GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[บทความ] ใหม่ VS. เก่า: วิดีโอเกมกำลังทำลายวัฒนธรรมทางสัมคม จริงหรือ?
ลงวันที่ 10/06/2022

บ่อยครั้งที่เรามักจะได้ยินคนเก่าคนแก่ในสังคมกล่าวโทษเทคโนโลยีและสื่อสมัยใหม่ ว่าเป็นสาเหตุที่ศิลปะและวัฒนธรรมดั้งเดิมต่าง ๆ ถูกละเลยไป จนหลายอย่างมีความเสี่ยงจะสูญพันธ์ุไปในที่สุด ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว สื่อสมัยใหม่ที่ถูกโจษจันโดยคนรุ่นเก่าเหล่านี้ อาจเป็นเครื่องมือสำคัญในการเชื่อมต่อคนรุ่นใหม่ เข้ากับรากวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง ในวิธีที่สนุกและน่าสนใจสำหรับผู้คนสมัยใหม่ด้วย

แน่นอนว่า "วิดีโอเกม" เองก็เป็นสื่อสมัยใหม่ที่มักถูกดูแคลน เผลอ ๆ อาจรุนแรงกว่าสื่อหลายแขนงด้วยซ้ำ เพราะเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่เป็นพิเศษเมื่อเทียบกับสื่อบันเทิงอื่น ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ได้มีวิดีโอเกมมากมายที่วางจำหน่ายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งสามารถนำเสนอวัฒนธรรมทั้งในแง่ของประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมร่วมสมัยหลาย ๆ แขนงให้กับผู้เล่นอีกด้วย โดยวันนี้เราจะมาพูดถึงเกมเหล่านี้กัน พร้อมวิเคราะห์ว่าคำว่า "วัฒนธรรม" นั้นแท้จริงแล้วหมายถึงอะไรบ้าง? 

อะไรคือวัฒนธรรม ?

หากแปลตามความเข้าใจอันเป็นสากล "วัฒนธรรม" (หรือ Culture) หมายถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ในสังคม ที่รวมกันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของผู้คนในสังคมนั้น ซึ่งครอบคลุมได้ทุกอย่างตั้งแต่เสื้อผ้า ภาษา ศิลปะ ประเพณี หรือวิถีชีวิต โดยในสมัยก่อนวัฒนธรรมมักถูกใช้ในบริบทของการจำแนกผู้คนตามเชื้อชาติหรือถิ่นกำเนิดเป็นหลัก แต่ในยุคอินเตอร์เน็ต วัฒนธรรมได้ขยายความหมายออกไปไกลกว่านั้น และครอบคลุมไปถึงกลุ่มคนที่มีความสนใจลึกซึ้งเกี่ยวกับสิ่งเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการแต่งคอสเพลย์ การติ่งเกาหลี/ไอดอล การดูฟุตบอล หรือกระทั่งการแข่งการ์ดโปเกม่อน พูดง่าย ๆ ว่าตราบใดที่มีกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ที่มีความสนใจตรงกัน มี "กฏเกณฑ์" หรือความนิยมตรงกัน และมีประวัติศาสตร์ของตนเอง ก็สามารถก่อกำเนิดเป็นวัฒนธรรมได้ทั้งสิ้นในยุคปัจจุบันนี้ 

กล่าวมาถึงตรงนี้ ย่อมแน่นอนว่า "วิดีโอเกม" เองก็เป็น "วัฒนธรรม" หนึ่งในตัวของมันเอง และในขณะเดียวกันก็ยังเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถนำเสนอวัฒนธรรมในแง่มุมต่าง ๆ สู่ผู้คนในวงกว้าง ทำให้ผู้คนได้รับรู้และสัมผัสกับศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิต ที่พวกเขาอาจไม่มีโอกาสได้สัมผัสด้วยวิธีอื่น โดยผู้เขียนขอยกตัวอย่างเกมจำนวนหนึ่งมาประกอบคำอธิบายให้เห็นภาพมากขึ้น:

Assasin’s Creed


เชื่อว่าเกมเมอร์ส่วนใหญ่คงจะรู้จักกับเกมซีรีส์นี้ไม่มากก็น้อย โดยซีรีส์ Assasin’s Creed นั้นมีพื้นฐานเนื้อเรื่องที่อิงประวัติศาสตร์ยุคต่าง ๆ จากหลากหลายสถานที่ทั่วโลก ซึ่งก็เปิดโอกาสให้เกมนำเสนอวัฒนธรรมในแง่ของสถาปัตยกรรม เสื้อผ้า หรือวิถีชีวิตของผู้คนในยุคสมัยนั้น ๆ ออกมาได้ เช่นกรุงปารีสที่เนรมิตขึ้นอย่างละเอียดใน Assassin's Creed: Unity หรือวิถีชีวิตโจรสลัดใน Assassin's Creed IV: Black Flag เป็นต้น และแม้ว่าในบางแง่บางมุมอาจมีการใส่สีตีแต่งกันไปบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะยังขึ้นตรงต่อตำนานหรือนิยายที่มีอยู่จริง เช่นใน Assassin's Creed: Odyssey หรือ Assassin's Creed: Valhalla ซึ่งก็เป็นวัฒนธรรมอีกรูปแบบหนึ่งเช่นกัน

Red Dead Redemption


เกมดังจากค่าย Rockstar Games ที่จะให้เราได้รับบทเป็นสิงห์ปืนไวจากยุคคาวบอย โดยมีนักวิจารณ์และผู้เล่นมากมายที่ออกมากล่าวชมความสมจริงของเกม ตั้งแต่การนำเสนอวิถีชีวิตของชาวเมือง NPC ไปจนถึงการเอาตัวรอดในฐานะคาวบอยของตัวเอก Arthur Morgan ไม่ว่าจะเป็นการล่าสัตว์ การดูแลม้า ไปจนถึงการดวลปืน เชื่อว่าคนที่เคยเล่นเกมมาก่อนแล้วหลาย ๆ คนน่าจะเคยคิดกับตัวเองว่า "อย่างกับได้ใช้ชีวิตเป็นคาวบอยจริง ๆ" เลยทีเดียว 

แน่นอนว่าอาจแย้งได้ว่าภาพชีวิตคาวบอยในเกม Red Dead Redemption 2 นั้นใกล้เคียงกับ "อุดิมคติ" ของคาวบอยมากกว่าความเป็นจริง แต่ด้วยความเป็นเกมแล้ว จะให้สมจริงไปหมดทุกอย่างก็เกรงจะหมดสนุกซะก่อนอ่าเนอะ

Ghost of Tsushima


ในฐานะเกมที่ "ได้รับแรงบันดาลใจ" มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ แน่นอนว่า Ghost of Tsushima เองก็เป็นเกมหนึ่งที่มีพื้นที่ให้นำเสนอแง่มุมด้านวัฒนธรรมหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกลอนไฮกุ หรือการบูชาสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น โดยเกม Ghost of Tsushima สามารถนำเสนอวัฒนาธรรมเหล่านี้ได้อย่างละเมียดละไม จนแม้แต่คนญี่ปุ่นยังออกปากชมกันไม่ขาดสาย แม้จะเป็นผลงานของค่ายฝั่งตะวันตกอย่าง Sucker Punch ก็ตาม 

Dynasty / Samurai Warriors


แน่นอนว่าซีรีส์ Dynasty หรือ Samurai Warriors (หรือต้นกำเนิดของแนวเกมที่เราอาจรู้จักกันแบบกว้าง ๆ ว่า "เกมมูโซ") นั้นเต็มไปด้วยองค์ประกอบเหนือจริงที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมากมาย เริ่มต้นง่าย ๆ จากแค่เกมเพลย์แนว 1 Vs. 1,000 ที่ให้ผู้เล่นคนเดียวล้างบางศัตรูทั้งกองทัพ อันเป็นเอกลักษณ์ของเกมทั้งสองซีรีส์ แต่สิ่งที่พูดได้แน่ ๆ ว่าเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรม ก็คือการที่ทั้งสองเกมล้วนอ้างอิงจากนวนิยาย (ในกรณีของสามก๊ก) หรือประวัติศาสตร์ (ในกรณีของ Samurai Warriors) ที่มีอยู่จริง และทำให้ผู้เล่นเกมทั้งสองซีรีส์ได้มีโอกาสซีมซับความเป็นวัฒนธรรมของทั้งสองเกมเข้ามาโดยปริยาย ซึ่งถ้าไม่ได้เล่นสองเกมนี้ เหล่าผู้เล่นที่ว่านี้ก็อาจไม่มีวันได้สัมผัสหรือสนใจเรื่องราวเหล่านี้ขึ้นมาเลยด้วยซ้ำ หากไม่ได้ถูกนำเสนอออกมาในรูปแบบของวิดีโอเกม

The Witcher


อย่างที่แฟนเกมทราบกันดี เกม The Witcher นั้นอ้างอิงตัวละครและเรื่องราวมาจากนวนิยาย The Witcher ซึ่งนำเสนอส่วนประกอบของความเชื่อเรื่องผีสางและวิญญาณของวัฒนธรรมในแถบยุโรป โดยเฉพาะในประเทศโปแลนด์อันเป็นบ้านเกิดของทั้งนิยายและผู้พัฒนาเกม CD Projekt Red นั่นเอง ตัวอย่างชัด ๆ ก็คือเหล่าปีศาจมากมายหลากหลายชนิดที่เราได้ออกล่าในฐานะตัวเอก Geralt ไม่ว่าจะเป็นตัว Leshen ซึ่งออกแบบตามวิญญาณผู้พิทักษ์ป่า Leshy ในความเชื่อของชาวสลาฟ (Slavic) หรือกระทั่งตัวแวมไพร์ กริฟฟิน หรือมังกร ล้วนมีรายละเอียดที่อ้างอิงจากความเชื่อที่มีอยู่จริงเช่นกัน

Sifu


หากมองอย่างผิวเผิน แน่นอนว่าเกมกังฟูอย่าง Sifu ถือได้ว่าเป็นการนำเสนอวัฒนธรรมในด้านศิลปะการต่อสู้ให้แก่ผู้เล่น เห็นได้จากท่วงท่าการโจมตีอันสละสลวยในเกม ที่ออกแบบโดยร่วมมือกับปรมาจารย์กังฟูตัวจริง ทำให้มีความ "สมจริง" พอสมควร แต่อย่างที่ผู้พัฒนา Sloclap เคยกล่าวเอาไว้ในบทสัมภาษณ์ว่า "ความหมายดังเดิมของคำว่า กังฟู ไม่ได้เกี่ยวกับการต่อสู้ แต่แปลว่า ความชำนาญที่เกิดจากการทำซ้ำ" เกม Sifu ยังนำเสนอแนวคิดอันเป็นปรัญชาเบื้องหลังศิลปะกังฟูลงไปในการออกแบบเกมด้วย ไม่ว่าจะผ่านระบบ "อายุขัย" ที่ทำให้ผู้เล่นโจมตีแรงขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นของตัวละคร (แต่ก็โดนโจมตีแรงขึ้นไปด้วย) หรือแนวเกมกึ่ง Roguelike อันท้าทาย ที่บังคับให้ผู้เล่นจำเป็นต้องเล่นด่านเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่ากว่าจะสามารถเอาชนะแต่ละด่านได้ (ปัจจุบันเกมเพิ่มโหมดง่ายเข้าไปตามเสียงเรียกร้องแล้ว) ทำให Sifu เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่าง "วัฒนธรรม" อันเก่าแก่ และสื่อสมัยใหม่อย่า "เกม" นั่นเอง

Taiko no Tatsujin

เกมตีกลองญี่ปุ่นที่เกมเพลย์ไม่ซับซ้อน เพียงการเคาะต่างจังหวะคล้ายกับเกมจำพวก OSU แต่เกมได้ใส่ความเป็นลายเซ็นของความเป็นญี่ปุ่นลงไปด้วย ไม่ใช่แค่เพลงภายในเกม แต่เป็นตัวกลองและไม้กลองที่เป็นเหมือนกับซิกเนเจอร์ของเกมเองอย่าง "กลองไทโกะ" ซึ่งเป็นกลองที่ใช้งานเพื่อพิธีกรรมและวาระทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย ทั้งงานเทศกาล ศาสนา หรือแม้กระทั่งทางการทหารในอดีตก็ตาม โดยแม้ว่าการตีกลองไทโกะในความเป็นจริง อาจจะไม่เหมือนกับการตีกลองในเกมแม้แต่น้อย แต่การนำวัฒนธรรมเช่นนี้มาสร้างเป็นเกมที่ทุกคนเข้าถึงได้ ก็สามารถส่งผลให้กลองไทโกะไม่ถูกหลงลืมไปตามยุคสมัย และยังคงเป็นที่รู้จักในสำนึกของสังคมรุ่นใหม่ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อย่างน้อยก็ดีกว่าเก็บเป็นของสูงไว้บนหิ้งเฉย ๆ และถูกหลงลืมไปตามกาลเวลา

Persona 

แม้คำว่าวัฒนธรรมมักจะถูกโยงเข้ากับของโบราณซะส่วนใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ลื่นไหลและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยวิถีชีวิตและความนิยมของผู้คนในปัจจุบันก็สามารถเรียกว่าเป็น "วัฒนธรรมร่วมสมัย" ได้เช่นกัน และหากพูดถึงการนำเสนอวัฒนธรรมร่วมสมัยในลักษณะนี้ ชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดชาติหนึ่งคงหนีไม่พ้นญี่ปุ่น ที่สามารถนำเสนอวัฒนธรรมร่วมสมัยของตัวเองออกสู่ชาวโลกผ่านทั้ง มังงะ อนิเมะ และเกมอย่างต่อเนื่องตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา 

ตัวอย่างซีรีส์เกมหนึ่งที่อาจพูดได้ว่าประสบความสำเร็จในการนำเสนอ "วัฒนธรรมร่วมสมัย" ของญี่ปุ่นออกไปได้อย่างดีเยี่ยมก็คือ Persona อย่างน้อยก็ในฟาก Life Simulation ของเกม ที่ให้ผู้เล่นได้ใช้ชีวิตประจำวันไปกับเรื่องธรรมดา ๆ อย่างการทวนหนังสือในห้องสมุด การทำกิจกรรมชมรม การทำงานพิเศษ หรือกระทั่งแค่การใช้เวลากับเพื่อนฝูง ยังไม่นับรวมรายละเอียดมากมายเกี่ยวกับมุมมอง ค่านิยม รวมไปถึงตำนานและความเชื่อในสังคมญี่ปุ่น ที่ถูกสอดแทรกอยู่ตลอดเนื้อเรื่อง ซึ่งอาจมองรวม ๆ ได้ว่าก็คือวิถีชีวิตของเด็กมัธยมหรือผู้คนทั่วไปในญี่ปุ่นนั่นเอง 

ด้วยตลาดเกมทั่วโลกที่ขยายตัวขึ้นทุกปี จนแซงหน้าอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่อย่างภาพยนตร์ โทรทัศน์ และเพลง ไปอย่างไม่ติดฝุ่น ปฎิเสธไม่ได้อีกต่อไปว่า "เกม" สามารถเป็นเครื่องมือชั้นดีในการสื่อวารกับผู้คนกลุ่มใหญ่ ให้ได้รับรู้ถึงเรื่องราวหรือวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้ในรูปแบบที่น่าสนใจ และถึงแม้ว่าวัฒนธรรมนั้นอาจจะเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ไปบ้างไม่มากก็น้อย แต่ก็คงดีกว่าการปล่อยให้วัฒนธรรมนั้น ๆ เลือนหายไปเปล่า ๆ ราวกับมันไม่เคยมีอยู่จริงในที่สุด 


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] ใหม่ VS. เก่า: วิดีโอเกมกำลังทำลายวัฒนธรรมทางสัมคม จริงหรือ?
10/06/2022

บ่อยครั้งที่เรามักจะได้ยินคนเก่าคนแก่ในสังคมกล่าวโทษเทคโนโลยีและสื่อสมัยใหม่ ว่าเป็นสาเหตุที่ศิลปะและวัฒนธรรมดั้งเดิมต่าง ๆ ถูกละเลยไป จนหลายอย่างมีความเสี่ยงจะสูญพันธ์ุไปในที่สุด ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว สื่อสมัยใหม่ที่ถูกโจษจันโดยคนรุ่นเก่าเหล่านี้ อาจเป็นเครื่องมือสำคัญในการเชื่อมต่อคนรุ่นใหม่ เข้ากับรากวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง ในวิธีที่สนุกและน่าสนใจสำหรับผู้คนสมัยใหม่ด้วย

แน่นอนว่า "วิดีโอเกม" เองก็เป็นสื่อสมัยใหม่ที่มักถูกดูแคลน เผลอ ๆ อาจรุนแรงกว่าสื่อหลายแขนงด้วยซ้ำ เพราะเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่เป็นพิเศษเมื่อเทียบกับสื่อบันเทิงอื่น ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ได้มีวิดีโอเกมมากมายที่วางจำหน่ายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งสามารถนำเสนอวัฒนธรรมทั้งในแง่ของประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมร่วมสมัยหลาย ๆ แขนงให้กับผู้เล่นอีกด้วย โดยวันนี้เราจะมาพูดถึงเกมเหล่านี้กัน พร้อมวิเคราะห์ว่าคำว่า "วัฒนธรรม" นั้นแท้จริงแล้วหมายถึงอะไรบ้าง? 

อะไรคือวัฒนธรรม ?

หากแปลตามความเข้าใจอันเป็นสากล "วัฒนธรรม" (หรือ Culture) หมายถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ในสังคม ที่รวมกันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของผู้คนในสังคมนั้น ซึ่งครอบคลุมได้ทุกอย่างตั้งแต่เสื้อผ้า ภาษา ศิลปะ ประเพณี หรือวิถีชีวิต โดยในสมัยก่อนวัฒนธรรมมักถูกใช้ในบริบทของการจำแนกผู้คนตามเชื้อชาติหรือถิ่นกำเนิดเป็นหลัก แต่ในยุคอินเตอร์เน็ต วัฒนธรรมได้ขยายความหมายออกไปไกลกว่านั้น และครอบคลุมไปถึงกลุ่มคนที่มีความสนใจลึกซึ้งเกี่ยวกับสิ่งเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการแต่งคอสเพลย์ การติ่งเกาหลี/ไอดอล การดูฟุตบอล หรือกระทั่งการแข่งการ์ดโปเกม่อน พูดง่าย ๆ ว่าตราบใดที่มีกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ที่มีความสนใจตรงกัน มี "กฏเกณฑ์" หรือความนิยมตรงกัน และมีประวัติศาสตร์ของตนเอง ก็สามารถก่อกำเนิดเป็นวัฒนธรรมได้ทั้งสิ้นในยุคปัจจุบันนี้ 

กล่าวมาถึงตรงนี้ ย่อมแน่นอนว่า "วิดีโอเกม" เองก็เป็น "วัฒนธรรม" หนึ่งในตัวของมันเอง และในขณะเดียวกันก็ยังเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถนำเสนอวัฒนธรรมในแง่มุมต่าง ๆ สู่ผู้คนในวงกว้าง ทำให้ผู้คนได้รับรู้และสัมผัสกับศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิต ที่พวกเขาอาจไม่มีโอกาสได้สัมผัสด้วยวิธีอื่น โดยผู้เขียนขอยกตัวอย่างเกมจำนวนหนึ่งมาประกอบคำอธิบายให้เห็นภาพมากขึ้น:

Assasin’s Creed


เชื่อว่าเกมเมอร์ส่วนใหญ่คงจะรู้จักกับเกมซีรีส์นี้ไม่มากก็น้อย โดยซีรีส์ Assasin’s Creed นั้นมีพื้นฐานเนื้อเรื่องที่อิงประวัติศาสตร์ยุคต่าง ๆ จากหลากหลายสถานที่ทั่วโลก ซึ่งก็เปิดโอกาสให้เกมนำเสนอวัฒนธรรมในแง่ของสถาปัตยกรรม เสื้อผ้า หรือวิถีชีวิตของผู้คนในยุคสมัยนั้น ๆ ออกมาได้ เช่นกรุงปารีสที่เนรมิตขึ้นอย่างละเอียดใน Assassin's Creed: Unity หรือวิถีชีวิตโจรสลัดใน Assassin's Creed IV: Black Flag เป็นต้น และแม้ว่าในบางแง่บางมุมอาจมีการใส่สีตีแต่งกันไปบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะยังขึ้นตรงต่อตำนานหรือนิยายที่มีอยู่จริง เช่นใน Assassin's Creed: Odyssey หรือ Assassin's Creed: Valhalla ซึ่งก็เป็นวัฒนธรรมอีกรูปแบบหนึ่งเช่นกัน

Red Dead Redemption


เกมดังจากค่าย Rockstar Games ที่จะให้เราได้รับบทเป็นสิงห์ปืนไวจากยุคคาวบอย โดยมีนักวิจารณ์และผู้เล่นมากมายที่ออกมากล่าวชมความสมจริงของเกม ตั้งแต่การนำเสนอวิถีชีวิตของชาวเมือง NPC ไปจนถึงการเอาตัวรอดในฐานะคาวบอยของตัวเอก Arthur Morgan ไม่ว่าจะเป็นการล่าสัตว์ การดูแลม้า ไปจนถึงการดวลปืน เชื่อว่าคนที่เคยเล่นเกมมาก่อนแล้วหลาย ๆ คนน่าจะเคยคิดกับตัวเองว่า "อย่างกับได้ใช้ชีวิตเป็นคาวบอยจริง ๆ" เลยทีเดียว 

แน่นอนว่าอาจแย้งได้ว่าภาพชีวิตคาวบอยในเกม Red Dead Redemption 2 นั้นใกล้เคียงกับ "อุดิมคติ" ของคาวบอยมากกว่าความเป็นจริง แต่ด้วยความเป็นเกมแล้ว จะให้สมจริงไปหมดทุกอย่างก็เกรงจะหมดสนุกซะก่อนอ่าเนอะ

Ghost of Tsushima


ในฐานะเกมที่ "ได้รับแรงบันดาลใจ" มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ แน่นอนว่า Ghost of Tsushima เองก็เป็นเกมหนึ่งที่มีพื้นที่ให้นำเสนอแง่มุมด้านวัฒนธรรมหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกลอนไฮกุ หรือการบูชาสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น โดยเกม Ghost of Tsushima สามารถนำเสนอวัฒนาธรรมเหล่านี้ได้อย่างละเมียดละไม จนแม้แต่คนญี่ปุ่นยังออกปากชมกันไม่ขาดสาย แม้จะเป็นผลงานของค่ายฝั่งตะวันตกอย่าง Sucker Punch ก็ตาม 

Dynasty / Samurai Warriors


แน่นอนว่าซีรีส์ Dynasty หรือ Samurai Warriors (หรือต้นกำเนิดของแนวเกมที่เราอาจรู้จักกันแบบกว้าง ๆ ว่า "เกมมูโซ") นั้นเต็มไปด้วยองค์ประกอบเหนือจริงที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมากมาย เริ่มต้นง่าย ๆ จากแค่เกมเพลย์แนว 1 Vs. 1,000 ที่ให้ผู้เล่นคนเดียวล้างบางศัตรูทั้งกองทัพ อันเป็นเอกลักษณ์ของเกมทั้งสองซีรีส์ แต่สิ่งที่พูดได้แน่ ๆ ว่าเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรม ก็คือการที่ทั้งสองเกมล้วนอ้างอิงจากนวนิยาย (ในกรณีของสามก๊ก) หรือประวัติศาสตร์ (ในกรณีของ Samurai Warriors) ที่มีอยู่จริง และทำให้ผู้เล่นเกมทั้งสองซีรีส์ได้มีโอกาสซีมซับความเป็นวัฒนธรรมของทั้งสองเกมเข้ามาโดยปริยาย ซึ่งถ้าไม่ได้เล่นสองเกมนี้ เหล่าผู้เล่นที่ว่านี้ก็อาจไม่มีวันได้สัมผัสหรือสนใจเรื่องราวเหล่านี้ขึ้นมาเลยด้วยซ้ำ หากไม่ได้ถูกนำเสนอออกมาในรูปแบบของวิดีโอเกม

The Witcher


อย่างที่แฟนเกมทราบกันดี เกม The Witcher นั้นอ้างอิงตัวละครและเรื่องราวมาจากนวนิยาย The Witcher ซึ่งนำเสนอส่วนประกอบของความเชื่อเรื่องผีสางและวิญญาณของวัฒนธรรมในแถบยุโรป โดยเฉพาะในประเทศโปแลนด์อันเป็นบ้านเกิดของทั้งนิยายและผู้พัฒนาเกม CD Projekt Red นั่นเอง ตัวอย่างชัด ๆ ก็คือเหล่าปีศาจมากมายหลากหลายชนิดที่เราได้ออกล่าในฐานะตัวเอก Geralt ไม่ว่าจะเป็นตัว Leshen ซึ่งออกแบบตามวิญญาณผู้พิทักษ์ป่า Leshy ในความเชื่อของชาวสลาฟ (Slavic) หรือกระทั่งตัวแวมไพร์ กริฟฟิน หรือมังกร ล้วนมีรายละเอียดที่อ้างอิงจากความเชื่อที่มีอยู่จริงเช่นกัน

Sifu


หากมองอย่างผิวเผิน แน่นอนว่าเกมกังฟูอย่าง Sifu ถือได้ว่าเป็นการนำเสนอวัฒนธรรมในด้านศิลปะการต่อสู้ให้แก่ผู้เล่น เห็นได้จากท่วงท่าการโจมตีอันสละสลวยในเกม ที่ออกแบบโดยร่วมมือกับปรมาจารย์กังฟูตัวจริง ทำให้มีความ "สมจริง" พอสมควร แต่อย่างที่ผู้พัฒนา Sloclap เคยกล่าวเอาไว้ในบทสัมภาษณ์ว่า "ความหมายดังเดิมของคำว่า กังฟู ไม่ได้เกี่ยวกับการต่อสู้ แต่แปลว่า ความชำนาญที่เกิดจากการทำซ้ำ" เกม Sifu ยังนำเสนอแนวคิดอันเป็นปรัญชาเบื้องหลังศิลปะกังฟูลงไปในการออกแบบเกมด้วย ไม่ว่าจะผ่านระบบ "อายุขัย" ที่ทำให้ผู้เล่นโจมตีแรงขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นของตัวละคร (แต่ก็โดนโจมตีแรงขึ้นไปด้วย) หรือแนวเกมกึ่ง Roguelike อันท้าทาย ที่บังคับให้ผู้เล่นจำเป็นต้องเล่นด่านเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่ากว่าจะสามารถเอาชนะแต่ละด่านได้ (ปัจจุบันเกมเพิ่มโหมดง่ายเข้าไปตามเสียงเรียกร้องแล้ว) ทำให Sifu เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่าง "วัฒนธรรม" อันเก่าแก่ และสื่อสมัยใหม่อย่า "เกม" นั่นเอง

Taiko no Tatsujin

เกมตีกลองญี่ปุ่นที่เกมเพลย์ไม่ซับซ้อน เพียงการเคาะต่างจังหวะคล้ายกับเกมจำพวก OSU แต่เกมได้ใส่ความเป็นลายเซ็นของความเป็นญี่ปุ่นลงไปด้วย ไม่ใช่แค่เพลงภายในเกม แต่เป็นตัวกลองและไม้กลองที่เป็นเหมือนกับซิกเนเจอร์ของเกมเองอย่าง "กลองไทโกะ" ซึ่งเป็นกลองที่ใช้งานเพื่อพิธีกรรมและวาระทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย ทั้งงานเทศกาล ศาสนา หรือแม้กระทั่งทางการทหารในอดีตก็ตาม โดยแม้ว่าการตีกลองไทโกะในความเป็นจริง อาจจะไม่เหมือนกับการตีกลองในเกมแม้แต่น้อย แต่การนำวัฒนธรรมเช่นนี้มาสร้างเป็นเกมที่ทุกคนเข้าถึงได้ ก็สามารถส่งผลให้กลองไทโกะไม่ถูกหลงลืมไปตามยุคสมัย และยังคงเป็นที่รู้จักในสำนึกของสังคมรุ่นใหม่ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อย่างน้อยก็ดีกว่าเก็บเป็นของสูงไว้บนหิ้งเฉย ๆ และถูกหลงลืมไปตามกาลเวลา

Persona 

แม้คำว่าวัฒนธรรมมักจะถูกโยงเข้ากับของโบราณซะส่วนใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ลื่นไหลและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยวิถีชีวิตและความนิยมของผู้คนในปัจจุบันก็สามารถเรียกว่าเป็น "วัฒนธรรมร่วมสมัย" ได้เช่นกัน และหากพูดถึงการนำเสนอวัฒนธรรมร่วมสมัยในลักษณะนี้ ชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดชาติหนึ่งคงหนีไม่พ้นญี่ปุ่น ที่สามารถนำเสนอวัฒนธรรมร่วมสมัยของตัวเองออกสู่ชาวโลกผ่านทั้ง มังงะ อนิเมะ และเกมอย่างต่อเนื่องตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา 

ตัวอย่างซีรีส์เกมหนึ่งที่อาจพูดได้ว่าประสบความสำเร็จในการนำเสนอ "วัฒนธรรมร่วมสมัย" ของญี่ปุ่นออกไปได้อย่างดีเยี่ยมก็คือ Persona อย่างน้อยก็ในฟาก Life Simulation ของเกม ที่ให้ผู้เล่นได้ใช้ชีวิตประจำวันไปกับเรื่องธรรมดา ๆ อย่างการทวนหนังสือในห้องสมุด การทำกิจกรรมชมรม การทำงานพิเศษ หรือกระทั่งแค่การใช้เวลากับเพื่อนฝูง ยังไม่นับรวมรายละเอียดมากมายเกี่ยวกับมุมมอง ค่านิยม รวมไปถึงตำนานและความเชื่อในสังคมญี่ปุ่น ที่ถูกสอดแทรกอยู่ตลอดเนื้อเรื่อง ซึ่งอาจมองรวม ๆ ได้ว่าก็คือวิถีชีวิตของเด็กมัธยมหรือผู้คนทั่วไปในญี่ปุ่นนั่นเอง 

ด้วยตลาดเกมทั่วโลกที่ขยายตัวขึ้นทุกปี จนแซงหน้าอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่อย่างภาพยนตร์ โทรทัศน์ และเพลง ไปอย่างไม่ติดฝุ่น ปฎิเสธไม่ได้อีกต่อไปว่า "เกม" สามารถเป็นเครื่องมือชั้นดีในการสื่อวารกับผู้คนกลุ่มใหญ่ ให้ได้รับรู้ถึงเรื่องราวหรือวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้ในรูปแบบที่น่าสนใจ และถึงแม้ว่าวัฒนธรรมนั้นอาจจะเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ไปบ้างไม่มากก็น้อย แต่ก็คงดีกว่าการปล่อยให้วัฒนธรรมนั้น ๆ เลือนหายไปเปล่า ๆ ราวกับมันไม่เคยมีอยู่จริงในที่สุด 


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header