช่วงปี 2018-2019 นั้น มีเกม Battle Royale และเกมที่พยายามจะเป็น Live Services จำนวนมาก เปิดตัวและปิดตัวลงในเวลาอันรวดเร็ว อันเกิดจากกระแสของความมาแรงของ PUBG และ Fortnite 


หรือจะเอาใหม่หน่อยก็ย้อนไปในช่วงปี 2022-2023 นี้ เกมดังอย่าง Knockout City และ Rumbleverse ก็ทยอยปิดตัวลงไปตาม ๆ กัน ทั้ง ๆ ที่เกมได้รับคำวิจารณ์ในแง่บวก เกมเพลย์สนุก แต่ในเมื่อมันไม่เข้าถึงคนเล่น ก็เป็นอุปสรรคเช่นกัน จะเห็นได้ว่าการทำให้เกม Live Services โด่งดังได้ ตัวเกมเองก็ต้องเป็นที่รู้จัก และได้รับการยอมรับจากผู้เล่นด้วย การตลาดและการโปรโมทเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นสิ่งที่ผู้พัฒนาต้องพิจารณากันอย่างหนัก เพราะในการสร้างเกมสมัยนี้ บางเกมเลือกที่จะทุ่มงบโฆษณาและการโปรโมท มากยิ่งกว่าการพัฒนาเกมซะอีก

อีกปัญหาหนึ่งของเกม Live Services ที่จะเปิดตัวเอาในช่วงนี้ ต้องเจอกับยักษ์ใหญ่ที่ครองบัลลังก์อยู่ก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Apex Legends, Fortnite หรือถ้าเป็นสายเกม MMO ก็อาจจะมีทั้ง Genshin Impact, Honkai Impact และอื่น ๆ รวมไปถึงการผันตัวสู่โมเดลการเป็นเกมเล่นฟรีของเกมยักษ์ใหญ่อย่างเช่น PUBG หรือ NARAKA: BLADEPOINT ที่พอทำยอดขายหรือรายได้ในจุดที่ต้องการแล้ว ก็ปรับเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นเกม Free to Play เพื่อดึงฐานคนเล่นให้สูงขึ้น เพราะเกมดัง ๆ แบบนี้ ยังไงก็มีฐานแฟน และเข้าถึงคนได้มากขึ้นอยู่แล้ว จึงยิ่งเป็นการยากเข้าไปอีกที่บริษัทเกม หรือทีมทำเกมหน้าใหม่จะเข็นเกมที่มีคุณภาพออกมาสู้เกมเหล่านี้ได้ ทำให้ในระยะหลังมานี้ ตลาดเกมแนว Live Services จะไม่ค่อยมีเกมใหม่ ๆ ออกมาให้เราเห็น แต่จะเป็นค่ายเก่า ค่ายดังที่มีชื่อเสียงพออยู่แล้ว หันมาทำเกมแนวนี้ หรือเปลี่ยนรูปแบบเกมในค่ายของตัวเองไป


ดังนั้น หากบอกว่ามันกำลังจะตายก็อาจจะไม่ถูกต้องซะทีเดียว แต่เกมที่เกิดใหม่ต่อจากนี้ได้จะมีน้อยมาก ๆ เพราะจากที่แต่ก่อนไร้คู่แข่ง แต่เมื่อเกมแนวนี้ออกมาล้นตลาด แถมค่ายเกมใหญ่ ๆ ยังหันมาลุยแนวนี้กันเยอะขึ้น เป็นไปได้น้อยมาก ที่คู่แข่งหน้าใหม่จะรอดพ้น

แฟนเกมเริ่มเอียนกับเกมแนว Live Services


และอีกปัญหาสำคัญไม่ใช่อะไรอื่น แต่เป็นตัวผู้เล่นอย่างเรา ๆ เนี่ยแหละ เรากำลังอยู่ในยุคที่มีเกมใหม่เปิดตัวกันแทบจะรายเดือน หรือรายสัปดาห์เลยทีเดียว ทำให้เรามีตัวเลือกในการเล่นเยอะมาก ถ้าไม่นับเกมหลัก ๆ ที่มียอดผู้เล่นสูง ซึ่งเป็นเกมที่เราเล่นกันประจำอยู่แล้ว คงเป็นการยากที่เราจะลองเปิดใจไปลองเกมใหม่ ๆ ด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ตาม ทั้งขี้เกียจโหลด ขี้เกียจลอง ขี้เกียจเล่น และอื่น ๆ อีกมากมาย

เกมแนว Live Services เป็นเกมที่เล่นแล้วไม่จบเลย แต่เราต้องหมั่นเข้ามาเล่นบ่อย ๆ ตามคอนเทนต์ใหม่ ๆ หรือบางเกมอาจเป็นเรื่องของการฝึกฝีมือ และตัวเกมประเภทนี้จะพยายามใส่ระบบที่ทำให้ผู้เล่นเกิดอาการ FOMO (Fear of Missing Out) หรืออาการกลัวที่จะพลาดอะไรบางอย่างไป ทำให้ต้องเข้ามาเล่นตลอด หรือเติมเงินตลอด ซึ่งหากคอนเทนต์เกมไม่แน่นพอ ของใหม่ไม่ดีพอ เราก็อาจจะเลิกเล่น ส่งผลให้ยอดผู้เล่นหายไปเรื่อย ๆ นี่จึงเป็นความเสี่ยงของเกม Live Services คือมัดคนเล่นได้ไม่นานพอ บวกกับการแข่งขันที่สูงลิ่ว 

ด้วยปัจจัยทั้งหมดทั้งมวลเหล่านี้ ไม่แน่ว่าเกม Live Services ใหม่ ๆ อาจเปิดตัวน้อยลงอย่างมาก และเกมที่เหลืออยู่ ก็ต้องต่อสู้ อัปเดตใหม่ รักษายอดผู้เล่นเอาไว้ต่อไป และทิศทางในอนาคตเราก็ต้องรอติดตามกันต่อไปเช่นกัน ว่าเกมแนว Live Services จะตายไปจริง ๆ หรือไม่


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] เกมออนไลน์ กำลังจะตายจริงหรือไม่ เมื่อเทรนด์เกม Live Services กำลังมาถึงทางตัน
14/07/2023

คำว่าเกมออนไลน์ หากพูดในยุคปัจจุบันกับยุคก่อน อาจจะดูกลายเป็นคนละแนวเกมกันไปเลย สำหรับเกมออนไลน์ในสมัยก่อนนั้น อาจหมายถึงเกมดัง ๆ ที่เหล่าผู้ให้บริการในไทย ไปเซ็นสัญญามาเปิดให้บริการ และเปิดให้เล่นกันในรูปแบบภาษาไทย ได้พบเจอสังคม เพื่อนฝูงในโลกออนไลน์ ที่หลายคนต่อยอดมาเป็นมิตรภาพจากเกมจวบจนปัจจุบัน แต่ในทุกวันนี้ เกมออนไลน์อาจหมายถึงรูปแบบการเปิดตัวเกมแบบเน้นระบบออนไลน์ มีการอัปเดตเนื้อหา คอนเทนต์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หรือที่เรามักจะได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า Live Services


แต่ด้วยการแข่งขันที่สูงขึ้น ปัจจุบันเกมออนไลน์ หรือ Live Services หลายเกม ก็ทำได้แค่เป็นกระแสลมแผ่วเบา พัดผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่อาจสั่นคลอนบัลลังก์เกมยักษ์ใหญ่ที่ตั้งตัวไว้ได้ดีแล้วได้ ทำให้หลายคนมองว่ากระแสเกม Live Services กำลังจะหมดไป และนี่คือหัวข้อที่เราจะมาพูดถึงกันในวันนี้ ว่าเกม Live Services ใหม่ ๆ กำลังไร้ที่ยืน จริงหรือไม่

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนสำหรับเกม Live Services สำหรับประเภทเกมนี้นั้น ในวงการเกมจะเรียกกันอย่างเป็นทางการว่า Games as a service (เรียกย่อ ๆ ว่า GaaS) ในวงการอุตสาหกรรมเกมจะเข้าใจถึงโมเดลเกมแนวนี้ว่า เป็นเกมที่จะคอยอัปเดตหรือเพิ่มเนื้อหาของตัวเกมเพื่อสร้างรายได้แบบต่อเนื่อง คล้าย ๆ กับการเปิดให้ซื้อซอฟต์แวร์สักอัน แล้วก็คอยอัปเดตเข้าไปเรื่อย ๆ แต่กับเกมจะมีการขายของใหม่ เนื้อหาใหม่เพิ่มขึ้นก็แล้วแต่เกมใดว่าจะทำแบบไหน ทำให้มันเป็นเกมในระยะยาว ไม่จบหรือหมดคอนเทนต์ทันทีเมื่อเกมเปิดตัว 


ย้อนไปสมัยแรกเริ่มเลย เกมที่เข้าข่ายว่าเป็นเกม GaaS เกมแรก ๆ ก็คือเกม MMO ชื่อดังอย่าง World of Warcraft ที่เป็นรูปแบบจ่ายเงินรายเดือน และผู้พัฒนาก็นำรายได้บางส่วนจากตรงนั้นไปพัฒนาคอนเทนต์และเนื้อหาใหม่ ๆ เพิ่ม ซึ่งโมเดลนี้ก็เริ่มได้รับความนิยมสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งค่ายเกมใหญ่ ๆ เริ่มหันมาทำตาม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น Tencent หรือแม้กระทั่ง Valve ที่ลองเชิงกับ Team Fortress 2 ด้วยการใช้บริการ GaaS นี้ มาอัปเดต Gold Rush ให้กับเกม เพื่อดึงเอาฐานแฟนกลับคืนมา หลังจากที่ยอดผู้เล่นเริ่มลดลง และมาใช้แบบเต็ม ๆ กับ CS:GO รวมไปถึง DotA 2 เพื่อแข่งขันกับ League of Legends ที่กำลังมาแรงสุด ๆ ในช่วงนั้น


GaaS ยังเป็นจุดกำเนิดระบบยิบย่อยอื่น ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Subscription หรือการจ่ายเงินแบบรายเดือนเพื่อรับไอเทมในระยะยาวที่ตอนนี้หลายคนน่าจะชินกันแล้ว รวมไปถึงระบบ Microtransaction หรือไอเทมจำพวกแพคเกจ Loot Box ต่าง ๆ และยังกลายมาเป็นจุดกำเนิดระบบยอดนิยมอย่าง Season Pass / Battle Pass ด้วย เรียกได้ว่า Games as a Service นั้น เป็นจุดกำเนิดของระบบหลาย ๆ ระบบเลยทีเดียว และส่วนใหญ่แล้วเกมประเภทนี้มักจะทำมาให้เล่นกันแบบ Free to Play หรือเปิดให้เล่นฟรี แล้วจ่ายเงินซื้อของในเกมไปเรื่อย ๆ ทีมพัฒนาก็จะปล่อยคอนเทนต์ใหม่ออกมาเรื่อย ๆ เช่นกัน

เหตุใด เกมออนไลน์ แบบ GaaS ถึงกำลังจะตาย


ก่อนอื่นเราต้องเท้าความกันสักหน่อยว่า ในช่วง 3-4 ปีหลังมานี้ เกมประเภท GaaS นั้น มีออกมากันเยอะมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นเกมแบบเล่นฟรี หรือเกมขายก็ตาม นับตั้งแต่เกมอย่าง PUBG หรือ Fortnite เข้ามาเป็นใหญ่ในพื้นที่ของเกมแนวนี้ มันก็เหมือนจุดประกายไอเดียของทีมผู้พัฒนาว่า เกมแบบนี้แหละ ทำง่าย หาเงินง่าย ขายง่ายอีกต่างหาก เปิดเล่นฟรี เปิดระบบเติมเงิน โกยคนช่วงแรกรัว ๆ ทำให้เกมประเภทนี้ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด เริ่มจากเกมแบบทำมาขายในรูปแบบ Early Access โดยหวังว่าจะนำเงินรายได้ไปพัฒนาต่อ

ยกตัวอย่างเช่น Island of Nyne เกมที่อ้างว่าเอาเกมเมอร์สายยิงตัวจริงมาพัฒนาเพื่อความสนุก ความเข้มข้นของตัวเกม และวางจำหน่ายแบบ Early Access ในปี 2018 ก่อนเกมจะโดนสวดยับเรื่องคุณภาพ และเซิร์ฟเวอร์ สุดท้ายตัวเกมก็เงียบกริบ และปิดตัวไปอย่างเงียบ ๆ ก่อนที่สตูดิโอพัฒนาเกมจะปิดตัวลงในปีเดียวกันนั้นเอง ซึ่งในช่วงปี 2018-2019 นั้น มีเกม Battle Royale และเกมที่พยายามจะเป็น Live Services จำนวนมาก เปิดตัวและปิดตัวลงในเวลาอันรวดเร็ว อันเกิดจากกระแสของความมาแรงของ PUBG และ Fortnite 


หรือจะเอาใหม่หน่อยก็ย้อนไปในช่วงปี 2022-2023 นี้ เกมดังอย่าง Knockout City และ Rumbleverse ก็ทยอยปิดตัวลงไปตาม ๆ กัน ทั้ง ๆ ที่เกมได้รับคำวิจารณ์ในแง่บวก เกมเพลย์สนุก แต่ในเมื่อมันไม่เข้าถึงคนเล่น ก็เป็นอุปสรรคเช่นกัน จะเห็นได้ว่าการทำให้เกม Live Services โด่งดังได้ ตัวเกมเองก็ต้องเป็นที่รู้จัก และได้รับการยอมรับจากผู้เล่นด้วย การตลาดและการโปรโมทเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นสิ่งที่ผู้พัฒนาต้องพิจารณากันอย่างหนัก เพราะในการสร้างเกมสมัยนี้ บางเกมเลือกที่จะทุ่มงบโฆษณาและการโปรโมท มากยิ่งกว่าการพัฒนาเกมซะอีก

อีกปัญหาหนึ่งของเกม Live Services ที่จะเปิดตัวเอาในช่วงนี้ ต้องเจอกับยักษ์ใหญ่ที่ครองบัลลังก์อยู่ก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Apex Legends, Fortnite หรือถ้าเป็นสายเกม MMO ก็อาจจะมีทั้ง Genshin Impact, Honkai Impact และอื่น ๆ รวมไปถึงการผันตัวสู่โมเดลการเป็นเกมเล่นฟรีของเกมยักษ์ใหญ่อย่างเช่น PUBG หรือ NARAKA: BLADEPOINT ที่พอทำยอดขายหรือรายได้ในจุดที่ต้องการแล้ว ก็ปรับเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นเกม Free to Play เพื่อดึงฐานคนเล่นให้สูงขึ้น เพราะเกมดัง ๆ แบบนี้ ยังไงก็มีฐานแฟน และเข้าถึงคนได้มากขึ้นอยู่แล้ว จึงยิ่งเป็นการยากเข้าไปอีกที่บริษัทเกม หรือทีมทำเกมหน้าใหม่จะเข็นเกมที่มีคุณภาพออกมาสู้เกมเหล่านี้ได้ ทำให้ในระยะหลังมานี้ ตลาดเกมแนว Live Services จะไม่ค่อยมีเกมใหม่ ๆ ออกมาให้เราเห็น แต่จะเป็นค่ายเก่า ค่ายดังที่มีชื่อเสียงพออยู่แล้ว หันมาทำเกมแนวนี้ หรือเปลี่ยนรูปแบบเกมในค่ายของตัวเองไป


ดังนั้น หากบอกว่ามันกำลังจะตายก็อาจจะไม่ถูกต้องซะทีเดียว แต่เกมที่เกิดใหม่ต่อจากนี้ได้จะมีน้อยมาก ๆ เพราะจากที่แต่ก่อนไร้คู่แข่ง แต่เมื่อเกมแนวนี้ออกมาล้นตลาด แถมค่ายเกมใหญ่ ๆ ยังหันมาลุยแนวนี้กันเยอะขึ้น เป็นไปได้น้อยมาก ที่คู่แข่งหน้าใหม่จะรอดพ้น

แฟนเกมเริ่มเอียนกับเกมแนว Live Services


และอีกปัญหาสำคัญไม่ใช่อะไรอื่น แต่เป็นตัวผู้เล่นอย่างเรา ๆ เนี่ยแหละ เรากำลังอยู่ในยุคที่มีเกมใหม่เปิดตัวกันแทบจะรายเดือน หรือรายสัปดาห์เลยทีเดียว ทำให้เรามีตัวเลือกในการเล่นเยอะมาก ถ้าไม่นับเกมหลัก ๆ ที่มียอดผู้เล่นสูง ซึ่งเป็นเกมที่เราเล่นกันประจำอยู่แล้ว คงเป็นการยากที่เราจะลองเปิดใจไปลองเกมใหม่ ๆ ด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ตาม ทั้งขี้เกียจโหลด ขี้เกียจลอง ขี้เกียจเล่น และอื่น ๆ อีกมากมาย

เกมแนว Live Services เป็นเกมที่เล่นแล้วไม่จบเลย แต่เราต้องหมั่นเข้ามาเล่นบ่อย ๆ ตามคอนเทนต์ใหม่ ๆ หรือบางเกมอาจเป็นเรื่องของการฝึกฝีมือ และตัวเกมประเภทนี้จะพยายามใส่ระบบที่ทำให้ผู้เล่นเกิดอาการ FOMO (Fear of Missing Out) หรืออาการกลัวที่จะพลาดอะไรบางอย่างไป ทำให้ต้องเข้ามาเล่นตลอด หรือเติมเงินตลอด ซึ่งหากคอนเทนต์เกมไม่แน่นพอ ของใหม่ไม่ดีพอ เราก็อาจจะเลิกเล่น ส่งผลให้ยอดผู้เล่นหายไปเรื่อย ๆ นี่จึงเป็นความเสี่ยงของเกม Live Services คือมัดคนเล่นได้ไม่นานพอ บวกกับการแข่งขันที่สูงลิ่ว 

ด้วยปัจจัยทั้งหมดทั้งมวลเหล่านี้ ไม่แน่ว่าเกม Live Services ใหม่ ๆ อาจเปิดตัวน้อยลงอย่างมาก และเกมที่เหลืออยู่ ก็ต้องต่อสู้ อัปเดตใหม่ รักษายอดผู้เล่นเอาไว้ต่อไป และทิศทางในอนาคตเราก็ต้องรอติดตามกันต่อไปเช่นกัน ว่าเกมแนว Live Services จะตายไปจริง ๆ หรือไม่


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header