GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[บทความ] Dying Light 2: จากวูดูสู่แสงอาสัญ - ย้อนรอยความเป็นมนุษย์ที่ถูกฉีกสะบั้นของ "ซอมบี้กินคน"
ลงวันที่ 27/01/2022

หากกล่าวถึงสูตรสำเร็จหรือแม่แบบ (trope) ในแวดวงวัฒนธรรมป๊อป ซากศพสูบสัตว์ กัดกินร่างเนื้อหรือซอมบี้ (zombie) เป็นหนึ่งในสูตรสำเร็จที่ได้รับความนิยมจากอดีตจวบจนปัจจุบัน ไม่ว่าถูกใช้ซ้ำจนช้ำชอก โดนปอกลอกจวนเจียนอิ่มตัวเสียเพียงใด แนวดังกล่าวยังคงตะกายพื้น หวนคืนชีพ รื้อฟื้นความนิยม ยึดบัลลังก์ใจกลับสู่ตนอยู่ร่ำไป มิต่างจากลักษณะความเป็นอยู่ของซอมบี้แม้แต่น้อย ไม่ว่าจะตายซ้ำถูกขย้ำขมับ มันจักกลับมาทวงคืนพื้นที่ของมันเสมอมา

วัฒนธรรมป๊อปอยู่คู่กับซอมบี้อย่างยาวนาน โดยเฉพาะสื่อบันเทิงอย่าง วรรณกรรม, ภาพยนตร์ และวิดีโอเกม อย่างน้อยพวกเราต้องเคยผ่านหน้าผ่านตา รับชมเรื่องราวของซอมบี้สักครั้งหนึ่ง ไม่ว่าเราจะชอบถึงขั้นอุทิศตัวเป็นคัลท์ซอมบี้ หรือชังจนอุทิศคำผรุสวาทให้อย่างแสบสัน ไม่เผาผีกับมัน (ไม่ได้จงใจเล่นคำ) อย่างไรก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จนโลกจะสลายหรือเราวางวาย แต่สุดท้าย ซอมบี้ยังคงอยู่ตลอดกาล

สิ้นแสงอาสัญ หรือ Dying Light เป็นหนึ่งในหลายวิดีโอเกมซึ่งเลือกหยิบยกสูตรสำเร็จของซอมบี้มาปรับใช้ และมีเสียงตอบรับในแง่ดีมากอย่างเป็นที่ประจักษ์ จนได้รับการสนับสนุนอย่างยาวนาน แม้ว่าไม่ได้อยู่ในช่วงจุดสูงสุดของกระแสวัฒนธรรมป๊อปแห่งซากศพมรณะ ปัจจุบันที่กำลังจะปล่อยภาคต่อมาให้เล่น หลังจากเว้นระยะถึง 7 ปี กับการพัฒนาเกมที่กึ่งคนกึ่งผีราวจะถูกฝังกลบ ประสบปัญหารุมเร้ามากเหลือ แต่ก็ยังคงเหลือเชื้อดื้อรั้นดั้นด้นจนพัฒนาเสร็จสมบูรณ์ ไม่สิ้นลายคล้ายซอมบี้ก็มิปาน


ซากศพเดินได้กับอดีตการค้าทาสแสนเจ็บปวด

เมื่อสืบเสาะเจาะย้อนสู่จุดกำเนิดของซอมบี้ เป็นเรื่องน่าประหลาดใจเมื่อทราบว่าแท้จริงแล้ว แนวคิดของซอมบี้มีความเป็นมาเชิงประวัติศาสตร์มากกว่ามโนทัศน์ของคนเราจากผลิตผลแห่งจินตนาการ โดยหัวเชื้อแนวคิดซอมบี้มาจากเรื่องราวซึ่งเป็นสิ่งน่าหดหู่ และถือว่าเป็นอาชญากรรมสุดแสนต่ำทรามต่อมนุษย์กันเอง มันคือ การค้าทาสแอฟริกา ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ช่วงยุคแห่งการล่าอาณานิคม (Colonialism) เป็นระยะเวลาที่การค้าทาสแอฟริกา ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุค

ภายใต้การปกครองของประเทศฝรั่งเศส ณ ประเทศแซงโดแมง (Saint-Domingue) ปัจจุบันคือประเทศเฮติ เป็นประเทศที่เต็มไปด้วยผู้พลัดถิ่น แรมรอนมาจากแถบแอฟริกาตะวันตก พวกเขาถูกฝรั่งเศสส่งตัวเพื่อเป็นทาสใช้แรงงานทำไร่ทำนา โดยเฉพาะการทำไร่อ้อย หนึ่งในสิ่งที่สร้างอิทธิพลให้กับฝรั่งเศสในยุคการไล่ล่าครอบงำโลกใหม่ โดยเมื่อพวกเขาที่มาจากต่างที่ต่างถิ่น ต้องรวมหัวจมท้ายด้วยกันกับชะตากรรม มหกรรมการรับใช้นายหัวในท่วงทำนองโหดร้ายและป่าเถื่อน ท้ายสุดจึงเกิดการก่อตั้งลัทธิหรือศาสนา กลั่นเคี่ยวตกตะกอนจากประสบการณ์ร่วม และมีนามว่า… “วูดู” (Voodou)


วูดูมีความเชื่อว่าร่างกายมนุษย์เป็นเพียงภาชนะ แต่จิตวิญญาณต่างหาก คือที่สิ่งทำให้คนเป็นคน โดยยึดโยงกับสองสิ่งคือ ทีบอนนาจ (ti bon ange) ซึ่งควบคุมสติและสัมปชัญญะ และ โกรบอนนาจ (gros bon ange) ซึ่งควบคุมกลไกการทำงานในร่างกาย ทั้งคู่ล้วนสามารถโบยบินออกจากกายหยาบได้  และนั้นเองเป็นจุดที่เหล่านักบวชของวูดู เรียกว่า โบคัวร์ (bokor) ใช้ควบคุมร่างกายผู้วายชนม์ โดยกักเก็บทีบอนนาจไว้ในขวดแก้ว ควบคุมสติและสัมปชัญญะของร่างไร้จิตวิญญาณ เพื่อใช้เป็นแรงงานส่วนตน

เมื่อกายหยาบอันปราศจากกายละเอียด มันหาได้ต่างจากซากศพเดินได้ ดุจดังตุ๊กตาอันเปล่าเปลือยซึ่งภาวะตระหนักรู้ หรือซอมบี้ที่เรารู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดี

ภาพวาด “ซอมบี้” โดยศิลปินชาวเฮตินาม เฮคเตอร์ ไฮป์โพไลท์ (แหล่งที่มา: คุณ มิเรอิล โวลติเยร์ / Alamy Stock Photo) 

เป็นไปได้ว่าแท้จริงแล้ว แนวคิดซอมบี้ของวูดูเป็นการตกตะกอนจากประสบการณ์ร่วมของผู้คนที่ต้องลำบาก ตรากตรํากับชะตากรรมการเป็นทาส เหตุจากเมื่อเราเปรียบเทียบซอมบี้กับการค้าทาส มันมีจุดร่วมก็คือ “ภาวะไร้เจตจำนงเสรี” (free will) การเป็นทาสไร้ซึ่งเจตจำนงเสรีในเนื้อตัวของเราเพียงใด การเป็นกายหยาบไร้ซึ่งทีบอนนาจก็ไม่ต่างกัน การมีอยู่ของแนวคิดซอมบี้ในยุคก่อกำเนิดอาจเกิดขึ้นเพื่อวิพากษ์ภาวะไร้เจตจำนงเสรีจากการกระทำของมนุษย์ด้วยกันเองอย่างสิ้นแล้วซึ่งความปรานีอันน่าเศร้าสลด

“อัตวินิบาตกรรมเป็นเพียงหนทางเดียวที่จะช่วงชิงการควบคุมกายหยาบของเขาหรือเธอ”

คุณ แอมมี่ ไวเลนซ์ ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเออร์ไวน์ กล่าวไว้ในบทความของตนที่ลงในเว็บไซต์ The New York Times พร้อมทั้งเรียกซอมบี้ว่า 

“ผลผลิตตามหลักเหตุและผลอย่างแท้จริงของการค้าทาสในโลกใหม่”

จากวูดูสู่วัฒนธรรมป๊อปในยุคแรก ​“จอร์จ เอ โรเมโร”

เรื่องราวของซอมบี้เริ่มเข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกามาเป็นเวลาพักใหญ่ แต่เริ่มเป็นที่รับรู้ในวงกว้างด้วยอิทธิพลของงานประพันธ์เชิงนิราศ บันทึกการเดินทางในประเทศเฮติ “The Magic Island” ของคุณ วิลเลียม ซีบรูค ซึ่งได้กล่าวถึงเรื่องราวซอมบี้และศาสนาวูดูแบบขาดความเข้าใจ เขาตีความด้วยทำนองหนักข้อในแง่ลบ แตกต่างจากแนวคิดดั้งเดิม สร้างภาพจำ ผูกคำว่า “มนต์ดำ” (black art) กับวูดูในภาพลักษณ์ที่เต็มไปด้วยความบ้าคลั่ง, ป่าเถื่อน และลุ่มหลง ฝั่งหัวแก่อเมริกันชน

หน้าปกหนังสือ The Magic Island” ของคุณ วิลเลียม ซีบรูค

จวบจนปัจจุบัน การตีความเหล่านั้นยังไม่อาจถูกลบเลือนไปโดยสิ้น และนิราศดังกล่าวกลายเป็นวัตถุดิบหลักที่ถูกนำไปต่อยอดในวงการภาพยนตร์ ตอกย้ำภาพจำผิด ๆ อย่างภาพยนตร์เรื่อง “White Zombie” ที่อัดแน่นด้วยเรื่องราวของความใคร่หลง มัวเมากามารมณ์

“เป็นความตลกร้าย เมื่อซอมบี้ตัวแรกในวัฒนธรรมป๊อปกลับกลายเป็นคนขาวไปเสียแล้ว”

แต่หากพิจารณาในวงกว้าง ภาพยนตร์ที่เป็นมุดหมายสำคัญสำหรับซอมบี้ สร้างกลุ่มคัลท์ แผ้วทางภาพยนตร์ซอมบี้อย่างแท้จริง คือ Night of the Living Dead ของคุณ จอร์จ เอ โรเมโร ด้วยการสร้างสูตรสำเร็จในภาพยนตร์จำพวกนี้ คือ การนำซอมบี้มาใช้เป็นเครื่องมือวิพากษ์สังคมแบบเจ็บแสบ อาจเพราะซอมบี้เป็นเงื่อนไขชั้นยอดซึ่งเร่งปฏิกิริยาของสันดานมนุษย์ได้อย่างเรียบง่าย ตรงไปตรงมา แต่แทงใจเจ็บ โดยคุณโรเมโรมุ่งเน้นวิพากษ์สังคมอเมริกาเป็นหลัก ตามกระแสสังคมผูกกับยุคสมัยที่ภาพยนตร์สร้าง


Night of the Living Dead กับเรื่องราวการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมระหว่างเชื้อชาติ, สิทธิพลเมืองของคนดำ, การเหยียดสีผิว และความรุนแรงของตำรวจ (Police Brutality) ในสังคมอเมริกา ด้วยตัวเอกที่เป็นคนดำต้องเอาตัวรอด ต่อสู้กับฝูงซอมบี้คนขาว ถึงแม้ว่าต่อมาคุณโรเมโร กล่าวว่าเขาไม่ได้จงใจวิพากษ์ประเด็นต่าง ๆ ข้างตนก็ตาม โดยต่อมา Night of the Living Dead ถูกสร้างฉบับโฉมใหม่ สอดแทรกการวิพากษ์เรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศ ที่เป็นปัญหาในยุคดังกล่าวอีกเช่นกัน

เบน (แสดงโดยคุณ ดูแอน โจนส์) ตัวเอกในภาพยนตร์ Night of the Living Dead

Dawn of the Dead กับภาวะการบริโภคนิยม (Consumerism) ในสังคมอเมริกันชน รวมถึงภาพฝันอเมริกันดรีมในยุคสมัยนั้น ด้วยการที่เหล่าบรรดาผู้ประสบภัยซอมบี้รุกรานต้องเข้าไปหลบภัยในห้างสรรพสินค้า และพบว่าความเพียบพร้อมแสนสมบูรณ์ของการบริโภควัตถุไม่ใช่เรื่องยั่งยืนตามที่เขาว่ากล่าวกันมา ( “เขา” ก็คือพวกเหล่านายทุนผู้มอมเมาคำโอ้อวดสร้างภาวะการบริโภคนิยม)

Day of the Dead กับการจำลองสังคมมนุษย์ การเมือง การปกครอง แบบย่อส่วน (แน่นอนว่าจงใจต่อยฮุคสภาพการเมืองของอเมริกาอีกเช่นเคย) รวมถึงการปรับตัวเพื่อเอาตัวรอด ในวันมนุษย์ไม่ใช่ชนหมู่มากในโลกอีกต่อไป ด้วยการหาหนทางอยู่ร่วมกับซอมบี้จากแรงขับพื้นฐานธรรมชาติของสัตว์สังคมอย่างมนุษย์

Land of the Dead กับการจิกกัดพวกลัทธิเชิดชูคนผิวขาวผู้สูงส่ง (White Supremacy) ว่าช่วยมองคนให้เป็นคนที่เท่ากัน แม้ว่าต่างเชื้อชาติกันก็ตาม รวมถึงวิพากษ์ปัญหาความต่างระหว่างชนชั้น ที่การมีอยู่ของซอมบี้ทำให้รอยแยกของความห่างมันแสดงผลอย่างชัดเจนมากขึ้น

เมื่อกลับมาสังเกตให้ถ้วนถี่ เราพบว่าลักษณะซอมบี้ เริ่มหลุดไปไกลจากแนวคิดดั้งเดิมเกือบจะทุกขณะ จากทาสรับใช้ไร้การตระหนกรู้ สู่ซากศพสูบสัตว์ กัดกินทุกสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในคลองสายตา และมันกลายเป็นรากฐานลักษณะเฉพาะของซอมบี้ แม้ว่าถูกนำไปดัดแปลงสักเพียงใด มันยังคงไว้ซึ่ง “โรเมโรซอมบี้” เสมอมา 

แนวคิดหลังสมัยใหม่กับการหวนมองตัวเองในวัฒนธรรมป๊อป

หลังจากการอุบัติของโรเมโรซอมบี้ ซอมบี้กลายเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมป๊อปอย่างสมบูรณ์แบบ มันรุกรานไปทั่วทุกพื้นที่แห่งสารบบป๊อป ไม่เว้นแม้กระทั่งวิดีโอเกม “Zombie Zombie” ถือเป็นวิดีโอเกมซอมบี้เกมแรก จากนั้นเกมซอมบี้ทยอยออกมาไม่หยุดย่อน จนถึงเกมซึ่งทำให้ซอมบี้เป็นกระแสหลักในวงการเกม อย่าง Resident Evil

หน้าปกเกม Resident Evil ฉบับปี ค.ศ. 1996 

ยุค “หลังโรเมโรซอมบี้” เริ่มถูกลดทอนบทบาทการวิพากษ์สังคมที่เคยเป็นหัวใจหลักของซอมบี้โรเมโร มุ่งสู่ความบันเทิงเต็มตัว พัฒนาการซอมบี้รุกหน้าอย่างไม่มีวันจบสิ้น ถอยห่างจากเรื่องราวของการค้าทาสและภาวะไร้เจตจำนงเสรี แต่หากมันไม่มีการพัฒนาต่อยอด มันคือวัฒนธรรมที่กำลังใกล้ม้วย นั้นจึงถือเป็นเรื่องดีมิใช่หรือ?

เมื่อการต่อยอดคือธรรมชาติของวัฏจักรกระแสในวัฒนธรรมป๊อป การวนเวียนเปลี่ยนแปลงแนวทางในวัฒนธรรมป๊อปก็คืออีกธรรมชาติของวัฏจักรอีกเช่นกัน จากอิทธิพลของแนวคิดหลังสมัยใหม่ (Postmodernism) แทนที่การตั้งคำถามต่อเรื่องราวต่อประเด็นรอบตัวสารพัด ถูกพลิกมุมมองใหม่ เมื่อเราหันกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองมากขึ้น คำถามในความเป็น “มนุษย์” ที่หลงเหลือ กับโลกสังคมล่มมลาย

เรื่องราวของซอมบี้ภายในยุคแนวคิดหลังสมัยใหม่ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในช่วงระหว่างภาวะสังคมล่มสลายจนถึงภาวะหลังสังคมล่มสลาย (Social Collapsing และ Post-Social Collapsing) การอุบัติของซอมบี้ส่งผลให้เกิดการเสื่อมแก่ 2 ปัจจัย ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการล่มสลายของสังคม ปัจจัยแรกคือความเสื่อมของสิ่งแวดล้อม ปัจจัยต่อมาคือความเสื่อมของการเมืองการปกครอง ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเคยเป็นต้นเหตุการล่มสลายของอารยธรรมในอดีตทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นอาณาจักรเก่าของอียิปต์ และอาณาจักรโรมันตะวันตก เป็นต้น

หากกล่าวถึงชิ้นงานเกิดขึ้นในยุคนี้ หนึ่งในงานที่โดดเด่นขั้นสุด คือ The Walking Dead ทั้งซีรีส์และวิดีโอเกม มันได้ตั้งคำถามถึงแนวคิดมนุษย์นิยม (Humanism) เมื่อต้องเผชิญกับบริบทโหดดิบสุดขั้ว สั่นคลอนต่อศักดิ์ศรี คุณค่าแก่การดำรงอยู่ในฐานะเยี่ยงมนุษย์ เมื่อมนุษย์หาใช่ผู้ครอบงำ กุมอำนาจสูงสุดของโลกอีกต่อไป ผนวกกับเมื่อเราถูกฉุดสู่จุดต่ำสุดของบริบทแห่งศีลธรรม

“เข็มทิศที่เคยเป็นมาตรวัดคอยชี้นำ จักพาเราไปสู่หนทางใดต่อไป?”


Dying Light 2 / ซอมบี้ / โลกยุคมืดสมัยใหม่

ภาวะหลังสังคมล่มสลายมักตามมาด้วย “ยุคมืด” ซึ่งจุดนี้เอง เป็นสิ่งที่ Dying Light 2 ต้องการนำเสนอในแง่ “ยุคมืดสมัยใหม่” (Modern Dark Ages) 15 ปีให้หลัง เมื่ออารยธรรมล่มสลาย หวนสู่ยุคกลางหรือยุคมืด

ความรู้และเทคโนโลยีที่สั่งสมมา, ศาสนาที่เคยค้ำจุนใจ และระบอบการปกครองสรรสร้างระเบียบแก่สังคม กลายเป็นเพียงความทรงจำเลือนลาง เกิดการก่อตั้งกลุ่มจากผู้มีชีวิตรอด ต่างกลุ่มต่างแนวคิดในการดำรงชีวิตท่ามกลางยุคห่าผี ทั้งกลุ่มผู้ธํารงสันติ (Peacekeeper), กลุ่มผู้ดำรงชีวิต (Survivor) และกลุ่มผู้ละทิ้ง (Renegade)


ในยุคที่สถานการณ์เชิงทางเลือกแห่งศีลธรรม (moral dilemma) วิ่งเข้าหาเราทุกการกระทำ ตั้งคำถามซ้ำแล้วซ้ำเล่า ว่าเรายังคือมนุษย์อีกหรือไม่? 

“อยู่เยี่ยงมนุษย์” (Stay Human) 

คงหาใช่เพียงประโยคคำสร้อย โปรยไว้ใต้ชื่อเกมเพื่อความไฉไล แต่อาจมีไว้เพื่อย้ำเตือนตัวเราให้ตระหนักว่าจงดำรงตนในเส้นทางที่ถูกที่ควร… แม้ในวันที่แสงแห่งความอาสัญได้สูญสิ้น และความเป็นมนุษย์ประหนึ่งดับดิ้นและจากลาอย่างไม่อาจหวนคืน…


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] Dying Light 2: จากวูดูสู่แสงอาสัญ - ย้อนรอยความเป็นมนุษย์ที่ถูกฉีกสะบั้นของ "ซอมบี้กินคน"
27/01/2022

หากกล่าวถึงสูตรสำเร็จหรือแม่แบบ (trope) ในแวดวงวัฒนธรรมป๊อป ซากศพสูบสัตว์ กัดกินร่างเนื้อหรือซอมบี้ (zombie) เป็นหนึ่งในสูตรสำเร็จที่ได้รับความนิยมจากอดีตจวบจนปัจจุบัน ไม่ว่าถูกใช้ซ้ำจนช้ำชอก โดนปอกลอกจวนเจียนอิ่มตัวเสียเพียงใด แนวดังกล่าวยังคงตะกายพื้น หวนคืนชีพ รื้อฟื้นความนิยม ยึดบัลลังก์ใจกลับสู่ตนอยู่ร่ำไป มิต่างจากลักษณะความเป็นอยู่ของซอมบี้แม้แต่น้อย ไม่ว่าจะตายซ้ำถูกขย้ำขมับ มันจักกลับมาทวงคืนพื้นที่ของมันเสมอมา

วัฒนธรรมป๊อปอยู่คู่กับซอมบี้อย่างยาวนาน โดยเฉพาะสื่อบันเทิงอย่าง วรรณกรรม, ภาพยนตร์ และวิดีโอเกม อย่างน้อยพวกเราต้องเคยผ่านหน้าผ่านตา รับชมเรื่องราวของซอมบี้สักครั้งหนึ่ง ไม่ว่าเราจะชอบถึงขั้นอุทิศตัวเป็นคัลท์ซอมบี้ หรือชังจนอุทิศคำผรุสวาทให้อย่างแสบสัน ไม่เผาผีกับมัน (ไม่ได้จงใจเล่นคำ) อย่างไรก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จนโลกจะสลายหรือเราวางวาย แต่สุดท้าย ซอมบี้ยังคงอยู่ตลอดกาล

สิ้นแสงอาสัญ หรือ Dying Light เป็นหนึ่งในหลายวิดีโอเกมซึ่งเลือกหยิบยกสูตรสำเร็จของซอมบี้มาปรับใช้ และมีเสียงตอบรับในแง่ดีมากอย่างเป็นที่ประจักษ์ จนได้รับการสนับสนุนอย่างยาวนาน แม้ว่าไม่ได้อยู่ในช่วงจุดสูงสุดของกระแสวัฒนธรรมป๊อปแห่งซากศพมรณะ ปัจจุบันที่กำลังจะปล่อยภาคต่อมาให้เล่น หลังจากเว้นระยะถึง 7 ปี กับการพัฒนาเกมที่กึ่งคนกึ่งผีราวจะถูกฝังกลบ ประสบปัญหารุมเร้ามากเหลือ แต่ก็ยังคงเหลือเชื้อดื้อรั้นดั้นด้นจนพัฒนาเสร็จสมบูรณ์ ไม่สิ้นลายคล้ายซอมบี้ก็มิปาน


ซากศพเดินได้กับอดีตการค้าทาสแสนเจ็บปวด

เมื่อสืบเสาะเจาะย้อนสู่จุดกำเนิดของซอมบี้ เป็นเรื่องน่าประหลาดใจเมื่อทราบว่าแท้จริงแล้ว แนวคิดของซอมบี้มีความเป็นมาเชิงประวัติศาสตร์มากกว่ามโนทัศน์ของคนเราจากผลิตผลแห่งจินตนาการ โดยหัวเชื้อแนวคิดซอมบี้มาจากเรื่องราวซึ่งเป็นสิ่งน่าหดหู่ และถือว่าเป็นอาชญากรรมสุดแสนต่ำทรามต่อมนุษย์กันเอง มันคือ การค้าทาสแอฟริกา ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ช่วงยุคแห่งการล่าอาณานิคม (Colonialism) เป็นระยะเวลาที่การค้าทาสแอฟริกา ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุค

ภายใต้การปกครองของประเทศฝรั่งเศส ณ ประเทศแซงโดแมง (Saint-Domingue) ปัจจุบันคือประเทศเฮติ เป็นประเทศที่เต็มไปด้วยผู้พลัดถิ่น แรมรอนมาจากแถบแอฟริกาตะวันตก พวกเขาถูกฝรั่งเศสส่งตัวเพื่อเป็นทาสใช้แรงงานทำไร่ทำนา โดยเฉพาะการทำไร่อ้อย หนึ่งในสิ่งที่สร้างอิทธิพลให้กับฝรั่งเศสในยุคการไล่ล่าครอบงำโลกใหม่ โดยเมื่อพวกเขาที่มาจากต่างที่ต่างถิ่น ต้องรวมหัวจมท้ายด้วยกันกับชะตากรรม มหกรรมการรับใช้นายหัวในท่วงทำนองโหดร้ายและป่าเถื่อน ท้ายสุดจึงเกิดการก่อตั้งลัทธิหรือศาสนา กลั่นเคี่ยวตกตะกอนจากประสบการณ์ร่วม และมีนามว่า… “วูดู” (Voodou)


วูดูมีความเชื่อว่าร่างกายมนุษย์เป็นเพียงภาชนะ แต่จิตวิญญาณต่างหาก คือที่สิ่งทำให้คนเป็นคน โดยยึดโยงกับสองสิ่งคือ ทีบอนนาจ (ti bon ange) ซึ่งควบคุมสติและสัมปชัญญะ และ โกรบอนนาจ (gros bon ange) ซึ่งควบคุมกลไกการทำงานในร่างกาย ทั้งคู่ล้วนสามารถโบยบินออกจากกายหยาบได้  และนั้นเองเป็นจุดที่เหล่านักบวชของวูดู เรียกว่า โบคัวร์ (bokor) ใช้ควบคุมร่างกายผู้วายชนม์ โดยกักเก็บทีบอนนาจไว้ในขวดแก้ว ควบคุมสติและสัมปชัญญะของร่างไร้จิตวิญญาณ เพื่อใช้เป็นแรงงานส่วนตน

เมื่อกายหยาบอันปราศจากกายละเอียด มันหาได้ต่างจากซากศพเดินได้ ดุจดังตุ๊กตาอันเปล่าเปลือยซึ่งภาวะตระหนักรู้ หรือซอมบี้ที่เรารู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดี

ภาพวาด “ซอมบี้” โดยศิลปินชาวเฮตินาม เฮคเตอร์ ไฮป์โพไลท์ (แหล่งที่มา: คุณ มิเรอิล โวลติเยร์ / Alamy Stock Photo) 

เป็นไปได้ว่าแท้จริงแล้ว แนวคิดซอมบี้ของวูดูเป็นการตกตะกอนจากประสบการณ์ร่วมของผู้คนที่ต้องลำบาก ตรากตรํากับชะตากรรมการเป็นทาส เหตุจากเมื่อเราเปรียบเทียบซอมบี้กับการค้าทาส มันมีจุดร่วมก็คือ “ภาวะไร้เจตจำนงเสรี” (free will) การเป็นทาสไร้ซึ่งเจตจำนงเสรีในเนื้อตัวของเราเพียงใด การเป็นกายหยาบไร้ซึ่งทีบอนนาจก็ไม่ต่างกัน การมีอยู่ของแนวคิดซอมบี้ในยุคก่อกำเนิดอาจเกิดขึ้นเพื่อวิพากษ์ภาวะไร้เจตจำนงเสรีจากการกระทำของมนุษย์ด้วยกันเองอย่างสิ้นแล้วซึ่งความปรานีอันน่าเศร้าสลด

“อัตวินิบาตกรรมเป็นเพียงหนทางเดียวที่จะช่วงชิงการควบคุมกายหยาบของเขาหรือเธอ”

คุณ แอมมี่ ไวเลนซ์ ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเออร์ไวน์ กล่าวไว้ในบทความของตนที่ลงในเว็บไซต์ The New York Times พร้อมทั้งเรียกซอมบี้ว่า 

“ผลผลิตตามหลักเหตุและผลอย่างแท้จริงของการค้าทาสในโลกใหม่”

จากวูดูสู่วัฒนธรรมป๊อปในยุคแรก ​“จอร์จ เอ โรเมโร”

เรื่องราวของซอมบี้เริ่มเข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกามาเป็นเวลาพักใหญ่ แต่เริ่มเป็นที่รับรู้ในวงกว้างด้วยอิทธิพลของงานประพันธ์เชิงนิราศ บันทึกการเดินทางในประเทศเฮติ “The Magic Island” ของคุณ วิลเลียม ซีบรูค ซึ่งได้กล่าวถึงเรื่องราวซอมบี้และศาสนาวูดูแบบขาดความเข้าใจ เขาตีความด้วยทำนองหนักข้อในแง่ลบ แตกต่างจากแนวคิดดั้งเดิม สร้างภาพจำ ผูกคำว่า “มนต์ดำ” (black art) กับวูดูในภาพลักษณ์ที่เต็มไปด้วยความบ้าคลั่ง, ป่าเถื่อน และลุ่มหลง ฝั่งหัวแก่อเมริกันชน

หน้าปกหนังสือ The Magic Island” ของคุณ วิลเลียม ซีบรูค

จวบจนปัจจุบัน การตีความเหล่านั้นยังไม่อาจถูกลบเลือนไปโดยสิ้น และนิราศดังกล่าวกลายเป็นวัตถุดิบหลักที่ถูกนำไปต่อยอดในวงการภาพยนตร์ ตอกย้ำภาพจำผิด ๆ อย่างภาพยนตร์เรื่อง “White Zombie” ที่อัดแน่นด้วยเรื่องราวของความใคร่หลง มัวเมากามารมณ์

“เป็นความตลกร้าย เมื่อซอมบี้ตัวแรกในวัฒนธรรมป๊อปกลับกลายเป็นคนขาวไปเสียแล้ว”

แต่หากพิจารณาในวงกว้าง ภาพยนตร์ที่เป็นมุดหมายสำคัญสำหรับซอมบี้ สร้างกลุ่มคัลท์ แผ้วทางภาพยนตร์ซอมบี้อย่างแท้จริง คือ Night of the Living Dead ของคุณ จอร์จ เอ โรเมโร ด้วยการสร้างสูตรสำเร็จในภาพยนตร์จำพวกนี้ คือ การนำซอมบี้มาใช้เป็นเครื่องมือวิพากษ์สังคมแบบเจ็บแสบ อาจเพราะซอมบี้เป็นเงื่อนไขชั้นยอดซึ่งเร่งปฏิกิริยาของสันดานมนุษย์ได้อย่างเรียบง่าย ตรงไปตรงมา แต่แทงใจเจ็บ โดยคุณโรเมโรมุ่งเน้นวิพากษ์สังคมอเมริกาเป็นหลัก ตามกระแสสังคมผูกกับยุคสมัยที่ภาพยนตร์สร้าง


Night of the Living Dead กับเรื่องราวการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมระหว่างเชื้อชาติ, สิทธิพลเมืองของคนดำ, การเหยียดสีผิว และความรุนแรงของตำรวจ (Police Brutality) ในสังคมอเมริกา ด้วยตัวเอกที่เป็นคนดำต้องเอาตัวรอด ต่อสู้กับฝูงซอมบี้คนขาว ถึงแม้ว่าต่อมาคุณโรเมโร กล่าวว่าเขาไม่ได้จงใจวิพากษ์ประเด็นต่าง ๆ ข้างตนก็ตาม โดยต่อมา Night of the Living Dead ถูกสร้างฉบับโฉมใหม่ สอดแทรกการวิพากษ์เรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศ ที่เป็นปัญหาในยุคดังกล่าวอีกเช่นกัน

เบน (แสดงโดยคุณ ดูแอน โจนส์) ตัวเอกในภาพยนตร์ Night of the Living Dead

Dawn of the Dead กับภาวะการบริโภคนิยม (Consumerism) ในสังคมอเมริกันชน รวมถึงภาพฝันอเมริกันดรีมในยุคสมัยนั้น ด้วยการที่เหล่าบรรดาผู้ประสบภัยซอมบี้รุกรานต้องเข้าไปหลบภัยในห้างสรรพสินค้า และพบว่าความเพียบพร้อมแสนสมบูรณ์ของการบริโภควัตถุไม่ใช่เรื่องยั่งยืนตามที่เขาว่ากล่าวกันมา ( “เขา” ก็คือพวกเหล่านายทุนผู้มอมเมาคำโอ้อวดสร้างภาวะการบริโภคนิยม)

Day of the Dead กับการจำลองสังคมมนุษย์ การเมือง การปกครอง แบบย่อส่วน (แน่นอนว่าจงใจต่อยฮุคสภาพการเมืองของอเมริกาอีกเช่นเคย) รวมถึงการปรับตัวเพื่อเอาตัวรอด ในวันมนุษย์ไม่ใช่ชนหมู่มากในโลกอีกต่อไป ด้วยการหาหนทางอยู่ร่วมกับซอมบี้จากแรงขับพื้นฐานธรรมชาติของสัตว์สังคมอย่างมนุษย์

Land of the Dead กับการจิกกัดพวกลัทธิเชิดชูคนผิวขาวผู้สูงส่ง (White Supremacy) ว่าช่วยมองคนให้เป็นคนที่เท่ากัน แม้ว่าต่างเชื้อชาติกันก็ตาม รวมถึงวิพากษ์ปัญหาความต่างระหว่างชนชั้น ที่การมีอยู่ของซอมบี้ทำให้รอยแยกของความห่างมันแสดงผลอย่างชัดเจนมากขึ้น

เมื่อกลับมาสังเกตให้ถ้วนถี่ เราพบว่าลักษณะซอมบี้ เริ่มหลุดไปไกลจากแนวคิดดั้งเดิมเกือบจะทุกขณะ จากทาสรับใช้ไร้การตระหนกรู้ สู่ซากศพสูบสัตว์ กัดกินทุกสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในคลองสายตา และมันกลายเป็นรากฐานลักษณะเฉพาะของซอมบี้ แม้ว่าถูกนำไปดัดแปลงสักเพียงใด มันยังคงไว้ซึ่ง “โรเมโรซอมบี้” เสมอมา 

แนวคิดหลังสมัยใหม่กับการหวนมองตัวเองในวัฒนธรรมป๊อป

หลังจากการอุบัติของโรเมโรซอมบี้ ซอมบี้กลายเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมป๊อปอย่างสมบูรณ์แบบ มันรุกรานไปทั่วทุกพื้นที่แห่งสารบบป๊อป ไม่เว้นแม้กระทั่งวิดีโอเกม “Zombie Zombie” ถือเป็นวิดีโอเกมซอมบี้เกมแรก จากนั้นเกมซอมบี้ทยอยออกมาไม่หยุดย่อน จนถึงเกมซึ่งทำให้ซอมบี้เป็นกระแสหลักในวงการเกม อย่าง Resident Evil

หน้าปกเกม Resident Evil ฉบับปี ค.ศ. 1996 

ยุค “หลังโรเมโรซอมบี้” เริ่มถูกลดทอนบทบาทการวิพากษ์สังคมที่เคยเป็นหัวใจหลักของซอมบี้โรเมโร มุ่งสู่ความบันเทิงเต็มตัว พัฒนาการซอมบี้รุกหน้าอย่างไม่มีวันจบสิ้น ถอยห่างจากเรื่องราวของการค้าทาสและภาวะไร้เจตจำนงเสรี แต่หากมันไม่มีการพัฒนาต่อยอด มันคือวัฒนธรรมที่กำลังใกล้ม้วย นั้นจึงถือเป็นเรื่องดีมิใช่หรือ?

เมื่อการต่อยอดคือธรรมชาติของวัฏจักรกระแสในวัฒนธรรมป๊อป การวนเวียนเปลี่ยนแปลงแนวทางในวัฒนธรรมป๊อปก็คืออีกธรรมชาติของวัฏจักรอีกเช่นกัน จากอิทธิพลของแนวคิดหลังสมัยใหม่ (Postmodernism) แทนที่การตั้งคำถามต่อเรื่องราวต่อประเด็นรอบตัวสารพัด ถูกพลิกมุมมองใหม่ เมื่อเราหันกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองมากขึ้น คำถามในความเป็น “มนุษย์” ที่หลงเหลือ กับโลกสังคมล่มมลาย

เรื่องราวของซอมบี้ภายในยุคแนวคิดหลังสมัยใหม่ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในช่วงระหว่างภาวะสังคมล่มสลายจนถึงภาวะหลังสังคมล่มสลาย (Social Collapsing และ Post-Social Collapsing) การอุบัติของซอมบี้ส่งผลให้เกิดการเสื่อมแก่ 2 ปัจจัย ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการล่มสลายของสังคม ปัจจัยแรกคือความเสื่อมของสิ่งแวดล้อม ปัจจัยต่อมาคือความเสื่อมของการเมืองการปกครอง ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเคยเป็นต้นเหตุการล่มสลายของอารยธรรมในอดีตทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นอาณาจักรเก่าของอียิปต์ และอาณาจักรโรมันตะวันตก เป็นต้น

หากกล่าวถึงชิ้นงานเกิดขึ้นในยุคนี้ หนึ่งในงานที่โดดเด่นขั้นสุด คือ The Walking Dead ทั้งซีรีส์และวิดีโอเกม มันได้ตั้งคำถามถึงแนวคิดมนุษย์นิยม (Humanism) เมื่อต้องเผชิญกับบริบทโหดดิบสุดขั้ว สั่นคลอนต่อศักดิ์ศรี คุณค่าแก่การดำรงอยู่ในฐานะเยี่ยงมนุษย์ เมื่อมนุษย์หาใช่ผู้ครอบงำ กุมอำนาจสูงสุดของโลกอีกต่อไป ผนวกกับเมื่อเราถูกฉุดสู่จุดต่ำสุดของบริบทแห่งศีลธรรม

“เข็มทิศที่เคยเป็นมาตรวัดคอยชี้นำ จักพาเราไปสู่หนทางใดต่อไป?”


Dying Light 2 / ซอมบี้ / โลกยุคมืดสมัยใหม่

ภาวะหลังสังคมล่มสลายมักตามมาด้วย “ยุคมืด” ซึ่งจุดนี้เอง เป็นสิ่งที่ Dying Light 2 ต้องการนำเสนอในแง่ “ยุคมืดสมัยใหม่” (Modern Dark Ages) 15 ปีให้หลัง เมื่ออารยธรรมล่มสลาย หวนสู่ยุคกลางหรือยุคมืด

ความรู้และเทคโนโลยีที่สั่งสมมา, ศาสนาที่เคยค้ำจุนใจ และระบอบการปกครองสรรสร้างระเบียบแก่สังคม กลายเป็นเพียงความทรงจำเลือนลาง เกิดการก่อตั้งกลุ่มจากผู้มีชีวิตรอด ต่างกลุ่มต่างแนวคิดในการดำรงชีวิตท่ามกลางยุคห่าผี ทั้งกลุ่มผู้ธํารงสันติ (Peacekeeper), กลุ่มผู้ดำรงชีวิต (Survivor) และกลุ่มผู้ละทิ้ง (Renegade)


ในยุคที่สถานการณ์เชิงทางเลือกแห่งศีลธรรม (moral dilemma) วิ่งเข้าหาเราทุกการกระทำ ตั้งคำถามซ้ำแล้วซ้ำเล่า ว่าเรายังคือมนุษย์อีกหรือไม่? 

“อยู่เยี่ยงมนุษย์” (Stay Human) 

คงหาใช่เพียงประโยคคำสร้อย โปรยไว้ใต้ชื่อเกมเพื่อความไฉไล แต่อาจมีไว้เพื่อย้ำเตือนตัวเราให้ตระหนักว่าจงดำรงตนในเส้นทางที่ถูกที่ควร… แม้ในวันที่แสงแห่งความอาสัญได้สูญสิ้น และความเป็นมนุษย์ประหนึ่งดับดิ้นและจากลาอย่างไม่อาจหวนคืน…


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header