GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
Play-to-Earn: 'เล่นเกมแลกเงิน' แนวเกมใหม่ ที่อาจเปลี่ยนวงการเกมไปตลอดกาล?!
ลงวันที่ 19/10/2021

ก่อนหน้านี้ในเว็บไวต์ GameFever ของเราได้มีการพูดถึงเกมแบบ Play-to-Earn กันไปบ้างพอสมควรแล้ว ว่าแต่..? แล้วการเข้ามาของ Play-to-Earn และ NFT Game จะส่งผลอย่างไรต่อวงการเกมบ้าง? มีข้อดี-ข้อเสียตรงไหน? แล้วคนเล่นอย่างเราจะได้ประโยชน์อะไร รวมไปถึงทิศทางการพัฒนาเกมในอนาคตมีโอกาสกลายเป็น 'อาชีพ' แทนการเล่นเพื่อ 'ความบันเทิง' ด้วยหรือไม่ เราลองมาคิดวิเคราะห์ไปพร้อมๆกันเลยดีกว่า



การเข้ามาของ Play-to-Earn

ว่ากันตามตรง การเล่นเกมเพื่อหวังทำธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลย จะเรียกว่ามันเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับเกม MMO (Massive Multiplayer Online) เลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อผู้เล่นมากหน้าหลายตาได้เข้ามารวมกัน จึงมีการสร้างชุมชนขึ้นในเกม และแน่นอนว่าเมื่อที่ใดมีวัฒนธรรมเป็นของตัวเองก็ย่อมมีเรื่องการค้าขายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอยู่แล้ว เมื่อเกิดการซื้อขายก็มีการสร้างมูลค่า เมื่อไอเท็มมีมูลค่ากลไกการตลาดจึงเกิดขึ้น กลายเป็นว่า Data เล็กๆเพียงโค้ดเดียวของเกมสามารถเทียบเป็นเงินจริงกันได้ตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงแสนบาท ล้านบาท ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

ทั้งนี้ อย่างที่ชาว MMORPG ทราบกันดีว่านี่เป็นการกระทำที่บริษัทเจ้าของเกม 'ไม่สนับสนุน' แต่เกมหลายๆ เกมก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าเติบโตและมีอายุยืนยาวได้เพราะกลไกเศรษฐกิจแบบนี้ จนกระทั่งการเข้ามาของเทคโนโลยี Blockchain ที่ทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลกลายเป็นของที่มีมูลค่าขึ้นมาจริงๆ นี่เองจึงเป็นช่องทางให้ Play-to-Earn ถูกยอมรับว่าเป็นเกมแนวหนึ่งไปนั่นเอง

และด้วยสถานการณ์ตั้งแต่ต้นปี 2020 ที่มีการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้การเล่นเกมเริ่มเป็นลู่ทางหาเงินของหลายๆคนที่ต้องอยู่ภายใต้ภาวะ Lockdown ประจวบเหมาะกับเป็นช่วงพัฒนาของ crypto-base game หรือที่หลายคนอาจจะเรียกว่า NFTs Game จึงทำให้การเล่นเกมแนว Play-to-Earn เติบโตอย่างก้าวกระโดดในพริบตา ซึ่งถ้าใครติดตามข่าวสารในวงการเกมแนวนี้จะรู้เลยว่าการแข่งขันด้านพัฒนาเกม crypto-base นั้นดุเดือดมากๆ มีมาให้ผู้บริโภคเลือกกันจนลายตาเลยล่ะ แต่วงการ Crypto ก็คือการลงทุนประเภทหนึ่งนั่นแหละ มีบางคนได้ แต่หลายคนก็เหมือนจะเสียมากกว่าคืนทุน

อย่างไรก็ดี โมเดลธุรกิจเกมแบบนี้ถือเป็นการเปิดโอกาสให้เรื่องที่เคย 'ผิดเงื่อนไขการให้บริการ' กลายเป็นสิ่งที่สามารถทำได้โดยอิสระและถูกต้อง ทำให้อำนาจการควบคุมทิศทางของสังคมเกมมาอยู่ในมือผู้เล่นมากขึ้น ส่วนผู้พัฒนาก็ได้รับโอกาสในการสร้างธุรกิจรูปแบบใหม่ๆขึ้นมาด้วยเช่นกัน


รากฐานของ Play-to-Earn

อย่างที่เราบอกไปว่าจุดเริ่มต้นของแนวเกมนี้มาจากสกุลเงินดิจิทัลหรือที่เราเรียกกันว่า คริปโต โดยสกุลที่มีชื่อเสียงก็ได้แก่ BitCoin, Ethereum หรือเหรียญ meme อย่าง DogeCoin ที่ อีลอน มาส์ก เคยปั่นราคาไว้ ซึ่งเมื่อเงินเหล่านี้เริ่มเติบโตขึ้นจะให้แค่แลกเหรียญกันไปมาก็กระไรอยู่ ก็เอามันมาใช้จ่ายเหมือนเงินจริงเสียเลยสิ! แต่ก็ใช่ว่าจะผลักดันได้ง่ายขนาดนั้น เลยเริ่มมีการสร้าง Concept การซื้อขาย NFT ซึ่งเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ซื้อขายด้วยเงินดิจิทัลกันไปเลยดีกว่า ซึ่ง non-fungible token นี้ถือเป็นสินค้าเฉพาะที่มีเพียงชิ้นเดียว อาจจะเป็นภาพ เพลง หรืองานใดๆก็ตามที่เราสามารถซื้อและถือครองเป็นเจ้าของ Data ตัวนั้นได้แบบเต็มตัวผ่านการจ่ายด้วยเงินคริปโต และด้วยความสเถียรของระบบที่พิสูจน์ตัวเองมาแล้วว่า "น่าเชื่อถือ" ของคริปโต บวกกับการรับประกันความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ NFT ที่สามารถตรวจสอบได้ จึงไม่น่าแปลกเลยที่ระบบเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งใหญ่ในสังคมโลกปัจจุบัน

ในเมื่อเอางานศิลปะมาทำไฟล์ดิจิทัลขายได้ แล้วสินค้าดิจิทัลที่มีการซื้อขายเงินจริงกันเป็นปกติอยู่แล้วทำไมจะเข้าร่วม NFT กับเขาไม่ได้ล่ะ จริงไหม? นั่นจึงเป็นช่องทางให้เกมใหม่ๆหลายเกมหันมาพัฒนาไอเท็มให้สามารถกลายเป็นสินค้า NFT ได้ พร้อมเชื่อมต่อระบบเข้ากับสกุลเงินคริปโต (ซึ่งส่วนใหญ่ไว้ใจ Ethereum) เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และผลตอบรับก็ดีเสียด้วยล่ะ




ผลกระทบของ Play-to-Earn ต่อวงการเกม

การซื้อขายเกม: จากเดิมที่เป็นการซื้อขายเป็นแบบรายได้เข้าสู่ทางเดียว ก็คือบริษัทเกม จะเปลี่ยนไป เนื้อหาภายในเกมผู้เล่นจะมีสิทธิ์เป็นเจ้าของ บันทึนการซื้อขายภายในเกม ขายไอเท็มให้กับผู้เล่นอื่นได้ หรืออาจจะย้ายทรัพย์สินเหล่านี้ไปยังเกมอื่นได้ด้วย โดยที่ไม่มีใคร แม้แต่ผู้พัฒนาเกม จะแย่งความเป็นเจ้าของนี้ไปจากเราได้

ดึงดูดนักสะสม: ใน community อาจจะไม่ได้จำกัดเฉพาะเกมเมอร์เท่านั้น แต่ในเมื่อมี NFT ก็ย่อมมี collector ผู้ชื่นชอบการสะสมงานศิลปะหรืออยากเก็บ NFT เพื่อเก็งกำไรในอนาคต จะมีหมุนเวียนเข้ามาด้วย ซึ่งจะช่วยให้คอนเทนต์ต่างๆในเกมมีความคึกคักมากขึ้น รวมไปถึงฮาร์ดคอร์เกมเมอร์ก็มีโอกาสสร้างรายได้ในวงกว้างมากขึ้นด้วย

เกมแต่ละเกม มีส่วนร่วมต่อกันมากขึ้น: จากแต่ก่อนถ้าเราเล่นเกมใดก็จะมีเครือข่ายอยู่แต่ในเซิฟเวอร์ของตัวเองเท่านั้น แต่ crypto-base game ไม่เป็นแบบนั้น หากเกม 2 เกมที่สร้างบนเครือข่ายสกุลเงินเดียวกัน จะสามารถรองรับทรัพย์สิน อย่างเช่น ตัวละคร อาวุธ ชุดเกราะ ยานพาหนะ ฯลฯ แบบข้ามเกมกันได้ด้วยล่ะ

ความเป็นนิรันด์: แม้ว่าในอนาคตเซิฟเวอร์ของตัวเกมอาจจะไม่มีแล้วแต่เหล่าไอเท็มที่ถูก mint ให้กลายเป็น NFT จะยังคงอยู่บน Blockchain ตลอดไป

สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้เล่น: จากเมื่อก่อนการซื้อ-ขายส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเฉพาะในเกม MMORPG แต่เมื่อ Blockchain เข้ามามีบทบาทในวงการเกม ทำให้เกมทุกรูปแบบทั้งเกมไพ่, Turn-base, เกมทำฟาร์ม, เกมสไตล์โปเกม่อน ไปจนถึง MOBA ต่างก็ทยอยพัฒนาคอนเทนต์ของตัวเองให้น่าสนใจได้มากยิ่งขึ้นเพียงแค่นำขึ้นระบบ Blockchain อีกทั้งผู้เล่นยังสามารถแลกเปลี่ยนสะสมของในเกมที่ดำเนินคอนเทนต์ด้วยคนเล่นคนเดียวกับผู้เล่นเกมคนอื่นๆได้อีกด้วย มีอะไรให้ทำมากขึ้นเลยใช่ไหมล่ะ!


แล้วเกมใหม่หลังจากนี้ จะกลายเป็น Play-to-Earn ทั้งหมดเลยหรือเปล่า?

ถ้าให้พูดถึงมุมมองของคนที่ผลิตสินค้าและบริการก็ต้องบอกว่า เกมจะเป็น Play-to-Earn หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับทิศทางความสนใจของผู้เล่นเองนั่นแหละ เพราะคงไม่มีใครอยากเหนื่อยสร้างเกมที่ไม่มีใครอยากเล่นออกมาอยู่แล้วล่ะ

คราวนี้มามองในมุมสถานการณ์ปัจจุบันกันบ้าง แม้เกม Play-to-Earn จะเป็นที่สนใจของผู้เล่นในช่วงปีนี้แต่มันก็ยังไม่ใช่แนวเกมที่เป็นกระแสหลักอยู่ดี เพราะก่อนจะเข้าสู่วงการนี้ได้ต้องทำความเข้าใจระบบที่มีความซับซ้อนมากพอสมควร ซึ่งมันยุ่งยากกว่าการซื้อ-ขายแบบเก่าหลายเท่าเลย 

นอกจากนี้ คอนเทนต์เกมที่ถูก mint เป็น NFT ยังเสี่ยงที่จะถูกใช้เป็นเครื่องมือเก็งกำไร แทนที่จะเป็นทรัพยากรหมุนเวียนภายในเกมอย่างที่มันควรจะเป็น และกลายเป็นสถานที่กอบโกยผลประโยชน์แทนเสียอย่างนั้น

อย่างไรก็ดีเหล่าเกม Play-to-Earn ที่คลอดออกมาในตลาดเกมตอนนี้ก็มีปัญหาให้ตามแก้อยู่มากพอสมควร โจทย์ของผู้พัฒนาจึงไม่ใช่แค่การทำให้เกมน่าเล่นแต่ยังต้องรักษาสมดุลเกมให้ดีที่สุด ซึ่งมันมีปัจจัยของปัญหามากกว่าเกมแบบเดิม ที่สำคัญต้องประคองให้การเล่นเกมเป็นการคืนประโยชน์ให้กับผู้เล่นมากกว่าจะเป็นการเล่นเพื่อหารายได้เพียงอย่างเดียว นับว่ายังเป็นโจทย์ที่ยากและท้าทายทีมงานแบบสุดๆ เลย

ฉะนั้น Play-to-Earn ยังคงเป็นเพียงการจุดประกายใหม่ๆของอุตสาหกรรม และยังไม่มีความจำเป็นอะไรที่ต้องผลักดันให้เกมเป็นการเล่นเพื่อสร้างรายได้โดยเฉพาะ แม้แนวโน้มที่เกมในอนาคตจะกลายเป็น Play-to-Earn เกือบทั้งหมด แต่เส้นทางนี้ยังอีกยาวไกลและต้องวางระบบกันอีกเยอะกว่าจะถึงจุดที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า "ทิศทางของเกมในอนาคต ควรจะเป็นแบบไหน" กันแน่




สรุปส่งท้าย

การเข้ามาของ Play-to-Earn นั้นต้องบอกว่าประโยชน์ส่วนใหญ่ก็ตกอยู่ที่ "ผู้เล่น" นั่นแหละ เพราะมันคือวิธีการสร้างรายได้และอาชีพให้กับคนๆหนึ่งได้ ถ้า! คุณเข้าใจการลงทุนและสามารถหยิบจับประโยชน์จากระบบเหล่านี้ได้อย่างถูกจังหวะ นอกจากนี้คอนเทนต์ต่างๆภายในเกมเรายังมีความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้พัฒนาด้วย

ในส่วนของผู้พัฒนาเองก็ได้เจอโจทย์การทำเกมใหม่ๆ รวมถึงมีช่องทางการทำรายได้ที่หลากหลายยิ่งขึ้น แม้อาจจะต้องแลกมากับเรื่องปวดหัวที่มากขึ้นก็ตาม ก็เป็นธรรมดาของช่วงตั้งตัวที่ผู้ผลิตต้องพิสูจน์ความเจ๋งของตัวเองเพื่อที่จะเฉิดฉายในวงการนี้

ส่วนทิศทางในอนาคตนั้นอาจจะต้องรอดูกันไปก่อนว่าทำให้อุตสาหกรรมเกมกลายเป็นตลาดสร้างรายได้แบบเต็มตัวไปเลยหรือเปล่า แต่ส่วนตัวเชื่อว่าไม่มีทางที่เกมทุกเกมจะเป็น Play-to-Earn หรอก เพียงแต่จะเป็นฟังก์ชั่นเสริมดึงดูดลูกค้าที่จะกลายเป็นที่นิยมมากขึ้นเสียมากกว่า


Source

How 'Play-To-Earn' Is Changing The Business Of Gaming

Gaming and Non-Fungible Tokens

NFT Gaming is Here to Stay, But Its Model Needs A Rethink


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
Play-to-Earn: 'เล่นเกมแลกเงิน' แนวเกมใหม่ ที่อาจเปลี่ยนวงการเกมไปตลอดกาล?!
19/10/2021

ก่อนหน้านี้ในเว็บไวต์ GameFever ของเราได้มีการพูดถึงเกมแบบ Play-to-Earn กันไปบ้างพอสมควรแล้ว ว่าแต่..? แล้วการเข้ามาของ Play-to-Earn และ NFT Game จะส่งผลอย่างไรต่อวงการเกมบ้าง? มีข้อดี-ข้อเสียตรงไหน? แล้วคนเล่นอย่างเราจะได้ประโยชน์อะไร รวมไปถึงทิศทางการพัฒนาเกมในอนาคตมีโอกาสกลายเป็น 'อาชีพ' แทนการเล่นเพื่อ 'ความบันเทิง' ด้วยหรือไม่ เราลองมาคิดวิเคราะห์ไปพร้อมๆกันเลยดีกว่า



การเข้ามาของ Play-to-Earn

ว่ากันตามตรง การเล่นเกมเพื่อหวังทำธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลย จะเรียกว่ามันเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับเกม MMO (Massive Multiplayer Online) เลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อผู้เล่นมากหน้าหลายตาได้เข้ามารวมกัน จึงมีการสร้างชุมชนขึ้นในเกม และแน่นอนว่าเมื่อที่ใดมีวัฒนธรรมเป็นของตัวเองก็ย่อมมีเรื่องการค้าขายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอยู่แล้ว เมื่อเกิดการซื้อขายก็มีการสร้างมูลค่า เมื่อไอเท็มมีมูลค่ากลไกการตลาดจึงเกิดขึ้น กลายเป็นว่า Data เล็กๆเพียงโค้ดเดียวของเกมสามารถเทียบเป็นเงินจริงกันได้ตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงแสนบาท ล้านบาท ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

ทั้งนี้ อย่างที่ชาว MMORPG ทราบกันดีว่านี่เป็นการกระทำที่บริษัทเจ้าของเกม 'ไม่สนับสนุน' แต่เกมหลายๆ เกมก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าเติบโตและมีอายุยืนยาวได้เพราะกลไกเศรษฐกิจแบบนี้ จนกระทั่งการเข้ามาของเทคโนโลยี Blockchain ที่ทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลกลายเป็นของที่มีมูลค่าขึ้นมาจริงๆ นี่เองจึงเป็นช่องทางให้ Play-to-Earn ถูกยอมรับว่าเป็นเกมแนวหนึ่งไปนั่นเอง

และด้วยสถานการณ์ตั้งแต่ต้นปี 2020 ที่มีการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้การเล่นเกมเริ่มเป็นลู่ทางหาเงินของหลายๆคนที่ต้องอยู่ภายใต้ภาวะ Lockdown ประจวบเหมาะกับเป็นช่วงพัฒนาของ crypto-base game หรือที่หลายคนอาจจะเรียกว่า NFTs Game จึงทำให้การเล่นเกมแนว Play-to-Earn เติบโตอย่างก้าวกระโดดในพริบตา ซึ่งถ้าใครติดตามข่าวสารในวงการเกมแนวนี้จะรู้เลยว่าการแข่งขันด้านพัฒนาเกม crypto-base นั้นดุเดือดมากๆ มีมาให้ผู้บริโภคเลือกกันจนลายตาเลยล่ะ แต่วงการ Crypto ก็คือการลงทุนประเภทหนึ่งนั่นแหละ มีบางคนได้ แต่หลายคนก็เหมือนจะเสียมากกว่าคืนทุน

อย่างไรก็ดี โมเดลธุรกิจเกมแบบนี้ถือเป็นการเปิดโอกาสให้เรื่องที่เคย 'ผิดเงื่อนไขการให้บริการ' กลายเป็นสิ่งที่สามารถทำได้โดยอิสระและถูกต้อง ทำให้อำนาจการควบคุมทิศทางของสังคมเกมมาอยู่ในมือผู้เล่นมากขึ้น ส่วนผู้พัฒนาก็ได้รับโอกาสในการสร้างธุรกิจรูปแบบใหม่ๆขึ้นมาด้วยเช่นกัน


รากฐานของ Play-to-Earn

อย่างที่เราบอกไปว่าจุดเริ่มต้นของแนวเกมนี้มาจากสกุลเงินดิจิทัลหรือที่เราเรียกกันว่า คริปโต โดยสกุลที่มีชื่อเสียงก็ได้แก่ BitCoin, Ethereum หรือเหรียญ meme อย่าง DogeCoin ที่ อีลอน มาส์ก เคยปั่นราคาไว้ ซึ่งเมื่อเงินเหล่านี้เริ่มเติบโตขึ้นจะให้แค่แลกเหรียญกันไปมาก็กระไรอยู่ ก็เอามันมาใช้จ่ายเหมือนเงินจริงเสียเลยสิ! แต่ก็ใช่ว่าจะผลักดันได้ง่ายขนาดนั้น เลยเริ่มมีการสร้าง Concept การซื้อขาย NFT ซึ่งเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ซื้อขายด้วยเงินดิจิทัลกันไปเลยดีกว่า ซึ่ง non-fungible token นี้ถือเป็นสินค้าเฉพาะที่มีเพียงชิ้นเดียว อาจจะเป็นภาพ เพลง หรืองานใดๆก็ตามที่เราสามารถซื้อและถือครองเป็นเจ้าของ Data ตัวนั้นได้แบบเต็มตัวผ่านการจ่ายด้วยเงินคริปโต และด้วยความสเถียรของระบบที่พิสูจน์ตัวเองมาแล้วว่า "น่าเชื่อถือ" ของคริปโต บวกกับการรับประกันความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ NFT ที่สามารถตรวจสอบได้ จึงไม่น่าแปลกเลยที่ระบบเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งใหญ่ในสังคมโลกปัจจุบัน

ในเมื่อเอางานศิลปะมาทำไฟล์ดิจิทัลขายได้ แล้วสินค้าดิจิทัลที่มีการซื้อขายเงินจริงกันเป็นปกติอยู่แล้วทำไมจะเข้าร่วม NFT กับเขาไม่ได้ล่ะ จริงไหม? นั่นจึงเป็นช่องทางให้เกมใหม่ๆหลายเกมหันมาพัฒนาไอเท็มให้สามารถกลายเป็นสินค้า NFT ได้ พร้อมเชื่อมต่อระบบเข้ากับสกุลเงินคริปโต (ซึ่งส่วนใหญ่ไว้ใจ Ethereum) เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และผลตอบรับก็ดีเสียด้วยล่ะ




ผลกระทบของ Play-to-Earn ต่อวงการเกม

การซื้อขายเกม: จากเดิมที่เป็นการซื้อขายเป็นแบบรายได้เข้าสู่ทางเดียว ก็คือบริษัทเกม จะเปลี่ยนไป เนื้อหาภายในเกมผู้เล่นจะมีสิทธิ์เป็นเจ้าของ บันทึนการซื้อขายภายในเกม ขายไอเท็มให้กับผู้เล่นอื่นได้ หรืออาจจะย้ายทรัพย์สินเหล่านี้ไปยังเกมอื่นได้ด้วย โดยที่ไม่มีใคร แม้แต่ผู้พัฒนาเกม จะแย่งความเป็นเจ้าของนี้ไปจากเราได้

ดึงดูดนักสะสม: ใน community อาจจะไม่ได้จำกัดเฉพาะเกมเมอร์เท่านั้น แต่ในเมื่อมี NFT ก็ย่อมมี collector ผู้ชื่นชอบการสะสมงานศิลปะหรืออยากเก็บ NFT เพื่อเก็งกำไรในอนาคต จะมีหมุนเวียนเข้ามาด้วย ซึ่งจะช่วยให้คอนเทนต์ต่างๆในเกมมีความคึกคักมากขึ้น รวมไปถึงฮาร์ดคอร์เกมเมอร์ก็มีโอกาสสร้างรายได้ในวงกว้างมากขึ้นด้วย

เกมแต่ละเกม มีส่วนร่วมต่อกันมากขึ้น: จากแต่ก่อนถ้าเราเล่นเกมใดก็จะมีเครือข่ายอยู่แต่ในเซิฟเวอร์ของตัวเองเท่านั้น แต่ crypto-base game ไม่เป็นแบบนั้น หากเกม 2 เกมที่สร้างบนเครือข่ายสกุลเงินเดียวกัน จะสามารถรองรับทรัพย์สิน อย่างเช่น ตัวละคร อาวุธ ชุดเกราะ ยานพาหนะ ฯลฯ แบบข้ามเกมกันได้ด้วยล่ะ

ความเป็นนิรันด์: แม้ว่าในอนาคตเซิฟเวอร์ของตัวเกมอาจจะไม่มีแล้วแต่เหล่าไอเท็มที่ถูก mint ให้กลายเป็น NFT จะยังคงอยู่บน Blockchain ตลอดไป

สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้เล่น: จากเมื่อก่อนการซื้อ-ขายส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเฉพาะในเกม MMORPG แต่เมื่อ Blockchain เข้ามามีบทบาทในวงการเกม ทำให้เกมทุกรูปแบบทั้งเกมไพ่, Turn-base, เกมทำฟาร์ม, เกมสไตล์โปเกม่อน ไปจนถึง MOBA ต่างก็ทยอยพัฒนาคอนเทนต์ของตัวเองให้น่าสนใจได้มากยิ่งขึ้นเพียงแค่นำขึ้นระบบ Blockchain อีกทั้งผู้เล่นยังสามารถแลกเปลี่ยนสะสมของในเกมที่ดำเนินคอนเทนต์ด้วยคนเล่นคนเดียวกับผู้เล่นเกมคนอื่นๆได้อีกด้วย มีอะไรให้ทำมากขึ้นเลยใช่ไหมล่ะ!


แล้วเกมใหม่หลังจากนี้ จะกลายเป็น Play-to-Earn ทั้งหมดเลยหรือเปล่า?

ถ้าให้พูดถึงมุมมองของคนที่ผลิตสินค้าและบริการก็ต้องบอกว่า เกมจะเป็น Play-to-Earn หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับทิศทางความสนใจของผู้เล่นเองนั่นแหละ เพราะคงไม่มีใครอยากเหนื่อยสร้างเกมที่ไม่มีใครอยากเล่นออกมาอยู่แล้วล่ะ

คราวนี้มามองในมุมสถานการณ์ปัจจุบันกันบ้าง แม้เกม Play-to-Earn จะเป็นที่สนใจของผู้เล่นในช่วงปีนี้แต่มันก็ยังไม่ใช่แนวเกมที่เป็นกระแสหลักอยู่ดี เพราะก่อนจะเข้าสู่วงการนี้ได้ต้องทำความเข้าใจระบบที่มีความซับซ้อนมากพอสมควร ซึ่งมันยุ่งยากกว่าการซื้อ-ขายแบบเก่าหลายเท่าเลย 

นอกจากนี้ คอนเทนต์เกมที่ถูก mint เป็น NFT ยังเสี่ยงที่จะถูกใช้เป็นเครื่องมือเก็งกำไร แทนที่จะเป็นทรัพยากรหมุนเวียนภายในเกมอย่างที่มันควรจะเป็น และกลายเป็นสถานที่กอบโกยผลประโยชน์แทนเสียอย่างนั้น

อย่างไรก็ดีเหล่าเกม Play-to-Earn ที่คลอดออกมาในตลาดเกมตอนนี้ก็มีปัญหาให้ตามแก้อยู่มากพอสมควร โจทย์ของผู้พัฒนาจึงไม่ใช่แค่การทำให้เกมน่าเล่นแต่ยังต้องรักษาสมดุลเกมให้ดีที่สุด ซึ่งมันมีปัจจัยของปัญหามากกว่าเกมแบบเดิม ที่สำคัญต้องประคองให้การเล่นเกมเป็นการคืนประโยชน์ให้กับผู้เล่นมากกว่าจะเป็นการเล่นเพื่อหารายได้เพียงอย่างเดียว นับว่ายังเป็นโจทย์ที่ยากและท้าทายทีมงานแบบสุดๆ เลย

ฉะนั้น Play-to-Earn ยังคงเป็นเพียงการจุดประกายใหม่ๆของอุตสาหกรรม และยังไม่มีความจำเป็นอะไรที่ต้องผลักดันให้เกมเป็นการเล่นเพื่อสร้างรายได้โดยเฉพาะ แม้แนวโน้มที่เกมในอนาคตจะกลายเป็น Play-to-Earn เกือบทั้งหมด แต่เส้นทางนี้ยังอีกยาวไกลและต้องวางระบบกันอีกเยอะกว่าจะถึงจุดที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า "ทิศทางของเกมในอนาคต ควรจะเป็นแบบไหน" กันแน่




สรุปส่งท้าย

การเข้ามาของ Play-to-Earn นั้นต้องบอกว่าประโยชน์ส่วนใหญ่ก็ตกอยู่ที่ "ผู้เล่น" นั่นแหละ เพราะมันคือวิธีการสร้างรายได้และอาชีพให้กับคนๆหนึ่งได้ ถ้า! คุณเข้าใจการลงทุนและสามารถหยิบจับประโยชน์จากระบบเหล่านี้ได้อย่างถูกจังหวะ นอกจากนี้คอนเทนต์ต่างๆภายในเกมเรายังมีความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้พัฒนาด้วย

ในส่วนของผู้พัฒนาเองก็ได้เจอโจทย์การทำเกมใหม่ๆ รวมถึงมีช่องทางการทำรายได้ที่หลากหลายยิ่งขึ้น แม้อาจจะต้องแลกมากับเรื่องปวดหัวที่มากขึ้นก็ตาม ก็เป็นธรรมดาของช่วงตั้งตัวที่ผู้ผลิตต้องพิสูจน์ความเจ๋งของตัวเองเพื่อที่จะเฉิดฉายในวงการนี้

ส่วนทิศทางในอนาคตนั้นอาจจะต้องรอดูกันไปก่อนว่าทำให้อุตสาหกรรมเกมกลายเป็นตลาดสร้างรายได้แบบเต็มตัวไปเลยหรือเปล่า แต่ส่วนตัวเชื่อว่าไม่มีทางที่เกมทุกเกมจะเป็น Play-to-Earn หรอก เพียงแต่จะเป็นฟังก์ชั่นเสริมดึงดูดลูกค้าที่จะกลายเป็นที่นิยมมากขึ้นเสียมากกว่า


Source

How 'Play-To-Earn' Is Changing The Business Of Gaming

Gaming and Non-Fungible Tokens

NFT Gaming is Here to Stay, But Its Model Needs A Rethink


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header