GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
Review: รีวิวเกม Death Stranding "เกมจำลองชีวิตบุรุษไปรษณีย์ในโลก Post-Apocalypse"
ลงวันที่ 01/11/2019

เป็นที่จับตามองมาตลอดตั้งแต่เปิดตัวแล้วกับเกม Death Stranding เกมแอคชั่นสุดลึกลับใหม่ล่าสุดจากตัวพ่อแห่งวงการพัฒนาเกมคุณ ฮิเดโอะ โคจิม่า ที่วางมือจากการพัฒนาเกมซีรี่ส์ Metal Gear มาสร้างเกมซีรี่ส์ใหม่เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี โดยตลอดระยะเวลา 2-3 ปีตั้งแต่ที่เกมเปิดตัวครั้งแรกในงาน E3 2016 เกมก็ได้รับการกล่าวขานถึงความน่าพิศวงของเนื้อเรื่องและเกมเพลย์มาโดยตลอด แม้ว่าผู้พัฒนาจะเริ่มเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเกมมากขึ้นแล้วในช่วงก่อนวางจำหน่าย แต่ผู้เล่นหลายคนก็ยังได้แต่งงว่าสรุปแล้วเกมเป็นเกมแนวไหน เล่นยังไงกันแน่ และฉากคัตซีนของเกมที่เปิดเผยออกมาในตัวอย่างทั้งหลายจะปะติดปะต่อกันเป็นเนื้อเรื่องแบบไหน



หลังจากที่ได้เล่นเกม Death Stranding จนจบเนื้อเรื่อง (ขอบคุณ Sony Interactive Entertainment สำหรับโค้ดที่ใช้รีวิวเกมล่วงหน้า) ผู้เขียนพูดได้เลยว่าเกม Death Stranding ถือเป็นเกมที่สร้างนวัตกรรมใหม่ในการเล่นเกมแบบ Connected Single Player (การเล่นเกมคนเดียวแต่เชื่อมต่อกับผู้อื่นตลอดเวลา) ที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ด้วยระบบเกมที่ทำให้ทุกการกระทำของผู้เล่นส่งผลไปยังโลกในเกมของผู้เล่นคนอื่น อย่างมีนัยยะสำคัญ พร้อมด้วยลีลาการเล่าเรื่องที่น่าติดตามอันเป็นลายเซ็นของคุณโคจิม่าผู้สร้าง ทำให้เกม Death Stranding เป็นเกมที่น่าสนใจเสมอตลอดระยะเวลากว่า 30-40 ชั่วโมงที่ผู้เขียนใช้ในการผ่านเนื้อเรื่อง

แต่ในขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกมเพลย์ของ Death Stranding นั้นคงไม่ใช่เกมเพลย์ที่น่าสนุกสำหรับทุกคน ดังที่เขียนไปในหัวบทความว่าเกมเป็น "เกมจำลองชีวิตบุรุษไปรษณีย์ในโลก Post-Apocalypse" เกมเพลย์ของ Death Stranding จะวนเวียนอยู่กับการขนพัสดุต่างๆ จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งตลอดทั้งเกม และมีส่วนที่เป็นเกมแอคชั่นเบาๆ อยู่เพียงประปรายเท่านั้นตลอดระยะเวลาการเล่นส่วนใหญ่



มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะถามว่าแปลว่าเกมน่าเบื่อหรือเปล่า คำตอบที่ผู้เขียนให้ได้ดีที่สุดคือเกมไม่ได้น่าเบื่อ แต่ก็อาจจะไม่ได้ สนุก ในลักษณะเดียวกับเกมส่วนใหญ่ๆ ในตลาดเช่นเดียวกัน คำจำกัดความที่ผู้เขียนรู้สึกว่าถ้าจะใช้คำที่เหมาะสมกว่า สนุก น่าจะเป็นคำว่า เพลิน มากกว่า เพราะแม้ว่าเกมเพลย์ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงการนำพัสดุไปส่ง แต่ก็มีระบบยิบย่อยต่างๆ อย่างการบริหารน้ำหนักกระเป๋าสะพาย หรือการตามหาทรัพยากรต่างๆ มาใช้เพื่อสร้างอุปกรณ์และเครื่องอำนวยความสะดวกทั้งหลาย ทำให้การส่งของทุกครั้งจำเป็นต้องใช้ความละเอียดอ่อนในแง่ของการวางแผน แถมเนื้อเรื่องของเกมยังทำออกมาได้อย่างมีคุณภาพและน่าติดตาม เหมือนเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เล่นออกไปทำภารกิจเพื่อปลดล็อคเนื้อเรื่องต่อไปเรื่อยๆ นั่นเอง เกม Death Stranding อาจจะไม่ได้เน้นเกมเพลย์ที่ตื่นเต้นเร้าใจตลอดเวลา แต่ก็เพลิดเพลิน เล่นได้เรื่อยๆ รวมไปถึงภายในเกมที่มีศัตรูให้สู้อยู่บ้าง ในรูปแบบของโจร ผู้ก่อการร้าย และเหล่าผี BT รูปแบบต่างๆ แต่ก็ไม่ได้มีบ่อยนัก




◊ เนื้อเรื่อง ◊


เนื้อเรื่องของเกม Death Stranding นั้นจะเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาในโลกหลังอารยธรรมล่มสลาย เมื่อประชากรมนุษย์ต้องเผชิญกับปรากฏการณ์ปริศนาในชื่อ Death Stranding ส่งผลให้โลกแห่งความตายล้นทะลักเข้าสู่โลกของคนเป็น ทำให้เหล่าคนตายหรือพวกผีที่เกมเรียกว่า BT ออกอาละวาดจู่โจมผู้คน และทำให้เกิดฝนเวลาที่เรียกว่า Time Fall ซึ่งจะดูดเวลาของคนที่โดนฝนไปเรื่อยๆ ทำให้มนุษย์ที่ตากฝนเป็นระยะเวลาเพียงสั้นๆ ถึงกับแก่ตายไปในพริบตาได้เลย

เพื่อหลีกเลี่ยงภัยอันตรายอันใหญ่หลวงทั้งสอง มนุษย์ที่ยังเหลือรอดจึงถูกบังคับให้ต้องใช้ชีวิตอยู่ในแหล่งหลบภัยใต้ดินที่กระจัดกระจายอยู่รอบๆ ประเทศ ในขณะที่สิ่งปลูกสร้างตั้งแต่อาคารไปจนถึงถนนบนดินเกือบทั้งหมดที่เคยมีถูกฝน Time Fall ชำระล้างไปจนไม่เหลือแม้แต่ซาก คนทั่วไปจึงต้องพึ่งพากลุ่มคนส่งของที่เกมเรียกว่า Porter เป็นหนทางหลักในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนทรัพยากรกันระหว่างแหล่งหลบภัยแต่ละที่นั่นเอง ถึงอย่างนั้น กระทั่งชาว Porter นี้ก็ยังต้องเอาตัวรอดจากฝน Time Fall และเหล่า BT ด้วยในระหว่างการเดินทาง ทำให้การสื่อสารและส่งของด้วยวิธีดังกล่าวมีความเสี่ยงมาก ทำให้แหล่งหลบภัยแต่ละที่แทบจะตัดขาดออกจากกันโดยสิ้นเชิง



ผู้เล่นจะได้รับบทเป็นตัวละครหลัก Sam Bridges (รับบทโดย Norman Reedus) บุรุษส่งของในตำนานผู้รักสันโดษ เขาถูกมอบหมายภารกิจสำคัญโดยประธานาธิบดีคนสุดท้ายของอเมริกาในการเชื่อมต่อแหล่งหลบภัยเข้าด้วยกัน ผ่านเครือข่าย Chiral Network ในเกมนี้เปรียบเสมือนอินเตอร์เน็ตที่ทำให้สามารถส่งทั้งข้อความและทรัพยากรที่ไม่มีชีวิต เช่นเหล็ก กระเบื้อง หรือปูนไปหากันระหว่างแหล่งหลบภัยแต่ละที่ได้ เพื่อเชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกันและทำให้อเมริกากลายเป็นประเทศที่รวมตัวกัน หรือสหรัฐ(United) อีกครั้ง ผ่านภารกิจในการเดินทางไปยังแหล่งหลบภัยทั่วอเมรีกา เพื่อเชื่อมต่อทุกคนเข้าด้วยกัน แต่ไหนๆ จะลำบากเดินทางไกลแล้ว จะไปตัวเปล่าก็น่าเสียดาย เกมจึงมักจะให้ Sam นำพัสดุจากแหล่งหลบภัยหนึ่งไปส่งที่แหล่งหลบภัยอื่นต่อไปเรื่อยๆ ด้วย จะได้ไม่เสียเที่ยว จึงเป็นที่มาของเกมเพลย์ "จำลองชีวิตบุรุษไปรษณีย์" ของเกมนั่นเอง

(เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงสปอยให้มากที่สุด เราจะไม่ขอพูดถึงรายละเอียดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเนื้อเรื่องนอกจากบทย่อ แต่จะขอพูดถึงความรู้สึกโดยรวมที่ได้รับจากเนื้อเรื่องมากกว่า)



การติดตามปะติดปะต่อเนื้อเรื่องของ Death Stranding ในช่วงต้นของเกมนั้นค่อนข้างยาก ส่วนหนึ่งมาจากลวดลายการเล่าเรื่องของคุณโคจิม่า ที่ค่อยๆ เปิดปริศนาและตัวละครใหม่ไปเรื่อยๆ พร้อมกับการคลี่คลายปริศนาเก่าๆ ทำให้ผู้เล่นเกิดคำถามในหัวตลอดเวลา แถมยังกั๊กการคลายปมทั้งหมดไปไว้ช่วงท้ายสุดของเกม อีกส่วนมาจากการที่เกมมักจะใช้ศัพท์ค่อนข้างยาก ทั้งคำศัพท์ที่มีอยู่จริงและคำศัพท์ไซไฟต่างๆ จนบางครั้งก็ตามไม่ทันเหมือนกันว่าตอนนี้ตัวละครกำลังพูดถึงอะไรกันอยู่ แต่ถึงอย่างนั้น เหล่าปริศนาที่เกมยกขึ้นมาก็น่าสนใจมากพอที่จะทำให้ผู้เขียนรู้สึกอยากรีบเล่นต่อเพื่อไขปริศนาของเกมอยู่เสมอเช่นกัน

เคยมีคำพูดจากคุณ ชูเฮย์ โยชิดะ (ประธานบริษัท Sony Interactive Entertainment ผู้ดูแลเกม Exclusive ของ PS4 ทั้งหมด) ที่บรรยายการเล่าเรื่องของเกม Death Stranding เป็นเหมือน ซีรี่ส์ทาง Netflix ที่มีคุณภาพสูงเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นคำจำกัดความที่ดีสำหรับเกม Death Stranding ที่เล่าเนื้อเรื่องในลักษณะเป็น Episode หรือเป็นตอนๆ แต่ละตอนจะมีความเกี่ยวข้องกับตัวละครสำคัญแต่ละตัวที่ผู้เล่นพบเจอระหว่างทาง แก่นหลักของเรื่องมักจะมีความเกี่ยวข้องกับธีมของความเป็นความตาย และจิตวิญญาณ รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนเป็นและคนตาย ซึ่งโคจิม่าเขียนบทออกมาได้หนักแน่นและน่าดึงดูด นอกจากนี้การแสดงของเหล่าดาราระดับฮอลลีวู้ดมากมายยังส่อิทธิพลให้การเคลื่อนไหวและสีหน้าของตัวละครมีความละเอียดในระดับที่ยังหาเกมอื่นเทียบได้ยาก ถ้า Call of Duty: Modern Warfare ภาคใหม่ไม่ออกมาซะก่อน ผู้เขียนคงพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำไปแล้วว่านี่คือเกมที่ใช้เทคโนโลยีการแสกนและ Motion Capture ใบหน้านักแสดงได้ดีที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาเลยทีเดียว (ตอนนี้ถือว่าสูสีกัน)



ถึงอย่างนั้น เนื้อเรื่องของ Death Stranding เหมือนจะถูกออกแบบมาให้เล่นให้จบในเวลาที่สั้นที่สุด เช่นเดียวกับซีรี่ส์ Netflix ที่มักจะปล่อยออกมาพร้อมกันทีเดียวโดยหวังให้ผู้ชมนั่งดูหนึ่งรวดจบ เพราะทุกรายละเอียดมีความหมายในภาพรวม เหตุการณ์ตอนต้นอาจมีนัยยะสำคัญมากในช่วงท้ายเรื่อง ทำให้ถ้าเว้นระยะการเล่าเรื่องระหว่างฉากนานเกินไปอาจจะส่งผลให้ผู้เล่นรู้สึกขาดตอนได้ เหมือนบางทีก็ลืมไปแล้วว่าตอนต้นเรื่องที่เราเล่นไปเมื่อ 30 กว่าชั่วโมงที่แล้วมีรายละเอียดยังไงบ้าง โดยเกมมักจะเล่ารายละเอียดเรื่องราวต่างๆ ออกมาในคัตซีนและการสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่าง Sam และตัวละครอื่นในระหว่างที่เดินทางอยู่ ซึ่งบางจังหวะก็ทำให้พลาดข้อมูลสำคัญไปได้ง่ายๆ เพราะมัวแต่พยายามปีนเขาอยู่ เป็นต้น หรืออาจจะมีระยะการเดินทางไกลและใช้เวลา ทำให้หลงลืมรายละเอียดบางส่วนที่เพิ่งรับรู้มาระหว่างที่พยายามจัดการกับการเล่นเกมจริงๆ

กล่าวโดยสรุปว่าเนื้อเรื่องของ Death Stranding มีความลึกซึ้งและน่าค้นหามาก บทพูดเองก็เขียนมาดีระดับหนังฮอลลีวู้ดแม้จะเข้าใจยากในบางจุด แถมแก่นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเป็น ความตาย และความสัมพันธ์ยังสื่อออกมาได้อย่างแยบยลผ่านทั้งบทสนทนา การแสดง และ Art Direction หรือการออกแบบศิลป์ของเกม ที่ล้วนแต่ช่วยเสริมกันและกันได้อย่างพอดีผ่านวิสัยทัศน์ของคุณโคจิม่า แต่ด้วยรายละเอียดในเนื้อเรื่องที่ถูกขั้นโดยเกมเพลย์ ทำให้การติดตามปะติดปะต่อปริศนาต่างๆ ค่อนข้างยาก เหมือนคุณโคจิม่ากำลังพยายามเขียนหนังที่สามารถเสพได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง มากกว่าเกมที่อาจจะต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์เพื่อเล่นให้จบ และไม่สามารถย้อนกลับไปดูตอนก่อนหน้าได้




◊ เกมเพลย์ ◊


สำหรับเกมเพลย์ของ Death Stranding นั้นจะมีลักษณะเป็นวงจร เริ่มจากการรับภารกิจจากแหล่งหลบภัยหนึ่ง เลือกจัดพัสดุและอุปกรณ์ ก่อนที่จะออกเดินทางไปยังแหล่งหลบภัยต่อไปเพื่อส่งพัสดุและดำเนินเนื้อเรื่องต่อไปนั่นเอง

แม้ว่าในภาพใหญ่แล้ว เกมเพลย์ของ Death Stranding จะเป็นการนำของจากจุด A ไปส่งจุด B เท่านั้น แต่การส่งของแต่ละครั้งก็มีความละเอียดอ่อนในด้านการวางแผนที่ต้องพิจารณามากมายด้วย สิ่งแรกที่ผู้เล่นจะต้องทำคือการเลือกว่าจะบรรทุกพัสดุไปส่งอย่างไร โดยผู้เล่นจะสามารถเลือกที่จะแบกพัสดุไว้บนหลังก็ได้ถ้าชิ้นใหญ่ หรือถ้าชิ้นเล็กหน่อยก็อาจจะแขวนไว้บนราวที่ติดมากับชุดก็ได้ นอกจากนี้ ผู้เล่นยังต้องเลือกว่าจะนำอุปกรณ์อะไรติดตัวไปใช้ระหว่างเดินทางบ้าง ไม่ว่าจะเป็นบันไดพับ เชือกปีนเขา ตลอดจนอาวุธและยาเพิ่มเลือดต่างๆ ซึ่งผู้เล่นสามารถสร้างได้โดยการใช้ทรัพยากรต่างๆ การเลือกตำแหน่งการบรรทุกของเหล่านี้มีความสำคัญมากๆ เพราะถ้าเกลี่ยน้ำหนักของสิ่งของที่แบกอยู่ให้สมดุลทุกด้าน หรือแบกของหนักเกินไป อาจจะทำให้ตา Sam หกล้มระหว่างทางได้ ซึ่งก็จะทำให้พัสดุตกหล่นเสียหายและส่งผลลบต่อการประเมินหลังทำภารกิจด้วย



เมื่อจัดแจงของเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการออกเดินทางเพื่อนำของไปส่งนั่นเอง ผู้เล่นก็ต้องพิจารณาว่าจะเลือกใช้เส้นทางไหนในการเดินทางบ้างซึ่งในจุดนี้ก็อาจจะทำให้ประสบการณ์การเล่นเกมของผู้เล่นสองคนต่างกันอย่างมากเลยก็ได้  อย่างผู้เขียนเป็นคนที่ชอบเดินทางเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ทำให้บางครั้งก็ต้องเผชิญกับสภาพภูมิประเทศที่ไม่เป็นมิตร อย่างการข้ามภูเขาหิมะหรือเหว ในขณะที่ผู้เล่นอีกคนอาจจะเลือกที่จะใช้เส้นทางที่อ้อมกว่าแต่ภูมิประเทศมีความราบเรียบเดินทางสะดวกกว่า โดยผู้เล่นจะสามารถสำรวจภูมิประเทศด้วยการเปิดแผนที่ดู หรือจะใช้ตัว Odradek Scanner ที่ติดไหล่ตัวเอกเพื่อแสกนพื้นที่ด้านหน้าเพื่อหาเส้นทางที่น่าเดินทางไปมากที่สุดซึ่งก็ทำให้การเดินทางของทุกคนต่างกันไปด้วย



สิ่งที่น่าสนใจอย่างแรกเกี่ยวกับการเล่นเกมก็คือระบบการแบ่งสิ่งของและสิ่งปลูกสร้างของผู้เล่นต่างๆ ที่จะทำให้สิ่งที่ผู้เล่นต่างๆ สร้างเอาไว้ในโลกของตัวเองถูกส่งไปอยู่ในโลกของผู้เล่นคนอื่นๆ ด้วย เช่นผู้เล่น A อาจจะสร้างสะพานเอาไว้ตรงจุดหนึ่ง ผู้เล่น B ก็จะสามารถมองเห็นและใช้สะพานนั้นได้ราวกับมันมีอยู่ในเกมมาตั้งแต่ต้น นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถร่วมมือกันเพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้างอย่างถนน บ้านพัก หรือที่ชาร์จแบตเตอรี่ส่วนตัวด้วยการนำวัตถุดิบอย่างเหล็กหรือกระเบื้องมาใส่เข้าในเครื่อง หรือกระทั่งส่งของให้กันผ่านทางตู้เก็บของก็ยังได้ ซึ่งแม้ว่าผู้เล่นทั้งหลายจะไม่ได้พบเจอกันหรือสามารถปฏิสัมพันธ์กันได้โดยตรง แต่ทุกคนก็สามารถร่วมมือกันเพื่อฝ่าฟันอุปสรรคได้ เสมือนว่าเกมต้องการจะสื่อว่าแม้ว่าเราจะเหมือนอยู่คนเดียวในเกมตลอดการเดินทางข้ามทวีป แต่แท้ที่จริงแล้วเราก็มีแรงเกื้อหนุนจากเหล่าผู้เล่นคนอื่นที่กรุยทางมาให้ก่อนแล้ว



ระหว่างการเดินทาง เราจะสามารถพบเจอกับพัสดุที่เหล่าผู้เล่นหรือ NPC ทำตกหล่นเอาไว้ได้ (ของที่เราทำหล่นไว้ก็จะสามารถมีผู้เล่นอื่นมาเก็บไปส่งได้เช่นกัน) ซึ่งเราสามารถนำของเหล่านี้ไปส่งตามแหล่งหลบภัยต่างๆ เพื่อเก็บค่าความสามารถให้ Sam เช่นแบกน้ำหนักได้มากขึ้น หรือทำให้พัสดุเสียหายน้อยลงเวลาล้มเป็นต้น นอกจากนี้ เรายังสามารถพบกับกล่องวัตถุดิบหลากชนิด ระหว่างทางได้ด้วย ซึ่งกล่องเหล่านี้ก็สามารถเก็บมาบริจาคคืนแหล่งหลบภัยเพื่อสะสมไว้สร้างอุปกรณ์หรือกระทั่งยานพาหนะได้

ระบบเกมเพลย์การขนของนี้อาจจะฟังดูยุ่งยาก (ซึ่งเอาเข้าจริงก็แอบยุ่งยากอ่ะแหละ) แต่ก็มีความท้าทายในแบบของมันเองอยู่ด้วย ผู้เล่นจะต้องใส่ใจกับสภาพแวดล้อมของตัวเองเสมอ โดยเฉพาะเวลาที่ขนพัสดุขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมากๆ นอกจากนี้ยังต้องคอยสังเกติตา Sam ตลอดเวลาไม่ให้ล้มจนของเสียหายด้วยการกด R2 หรือ L2 ค้างเอาไว้เพื่อถ่ายน้ำหนักไปทางขวาหรือซ้ายอยู่เรื่อยๆ แถมการเลือกเส้นทางเดินก็มีความสำคัญ เพราะต้องคำนึงถึงข้อจำกัดของพัสดุ เช่นห้ามเปียกน้ำหรือห้ามเสียหาย หรือบางภารกิจอาจจะมีจำกัดเวลาด้วยว่าต้องไปส่งให้ได้ในเวลาเท่าไหร่ ทำให้เกมยังคงต้องใช้ความใส่ใจในการเล่น มากกว่าแค่เดินไปเรื่อยเปื่อย



แต่นอกจากภูมิประเทศที่ไม่เป็นมิตรแล้ว อีกสองอุปสรรคใหญ่ๆ ที่ทำให้การใช้ชีวิต Porter ของตา Sam มีความลำบากก็คือเหล่าศัตรูที่เป็นมนุษย์อย่างโจรกับผู้ก่อการร้าย และเหล่าศัตรูที่เป็นผี BT นั่นเอง โดยศัตรูทั้งสองชนิดนี้จำเป็นต้องใช้การรับมือที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และมักจะถูกวางเอาไว้ในจุดที่หลบเลี่ยงลำบากเสมอๆ เหล่าศัตรูที่เป็นมนุษย์จะสามารถใช้วิธีแบบเกมแอคชั่นในการรับมือ เช่นการต่อยให้สลบหรือใช้ปืนยิง หรือการลอบเร้นด้วยการหลบในพงหญ้าเพื่อเก็บศัตรูอย่างเงียบๆ เป็นต้น โดยคนที่เคยเล่นเกมอย่าง Metal Gear Solid 5: Phantom Pain มาก่อนน่าจะรู้ว่า A.I. ในเกมของคุณโคจิม่านั้นฉลาดมากๆ แม้ว่าเหล่าศัตรูมนุษย์ในเกมนี้อาจจะไม่ได้เก่งเท่าใน Metal Gear แต่ก็ค่อนข้างฉลาด จะหลบในพงหญ้าแล้วแอบเก็บง่ายๆ ทีละตัวนี่อย่าหวังเลย



ในขณะเดียวกันเหล่า BT มักจะพบได้ในจุดที่มีฝน Time Fall ตกหนัก และเกมจะหยุดเตือนเราทุกครั้งเมื่อเราเข้าใกล้ BT ถึงระยะหนึ่ง โดยจะเป็นเหมือนอุปสรรคทางภูมิประเทศมากกว่า เพราะส่วนใหญ่ศัตรูเหล่านี้มักจะบังคับให้ผู้เล่นเปลี่ยนวิธีหรือจังหวะในการเคลื่อนที่มากกว่าจะเป็นการเผชิญหน้ากันตรงๆ จนกว่าผู้เล่นจะทำเสียงดังหรือเดินชน BT เข้าให้ โดย BT จะส่งเสียงกรีดร้องออกมาเพื่อเตือน ก่อนที่จะพยายามดึงผู้เล่นลงสู่น้ำสีดำที่ซึมขึ้นมาจากพื้น โดยผู้เล่นจะมีโอกาสเอาตัวรอดด้วยการสลัดเหล่าวิญญาณคนตายที่โผล่ขึ้นมาดึงตัวเราและพาตัวเองออกไปจากวงน้ำสีดำให้ได้นั่นเอง ถ้าผู้เล่นถูกดึงลงสู่วงน้ำจะทำให้มีบอส BT ตัวใหญ่ๆ ออกมา ซึ่งเราต้องเอาชนะบอสให้ได้ ไม่ก็หนีออกจากพื้นที่วงน้ำสีดำให้ได้เพื่อเอาตัวรอด แต่ถ้าเอาชนะบอสลงได้นอกจากจะทำให้ฟ้าใสแล้ว ยังจะทำให้เราสามารถเก็บแร่ Chiral Crystal เพื่อใช้สร้างอุปกรณ์หรือสิ่งปลูกสร้างเป็นจำนวนมากได้ด้วย การถูก BT จับได้จึงอาจจะไม่ใช่เรื่องเลวร้ายซะทีเดียว ตราบใดที่เราสามารถเอาชนะบอสเหล่านั้นลงได้



องค์ประกอบสำคัญในการรับมือกับเหล่า BT ก็คือเด็กทารกที่อยู่บนอกของ Sam หรือ BB นั่นเอง โดย BB จะทำงานร่วมกับเครื่อง Odradek Scanner บนไหล่เราเพื่อบอกตำแหน่งของ BT ตัวที่ใกล้ที่สุด และทำให้เรามองเห็น BT ได้เมื่อหยุดอยู่กับที่ด้วย โดยผู้เล่นจะต้องคอยระวังไม่ให้ BB เครียดมากเกินไปจากการกระทำต่างๆ เช่นการเดินลุยน้ำหรือการเข้าใกล้ BT มากๆ รวมไปถึงการลื่นหกล้มอีกด้วย ผู้เล่นจะสามารถลดความเครียดของ BB ได้ด้วยการโอ๋เวลาน้องร้องไห้ แต่ถ้าปล่อยให้เครียดจนหลอดหมดก็จะทำให้เราไม่สามารถมองเห็นหรือจับตำแหน่งของ BT ได้จนกว่าจะพา BB ไปรักษาที่แหล่งหลบภัยที่ใกล้ที่สุด การดูแล BB จึงกลายเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ในระหว่างการเดินทาง เพราะเราไม่รู้เลยว่าเมื่อไหร่ฝนจะตกและเหล่า BT จะออกมาหากิน



ทั้งหมดทั้งมวลนั้น ไม่ต้องบอกก็คงพอจะนึกกันออกแล้วว่าระบบเกมเพลย์ของ Death Stranding มีความลึกมากๆ แม้ว่าสุดท้ายแล้วสิ่งที่ผู้เล่นจะต้องทำส่วนใหญ่จะเป็นเพียงการส่งของก็ตาม ซึ่งเกมอาจจะไม่ได้สนุกตลอดเวลาโดยเฉพาะเมื่อต้องเดินทางระยะไกลๆ โดยที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเท่าไหร่นัก แต่ในจังหวะที่ทุกอย่างลงตัวก็ต้องชมคุณโคจิม่าอีกครั้งที่ออกแบบทุกอย่างให้เข้ากันได้อย่างพอดี ระบบเกมเพลย์ทำให้การเดินทางส่งของม่ีความท้าทายและน่าสนใจมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะเมื่อเริ่มปลดล๊อคอุปกรณ์มากขึ้น และมีระบบการร่วมมือกันระหว่างผู้เล่นเข้ามาเสริม ทำให้การเล่นเกมมีความน่าสนใจมากขึ้น แถมยังถูกผูกเข้ากับแก่นของเรื่องที่พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และการเชื่อมต่อซึ่งกันและกันอีกด้วย อาจจะพูดได้ว่าแม้ว่าเราจะรู้สึกเหมือนเล่นเกมอยู่คนเดียว แต่เรากำลังร่วมมือกับผู้เล่นคนอื่นๆ เพื่อผ่านเกมไปด้วยกันอย่างไม่รู้ตัว




◊ กราฟิก/การนำเสนอ ◊


อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า Death Stranding น่าจะเป็นหนึ่งในเกมที่ใช้เทคโนโลยีการแสกนหน้านักแสดงและการ Motion Capture ท่าทางการขยับร่างกายได้ดีที่สุดเกมหนึ่ง บางคนอาจบอกว่าดีกว่าเกมที่ขึ้นชื่อเรื่องความสมจริงอย่าง Red Dead Redemption 2 ด้วยซ้ำ แม้ว่าสีหน้าของตัวละครเป็นอะไรที่สามารถถูกควบคุมได้ (ดังที่เห็นจากภาพมีม Photo Mode ทั้งหลาย) สิ่งที่ผู้เขียนรู้สึกประทับใจที่สุดน่าจะเป็นเรื่องแววตาตัวละคร ซึ่งสะท้อนความรู้สึกของนักแสดงออกมาได้เต็มที่ราวกับมีชีวิต ตาไม่ลอยเหมือน NPC ในเกมทั่วๆ ไปเลยแม้แต่น้อย



แน่นอนว่าความสมจริงทั้งหมดนี้ย่อมส่งผลให้การเล่าเรื่องในฉากคัตซีนต่างๆ มีคุณภาพสูงมาก ในบางมุมเกือบจะดูเหมือนภาพ Live-Action ด้วยซ้ำไป แต่ไม่ใช่เพียงแค่ตัวละครเท่านั้นที่สมจริงราวกับมีชีวิต โลกของเกมเองก็เช่นกัน แม้ว่าอเมริกาของเกมจะไม่ได้มีขนาดเท่าทวีปในชีวิตจริง (ไม่งั้นเล่นกันทั้งปีก็ไม่จบ) แต่ก็ยังใหญ่พอให้มีภูมิภาคต่างๆ ที่มีภูมิประเทศแตกต่างกันชัดเจน แถมเกมยังมีระยะการมองเห็น (Draw Distance) ที่กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ส่งผลให้รู้สึกตลอดเวลาว่าโลกของเกมมีความกว้างใหญ่ และทำให้ผู้เล่นรู้สึกได้ถึงความยากลำบากของตัวละครหลักในการฝ่าฟันระยะทางเพื่อไปให้ถึงจุดหมาย



อีกหนึ่งองค์ประกอบที่พูดถึงไปก่อนหน้านี้คือเรื่องของการออกแบบศิลป์หรือ Art Direction ของเกม ซึ่งครอบคลุมไปถึงการออกแบบทุกอย่างในเกมนั่นเอง เกมสามารถสร้างตัวตนที่แตกต่างจากเกมแนวใกล้เคียงกันที่ผ่านมาได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเสื้อผ้าและอุปกรณ์ของ Sam ไปจนถึงสิ่งปลูกสร้างของเกม ที่ออกแบบมาให้มีความเป็นไซไฟแต่ก็ยังดูสมจริง หรือกระทั่งดีไซน์ของเหล่า BT ในเกม ที่ทำออกมาได้มีเอกลักษณ์และน่ากลัวได้ แม้ว่าส่วนใหญ่จะเห็นเพียงเงาๆ ก็ตาม



ที่น่าชื่นชมพอๆ กันคือการที่เกมแทบจะไม่มีบั๊คหรือปัญหาด้านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเลยตลอดการเล่นของผู้เขียน อาจจะมีเพียงครั้งเดียวช่วงท้ายเกมที่ผู้เขียนรู้สึกว่าเกิดบั๊คเล็กๆ ขึ้นกับเครื่อง Odradek Scanner แต่ก็ไม่ได้ซีเรียสอะไร และเกมก็แก้ไขตัวเองในเวลาไม่นานอีกด้วย ที่สำคัญคือแม้ว่าเกมจะมีรายละเอียดในด้านกราฟิกแค่ไหน แต่ผู้เขียนไม่เคยรู้สึกถึงอาการเฟรมตกหรือกระตุกเลยแม้แต่น้อย นอกจากหน้าจอโหลดที่โผล่ขึ้นมาตอนเข้าเกมครั้งแรก (และอีกประปรายเวลาเข้าหรือออกคัตซีนใหญ่ๆ) เกมก็ไม่มีการโหลดอีกเลย ซึ่งในจุดนี้ถือเป็นเรื่องที่น่าสดชื่นมาก เพราะขนาดเกมโลกเปิดหลายเกม ที่มีรายละเอียดและระบบการเล่นที่ลึกซึ้งน้อยกว่านี้หลายขุม ยังวางจำหน่ายพร้อมบั๊คเต็มเกมให้เห็นอยู๋บ่อยๆ การมีเกมที่คุณภาพสูงเท่า Death Stranding แต่กลับไม่มีปัญหาด้านเทคนิคจึงเป็นเรื่องที่น่าชื่นใจทุกครั้งที่ได้เล่น

องค์ประกอบสุดท้ายคงเป็นเรื่องของเสียง (เสียงพากย์คงไม่ต้องพูดถึง ดูจากนักแสดงแต่ละคน) เกมมักเลือกเปิดเพลงขึ้นในจังหวะที่เดินทางใกล้ถึงที่หมาย ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ผู้เขียนชอบมากเป็นพิเศษ เพราะช่วยเสริมความรู้สึกของการเข้าใกล้ที่หมายได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเพลงที่เกมเลือกใช้ทั้งหมดดูเหมือนจะเป็นเพลงจากวงค์ที่ชื่อว่า Low Roar ซึ่งเป็นวงแนว Post-rock จากศิลปินชาวอเมริกันและไอซ์แลนด์ ให้อารมณ์เศร้าๆ เปลี่ยวๆ แต่ก็ยังเปี่ยมไปด้วยความหวัง ต้องชมทีมพัฒนาเกมที่สามารถเลือกเพลงมาให้เสริมอรรถรสของเกมได้กลมกล่มขนาดนี้






◊ สรุป ◊


ถ้าสุดท้ายต้องตอบว่าเกม Death Stranding สนุกแค่ไหน ก็คงต้องตอบว่าเกมคงไม่ได้สนุกสำหรับทุกคน ด้วยเกมเพลย์ที่ค่อนข้างช้า และเนื้อเรื่องที่ซับซ้อนเข้าถึงยาก แต่เมื่อมองในภาพรวมแล้ว ก็คงได้แต่ยอมรับว่า Death Stranding เป็นเกมที่สร้างออกมาได้อย่างน่าทึ่ง ในแง่ของวิสัยทัศน์เบื้องหลังองค์ประกอบต่างๆ ของเกม แม้ว่าเกมจะแปลกๆ อยู่บ้างตามสไตล์ของคุณโคจิม่า แต่ Death Stranding ก็ยังเป็นเกมที่น่าเล่น อย่างน้อยก็เพื่อให้ได้สัมผัสกับประสบการณ์การเล่นเกมแบบ เล่นคนเดียวร่วมกับคนอื่น ที่แปลกใหม่ น่าลุ้นว่าในอนาคตคุณโคจิม่าจะสร้างเกมที่ใช้ระบบแบบนี้ออกมาอย่างไรอีกในอนาคต



ติดตามข่าวสารเกมต่างๆ ได้ที่





 

 

 

[penci_review id="32748"]

7
ข้อดี
ข้อเสีย
9
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
Review: รีวิวเกม Death Stranding "เกมจำลองชีวิตบุรุษไปรษณีย์ในโลก Post-Apocalypse"
01/11/2019

เป็นที่จับตามองมาตลอดตั้งแต่เปิดตัวแล้วกับเกม Death Stranding เกมแอคชั่นสุดลึกลับใหม่ล่าสุดจากตัวพ่อแห่งวงการพัฒนาเกมคุณ ฮิเดโอะ โคจิม่า ที่วางมือจากการพัฒนาเกมซีรี่ส์ Metal Gear มาสร้างเกมซีรี่ส์ใหม่เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี โดยตลอดระยะเวลา 2-3 ปีตั้งแต่ที่เกมเปิดตัวครั้งแรกในงาน E3 2016 เกมก็ได้รับการกล่าวขานถึงความน่าพิศวงของเนื้อเรื่องและเกมเพลย์มาโดยตลอด แม้ว่าผู้พัฒนาจะเริ่มเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเกมมากขึ้นแล้วในช่วงก่อนวางจำหน่าย แต่ผู้เล่นหลายคนก็ยังได้แต่งงว่าสรุปแล้วเกมเป็นเกมแนวไหน เล่นยังไงกันแน่ และฉากคัตซีนของเกมที่เปิดเผยออกมาในตัวอย่างทั้งหลายจะปะติดปะต่อกันเป็นเนื้อเรื่องแบบไหน



หลังจากที่ได้เล่นเกม Death Stranding จนจบเนื้อเรื่อง (ขอบคุณ Sony Interactive Entertainment สำหรับโค้ดที่ใช้รีวิวเกมล่วงหน้า) ผู้เขียนพูดได้เลยว่าเกม Death Stranding ถือเป็นเกมที่สร้างนวัตกรรมใหม่ในการเล่นเกมแบบ Connected Single Player (การเล่นเกมคนเดียวแต่เชื่อมต่อกับผู้อื่นตลอดเวลา) ที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ด้วยระบบเกมที่ทำให้ทุกการกระทำของผู้เล่นส่งผลไปยังโลกในเกมของผู้เล่นคนอื่น อย่างมีนัยยะสำคัญ พร้อมด้วยลีลาการเล่าเรื่องที่น่าติดตามอันเป็นลายเซ็นของคุณโคจิม่าผู้สร้าง ทำให้เกม Death Stranding เป็นเกมที่น่าสนใจเสมอตลอดระยะเวลากว่า 30-40 ชั่วโมงที่ผู้เขียนใช้ในการผ่านเนื้อเรื่อง

แต่ในขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกมเพลย์ของ Death Stranding นั้นคงไม่ใช่เกมเพลย์ที่น่าสนุกสำหรับทุกคน ดังที่เขียนไปในหัวบทความว่าเกมเป็น "เกมจำลองชีวิตบุรุษไปรษณีย์ในโลก Post-Apocalypse" เกมเพลย์ของ Death Stranding จะวนเวียนอยู่กับการขนพัสดุต่างๆ จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งตลอดทั้งเกม และมีส่วนที่เป็นเกมแอคชั่นเบาๆ อยู่เพียงประปรายเท่านั้นตลอดระยะเวลาการเล่นส่วนใหญ่



มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะถามว่าแปลว่าเกมน่าเบื่อหรือเปล่า คำตอบที่ผู้เขียนให้ได้ดีที่สุดคือเกมไม่ได้น่าเบื่อ แต่ก็อาจจะไม่ได้ สนุก ในลักษณะเดียวกับเกมส่วนใหญ่ๆ ในตลาดเช่นเดียวกัน คำจำกัดความที่ผู้เขียนรู้สึกว่าถ้าจะใช้คำที่เหมาะสมกว่า สนุก น่าจะเป็นคำว่า เพลิน มากกว่า เพราะแม้ว่าเกมเพลย์ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงการนำพัสดุไปส่ง แต่ก็มีระบบยิบย่อยต่างๆ อย่างการบริหารน้ำหนักกระเป๋าสะพาย หรือการตามหาทรัพยากรต่างๆ มาใช้เพื่อสร้างอุปกรณ์และเครื่องอำนวยความสะดวกทั้งหลาย ทำให้การส่งของทุกครั้งจำเป็นต้องใช้ความละเอียดอ่อนในแง่ของการวางแผน แถมเนื้อเรื่องของเกมยังทำออกมาได้อย่างมีคุณภาพและน่าติดตาม เหมือนเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เล่นออกไปทำภารกิจเพื่อปลดล็อคเนื้อเรื่องต่อไปเรื่อยๆ นั่นเอง เกม Death Stranding อาจจะไม่ได้เน้นเกมเพลย์ที่ตื่นเต้นเร้าใจตลอดเวลา แต่ก็เพลิดเพลิน เล่นได้เรื่อยๆ รวมไปถึงภายในเกมที่มีศัตรูให้สู้อยู่บ้าง ในรูปแบบของโจร ผู้ก่อการร้าย และเหล่าผี BT รูปแบบต่างๆ แต่ก็ไม่ได้มีบ่อยนัก




◊ เนื้อเรื่อง ◊


เนื้อเรื่องของเกม Death Stranding นั้นจะเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาในโลกหลังอารยธรรมล่มสลาย เมื่อประชากรมนุษย์ต้องเผชิญกับปรากฏการณ์ปริศนาในชื่อ Death Stranding ส่งผลให้โลกแห่งความตายล้นทะลักเข้าสู่โลกของคนเป็น ทำให้เหล่าคนตายหรือพวกผีที่เกมเรียกว่า BT ออกอาละวาดจู่โจมผู้คน และทำให้เกิดฝนเวลาที่เรียกว่า Time Fall ซึ่งจะดูดเวลาของคนที่โดนฝนไปเรื่อยๆ ทำให้มนุษย์ที่ตากฝนเป็นระยะเวลาเพียงสั้นๆ ถึงกับแก่ตายไปในพริบตาได้เลย

เพื่อหลีกเลี่ยงภัยอันตรายอันใหญ่หลวงทั้งสอง มนุษย์ที่ยังเหลือรอดจึงถูกบังคับให้ต้องใช้ชีวิตอยู่ในแหล่งหลบภัยใต้ดินที่กระจัดกระจายอยู่รอบๆ ประเทศ ในขณะที่สิ่งปลูกสร้างตั้งแต่อาคารไปจนถึงถนนบนดินเกือบทั้งหมดที่เคยมีถูกฝน Time Fall ชำระล้างไปจนไม่เหลือแม้แต่ซาก คนทั่วไปจึงต้องพึ่งพากลุ่มคนส่งของที่เกมเรียกว่า Porter เป็นหนทางหลักในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนทรัพยากรกันระหว่างแหล่งหลบภัยแต่ละที่นั่นเอง ถึงอย่างนั้น กระทั่งชาว Porter นี้ก็ยังต้องเอาตัวรอดจากฝน Time Fall และเหล่า BT ด้วยในระหว่างการเดินทาง ทำให้การสื่อสารและส่งของด้วยวิธีดังกล่าวมีความเสี่ยงมาก ทำให้แหล่งหลบภัยแต่ละที่แทบจะตัดขาดออกจากกันโดยสิ้นเชิง



ผู้เล่นจะได้รับบทเป็นตัวละครหลัก Sam Bridges (รับบทโดย Norman Reedus) บุรุษส่งของในตำนานผู้รักสันโดษ เขาถูกมอบหมายภารกิจสำคัญโดยประธานาธิบดีคนสุดท้ายของอเมริกาในการเชื่อมต่อแหล่งหลบภัยเข้าด้วยกัน ผ่านเครือข่าย Chiral Network ในเกมนี้เปรียบเสมือนอินเตอร์เน็ตที่ทำให้สามารถส่งทั้งข้อความและทรัพยากรที่ไม่มีชีวิต เช่นเหล็ก กระเบื้อง หรือปูนไปหากันระหว่างแหล่งหลบภัยแต่ละที่ได้ เพื่อเชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกันและทำให้อเมริกากลายเป็นประเทศที่รวมตัวกัน หรือสหรัฐ(United) อีกครั้ง ผ่านภารกิจในการเดินทางไปยังแหล่งหลบภัยทั่วอเมรีกา เพื่อเชื่อมต่อทุกคนเข้าด้วยกัน แต่ไหนๆ จะลำบากเดินทางไกลแล้ว จะไปตัวเปล่าก็น่าเสียดาย เกมจึงมักจะให้ Sam นำพัสดุจากแหล่งหลบภัยหนึ่งไปส่งที่แหล่งหลบภัยอื่นต่อไปเรื่อยๆ ด้วย จะได้ไม่เสียเที่ยว จึงเป็นที่มาของเกมเพลย์ "จำลองชีวิตบุรุษไปรษณีย์" ของเกมนั่นเอง

(เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงสปอยให้มากที่สุด เราจะไม่ขอพูดถึงรายละเอียดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเนื้อเรื่องนอกจากบทย่อ แต่จะขอพูดถึงความรู้สึกโดยรวมที่ได้รับจากเนื้อเรื่องมากกว่า)



การติดตามปะติดปะต่อเนื้อเรื่องของ Death Stranding ในช่วงต้นของเกมนั้นค่อนข้างยาก ส่วนหนึ่งมาจากลวดลายการเล่าเรื่องของคุณโคจิม่า ที่ค่อยๆ เปิดปริศนาและตัวละครใหม่ไปเรื่อยๆ พร้อมกับการคลี่คลายปริศนาเก่าๆ ทำให้ผู้เล่นเกิดคำถามในหัวตลอดเวลา แถมยังกั๊กการคลายปมทั้งหมดไปไว้ช่วงท้ายสุดของเกม อีกส่วนมาจากการที่เกมมักจะใช้ศัพท์ค่อนข้างยาก ทั้งคำศัพท์ที่มีอยู่จริงและคำศัพท์ไซไฟต่างๆ จนบางครั้งก็ตามไม่ทันเหมือนกันว่าตอนนี้ตัวละครกำลังพูดถึงอะไรกันอยู่ แต่ถึงอย่างนั้น เหล่าปริศนาที่เกมยกขึ้นมาก็น่าสนใจมากพอที่จะทำให้ผู้เขียนรู้สึกอยากรีบเล่นต่อเพื่อไขปริศนาของเกมอยู่เสมอเช่นกัน

เคยมีคำพูดจากคุณ ชูเฮย์ โยชิดะ (ประธานบริษัท Sony Interactive Entertainment ผู้ดูแลเกม Exclusive ของ PS4 ทั้งหมด) ที่บรรยายการเล่าเรื่องของเกม Death Stranding เป็นเหมือน ซีรี่ส์ทาง Netflix ที่มีคุณภาพสูงเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นคำจำกัดความที่ดีสำหรับเกม Death Stranding ที่เล่าเนื้อเรื่องในลักษณะเป็น Episode หรือเป็นตอนๆ แต่ละตอนจะมีความเกี่ยวข้องกับตัวละครสำคัญแต่ละตัวที่ผู้เล่นพบเจอระหว่างทาง แก่นหลักของเรื่องมักจะมีความเกี่ยวข้องกับธีมของความเป็นความตาย และจิตวิญญาณ รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนเป็นและคนตาย ซึ่งโคจิม่าเขียนบทออกมาได้หนักแน่นและน่าดึงดูด นอกจากนี้การแสดงของเหล่าดาราระดับฮอลลีวู้ดมากมายยังส่อิทธิพลให้การเคลื่อนไหวและสีหน้าของตัวละครมีความละเอียดในระดับที่ยังหาเกมอื่นเทียบได้ยาก ถ้า Call of Duty: Modern Warfare ภาคใหม่ไม่ออกมาซะก่อน ผู้เขียนคงพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำไปแล้วว่านี่คือเกมที่ใช้เทคโนโลยีการแสกนและ Motion Capture ใบหน้านักแสดงได้ดีที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาเลยทีเดียว (ตอนนี้ถือว่าสูสีกัน)



ถึงอย่างนั้น เนื้อเรื่องของ Death Stranding เหมือนจะถูกออกแบบมาให้เล่นให้จบในเวลาที่สั้นที่สุด เช่นเดียวกับซีรี่ส์ Netflix ที่มักจะปล่อยออกมาพร้อมกันทีเดียวโดยหวังให้ผู้ชมนั่งดูหนึ่งรวดจบ เพราะทุกรายละเอียดมีความหมายในภาพรวม เหตุการณ์ตอนต้นอาจมีนัยยะสำคัญมากในช่วงท้ายเรื่อง ทำให้ถ้าเว้นระยะการเล่าเรื่องระหว่างฉากนานเกินไปอาจจะส่งผลให้ผู้เล่นรู้สึกขาดตอนได้ เหมือนบางทีก็ลืมไปแล้วว่าตอนต้นเรื่องที่เราเล่นไปเมื่อ 30 กว่าชั่วโมงที่แล้วมีรายละเอียดยังไงบ้าง โดยเกมมักจะเล่ารายละเอียดเรื่องราวต่างๆ ออกมาในคัตซีนและการสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่าง Sam และตัวละครอื่นในระหว่างที่เดินทางอยู่ ซึ่งบางจังหวะก็ทำให้พลาดข้อมูลสำคัญไปได้ง่ายๆ เพราะมัวแต่พยายามปีนเขาอยู่ เป็นต้น หรืออาจจะมีระยะการเดินทางไกลและใช้เวลา ทำให้หลงลืมรายละเอียดบางส่วนที่เพิ่งรับรู้มาระหว่างที่พยายามจัดการกับการเล่นเกมจริงๆ

กล่าวโดยสรุปว่าเนื้อเรื่องของ Death Stranding มีความลึกซึ้งและน่าค้นหามาก บทพูดเองก็เขียนมาดีระดับหนังฮอลลีวู้ดแม้จะเข้าใจยากในบางจุด แถมแก่นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเป็น ความตาย และความสัมพันธ์ยังสื่อออกมาได้อย่างแยบยลผ่านทั้งบทสนทนา การแสดง และ Art Direction หรือการออกแบบศิลป์ของเกม ที่ล้วนแต่ช่วยเสริมกันและกันได้อย่างพอดีผ่านวิสัยทัศน์ของคุณโคจิม่า แต่ด้วยรายละเอียดในเนื้อเรื่องที่ถูกขั้นโดยเกมเพลย์ ทำให้การติดตามปะติดปะต่อปริศนาต่างๆ ค่อนข้างยาก เหมือนคุณโคจิม่ากำลังพยายามเขียนหนังที่สามารถเสพได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง มากกว่าเกมที่อาจจะต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์เพื่อเล่นให้จบ และไม่สามารถย้อนกลับไปดูตอนก่อนหน้าได้




◊ เกมเพลย์ ◊


สำหรับเกมเพลย์ของ Death Stranding นั้นจะมีลักษณะเป็นวงจร เริ่มจากการรับภารกิจจากแหล่งหลบภัยหนึ่ง เลือกจัดพัสดุและอุปกรณ์ ก่อนที่จะออกเดินทางไปยังแหล่งหลบภัยต่อไปเพื่อส่งพัสดุและดำเนินเนื้อเรื่องต่อไปนั่นเอง

แม้ว่าในภาพใหญ่แล้ว เกมเพลย์ของ Death Stranding จะเป็นการนำของจากจุด A ไปส่งจุด B เท่านั้น แต่การส่งของแต่ละครั้งก็มีความละเอียดอ่อนในด้านการวางแผนที่ต้องพิจารณามากมายด้วย สิ่งแรกที่ผู้เล่นจะต้องทำคือการเลือกว่าจะบรรทุกพัสดุไปส่งอย่างไร โดยผู้เล่นจะสามารถเลือกที่จะแบกพัสดุไว้บนหลังก็ได้ถ้าชิ้นใหญ่ หรือถ้าชิ้นเล็กหน่อยก็อาจจะแขวนไว้บนราวที่ติดมากับชุดก็ได้ นอกจากนี้ ผู้เล่นยังต้องเลือกว่าจะนำอุปกรณ์อะไรติดตัวไปใช้ระหว่างเดินทางบ้าง ไม่ว่าจะเป็นบันไดพับ เชือกปีนเขา ตลอดจนอาวุธและยาเพิ่มเลือดต่างๆ ซึ่งผู้เล่นสามารถสร้างได้โดยการใช้ทรัพยากรต่างๆ การเลือกตำแหน่งการบรรทุกของเหล่านี้มีความสำคัญมากๆ เพราะถ้าเกลี่ยน้ำหนักของสิ่งของที่แบกอยู่ให้สมดุลทุกด้าน หรือแบกของหนักเกินไป อาจจะทำให้ตา Sam หกล้มระหว่างทางได้ ซึ่งก็จะทำให้พัสดุตกหล่นเสียหายและส่งผลลบต่อการประเมินหลังทำภารกิจด้วย



เมื่อจัดแจงของเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการออกเดินทางเพื่อนำของไปส่งนั่นเอง ผู้เล่นก็ต้องพิจารณาว่าจะเลือกใช้เส้นทางไหนในการเดินทางบ้างซึ่งในจุดนี้ก็อาจจะทำให้ประสบการณ์การเล่นเกมของผู้เล่นสองคนต่างกันอย่างมากเลยก็ได้  อย่างผู้เขียนเป็นคนที่ชอบเดินทางเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ทำให้บางครั้งก็ต้องเผชิญกับสภาพภูมิประเทศที่ไม่เป็นมิตร อย่างการข้ามภูเขาหิมะหรือเหว ในขณะที่ผู้เล่นอีกคนอาจจะเลือกที่จะใช้เส้นทางที่อ้อมกว่าแต่ภูมิประเทศมีความราบเรียบเดินทางสะดวกกว่า โดยผู้เล่นจะสามารถสำรวจภูมิประเทศด้วยการเปิดแผนที่ดู หรือจะใช้ตัว Odradek Scanner ที่ติดไหล่ตัวเอกเพื่อแสกนพื้นที่ด้านหน้าเพื่อหาเส้นทางที่น่าเดินทางไปมากที่สุดซึ่งก็ทำให้การเดินทางของทุกคนต่างกันไปด้วย



สิ่งที่น่าสนใจอย่างแรกเกี่ยวกับการเล่นเกมก็คือระบบการแบ่งสิ่งของและสิ่งปลูกสร้างของผู้เล่นต่างๆ ที่จะทำให้สิ่งที่ผู้เล่นต่างๆ สร้างเอาไว้ในโลกของตัวเองถูกส่งไปอยู่ในโลกของผู้เล่นคนอื่นๆ ด้วย เช่นผู้เล่น A อาจจะสร้างสะพานเอาไว้ตรงจุดหนึ่ง ผู้เล่น B ก็จะสามารถมองเห็นและใช้สะพานนั้นได้ราวกับมันมีอยู่ในเกมมาตั้งแต่ต้น นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถร่วมมือกันเพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้างอย่างถนน บ้านพัก หรือที่ชาร์จแบตเตอรี่ส่วนตัวด้วยการนำวัตถุดิบอย่างเหล็กหรือกระเบื้องมาใส่เข้าในเครื่อง หรือกระทั่งส่งของให้กันผ่านทางตู้เก็บของก็ยังได้ ซึ่งแม้ว่าผู้เล่นทั้งหลายจะไม่ได้พบเจอกันหรือสามารถปฏิสัมพันธ์กันได้โดยตรง แต่ทุกคนก็สามารถร่วมมือกันเพื่อฝ่าฟันอุปสรรคได้ เสมือนว่าเกมต้องการจะสื่อว่าแม้ว่าเราจะเหมือนอยู่คนเดียวในเกมตลอดการเดินทางข้ามทวีป แต่แท้ที่จริงแล้วเราก็มีแรงเกื้อหนุนจากเหล่าผู้เล่นคนอื่นที่กรุยทางมาให้ก่อนแล้ว



ระหว่างการเดินทาง เราจะสามารถพบเจอกับพัสดุที่เหล่าผู้เล่นหรือ NPC ทำตกหล่นเอาไว้ได้ (ของที่เราทำหล่นไว้ก็จะสามารถมีผู้เล่นอื่นมาเก็บไปส่งได้เช่นกัน) ซึ่งเราสามารถนำของเหล่านี้ไปส่งตามแหล่งหลบภัยต่างๆ เพื่อเก็บค่าความสามารถให้ Sam เช่นแบกน้ำหนักได้มากขึ้น หรือทำให้พัสดุเสียหายน้อยลงเวลาล้มเป็นต้น นอกจากนี้ เรายังสามารถพบกับกล่องวัตถุดิบหลากชนิด ระหว่างทางได้ด้วย ซึ่งกล่องเหล่านี้ก็สามารถเก็บมาบริจาคคืนแหล่งหลบภัยเพื่อสะสมไว้สร้างอุปกรณ์หรือกระทั่งยานพาหนะได้

ระบบเกมเพลย์การขนของนี้อาจจะฟังดูยุ่งยาก (ซึ่งเอาเข้าจริงก็แอบยุ่งยากอ่ะแหละ) แต่ก็มีความท้าทายในแบบของมันเองอยู่ด้วย ผู้เล่นจะต้องใส่ใจกับสภาพแวดล้อมของตัวเองเสมอ โดยเฉพาะเวลาที่ขนพัสดุขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมากๆ นอกจากนี้ยังต้องคอยสังเกติตา Sam ตลอดเวลาไม่ให้ล้มจนของเสียหายด้วยการกด R2 หรือ L2 ค้างเอาไว้เพื่อถ่ายน้ำหนักไปทางขวาหรือซ้ายอยู่เรื่อยๆ แถมการเลือกเส้นทางเดินก็มีความสำคัญ เพราะต้องคำนึงถึงข้อจำกัดของพัสดุ เช่นห้ามเปียกน้ำหรือห้ามเสียหาย หรือบางภารกิจอาจจะมีจำกัดเวลาด้วยว่าต้องไปส่งให้ได้ในเวลาเท่าไหร่ ทำให้เกมยังคงต้องใช้ความใส่ใจในการเล่น มากกว่าแค่เดินไปเรื่อยเปื่อย



แต่นอกจากภูมิประเทศที่ไม่เป็นมิตรแล้ว อีกสองอุปสรรคใหญ่ๆ ที่ทำให้การใช้ชีวิต Porter ของตา Sam มีความลำบากก็คือเหล่าศัตรูที่เป็นมนุษย์อย่างโจรกับผู้ก่อการร้าย และเหล่าศัตรูที่เป็นผี BT นั่นเอง โดยศัตรูทั้งสองชนิดนี้จำเป็นต้องใช้การรับมือที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และมักจะถูกวางเอาไว้ในจุดที่หลบเลี่ยงลำบากเสมอๆ เหล่าศัตรูที่เป็นมนุษย์จะสามารถใช้วิธีแบบเกมแอคชั่นในการรับมือ เช่นการต่อยให้สลบหรือใช้ปืนยิง หรือการลอบเร้นด้วยการหลบในพงหญ้าเพื่อเก็บศัตรูอย่างเงียบๆ เป็นต้น โดยคนที่เคยเล่นเกมอย่าง Metal Gear Solid 5: Phantom Pain มาก่อนน่าจะรู้ว่า A.I. ในเกมของคุณโคจิม่านั้นฉลาดมากๆ แม้ว่าเหล่าศัตรูมนุษย์ในเกมนี้อาจจะไม่ได้เก่งเท่าใน Metal Gear แต่ก็ค่อนข้างฉลาด จะหลบในพงหญ้าแล้วแอบเก็บง่ายๆ ทีละตัวนี่อย่าหวังเลย



ในขณะเดียวกันเหล่า BT มักจะพบได้ในจุดที่มีฝน Time Fall ตกหนัก และเกมจะหยุดเตือนเราทุกครั้งเมื่อเราเข้าใกล้ BT ถึงระยะหนึ่ง โดยจะเป็นเหมือนอุปสรรคทางภูมิประเทศมากกว่า เพราะส่วนใหญ่ศัตรูเหล่านี้มักจะบังคับให้ผู้เล่นเปลี่ยนวิธีหรือจังหวะในการเคลื่อนที่มากกว่าจะเป็นการเผชิญหน้ากันตรงๆ จนกว่าผู้เล่นจะทำเสียงดังหรือเดินชน BT เข้าให้ โดย BT จะส่งเสียงกรีดร้องออกมาเพื่อเตือน ก่อนที่จะพยายามดึงผู้เล่นลงสู่น้ำสีดำที่ซึมขึ้นมาจากพื้น โดยผู้เล่นจะมีโอกาสเอาตัวรอดด้วยการสลัดเหล่าวิญญาณคนตายที่โผล่ขึ้นมาดึงตัวเราและพาตัวเองออกไปจากวงน้ำสีดำให้ได้นั่นเอง ถ้าผู้เล่นถูกดึงลงสู่วงน้ำจะทำให้มีบอส BT ตัวใหญ่ๆ ออกมา ซึ่งเราต้องเอาชนะบอสให้ได้ ไม่ก็หนีออกจากพื้นที่วงน้ำสีดำให้ได้เพื่อเอาตัวรอด แต่ถ้าเอาชนะบอสลงได้นอกจากจะทำให้ฟ้าใสแล้ว ยังจะทำให้เราสามารถเก็บแร่ Chiral Crystal เพื่อใช้สร้างอุปกรณ์หรือสิ่งปลูกสร้างเป็นจำนวนมากได้ด้วย การถูก BT จับได้จึงอาจจะไม่ใช่เรื่องเลวร้ายซะทีเดียว ตราบใดที่เราสามารถเอาชนะบอสเหล่านั้นลงได้



องค์ประกอบสำคัญในการรับมือกับเหล่า BT ก็คือเด็กทารกที่อยู่บนอกของ Sam หรือ BB นั่นเอง โดย BB จะทำงานร่วมกับเครื่อง Odradek Scanner บนไหล่เราเพื่อบอกตำแหน่งของ BT ตัวที่ใกล้ที่สุด และทำให้เรามองเห็น BT ได้เมื่อหยุดอยู่กับที่ด้วย โดยผู้เล่นจะต้องคอยระวังไม่ให้ BB เครียดมากเกินไปจากการกระทำต่างๆ เช่นการเดินลุยน้ำหรือการเข้าใกล้ BT มากๆ รวมไปถึงการลื่นหกล้มอีกด้วย ผู้เล่นจะสามารถลดความเครียดของ BB ได้ด้วยการโอ๋เวลาน้องร้องไห้ แต่ถ้าปล่อยให้เครียดจนหลอดหมดก็จะทำให้เราไม่สามารถมองเห็นหรือจับตำแหน่งของ BT ได้จนกว่าจะพา BB ไปรักษาที่แหล่งหลบภัยที่ใกล้ที่สุด การดูแล BB จึงกลายเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ในระหว่างการเดินทาง เพราะเราไม่รู้เลยว่าเมื่อไหร่ฝนจะตกและเหล่า BT จะออกมาหากิน



ทั้งหมดทั้งมวลนั้น ไม่ต้องบอกก็คงพอจะนึกกันออกแล้วว่าระบบเกมเพลย์ของ Death Stranding มีความลึกมากๆ แม้ว่าสุดท้ายแล้วสิ่งที่ผู้เล่นจะต้องทำส่วนใหญ่จะเป็นเพียงการส่งของก็ตาม ซึ่งเกมอาจจะไม่ได้สนุกตลอดเวลาโดยเฉพาะเมื่อต้องเดินทางระยะไกลๆ โดยที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเท่าไหร่นัก แต่ในจังหวะที่ทุกอย่างลงตัวก็ต้องชมคุณโคจิม่าอีกครั้งที่ออกแบบทุกอย่างให้เข้ากันได้อย่างพอดี ระบบเกมเพลย์ทำให้การเดินทางส่งของม่ีความท้าทายและน่าสนใจมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะเมื่อเริ่มปลดล๊อคอุปกรณ์มากขึ้น และมีระบบการร่วมมือกันระหว่างผู้เล่นเข้ามาเสริม ทำให้การเล่นเกมมีความน่าสนใจมากขึ้น แถมยังถูกผูกเข้ากับแก่นของเรื่องที่พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และการเชื่อมต่อซึ่งกันและกันอีกด้วย อาจจะพูดได้ว่าแม้ว่าเราจะรู้สึกเหมือนเล่นเกมอยู่คนเดียว แต่เรากำลังร่วมมือกับผู้เล่นคนอื่นๆ เพื่อผ่านเกมไปด้วยกันอย่างไม่รู้ตัว




◊ กราฟิก/การนำเสนอ ◊


อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า Death Stranding น่าจะเป็นหนึ่งในเกมที่ใช้เทคโนโลยีการแสกนหน้านักแสดงและการ Motion Capture ท่าทางการขยับร่างกายได้ดีที่สุดเกมหนึ่ง บางคนอาจบอกว่าดีกว่าเกมที่ขึ้นชื่อเรื่องความสมจริงอย่าง Red Dead Redemption 2 ด้วยซ้ำ แม้ว่าสีหน้าของตัวละครเป็นอะไรที่สามารถถูกควบคุมได้ (ดังที่เห็นจากภาพมีม Photo Mode ทั้งหลาย) สิ่งที่ผู้เขียนรู้สึกประทับใจที่สุดน่าจะเป็นเรื่องแววตาตัวละคร ซึ่งสะท้อนความรู้สึกของนักแสดงออกมาได้เต็มที่ราวกับมีชีวิต ตาไม่ลอยเหมือน NPC ในเกมทั่วๆ ไปเลยแม้แต่น้อย



แน่นอนว่าความสมจริงทั้งหมดนี้ย่อมส่งผลให้การเล่าเรื่องในฉากคัตซีนต่างๆ มีคุณภาพสูงมาก ในบางมุมเกือบจะดูเหมือนภาพ Live-Action ด้วยซ้ำไป แต่ไม่ใช่เพียงแค่ตัวละครเท่านั้นที่สมจริงราวกับมีชีวิต โลกของเกมเองก็เช่นกัน แม้ว่าอเมริกาของเกมจะไม่ได้มีขนาดเท่าทวีปในชีวิตจริง (ไม่งั้นเล่นกันทั้งปีก็ไม่จบ) แต่ก็ยังใหญ่พอให้มีภูมิภาคต่างๆ ที่มีภูมิประเทศแตกต่างกันชัดเจน แถมเกมยังมีระยะการมองเห็น (Draw Distance) ที่กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ส่งผลให้รู้สึกตลอดเวลาว่าโลกของเกมมีความกว้างใหญ่ และทำให้ผู้เล่นรู้สึกได้ถึงความยากลำบากของตัวละครหลักในการฝ่าฟันระยะทางเพื่อไปให้ถึงจุดหมาย



อีกหนึ่งองค์ประกอบที่พูดถึงไปก่อนหน้านี้คือเรื่องของการออกแบบศิลป์หรือ Art Direction ของเกม ซึ่งครอบคลุมไปถึงการออกแบบทุกอย่างในเกมนั่นเอง เกมสามารถสร้างตัวตนที่แตกต่างจากเกมแนวใกล้เคียงกันที่ผ่านมาได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเสื้อผ้าและอุปกรณ์ของ Sam ไปจนถึงสิ่งปลูกสร้างของเกม ที่ออกแบบมาให้มีความเป็นไซไฟแต่ก็ยังดูสมจริง หรือกระทั่งดีไซน์ของเหล่า BT ในเกม ที่ทำออกมาได้มีเอกลักษณ์และน่ากลัวได้ แม้ว่าส่วนใหญ่จะเห็นเพียงเงาๆ ก็ตาม



ที่น่าชื่นชมพอๆ กันคือการที่เกมแทบจะไม่มีบั๊คหรือปัญหาด้านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเลยตลอดการเล่นของผู้เขียน อาจจะมีเพียงครั้งเดียวช่วงท้ายเกมที่ผู้เขียนรู้สึกว่าเกิดบั๊คเล็กๆ ขึ้นกับเครื่อง Odradek Scanner แต่ก็ไม่ได้ซีเรียสอะไร และเกมก็แก้ไขตัวเองในเวลาไม่นานอีกด้วย ที่สำคัญคือแม้ว่าเกมจะมีรายละเอียดในด้านกราฟิกแค่ไหน แต่ผู้เขียนไม่เคยรู้สึกถึงอาการเฟรมตกหรือกระตุกเลยแม้แต่น้อย นอกจากหน้าจอโหลดที่โผล่ขึ้นมาตอนเข้าเกมครั้งแรก (และอีกประปรายเวลาเข้าหรือออกคัตซีนใหญ่ๆ) เกมก็ไม่มีการโหลดอีกเลย ซึ่งในจุดนี้ถือเป็นเรื่องที่น่าสดชื่นมาก เพราะขนาดเกมโลกเปิดหลายเกม ที่มีรายละเอียดและระบบการเล่นที่ลึกซึ้งน้อยกว่านี้หลายขุม ยังวางจำหน่ายพร้อมบั๊คเต็มเกมให้เห็นอยู๋บ่อยๆ การมีเกมที่คุณภาพสูงเท่า Death Stranding แต่กลับไม่มีปัญหาด้านเทคนิคจึงเป็นเรื่องที่น่าชื่นใจทุกครั้งที่ได้เล่น

องค์ประกอบสุดท้ายคงเป็นเรื่องของเสียง (เสียงพากย์คงไม่ต้องพูดถึง ดูจากนักแสดงแต่ละคน) เกมมักเลือกเปิดเพลงขึ้นในจังหวะที่เดินทางใกล้ถึงที่หมาย ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ผู้เขียนชอบมากเป็นพิเศษ เพราะช่วยเสริมความรู้สึกของการเข้าใกล้ที่หมายได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเพลงที่เกมเลือกใช้ทั้งหมดดูเหมือนจะเป็นเพลงจากวงค์ที่ชื่อว่า Low Roar ซึ่งเป็นวงแนว Post-rock จากศิลปินชาวอเมริกันและไอซ์แลนด์ ให้อารมณ์เศร้าๆ เปลี่ยวๆ แต่ก็ยังเปี่ยมไปด้วยความหวัง ต้องชมทีมพัฒนาเกมที่สามารถเลือกเพลงมาให้เสริมอรรถรสของเกมได้กลมกล่มขนาดนี้






◊ สรุป ◊


ถ้าสุดท้ายต้องตอบว่าเกม Death Stranding สนุกแค่ไหน ก็คงต้องตอบว่าเกมคงไม่ได้สนุกสำหรับทุกคน ด้วยเกมเพลย์ที่ค่อนข้างช้า และเนื้อเรื่องที่ซับซ้อนเข้าถึงยาก แต่เมื่อมองในภาพรวมแล้ว ก็คงได้แต่ยอมรับว่า Death Stranding เป็นเกมที่สร้างออกมาได้อย่างน่าทึ่ง ในแง่ของวิสัยทัศน์เบื้องหลังองค์ประกอบต่างๆ ของเกม แม้ว่าเกมจะแปลกๆ อยู่บ้างตามสไตล์ของคุณโคจิม่า แต่ Death Stranding ก็ยังเป็นเกมที่น่าเล่น อย่างน้อยก็เพื่อให้ได้สัมผัสกับประสบการณ์การเล่นเกมแบบ เล่นคนเดียวร่วมกับคนอื่น ที่แปลกใหม่ น่าลุ้นว่าในอนาคตคุณโคจิม่าจะสร้างเกมที่ใช้ระบบแบบนี้ออกมาอย่างไรอีกในอนาคต



ติดตามข่าวสารเกมต่างๆ ได้ที่





 

 

 

[penci_review id="32748"]


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header